Wellness
อัพเดต โควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสม ในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงรับเข็มกระตุ้นปีละครั้ง
เป็นไปตามที่หลายภาคส่วนคาดการณ์เกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกระลอก หลังช่วงวันหยุดยาวและการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น จากรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์[1] กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 พบว่าสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดหลักในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ลูกผสม คิดเป็น 86.8% โดยพบผู้ติดเชื้อกระจายทุกเขตสุขภาพ สัดส่วนสายพันธุ์ที่ตรวจในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบสายพันธุ์ลูกผสมมากกว่า 74% ในเกือบทุกเขตสุขภาพ โดยสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ XBB.1.16 คิดเป็น 27.7% รองลงมาคือสายพันธุ์ XBB.1.5 คิดเป็น 22.0% โดยทั้งสองสายพันธุ์มีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีทั้งคู่ แต่สายพันธุ์ XBB.1.16 สามารถแพร่กระจายได้ดีกว่า ขณะที่ BN.1 ซึ่งเคยเป็นสายพันธุ์หลักในไทยตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2565 มีสัดส่วนลดลง ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้คำแนะนำสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตัวอย่างระมัดระวัง เช่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากหรือไปในที่สาธารณะ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ยังมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตได้ สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะได้รับการเสริมภูมิคุ้มกัน เนื่องจากหากได้รับเชื้อ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง และเสี่ยงต่อการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ปัจจุบัน นอกจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วยังมี LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้โดยออกฤทธิ์ใน 6 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเอง ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลาในสร้างภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ สำหรับการฉีดวัคซีนทั่วไป ดังนั้น LAAB จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มาก่อน แนะนำให้เว้น 2 สัปดาห์ แล้วจึงฉีด LAAB[2] ผู้ที่เคยได้รับ LAAB มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน แนะนำให้ฉีด LAAB เข็มที่ 2[3] ผู้ที่เคยได้รับ LAAB เข็มที่ 2 มาแล้ว แนะนำให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือน แล้วจึงกลับมารับ LAAB ซ้ำ[4] […]
“เป็ป – ณพสิทธิ์” แชร์ประสบการณ์สุดวิกฤติ หัวใจวายเฉียบพลัน
ที่ผ่านมา คุณเป็ป – ณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม นักแสดง เจ้าของธุรกิจสร้างภาพยนตร์และละคร บริษัท ณวลาร์ท นิมิต ก็เหมือนหลายคนที่คิดว่าใส่ใจดูแลสุขภาพพอสมควร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงไม่คาดคิดว่าจะประสบกับเหตุการณ์เฉียดตายแบบนี้ “เป็ป – ณพสิทธิ์” แชร์ประสบการณ์สุดวิกฤติ หัวใจวายเฉียบพลัน ภัยเงียบในหัวใจ “ผมเป็นนักกีฬาตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งเล่นฟุตบอล รักบี้ เทนนิส แบดมินตัน พอโตมาก็ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกันก็มีความสุขกับการรับประทานของอร่อย โดยเฉพาะของหวาน เค้ก 3-4 ชิ้น ถือเป็นเรื่องธรรมดาโดยไม่กลัวอ้วน ผมใช้วิธีออกกำลังกายตามเมนูอาหารในวันนั้น (หัวเราะ) เช่น ถ้ามื้อเย็นไปร้านอาหารจีน ซึ่งผมชอบเป็ดปักกิ่งกับหมูกรอบมาก ก็บอกตัวเองว่าแม้จะกลับบ้านดึกแค่ไหนก็ต้องวิ่งอย่างน้อย 1 ชั่วโมง “ผมใช้ชีวิตปกติแบบนั้นมาโดยไม่ได้มีสัญญาณเตือน ไม่ได้ปวดหัวหรือมีอาการบ่งชี้ที่น่ากังวลใดๆ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวันผมอยู่ที่หัวหิน ตอนเช้าเดินออกกำลังกายจากหาดทรายหน้าบ้านไปเขาตะเกียบ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ช่วงเย็นเต้นแอโรบิกกับปิ๋ม (ปาณิสรา เที่ยงธรรม – น้องสาว) มีแค่รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว […]
เช็คอาการของ ‘มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ’ ภัยเงียบที่พบไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แม้พบได้ไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชาย การตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบปัสสาวะเป็นเลือด มีประวัติสูบบุหรี่ กลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติสัมผัสสารกลุ่มอะโรมาติกเอมีนเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ก็จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยพบเจอโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ เช็คอาการของ ‘มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ‘ ภัยเงียบที่พบไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเรา ภายในจะถูกบุไว้ด้วยเยื่อบุที่มีความจำเพาะต่อระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเสียในปัสสาวะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือด โดยเยื่อบุดังกล่าวจะบุตลอดทางเดินปัสสาวะซึ่งได้แก่ กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะตามลำดับ หากมีการเกิดมะเร็งของเยื่อบุระบบทางเดินปัสสาวะก็สามารถเกิดขึ้นในอวัยวะที่กล่าวมาข้างต้น แต่มากกว่าร้อยละ 90 มักพบในเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะ หรือเรียกว่า มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ข้อมูลล่าสุดจากการรวบรวมของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (Cancer in Thailand Vol.10 2016-2018) พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 2,497 คน เฉลี่ยวันละ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2 ของมะเร็งทั้งหมด โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 3 ถึง 4 เท่า แต่ที่น่ากังวลคือเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงเกือบร้อยละ 20 ซึ่งการตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ โดยอาการเริ่มแรกที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะคือ อาการปัสสาวะเป็นเลือด โดยเฉพาะในรายที่ไม่พบอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วยจะพบว่ามีความเสี่ยงในการพบมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้น หากมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลามอาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง […]
วิธีกินแบบ ‘Rainbow Diet’ เทรนด์สุขภาพยอดนิยมในสายฝอ ช่วยดูแลรูปร่างโดยไม่ต้องอดอาหาร
Rainbow Diet เป็นเทรนด์สุขภาพที่ต้องการให้กินผักและผลไม้หลากสีสัน ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว และสีม่วง โดยหลักการกินแบบ Rainbow Diet กินผักและผลไม้ 5 สีอย่างละ 1 ต่อหน่วยบริโภคทุกวันด้วย (แบ่งเป็นผักและผลไม้หลากสี 80% ธัญพืช 20%) ปกติหลายคนมักลดน้ำหนักด้วยวิธีผิดๆ อย่างการอดอาหารหรือกินให้น้อนที่สุด และแทนที่จะห้ามกินคาร์โบไฮเดรต กลูเตน ไขมัน หรือเนื้อสัตว์ แต่การกินแบบ Rainbow Diet เพียงแค่ต้องเพิ่มผักและผลไม้ที่มีสีสันในมื้ออาหารเป็นประจำ วิธีกินอาหารแบบ Rainbow Diet เพียงแค่เติมอาหารจากพืชหลากสีเพิ่มมากขึ้นในทุกมื้อ ผักและผลไม้สดและแช่แข็งเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งด้านล่างนี้จะมีแผนภูมิอาหารสีรุ้งสำหรับแต่ละสี แบ่งตามประเภท: ผัก/ผลไม้ เริ่มจาก อาหารสีแดง อาหารสีแดงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและโมเลกุลต้านการอักเสบที่ป้องกันการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยอาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น ผักสีแดงเหล่านี้ง่ายต่อหาซื้อ คุณสามารถลองกินนอาหารเช้าแบบเรนโบว์ไดเอทที่ประกอบด้วยไข่เจียวพริกแดงและหอมแดง หรืออาหารกลางวันแบบเรนโบว์ด้วยแซนด์วิชข้าวไรย์แบบโปะหน้ากับแซลมอนรมควันและบีทรูท กะหล่ำปลีแดง มันฝรั่งแดง พริกหยวกแดง มะเขือเทศ บีทรูท หอมแดง ชิกโครีแดง (radicchio) ชาร์ดสีแดง พริกฮาลาปิโนแดง ผลไม้สีแดงมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพียงเพิ่มผลเบอร์รี่ในแผนมื้ออาหารสายรุ้งหรือเติมโจ๊กตอนเช้าด้วยเมล็ดทับทิมเพื่อเพิ่มพลัง แอปเปิ้ล ส้มสีเลือด เชอร์รี่ […]
พบน้อยแต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น! ปัจจัยเสี่ยง ‘มะเร็งผิวหนัง’ มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันและรักษา
‘มะเร็งผิวหนัง’ เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรัง เมื่อเกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ รวมทั้งแสงแดดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยง ‘มะเร็งผิวหนัง’ มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันและรักษา มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็กๆ แล้วจึงค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด, มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง, โรคทางพันธุกรรมบางโรค, คนผิวขาว หรือ […]
6 ความเสี่ยง ‘มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่’ ที่พบมากอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด
เนื่องในวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งรังไข่สากล” World Ovarian Cancer Day เพื่อร่วมรณรงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นเสมือนเกราะป้องกันภัย และวิธีป้องกันดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ โดยแพทย์หญิงศันสนีย์ อังสถาพร สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยานรีเวช ได้อธิบายเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ที่เกิดจากเยื่อบุผิว ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงทุกคน จากข้อมูลของ WHO ในปี 2020 พบว่าในประเทศไทย มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด และโดยทั่วไปโอกาสการเกิด มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ ตลอดชีพ อยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งพบบ่อยในช่วงอายุ 55-65 ปี 6 ความเสี่ยง ‘มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่‘ ที่พบมากอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ เกิดจากเซลล์ของรังไข่ที่เป็นมะเร็งเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ ได้แก่ 1. ไม่มีบุตร 2. เริ่มมีประจำเดือนมาเร็ว หรือประจำเดือนหมดช้า 3. มีน้ำหนักตัวมาก 4. ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอกโดยไม่ได้รับโปรเจสเตอโรน 5. […]
ทำไม ‘ไซยาไนด์’ อันตรายถึงชีวิต พร้อมวิธีการรับมือหากเผลอสัมผัส
หลายคนคงเห็นข่าวหญิงสาวรายหนึ่งที่มีพฤติกรรมเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ในคดีวางยาไซยาไนด์จนทำให้เหยื่อหลายรายเสียชีวิต เลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารอันตรายชนิดนี้ที่มีชื่อว่า ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำไม ‘ไซยาไนด์’ อันตรายถึงชีวิต พร้อมวิธีการรับมือหากเผลอสัมผัส ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอนไนโตรเจน (CN) มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร Cyanide สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบในพืชบางชนิด อย่างอัลมอนด์ แอปเปิ้ล และยังเกิดได้จากกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตาม Cyanide ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่พบในพืชและกระบวนการเผาผลาญนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต Cyanide ในรูปแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตสารเคมีอันตรายชนิดนี้มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปแบบของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยแต่ละชนิดมีแหล่งที่มาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนี้ Sodium cyanide (NaCN) เป็นของแข็งสีขาว อาจอยู่ในรูปแบบผลึก แท่ง หรือผง พบได้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้ในการเคลือบเงาหรือเคลือบสีเหล็ก และเป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลง สามารถเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัสบริเวณปากแผล การสูดดม หากรับประทานอาจเป็นพิษถึงตายได้ Potassium cyanide (KCN) มีลักษณะเป็นก้อนผลึก หรือผงสีขาว เมื่อเป็นของเหลวจะใสไม่มีสี กลิ่นคล้ายแอลมอนด์ มักนำมาใช้ในการสกัดแร่ […]
‘ไอยู’ อัพเดตอาการเสียงดังในหู ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ’ กับสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ ไอยู เปิดเผยว่าเธอมีปัญหากับการได้ยิน และกำลังรักษา ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ’ อาการเสียงดังในหู ซึ่งตอนนั้นเธอกำลังต่อสู้กับโรคนี้ในระหว่างเตรียมการแสดงคอนเสิร์ต The Golden Hour เมื่อปีที่แล้ว โดยเธอเผยว่า “หูของฉันมีปัญหาเล็กน้อย ดังนั้น ฉันจึงประหม่ามากในขณะที่เตรียมตัวสำหรับคอนเสิร์ตนี้” ‘ไอยู’ อัพเดตอาการเสียงดังในหู ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ‘ กับสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของ Hopkins Medicine ความผิดปกตินี้ทำให้คนได้ยินเสียงตัวเองดังเกินไป และอาการของไอยูที่เป็นคือ “ช่วงนี้หูของฉันไม่ดีนิดหน่อย หูของฉันเหมือนเปิดวาล์วเอง ดังนั้นการได้ยินของฉันจึงคล้ายกับที่คุณได้ยินเมื่อกำลังหาว เมื่อฉันได้ยินตัวเองร้องเพลง เสียงมันจะดังเกินไป และดังขึ้นเรื่อยๆ” ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction ; ETD) คือ การที่ภายในหูชั้นกลางเกิดการอุดกั้นเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ความดันอากาศที่ผ่านเข้าภายในหูเวลาบดเคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร หรือหาว เพิ่มระดับขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการได้ยินของเธอในตอนนี้ ไอยูตอบกลับพร้อมข่าวดี “มันดีขึ้นมากแล้ว พูดตามตรง ตอนนั้นอาการดีขึ้น (ปีที่แล้ว) แต่เนื่องจากเป็นเดือนกันยายน ฉันจึงสวมเสื้อคาร์ดิแกน และเนื่องจากคลื่นความร้อนที่ไม่คาดคิด […]
12 วิธีคุย ‘เรื่องการเมืองในครอบครัว’ อย่างไรไม่ให้เกิดความขุ่นมัวหรือทะเลาะกัน
บางครั้งเรื่องการเมืองก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับบางบ้านที่มีทัศนคติทางการเมืองไม่ตรงกัน แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและจะคุย เรื่องการเมืองในครอบครัว อย่างไรให้ไม่บาดหมางใจกัน ลองอ่าน #คุยกันได้โดยไม่ต้องทะเลาะกันเพราะการเมือง จาก หมอมิน-พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เจ้าของเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา โดยคุณหมอเล่าว่ามีคุณแม่ของลูกวัยรุ่นท่านหนึ่งส่งข้อความมาหา ช่วงนี้หมอพบว่ามีหลายๆ ครอบครัวที่มีความเห็นต่างเรื่องการเมือง เพื่อนจิตแพทย์ของหมอก็เล่าว่า มีเคสที่ลูกเป็นคนมาปรึกษาเพราะว่าทะเลาะกับแม่เช่นกัน ความขัดแย้งที่พบเห็นนี้ จึงอยากเขียนบทความที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีขึ้นในการอยู่ร่วมกันสักหน่อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายบ้าน ในยุคการเมืองร้อนแรง จริงๆ ไม่ใช่แค่ในบ้าน อาจจะในโรงเรียน ที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน ในสังคมย่อยๆ ที่เราอยู่ หมอขอตอบในกรณีของคุณแม่ท่านนี้ เผื่อหลายคนจะได้นำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ได้ด้วย 1. ตั้งสติ ไม่โกรธตอบลูก เมื่อเขาแสดงอารมณ์แรงๆ เช่นนั้นกับคุณแม่ ยิ่งโกรธและตอบโต้กันจะคุยกันไม่รู้เรื่อง 2. พึงเข้าใจว่า คุณแม่และเขาต่างได้รับข้อมูลหลากหลาย มีประสบการณ์แตกต่างกัน โดยเฉพาะยุคนี้ที่มีโซเชียลมีเดีย การเข้าถึงข้อมูลทำให้ลูกได้รับข้อมูลมากมาย ลองฟังเขาดูสักหน่อย 3. เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ฟังเขาก่อน อย่าเพิ่งรีบไปอธิบาย การที่เรายอมรับฟังเขาก่อน เขาจะรู้สึกว่าเราก็ดูใส่ใจสิ่งที่เขาคิดและรู้สึก ช่วยให้อารมณ์แรงของเขาบรรเทาเบาบางลง 4. ถ้าฟังที่เขาพูดแล้วเกิดอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ กังวล […]
เช็กอาการ โควิด XBB.1.16 ต่างจากสายพันธุ์เดิมอย่างไร
อย่าลืมว่า โควิด ยังคงอยู่รอบตัวเรา ไม่หายจากไปไหน ล่าสุดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ที่คาดกันว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโลกในช่วงต่อจากนี้ เนื่องจากแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโควิด XBB.1.16 แล้วจำนวน 6 ราย โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือมีชื่อเรียกว่า อาร์คทูรัส (Arcturus) เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.2 ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75 โดยสายพันธุ์ XBB.1.16 พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมกราคม 2566 ก่อนจะเริ่มระบาด ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โควิด XBB.1.16 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม (Variant Under Monitoring) และในปัจจุบันโควิด XBB.1.16 แพร่กระจายไปมากกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยที่เริ่มพบผู้ป่วยบ้างแล้ว โดยอาการที่พบได้ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกับโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ มีไข้ขึ้นสูงปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ คัดจมูก […]
หุ่นล่ำ กล้ามแน่น แซ่บตัวพ่อ ‘เรน’ แชร์สตอรี่ผลตรวจสุขภาพที่ระบุว่าเขาอยู่ในภาวะ ‘อ้วนก่อนวัย’
หากมีสิ่งหนึ่งที่ เรน (Rain) เป็นที่รู้จักนอกเหนือจากการเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีพรสวรรค์ นั่นก็คือเขามีร่อง 11 กล้ามหน้าเนื้อท้องคมชัดและกระชับ เรียกได้ว่า หุ่นเทพเลยทีเดียว ซึ่งในวัย 40 ปี และเป็นคุณพ่อลูกสอง ถือว่าเขาเป็นผู้ชายที่มีหุ่นที่หลายคนปรารถนา และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาและแฟนๆ ของเขาตกใจ เมื่อเขาโพสต์สตอรี่บนอินสตาแกรม โดยเปิดเผยผลการตรวจทางการแพทย์ที่ระบุว่าเขาถูกจัดอยู่ในภาวะ “อ้วนก่อนวัย ” หุ่นล่ำ กล้ามแน่น แซ่บตัวพ่อ ‘เรน’ แชร์สตอรี่ผลตรวจสุขภาพที่ระบุว่าเขาอยู่ในภาวะ ‘อ้วนก่อนวัย’ “แต่…ฉันออกกำลังกาย…เยอะอยู่นะ… ฉันเป็นคนอ้วนก่อนวัยอันได้อย่างไร… WTF… WDYM ฉันต้องออกกำลังกายให้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอ… ตอนนี้ฉันควรจะฝึกอย่างมืออาชีพแล้วหรือยัง? ฉันออกกำลังกายวันละสองครั้ง แน่ใจนะว่าเครื่องไม่พัง… LOLOLOL“ But… I work out… so much… How am I pre-obese… WTF… WDYM I have to work out more regularly… Am I supposed to […]
ป้องกันดีกว่ารักษา ‘มะเร็งช่องปาก’ ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
เนื่องในเดือนเมษายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ ‘มะเร็งช่องปาก’ มะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต สามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล ‘มะเร็งช่องปาก’ ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทย โดยเฉพาะในเพศชาย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ของโรคมะเร็งในผู้ชายไทย ในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่เฉลี่ย 3,840 คนต่อปี หรือวันละ 11 คน โดยตำแหน่งในช่องปากที่พบเป็นมะเร็งบ่อยที่สุดคือ ลิ้น รองลงมาคือบริเวณใต้ลิ้นและบริเวณเหงือก อาการของโรคมะเร็งช่องปากมีได้หลายอาการขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น ได้แก่ เป็นแผลเรื้อรังในช่องปากซึ่งไม่หายภายใน 2-3 สัปดาห์, เป็นก้อนนูนหรือฝ้าขาวหรือแดงในช่องปาก, ฟันหลุด ฟันโยก, ปวดใน ช่องปากหรือปวดหู, เคี้ยวหรือกลืนลำบาก และก้อนที่คอ สาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งช่องปากที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น, […]
อาการที่พบได้บ่อยของ ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน’ ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษา
อาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง เหนื่อย หายใจไม่ทัน ปวดร้าวกราม จุกบริเวณคอหอย สะบักหลัง แขนซ้าย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ให้รีบมาพบแพทย์ เสี่ยงเสียชีวิตด้วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาการที่พบได้บ่อยของ ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน‘ ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษา โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยและทั่วโลก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการอุดตันเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอันตรายรุนแรง ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ทำให้ผู้ป่วยหมดสติกระทันและเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ถ้ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือขณะพักผ่อน สาเหตุเนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือบริเวณที่มีคราบไขมันเกิดการปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดและก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดการอุดตันส่งผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและสัญญานเตือนของโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดร้าวไปกราม คอ สะบักหลัง แขนซ้าย เหนื่อยหายใจไม่ทัน บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอดูอาการที่บ้าน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจากข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาเข้ารับการรักษาล่าช้า ทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่นหัวใจล้มเหลวตามมา โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบได้บ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปโดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ การวินิจฉัยของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์จะซักประวัติ อาการ และทำตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด หากพบว่ามีอาการเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิด ST elevation […]
วิธีป้องกัน ‘มะเร็งตับและท่อน้ำดี‘ ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย พบมากเป็นอันดับหนึ่ง
มะเร็งตับและท่อน้ำดี ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย พบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบมากที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับประเทศไทยมะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็ง ที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 3 ในเพศหญิงจากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย ปี 2561 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับ รายใหม่ 22,213 คน/ปี ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,650 คน/ปี (Cancer in Thailand Vol.X (2016-2018) สถาบันมะเร็งแห่งชาติและ สถิติสาธารณสุข ปี 2564) ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ วิธีป้องกัน ‘มะเร็งตับและท่อน้ำดี‘ ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทย พบมากเป็นอันดับหนึ่ง สาเหตุของมะเร็งตับส่วนมากเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็ง ท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการกินอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้มแหนม ฯลฯ นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซีก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ ผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีแต่ละรายอาจมีการแสดงอาการแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ แน่นท้องท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือดดูความผิดปกติการทํางานของตับ การตรวจระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน การอัลตราซาวด์เพื่อดูก้อนที่ตับ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น การรักษามะเร็งตับและท่อน้ำดีมีหลายวิธี ซึ่งจําเป็นต้องประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องคํานึงหลายประการ สำหรับการป้องกันโรคทำได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ กินอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน อาหารที่มีดินประสิว และอาหารหมักดอง เป็นต้น หากสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับและท่อน้ำดี ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบหรือท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง ควรรับการตรวจหามะเร็งอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับหรือมะเร็งท่อน้ำดีได้ สามารถติดตามความรู้ข่าวสารด้านโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ส่งเสริมความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง http://allaboutcancer.nci.go.th/ เว็บไซต์ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง https://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ และ Line : NCIรู้สู้มะเร็ง
ร้อนระอุ! วิธีสังเกต ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ภาวะที่ทำให้เสี่ยงชีวิตได้
ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของคุณชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นักธุรกิจและนักการเมืองชื่อดังที่เสียชีวิตด้วยภาวะฮีทสโตรก และด้วยความร้อนแผดเผาของประเทศไทยในช่วงนี้ จึงขอเสนอบทความเกี่ยวกับ ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด ด้วยความเป็นห่วงลูกเพจที่รักทุกคน พร้อมวิธีสังเกตและรับมือ โดยหมอกรมการแพทย์ แนะว่ารับมืออากาศร้อนจัดให้อยู่ในที่ร่ม หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาโดยเฉพาะโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงและได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย จนทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง จำให้แม่น!! สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคฮีทสโตรก คือไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัว ลดน้อยลง อาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการเพลียแดดทั่วๆ ไปที่จะมีเหงื่อออกด้วย สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฮีทสโตรก คือ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอน […]
ออกกำลังกายหนักไม่ใช่สาเหตุ ‘ภาวะกระดูกสันหลังคด’ เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ปัจจุบันมีรายงานข่าวบนสื่อออนไลน์ที่มีนักแสดงเกิดภาวะกระดูกสันหลังคด ทำให้ประชาชนสนใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น ซึ่ง ภาวะกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการคดเอียงออกทางด้านข้างตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป มักพบมากในช่วงวัยรุ่นหรือมีอายุระหว่าง 10 – 18 ปี (Adolescent idiopathic scoliosis (AIS)) และเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 10:1 ออกกำลังกายหนักไม่ใช่สาเหตุ ‘ภาวะกระดูกสันหลังคด‘ เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยร้อยละ 80 ของภาวะนี้ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดได้แน่ชัด อย่างไรก็ตามในบางกรณีสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองพิการหรือในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติ ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นนั้น มีปัจจัยเสี่ยงคือ เพศหญิงและอายุ โดยเฉพาะช่วงที่กำลังจะเข้าสู่วัยรุ่น การออกกำลังกายอย่างหนักไม่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะกระดูกสันหลังคด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแต่ตรวจพบเจอโดยบังเอิญ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจมีอาการปวดหลัง บางรายที่มีการคดเอียงของกระดูกค่อนข้างมาก จึงจะตรวจพบว่ามีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่เท่ากัน ด้านหลังนูน ผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ด้วยความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้มาพบแพทย์จะทำการถ่ายภาพทางรังสีกระดูกสันหลัง เพื่อการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังคด รวมทั้งพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ส่วนการถ่ายภาพทางรังสีคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประโยชน์ในการช่วยวางแผนในการผ่าตัด การรักษาแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทาง คือ การสังเกตอาการ การใส่เสื้อเกราะ และการผ่าตัด ในกรณีที่กระดูกสันหลังมีความคดน้อยกว่า 25 องศา แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดทุก […]
สัญญาณ ‘โรคฮาชิโมโต’ หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
แนะทุกวัยหมั่นตรวจเช็คอาการตนเองจากสัญญาณของ โรคฮาชิโมโต หากรู้เร็ว รักษาได้ทัน และควรกินอาหารครบหมู่ ใช้ชีวิตให้สมดุล แบ่งเวลาทำงานและพักผ่อนให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงสุราและบุหรี่หากมีอาการที่สงสัย เช่น คอโตขึ้น ควรมาพบแพทย์ หมั่นสังเกตสัญญาณ ‘โรคฮาชิโมโต‘ หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน โรคฮาชิโมโต หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสาเหตุของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำที่พบได้บ่อย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบเรื้อรังและทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมไทรอยด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่สอดคล้องกับการทำงานหลายอย่างของร่างกาย โรคฮาชิโมโตมีจากหลายปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง โรคเหล่านี้เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของไทรอยด์ที่ผิดปกติ บางครั้งอาจแสดงในกลุ่มของอาการที่ไทรอยด์มากเกินไปหรือไทรอยด์น้อยเกินไป ขึ้นอยู่กับภูมิตัวนี้ไปยับยั้งหรือทำให้มีการสร้างฮอร์โมนมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าในครอบครัวมีคนเป็นโรคไทรอยด์จึงควรไปตรวจสุขภาพ อาจจะพบมากขึ้นในบางเชื้อชาติ การกินสารไอโอดีนมากเกินไป หรืออาจจะสัมพันธ์กับโรคภูมิคุ้มกันอื่นๆ เพศหญิงจะเป็นโรคไทรอยด์มากกว่าเพศชาย พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามอายุ แต่สามารถพบในเด็กวัยรุ่นและวัยกลางคนได้เช่นกันฃ อาการของโรคฮาชิโมโต ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น เกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หน้าบวม รู้สึกหนาวง่าย ผิวแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ วิธีการดูแลสุขภาพ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ในวัยทำงานใช้ชีวิตให้สมดุล แบ่งเวลาทำงานที่เหมาะสม […]
มะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบที่ซ่อนเร้น มีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่พบได้ทั่วไป
มะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบที่ซ่อนเร้น มีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่พบได้ทั่วไป เช่น หวัด ภูมิแพ้ หรือไซนัสอักเสบ หากตรวจพบเจอในระยะเริ่มแรก ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย อย่าชะล่าใจปล่อยไว้จนลุกลาม มะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบที่ซ่อนเร้น มีอาการคล้ายคลึงกับโรคที่พบได้ทั่วไป มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นหนึ่งในมะเร็งบริเวณศีรษะและคอที่พบบ่อยในประเทศไทย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 2.5 เท่า ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 4 คน เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 2 คน (สถิติ Cancer in Thailand Vol.X,2016-2018 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และและสถิติสาธารณสุข ปี 2564) ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมีหลายปัจจัย ได้แก่ การกินอาหารประเภทหมักดอง อาหารที่มีสารไนโตรซามีน เป็นประจำ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การติดเชื้อเรื้อรังของไวรัส Epstein-Barr Virus (EBV) ความเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่นเชื้อชาติจีน และประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อาการของโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกมีหลายอาการ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง รักษาแบบโรคภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบแล้วไม่ดีขึ้น […]