กว่า 3 ทศวรรษ “สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์” พระกรณียกิจบำรุงสุขของเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

“ขอให้ชีวิตที่เหลือของหนูได้ทำประโยชน์ให้ประชาชน แค่นั้นหนูก็พอแล้ว และหนูขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทุกคน ให้ช่วยดูแลประชาชนอย่างดีที่สุด” พระดำรัสตอนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่มีต่อคณะแพทย์และประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาท เมื่อครั้งเสด็จออกเยี่ยมหน่วยแพทย์ พอ.สว. จังหวัดหนองคาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีมานี้ที่พระองค์ทรงมีพระอาการประชวร ทำให้พระพลานามัยไม่แข็งแรงนัก แต่พระองค์ก็ทรงไม่ละเว้นจากการปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีกระทั่งวันนี้ (4 กรกฎาคม 2564) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 64 พรรษา พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อทรงแบ่งเบาพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ทรงมีผลงานโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ จนทรงได้รับการยกย่องเป็น “เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์” ส่วนในระดับโลกนั้น พระองค์ทรงสร้างผลงานดีเด่นในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม หนึ่งในพระกรณียกิจสำคัญ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ถึงพระอัจฉริยภาพในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี คือ “สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์” ที่พระองค์ทรงก่อตั้งขึ้นเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษแล้ว ซึ่งสถาบันแห่งนี้ได้สร้างผลงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีประโยชน์ต่อประชาชนมากมาย กว่า 3 ทศวรรษ […]

เปิดคลิป เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ทรงฝึก Free Fall โดดร่มขั้นสูงกับหน่วยรบพิเศษ

จากการเปิดเผยว่า พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จะทรงดิ่งพสุธา First Jump ฝึกโดดร่มขั้นสูงกับหน่วยรบพิเศษ ณ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นั้น ล่าสุดวันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2564) เฟซบุ๊กเพจ เรารัก สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา : Our Beloved HRH Princess Bajrakitiyabha ซึ่งคอยเผยแพร่เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา อย่างสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงฝึกโดดร่มขั้นสูงกับหน่วยรบพิเศษ ณ จังหวัดลพบุรี ออกมาให้ได้ชมกันแล้ว เปิดคลิป เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ทรงฝึก Free Fall โดดร่มขั้นสูงกับหน่วยรบพิเศษ ข้อมูลและภาพ : เรารัก […]

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา จะทรงดิ่งพสุธา ทรงกล้าแกร่ง สมพระเกียรติ พลเอกหญิง

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา จะทรงดิ่งพสุธา ทรงกล้าแกร่ง สมพระเกียรติ พลเอกหญิง… หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 2 สำนักงานอัยการสูงสุด ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการกองบัญชาการ ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก) และพระราชทานพระยศเป็น พลเอกหญิง เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564   ส่งผลให้ในช่วงนี้ พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรทักษะทางทหารเพิ่มเติม ซึ่งการฝึกหลักสูตรทักษะทางทหารนี้เอง ถือเป็นเหตุผลหนึ่งในการตัดสินพระทัยตัดพระเกศาสั้นเป็นทรง ‘รองทรง Low Fade‘ ดังที่ทุกคนได้เห็นกัน  เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา จะทรงดิ่งพสุธา ทรงกล้าแกร่ง สมพระเกียรติ พลเอกหญิง และล่าสุดแอดมินเพจ เรารัก สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา : […]

ในหลวง-พระราชินี ทรงประกอบพิธีสังเวยพระป้าย เทศกาลตรุษจีน

ในหลวง-พระราชินี ทรงประกอบพิธี สังเวยพระป้าย เทศกาลตรุษจีน… วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 21.08 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงประกอบพิธีสังเวยพระป้ายเนื่องในเทศกาลตรุษจีน พุทธศักราช 2564 ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี โดยเสด็จด้วย พิธีสังเวยพระป้าย คือ การถวายอาหารไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย ณ พระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันไหว้ของจีน ส่วนในวันตรุษจีน หรือวันขึ้นปีใหม่จีน จะมีการสังเวยพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยพระป้าย หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เกสิน” หมายถึง ป้ายชื่อของบรรพบุรุษ บุพการี ที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน ซึ่งพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน มีลักษณะเป็นเทวรูปหล่อ […]

เผยที่มา รองทรง Low Fade ทรงพระเกศาใหม่ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพิธีตรุษจีน

เผยที่มา รองทรง Low Fade ทรงพระเกศาใหม่ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพิธีตรุษจีน… เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.53 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จออกแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ วังเทเวศร์ เพื่อทรงประกอบพิธีบวงสรวงเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ประจำปี 2564 การเสด็จปฏิบัติพระกรณียกิจครั้งนี้ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา นับเป็นที่พูดถึงอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการปฏิบัติพระกรณียกิจหลังจากที่ทรงหยุดชะงักไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ยังทรงปรากฏพระองค์พร้อมกับทรงพระเกศาใหม่อีกด้วย เผยที่มา รองทรง Low Fade ทรงพระเกศาใหม่ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพิธีตรุษจีน สำหรับทรงพระเกศาใหม่นี้ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จากการสืบค้นข้อมูลแล้วพบว่าเป็นลักษณะของทรงผมที่เรียกว่า […]

เผยที่มา พระมาลาทรงเบเร่ต์ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ทรงงดงามตามรอยทูลกระหม่อมย่า

เผยที่มา พระมาลาทรงเบเร่ต์ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ทรงงดงามตามรอยทูลกระหม่อมย่า… พระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเยี่ยมเยียนโครงการหลวง งานวิจัยประมงบนพื้นที่สูง และพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 นอกจากความมุ่งมั่นตั้งพระทัยในการทอดพระเนตรและทรงร่วมกิจกรรมต่างๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมาก คือพระสไตล์อันงดงามและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เผยที่มา พระมาลาทรงเบเร่ต์ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ทรงงดงามตามรอยทูลกระหม่อมย่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พระมาลาทรงเบเร่ต์สีม่วงลวดลายอ่อนช้อย ที่แมตช์อย่างลงตัวกับฉลองพระองค์แบรนด์ Chanel รวมถึงพระกระเป๋าเป้สีแดงก็เป็นของแบรนด์ Chanel เช่นกัน ส่วนเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ฉลองพระเนตรกันแดด รัดพระองค์ และฉลองพระบาท เป็นของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ซึ่งเป็นแบรนด์ในพระองค์เอง ความงดงามของพระมาลานี้ ถึงขั้นทำให้หลายคนอยากรู้ว่าเป็นของแบรนด์อะไร หรือมีที่มาอย่างไร ซึ่งภายหลังทางเพจ Queen Sirikit Museum of Textiles ได้เปิดเผยข้อมูลว่า พระมาลาทรงเบเร่ต์นี้ตัดเย็บจากผ้าปักชาวไทยภูเขา และเป็นผลงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากพระมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่นิทรรศการ […]

เผยโฉม ‘ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ’ จากลวดลายพระราชทานสู่งานทอจริง

เผยโฉม ‘ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ’ จากลวดลายพระราชทานสู่งานทอจริง… สืบเนื่องจากพระกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ผ้าไทย ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปยังศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในงาน OTOP City 2020 พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ นิทรรศการผ้าไทยใส่ให้สนุก และการออกแบบต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไทย เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 โดยมีพระกรณียกิจไฮไลท์ที่สร้างความประทับใจอย่างหาที่สุดมิได้ คือทรงออกเเบบลายมัดหมี่พระราชทานเเก่ช่างทอผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญปีใหม่ และสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักเเละความสุขแก่ชาวไทยทุกคน จากลวดลายพระราชทานที่สร้างความประทับใจในวันนั้น ณ วันนี้ช่างทอผ้าทุกกลุ่มจากทั่วทุกภูมิภาค ได้นำลวดลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ไปทอจนกลายเป็นผ้าผืนงามเรียบร้อยแล้ว โดยทางเฟซบุ๊กเพจ HRH Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya ได้รวบรวมภาพแห่งความสำเร็จมาให้ชมกัน ดังนี้ เผยโฉม ‘ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ’ จากลวดลายพระราชทานสู่งานทอจริง สำหรับความหมายของ “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” นั้น ลาย S หมายถึง Sirivannavari สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ […]

สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลที่ ๑o

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) โดยมีการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาล 10 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งอยู่ภายในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังทางทิศเหนือ โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชโองการ โดยในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาพระนามาภิไธย และพระฐานันดรศักดิ์ ดังต่อไปนี้   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชอิสริยยศสูงสุด คือ ได้รับสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 7 ชั้น เสมอเท่าสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระบรมราชินี จะไม่มีการลดพระราชอิสริยยศแต่อย่างใด ได้สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจจการิณีพิรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระองค์เคยทรงเป็นพระวรชายามาก่อนนั้น แล้วถึงเป็นพระวรราชาทินัดดามาตุ […]

ประทับใจมิรู้ลืม พระบรมวงศานุวงศ์ ธ ทรงเป็นกำลังพระทัยของ ในหลวง ร.10

ประทับใจมิรู้ลืม พระบรมวงศานุวงศ์ ธ ทรงเป็นกำลังพระทัยสำคัญของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ๓-๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก นับเป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดของปวงชนชาวไทย โดยในห้วงเวลานี้นี้ได้มีเหตุการณ์ และพิธีการต่างที่ต้องจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งประชาชนชาวไทยเองต่างก็ประทับใจมิรู้ลืม การนี้แพรวดอทคอมได้รวมภาพต่างๆ ตลอดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ พระฉายาลักษณ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระอิริยาบถเรียบง่าย ซึ่งทุกภาพนั้นล้วนสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา มีพระราชปฏิสันถารด้วย สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทรงสวมกอด ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี การนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงก้มกราบ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ […]

โทมนัสอย่างไร แต่ยังอบอุ่นเสมอ รวมภาพประทับใจในหลวงร. ๑๐ และพระบรมวงศานุวงศ์จากงานพระราชพิธีฯ วันสุดท้าย

จบสิ้นลงไปแล้วสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งพิธีสุดท้ายของวันนี้ (29 ตุลาคม 2560) คือการเคลื่อนของริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 6 เป็นการอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคาร ประดิษฐานที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงถือพระผอบพระบรมราชสรีรางคารขึ้นรถยนต์พระที่นั่ง เพื่อบรรจุพระผอบพระบรมราชสรีรางคารของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ตลอดงานพระราชพิธีฯ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมเป็นต้นมา ขัตติยมานะ ของเจ้านายทุกพระองค์ถูกเก็บซ่อน ไม่เปิดเผยให้ประชาชนเห็นถึงความอ่อนแอ แต่ในบรรยากาศอันโศกเศร้า เราก็ได้เห็นความอบอุ่นของราชวงศ์จักรีอยู่เรื่อยมา อย่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จ พระองค์จะทรงรอพระเชษฐภคินี และ พระขนิษฐภคินีอยู่เสมอ หรือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประคองเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ซึ่งทุกอย่างที่เราได้เห็นทำให้สามารถสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นจริงๆ ก่อนงานพระราชพิธีฯ ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้าย (29 ตุลาคม 2560) จะจบลง ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์จะเสด็จกลับ ก็ทรงพูดคุยกันเล็กน้อย แต่กลับเป็นภาพแห่งความประทับใจที่ชาวไทยได้เห็นแล้วก็รู้สึกปลื้มยิ่งนัก แม้ว่าตอนนี้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จะได้จากพวกเราชาวไทยไปแล้ว แต่คำสอนของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ […]

ความโทมนัส ในพระราชหฤทัยแลพระทัย ใครเล่าจะรู้หรือเข้าใจได้ทั้งหมด

ความโทมนัส ใดเล่าจะสาหัสยิ่งใหญ่เท่าทุกข์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทว่าสังขารมีความเสื่อมฉันใด เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นธรรมดาโลกฉันนั้น และแม้ผู้คนจะรู้ถึงสัจธรรมความจริงข้อนี้ ก็ยังยากเหลือเกินที่จะหักห้ามความเศร้าโศกไม่ให้เกิด โดยเฉพาะห้วงเวลาปีกว่าที่ผ่านมา นับจากวันที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสู่สวรรคาลัย ซึ่งหากเราสามารถแปรความเสียใจเป็นมวลสารหนึ่งก้อน น้ำหนักความเสียใจของลูกหลานไทยครั้งนี้ก็ช่างหนักอึ้งจนเกินบรรยาย คำถามคือ แล้วจะมีสักกี่คนที่รู้หรือเข้าใจถึงน้ำหนักแห่ง ความโทมนัส ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงต้องเผชิญอยู่ หลายครั้งที่เราได้ยินคำว่า… ขัตติยมานะ ทำให้เจ้านายพระองค์นั้นพระองค์นี้ต้องทรงความเข้มแข็ง ต้องไม่ทรงเผยความอ่อนแอให้ประชาชนเห็น ทว่าในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งผ่านพ้นไปแล้วทุกกระบวนการขั้นตอนอย่างสง่างาม สมพระเกียรติสูงสุด แต่ท่ามกลางเสียงร่ำไห้อาดูรของประชาชนที่อยู่ในพระราชพิธีฯพระผู้เสด็จสวรรคาลัย สิ่งที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดสดด้วยระบบ HD โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รวมกับการที่โลกขับเคลื่อนด้วยสื่อโซเชียล ก็ทำให้พสกนิกรที่ชมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศอยู่หน้าจอทีวีหรือช่องทางออนไลน์ได้เห็นถึงแววพระเนตรทุกข์ตรม และสีพระพักตร์โศกศัลย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์   เพราะนับจากวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ไทยต้องสูญเสีย ‘พ่อแห่งแผ่นดิน‘ วันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ก็ต้องทรงสูญเสีย ‘ทูลกระหม่อมพ่อ ทูลกระหม่อมปู่ หรือทูลกระหม่อมตา’ เช่นกัน เทียบกับยามที่เราอ่านพบว่า ในหลวงรัชกาลทื่ ๙ เคยทรงเปล่งสัจจะวาจาไว้ว่า “ไม่ต้องจำว่าฉันคือใคร […]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ร่วมบําเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ร.๙

วันนี้ 28 ตุลาคม 2560 เวลาประมาณ 17.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จฯ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อร่วมพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระบรมวงศานุวงศ์ เฝ้ารับเสด็จ   เรื่องและภาพ : แพรวดอทคอม

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บพระบรมอัฐิ ร.๙

เช้าวันนี้ 27 ตุลาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เฝ้ารับเสด็จ จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๑๐ เสด็จฯ ไปยังพระเมรุมาศ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายเปิดผ้าเยียรบับคลุมพระบรมอัฐิ และ ร.๑๐ ทรงเก็บพระบรมอัฐิสรงพระสุคนธ์ในขันทองคำแล้วประมวลลงในพระโกศทองคำลงยาประดับเพชร รวม 6 พระโกศ และพระราชทานพระโกศพระบรมอัฐิแก่พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย เรื่องและภาพ : แพรวดอทคอม

ประมวลภาพ พระราชอาคันตุกะ แสดงความอาลัยกับในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

วันนี้ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 20.00 น. หลังจาก พระราชอาคันตุกะ จากทั่วโลก เสด็จฯ ขึ้นบนพระเมรุมาศเพื่อถวายดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นก็ถึงลำดับที่พระราชอาคันตุกะต้องเสด็จฯ กลับ ซึ่งก่อนเสด็จฯ กลับนั้นทรงทักทายและแสดงความอาลัยในการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แด่การจากไปของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกคน ถือเป็นห้วงเวลาประวัติศาสตร์ทรงค่าที่คนไทยจะจดจำไปอีกนานเท่านาน ต่อมิตรภาพที่นานาประเทศต่างพร้อมใจกันมาแสดงให้เห็นในครานี้  

มหาดไทย น้อมนำหลักการทรงงานของในหลวง เป็นต้นแบบ “งานพัฒนา”

เป็นความโชคดีของคนไทยอย่างสุดซึ้ง ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวง ทรงทุ่มเทพระวรกายเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชาวไทยร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตามหมู่บ้านและชุมชนห่างไกล ที่หน่วยงานราชการปกติเข้าไม่ถึง รวมทั้งบางพื้นที่ที่มีการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พระองค์ได้ทรงงานคิดค้นหลักการเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหลักการเหล่านั้น ได้นำมาปรับใช้ต่อยอด และได้ช่วยเหลือชาวบ้านให้อิ่มท้องสบายกายและใจโดยไม่ต้องทุกข์ร้อนได้อีกครั้ง

keyboard_arrow_up