'โพรไบโอติกส์' จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่มีดีมากกว่าเรื่องช่วยขับถ่าย

มีดีมากกว่าช่วยขับถ่าย ‘โพรไบโอติกส์’ สายพันธุ์ไหนมีประโยชน์กับร่างกาย และด้านใดบ้าง

Alternative Textaccount_circle
'โพรไบโอติกส์' จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่มีดีมากกว่าเรื่องช่วยขับถ่าย
'โพรไบโอติกส์' จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่มีดีมากกว่าเรื่องช่วยขับถ่าย

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “โพรไบโอติกส์” จนชินหู และรู้ถึงสรรพคุณเด่นในเรื่องระบบขับถ่าย แต่น้อยคนจะรู้ว่าโพรไบโอติกส์ในลำไส้ของเรามีประโยชน์ต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายอีกมากมาย

พอดีมีโอกาสได้พบกับ คุณหมอบาย – นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมแบบองค์รวม ซึ่งคุณหมอบายไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า “โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ มีหลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 500 ชนิด มีชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถพบได้ในช่องปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งโพรไบโอติกส์แต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน จุลินทรีย์ดีจะช่วยรักษาสุขภาพลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เผาผลาญไขมัน และลดสารพิษในลำไส้ จุลินทรีย์ร้ายก่อให้เกิดโรคต่อร่างกาย”

อยากเพิ่มจุลินทรีย์ดี ต้องเริ่มที่ลำไส้
“ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ หรือโพรไบโอติกส์หลายชนิด ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ที่เป็นระบบหนึ่งที่สำคัญและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่ง 70% ของระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity System) เกิดขึ้นในลำไส้ของเรา รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญอย่าง NK Cells (Natural Killer Cells) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าที่ต่อสู้ป้องกันเชื้อโรคก็อาศัยอยู่ที่ลำไส้เช่นกัน เพราะกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีคือ การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายให้มีความสมดุลและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ในร่างกาย” คุณหมอบาย กล่าว

2. นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center.JPG

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ในร่างกายมีมากมายหลายร้อยสายพันธุ์ ทำหน้าที่แตกต่างกันไป มาดูกันว่าโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไหนมีประโยชน์กับร่างกายเราในด้านใดบ้าง

  • Bifidobacterium Bifidum (B.bifidum)  ถือเป็นโพรไบโอติกส์สำคัญ ช่วยป้องกันการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค โดยไปยึดเกาะผนังลำไส้ และแย่งสารอาหารจากจุลินทรีย์ตัวร้าย มีหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกัน, ช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุ, ลดโอกาสการเกิดโรคในลำไส้, ลดระดับคอเลสเตอรอลในพลาสมา, ลดความเสียหายที่เกิดจากสารพิษในอวัยวะ และผลิตกรดแล็กติก และยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี
  • Bifidobacterium breve (B.breve)  เป็นจุลินทรีย์ที่ดี สามารถช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งเด็กคลอดธรรมชาติจะมีโอกาสได้รับจุลินทรีย์ชนิดนี้ตั้งแต่แรกเกิดผ่านทางช่องคลอดของแม่ ทำให้เด็กคลอดธรรมชาติมีพื้นฐานร่างกายที่แข็งแรง ทำหน้าที่ช่วยลดการอักเสบ, ช่วยในการย่อยอาหาร, สนับสนุนการทำงานของลำไส้, ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้ได้เป็นอย่างดี
  • Bifidobacterium lactis (B.lactis)  มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังอักเสบ ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T (T lymphocytes) และเซลล์เพชฌฆาต NK Cell (Natural Killer Cells) ทั้งหมด ส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย ส่งเสริมการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุในลำไส้ให้ดียิ่งขึ้น
  • Lactobacillus gasseri (L.gasseri) เป็นโพรไบโอติกส์ที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก ลดไขมันในช่องท้อง เส้นรอบเอวและเส้นรอบสะโพก ส่วนใหญ่พบในน้ำนมของแม่ มีหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างการสังเคราะห์ Growth Hormone, ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้า และลดความกระวนกระวาย, สังเคราะห์ Gassericin A ในร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี, ลดความเครียดและช่วยให้การนอนมีคุณภาพขึ้น รวมถึงลดอาการท้องผูกจากสาเหตุความเครียด รวมทั้งคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดกลุ่มอาการการเผาผลาญผิดปกติ (อ้วนลงพุง)

“อ้วนลงพุง” หัวขบวนโรคร้ายของคนยุคใหม่
“ปัจจุบันพบว่าคนไทยเป็นโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) เพิ่มมากชึ้น เพราะการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ เกิดการสะสมไขมันบริเวณช่องเอว หรือช่องท้องปริมาณมากเกินไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายหลายระบบโดยสังเกตุจากรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง และมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตรในผู้ชาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มีพลังงานสูง กินหวาน มัน เค็ม หรือการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการปรับสมดุลลำไส้ด้วยโพรไบโอติกส์เฉพาะบุคคล ที่ช่วยฟื้นฟูระบบเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ ดังนั้นการเสริมโพรไบโอติกส์ให้ตรงกับความต้องการของร่างกายตัวเอง (Personalized Probiotics) รวมถึงสัดส่วนที่ควรบริโภคในแต่ละบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่ปรับสมดุลลำไส้” หมอกล่าว ปิดท้าย

เสริมโพรไบโอติกส์ที่ร่างกายต้องการ สร้างสมดุลสุขภาพ
เพราะเซลส์ 90% ในร่างกายคือเซลส์ของจุลินทรีย์ หากจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุล จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังร้ายแรงมากมาย และแต่ละคนมีความต้องการโพรไบโอติกส์แต่ละชนิดที่แตกต่างกันจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพันธุกรรม ดังนั้น การตรวจจุลินทรีย์ (Gut Microbiome DNA Test) จึงเป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังขาดโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ชนิดใด เพราะการกินโปรไบโอติกส์ให้เห็นผล ต้องกินสายพันธุ์ที่ใช่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืน

Cover: Pexels


Praew Recommend

keyboard_arrow_up