สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

พระฉายาลักษณ์ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ” รอยยิ้มแห่งแผ่นดินตรึงใจพสกนิกร

Alternative Textaccount_circle
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

พระฉายาลักษณ์ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ” รอยยิ้มแห่งแผ่นดินตรึงใจพสกนิกร… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากความปิติยินดียิ่งของปวงชนชาวไทยที่ได้เทิดพระเกียรติยศสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความเป็นสิริมงคลครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีสำคัญของชาติบ้านเมือง และการมีโอกาสได้ชื่นชมความงดงามและความยิ่งใหญ่ของโบราณราชประเพณีแล้ว

อีกหนึ่งความปลาบปลื้มใจของประชาชนชาวไทย คือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี” เพื่อเป็นคู่บุญคู่พระบารมีของพระองค์ และเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกร ซึ่งในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ นับเป็นพระราชกรณียกิจแรกของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ เลยก็ว่าได้ แต่พระองค์ทรงปฏิบัติได้อย่างยอดเยี่ยมและสง่างาม ไม่ว่าจะเป็นในพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณี หรือในการที่ทรงร่วมเดินในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความอดทนเป็นอย่างมากของพระองค์ อีกทั้งสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ยังทรงแสดงให้เห็นถึงพระจริยวัตรที่อ่อนน้อมและงดงามตลอดห้วงเวลาของพระราชพิธี จนสร้างความปลาบปลื้มใจแก่พสกนิกรเป็นล้นพ้น

ทั้งนี้พระจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ที่พสกนิกรเฝ้ารอชื่นชมมากที่สุด คือรอยแย้มพระสรวล ซึ่งปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าในยามที่พระองค์ทรงแย้มพระสรวลนั้น ทรงพระสิริโฉมงดงาม และสร้างความประทับใจอย่างที่สุด ในโอกาสนี้ แพรวดอทคอม จึงรวบรวมพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ขณะทรงแย้มพระสรวลในพระอิริยาบถต่างๆ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 มาให้ชมกันตรงนี้

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทรงเข้าร่วมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทรงเข้าร่วมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทอดพระเนตรพระราชพิธีสรงพระมุรธาภิเษก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมารสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทอดพระเนตรริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทอดพระเนตรริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม 2562

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะทรงร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม 2562

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 6 พฤษภาคม 2562


 

ภาพ : สำนักพระราชวัง, โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย, นิตยสารแพรว


 

ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ขบวนพยุหยาตราสถลมารค ในหลวง ร.๑๐

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โบราณราชประเพณีอันเป็นสิริมงคล

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

พระปฐมบรมราชโองการของ “ในหลวง รัชกาลที่ 10”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ”

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10

ในหลวง ร.10 มีพระราชโองการ สถาปนาสมเด็จพระราชินี

“พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ในการเสด็จออกสีหบัญชร

Alternative Textaccount_circle
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสในการเสด็จออกสีหบัญชร “ความพร้อมเพรียง เป็นนิมิตรหมายอันดี เพื่อความเจริญรุ่งเรื่องของประเทศชาติ”

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.57 น. “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” และ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี”พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี” , “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา”, “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร” เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เพื่อให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ภายหลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส กับพสกนิกรทั่วหล้า โดยมีความว่า“ข้าพเจ้าและพระราชินีรู้สึกยินดีและปลื้มใจมากที่ได้เห็นประชาชนทั้งหลายมีไมตรีจิตพร้อมเพรียงกันมาร่วมแสดงความปรารถนาดีในวาระบรมราชาภิเษกของข้าพเจ้าครั้งนี้ ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลายที่มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ เพื่ออวยชัยให้พรแก่ข้าพเจ้า ด้วยน้ำใจไมตรี และความปรารถนาดีอย่างจริงใจ เป็นที่จับตาจับใจและทำให้ข้าพเจ้าอิ่มใจอย่างยิ่ง ขอให้ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลายในการแสดงไมตรีจิตแก่ข้าพเจ้าครั้งนี้ เป็นนิมิตรหมายอันดีที่ทุกคน ทุกฝ่าย จะพร้อมกันบำเพ็ญกรณียกิจเพื่อความเจริญรุ่งเรื่องของประเทศชาติของเราต่อไป ขอขอบใจในคำอำนวยพรซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวในนามของทุกคนและขอสนองพรให้ทุกท่านมีความผาสุกสวัสดี พร้อมทั้งความสำเร็จในสิ่งอันพึ่งปรารถนาดีจงทั่วกัน”

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


 

พระราชยาน

เปิดบันทึก ร.๖ ทรงตรัสไม่มียานพาหนะใดประทับแบบคิงแท้ๆ เท่าพระราชยาน

Alternative Textaccount_circle
พระราชยาน
พระราชยาน

เมื่อวานนี้ (5 พฤษภาคม 2562) เวลาโดยประมาณ 16.30 น พสกนิกรทุกหมู่เหล่าที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมในพระบารมีของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จะยาตราขบวนจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม นั้น

นอกจากจะได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือ ริ้วขบวนจากพระที่นั่งฯ ที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรตินั้นไม่สามารถเคลื่อนตัวโดยเร็วได้เพราะใช้พลังคน อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังต้องทรงประทับอยู่บนพระราชยานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำยิ่ง โดยเรื่องปัญหาการประทับพระราชยาน นั้น มีบันทึกจาก วรชาติ มีชูบท. “กระบวนพยุหยาตรา และ กระบวนราบ”, ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม ๒๕๖๐ ไว้ ดังนี้

บันทึกของจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) ว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

“…ทรงเล่าอย่างขันๆ ว่า ไม่มียานพาหนะใดที่จะนั่งด้วยอาการเป็นคิงแท้ๆ เท่าราชยาน เพราะหาความสุขสบายมิได้เลย ทรงตรัสว่า ที่นั่งกว้างพอดีกับพระที่นั่ง (คือ ก้นของท่าน) ที่วางพระบาทมีเฉพาะเพียงพระบาททั้งคู่วางชิดๆ กันได้ไม่ตกแต่หมิ่นเต็มที่ บางทีต้องไขว้และก็ต้องไขว้ซ้ายบนบ้าง ขวาบนบ้าง เรียงคู่บ้าง สลับกันไป เช่นนี้ตลอดทาง ไม่มีทางทําอย่างอื่นได้ เพราะบางคราวทรงนึกจะไขว่ห้างก็ไม่กล้าทํา เพราะเกรงจะไม่เหมาะสม

สองข้างบัลลังก์ยังเป็นกระจังทําด้วยทอง บางที่แกะด้วยไม้มีกนกแหลม ๆ เต็มไปหมด วางพระกรเข้าก็เจ็บ ไม่วางก็ไม่รู้จะวางที่ไหน ต้องทนขยับเขยื้อนได้ยากเต็มที่ เพราะที่จํากัด และลอยอยู่ด้วยพลังของคน ถ้าขยับเขยื้อนรุนแรงข้างล่างก็เดือดร้อน ดีไม่ดีพลิกคว่ำลงเป็นเสร็จ ต้องเข้าโรงพยาบาลแน่แล้ว

รับสั่งว่า บางที่เป็นเหน็บทั้งๆ ขา ต้องขยับให้หายชา แล้วทรงกระดิกพระดัชนีให้พระโลหิตเคลื่อน พอค่อยทุเลา นั่งพิงอย่างสบายก็ไม่ได้ เสียทรง ทําให้ไม่งาม ท่านว่าทูลกระหม่อม คือ หมายถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ เคยสอนไว้ว่า นั่งราชยานต้องดัดทรงเป็นละคร คือ ดันกระเบนเหน็บให้ตัวตรง แล้วคิดดูซิ ประทับอยู่บนนั้นตั้งๆ ชั่วโมง

ท่านรับสั่งแล้วทรงยิ้มว่า เวลาประชาชนเขาแสดงความเคารพ ทั้งๆ ปวดเมื่อยและเป็นเหน็บก็ต้องแข็งพระราชหฤทัย ทรงยิ้ม ทรงยกพระคธาขึ้นรับเคารพ เพราะยิ้มของพระเจ้าแผ่นดิน คือ น้ำทิพย์ชโลมใจของประชาชน ท่านว่าถ้าจ้างกันละก็ละ ๕๐ บาท (สมัยโน้น) ท่านก็ไม่เอา ต่อให้ร้อยก็ไม่รับประทาน แต่เป็นพระราชกรณียกิจแม้ให้ยากแสนยากเหนื่อยแสนเหนื่อยกว่านี้ก็ต้องรับทํา เพื่อประโยชน์สุขของทวยราษฎร์

แต่พอเสร็จพิธีตอนเข้าที่พระบรรทมน่ะซี ตกเป็นภาระอันหนักของมหาดเล็กผู้ถวายอยู่งาน เพราะจะได้ยินแต่พระสุรเสียงว่า เอาตรงนี้หน่อย คือที่บั้นพระองค์ ที่พระชาณุ (ขา) เป็นต้น …”

ฉะนั้นเมื่อเริ่มมีรถม้าเข้ามาใช้ในราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเสด็จประพาสที่ต่างๆ ในเวลาเย็นจึงทรงเปลี่ยนไปใช้รถม้าพระที่นั่ง และเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวการเสด็จพระราชดําเนินโดยพระราชยานก็ลดบทบาทลงเหลือเพียงการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานผ้าพระกฐินประจําปี ณ พระอารามสําคัญในพระนคร ๓ วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระราชยานพุดตานทอง เสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราสถลมารค ระยะทาง ๗ กิโลเมตร ใช้เวลากว่า ๖ ชั่วโมง

 


ข้อมูลจาก วรชาติ มีชูบท. “กระบวนพยุหยาตรา และ กระบวนราบ”, ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม ๒๕๖๐
ที่มา : โบราณนานมา
ภาพ : นิตยสารแพรว 

 

 

งดงามจับตา 2 พระธำมรงค์คู่พระบารมี แห่งพระมหากษัตริย์จักรีวงศ์

งดงามจับตา 2 พระธำมรงค์คู่พระบารมี แห่งพระมหากษัตริย์จักรีวงศ์…ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (4 พฤษภาคม 2562) เวลา 10.09 น. นับเป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุด เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สรงพระมุรธาภิเษก ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และรับน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ในฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า แล้วนั้น

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขัตติยราชวราภรณ์และพระแสง โดยลำดับพระราชพิธีในตอนนั้น พราหมณ์ได้ถวายพระธำมรงค์ 2 องค์ ซึ่งเป็นพระธำรงค์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่

พระวิเชียรจินดา

เป็นเครื่องประดับพระองค์ของพระมหากษัตริย์ถือเป็นเครื่องทรงหรือเครื่องแต่งพระองค์อย่างหนึ่ง ในบรรดาเครื่องราชูปโภคที่กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยอยุธยา มักทรงใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ลักษณะทำด้วยทองคำวงขอบในลงยาประดับเพชร รอบวง มีดอกไม้ประดับเพชรติดที่ก้านข้างละ ๑ ดอก มีมงคลเพชร ๒ ชั้น กลางยอดฝังเพชรวิเชียรจินดา ขนาด ๑.๖ x ๒.๐ เซนติเมตร ซึ่งเป็นพระธำมรงค์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้สร้างไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมที่พระดัชนีซ้าย 

พระรัตนวราวุธ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมที่พระดัชนีขวา พระธำมรงค์องค์นี้ทำด้วยทองคำเนื้อแปด ด้านหนึ่งทำเป็นรูปตรีศูล และตราฝังเพชร อีกด้านหนึ่งทำเป็นรูปสังข์ กับจักรฝังเพชร วงฝังเพชร ยอดเป็นนพรัตน์ แต่ใช้โอปอแทนมุกดา กลางเป็นเพชรขนาด ๒.๕ x ๒.๘ เซนติเมตร หนัก ๖๐ กะรัต โดยพระธำมรงค์องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้สร้างไว้สำหรับพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : FB@นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม

IG@t_2539

 

 

พระบรมฉายาลักษณ์สุดอบอุ่นของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส

account_circle

พระบรมฉายาลักษณ์สุดอบอุ่นของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส ในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ในทุกๆ วันของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เรามักจะได้เห็นภาพประทับใจในพิธีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระอิริยาบถเรียบง่าย ไม่ทรงถือพระองค์

เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค มีประชาชนชาวไทย เดินทางมารอชมพระบารมีเต็มถนนสองข้างทาง โดยในขณะที่ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เคลื่อนผ่านนั้น เราจะได้ยินเสียง “ทรงพระเจริญ” ตลอดเส้นทาง นับเป็นภาพประวัติศาตร์ที่หาดูได้ยากยิ่ง

ล่าสุด เมื่อค่ำวานนี้ พสกนิกรก็ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์สุดประทับใจของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส ช่วงที่ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเคลื่อนมาถึงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยหลังจากเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยข้างวัดราชบพิธฯ แล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ก็ได้ทรงพระดำเนินออกมารับทูลกระหม่อมพ่อ

เป็นที่มาของพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทั้งสามพระองค์ทรงแย้มสรวลให้กัน ด้วยความเกษมสำราญเป็นที่ยิ่ง

ทรงพระเจริญ


ภาพ : สำนักพระราชวัง, นิตยสารแพรว,วาสนา นาน่วม

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงให้คำมั่น “จะยังเป็นท่านหญิงองค์เดิม ไม่เปลี่ยนแปลง”

Alternative Textaccount_circle

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงให้คำมั่นแก่พสกนิกรภายหลังได้สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ใหม่ “ขอบใจทุกคนที่รักเราแบบใจแท้จริง เข้าใจเราและอยู่เคียงข้างเราเสมอมา”

ภายหลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ ให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ ๑๐

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภามคม 2562 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือเดิม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงโพสต์ข้อความเพื่อแสดงคำมั่นแก่พสกนิกรภายหลังได้สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ใหม่

ข้อความระบุว่า “Thank you for loving me unconditionally and for always being by my side.Even though my rank is higher, I promise to remain the same, unchanged as always and forever. Yours truly. Sirivannavari #SIRIVANNAVARI”

“ขอบใจทุกคนที่รักเราแบบใจแท้จริง เข้าใจเราและอยู่เคียงข้างเราเสมอมา เราถึงแม้จะมียศสูงขึ้น แต่เราก็เป็นท่านหญิงองค์เดิม นิสัยเหมือนเดิมทุกประการ ดั่งเฉกเช่นที่เป็นมาไม่เปลี่ยนแปลง”

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

 


ข้อมูลจาก : H.R.H Princess Sirivannavari Nariratana

เกาะติดพระราชพิธีราชาภิเษก

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ศักดิ์สิทธิ์และสมพระเกียรติ พิธีเสกน้ำอภิเษกรวม ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระราชินีสุทิดา”

ความหมายของ ‘เบญจราชกกุธภัณฑ์’ เครื่องแสดงพระอิสริยศักดิ์ แห่งพระมหากษัตริย์

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สืบทอดตามรอยพระราชบิดา ภาพประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

จัดพิมพ์เพียง 3 ล้านดวง ตราไปรษณียากรที่ระลึก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ของพระมหากษัตริย์ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

กระบวนพยุหยาตราสถลมารค พระราชพิธีโบราณ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย

พระองค์หญิงฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 

‘วันนี้ควรพาคนใกล้ชิดไปร่วมกันชื่นชมพระบารมี เพื่อความเป็นศิริมงคลกับชีวิตในทุกๆ ด้าน’ ดูดวงรายวัน 6 พฤษภาคม 2562

ดูดวงรายวัน 6 พฤษภาคม 2562 #หมอปุ้ยพยากรณ์ เช็กทุกวัน เป๊ะปังทุกดวง ทั้งการงาน การเงิน ความรัก และสุขภาพ

ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์

การงาน :  คุณอาจต้องใช้ความพยายามหนักหน่อย โดยเฉพาะงานที่อยู่ในแวดวงศิลปะทุกแขนง คุณอาจต้องใช้ความสามารถในการพลิกแพลงกลยุทธ์ จนถึงใช้เซ้นส์เข้ามาประกอบ เพื่อให้งานผ่านไปได้ วันนี้หากทำงานคนเดียวจะดีกว่าทำร่วมกับคนอื่น เพราะอาจเกิดปัญหาขัดแย้งกันได้

การเงิน :  แม้คุณจะมีผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือไม่ขาด แต่ก็อย่าลงทุนจนหมดกระเป๋า เพราะอาจทำให้มีหนี้สินได้

ความรัก : คุณดูแลครอบครัวทั้งในบ้านและนอกบ้าน จึงทำให้คุณติดกับการจัดการชีวิตของคนอื่นมากไปนิด วันนี้อาจกลายเป็นประเด็นขึ้นมา เพราะคนข้างตัวเริ่มไม่สนใจ คนโสด ระวังความหึงหวงของคุณ จะเป็นอุปสรรคให้ความรักไปไม่ถึงที่ฝันไว้นะคะ

สุขภาพ :อาจเจ็บป่วยโดยมีสาเหตุจากการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นควรทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรรับประทานยาอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน

                                                                        

ผู้ที่เกิดวันจันทร์       

การงาน :  คุณอาจอยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะถูกให้แบกรับภาระหน้าที่ที่หนัก หรืองานที่มีเนื้อหาละเอียด ซึ่งงานนี้ต้องใช้ทั้งทฤษฏี ข้อมูล ความรู้ ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ มุมมองทางความสวยงาม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นหรือจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์จึงจะทำให้งานผ่านไปได้

การเงิน :  อย่าหลงคารมของบุคคลที่มาชักชวนให้ลงทุน เพราะเขาจะตักตวงผลประโยชน์จากคุณ

ความรัก : วันนี้คุณอาจได้ใช้เวลาวันหยุดอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าครอบครัว หากได้ไปร่วมเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศก็ถือว่าเป็นศิริมงคลให้กับครอบครัว ก็น่าจะดีไม่น้อย คนโสด ทั้งที่คุณมีเสน่ห์ มีคนมาจีบเยอะ แต่มักจะไปต่อไม่ได้ เพราะติดปัญหาที่ความหึงหวง วันนี้ผู้ใหญ่อาจนัดเดทให้ ลองเปิดใจดูสักครั้ง

สุขภาพ  : ช่วงนี้คุณเอ็นจอยอีทติ้งเป็นพิเศษ ระวังปัญหาเรื่องน้ำหนักตามมาด้วยนะคะ

 

ผู้ที่เกิดวันอังคาร

การงาน  : คุณมีพละกำลังและความสามารถที่จะเริ่มต้นทำงานและฝ่าฟันอุปสรรรค เพื่อให้บรรลุความสำเร็จในหน้าที่การงาน วันนี้งานที่คุณรับผิดชอบ โดยเฉพาะงานที่อยู่ในแวดวงศิลปะทุกประเภทจะประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียง จนเพื่อนร่วมงาน และลูกน้องให้การยอมรับ

การเงิน : จะได้จ็อบพิเศษที่เกี่ยวกับงานที่ใช้คำพูด การติดต่อประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะมีผู้ให้ความอุปถัมภ์ได้เงินเข้ามาไม่ขาด

ความรัก :  คุณรับผิดชอบทั้งงานในและนอกบ้าน นอกจากสนับสนุนหน้าที่การงานของสามีและลูก แล้วยังดูแลเศรษฐกิจในครัวเรือนด้วย ซึ่งคู่ครองก็เป็นแฟมิลี่แมน ดูแล้วก็เป็นครอบครัวที่อบอุ่น คนโสด คุณสวยรวยเสน่ห์เลือกได้ แต่ระวังอาจตาลาย เลือกพ่อม่ายเรือพ่วงมานะคะ

สุขภาพ :  ไม่ควรหักโหมทำงานหนักจนหามรุ่งหามค่ำ เพราะอาจล้มเจ็บได้

 

ผู้ที่เกิดวันพุธ

การงาน  : วันนี้ก็ยังอยู่ที่ความสัมพันธ์ของบุคคลที่เป็นหญิงที่คุณอาจต้องเข้าไปทำธุรกิจด้วย โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นา ที่ดิน หรือธุรกิจที่มาจากผืนดินทุกประเภท ซึ่งวันนี้คุณจะพบกับความสำเร็จ มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นที่จับตามองเสียด้วย

การเงิน : มีโชคลาภเข้ามาตลอดๆ แต่ก็หมดไปกับเรื่องความสวยงาม และการเดินทางท่องเที่ยว

ความรัก : ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงในครอบครัว คงต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมรับฟังความคิดเห็นและนำไปปฏิบัติ จึงจะคลี่คลายลงด้วยดี  คนโสด  วันนี้เพื่อนใกล้ตัวอาจได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นเพื่อนสนิทที่สุด ถือว่าเหมาะสมกับคุณแล้ว

สุขภาพ : ระวังการขาดสารอาหาร รวมถึงวิตามินบางตัวน้อยเกินไป ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

 

ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี

การงาน  :  คุณอาจตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะถูกให้แบกรับภาระหน้าที่ที่หนักอึ้ง หรืองานที่มีเนื้อหาละเอียด ซึ่งอาจเกี่ยวกับงานที่อยู่ในแวดวงศิลปะทุกประเภท หรือความสวยความงาม แต่ไม่ต้องกลัว ความเป็นผู้นำในตัวคุณ และความสู้งาน จะทำให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี

การเงิน : มีโชคกับการหาเงินนอกบ้าน แต่ก็ระวังอย่าหลงคำพูดที่น่าเชื่อถือ เพราะส่วนมากจะตักตวงผลประโยชน์จากคุณ

ความรัก : คุณมีภาวะผู้นำสูง ดูแลทั้งงานในบ้านและนอกบ้าน วันนี้คุณอาจคาดหวังกับครอบครัว จนกลายเป็นซีเรียสและจริงจังมากไปนิด คนโสด มีเสน่ห์ สวยเลือกได้ แต่ที่ผ่านมาคุณอาจใจร้อนไปนิดก็เลยเลือกผิดเลือกพลาดไปบ้าง แต่วันนี้รับรองโดนเต็มๆ ค่า

สุขภาพ  : หมั่นดูแลเรื่องระบบขับถ่าย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้โรคกรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

ผู้ที่เกิดวันศุกร์

การงาน  : คุณมีโอกาสดีได้เข้าไปทำงานกับผู้มีอำนาจบารมีในสังคมชั้นสูง ทางด้านการออกแบบตกแต่งภายใน หรืองานช่างฝืมือทุกประเภท งานนี้คุณได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาให้ความเอ็นดูเป็นพิเศษด้วย

การเงิน : หมดกับการทำบุญ สงเคราะห์ช่วยเหลือผู้คนที่ด้อยว่า รวมถึงญาติสนิทมิตรสหาย

ความรัก : คุณอาจแต่งงานเข้ามาอยู่ในครอบครัวที่มีกฎระเบียบเป๊ะ ทำอะไรต้องอยู่ภายใต้สายตาของผู้ใหญ่จึงไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวมากนัก วันนี้คุณอาจเริ่มคิดที่จะแยกบ้านไปอยู่ตามลำพังครอบครัวแล้วก็ได้ คนโสด หากจะมีแฟนสักคน ต้องผ่านด่านผู้ใหญ่ ฉะนั้นทางที่ดีควรเลือกคนที่เป็นผู้ใหญ่ จะได้มีหลักการน่าเชื่อถือ คุยง่าย

สุขภาพ : ระวังโรคภูมิแพ้ ไซนัส โพรงจมูกอักเสบ ซึ่งเกิดจากการแพ้อาหาร อากาศ และฝุ่นละออง

 

ผู้ที่เกิดวันเสาร์

การงาน : คุณหมกมุ่นอยู่กับการบุกเบิกงานใหม่ตลอดเวลา อาจเพราะคุณต้องเดินทางไปหลายที่ แล้วแต่ละที่คุณก็ไม่คุ้นเคย อาจได้ไปไกลถึงต่างประเทศ ก็เผื่อใจไว้หน่อยนะคะ วันนี้อาจมีบางงานที่จำเป็นต้องปิดจ็อบเพื่อรักษางานที่สำคัญกว่าไว้

การเงิน : ระวังเสียรู้หรือถูกหลอกให้ไปลงทุน ด้วยคำพูดที่มีหลักการน่าเชื่อถือ

ความรัก :  คุณให้เวลากับการทำงานมากจนไม่ได้สนใจอื่นใดเลย แล้วหากต้องถูกตั้งกฎเกณฑ์หรือข้อผูกมัดจากคนใกล้ชิด วันนี้คุณจึงมีหงุดหงิด โมโหง่ายกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง  คนโสด ชีวิตคุณมีแต่งาน วันนี้หากรู้สึกว่าถูกผูกมัด จึงอาจมีปิดจ็อบ

สุขภาพ  : อาจมีปัญหาในเรื่องของลำไส้ ระบบย่อยอาหาร และโรคกระเพาะ

เรณู

สาวฮ็อต เบลล่า เผยเคล็ดลับสวยแซ่บสไตล์ เรณู 2019

Alternative Textaccount_circle
เรณู
เรณู

ไม่ว่าจะเรื่องความรัก เรื่องงาน ก็สมหวังไปหมด สำหรับสาวฮ็อตในนาทีนี้ เรณู หรือ  เบลล่า – ราณี แคมเปน ล่าสุดโชคสองชั้นคว้างานพรีเซนเตอร์คลีนิคความงาม พร้อมค่าตัวเหยียบ 8 หลัก เลยทีเดียว

ไม่ต้องรอชุมแสงลุกเป็นไฟ แต่ตอนนี้ทั่วประเทศกำลังจะลุกเป็นไฟ เพราะเมื่อ เรณู 2019  อย่าง เบลล่า – ราณี แคมเปน ที่แม้ในละครจะยืนหนึ่งในเรื่องมือตบ ฉะทุกคนที่เข้ามาต่อกร แต่ถ้าไม่สวย ไม่แซ่บจริงก็ทำไม่ได้นะจ๊ะ เพราะล่าสุด The Art Clinic” คลีนิคความงามระดับแนวหน้าของเมืองไทย โดย “หมออาท ธรรมรัตน์” หมอคว้าตัว “เบลล่า” มาเป็นพรีเซนเตอร์อวดโฉมความงาม พร้อมอวดผิวสวยใส เปล่งประกายไร้ที่ติ  พร้อมค่าตัวเหยียบ หลัก งานนี้ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเพราะนอกจากงานนี้จะทำให้สาวเบลล่าสวยเพิ่มขึ้นแล้วค่าตัวก็ยังทำให้รวยมากขึ้นอีกด้วย น่าอิจฉาจริงๆ

เรณู

เรณู

เรณู


สามารถติดตามอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ชีวิตไม่มีคำว่าง่ายของ ‘เบลล่า ราณี’ แม่หญิงการะเกดแห่งกรุงศรี อีเรณูแห่งชุมแสง

เบลล่า ดีใจใช้พื้นที่สื่อตัวเองช่วยเหลือสังคม พร้อมอัพเดท ปี่แก้วนางหงส์-กรงกรรม

ใต้ความฟินของฉากหน้าต่าง 2 บาน เบลล่า เปิดหมดเปลือก บุพเพสันนิวาส

โน้ต-อุดม ออกตัวแรง! เข้าทางแม่ จีบเบลล่า ตีท้ายครัวเวียร์กลางกองถ่ายแฟชั่นแพรว

แม่นายสวยปังข้ามทวีปมากเจ้าค่ะ เบลล่า – ราณี บินไปแอลเอสัมผัสลิปสติกใหม่ล่าสุดก่อนใคร

แม่นายงามมากเจ้าค่ะ! ส่อง เบลล่า ราณี ลุคผมสั้นสุดเฉี่ยว และเผยทริคเมคอัพจาก JABUBABES

ผิวก็ดี..หุ่นก็แซ่บ! “เบลล่า” บอกเคล็ดลับปั้นหุ่นสวย พร้อมวิธีดูแลผิวใสออร่าจับ

เซ็กซี่เบาๆ ฉบับนางเอก เบลล่า- ราณี แคมเปน เขินคนจับตามองภาพแช่ออนเซ็น

รุ่นลิมิเต็ด! ส่องความพิเศษนาฬิกาแบรนด์ดัง ของขวัญจากหนุ่ม ‘เวียร์’ สู่ข้อมือสาว ‘เบลล่า’

แม่หญิงงามมาก! ส่องแฟชั่นสนามบิน ‘เบลล่า-ราณี’ ก่อนเช็คอินแอลเอ ร่วมงานแบรนด์ดัง

 

 

 

 

 

ชาวญี่ปุ่นตื้นตันใจ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เสด็จออกหน้าสีหบัญชรครั้งแรก

account_circle

ชาวญี่ปุ่นตื้นตันใจ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เสด็จออกหน้าสีหบัญชร ครั้งแรก ณ พระราชวังอิมพีเรียล เพื่อพระราชทานพรให้กับพสกนิกร

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เ

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ เ

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ

4 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ พร้อมด้วย สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จออกหน้าสีหบัญชรครั้งแรก ณ พระราชวังอิมพีเรียล โดยมีประชาชนชาวญี่ปุ่นมาเฝ้ารับเสด็จนับหมื่นคน

การนี้ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะยังได้พระราชทานพรแก่พสกนิกร โดยพระองค์ทรงตรัสว่า “ทรงซาบซึ้งพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากที่ ประชาชนชาวญี่ปุ่น เดินทางมารอชมพระบารมี ทั้งนี้ยังขอให้พสกนิกรทุกคนมีความสุข มีสุขภาพ พลานามัยที่ดี รวมถึงขอพรให้ประเทศญี่ปุ่นจงเจริญ และพัฒนาอย่างก้าวไกล ร่วมมือกับนานาชาติ สร้างสันติภาพให้กับโลก”

สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ

การนี้ ในหมายกำหนดการ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะจะเสด็จออกมหาสมาคม ทั้งหมด 6 ครั้ง และในทุกๆ ครั้งจะมีพสกนิกรรอเฝ้าฯ รับเสด็จที่หน้าประตูมหาราชวัง


ภาพ : Getty Image

“ขอบใจจากใจจริง” พระราชดำรัสสุดท้ายในฐานะพระประมุขของ จักรพรรดิอากิฮิโตะ

ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเรวะ “จักรพรรดินารุฮิโตะ” ทรงประกอบพิธีขึ้นครองราชย์

บทพิสูจน์รัก “จักรพรรดินีมิชิโกะ” ซินเดอเรลล่าญี่ปุ่น ชีวิตในวังที่โรยด้วยขวากหนาม

 เหตุผลที่ “จักรพรรดิอากิฮิโตะ-จักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงเปรียบดั่งสันติสุขแห่งยุคเฮเซ

ย้อนชมภาพตราตรึงใจ พระราชไมตรีดุจพี่น้อง “ในหลวง ร. 9 – จักรพรรดิอากิฮิโตะ”

เรียบง่ายแต่สุขล้น ชีวิตหลังสละราชบัลลังก์ของ “จักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่น”

สำนักพระราชวังญี่ปุ่นเผย พระยศใหม่ของพระราชวงศ์ เมื่อเข้าสู่รัชศกเรวะ

เบื้องลึกรักหวานในสนามเทนนิส จักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่น สู้ฟันฝ่าม่านประเพณี

กษัตริย์นักมีนวิทยา จักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงเผยแพร่งานวิจัยสุดท้ายก่อนสิ้นยุคเฮเซ

จักรพรรดิอากิฮิโตะ-จักรพรรดินีมิชิโกะ เสด็จชมดอกซากุระสุดท้ายแห่งรัชศกเฮเซ

ญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชศก “เรวะ” ต้อนรับว่าที่สมเด็จพระจักรพรรดิองค์ใหม่ แห่งราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ

วันคล้ายวันประสูติปีที่ 85 จักรพรรดิอากิฮิโตะทรงตรัส “ขอบใจประชาชน” ก่อนเตรียมสละราชบัลลังก์

ว่าที่จักรพรรดิพระองค์ใหม่ “เจ้าชายนารุฮิโตะ” ลูกไม้ใต้ต้นแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น

รักแท้จนแก่เฒ่า “จักรพรรดิอากิฮิโตะ-จักรพรรดินีมิชิโกะ” จากสนามเทนนิสสู่ราชบัลลังก์

83 พรรษา สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ สามัญชนคนแรกที่ได้เป็นควีนแห่งประเทศญี่ปุ่น

ครั้งแรกในรอบ 200 ปี สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น จะทรงสละราชสมบัติ

แมววิเชียรมาศ และ ไก่ขาว สัตว์มงคล ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร

account_circle

แมวพันธ์ุไทย วิเชียรมาศ และ ไก่ขาว สัตว์มงคล ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยจะทรงประทับแรม ทรงพระบรรทมเหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร นั้นเปรียบดังเช่น พิธีขึ้นบ้านใหม่ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าได้เชิญเครื่องราชูปโภคและสิ่งมงคล อันประกอบด้วย

ศิลาบด หรือหินบดยา หมายถึง ความหนักแน่น หรือความไม่มีโรค

พันธุ์พืชมงคล หมายถึงการงอกเงย ฟักเขียว หมายถึง การอยู่เย็นเป็นสุข

กุญแจทอง หมายถึง กรรมสิทธ์ความเป็นเจ้าของบ้าน

จั่นหมากทอง หมายถึง ความมั่งคั่ง

แต่สิ่งมงคลที่ดูแล้วจะสะดุดตาเป็นที่สุดคือ แมวไทย พันธ์วิเชียรมาศ และ ไก่ขาว ซึ่งสัตว์ทั้งสองขนิดนี้ตามตำราโบราณนั้นเปรียบว่า แมว หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “วิฬาร์” แสดงถึง ความโชคดี มีลาภร่มเย็นเป็นสุข อันสอดคล้องกับคติความเชื่อของไทยที่ว่า แมวสามารถขับไล่ภูตผีปิศาจและสิ่งชั่วร้าย เพราะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ในเวลากลางคืน หรือความเชื่อที่ว่าแมวมีเก้าชีวิต หมายถึงความยั่งยืนสถาพรและเป็นอมตะ นอกจากนี้ ตามคติความเชื่อของคนไทยยังเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์รู้ที่อยู่ ไม่ทิ้งถิ่น ให้ความหมายถึงการอยู่อย่างเป็นสุข

การอุ้มแมวในรัชกาลที่ 7

สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน แมวที่ใช้ในการเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นแมวไทยวิเชียรมาศ ซึ่งเป็นแมวมงคลตามตำรา สีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีน้ำตาลไหม้ 9 แห่งทั่วตัว ดวงตาสีฟ้าสดใส เป็นสายพันธุ์แมวไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

การอุ้มแมวในรัชกาลที่ 7

ในส่วนของส่วนการอุ้มไก่ขาว เข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เริ่มมีปรากฏภาพในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 อันอาจสอดคล้องกับการสร้างครอบครัวใหม่ที่มีการมอบสัตว์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้าน ซึ่งไก่นับเป็นสัตว์เลี้ยงสารพัดประโยชน์ทั้งบอกเวลาและเลี้ยงไว้กินไข่ และผสมผสานกับคติความเชื่อของจีนที่ว่า ไก่ขาวสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้


ข้อมูล : royalworldthailand

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงสง่าในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ

Alternative Textaccount_circle
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี 
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี 

วันนี้ (5 พฤษภาคม 2562)โดยเวลาประมาณ 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง และทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี เสด็จพระราชดำเนินมายังเกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ประทับพระราชยานพุดตานทอง เลขาธิการพระราชวังกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยาตราริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศพยุหยาตราทางสถลมารค

โดยมี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มยศ ร่วมริ้วขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมในพระบารมี ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้ยาตราขบวนจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 

ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ และอีกทั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ทรงมีพระจริยวัตรงดงาม และทรงเป็นขัตติยะนารีที่สง่างามในทุกพระอิริยาบถ


ภาพ : นิตยสารแพรว

 

 

วีรสตรี งดงาม หาญกล้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ร่วมในริ้วขบวนฯ ทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศ

วีรสตรี งดงาม หาญกล้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ร่วมในริ้วขบวนฯ ทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) มีอีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญ นั่นคือ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมในพระบารมี ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จะยาตราขบวนจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค  นอกจากประชาชนจะได้ชื่นชมพระบารมีของพระองค์ และริ้วขบวนพระอิสริยยศที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติแล้ว อีกหนึ่งความประทับใจที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญอดทน ก็คือ การร่วมอยู่ในริ้วขบวนพระอิสสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศ ร่วมในริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค ในหลวง ร.๑๐

ทรงร่วมในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค โดยใช้การเดินกึ่งสวนสนามพร้อมกับเหล่าทหาร ตำรวจ และวงดุริยางค์ ตามระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เริ่มตั้งแต่ริ้วขบวนยาตราออกทางประตูพิมานไชยศรี ประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน โดยเดินตามจังหวะดนตรีจากวงดุริยางค์วงนำและวงตาม ที่บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ 6 เพลง คือเพลงพระราชนิพนธ์มาร์ชราชวัลลภ ยามเย็น ใกล้รุ่ง สรรเสริญเสือป่า สรรเสริญพระนารายณ์ และมาร์ชธงไชยเฉลิมพล เมื่อริ้วขบวนถึงศาลหลักเมือง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำเนินใน

ริ้ววขบวนยาตราต่อเนื่องไปยังถนนราชดำเนินกลาง เลี้ยวซ้ายถนนตะนาว เลี้ยวขวาถนนบวรนิเวศ เลี้ยวขวาถนนพระสุเมรุ แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร เส้นทางการยาตราขบวนจากพระบรมมหาราชวังมายังวัดบวรนิเวศวิหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที 

จากนั้นยาตราริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยยาตราริ้วขบวนไปตามถนนพระสุเมรุ เลี้ยวขวาที่ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เข้าถนนราชดำเนินกลาง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัษฎางค์ เลี้ยวซ้ายถนนบำรุงเมือง เลี้ยวขวาถนนเฟื่องนคร แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที

ต่อด้วยออกจากเกยข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ไปตามถนนเฟื่องนคร เลี้ยวขวาถนนเจริญกรุง แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระยะทางประมาณ 650 เมตร ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

จากนั้นเสด็จออกจากพระอุโบสถ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังเกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประทับพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ยาตราริ้วขบวนไปตามถนนท้ายวัง เลี้ยวขวาถนนมหาราช เลี้ยวขวาถนนหน้าพระลาน แล้วเลี้ยวขวาเข้าพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวิเศษไชยศรี ผ่านประตูพิมานไชยศรี แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 50 นาที รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 7.15 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง โดยไม่รวมเวลาหยุดพักขบวน ณ ที่หมาย

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระองค์ทรงร่วมในริ้วขบวนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ทั้งนี้การร่วมขบวนเสด็จในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคในวันนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงแสดงให้เห็นถึงความหาญกล้าอดทนเช่นชายชาติทหาร เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2560 ก่อนที่พระองค์จะได้รับการสถาปนาขึ้นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระองค์ทรงร่วมในริ้วขบวนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเต็มยศกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์เช่นเดียวกับในวันนี้

 

 

พระปรมาภิไธย

คำอ่าน พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ใน ร.๑o

Alternative Textaccount_circle
พระปรมาภิไธย
พระปรมาภิไธย

พระกระแสพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานนันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งอยู่ภายในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังทางทิศเหนือ โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยพระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

โดยมีคำอ่าน พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ที่ถูกต้องทุกพระองค์ สำหรับคนทั่วไปที่กลัวอ่านหรือพูดผิด ดังต่อไปนี้

พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

อ่านว่า (พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-บอ-รม-ชะ-นะ-กา-ทิ-เบด-มะ-หา-พู-มิ-พน-อะ-ดุน-ยะ-เดด-มะ-หา-ราด-บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิด)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-นาง-เจ้า-สิ-หริ-กิด-พระ-บอ-รม-รา-ชิ-นี-นาด-พระ-บอ-รม-มะ-ราด-ชน-นะ-นี-พัน-ปี-หลวง)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-กะ-นิด-ถา-ทิ-ราด-เจ้า-กรม-สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-เจ้า-ฟ้า-มะ-หา-จัก-กรี-สิ-ริน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-วอ-ระ-ราด-ชะ-พัก-ดี-สิ-หริ-กิด-จะ-กา-ริ-นี-พี-ระ-ยะ-พัด-รัด-ถะ-สี-มา-คุ-นา-กอน-ปิ-ยะ-ชาด-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-น้อง-นาง-เทอ-เจ้า-ฟ้า-จุ-ลา-พอน-วะ-ไล-ลัก-อัก-คระ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี-กรม-มะ-พระ-สี-สะ-หวาง-คะ-วัด-วอ-ระ-ขัด-ติ-ยะ-ราด-ชะ-นา-รี)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

อ่านว่า (พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-โสม-สะ-วะ-ลี-กรม-มะ-หมื่น-สุด-ทะ-นา-รี-นาด)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-ลูก-เทอ-เจ้า-ฟ้า-พัด-ชะ-ระ-กิ-ติ-ยา-พา-นะ-เรน-ทิ-รา-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ดี)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-ลูก-เทอ-เจ้า-ฟ้า-สิ-หริ-วัน-นะ-วะ-รี-นา-รี-รัด-ราด-ชะ-กัน-ยา)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

อ่านว่า (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-ลูก-ยา-เทอ-เจ้า-ฟ้า-ที-ปัง-กอน-รัด-สะ-หมี-โชด-มะ-หา-วะ-ชิ-โรด-ตะ-มาง-กูน-สิ-หริ-วิ-บูน-ราด-ชะ-กุ-มาน)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

อ่านว่า (พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-สิ-หริ-พา-จุ-ทา-พอน)

พระนามาภิไธยพระบรมวงศ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

อ่านว่า (พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-อะ-ทิด-ตะ-ยา-ทอน-กิ-ติ-คุน)


ที่มา : พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒

 

 

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ฉลองพระองค์ชุดไทย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานสุดงดงาม

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ฉลองพระองค์ชุดไทย
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ฉลองพระองค์ชุดไทย

วันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) เวลาประมาณ 18.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยริ้วขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานผ้าไหมปักลูกปัดลายพิกุลในลายราชวัตร ทรงประดับสายสะพายและดวงดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงประดับเหรียญปฐมจุลจอมเกล้า เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๑๐ ชั้นที่ ๑ แพรแถบเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระเกศาประดับเหรียญสองพระองค์ ภปร. สก. ทรงพระกุณฑลทับทิมประดับเพชร พร้อมทรงสายรัดพระองค์ทอง ประดับพระปั้นเหน่งดวงตราจักรีประดับเพชร และพระกระเป๋าทรงถือถมเงินรูปมะเฟือง

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยอันเปี่ยมไปด้วยความหมาย

ฉลองพระองค์งดงามวิจิตร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณฯ ทรงตามรอยสมเด็จย่า

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชกรณียกิจแรก สมเด็จพระราชินีสุทิดา งามสง่าตามเสด็จในหลวง ร.10

สืบทอดตามรอยพระราชบิดา ภาพประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี

ในหลวงร.10 สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีฯ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระราชินีสุทิดา”

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10


ภาพ : IG@praewmag

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ขบวนพยุหยาตราสถลมารค ในหลวง ร.๑๐

Alternative Textaccount_circle
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) มีอีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญ นั่นคือ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมในพระบารมี ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จะยาตราขบวนจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

โดยเวลาประมาณ 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง และทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี เสด็จพระราชดำเนินมายังเกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ประทับพระราชยานพุดตานทอง เลขาธิการพระราชวังกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยาตราริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศพยุหยาตราทางสถลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

เมื่อพร้อมแล้ว ริ้วขบวนยาตราออกทางประตูพิมานไชยศรี ประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน โดยเดินตามจังหวะดนตรีจากวงดุริยางค์วงนำและวงตาม ที่บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ 6 เพลง คือเพลงพระราชนิพนธ์มาร์ชราชวัลลภ ยามเย็น ใกล้รุ่ง สรรเสริญเสือป่า สรรเสริญพระนารายณ์ และมาร์ชธงไชยเฉลิมพล ลักษณะการเดินใช้การเดินกึ่งสวนสนาม เน้นเท้า เมื่อริ้วขบวนถึงศาลหลักเมือง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำเนินใน

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

สำหรับการจัดริ้วขบวน ยึดตามแบบโบราณราชประเพณีและพระราชนิยม ในการนี้จัดกำลังเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ขบวนหน้าเป็นขบวนนำ ประกอบด้วยตำรวจม้านำ วงดุริยางค์วงนำ กองบังคับการกองผสม และหนึ่งกองพันทหารเกียรติยศ นำเสด็จพระราชดำเนิน ขบวนพระบรมราชอิสริยยศหรือขบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นขบวนกลาง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนนำริ้ว ได้แก่ ตอนนำริ้ว ตอนเครื่องประโคม และตอนอำนวยการริ้วขบวน อีกส่วนคือส่วนพระราชยาน ได้แก่ ตอนเครื่องสูงหน้า ตอนพระราชยาน และตอนเครื่องสูงหลัง และขบวนหลัง ประกอบด้วย วงดุริยางค์วงตาม และหนึ่งกองพันทหารเกียรติยศ ตามเสด็จพระราชดำเนินเป็นขบวนตาม

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ริ้วขบวนยาตราต่อเนื่องไปยังถนนราชดำเนินกลาง เลี้ยวซ้ายถนนตะนาว เลี้ยวขวาถนนบวรนิเวศ เลี้ยวขวาถนนพระสุเมรุ แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เส้นทางการยาตราขบวนจากพระบรมมหาราชวังมายังวัดบวรนิเวศวิหาร ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที 

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

จากนั้นเสด็จออกจากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ประทับพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ยาตราริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยยาตราริ้วขบวนไปตามถนนพระสุเมรุ เลี้ยวขวาที่ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เข้าถนนราชดำเนินกลาง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอัษฎางค์ เลี้ยวซ้ายถนนบำรุงเมือง เลี้ยวขวาถนนเฟื่องนคร แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จเข้าพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงนมัสการพระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถ และถวายสักการะพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

จากนั้นเสด็จออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังเกยข้างวัดวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประทับพระราชยานพุดตานทอง แล้วยาตราริ้วขบวน ออกจากเกยข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ไปตามถนนเฟื่องนคร เลี้ยวขวาถนนเจริญกรุง แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระยะทางประมาณ 650 เมตร ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

จากนั้นเสด็จออกจากพระอุโบสถ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังเกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประทับพระราชยานพุดตานทองที่เกยหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ยาตราริ้วขบวนไปตามถนนท้ายวัง เลี้ยวขวาถนนมหาราช เลี้ยวขวาถนนหน้าพระลาน แล้วเลี้ยวขวาเข้าพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวิเศษไชยศรี ผ่านประตูพิมานไชยศรี แล้วเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เสด็จขึ้น ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 50 นาที รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 7.15 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง โดยไม่รวมเวลาหยุดพักขบวน ณ ที่หมาย

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค


 

ภาพ : นิตยสารแพรว


 

ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โบราณราชประเพณีอันเป็นสิริมงคล

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

พระปฐมบรมราชโองการของ “ในหลวง รัชกาลที่ 10”

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยอันเปี่ยมไปด้วยความหมาย

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย

เมื่อวานนี้ (4 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง

โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยจักรพรรดิสีชมพู ทรงผ้าสะพักประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นดวงตรามหาจักรีล้อมขอบด้วยปทุมอุณาโลมสลับจักรีไขว้ และรัดพระองค์พระปั้นเหน่งทับทิมล้อมเพชร องค์เดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ต่อมาในช่วงบ่ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยจักรพรรดิ และรัดพระองค์พระปั้นเหน่งนพเก้าที่ตกทอดมาจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยพระปั้นเหน่งนพเก้า ประกอบด้วยเพชรเม็ดใหญ่และพลอยสำคัญอีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ (ไพลิน) มุกดาหาร เพทายและไพฑูรย์ ครบทุกชนิดตามโบราณราชประเพณี

ความเชื่อของผู้คนที่มีมาแต่โบราณกาลว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิดที่เรียกว่า “นพรัตน์” ถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ถือเป็นของสูง เป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง เลิศด้วยความดีงามทั้งปวง สมัยโบราณมีแต่เจ้านายชั้นสูงเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ใส่

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฉลองพระองค์งดงามวิจิตร พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ ทรงตามรอยสมเด็จย่า

พระราชกรณียกิจแรก สมเด็จพระราชินีสุทิดา งามสง่าตามเสด็จในหลวง ร.10

พระองค์หญิงฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สืบทอดตามรอยพระราชบิดา ภาพประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี

ในหลวงร.10 สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีฯ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระราชินีสุทิดา”

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10


ภาพ : สำนักพระราชวัง

ข้อมูล : jewelilove , FB@หนูน้อยบนยอดเขาอันหนาวเหน็บ

สมเด็จพระเทพฯ

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

Alternative Textaccount_circle
สมเด็จพระเทพฯ
สมเด็จพระเทพฯ

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) 

การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ พระยศพิเศษของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ซึ่งทรงได้รับพระราชทานในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการคาดเดากันว่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนี้

 

สมเด็จพระเทพฯ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงได้รับการการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-กะ-นิด-ถา-ทิ-ราด-เจ้า-กรม-สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-เจ้า-ฟ้า-มะ-หา-จัก-กรี-สิ-ริน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-วอ-ระ-ราด-ชะ-พัก-ดี-สิ-หริ-กิด-จะ-กา-ริ-นี-พี-ระ-ยะ-พัด-รัด-ถะ-สี-มา-คุ-นา-กอน-ปิ-ยะ-ชาด-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี)

สมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระเทพฯ

ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” ซึ่งแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ ครั้นในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุ 22 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงได้รับความสำเร็จในการศึกษาอย่างงดงาม และทรงบำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากมาย รวมถึงทรงเพียบพร้อมด้วยพระจรรยามารยาทและคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ อีกทั้งยังเป็นที่รักใคร่ นับถือ และสรรเสริญพระเกียรติคุณโดยถ้วนทั่ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) ซึ่งพระราชอิสริยยศนี้สูงส่งที่สุดของเจ้านายฝ่ายใน พร้อมทั้งเฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์

“พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” (อ่านว่า พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-โสม-สะ-วะ-ลี-กรม-มะ-หมื่น-สุด-ทะ-นา-รี-นาด)

สมเด็จพระเทพฯ

ทั้งนี้ พระองค์โสมฯ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร จึงทรงเป็นทั้งเป็นพระภาติยะ (หลานที่เป็นลูกของพี่ชายหรือน้องชาย) และอดีตพระสุณิสา (ลูกสะใภ้) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ” ซึ่งนับเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา ทรงมีพระธิดาพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนธิราเทพยบดี ภายหลังการหย่าในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” โดยสร้อยพระนาม “พระวรราชาทินัดดามาตุ” เป็นพระยศพิเศษพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมายถึง พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ


 

ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โบราณราชประเพณีอันเป็นสิริมงคล

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

พระปฐมบรมราชโองการของ “ในหลวง รัชกาลที่ 10”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ”

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10

พระบรมวงศานุวงศ์

สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลที่ ๑o

Alternative Textaccount_circle
พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) โดยมีการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาล 10 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งอยู่ภายในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังทางทิศเหนือ โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชโองการ

โดยในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาพระนามาภิไธย และพระฐานันดรศักดิ์ ดังต่อไปนี้

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชอิสริยยศสูงสุด คือ ได้รับสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 7 ชั้น เสมอเท่าสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระบรมราชินี จะไม่มีการลดพระราชอิสริยยศแต่อย่างใด ได้สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจจการิณีพิรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี

 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

พระองค์เคยทรงเป็นพระวรชายามาก่อนนั้น แล้วถึงเป็นพระวรราชาทินัดดามาตุ อันหมายถึงแม่ของหลานกษัตริย์ผู้ประเสริฐ ได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

นอกจากนี้พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้ง 3 พระองค์ ได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ ดังนี้

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

ในส่วนของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี ได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ ดังนี้

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ


ข้อมูล : ราชกิจจานุเบกษา

ภาพ :

– Royal World Thailand – รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย

– ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทย

– เรารัก พระองค์ภา : Our Beloved Princess Bajrakitiyabha

– เรารัก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

– welove_thairoyalfamily

– เรารักสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

– กองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

– เรารักพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

 

 

keyboard_arrow_up