ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่

คลายประเด็นที่สตรีสงสัย! หากใช้ ยาคุมกำเนิด หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เสี่ยงแค่ไหน

Alternative Textaccount_circle
ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่
ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่

จากกรณีที่เคยมีข่าวหญิงสาวรายหนึ่งเสียชีวิต หลังจาก ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยระบุว่า หญิงสาวที่เสียชีวิตด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หลังจากเข้ารับวัคซีน และมีการใช้ยาคุมกำเนิดร่วมด้วย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยหลังจากเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้สร้างความกังวลใจให้กับสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดอย่างมาก

ซึ่งภาวะต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้นั้น จริงหรือเท็จแค่ไหน เราได้รวบรวมคำตอบจาก ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ลดความกังวลใจในสตรีสำหรับการเข้ารับวัคซีนกันต่อไป

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่

ไขข้อข้องใจเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับสตรีที่ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

ล่าสุด ทางด้าน พล.อ.ท.นพ. การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการฉีดวัดซีนป้องกันโรคโควิด-19 และการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนสำหรับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนมีหลายอย่าง เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิดในประเทศไทย การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้ความความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ และมีผลข้างเคียงน้อย ยาเม็ดคุมกำเนิดได้รับการวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 50 ปี

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ที่ใช้ ยาคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมน 

1. ยาคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ยาเม็ด ยาฉีดคุมกำเนิด และแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวพบได้น้อยมากในสตรีไทย และยังพบได้น้อยกว่าในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีระดับเอสโตรเจนสูงมากตามธรรมชาติ

2. ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวบรวมจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิต-19 ในสตรีทั่วโลกและในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่อย่างใด

3. ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิด สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้

4. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ มาทดแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ใช้ ยาคุมกำเนิด มีความเสี่ยงจริงหรือไม่


ข้อมูล : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ? และใครที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้

ไขข้อสงสัย หากผู้ป่วย “ไทรอยด์” ติดโควิด-19 จะเสี่ยงอาการหนักกว่าเดิมหรือไม่?

4 วิธีเสริมความแกร่งให้ปอด สร้างเกราะป้องกันจาก COVID-19

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up