2 ลุคหวานละมุนของ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ในพิธีอภิเษกสมรส เจ้าฟ้าชายฮุสเซน

ปรากฏพระวรกายในงานสำคัญใดๆ ฉลองพระองค์ของ แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ก็ไม่เคยทำให้แฟนๆ ราชวงศ์ผิดหวัง ซึ่งครั้งนี้พระองค์มาใน 2 ลุคหวานละมุนในแบรนด์คู่พระทัย และ เทียร่าทรงโปรด 2 ลุคหวานละมุนของ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ในพิธีอภิเษกสมรส เจ้าฟ้าชายฮุสเซน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2023 เจ้าชาย และเจ้าหญิงแห่งเวลล์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ เจ้าฟ้าชายฮุสเซน มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน และ รัจวา คาลิด อัล ซาอีฟ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพระราชพิธีสุดยิ่งใหญ่นี้ โดยในพระราชพิธีช่วงเช้าถูกจัดขึ้น ณ พระราชวังซาห์ราน กรุงอัมมาน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน เจ้าชาย และเจ้าหญิงแห่งเวลล์ปรากฏพระองค์ในลุคสง่า โดยเฉพาะเจ้าหญิงเคทที่ทรงพระสิริโฉมงดงามเป็นอย่างมากในชุดเดรสสีชมพูจากแบรนด์ Elie Saab ทรงใส่พระกุณฑลมอร์แกนไนต์ และ กระเป๋าทรงจากแบรนด์ Wilbur & Gussie ขณะที่ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสช่วงเย็น เจ้าหญิงเคททรงฉลองพระองค์ที่เป็นทางการมากขึ้น โดยทรงสวมฉลองพระองค์ราตรีสีชมพูประดับเลื่อมจาก Jenny Packham แบรนด์คู่พระทัย ทรงจับคู่ฉลองพระองค์เข้ากับพระกุณฑล Greville Diamond […]

แฟชั่นตามใจ ไม่มีกฎ! ถอดสไตล์ เจ้าหญิงเคท ก่อนเข้ามาเป็น สะใภ้ราชวงศ์อังกฤษ

ย้อนชมสไตล์การแต่งตัวที่ไร้กฎเกณฑ์ของ เจ้าหญิงเคทก่อนจะเข้ามาเป็น สะใภ้ราชวงศ์อังกฤษ ในช่วงปี 2005-2010  เจ้าหญิงเคทเคท ได้กลายมาเป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษหลังเสกสมรสกับเจ้าชายวิลเลียมในปี 2011 หลังจากนั้นผู้คนต่างมองเจ้าหญิงเคทเป็นต้นแบบในด้านสไตล์และการแต่งตัวมาโดยตลอด เรียกได้ว่าจะถือกระเป๋าใบไหน ใส่เสื้อแบรนด์อะไร รองเท้ายี่ห้อไหน ต้องมีสื่อต่างๆ คอยรายงานและให้ความสนใจอยู่ตลอด ในฐานะสะใภ้ราชวงศ์อังกฤษ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่แสงสปอร์ตไลท์จะส่องลงมา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปล่ะ แฟชั่นของเจ้าหญิงเคทในตอนที่ยังเป็นเพียงพระคู่หมั้นของเจ้าชายวิลเลียมเป็นแบบไหน แม้จะยังไม่สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ให้วงการแฟชั่นได้มากมายเหมือนอย่างในตอนนี้ แต่ชื่อเสียงของ เคท มิดเดิลตัน ในฐานะว่าที่สะใภ้ราชวงศ์อังกฤษ ก็ดังพอที่จะให้เหล่าช่างภาพตามถ่ายได้ทุกที่ และสื่อต่างๆ ก็พากันพูดถึงสไตล์ของเธอด้วย   โดยการแต่งตัวของเจ้าหญิงเคทในช่วงปี 2005-2010 ชุดที่ใส่บ่อยๆ จะเป็นเดรสหรือไม่ก็กระโปรง ในขณะนั้น ดัชเชสเคท ซึ่งเป็นพระคู่หมั้นของเจ้าชายวิลเลียม มักจะถูกถ่ายภาพขณะออกมาช้อปปิ้งซื้อของ และภาพบางส่วนก็มาจากการแข่งขันโปโลของเจ้าชายวิลเลียม ที่ดัชเชสเคทได้เข้าร่วมด้วย (ทั้งสองคบกับกันตั้งแต่ปลายปี 2003) ในตอนนั้นสไตล์การแต่งตัวของเจ้าหญิงเคทยังไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ของราชวงศ์มาเป็นตัวกำหนด พระองค์จะชอบถือกระเป๋า Prada ใบสีครีมและสวมแว่นกันแดด Chanel ชื่นชอบรองเท้าส้นสูงที่มีความสูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว หรือไม่ก็รองเท้าส้นเตารีด นอกจากนี้ยังมีชุดเดรสลายดอกไม้ยาวถึงเข่า กระโปรงที่ใส่คู่กับเสื้อคาร์ดิแกน และกางเกงยีนส์ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่พระองค์โปรดปรานเช่นกัน […]

สมบูรณ์แบบทุกประการ ‘รัจวา คาลิด อัล ซาอีฟ’ ว่าที่ราชินีในอนาคตของ จอร์แดน

ทำความรู้จัก ‘รัจวา คาลิด อัล ซาอีฟ’ พระชายา เจ้าฟ้าชายฮุสเซน มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน ว่าที่ราชินีในอนาคตของประเทศจอร์แดนที่ สมเด็จพระราชินีราเนียตรัสว่า ‘เป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์แบบทุกประการ’ สมบูรณ์แบบทุกประการ ‘รัจวา คาลิด อัล ซาอีฟ’ ว่าที่ราชินีในอนาคตของ จอร์แดน นับเป็นงานใหญ่ที่สุดของประเทศจอร์แดน สำหรับพิธีอภิเษกสมรสที่จัดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน 2023 ของ เจ้าฟ้าชายฮุสเซน มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน กับพระคู่หมั้น รัจวา คาลิด อัล ซาอีฟ หรือ เจ้าหญิงรัจวา โดยในพิธีในมี สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 และ สมเด็จพระราชินีราเนียแห่งจอร์แดน และสมาชิกพระราชวงศ์ต่างประเทศ ทรงร่วมพระราชพิธี ณ พระราชวังซาห์ราน กรุงอัมมาน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ขณะที่พิธีอภิเษกสมรสในช่วงเย็นจัดขึ้นที่  ณ พระราชวังอัลฮุสเซนนิยา ซึ่งมีพระราชอาคันตุกะ และ แขกจากแวดวงต่างๆ มาร่วมงานถึง 4,000 คน การนี้ เจ้าฟ้าชายฮุสเซน มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน […]

เหตุผลสุดอบอุ่น ทำไม ‘เจ้าหญิงไดอาน่า’ ไม่ทรงสวมพระมาลาเมื่อต้องเจอเด็กๆ

การแต่งกายของ ‘เจ้าหญิงไดอาน่า’ มักแฝงไปด้วยความหมายและใช้เพื่อสื่อความหมายหลายครั้ง เช่นเดียวกับหมวกปีกกว้างที่พระองค์ทรงโปรด แต่กลับเลี่ยงที่จะไม่ใส่เมื่อเจอกับเด็กๆ  สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าหญิงไดอาน่าอีกอย่างหนึ่งก็คือพระมาลาหรือหมวก ซึ่งพระองค์ทรงเลือกพระมาลาเข้ากับฉลองพระองค์เสมอ และหมวกถือเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษต้องสวมตามมารยาทและธรรมเนียมในการแต่งกายแบบอังกฤษที่มีมาตั้งแต่ในอดีต จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษที่ 1950 สุภาพสตรีส่วนใหญ่มักสวมหมวกเมื่อออกนอกบ้าน เพราะการเผยเส้นผมในที่สาธารณะไม่ใช่สิ่งที่ควรทำสำหรับสุภาพสตรีในยุคนั้น แต่ ณ ตอนนี้เหตุผลหลักในการสวมหมวกกลับไม่ใช่เหตุผลเดิม เพราะทุกคนจะสวมหมวกเพื่อร่วมงานสำคัญๆ ในระดับทางการ เหตุผลสุดอบอุ่น ทำไม ‘เจ้าหญิงไดอาน่า’ ไม่ทรงสวมพระมาลาเมื่อต้องเจอเด็กๆ ดังนั้นเราจึงเห็นภาพเจ้าหญิงไดอาน่าทรงพระมาลาอยู่เสมอ แต่ทุกครั้งที่พระองค์เสด็จฯ เยือนสถานที่ที่มีเด็กๆ ก็มักจะเลี่ยงการสวมพระมาลา ซึ่งเจ้าหญิงไดอาน่าตรัสถึงเหตุผลว่า “คุณไม่สามารถกอดเด็กๆ ได้ หากใส่หมวก” แม้จะทรงชื่นชอบเครื่องประดับชิ้นนี้มากแค่ไหนก็ตาม การเลือกเครื่องแต่งกายอย่างเอาใจใส่ของเจ้าหญิงไดอาน่า แสดงให้เห็นถึงความอบอุ่นของเจ้าหญิงผู้ล่วงลับ Matthew Storey ภัณฑารักษ์ที่ Historic Royal Palaces กล่าวว่า “มันแสดงให้เห็นจริงๆ ว่าพระองค์ทรงพิจารณาคนที่จะพบอย่างระมัดระวังเพียงใด เมื่อต้องเลือกชุดสำหรับการพบปะประชาชนในที่สาธารณะ” Acott Williams กล่าวเพิ่มเติมว่า “เจ้าหญิงไดอาน่าทรงเข้าพระทัยว่าสิ่งที่ทรงสวมใส่สามารถสื่อถึงความอบอุ่นได้อย่างไร มันสามารถเสริมสร้างลำดับชั้นหรืออาจทำลายลำดับชั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์มากขึ้น” ภาพและที่มา : www.bustle.com บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ เซ็กซี่ยืนหนึ่ง! พระสไตล์ ควีนเลตีเซียแห่งสเปน […]

เผยกฏระเบียบที่ เจ้าชาย และ เจ้าหญิง แห่งบ้านเวลล์ ต้องปฏิบัติตามพี่เลี้ยง

ทุกบ้านมักจะมีกฏระเบียบ และ กติกาให้สมาชิกต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะเด็กๆ ที่อยู่ในวัยเรียนรู้ เพื่อจะสร้างสุขนิสัยในชีวิตประจำวันให้พวกเขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ เช่นเดียวกับ เจ้าชาย และ เจ้าหญิง แห่งบ้านเวลล์ ที่ต้องทำกฎเหมือนกับเด็กๆ ทั่วไป ซึ่งมีพี่เลี้ยง Maria Borrallo คอยดูแล เผยกฏระเบียบที่ เจ้าชาย และ เจ้าหญิง แห่งบ้านเวลล์ ต้องปฏิบัติตามพี่เลี้ยง Maria Borrallo เกิดที่สเปน เธอผ่านการฝึกอบรบที่ Norlan College (วิทยาลัยชื่อดังที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็ก) นอกจากนี้ เธอยังสามารถพูดได้ 6 ภาษา  ทั้งนี้ในปี 2014 พี่เลี้ยงมาเรียได้รับการว่าจ้างจาก เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าหญิงเคท ให้มาดูแล “เจ้าชายจอร์จ” ซึ่งตอนนั้นมีพระชนมายุได้เพียง 8 เดือน ตั้งแต่นั้นเธอและครอบครัวจึงได้ย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังเคนซิงตัน และดูแลทั้งเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ และ เจ้าชายหลุยส์ สำหรับกฏระเบียบต่างๆ ที่ เด็กๆ แห่งบ้านเวลล์ต้องปฏิบัติตาม ก็คล้ายๆ กับกฏระเบียบของครอบครัวทั่วไป เช่น […]

Duchy Originals แบรนด์อาหารออร์แกนิกที่สร้างเม็ดเงินกว่าร้อยล้านให้ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

นอกจากเงินปีส่วนพระมหากษัตริย์ที่ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ได้จากรัฐบาลแล้ว รู้หรือไม่ว่า พระองค์ยังมีรายได้ส่วนพระองค์จากการทำธุรกิจด้านแบรนด์อาหารออร์แกนิกที่ก่อตั้งมานานแล้วถึง 33 ปี Duchy Originals แบรนด์อาหารออร์แกนิกที่สร้างเม็ดเงินกว่าร้อยล้านให้ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเป็นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พระองค์ทรงรณรงค์ให้ผู้คนมาสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรงทำเกษตรอินทรีย์จนได้ก่อตั้งแบรนด์อาหารออร์แกนิก Duchy Originals ในปี 1990 ตั้งแต่ยังทรงเป็น เจ้าชายแห่งเวลส์ ทั้งนี้วัตถุดิบที่ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากฟาร์มใน Highgrove ตั้งอยู่ที่ มณฑลกลอสเตอร์เชียร์ ปัจจุบันแบรนด์ Duchy Originals ได้กลายเป็นแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ตามข้อมูลของบริษัท โดยในเดือนมีนาคม ปี 2021 จนถึงเดือนกันยายน 2022 Duchy Originals มีรายได้เกือบ 3.6 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 154 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แบรนด์ Duchy Originals ก็มีช่วงที่เติบโต และ หยุดนิ่ง ในช่วงหนึ่งแบรนด์ได้่ขาดทุนไปหลายล้านปอนด์ หลังจากเผชิญวิกฤตการเงินโลก และ […]

ยลโฉม 7 เครื่องประดับ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง-สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ’ ทรงสวมใส่เหมือนกัน

งดงามจับตา! ยลโฉมเครื่องประดับที่ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’ และ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี‘ ทรงเคยสวมใส่เหมือนกัน ‘เครื่องถนิมพิมพาภรณ์’ หรือ ‘เครื่องประดับ’ ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของพระสิริโฉมอันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ซึ่งได้รับการโฟกัสทุกครั้งของการปรากฏพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเครื่องประดับองค์นั้น เป็นองค์ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเคยสวมใส่ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งได้รับคำชื่นชมและสร้างความประทับใจให้กับเหล่าพสกนิกร จากความตื่นตาตื่นใจในความงดงามและความล้ำค่าของเครื่องประดับองค์เก่าแก่ อีกทั้งราวกับว่าได้ย้อนวันเวลา เพื่อหวนคิดถึงการได้ชื่นชมพระสิริโฉมอันสง่างามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสนี้ แพรว จึงรวบรวมเครื่องประดับองค์สำคัญเหล่านั้น ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเคยสวมใส่ในอดีต และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงได้รับพระราชทานพระราชานุญาตสวมใส่ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญ ยลโฉมเครื่องประดับ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง-สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ’ ทรงสวมใส่เหมือนกัน สร้อยพระศอไพลินประดับเพชรองค์นี้ออกแบบและรังสรรค์โดยบริษัทอัญมณี Van Cleef & Arpels จากประเทศฝรั่งเศส ในช่วงประมาณปี 2506 ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องประดับองค์ทรงโปรดของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสวมใส่ออกงานสำคัญบ่อยครั้ง เรียกว่ากลายเป็นที่จดจำด้วยความงดงามตระการตา โดยล่าสุด […]

รู้จัก “Page of Honour” เด็กชายถือฉลองพระองค์เสื้อคลุมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สง่างามยิ่งนักสำหรับ เจ้าชายจอร์จ แห่งเวลล์ พระโอรสองค์โตใน เจ้าชายวิลเลียม และ แคทเธอรีน เจ้าหญิงเวลล์ ขณะทรงรับหน้าที่เป็น “Page of Honour” ในพระราชพิธีบรมราชภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร สำหรับ “Page of Honour” เป็นตำแหน่งที่มอบให้กับเยาวชนทั้ง 8 คน ซึ่งทุกคนล้วนเป็นลูกหลานตระกูลขุนนางหรือข้าราชการสำนักพระราชวัง ซึ่งหน้าที่หลักคือ การถือฉลองพระองค์พระบรมราชภูษิตาภรณ์ตามเสด็จพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี  รู้จัก “Page of Honour” เด็กชายถือฉลองพระองค์เสื้อคลุมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำหรับในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนี้ เจ้าชายจอร์จจะทรงทำหน้าที่ถือฉลองพระองค์เสื้อคลุมตามเสด็จ สมเด็จพระอัยกาธิราชธิบดี ร่วมกับ ลอร์ดโอลิเวอร์ โคลมอนเดลีย์ วัย 13 ปี ซึ่งเป็นบุตรชายของ Marquess of Cholmondeley หรือที่รู้จักกันในชื่อ David Rocksavage ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และ Sarah Rose Hanbury โดยทั้งคู่เป็นพระสหายสนิทของ เจ้าหญิงเคท ถัดมาที่ […]

เผยดีเทลสุดงดงาม 2 ฉลองพระองค์ชุดไทยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่าแห่งสหราชอาณาจักร ที่เสร็จสิ้นไปอย่างชื่นมื่นแล้วนั้น เชื่อว่านอกจากความประทับใจจากหลากหลายโมเม้นต์แห่งประวัติศาสตร์แล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก คือพระสิริโฉมที่งดงามยิ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยเฉพาะความงดงามของฉลองพระองค์ชุดไทยและเครื่องประดับ เผยดีเทลสุดงดงาม 2 ฉลองพระองค์ชุดไทยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 โดยในวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข ประมุข และผู้แทนของประเทศต่างๆ เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่าแห่งสหราชอาณาจักร ณ พระราชวังบักกิงแฮม กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมาน ซึ่งตัดเย็บจากผ้าไหมยกดอกลำพูน ลายพิกุลถมเกสร พร้อมทรงพระสังวาลจักรี พระปั้นเหน่งดวงตรามหาจักรีประดับเพชร พระกุณฑลจักรี สร้อยพระศอเพชรของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเข็มกลัดพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สำหรับในวันนี้ (6 พฤษภาคม 2566) ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สมเด็จพระนางเจ้าฯ […]

ลึกซึ้งด้วยความหมาย 6 สัญลักษณ์บนฉลองพระองค์เครื่องต้นของควีนคามิลลา

ถึงช่วงเวลาสำคัญอีกครั้งสำหรับสหราชอาณาจักรกับ ‘พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา‘ ที่จัดขึ้น ณ ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ในแต่ละขั้นตอนเต็มไปด้วยความหมายอันลึกซึ้ง หมายรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีเช่นเดียวกับฉลองพระองค์เครื่องต้นของสมเด็จพระราชินีคามิลลาที่มี 6 สัญลักษณ์ปรากฏอยู่ 1.Lily of the valley Lily of the valley หรือมีชื่อไทยว่า ดอกลิลลี่แห่งหุบเขาดอกไม้ทรงโปรดของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เพื่อแสดงความรำลึก อีกทั้งดอกไม้ชนิดนี้ยังปรากฏอยู่ในงานต่างๆ ของราชวงศ์เป็นประจำ และอยู่ในช่อดอกไม้งานแต่งงานของสมเด็จพระราชินี เมื่อครั้งพระองค์และสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 เข้าพิธีวิวาห์ในปี 2548 ที่เมืองวินด์เซอร์ 2.Lady’s mantle อาจจะไม่ได้มีชื่อภาษาไทยตรงตัว แต่เป็นหนึ่งในดอกไม้และพืชทรงโปรดของสมเด็จพระราชินีคามิลลา ซึ่งพระองค์เคยตรัสไว้ว่าดอกไม้ชนิดนี้หมายถึงความรักและความสบายใจ 3.Thistle ดอกธิสเซิลหนึ่งในดอกไม้ประจำชาติที่ถูกปักด้วยด้ายสีแดงบนฉลองพระองค์คลุมสีม่วง มีความหมายแบบลึกซึ้งถึงความหวังและการเริ่มต้นใหม่ 4. Myrtle ดอกเมอร์เทิลเป็นดอกไม้สำคัญที่อยู่ในช่อดอกไม้เจ้าสาวในงานแต่งงานของควีนเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อเธอเข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าชายฟิลิปในปี 2490 รวมถึงยังมีดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ พระราชินี ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ และพระราชินีคามิลลาที่ใช้ดอกไม้นี้ในงานแต่งงานของตัวเอง ซึ่งมีความหมายถึงการนำโชคและความซื่อสัตย์มาให้ […]

ชมความวิจิตร ‘พระราชรถม้าหลวงทองคำ’ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

วันนี้ (6 พ.ค. 2566) ประชาชนในสหราชอาณาจักรและทั่วโลกจะได้ชมพระราชพิธีครั้งประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (สมเด็จพระราชาธิบดีชาลส์ที่ 3) กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่พระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่จะได้ขึ้นครองราชย์ โดยในวันพิธีสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา ทรงเลือกเสด็จประทับพระราชรถม้าหลวง ไดมอนด์ จูบิลี (Diamond Jubilee State Coach) ที่มีความทันสมัยถูกใช้ครั้งแรกในปี 2014 ในการเสด็จพระราชดำเนินไปมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในวันพิธี ชมความวิจิตร ‘พระราชรถม้าหลวงทองคำ’ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ส่วนในการเสด็จออกจากมหาวิหารนั้น ทั้ง 2 พระองค์จะประทับพระราชรถม้าหลวงทองคำ (The Gold State Coach) ดั้งเดิมที่สร้างขึ้นในยุคศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกที่หรูหรามีน้ำหนัก 8,800 ปอนด์ โดยบีบีซีรายงานว่า พระราชรถม้าทองคำที่สวยงามอร่ามทั้งองค์นี้ถูกใช้มาในทุกพิธีการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ตั้งแต่ปี 1830 เป็นต้นมา ซึ่งระยะทางการเสด็จนั้นสั้นกว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษทรงเสด็จในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1953 (สำหรับระยะทางการเสด็จในวันพิธีโดยเฉพาะในการเสด็จกลับนั้นสั้นกว่าเป็นระยะทาง 8 กม.เท่านั้น) […]

ฉลองพระองค์เครื่องต้น ‘ซูเปอร์ทูนิกา’ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ (6 พ.ค. 2566) พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (สมเด็จพระราชาธิบดีชาลส์ที่ 3) กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากประชาชนจะเฝ้ารอชมขบวนพระราชพิธีฯ และมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดแล้ว อีกสิ่งสำคัญในพระราชพิธีฯ คือ ฉลองพระองค์เครื่องต้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ฉลองพระองค์เครื่องต้น ‘ซูเปอร์ทูนิกา‘ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สินด้านศิลปะของราชวงศ์อังกฤษได้เผย ฉลองพระองค์เครื่องต้น ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 3 ที่ทรงสวมใส่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ โดยเรียกว่า ‘ซูเปอร์ทูนิกา‘ ซึ่งต้องสวมถึง 2 องค์ ที่มีความหนาและหนัก เนื่องจากมีส่วนประกอบของโลหะและความหนาของผ้าแต่งดงามเกินบรรยาย ซึ่งมี ฉลองพระองค์คลุมสีทอง 2 องค์ ถือเป็นหนึ่งในฉลองพระองค์ที่มีความสำคัญและทรงคุณค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ‘ฉลองพระองค์ชุดสีทอง‘ชุดแรกถักทอจากด้ายไหมที่เคลือบด้วยโลหะสีทองและสีเงินแบบบางๆ ปักลวดลายแบบอาหรับและลายดอกไม้ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม โดยจะสวมทับด้วย ‘ฉลองพระองค์คลุมสีทอง‘ ทั้งชุดเรียกว่า “ซูเปอร์ทูนิกา” มีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ฉลองพระองค์เหล่านี้ถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในหอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก […]

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 

นอกจาก พระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด และ มงกุฎอิมพีเรียลสเตท ที่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงใส่ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือในพระราชพิธีนี้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บีบีซี ไทยได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันสหราชอาณาจักรยังคงเป็นประเทศเดียวในแถบยุโรปที่ใช้งานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ หรือ สิ่งของอันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นกษัตริย์นี้เป็นเครื่องหมายที่แทนบทบาทหน้าที่ในแต่ละด้านของมหากษัตริย์ อาทิ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3  ลูกโลกประดับกางเขน และ พระคฑา ไม้กางเขน อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ประดับอยู่ด้านบนลูกโลกทองคำขนาด 11 นิ้วและหนักเกือบ 3 ปอนด์ประดับด้วยด้วยอัญมณีชนิดต่างๆ เช่น มรกต ทับทิม ไพลิน เพชร ไข่มุก อเมทิสต์ และ ไข่มุก สร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1661 โดย Robert Vyner ช่างทองของราชวงศ์ ขณะที่พระคฑา สัญลักษณ์ของอำนาจและความยุติธรรม ทำมาจากทองคำประดับด้วยอัญมณี แต่ที่ไม่อาจละสายตาไปได้คือ ด้านบนของพระคฑาประดับด้วย เพชร […]

ในหลวง – พระราชินี เสด็จฯร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 

ก่อนจะถึง พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในช่วงเย็นวันนี้ (6 พฤษภาคม 2566) ตามเวลาประเทศไทย แพรว ขอพาไปชมอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญ นั่นคือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีแห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินถึงท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเตด กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีนายธานี  ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน นายไซมอน ไบรท์ ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ  ในหลวง – พระราชินี เสด็จฯร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3  และเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข ประมุข และผู้แทนของประเทศต่างๆ เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 3 […]

สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ผู้นำของเครือจักรภพที่มีรัฐเอกราช 56 ชาติ

ผู้คนทั่วโลกกำลังเฝ้ารอที่จะได้ชมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์อังกฤษพระองค์ใหม่ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ผู้นำของเครือจักรภพที่มีรัฐเอกราช 56 ชาติ ประชากร 2,400 ล้านคน

14 เรื่องเกี่ยวกับ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ( King Charles III )

หลากเรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 “ชาร์ลส์ ฟิลิป อาร์เธอร์ จอร์จ ” ประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ( King Charles III )

ยลโฉม พระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดที่ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

6 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 น. ตามเวลาประเทศอังกฤษ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ได้ทรงเข้าพิธีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ยลโฉม พระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดที่ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เราจะได้เห็น 5 ขั้นตอนสำคัญต่างๆ อาทิ รับรองฐานะความเป็นกษัตริย์, กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ, เจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์, สวมพระมหามงกุฎ และ เสด็จขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ยังมีการประกอบพระราชพิธีอภิเษก หรือ การสถาปนาแต่งตั้ง คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ ให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีอย่างเป็นทางการด้วย ทั้งนี้ ขั้นตอนสำคัญที่สุดในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคือ การสถาปนาแต่งตั้งพระราชา หรือ การสวมพระมหามงกุฎ โดยนักบวชจะเป็นผู้สวมพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดลงบนพระเศียรของ สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพจะทรงสวมมงกุฎได้เพียงครั้งเดียวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น พระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด เดิมทีสร้างขึ้นในปี 1661 เพื่อกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 2 โดยโรเบิร์ต ไวเนอร์ ช่างทองประจำราชวงศ์ หลังจากนั้นได้มีการใช้มงกุฎองค์นี้มาโดยตลอด ซึ่งในช่วง […]

ไขความลับ เหตุใด “เจ้าหญิงแห่งเวลล์” ทรงโปรดฉลองพระองค์สีรอยัลบลู?

แทบจะเป็นสีสามัญ สีประจำพระองค์ของ แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์ สำหรับสีน้ำเงิน (Royal Blue) ที่เรามักจะเห็นผ่านในฉลองพระองค์บ่อยครั้ง และไม่เพียงเป็นสีโปรดของเจ้าหญิงเคท แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นสีประจำของครอบครัวเวลล์อีกด้วย ไขความลับ เหตุใด “เจ้าหญิงแห่งเวลล์” ทรงโปรดฉลองพระองค์สีรอยัลบลู? เจ้าหญิงแห่งเวลล์มักฉลองพระองค์โทนสีน้ำเงิน (Royal Blue) มาตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ทรงงานในฐานะสมาชิกราชวงศ์ โดยสีน้ำเงินกับราชวงศ์นั้นมีประวัติเกี่ยวข้องกันมาอย่างยาวนานซึ่งหมายถึง อำนาจ ความมั่นใจ ความเชื่อมั่น และความสามัคคี โดยจะเห็นว่าครอบครัวเวลล์จะทรงฉลองพระองค์สีน้ำเงินแทบทุกครั้งที่เสด็จออกงานสำคัญ ทั้งนี้ ซาแมนธา ฮาร์มาน ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นและสไตลิสต์ส่วนตัวบอกกับ Express.co.uk ว่า สมาชิกราชวงศ์มักจะสวมชุดสีน้ำเงิน (Royal Blue) เพื่อส่งข้อความว่า สถาบันกษัตริย์ “ได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ” ซาแมนธา ฮาร์มาน ยังได้เผยอีกด้วยว่า “หลังจากที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สวรรคต สมเด็จพระราชินีคามิลลา และ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ทรงสวมฉลองพระองค์สีน้ำเงิน (Royal Blue) มาโดยตลอด” “สมเด็จพระราชินีคามิลลา และ […]

keyboard_arrow_up