นอนมากเท่าไหร่ก็รู้สึกไม่พอ ‘โรคนอนเกิน’ เสี่ยงซึมเศร้า ทำร้ายสมองจริงหรือไม่?

นอนน้อยไปก็ไม่ดีส่งผลเสียต่อสุขภาพ นอนมากเกินไปก็ไม่ดีหรือที่เรียกว่า โรคนอนเกิน ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน แล้วโรคนี้เป็นอย่างไร เราจะพามารู้จักโรคนี้กัน โรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี หรือโรคขี้เซา ที่ยิ่งนอนมากเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ แม้จะนอนหลับยาวนานเกิน 8 ชม.ขึ้นไป แต่กลับมีอาการดูเฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา กินน้อยแต่กลับอ้วนง่าย เพราะการนอนทำให้กระเพาะอาหารไม่ย่อย จึงเกิดเป็นตัวอาหารและไขมันสะสม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ง่ายถึง 49% ซึ่งถือว่ามากกว่าคนปกติ ถือเป็นผลเสียระยะยาว ที่อาจทำให้เกิดการคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ และมีอาการของโรคอื่นๆ ตามมา ดังนี้ การนอนที่ดี และถูกต้องควรนอนอย่างไร หากยังมีปัญหาสุขภาพการนอนไม่หลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้แพทย์ได้วางแผนโปรแกรมการรักษาได้อย่างถูกวิธี Photo : Pexels Source : พญ.บุษราลักษณ์ ธนวัฒนาเจริญ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)

วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ที่ส่งผลยีนส์กลายพันธุ์ก่อ โรคมะเร็งปอด

‘มะเร็ง’ ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และด้วยมลพิษทางอากาศ รวมถึงฝุ่นควันต่างๆ โดยเฉพาะมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละออง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ PM2.5 ซึ่งเป็นสาเหตุกระตุ้นที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปอด ในกลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่ ปัญหาดังกล่าวที่เรื้อรังมานานจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับหลายๆ คน วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ที่ส่งผลยีนส์กลายพันธุ์ก่อ โรคมะเร็งปอด จากรายงานของคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละมากกว่าแสนรายซึ่งมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเฉียดหลักแสนรายด้วยเช่นกัน ซึ่งมะเร็งปอดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย (เป็นอันดับ 2 ในผู้ชายรองจากมะเร็งตับและถุงน้ำดี และเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง) โดยในปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือคิดเป็น 40 คนต่อวัน ทั้งนี้ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีปัจจัยในชีวิตประจำวันหลายด้านที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด ได้แก่ การสูบบุหรี่หรือการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ การทำงานที่มีการสัมผัสกับแร่ใยหินในรูปแบบต่างๆ และการส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์ เป็นต้น ขณะที่สาเหตุอื่นๆ เช่น มลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ก็กำลังทวีความรุนแรงและกลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) แม้ว่าวิกฤตฝุ่นละออง PM2.5 จะได้รับการยกระดับการแก้ปัญหาเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังและเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี และดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ตลอดหลายปีมานี้ เราได้เห็นนักคิด นักวิชาการ รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากที่ออกมาให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง PM2.5 ตลอดจนเตือนภัย และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แต่เนื่องจากปัญหาดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ดังนั้นประชนชนจึงควรมีข้อมูลความรู้ในการเตรียมตัวและวางแผนเพื่อดูแลตนเองควบคู่ไปด้วยกัน โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ถือเป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว […]

เช็กให้ชัวร์ ‘ไขมันลงพุง’ หรือ ‘เนื้องอก’ ต้องสังเกตและมีอาการร่วมอย่างไร

พุงโต หน้าท้องไม่แบนราบ ปัญหาของผู้หญิงหลายคนๆ แม้ว่าจะออกกำลังกาย หรือคุมอาหารก็แล้ว พุงก็ยังไม่ยุบ ต้องขอบอกว่าพุงที่เห็น อาจไม่ได้เกิดจากไขมันส่วนเกิน ไขมันลงพุง แต่เกิดจากก้อนเนื้อ หรือเนื้องอกมดลูกได้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า พุงที่เห็นเกิดจากอะไร มีวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆ มาฝากกันค่ะ เช็กให้ชัวร์ ‘ไขมันลงพุง’ หรือ ‘เนื้องอก‘ ต้องสังเกตและมีอาการร่วมอย่างไร วิธีสังเกตเบื้องต้น ให้นอนราบ แล้วสังเกตว่ามีพุงป่องขึ้นมาหรือเปล่า เมื่อใช้มือกดคลำบริเวณหน้าท้องว่ามีก้อนหรือไม่ รวมถึงมีอาการอื่นๆ ผิดปกติร่วมด้วย ได้แก่ ท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยก้อนในช่องท้องที่พบบ่อย ได้แก่ เนื้องอกในมดลูก ซีสต์ในรังไข่ โดยเฉพาะสตรีวัยเจริญพันธุ์ หรือ 25 – 40 ปี อาการเมื่อมีเนื้องอกในมดลูกอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ ประจำเดือนมามากผิดปกติ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ อาจมีการคลำพบได้ที่หน้าท้อง ถ้าขนาดโตจนเบียดกระเพาะปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะบ่อย ถ้าไปเบียดลำไส้ หรือทวารหนัก อาจมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบาก โดยเนื้องอกที่รังไข่ แบ่งเป็น […]

เนติเซนเกาหลี ไม่พอใจกับคำแนะนำด้านสุขภาพจิตที่ JYP แนะนำศิลปินของเขา

ลุงผัก หรือ พัคจินยอง (Park Jin Young) ผู้ก่อตั้ง JYP ENTERTAINMENT ถูก เนติเซนเกาหลี วิจารณ์สำหรับแนวทางการจัดการกับความอยู่ดีมีสุขทางอารมณ์ของศิลปินของเขา ในการปรากฏตัวครั้งล่าสุดที่ PSICK SHOW บน YouTube ซึ่งเขาได้ให้คำแนะนำศิลปินที่กำลังมีวันที่แย่ทั้งทางอารมณ์และร่างกายว่า “นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันบอกศิลปินของฉัน เช่น Stray Kids, TWICE ว่า “โอเค อาจมีวันที่แย่ แต่ถ้าคุณดูหดหู่ เศร้าโศก และเศร้า คุณจะทำให้ทุกคนไม่สบายใจ นั่นคือสิ่งที่เราเป็น แม้ในวันที่ยากที่สุด เราก็ต้องออกไปสร้างเรื่องตลก เพื่อทำให้ทุกคนที่สนับสนุนพวกคุณสบายใจ” ด้วยประโยคดังกล่าว จึงสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองของชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ ที่เกิดขึ้นจากปรัชญาของ JYP ที่ว่าถึงแม้จะมีปัญหาส่วนตัว ศิลปินควรรักษาท่าทางร่าเริงและระงับความรู้สึกที่แท้จริงของตน เพื่อรักษาบรรยากาศที่ดีสำหรับทุกคนที่อยู่รอบตัวพวกเขา ซึ่งผู้ชำนาญการด้านสุขภาพจิตแย้งว่าแนวทางดังกล่าวอาจทำให้ภายในจิตใจของศิลปินเกิดการต่อสู้รุนแรงขึ้น เพราะพวกเขาต้องเก็ดกดความรู้สึกไว้ ไม่สามารถเผยอารมณ์ที่แท้จริงออกมาได้ แฟนๆ หลายคนรู้สึกว่า การคาดหวังให้ศิลปินทำหน้าเข้มแข็งมีความสุขอยู่ตลอดเวลาก็เหมือนกับการปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนหุ่นยนต์ที่ไร้อารมณ์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อแสดงโดยไม่สะดุด พวกเขากังวลว่าสิ่งนี้อาจนำไปสู่เหตุการณ์อันตรายที่ศิลปินกดดันตัวเองจนอาจจะถึงจุดที่ไม่สนใจสัญญาณของความเหนื่อยล้าทางจิตใจจนกว่าจะสายเกินไป เห็นได้จากจำนวนไอดอลที่หยุดพักงานด้วยเหตุผลด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น การหายไปของ Lia จาก ITZY เมื่อเร็วๆ นี้ ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงครั้งนี้ การที่เธอหยุดพักจากกิจกรรมของ ITZYควบคู่ไปกับคำแนะนำของ JYP […]

‘วัคซีนสูงวัย’ ต้องฉีดอะไรบ้าง? ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคร้ายแรงบางชนิดได้

ทุกคนย่อมเคยได้รับการฉีดวัคซีน เพราะตั้งแต่เมื่อแรกเกิดเด็กทุกคนจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนด อาจมีทั้งวัคซีนพื้นฐาน และวัคซีนเสริม หลายคนเคยฉีดตั้งแต่ยังเด็กหรืออายุยังน้อย แต่เมื่อโตมากลับไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอีกเลย เพราะอาจจะไม่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง บทความนี้จึงจะมาเสริมข้อมูลในเรื่องการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ว่า ที่จริงแล้วผู้ใหญ่ก็ควรฉีดวัคซีน โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เนื่องจากวัคซีนจะช่วยป้องกันหรือช่วยลดความรุนแรงของโรคร้ายแรงบางชนิดได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มะเร็งปากมดลูก งูสวัด ปอดอักเสบ เป็นต้น และนี่คือวัคซีนที่ควรฉีดในผู้ใหญ่ค่ะ ได้แก่ ทั้งนี้ก่อนการฉีดวัคซีน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะ เนื่องจากแต่ละคนย่อมมีสภาวะสุขภาพ โรคประจำตัว และข้อห้ามที่แตกต่างกันค่ะ ข้อมูล : พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)ภาพ : Pexels

เช็คอาการ สัญญาณเตือน ‘โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม’ มักพบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ

ใครมีอาการเหล่านี้บ้าง? ปวดคอ ปวดกระดูกคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ร้าวลงไปที่แขน มีอาการชา และอ่อนแรง บางรายเป็นมากต้องระวัง เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม กดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังได้ หมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ อาจเกิดจากอุบัติเหตุ การขยับคอผิดจังหวะอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งส่งผลให้ชิ้นส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังบางส่วนเคลื่อนหลุดออกมากดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังได้ โดยแบ่งอาการได้เป็น 2 กลุ่ม 1. อาการของการกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดต้นคอ ร้าวไปตามต้นแขน แขนหรือมือตามตำแหน่งที่เส้นประสาทเส้นใดถูกกด ผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้นอาจมีอาการอ่อนแรงแขนหรือมือได้ 2. อาการของการกดไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการ ขาอ่อนแรง เดินลำบาก เวลาเดินจะมีอาการขาตึงๆ ชาตามลำตัว และลามไปถึงขาทั้ง 2 ข้างได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการมืออ่อนแรงร่วมด้วย โดยที่ไม่มีอาการปวดตามขาหรือแขนที่อ่อนแรง ส่วนอาการปวดคออาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ การรักษาจะเริ่มจากการให้ผู้ป่วยกินยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยบางรายที่ปวดมาก อาจจำเป็นต้องใช้เฝือกอ่อนพยุงคอ (soft collar) เพื่อช่วยลดการขยับคอ ซึ่งทำให้หายปวดได้เร็วขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นมากหรือหายได้ แต่ถ้าหากอาการปวดยังไม่หายหลังจากการรักษา […]

แพทย์แผนจีนเผย 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ ‘การลดน้ำหนักด้วยผลไม้’

ผลไม้ช่วยลดน้ำหนักได้ผลจริงหรือ? เพื่อรักษารูปร่างให้เพรียว หลายๆ คนจะลดปริมาณอาหารที่กิน และเลือกกินเฉพาะผลไม้กล่องหรือสลัดเป็นอาหารเช้า หรือรวมแม้กระทั่งมื้อกลางวันด้วย ในความเข้าใจของใครหลายคน ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การกินผลไม้สม่ำเสมอย่อมดีต่อร่างกาย และยังเป็นความคิดที่ดีในการลดน้ำหนักด้วย แต่จะเป็นเช่นนี้จริงหรือ? ล่าสุด Yang Mingxia แพทย์แผนจีนได้วิเคราะห์ 4 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ ‘การลดน้ำหนักด้วยผลไม้’ ความเข้าใจผิดที่ 1: การกินผลไม้สามารถลดความอยากอาหารได้ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียได้ทำการทดลองหลายชุดเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของฟรุกโตสในผลไม้ต่อร่างกายมนุษย์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประการแรก พวกเขาให้เครื่องดื่มรสผลไม้แก่ผู้ตอบแบบสอบถาม แต่ไม่ได้เปิดเผยว่าเครื่องดื่มนั้นมีฟรุกโตสหรือกลูโคสหรือไม่ จากนั้น นักวิจัยขอให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนระดับความหิวของพวกเขา และในขณะที่ทำการสแกนสมอง พวกเขาได้แสดงภาพถ่ายของอาหาร เช่น ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ ฯลฯ ซึ่งการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าหลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตส ผู้คนมีการตอบสนองต่อภาพถ่ายอาหารมากขึ้น เท่ากับไม่สามารถลดความอยากอาหารได้ ความเข้าใจผิดที่ 2: ผลไม้สามารถทดแทนมื้ออาหารได้การกินผลไม้แทนอาหารมื้อหลักอาจช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นระบบเผาผลาญในร่างกายจะเริ่มปรับตัวให้ทำงานน้อยลง หลังจากนั้น หากกลับมากินอาหารมื้อหลักอาหารตามปกติก็จะทำให้กลับมาอ้วนได้หรือโยโย่ได้ โดยวัตถุประสงค์หลักของการกินผลไม้คือการเสริมน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ และธาตุอาหารรอง แต่ไม่ใช่เพื่อเสริมสารอาหารหลัก 3 ชนิด (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน) ที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ ซึ่งโปรตีนสามารถรักษาการเจริญเติบโต การต่ออายุ และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของมนุษย์ ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ คาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้างเซลล์ที่มีชีวิตและสารที่ให้พลังงานหลักและควบคุมการทำงานของเซลล์ ความเข้าใจผิดที่ […]

สถาบันประสาทวิทยาเผย ‘โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR’ มีอาการหลอนคล้ายผีเข้า

จากกระแสดังของ “ธี่หยด” ภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญ ซึ่งบอกเล่าเอาไว้บนกระทู้พันทิป กระทั่งกลายเป็นนิยายขายดีในช่วงที่ผ่านมา จากอาการของ “น้องแย้ม” เป็นตัวละครหลักของเรื่องที่มีอาการไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถขยับตัวหรือควบคุมตัวเองได้ทั้งยังมีอาการสับสน หูแว่ว ประสาทหลอน และมีนิสัยก้าวร้าว ต่างไปจากนิสัยเดิม จึงทำให้เข้าใจว่า เธออาจถูกผีเข้าหรือไม่นั้น อาการดังกล่าวหากอธิบายตามหลักการทางการแพทย์ ทางสถาบันประสาทวิทยา ได้เผยความผิดปกตินี้ คล้ายอาการผีเข้าอาจเกิดจาก โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR ที่มีอาการแสดงหลากหลายคล้ายโรคทางจิตเวชหรือเข้าใจว่าเป็นผลจากสิ่งเหนือธรรมชาติ หากไม่รักษาให้ทันท่วงทีอาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุการเกิด โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDARโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อตัวรับชนิด NMDA (NMDA Receptor) ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอาจจะสร้างมาจากเนื้องอกรังไข่หรือเนื้องอกอัณฑะ หรืออาจจะเกิดขึ้นเองจากการติดเชื้อไวรัสในร่างกาย หรือบางครั้งอาจตรวจไม่พบสาเหตุ สามารถพบผู้ป่วยได้ทุกเพศและทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหญิงอายุน้อย โดยมากผู้ป่วยมักจะมีอาการไม่สบายแบบไม่จำเพาะ คล้ายเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยความผิดปกติทางระบบประสาท อาการโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDARผู้ป่วยจะมีอาการคือ มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามร่างกายนำมาก่อน ร่วมกับอาการที่ทำให้เข้าใจผิดว่าผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น นอนไม่หลับ สับสน ก้าวร้าวหรือเซื่องซึม บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอน เป็นต้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจรักษา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เคี้ยวปาก […]

‘วีแกน’ และ ‘แพลนต์เบส’ ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่คือความยั่งยืนของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันผู้คนหันมาเลือก ‘ลดและงด’ การกินหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์มากขึ้น นอกเหนือจากการไม่เบียดเบียนสัตว์แล้ว ยังมีประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพของเราและโลกด้วย ซึ่งรูปแบบการบริโภคอาหารแบบเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่เป็นเทรนด์ในปัจจุบันคือการกินอาหารแบบ วีแกน (Vegan) และแพลนต์เบส (Plant-based)  วีแกน (Vegan) และแพลนต์เบส (Plant-based) ต่างกันอย่างไร? วีแกน คือการกินมังสวิรัติในรูปแบบหนึ่งที่เน้นการกินอาหารที่มาจากพืชหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ทุกชนิด เช่น นม เนย ชีส ไข่ โยเกิร์ต น้ำผึ้ง และยีสต์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการไม่เบียดเบียนสัตว์ แต่ยังได้รับคุณประโยชน์จากสารอาหารในกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุจากการกินพืชผักและผลไม้ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เส้นผมนุ่มสลวยเงางาม อีกทั้งช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักและลดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพราะร่างกายจะได้รับปริมาณแคลอรี่ที่น้อยลง ในทางกลับกัน ร่างกายจะได้รับไฟเบอร์ที่มากขึ้น ซึ่งช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานและช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดัน ไขมัน หลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น สายวีแกนไม่เพียงแต่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกใช้เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า สบู่ โลชั่น ตลอดจนเครื่องสำอาง ที่ไม่มีวัสดุหรือส่วนผสมที่มาจากสัตว์ รวมไปถึงการไม่ทดลองกับสัตว์ในห้องแล็บ ซึ่งหลายวัฒนธรรมในต่างประเทศให้ความสำคัญและรณรงค์พิทักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความสูญเสียและการทำร้ายสัตว์อย่างจริงจัง แพลนต์เบส เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ใส่ใจการดูแลสุขภาพแต่มีความยืดหยุ่นกว่า คือจะเน้นการกินพืชและผลไม้ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ […]

‘โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด’ สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเป็นๆ หายๆ โดยมีความผิดปกติอยู่ที่หูชั้นใน มักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ ซึ่งบทความนี้จะให้ความรู้ถึงสาเหตุ อาการ การรักษา รวมถึงคำแนะนำในการปฎิบัติตัวเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค สามารถนำไปใช้สังเกตตนเองและคนรอบข้าง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างเหมาะสม โอกาสในการเกิดโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด กลไกการเกิดโรคโดยปกติแล้วภายในหูชั้นในของมนุษย์ มีอวัยวะควบคุมการทรงตัว (Utricle, Saccule, Semicircular canal) ซึ่งใน Utricle มีตะกอนหินปูน (Otoconia) ที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ หากมีสาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนหลุด จะทำให้ตะกอนหินปูนดังกล่าวเคลื่อนที่ไปมาใน Semicircular canal และส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ สาเหตุของการเกิดโรค อาการของโรค การวินิจฉัยโรคโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติและตรวจร่างกายที่จำเพาะ การตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรคอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีบ้านหมุนขณะตรวจได้ การรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค ข้อมูล : นพ.สุเมธ เฟื่องกำลูน แพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ศูนย์ หู คอ จมูก โรงพยาบาลนวเวชภาพ […]

เครียดเรื้อรังหรือแค่ขี้เกียจ? เช็คอย่างไรว่าเป็น ภาวะ Burnout จริงๆ

คุณเคยสับสนในตัวเองไหม ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาจะไปทำงาน สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เป็น…เป็นอาการ Burnout หรือจริงๆ เราแค่ขี้เกียจกันแน่? ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน นั่นก็คือ “ภาวะ Burnout” หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดจากการเผชิญกับความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานๆ มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานหนัก มีภาระหน้าที่ที่มากเกินไป มีความคาดหวังจากบุคคลอื่นสูง หรือขาดการสนับสนุนจากผู้อื่นจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น สมาธิลดลง อารมณ์ไม่ดี มุมมองต่อตนเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์ อาการสามารถแบ่งได้ 3 ด้าน 1. Emotional Exhaustion ความเครียดทางอารมณ์ คืออารมณ์ความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง อ่อนล้า ไม่อยากปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่อยากการจัดการปัญหา เพราะความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น 2. Depersonalization คือทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นการแยกตัวจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ รู้สึกตนเองแปลกแยกจากคนอื่น และความรับผิดชอบต่องานลดลง 3. Reduced Personal Achievement การประเมินตนเองเชิงลบ สงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมถึงทักษะในการเผชิญปัญหาลดลง แยกความต่างกันสักนิด ในทางการแพทย์ ภาวะ Burnout มักมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ในขณะที่ “ความขี้เกียจ”  มักส่งผลต่อแค่ความตั้งใจที่จะทำอะไรสักอย่างเท่านั้น อาการของภาวะ burn out มักมีอาการบ่งชีัอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การป้องกันการเกิดภาวะ burnout 1. โดยองค์กร 2. โดยตัวพนักงานเอง ภาวะ Burnout เป็นเรื่องไม่ไกลตัว หากรู้ตัวหรือคนรอบข้างสังเกตได้เร็ว ทำให้การจัดการทำได้ง่าย […]

‘ไขมันในเลือดสูง’ คือไขมันชนิดไหน? สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

ไขมันในเลือดสูง หรือภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) คือภาวะที่มีระดับไขมันไม่ดี (LDL) สูง ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง หรือระดับไขมันดี (HDL) ต่ำ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดผิดปกติถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการก่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นต้น โดยปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนต่างๆ แต่หากมีการกินไขมันจากอาหารมากเกินไป มีโรคทางพันธุกรรม มีการใช้ยาหรือสารต่างๆ ที่ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ไขมันในเลือดสูง คือไขมันชนิดไหนไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหาร ก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่าง ๆ ดังนี้ ค่าไขมันในเลือด แบบไหนผิดปกติค่าไขมันในเลือดที่ปกติมีความแตกต่างไปตามอายุและเพศ โดยทั่วไปแล้วในผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี ควรมีค่า สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไขมันในเลือดสูงภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์ การมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด […]

รู้ไว้จะได้ระวัง! 4 พฤติกรรมเสี่ยงและสาเหตุเกิด ‘หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท’

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา (Sciatica) หรือปวดคอร้าวลงแขน (Brachialgia) ได้บ่อยที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ 1-3% ของจำนวนประชากร และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วน 2:1 และในกลุ่มช่วงอายุที่พบได้บ่อยสุด คือ 30-50 ปี (Gen X, Gen Y)  หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถเกิดกับหมอนรองกระดูกสันหลังได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ อก หรือ เอว ซึ่งพบหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างได้บ่อยที่สุด 3 อาการหลักของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus pulposus) ซึ่งมีน้ำและคอลลาเจน เป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนเปลือกของหมอนรองกระดูก (Annulus fibrosus) ซึ่งมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกี่ยวเนื่องกับหลายปัจจัย เช่น  การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาศัยข้อมูลหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้ ความเสี่ยงกับการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องกันตัวเองจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการปวด ปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง  การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท […]

‘วิตามินวัยทำงาน’ หนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ง่าย สะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วอย่างปัจจุบัน ส่งผลให้วัยทำงานต้องเผชิญกับชีวิตที่ยุ่งเหยิง ความเครียดที่ถาโถม จนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ง่าย สะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่สุดคือ การกินวิตามินรวมที่เรียกได้ว่าเป็น ‘วิตามินวัยทำงาน’ ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับวัยทำงานที่ควรกินและมีติดไว้ คือ วิตามินบี วิตามินบี ได้แก่ บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี9 (โฟเลต) และบี 12 เป็นวิตามินคนทำงานหนักอย่างแท้จริง เพราะมีบทบาทสำคัญในการสร้างพลังงานและจัดการความเครียด ช่วยในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน เสริมสร้างระบบประสาทที่แข็งแรง และรวมถึงส่วนของการควบคุมอารมณ์ ดังนั้น การบริโภควิตามินรวมที่มีส่วนผสมของวิตามินบีในปริมาณที่เพียงพอ ย่อมเป็นการเพิ่มระดับพลังงาน เสริมการทำงานของสมอง และต่อสู้กับความเหนื่อยล้าที่เกิดจากความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิตามินซี วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยม ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานการโจมตีจากอนุมูลอิสระ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาวะชีวิตที่เคร่งเครียดเร่งรีบ นอกจากนี้ วิตามินคนทำงานหนักอย่างวิตามินซียังมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งช่วยในการบำรุงรักษาสุขภาพผิว เหงือก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ดังนั้น จึงควรเลือกวิตามินรวมที่มีวิตามินซีผสมอยู่ด้วยเช่นกัน  วิตามินดีวิตามินดี อีกหนึ่งวิตามินวัยทำงานที่ขาดไม่ได้ในวิตามินรวม โดยเฉพาะวัยทำงานที่ชีวิตส่วนใหญ่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องแอร์ก็คือวิตามินดี  เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่กล่าวมาทำให้ได้รับแสงแดดธรรมชาติซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์วิตามินดีไม่เพียงพอ และอาจเกิดภาวะขาดวิตามินดี โดยวิตามินชนิดนี้มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก การทำงานของภูมิคุ้มกัน และการควบคุมอารมณ์ […]

10 ‘โรคจิตเวช’ ที่พบบ่อย มีอาการต่างกันอย่างไร? ควรหมั่นสังเกต พร้อมแนวทางรักษา

ปัจจุบันคนไทยที่ป่วยด้วย โรคจิตเวช มีไม่น้อย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วยและบางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยการสังเกตอาการคนรอบข้างรวมถึงตัวเองเกี่ยวกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนรักษาก่อนอาการรุนแรง และนี่คือ 10 โรคจิตเวช สำคัญที่ควรรู้ เพื่อให้ได้ลองสังเกตตนเอง รวมถึงการสังเกตคนรอบข้างว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยหรือไม่ จะได้รับมือและรับการรักษาที่ถูกต้อง 1. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder)เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่ายเป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ ความรู้สึกไร้ค่าเป็นภาระ พฤติกรรมการกินอาหารและการนอนเปลี่ยนไป เหนื่อยเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน บางรายอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง 2. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)อาการที่เด่นชัด คือ กังวลหรือคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ หยุดความคิดที่เกิดขึ้นไม่ได้จนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดตึงต้นคอ ใจสั่น อ่อนเพลีย นอนหลับได้ยาก มีอาการอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งโรควิตกกังวลสามารถแบ่งประเภทได้ เช่น […]

อาการแบบไหนเสี่ยงเป็น ‘โรคเส้นประสาทตาอักเสบ’ ภัยเงียบที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

โรคเส้นประสาทตาอักเสบ จะมีอาการตามัวแบบเฉียบพลันร่วมกับอาการปวดตา โดยเฉพาะเวลากลอกตาหรือเคลื่อนไหวลูกตา โดยลักษณะตามัวอาจจะเริ่มจากมัวตรงกลางและมัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์แรกได้จนอาจมองไม่เห็นได้ โดยในช่วงแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้สามารถกลับมามองเห็นได้ดีขึ้น แต่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงที โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (optic neuritis : ON) เป็นภาวะที่มีการอักเสบร่วมกับการเสื่อมของปลอกหุ้มเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยโรคนี้อาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางกายที่มีการเสื่อมของเส้นประสาทสมอง และไขสันหลังร่วมด้วยที่เรียกว่า multiple sclerosis ( MS ) แต่อย่างไรก็ตาม โรคเส้นประสาทตาอักเสบอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีโรคทางกายอื่นๆ ได้สำหรับผู้ป่วยที่เป็น MS หลายรายที่มีอาการแสดงครั้งแรกที่ตาจากเส้นประสาทตาอักเสบ ฉะนั้นหากพบผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทตาอักเสบ จำต้องพิจารณาหาว่ามีโรคทางกาย โดยเฉพาะ MS ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากโรคนี้อาจนำไปสู่ความพิการทางกายอย่างถาวรได้ เส้นประสาทตาหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่สอง (optic nerve) เป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับภาพจากจอตา เพื่อไปแปลผลที่สมองส่วนควบคุมการมองเห็นที่อยู่บริเวณท้ายทอยโรคของเส้นประสาทตาที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ หรือจากการติดเชื้อที่ส่งผลถึงประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะตามัวแบบเฉียบพลันร่วมกับอาการปวดตา โดยเฉพาะเวลากลอกตาหรือเคลื่อนไหวลูกตา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความสามารถในการมองเห็นของตัวเองเป็นระยะทั้งการมองทั้งสองข้างและมองแบบปิดตามองทีละข้าง เพื่อเปรียบเทียบกัน หรือมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตาข้างใดมีปัญหา ต้องทดสอบและรักษาอย่างทันท่วงที โรคเส้นประสาทตาอักเสบ(optic neuritis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเส้นประสาทตา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทที่มีปลอกหุ้มประสาทอักเสบ (demyelination) เช่น โรคMultiple […]

ฝึก 11 นิสัยการกิน และใช้ชีวิต เคล็ดลับรักษารูปร่างให้เป๊ะไม่เปลี่ยน

การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเสมอไป เป็นเรื่องง่ายที่จะน้ำหนักขึ้นหลังจากการลดน้ำหนักอย่างมาก จริงๆ แล้วรายละเอียดการบริโภคอาหารในชีวิตมีมากมาย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปสามารถช่วยปรับรูปร่างของคุณได้ เช่น การไม่นั่งหลังอาหารนานเกินไป การdboเนื้อสัตว์โดยไม่กินหนัง การเคี้ยวช้าๆ ฯลฯ ลองฝึกพัฒนา นิสัยการกิน ที่ดี 11 ข้อต่อไปนี้ เพื่อรักษารูปร่างให้เป๊ะไม่เปลี่ยนและเพื่อสุขภาพที่ดีต่อร่างกาย 1. ไม่กินหนังสัตว์การกินหนังสัตว์ทำให้อ้วนได้ง่าย หนังสัตว์มีไขมันสูงมาก การกินมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อน้ำหนักและการควบคุมไขมันในเลือด และอาจนำไปสู่โรคอ้วนได้ง่าย แนะนำให้ลอกหนังทิ้งให้เป็นนิสัยก่อนกินอาหารและรับรองช่วยลดปริมาณไขมันได้ 2. เทน้ำมันออกเมื่อกินของมัน เช่น เกี๊ยวหรือซุปเกี๊ยวปริมาณไขมันในเกี๊ยวนั้นสูงมากและเป็นไขมันอิ่มตัวโดยทั่วไปเชื่อกันว่าจำเป็นต้องมีไขมันไม่อิ่มตัวและไขมันอิ่มตัวไม่จำเป็น เกี๊ยวต้มที่ดูดีต่อสุขภาพประกอบด้วยผัก เนื้อสัตว์ แต่จริงๆ แล้วมีความมันมาก ดังนั้น ถ้าอยากกินแล้วดีต่อสุขภาพของคุณ แนะนำให้เทไส้ที่ความมันและซุปออกก่อนจะดีกว่า 3. เลิกของหวานของหวานเป็นศัตรูตัวฉกาจของการลดน้ำหนักอย่างแน่นอน การไม่กินของหวานมีประโยชน์มากมาย สามารถลดน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้ ปรับปรุงสภาพผิว ลดโอกาสการเกิดสิว ปรับปรุงสภาพจิตใจ เป็นต้น กล่าวได้ว่าของหวานไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น 4. ไม่นั่งหรือนอนทันทีหลังกินอาหารการนั่งหรือนอนเป็นเวลานานหลังกินอาหารไม่เอื้อต่อการย่อยอาหารและอาจเพิ่มการสะสมไขมัน การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ช่วยย่อยอาหาร แต่อย่าออกกำลังกายหนักๆ หลังอาหาร ถ้าออกกำลังกายแนะนำให้รอเกิน 30 นาที เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยก่อน 5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มอัดลมและไม่กินอาหารขยะเครื่องดื่มอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก หากคุณดื่มเป็นประจำ อาจทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ ได้ ส่วนอาหารขยะก็ยังมีน้ำตาลสูงมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน […]

วิธีรับมือ ‘พฤติกรรมรุนแรงในเด็ก’ สำหรับผู้ปกครอง ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้

คงจะได้เห็นข่าวกันบ่อยๆ เกี่ยวกับความคิดและ พฤติกรรมรุนแรงในเด็ก จนส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หลายกรณีรุนแรงจนถึงขั้นอีกฝ่ายเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น มีความซับซ้อนและเกี่ยวโยงกันหลายๆ อย่าง ไม่อาจตอบได้ทีเดียวว่าปัจจัยใดมากกว่าปัจจัยใด โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงได้แก่ ในกรณีนี้คนรอบข้างหรือในคนครอบครัว ควรสังเกตบุตรหลานอย่างใกล้ชิดว่ามีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมรุนแรงหรือไม่ โดยประเมินได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงมากกว่าปกติ, มีการระเบิดอารมณ์ที่บ่อยขึ้น, หงุดหงิดงุ่นง่าน พลุ่งพล่าน อยู่ไม่สุข, หุนหันพลันแล่น ควบคุมความโกรธ/อารมณ์ไม่ได้, ถูกกระตุ้นอารมณ์ได้ง่าย, พฤติกรรมแปลกไปกว่าเดิม เช่น พูดน้อยลงหรือมากขึ้น นิ่งลง ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกก็อยู่ที่ความสามารถทางสติปัญญาในการวางแผนด้วย หากพบว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมรุนแรงควรรับมืออย่างไรเมื่อไหร่ที่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลคนอื่น เช่นครู รู้สึกว่าเด็กมีพฤติกรรมแปลกไป ควรจะพาไปประเมินอย่างละเอียดโดยจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ซึ่งการเข้ารับการรักษาเร็ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดความรุนแรงได้มาก โดยเป้าหมายของการรักษา คือช่วยให้เด็กเรียนรู้การควบคุมความโกรธ การแสดงออกความไม่พอใจได้อย่างเหมาะสม  ให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและยอมรับผลของการกระทำนั้น เช่น กำหนดข้อตกลงบทลงโทษของการทำผิด และคุยต่อว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อไปอย่างไรหากอยู่ในสังคมทั้งที่ใกล้ตัวและสังคมที่ใหญ่ขึ้นไป นอกจากนี้เรื่องปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาที่โรงเรียน ปัญหาของสังคมรอบข้างก็ควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง  พฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก ทุกๆ คนมีส่วนสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดได้ เพียงแค่ใส่ใจ หมั่นสังเกตและพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ แต่หากพบว่ามีความเสี่ยงควรพาไปประเมินกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อลดความสูญเสียหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ขอบคุณข้อมูล : แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล […]

keyboard_arrow_up