Wellness
4 วิธีเสริมความแกร่งให้ปอด สร้างเกราะป้องกันจาก COVID-19
โควิด-19 ระลอกใหม่มาพร้อมกับความรุนแรงของเชื้อไวรัสที่พัฒนาตัวเองพร้อมกลายพันธุ์อยู่เสมอ จากเดิมที่สาเหตุของผู้เสียชีวิตในระลอกแรกทั่วโลกเกิดจากปอดถูกทำลาย แต่ปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตยังเกิดจากอาการไตวาย-เลือดไม่ไปเลี้ยงแขนขาได้อีกเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ปอดทำงานไม่เต็มที่ หากติดเชื้อมีโอกาสที่เชื้อจะทำลายปอด 10-20% จนปอดไม่ฟื้นกลับมา ดังนั้นการดูแลปอดให้แข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อช่วยให้สุขภาพปอดแข็งแรง เราจึงขอแชร์ทิปส์ดีๆ 4 วิธีเสริมความแกร่ง สร้างความแข็งแรงให้กับปอดมาแนะนำ COVID-19 ทำลายปอดเราได้อย่างไร เมื่อเชื้อไวรัส COVID-19 แทรกซึมลงไปถึงปอดจะจับกับเซลล์ในปอดจำนวนมาก เมื่อปอดถูกทำลาย ย่อมไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ตามปกติ ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง เนื้อปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากได้รับเชื้อปริมาณมากหรือปอดของผู้รับเชื้อไม่แข็งแรง มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงไปอยู่ในถุงลม ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบติดเชื้อ มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ทัน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในบางเคสที่ได้รับเชื้อปริมาณน้อยหรือได้รับเชื้อแต่ไม่มีอาการก็อาจพบการอักเสบของปอดได้เช่นกัน ดังนั้นการดูแลปอดให้แข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างเกราะป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ปอดแข็งแรง เราสร้างได้ Dr. Raymond Casciari แพทย์โรคปอด โรงพยาบาล St. Joseph แคลิฟอร์เนีย ก็ย้ำเตือนว่า “หากปอดของคุณสุขภาพดี โอกาสที่จะติดเชื้อก็น้อยลง หรือถ้าติดแล้วก็มีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น” การดูแลปอดมีหลายวิธีที่จะช่วยให้ปอดของคุณแข็งแรงมากพอที่จะต่อกรกับไวรัส COVID-19 ได้ เริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพเบื้องต้น กับ 4 วิธีเสริมความแกร่งให้ปอด ที่ Fitness First แนะนำ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ: โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) – Bruce Levy หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์การดูแลปอดและวิกฤต โรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital ในบอสตันยืนยันว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ จะช่วยให้อากาศเข้าไปในส่วนที่ลึกที่สุดของปอด และยังเสริมความแข็งแรงของระบบหัวใจ ที่สำคัญช่วยให้ปอดนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดูแลปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ: หลีกเลี่ยงการนอนในห้องที่อุณหภูมิเย็นเกินไป รวมไปถึงการรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ […]
คนไทยคิดค้น ‘วัคซีน ChulaCov19’ เทคโนโลยี mRNA เดียวกับ Pfizer และ Moderna
วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก ‘nature’ ยกย่องนักวิทยาศาสตร์ไทย พัฒนา วัคซีนโควิด-19 ‘ChulaCov19’ ด้วยเทคโนโลยีและคุณภาพระดับโลก เทียบชั้น Pfizer-Moderna โดยวัคซีน ChulaCov19 พัฒนาขึ้นโดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งของโลกที่พัฒนาเองขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับ Pfizer และ Moderna และเป็นวัคซีนที่ต่อยอดขึ้นมาเพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกา (B.1.351) และสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) รวมถึงยังอาจพัฒนาให้รับมือกับสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) ได้อีกด้วย วัคซีน ChulaCov19 นี้ จะเริ่มทดสอบเฟสแรกในมนุษย์ภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยใช้อาสาสมัครจำนวน 100 คน เพื่อหาจำนวนโดสที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยจะใช้บริษัทในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตวัคซีนทดสองล็อตแรกนี้ และหลังจากนั้นในเดือนกันยายนก็จะเริ่มผลิตในประเทศไทยเอง โดยบริษัท BioNet-Asia การทดสอบความสามารถของวัคซีน ChulaCov19 นี้จะใช้ผลการทดสอบเทียบกับตัวอย่างเลือดจากผู้ที่ฉีดวัคซีน Pfizer ในต่างประเทศ และ AstraZeneca จากประเทศไทย หากผลการทดสอบพบว่าภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน ChulaCov19 เทียบเท่าหรือดีกว่าภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca […]
การรับมือกับ ‘ภาวะเครียด’ ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
การรับมือกับ ‘ภาวะเครียด’ ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน Immunization Stress Related Response (ISSR) เป็นปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากจิตใจที่มีความวิตกกังวล และแสดงออกมาทางร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นได้และมีอาการไม่เหมือนกันในแต่ละคน เมื่อมีความเครียดต่อการฉีดวัคซีน ก็จะไปกระตุ้นระบบต่างๆ ในร่างกาย บางคนไปกระตุ้นระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด (stress hormone) เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล และหากไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ก็จะทำให้หลอดเลือดหดตัว รู้ได้อย่างไรว่ามี ภาวะเครียด ISRR อาการของ ISRR พบได้หลากหลาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังการฉีดวัคซีน แต่อาจมีบางรายเกิดช้า เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันภายหลังการฉีดวัคซีน เมื่อตรวจภาพรังสีวิทยาของสมอง (Neuroimaging study) จะไม่พบพยาธิสภาพที่ชัดเจน และอาการมักจะหายไปภายใน 1-3 วัน ภาวะ ISRR มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในผู้ที่อายุน้อยและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก อาการที่สงสัยว่ามีภาวะเครียด ISRR มีอาการชาอย่างเดียว ปวด เสียว ชา หรือ แปล๊บๆ ตามแขนขา […]
เซฟตัวเอง! เตรียมตัวก่อนและหลังฉีด “วัคซีนป้องกันโควิด-19” ควร-ไม่ควร ทำอะไร?
ตอนนี้หลายคนน่าจะทำการลงทะเบียนเพื่อนัดคิวเข้าฉีด “วัคซีนป้องกันโควิด-19” กันพอสมควรแล้ว สำหรับหนุ่มสาวที่ร่างกายแข็งแรงก็คงจะไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ แต่ผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว ต้องเตรียมตัวสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อม เพราะข่าวเรื่องผลข้างเคียงจากการวัคซีน ถือเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนรู้สึกกังวลไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น “ก่อนฉีดวัคซีนต้องทำอะไรบ้าง?” , “ถ้าฉีดแล้วต้องไปฉีดซ้ำอีกหรือไม่?” , “แก่แล้วจะเสี่ยงมากหรือเปล่า?” , “กลางปีนี้ต้องรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดแล้วมันจะตีกันไหม?” การตั้งข้อสงสัยถือเป็นหนึ่งในภูมิคุ้มกันที่ดี เพราะจะนำมาซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมไปถึงการลดความเสี่ยงหลังรับวัคซีนได้อีกด้วย แน่นอนว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ ไม่ได้แค่เป็นประโยชน์กับใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใหญ่ เด็กวัยรุ่น หรือวัยทำงาน ต่างก็ควรต้องศึกษาก่อนเข้ารับวัคซีนจริง เพื่อให้วัคซีนทุกเข็มเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดย นายแพทย์วิทยา วันเพ็ญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระราม 9 เผยว่า วัคซีนโควิด-19 ส่วนใหญ่จะฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยที่แทบไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ แต่สำหรับการฉีดวัคซีนผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” ผู้รับวัคซีนล็อตแรกคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรัง หากถามว่า วัคซีนโควิด-19 ฉีดตัวไหนดี? การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นชนิดไหน ยี่ห้ออะไรก็มีประโยชน์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้นมาจัดการกับเชื้อไวรัสนี้ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งการตรวจสุขภาพเองก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันส่วนหนึ่ง อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้มีภัยเงียบมาแฝงตัวจนทำให้อาการของโควิด-19 รุนแรงขึ้นนั่นเอง […]
สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษแถลงกำลังสอบสวน โควิดสายพันธุ์ไทย C.36.3
สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England – PHE) ได้เปิดเผยว่ามีการตรวจพบ โควิดสายพันธุ์ไทย C.36.3ในสหราชอาณาจักร สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษแถลงกำลังสอบสวน โควิดสายพันธุ์ไทย C.36.3 สำนักข่าวในอังกฤษหลายสำนัก เช่น mirror, thesun, reuters,metro,express ฯลฯ ได้รายงานตรงกันว่าพบโควิดสายพันธุ์ไทยในอังกฤษ โดยข้อมูลในครั้งนี้ถูกเปิดเผยจาก สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England – PHE) ซึ่งแถลงว่าพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (24 พ.ค. 2564) ในประชาชนในอังกฤษแล้ว 109 ราย โดยตั้งชื่อให้ว่า VUI-21MAY-02 หรือชื่อย่อ C.36.3 โดย VUI เป็นตัวย่อของศัพท์ทางวิชาการว่า Variant Under Investigation หรือ สายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน โดยสายพันธุ์ C.36.3 นี้ ถูกพบครั้งแรกในประเทศไทยในผู้เดินทางมาจากอียิปต์ ในขญะนี้ยังไม่มีหลักฐานชี้ว่าสายพันธุ์นี้ทำให้โรคนี้มีอาการรุนแรงมากขึ้น หรือ ทำให้วัคซีนที่ใช้การอยู่ลดประสิทธิภาพลง ทั้งนี้กำลังอยู่ระหว่างทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อทำความเข้าใจกับสายพันธุ์นี้ให้ดียิ่งขึ้น […]
“อย่าหยุดออกกำลังกาย” เสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 50% หลังฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
“อย่าหยุดออกกำลังกาย” เสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 50% หลัง ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทางออกเดียวที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ คือ การฉีดวัคซีนป้องกัน ซึ่งตอนนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1.74 พันล้านโดส (ตัวเลขวันที่ 26 พฤษภาคม 2564) ในระหว่างที่คนทั่วโลกอีกจำนวนมากยังอยู่ที่สถานะรอการฉีดวัคซีน บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็พยายามศึกษาค้นคว้าและหาแนวทางป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจาก COVID-19 ให้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองได้ทันทีนั่นคือ “การออกกำลังกาย” โดยปัจจุบันมีงานวิจัยเผยว่า “การออกกำลังกายอาจช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 50% หลังฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19” จึงอยากชวนทุกคนมาออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมด้วย 13 วิธีเตรียมความพร้อมก่อน ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อให้การฉีดวัคซีนมีประสิทธิภาพและวิธีปฎิบัติตัวหลังฉีดวัคซีนอีกด้วย เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า การออกกำลังกายช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยเผยว่า การออกกำลังกายอาจช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 50% หลังฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มแอนติบอดีให้ร่างกาย โดยก่อนหน้านี้ ศ.จิม ซัลลิส ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยจากสถาบันวิจัยสุขภาพ Mary MacKillop Institute for Health Research ของ ACU ทำการวิจัยไปที่ผลลัพธ์ของการออกกำลังกายเชื่อมโยงกับความสามารถในการป้องกัน COVID-19 ผลการวิจัยพบว่า ช่วยลดความรุนแรงลงได้ โดยเฉพาะอัตราการเสียชีวิตที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงยังพบว่าอัตราการเข้ารักษาตัวในห้อง ICU ของผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มคนที่ออกกำลังกายน้อยกว่า 10 นาที ต่อสัปดาห์ เช่นเดียวกับผลวิจัยของ Glasgow Caledonian University ประเทศอังกฤษ […]
ไขข้อสงสัย หากผู้ป่วย “ไทรอยด์” ติดโควิด-19 จะเสี่ยงอาการหนักกว่าเดิมหรือไม่?
ไขข้อสงสัยจากกรณีที่มีข่าวออกมาว่าผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 มักมีโรคประจำตัว เช่น อ้วน เบาหวาน แล้วโรค ไทรอยด์ มีผลทำให้ติดเชื้อรุนแรงหรือไม่? และนอกจากนี้ ทาง สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมคำถามที่ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ มักถามบ่อยๆ ในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ได้หรือไม่ ฉีดได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคไทรอยด์แบบใดก็ตาม ได้แก่ มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ คอพอก ไทรอยด์เป็นพิษหรือมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ข้อดีจากการฉีดวัคซีน คือ ลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 การที่ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน COVID-19 จะช่วยให้สถานการณ์การควบคุมโรคระบาด COVID-19 ได้ดีขึ้น ทั้งนี้การแพ้วัคซีนอาจเกิดขึ้นได้แต่น้อยมากและสามารถรักษาได้ (หลังฉีดวัคซีนต้องรอสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที) เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับแล้วการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 นับว่ามีความคุ้มค่ามาก (หากผู้ป่วยไทรอยด์เดินทางไปรับการฉีดวัคซีน ยังต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าเป็นโรคไทรอยด์อยู่ รวมถึงแจ้งว่ากำลังกินยาอะไรอยู่ด้วย) กรณีที่แพทย์เลื่อนนัดเจาะตรวจชิ้นเนื้อก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (fine-needle aspiration หรือ FNA) จะส่งผลกระทบต่อโรคหรือไม่ โดยทั่วไป 90-95% ของก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อดี แต่ถ้าเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ มักมีการดำเนินโรคที่ไม่รุนแรง […]
สัญญาณเตือนแบบไหนที่บอกว่ากำลังเป็น โรคติดสมาร์ทโฟน และส่งผลเสียยังไง
เล่นมือถือ ปวดมือ ปวดคอ ปวดแขน มือชา ถ้ามีอาการเหล่านี้ แสดงว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้วค่ะ โดยเฉพาะอาการที่เรียกว่า “ติดสมาร์ทโฟน” ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ผู้คนต่างมีโลกส่วนตัวอยู่กับเครื่องมือสื่อสารของตน มองไปทางไหนก็ต่างก้มหน้าก้มตามองมือถือ ผู้คนพูดคุยกันน้อยลง เป็นยุคที่ผู้คนกำลังถูกมอมเมาด้วยภาพและเสียงที่มาล่อตาล่อใจ จะมีสักกี่คนที่สนใจกับร่างกายว่า ตอนที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้น เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง เกือบทั้งหมดจะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อเงยหน้าขึ้นจากจอเล็กๆ ในมือ นั่นแหละ แล้วเสียงเตือนแบบไหนที่บอกว่าคุณกำลังเป็น โรคติดสมาร์ทโฟน คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลว่า คนที่เป็นโรคติดสมาร์ทโฟน จะได้รับเสียงเตือนจากร่างกายบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยบ่า ก้านคอ สะบัก ปวดข้อศอก ปวดแขน นิ้วล็อค มือชา มือไม่มีแรง ปวดฝ่ามือ มือแข็ง เวลาใช้แรงกำหรือหยิบของ จะรู้สึกกำได้ไม่ถนัด และแม้แต่อาการมึนๆ ตึงๆ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตาพล่ามัว หาวนอนบ่อยๆ หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้ มีต้นตอมาจากการเล่นเกมส์ […]
“วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 โดยทีมนักวิจัยไทย คาดว่าจะฉีดได้ในต้นปี 2565
ทีมนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเภสัชศาสตร์ ผลิต “วัคซีนใบยา” วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ยาสูบเป็นพืชในกระบวนการสร้างวัคซีน ผลิตโดยทีมวิจัยคนไทย เพื่อคนไทย คาดว่าอย่างเร็วที่สุด อาจแล้วเสร็จเริ่มฉีดได้ในต้นปี 2565 รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด (บริษัทสตาร์ทอัพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเภสัชศาสตร์) ให้สัมภาษณ์กับ Nation TV ว่า ในขณะนี้ (เดือนพฤษภาคม 2564) อยู่ในระหว่างการจัดหาสถานที่สำหรับปลูกพืช และผลิตวัคซีนอย่างเต็มรูปแบบ น่าจะสำเร็จในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากนั้นจะติดต่อทาง อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) เพื่อตรวจสอบสถานที่ผลิต และได้รับการรับรองมาตรฐานให้เรียบร้อย จากนั้นจึงเริ่มผลิตจริงจังในเดือนกรกฎาคม ดำเนินการส่งเอกสารการทดลองกับสัตว์ทั้งหมด ในแง่ของความปลอดภัยต่างๆ และขออนุมัติเพื่อเริ่มการทดสอบกับมนุษย์ และอาจจะเริ่มได้ทดสอบกับมนุษย์ในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ วัคซีนใบยา ที่ทางทีมแพทย์และทีมนักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาอยู่นั้น เป็นการนำตัวไวรัสสายพันธุ์จากอู่ฮั่นเป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นวัคซีนในรุ่นแรก แต่ทีมนักวิจัยก็พัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์อื่นๆ ที่กำลังระบาดในขณะนี้เอาไว้ด้วย ซึ่งจะเป็นวัคซีนใบยาในรุ่นที่ 2 และหากผลการทดลองทั้งกับสัตว์และมนุษย์เป็นไปตามที่คาดการณ์ว่าน่าจะได้รับผลการทดลองทั้งหมดภายในปีนี้ คนไทยเราอาจจะมีโอกาสได้เริ่มใช้วัคซีนที่ผลิตโดยทีมนักวิจัยของไทยเราเองในปีหน้า 2565 อย่างแน่นอน ขั้นตอนการทำงานของวัคซีนใบยา ทีมวิจัยใช้รหัสพันธุกรรมของโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น ส่งเข้าไปในต้นไม้ […]
รวมเคล็ดลับหุ่นเฟิร์มจาก 10 นักโภชนาการ ที่ช่วยเน้นให้รูปร่างเป๊ะแบบไม่ต้องอด!
ส่วนใหญ่หลายคนมักเลือกปรึกษาเพื่อน ครอบครัว หรือโลกโซเชียลมีเดีย เวลาที่อยากรู้เกี่ยวกับการดูแลรูปร่าง อยากเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การทานอาหาร หรือโภชนาการส่วนตัว แต่บางครั้งคำตอบที่ได้รับ กลับทำให้สับสนและไม่แน่ใจยิ่งกว่าเดิมว่า ควรเลือกวิธีการดูแลรูปร่างแบบไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ เราจึงได้รวบรวมคำแนะนำดีๆ จาก 10 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการทานอาหาร ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการกำหนดอาหาร เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ผู้ให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั่วโลกมาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการมีรูปร่างดี 1. อย่ามองแต่น้ำหนักตัว แต่ควรใส่ใจมื้ออาหารที่มีประโยชน์ “เราไม่ควรสนใจแค่น้ำหนักตัวอย่างเดียว แต่ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพมากกว่า การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงคือวิธีที่ดีที่สุด ที่ช่วยให้เรามีรูปร่างสมส่วนแข็งแรง ลองหันมาทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล พร้อมออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสร้างหรือรักษามวลกล้ามเนื้อ และหมั่นใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีเช่นนี้ตลอดไป” แอนา คริสตินา กูเทียร์เรซ สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการกำหนดอาหาร เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (คอสตาริก้า) 2. ตั้งเป้าหมายแต่ละขั้นและให้รางวัลตัวเองในช่วงลดน้ำหนัก “การให้รางวัลตัวเองเมื่อทำแต่ละเป้าหมายได้สำเร็จ สำคัญต่อความตั้งใจลดน้ำหนักของคุณ เพราะมันช่วยให้รู้ว่าคุณมาไกลแค่ไหนแล้ว แทนที่จะมองว่าเหลืออีกไกลเท่าไหร่ เมื่อพูดถึงการลดน้ำหนัก การลดแบบช้าๆ แต่สม่ำเสมอเป็นวิธีการที่ได้ผลเสมอ แม้จะทำให้หงุดหงิดที่ไม่เห็นผลเร็วดั่งใจบ้างก็ตาม แนะนำให้ตั้งเป้าหมายทีละเล็กละน้อยไปเรื่อยๆ และให้รางวัลที่ดีต่อใจกับตัวเองบ้างเมื่อทำสำเร็จ เช่น อาจซื้อเสื้อตัวใหม่หรือเข้าสปาบำรุงผิว จำไว้ว่าคุณสมควรได้รับรางวัลเหล่านั้นหลังจากความทุ่มเทพยายามที่เห็นผล แอเรีย โนวิตาสารี สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการกำหนดอาหาร เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (อินโดนีเซีย) 3. […]
“ชมพู่ อารยา” ฉีด Sinovac วัคซีนโควิด-19 แล้ว แฟนคลับขอรีวิวรัวๆ แม่เลยจัดให้!
“ชมพู่ อารยา” ฉีด Sinovac วัคซีนโควิด-19 แล้ว แฟนคลับคอมเมนต์ขอรีวิวอาการรัวๆ แม่เลยจัดให้ตามคำขอ!! โควิด-19 ระบาดระลอกนี้หนักไม่น้อย ทำให้ตอนนี้เริ่มมีคนดังในวงการบันเทิงออกมาฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้เห็นกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังคงไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีนทั้ง ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้า ซึ่งปัจจุบันเป็นวัคซีน 2 ยี่ห้อหลักที่รัฐบาลได้สั่งเข้ามาฉีดให้กับประชาชน เพราะก่อนหน้านี้ที่เคยมีคนฉีดวัคซีน ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้า ไปแล้วเกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ทำให้หลายคนไม่มั่นใจในวัคซีนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีแพทย์หลายท่านออกมาเชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพราะสามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยหรือติดโควิด-19 และลดการเสียชีวิตลงได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ถือเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก ล่าสุด ตัวแม่ของวงการบันเทิงอย่าง “ชมพู่ – อารยา เอ ฮาร์เก็ต” ก็ได้เข้ารับการฉีควัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วเช่นกัน โดยชมพู่ได้โพสต์ภาพข้อความรีวิว หลังแฟนคลับและชาวโซเชี่ยลเรียกร้องรีวิว เมื่อเห็นว่าชมพู่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ ซิโนแวค (Sinovac) โดยชมพู่ได้โพสต์รีวิวการฉีด Sinovac วัคซีนโควิด-19 ไว้ว่า “ขออภัยค่ะ efficacy ค่ะ ไม่ใช่ efficiency นั่งพิมพ์อยู่ […]
“อนุทิน” เผย Walk-in ฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมเริ่มเดือนมิถุนายนนี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการ Walk-in ฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เห็นพ้องตรงกันเรื่องนโยบายการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบ Walk-in จะเริ่มได้เมื่อมีวัคซีนจำนวนมากคือช่วงมิถุนายนนี้เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขจะมีวัคซีนหลายล้านโดส ส่วนการเข้าถึงวัคซีนจะมีการนัดผ่านระบบหมอพร้อม ผ่าน อสม. หรือนัดรวมกลุ่มเข้ามาฉีด และการ Walk-in เพื่อความสะดวกจึงต้องมีการเตรียมสถานที่ฉีดที่รองรับคนจำนวนมากได้ เช่น ความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมที่เสนอให้ใช้สถานีกลางบางซื่อ หรือมีหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน ที่มีสถานที่กว้างขวาง เสนอตัวเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีน ช่วยฉีดวัคซีนให้บุคลากรของตนเองและบุคคลในพื้นที่ใกล้เคียง โดยกระทรวงสาธารณสุขยินดีส่งวัคซีนไปให้ ถือเป็นการแบ่งเบาภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข “ทุกศูนย์บริการฉีดวัคซีนจะมีการจัดสรรวัคซีนในส่วนของการนัดผ่านหมอพร้อม 30% นัดเป็นกลุ่มมาฉีด 50% และ Walk-in 20% ซึ่งคนที่จองก็จะได้รับวัคซีนก่อน ดังนั้น คนที่เดินเข้ามาฉีดวัคซีน หากวันนั้นคนเต็มวัคซีนไม่พอก็อาจต้องมาวันหลัง โดยการจัดบริการแบบ Walk-in ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละจังหวัด” นายอนุทินกล่าว ทั้งนี้ การกระจายวัคซีนจะจัดสรรไปตามจำนวนที่แต่ละจังหวัดแจ้งเข้ามา จะจัดส่งวัคซีนให้อย่างเพียงพอและไม่ขาดตอน ส่วนการจัดสรรภายในจังหวัดอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ส่วนกรุงเทพมหานคร ขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขสถานการณ์โรคโควิด-19 พิจารณาว่า […]
ยังสบายดี 7 คนดัง วงการบันเทิงไทย ฉีดวัคซีน ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้า
ยังสบายดี 7 คนดัง วงการบันเทิงไทย ฉีดวัคซีน ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้า พบเพียง side effects เล็กๆ น้อยๆ สถานการณ์โควิด-19 ตอนนี้เรียกได้ว่าระบาดหนักมากขึ้นทุกวัน แม้ประชาชนจะตั้งการ์ด ดูแลตัวเองมากสักเพียงไหน แต่สุดท้ายแล้วก็ยันเจ้าโรคร้ายนี้ไว้ไม่อยู่ ซึ่งหนทางที่จะยับยั้งการระบาดไวรัสโควิด-19 นอกจากการใส่แมสก์ การงดเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง รวมถึงโซเชียล ดิสแทนซิ่ง (การเว้นระยะห่างจากสังคม) แล้ว การระดมฉีดวัคซีนให้ทั่วประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดในตอนนี้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ประชาชนหลายคน ก็ยังคงไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของวัคซีน ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้า ที่ซึ่งปัจจุบันเป็นวัคซีนสองยี่ห้อหลักที่รัฐบาลได้สั่งเข้ามาฉีดให้กับประชาชน อีกทั้งก่อนก่อนหน้านี้ก็เคยมีคน ฉีดวัคซีน ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนก้านี้แล้วเกิดอาการข้างเคียง ซึ่งมีทั้งเคสหนักและเบา อย่างไรก็ตามภาครัฐ และ ภาคเอกชน รวมถึงคุณหมอต่างออกมารณรงค์ให้ประชาชนทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดอัตราการเสียชีวิต และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งงานนี้ก็ได้มีคนดังของวงการบันเทิงส่วนหนึ่งที่เข้ารับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งพวกก็ยังสบายดี พร้อมกับได้เล่าถึงประสบการณ์ และ side effects ที่เกิดขึ้นกับตัวเองอีกด้วย ฟรัง นรีกุล “หลายคนทักมาเรื่อง […]
‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ? และใครที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้
สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกใหม่อยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเท่าที่ควร เชื้อไวรัสยังคงแพร่กระจายและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังยิ่งต้องระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น หากได้รับเชื้อ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานแย่ลงอาจเกิดอาการหัวใจล้มเหลวได้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วย ซึ่ง นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ หัวหน้าศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในประเทศไทยแล้ว และกำลังจะมีใช้ในประเทศไทยเพิ่มอีกนั้น ประกอบด้วย Sinovac จากประเทศจีนเป็นวัคซีนที่ผลิตจากไวรัสที่ไม่มีชีวิต (เชื้อตาย) AstraZeneca/Oxford วัคซีนที่ใช้ไวรัส Adenovirus เป็นไวรัสที่ไม่ได้ก่อโรคในคน เข้าไปในเซลล์เพื่อผลิตภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโควิด-19 Sputnik V จากรัสเซีย เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเทคโนโลยีเวกเตอร์ไวรัส (Viral Vector) เหมือนกับวัคซีน AstraZeneca คือ ใช้ไวรัสชนิดอื่นเป็นตัวพาสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน mRNA from Pfizer วัคซีนที่ใช้เทคนิคชนิดใหม่อย่าง mRNA โดยการฉีดพันธุกรรมโมเลกุลที่เรียกว่า mRNA ChulaVac เป็นวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทย โดยใช้เทคนิค mRNA แบบเดียวกันกับไฟเซอร์หรือ Moderna สยามไบโอไซเอนซ์ บริษัทของไทยที่ผลิตวัคซีนถอดแบบการผลิตเดียวกับเทคนิคของ AstraZeneca/Oxford ปัจจุบันมีการพูดถึงอย่างมากถึงผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งความจริงแล้วผลข้างเคียงมีน้อยมาก และส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หากชั่งน้ำหนักแล้วประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 […]
‘ไฮบริด ฟิตเนส’ เทรนด์ออกกำลังกายผสมผสาน ที่ยิมควบคู่คลาสออนไลน์เสมือนจริง
‘ไฮบริด ฟิตเนส’ เทรนด์ออกกำลังกายผสมผสาน ที่ยิมควบคู่คลาสออนไลน์เสมือนจริง จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ปี 2020 ทำให้เกิดมาตรการและข้อจำกัดต่างๆ มากมายในสังคม โดยรัฐบาลในแต่ละประเทศได้ออกข้อกำหนดหลายขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ภายในชุมชน ทำให้หลายธุรกิจต้องเร่งปรับตัวและเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เพื่อให้ธุรกิจตัวเองอยู่รอดและผู้คนได้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามมีผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคนรักการออกกำลังกายกว่า 4,000 คน ในฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และข้อจำกัดในการใช้ฟิตเนสคลับ ไม่สามารถหยุดยั้งความตั้งใจในการออกกำลังกายของพวกเขาได้ จึงเป็นที่มาของการหาทางเลือกใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ทั้งการออกกำลังกายผ่านทางออนไลน์ หรือ การทำคลาสการออกกำลังกายเสมือนจริงมาทดแทนเพื่อที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและรักษารูปร่างให้ดูดีควบคู่กันไป “ไฮบริด ฟิตเนส” ทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน ธุรกิจฟิตเนส เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยจะเห็นได้จากตลอด 2 ปีที่ผ่านมา การออกกำลังกายได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งการเพิ่มโปรแกรมการออกกำลังกายผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์ รวมไปถึงการทำคลาสการออกกำลังกายเสมือนจริง ซึ่งนำมาสู่การออกกำลังกายแบบผสมผสาน หรือ “ไฮบริด ฟิตเนส” คือการที่ผู้ออกกำลังกายผสมผสานทั้งการออกกำลังกายที่ฟิตเนส ควบคู่ไปกับการเลือกออกกำลังกายได้จากที่บ้านผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ล่าสุด Evolution Wellness […]
อุทาหรณ์ชวนระวัง! หยอด กาวติดเล็บ แทน น้ำตาเทียม เหตุเพราะหยิบผิด หวิดตาบอด!
อุทาหรณ์ชวนระวัง! หยอด กาวติดเล็บ แทน น้ำตาเทียม เหตุเพราะหยิบผิด หวิดตาบอด! หยอดตาผิดชีวิตเกือบเปลี่ยน! สำหรับเรื่องราวของสาวคนหนึ่งนามว่า Yacedrah Williams อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ความไม่รอบคอบ ไม่เช็คให้ดีก่อนจะทำอะไรกับร่างกายตัวเอง ในเคสนี้ สาวคนนี้ต้องการจะหยิบน้ำตาเทียมมาหยอดตา แต่เจ้ากรรมดันหยิบผิด และไม่มองให้ดีว่าสิ่งที่เธอหยิบได้ไม่ใช่น้ำตาเทียม แต่เป็น กาวติดเล็บ ต่างหาก โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นราวๆ ตีหนึ่ง ที่อยู่ๆ เธอก็ตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะรู้สึกไม่สบายตาจากการลืมถอดคอนแทคเลนส์ก่อนเข้านอน และในตอนที่ตื่นมาเธอรู้สึกตาแห้งมากจนจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมตา เพื่อช่วยในการถอดคอนแทคเลนส์ ดังนั้น เธอจึงล้วงมือควานหาน้ำตาเทียมในกระเป๋าด้วยความง่วงงัวเงีย และจังหวะนั้นเองก็พลาดหยิบขวดกาวติดเล็บปลอมออกมา โดยเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งที่หยิบได้คือน้ำตาเทียม หลังหยิบได้ก็จัดการหยดกาวติดเล็บใส่ดวงตาทันที แต่วินาทีที่เธอหยดกาวติดเล็บที่เธอคิดว่าเป็นน้ำตาเทียมลงสู่ดวงตา เธอก็สัมผัสได้ทันทีว่า เธอพลาดแล้ว!! “ฉันรู้สึกประมาณว่า OMG! ฉันหยดอะไรเข้าตาเนี่ย และพยายามจะเช็ดออก แต่กาวก็ติดตาฉัน จนลืมตาไม่ได้เลp ฉันพยายามล้างกาวด้วยน้ำเย็น พยายามดึงตาให้ลืมออก แต่ก็ทำไม่ได้เลย” Yacedrah Williams แต่ถือว่าเธอยังโชคดีที่กาวส่วนใหญ่นั้นหยดลงไปบนคอนแทคเลนส์ ดวงตาจริงๆ ของเธอจึงถูกปกป้องไว้ และเมื่อเธอไปถึงโรงพยาบาล ทีมแพทย์ก็สามารถนำคอนแทคเลนส์ออกจากตาเธอได้ โดยที่เธอเสียแค่ขนตาไปเท่านั้น ซึ่งถือว่าเล็กน้อยมาก หากเธอไม่มีคอนแทคเลนส์กันไว้อีกชัั้น […]
พาร่างมาพัก! Auriga Wellness ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บนวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ชี้เป้าให้คนรักสุขภาพ มาผ่อนคลายร่างและจิตใจกันที่ โรงแรมคาเพลลา กรุงเทพ (Capella Bangkok) รีสอร์ทสุดหรูวิวอลังการริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชวนให้ผู้หลงใหลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเข้ามาสัมผัสประสบการณ์เหนือระดับที่ “ออริกา เวลเนส” (Auriga Wellness) ภายใต้การออกแบบและวางคอนเซ็ปต์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพชื่อดังระดับโลก “โกโค่ ฮอสพิทอลลิตี้” (GOCO Hospitality) “ออริกา เวลเนส” (Auriga Wellness) คือสวรรค์แห่งการพักผ่อนแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นและเงียบสงบ ให้คำปรึกษาและดูแลการปรนนิบัติผิวพรรณด้วยทรีตเมนต์ที่ผสมผสานเทคนิคการดูแลสุขภาพแบบร่วมสมัยและภูมิปัญญาโบราณฝั่งตะวันออกไว้ด้วยกันอย่างพิถีพิถัน มีพื้นที่โดยรวมขนาด 1,074 ตารางเมตร รายล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่และสวนสวยอันเขียวชอุ่มของโรงแรมคาเพลลา กรุงเทพ ประกอบด้วยห้องทำทรีตเมนต์จำนวน 7 ห้อง (รวมถึงห้องทรีตเมนต์คู่จำนวน 2 ห้องที่มีอ่างจากุซซี่ส่วนตัว) พร้อมสระน้ำอุ่นไวทัลลิตี้ พูล (Vitality Pool) ที่มีเตียงหินโมเสกควบคุมอุณหภูมิให้ได้นอนพักกาย ห้องอาบน้ำเรนชาวเวอร์ที่มอบประสบการณ์ใหม่ในการอาบน้ำแบบ 4 ประสบการณ์ ห้องสตีมและซาวน่า ห้องจิบชาที่มีแสงธรรมชาติสาดส่องและชมวิวของสวนสปากลางแจ้งได้ไปพร้อมๆ กัน ตลอดจนห้องฟิตเนสที่มีอุปกรณ์การออกกำลังกายทันสมัยครบครัน การผสมผสานศาสตร์แห่งการบำบัดและการปรนนิบัติผิวพรรณด้วยสูตรลับเหนือกาลเวลา เช่น การนำพืชพรรณไม้หรือยาสมุนไพรที่ปลูกขึ้นและหาได้ในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นทรีตเมนต์ใหม่ๆ และมาใช้ร่วมกับสุดยอดเทคโนโลยีอันทันสมัย นับเป็นอีกหนึ่งความคิดสร้างสรรค์ที่น่าอัศจรรย์ของการรังสรรค์ประสบการณ์เพื่อการดูแลสุขภาพที่แตกต่างและไม่เหมือนใครอย่างแท้จริงตามแนวคิดของ “โกโค่ ฮอสพิทอลลิตี้” ความโดดเด่นของการสร้างสรรค์โปรแกรมสปาและทรีตเมนต์ของ “ออริกา เวลเนส” […]
ทำความเข้าใจ “อาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19” จาก ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
ขณะที่เส้นกราฟแสดงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงพุ่งทะยานและขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ อย่างน่าเป็นกังวล วัคซีนดูจะเป็นความหวังเดียวที่จะหยุดสถานการณ์วิกฤตในครั้งนี้ ข่าวของการพบผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ยิ่งสร้างความไม่สบายใจกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ล่าสุดผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนสะสมทั้งหมดนับตั้งแต่มีการฉีดวัคซีนเข็มแรกวันที่ 28 กุมภาพันธ์จนถึงวันที่ 26 เมษายน 2564 ทั้งหมด 1,149,666 โดส โดยมีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 972,204 ราย ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 มีจำนวน 177,462 ราย อะไรคือผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19? การแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นอย่างไร? มีความรุนแรงแค่ไหน? อย่างไร? ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายถึงอาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในรายการ “คุยข่าวเม้าท์กับหมอ” ใน RAMA Channel ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพดี ว่า อาการข้างเคียงหรือผลข้างเคียง (side effects) หลังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นหนึ่งใน “กลุ่มอาการไม่พึงประสงค์หลังการรับวัคซีน” ที่เจ้าหน้าที่จะเฝ้าระวังผู้รับบริการภายใน 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน เพื่อที่จะสามารถดูแลให้การแก้ไขได้ทันท่วงที คำว่า “อาการไม่พึงประสงค์หลังการรับวัคซีน” […]