สมเด็จพระเทพฯ

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

Alternative Textaccount_circle
สมเด็จพระเทพฯ
สมเด็จพระเทพฯ

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) 

การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ พระยศพิเศษของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ซึ่งทรงได้รับพระราชทานในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการคาดเดากันว่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนี้

 

สมเด็จพระเทพฯ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงได้รับการการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-กะ-นิด-ถา-ทิ-ราด-เจ้า-กรม-สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-เจ้า-ฟ้า-มะ-หา-จัก-กรี-สิ-ริน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-วอ-ระ-ราด-ชะ-พัก-ดี-สิ-หริ-กิด-จะ-กา-ริ-นี-พี-ระ-ยะ-พัด-รัด-ถะ-สี-มา-คุ-นา-กอน-ปิ-ยะ-ชาด-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี)

สมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระเทพฯ

ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์” ซึ่งแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ ครั้นในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุ 22 พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงได้รับความสำเร็จในการศึกษาอย่างงดงาม และทรงบำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากมาย รวมถึงทรงเพียบพร้อมด้วยพระจรรยามารยาทและคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ อีกทั้งยังเป็นที่รักใคร่ นับถือ และสรรเสริญพระเกียรติคุณโดยถ้วนทั่ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) ซึ่งพระราชอิสริยยศนี้สูงส่งที่สุดของเจ้านายฝ่ายใน พร้อมทั้งเฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์

“พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” (อ่านว่า พระ-เจ้า-วอ-ระ-วง-เทอ-พระ-อง-เจ้า-โสม-สะ-วะ-ลี-กรม-มะ-หมื่น-สุด-ทะ-นา-รี-นาด)

สมเด็จพระเทพฯ

ทั้งนี้ พระองค์โสมฯ ทรงมีพระนามเดิมว่า หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร เป็นอดีตพระวรชายาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร จึงทรงเป็นทั้งเป็นพระภาติยะ (หลานที่เป็นลูกของพี่ชายหรือน้องชาย) และอดีตพระสุณิสา (ลูกสะใภ้) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ” ซึ่งนับเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชายา ทรงมีพระธิดาพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนธิราเทพยบดี ภายหลังการหย่าในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” โดยสร้อยพระนาม “พระวรราชาทินัดดามาตุ” เป็นพระยศพิเศษพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หมายถึง พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ


 

ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โบราณราชประเพณีอันเป็นสิริมงคล

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

พระปฐมบรมราชโองการของ “ในหลวง รัชกาลที่ 10”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ”

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10

Praew Recommend

keyboard_arrow_up