การรับมือกับ 'ภาวะเครียด' ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

การรับมือกับ ‘ภาวะเครียด’ ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

Alternative Textaccount_circle
การรับมือกับ 'ภาวะเครียด' ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
การรับมือกับ 'ภาวะเครียด' ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

การรับมือกับ ‘ภาวะเครียด’ ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน Immunization Stress Related Response (ISSR) เป็นปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากจิตใจที่มีความวิตกกังวล และแสดงออกมาทางร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นได้และมีอาการไม่เหมือนกันในแต่ละคน เมื่อมีความเครียดต่อการฉีดวัคซีน ก็จะไปกระตุ้นระบบต่างๆ ในร่างกาย บางคนไปกระตุ้นระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด (stress hormone) เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล และหากไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ก็จะทำให้หลอดเลือดหดตัว

รู้ได้อย่างไรว่ามี ภาวะเครียด ISRR

อาการของ ISRR พบได้หลากหลาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่นาทีหลังการฉีดวัคซีน แต่อาจมีบางรายเกิดช้า เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันภายหลังการฉีดวัคซีน เมื่อตรวจภาพรังสีวิทยาของสมอง (Neuroimaging study) จะไม่พบพยาธิสภาพที่ชัดเจน และอาการมักจะหายไปภายใน 1-3 วัน  ภาวะ ISRR มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในผู้ที่อายุน้อยและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก

การรับมือกับ 'ภาวะเครียด' ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

อาการที่สงสัยว่ามีภาวะเครียด ISRR

  1. มีอาการชาอย่างเดียว
  2. ปวด เสียว ชา หรือ แปล๊บๆ ตามแขนขา ชารอบปาก
  3. พูดไม่ชัดอย่างเดียว
  4. Transient abnormal movement เช่น เกร็ง กระตุก
  5. ง่วง
  6. อ่อนแรง  หรืออ่อนเพลีย
  7. มึนหรือเวียนศีรษะ
  8. ตามัว

เมื่อพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดสัญญาณชีพ หากพบความผิดปกติที่มีอาการเข้าได้กับโรคหลอดเลือดสมอง เช่น ชา อ่อนแรง ปากเบี้ยว จะให้การรักษาตามระบบ Fast Track ของโรคหลอดเลือดสมอง หากไม่พบความผิดปกติ หรือสงสัยภาวะ ISRR ก็จะให้การรักษาตามอาการ อาการที่เป็นจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เอง แนะนำให้พักและผ่อนคลาย เมื่ออาการดีขึ้นก็สามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การรับมือกับอาการเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีน ISSR

  1. อยู่ในที่ที่มีการถ่ายเทอากาศ ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป
  2. คืนก่อนฉีดวัคซีน ควรนอนหลับให้เพียงพอ ไม่เครียด
  3. หากพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ หรือมีอาการเจ็บป่วย วิตกกังวล หรือเครียด อาจเลื่อนนัดการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
  4. รู้เท่าทันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ หรือบางคนอาจมีอาการเพลีย อ่อนแรง หรืออาการอื่นๆ ได้ อาการข้างเคียงจะมีมากน้อยแตกต่างกัน โดยอาการมักจะหายไปได้เองภายใน 1-3 วัน โดยไม่มีอันตรายใดๆ
  5. รอสังเกตอาการ 30 นาที หลังฉีดวัคซีน

การรับมือกับ 'ภาวะเครียด' ทั้งก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

หลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วพบว่ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง
  • เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่ออก
  • อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง
  • ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก
  • มีจุดหรือจ้ำเลือดออกจำนวนมาก
  • หน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว
  • แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ชัก หรือหมดสติ

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเครียดสนองตอบต่อการฉีดวัคซีนนี้ เกิดได้กับการฉีดวัคซีนทุกชนิด ทุกรุ่นการผลิต (Lot) เป็นส่วนหนึ่งของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้หลังจากการฉีดวัคซีน เรียกว่า Adverse Events Following Immunization (AEFI) อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใน 30 วัน และไม่จำเป็นที่จะต้องมีสาเหตุจากวัคซีน


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ. สมรรจน์ ลิ้มมหาคุณ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคติดเชื้อ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่นาสนใจ

เซฟตัวเอง! เตรียมตัวก่อนและหลังฉีด “วัคซีนป้องกันโควิด-19” ควร-ไม่ควร ทำอะไร?

“อย่าหยุดออกกำลังกาย” เสริมภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 50% หลังฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19

ไขข้อสงสัย หากผู้ป่วย “ไทรอยด์” ติดโควิด-19 จะเสี่ยงอาการหนักกว่าเดิมหรือไม่?

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up