ฮอร์โมนไม่สมดุล อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน

เช็คลิสต์ 10 สัญญาณเตือน ‘ฮอร์โมนไม่สมดุล’ อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน

Alternative Textaccount_circle
ฮอร์โมนไม่สมดุล อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน
ฮอร์โมนไม่สมดุล อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน

ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่นอกจากการมี Work-Life Balance สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ครอบครัวมีความสุขมากยิ่งขึ้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ Hormone Balance หรือ การสร้างสมดุลฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการทำงานของร่างกายในระบบที่จำเป็น ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานประสานกันได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น สมดุลของฮอร์โมนเพศจึงมีความสำคัญต่อระบบประสาทในการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ สมรรถภาพทางเพศ รวมถึงระบบการสร้างพลังงานของร่างกาย วันนี้มีโอกาสได้มาคุยกับ คุณหมอบาย – นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center และ W Ploenchit Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมแบบองค์รวม เกี่ยวกับ “ฮอร์โมน” จุดเริ่มต้นและกุญแจไขความลับสู่การดูแล แก้ไข และปรับสมดุลสุขภาพและร่างกาย

หงุดหงิดง่าย ผิวแห้ง หัวล้าน นอนไม่หลับ
“ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมากทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค การรักษา รวมถึงการดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรคแบบรายบุคคล ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 5 ปีมานี้ เนื่องจากทุกคนตระหนักว่า หากปล่อยให้เกิดอาการเจ็บป่วย จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต คนรอบข้าง รวมถึงการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งจากสถิติโรคเรื้อรังยอดฮิตของคนไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคอ้วนซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นี้ มาจากพันธุกรรม และไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล”

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเกิดความไม่สมดุล ซึ่ง “ฮอร์โมน” เปรียบเสมือนผู้ส่งสารภายในร่างกายที่มีมากมายหลายหมื่นหลายแสนตัว เป็นระบบพื้นฐานในตัวเราที่ทำงานต่อเนื่องกันเป็นเครือข่ายและพึ่งพากันและกัน มีความสัมพันธ์กับทุกระบบในร่างกายช่วยส่งเสริมด้านพัฒนาการ จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก ซ่อมแซมความเสื่อมทางสุขภาพ ชะลอวัยชะลอการเจ็บป่วย ช่วยการทำงานระบบย่อยอาหาร และระบบเผาผลาญของร่างกาย โดยความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพียง 1-2 ตัว ที่เกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ภาชนะพลาสติก อาจเป็นต้นตอของภาวะหรืออาการผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค การตรวจฮอร์โมนจึงสำคัญ”

เช็คลิสต์สัญญาณเตือน “ฮอร์โมนไม่สมดุล”
สำรวจตัวเองหากมีอาการแบบนี้ รีบเช็คสมดุลฮอร์โมนให้ไว อย่าปล่อยไว้

  • อารมณ์แปรปรวน
  • นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่ลึก ตื่นไม่สดชื่น
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • การเผาผลาญลดลง อ้วนง่าย
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • ผิวแห้งกร้าน เหี่ยวย่น เป็นสิวอักเสบ
  • กระดูกบางและกระดูกพรุน
  • ซึมเศร้า ภาวะเครียดสะสม
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่มีสาเหตุไม่แน่ชัด และเป็นๆ หายๆ

ตรวจสมดุลฮอร์โมน ช่วยวางแผนและดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
ฮอร์โมนของผู้ชายกับผู้หญิงมีทั้งตัวที่เหมือนกันและตัวที่แตกต่างกัน โดยที่เหมือนกัน เช่น อินซูลิน ไทรอยด์ โกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต แต่ตัวที่ต่างกัน คือ ฮอร์โมนเพศ ผู้ชายก็จะมี ฮอร์โมนเพศชาย เรียกว่า Testosterone ในขณะที่ผู้หญิงมี ฮอร์โมนเพศหญิง เรียกว่า Estrogen กับ Progesterone ที่กำหนดความแตกต่างทางสรีระ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานของต่อมในสมองที่เรียกว่า พิทูอิทารี นอกจากนี้ ฮอร์โมนเพศยังมีผลต่อการกำหนดภาวะอารมณ์ของผู้หญิงและผู้ชายให้แตกต่างกันอีกด้วย

ไม่มีใครทราบว่าสุขภาพในอนาคตจะเป็นอย่างไร การตรวจวัดระดับฮอร์โมน เป็นการตรวจที่ทำให้ทราบว่า เราควรวางแผนดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไร เหมือนเป็น Life Navigator เพื่อให้เราทราบว่า ควรใส่ใจสุขภาพเพิ่มขึ้น หรือควรหลีกเลี่ยงอะไร ร่างกายเราขาดวิตามินอะไรบ้างที่ต้องเสริมให้ร่างกายกลับมามีสมดุล สุขภาพดี แข็งแรงได้อย่างยืนยาว

ข้อดีของการตรวจสมดุลฮอร์โมนช่วยรู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย หากตรวจพบภาวะไม่สมดุล จะได้วางแผนและดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด โดยคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การป้องกัน ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ผ่านการผสมผสานทุกศาสตร์แห่งการป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูความเสื่อม ทั้งให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหรือลดน้อยลง ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ให้เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่อาจจะรบกวนความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย

Photo: Pexels


Praew Recommend

keyboard_arrow_up