พระปรีชาหาญกล้าของ “ในหลวงรัชกาลที่ 10” กษัตริย์นักรบของชนชาวไทย

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านการทหารอย่างเปี่ยมล้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบิน ซึ่งพระองค์ทรงใฝ่รู้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ตลอดจนทรงสั่งสมประสบการณ์อยู่เป็นนิจ และทรงเคยเข้าร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารแนวหน้ามาแล้ว จนนับได้ว่าทรงเป็นกษัตริย์นักรบของชนชาวไทย อีกทั้งพระปรีชาสามารถด้านการทหารของพระองค์ยังเป็นที่ประจักษ์ผ่านนานาพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติด้วยความกล้าหาญเยี่ยงชายชาติทหารอย่างแท้จริง พระปรีชาหาญกล้าของ “ในหลวงรัชกาลที่ 10” กษัตริย์นักรบของชนชาวไทย   ทรงศึกษาด้านการทหารอย่างมุ่งมั่น พระราชประวัติด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสนพระทัยด้านการทหารตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงมุ่งมั่นตั้งพระทัยเป็นอย่างมาก โดยพระองค์ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อ พ.ศ. 2499 ขณะมีพระชนมายุ 4 พรรษา จากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2509 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย แล้วทรงศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหาร แล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 อีกทั้งยังทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช […]

งดงามจับตา 2 พระธำมรงค์คู่พระบารมี แห่งพระมหากษัตริย์จักรีวงศ์

งดงามจับตา 2 พระธำมรงค์คู่พระบารมี แห่งพระมหากษัตริย์จักรีวงศ์…ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 (4 พฤษภาคม 2562) เวลา 10.09 น. นับเป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุด เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

พระบรมฉายาลักษณ์สุดอบอุ่นของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส

พระบรมฉายาลักษณ์สุดอบอุ่นของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส ในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในทุกๆ วันของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เรามักจะได้เห็นภาพประทับใจในพิธีเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระอิริยาบถเรียบง่าย ไม่ทรงถือพระองค์ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค มีประชาชนชาวไทย เดินทางมารอชมพระบารมีเต็มถนนสองข้างทาง โดยในขณะที่ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เคลื่อนผ่านนั้น เราจะได้ยินเสียง “ทรงพระเจริญ” ตลอดเส้นทาง นับเป็นภาพประวัติศาตร์ที่หาดูได้ยากยิ่ง ล่าสุด เมื่อค่ำวานนี้ พสกนิกรก็ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์สุดประทับใจของ ในหลวง ร.10 กับพระราชธิดาและพระราชโอรส ช่วงที่ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคเคลื่อนมาถึงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยหลังจากเทียบพระราชยานพุดตานทองที่เกยข้างวัดราชบพิธฯ แล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ก็ได้ทรงพระดำเนินออกมารับทูลกระหม่อมพ่อ เป็นที่มาของพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทั้งสามพระองค์ทรงแย้มสรวลให้กัน ด้วยความเกษมสำราญเป็นที่ยิ่ง ทรงพระเจริญ ภาพ : สำนักพระราชวัง, นิตยสารแพรว,วาสนา นาน่วม

ในหลวงร.10 สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีฯ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

วันนี้ (4 พ.ค. 2562) ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน บริเวณชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยน้ำสรงพระมุรธาภิเษกเป็นน้ำจากเบญจสุทธคงคา น้ำจากสระ 4 สระที่จังหวัดสุพรรณบุรีและทรงรับน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนตร์ และทรงรับการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ พร้อมกับมีพระปฐมบรมราชโองการ โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบรมราชาภิเษก เถลิงถวัลยราชสมบัติโดยสมบูรณ์แล้ว ตามที่เป็นไปตามโบราณประเพณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยสมบูรณ์ทุกประการ              

จัดพิมพ์เพียง 3 ล้านดวง ตราไปรษณียากรที่ระลึก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชานุญาตให้ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ออกเผยแพร่ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ตามแบบที่ทูลเกล้าฯ ถวาย

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญ สำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ใกล้ถึงวันสำคัญของประชาชนชาวไทย เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แพรวดอทคอมจึงขอถือโอกาสรวบรวมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เผยแพร่เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ในพระราชพิธีสำคัญนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงรับเสวยราชสมบัติและเปลี่ยนสถานะเป็นองค์สมมติเทพอย่างสมบูรณ์ โดยผ่านขั้นตอนพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผสมผสานระหว่างคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ มีขั้นตอนสำคัญประกอบด้วยการถวายน้ำสรงมุรธาภิเษก หมายถึงการรดน้ำที่ศีรษะ มาจากคำว่า มุรฺธ แปลว่า ศีรษะ กับคำว่า อภิเษก แปลว่า การรดน้ำ และขั้นตอนสำคัญประการถัดมาคือการถวายน้ำอภิเษก ถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์อันเป็นขัตติยราชูปโภค สถาปนาพระราชวงศ์ และเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งเป็นราชประเพณีที่สืบเนื่องจากกรุงศรีอยุธยามาสู่กรุงรัตนโกสินทร์  สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ พระมหามณเฑียร หรือ หมู่พระมหามณเฑียร ประกอบด้วยพระที่นั่งที่เชื่อมต่อกันหลายองค์ ใช้เป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่หมู่แรกที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังและถือเป็นพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์สำคัญยิ่ง    หมู่พระมหามณเฑียรตั้งอยู่บริเวณย่านกลางของพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณีโดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาซ้อนชั้นตามคติความเชื่อเรื่องปราสาทหรือเรือนฐานันดรสูง ประดับกรอบหน้าบันด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ที่เรียกเครื่องประดับกรอบหน้าบันนี้โดยรวมว่า เครื่องลำยอง หลังคาของหมู่พระมหามณเฑียรมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว […]

ในหลวง ร.10 โปรดเกล้าฯ เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ ความว่า พระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ […]

เผยที่มา เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่ประดับบนเครื่องแบบฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 10

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ สำหรับ เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่ประดับบนเครื่องแบบฉลองพระองค์ ในหลวง รัชกาลที่ 10 ซึ่งเหรียญราชอิสริยาภรณ์นั้นคือ เหรียญที่พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด โดย เหรียญราชอิสริยาภรณ์ แรกที่เราจะพูดถึงนั้นคือ เหรียญดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเฉพาะฝ่ายหน้า (บุรุษ) เท่านั้น เดิมทีเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ต่อมามีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ โดยทรงเพิ่มดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องหมายเพิ่มเติมสำหรับชั้นนี้ ถัดมาเป็น เหรียญดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า คือ เหรียญกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 8 ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรที่ริมขอบเหรียญว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้ชาติ เบื้องบนมีเข็มโลหะรูป คฑาจอมพล มีอักษรว่า กล้าหาญ […]

สุดซาบซึ้ง! น้ำพระทัยของในหลวงรัชกาลที่ 10 กษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ

จากเหตุการณ์การค้นหาและช่วยเหลือ 13 ชีวิต นักฟุตบอลเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย ที่ติดอยู่ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ภารกิจกู้ภัยครั้งใหญ่ที่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งจากเหตุการณ์นี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย และความมีน้ำใจจากคนทั่วโลกแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ของ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งทรงคอยพระราชทานความช่วยเหลือต่างๆ อย่างเงียบๆ ตามพระนิสัยส่วนพระองค์ จนขนานพระนามได้ว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ ทั้งนี้หลายคนอาจไม่ทราบว่าพระองค์ทรงพระราชทานความช่วยเหลืออะไรบ้าง แพรวดอทคอมจึงขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณด้วยการรวบรวมน้ำพระทัยของพระองค์มาให้ทราบทั่วกัน   โรงครัวพระราชทาน ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของภารกิจการค้นหา 13 ชีวิต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยและทรงติดตามการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน เพื่อปรุงอาหารสำหรับแจกจ่ายให้กับผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ปกครองของผู้สูญหาย และสื่อมวลชน ซึ่งนับว่าสร้างทั้งพลังกายและพลังใจให้กับทุกคนที่ถ้ำหลวง   พระราชทานเสื้อกันฝน 2,000 ตัว ภารกิจการค้นหา 13 ชีวิต ดำเนินท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายแทบจะตลอดเวลา ทำให้การค้นหายิ่งยากลำบากเป็นเท่าทวีคูณ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จึงพระราชทานเสื้อกันฝนเป็นจำนวน 2,000 ตัว เรียกว่าช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทุกคนที่ถ้ำหลวงเป็นอย่างมาก   พระราชทานหลอดไฟ LED เป็นที่ทราบกันดีว่าภายในถ้ำหลวงนั้นมืดสนิท แสงสว่างจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงความยากลำบากของการปฏิบัติงานในข้อนี้ จึงพระราชทานหลอดไฟ LED ที่สามารถชาร์จไฟได้ สำหรับนำไปแขวนให้แสงสว่างภายในถ้ำหลวง   พระราชทานอุปกรณ์กู้ภัย […]

ประมวลภาพ พระราชอาคันตุกะ แสดงความอาลัยกับในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

วันนี้ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 20.00 น. หลังจาก พระราชอาคันตุกะ จากทั่วโลก เสด็จฯ ขึ้นบนพระเมรุมาศเพื่อถวายดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นก็ถึงลำดับที่พระราชอาคันตุกะต้องเสด็จฯ กลับ ซึ่งก่อนเสด็จฯ กลับนั้นทรงทักทายและแสดงความอาลัยในการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แด่การจากไปของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกคน ถือเป็นห้วงเวลาประวัติศาสตร์ทรงค่าที่คนไทยจะจดจำไปอีกนานเท่านาน ต่อมิตรภาพที่นานาประเทศต่างพร้อมใจกันมาแสดงให้เห็นในครานี้  

“ประชาชนต้องปลอดภัยทั่วถึงเสมอกัน” พระราชดำรัสอันทรงห่วงใยของ ในหลวงรัชกาลที่ 10

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ทรงตระหนักว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนในประเทศ

ประวัติศาสตร์จารึก 1 ธ.ค. 59 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชดำรัสรับทรงราชย์

ตามที่ได้มีการถ่ายทอดสดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล และจารีตประเพณี ที่ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้น “ทรงราชย์”

keyboard_arrow_up