- Page 2 of 56

4 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับ “วิตามินซี” ควรกินเท่าไร ตอนไหนดีที่สุด

ด้วยเทรนด์รักสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความต้องการด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในด้านความงามและการดูแลผิวก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน “วิตามินซี” สารอาหารที่ได้รับความนิยมและขาดไม่ได้มากที่สุดสำหรับร่างกายมนุษย์ บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลของ “วิตามินซี” วิธีการเสริมและแง่มุมที่ซ่อนอยู่ในชีวิตมีหลายประการที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับวิตามินซี วิตามินซี หรือที่เรียกว่า กรดแอสคอร์บิก มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ร่างกายไม่สามารถผลิตวิตามินซีได้เอง ส่วนใหญ่พบในผักและผลไม้ตามธรรมชาติ วิตามินซีจะต้องได้รับจากการกินอาหารหรือเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพิ่มเติมเพื่อให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้ วิตามินซี มีประโยชน์อย่างไร? ควรกินวิตามินซีวันละเท่าไร? ปริมาณวิตามินซีในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยคือ 100 มก. ซึ่งเทียบเท่ากับการกินกีวี 1 ผล ส้ม 3-4 ผล สตรอเบอร์รี่ 5-7 ผล และฝรั่งแดงครึ่งลูก นอกจากนี้ผักต่างๆ เช่น ผักโขม ผักกาดขาว ผักคะน้า รากบัว ฯลฯ ก็อุดมไปด้วยวิตามินซีเช่นกัน ดังนั้น คุณจึงสามารถกินเสริมได้ตามปกติ ความอิ่มตัวจะเกิดขึ้นได้เมื่อกินเข้าไปถึง 400 มก. และส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ปริมาณสูงสุดต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือประมาณ 2,000 มก. หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ง่าย นอกจากนี้ ปริมาณที่แนะนำต่อวันสำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรคือ 110 มก.-140 มก. กลุ่มคนประเภทไหนที่ต้องการเสริมวิตามินซีเพิ่ม […]

“นอนไม่หลับ” เพราะเครียด..แต่ไม่รู้ตัวหรือเปล่า?

จากสถิติที่เผยโดยกรมสุขภาพจิต พบว่าคนไทยกว่าร้อยละ 40 กำลังเผชิญวิกฤตที่เรียกว่า “ภาวะนอนไม่หลับ” สมองไม่หยุดคิด จนทำให้ไม่สามารถข่มตาลงได้ หนึ่งในสาเหตุที่กำลังพังนาฬิกาชีวิตของคนรุ่นใหม่ก็คือ ความเครียดที่สะสมโดยไม่รู้ตัว คนส่วนใหญ่ในวัยทำงานต่างกำลังเผชิญกับอาการนอนไม่หลับ เพราะสมองไม่หยุดคิดกันอย่างถ้วนหน้า นี่คือหนึ่งในสัญญาณสุขภาพที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม ใครที่ร่างกายกำลังแสดงอาการอ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิ จนส่งผลถึงขั้นนอนไม่ได้ รีบเช็กด่วน อาการ นอนไม่หลับ คือสภาวะร่างกายที่ไม่ปกติ ครอบคลุมตั้งแต่ความยากในการข่มตานอน ไปจนถึงอาการหลับไม่สนิท ซึ่งส่งผลให้รู้สึกถึงความเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน การทำงานด้านการรับรู้บกพร่อง อารมณ์แปรปรวน และคุณภาพชีวิตโดยรวมลดลง ซึ่งวิธีการรับมือก็แตกต่างกันออกไป เนื่องจากอาการนอนไม่หลับยังสามารถแบ่งได้อีกถึง 2 ประเภทจากการวินิจฉัยของแพทย์ ได้แก่ ทั้งสองกลุ่มอาการ ถือเป็นสัญญาณที่จะนำไปสู่โรคมากกว่าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการนอน และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบร่างกายส่วนอื่นๆ ทั้งทางกายภาพและจิตใจ ทำให้การสังเกตอาการตัวเอง และหาวิธีรับมือ รวมไปถึงการพบแพทย์จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญ สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ระดับความรุนแรงของโรคนอนไม่หลับนอกเหนือจากกลุ่มอาการที่ควรรู้แล้ว การป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนยังมีระดับความรุนแรงที่ต่างกันออกไป ใครที่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับ รับมือกับความเครียดสะสมไม่ได้ ต้องรีบตื่นตัวและหาหนทางการรักษาได้ทันก่อนที่จะสายเกินไป วิธีทำให้นอนหลับง่ายขึ้น สำหรับใครที่ได้ลองทำทุกวิถีทางแล้ว แต่ยังไม่หลุดพ้นจากอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และยังรู้สึกถึงภาวะเครียดรุมเร้า ควรรีบเข้ามาปรึกษาเพื่อวางแผนการดูแลรักษาแต่เนิ่นๆ ขอบคุณข้อมูล: พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board […]

วิธีสังเกตความเสี่ยงเป็น “โรคหัวใจ” แม้ไม่มีอาการแสดง

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่า โรคหัวใจขาดเลือด ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านคนเป็น 9.1 ล้านคนในปี 2564 นอกจากการป้องกันและคอยตรวจดูความเสี่ยงแล้ว สิ่งสำคัญคือเราทุกคนควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (Basic Life Support) ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งสามารถเกิดกับใครก็ได้ เพราะทุกวินาทีคือชีวิต โรคหัวใจ ภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงหรือแม้แต่ถึงแก่ชีวิตได้ มาหาคำตอบกันในบทความนี้ถึงคุณลักษณะที่น่ากังวลแม้ไม่มีอาการแสดง ร่างกายแข็งแรง แต่ก็ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง มีแบบไหนบ้าง เพื่อจะได้นำไปสังเกตอาการและเป็นแนวทางในการป้องกัน จะได้รักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที กลุ่มแบบไหนดังต่อไปนี้ ที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง (ถ้าเข้าลักษณะในข้อใดข้อหนึ่งก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่ากังวล) 1. เพศชายอายุเกิน 40 ปี หรือเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี2. มีโรคทางพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ3. พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก4. […]

ข้อดี ‘อิฐโยคะ’ ช่วยอะไรบ้าง? พร้อมแนะ 5 ท่าเบสิคสำหรับคนเพิ่งเริ่ม

คนที่เล่นโยคะบ่อยๆ มักจะคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหวขั้นเบสิคของท่าโยคะอยู่แล้ว หากมีการใช้อุปกรณ์อย่างอิฐเข้ามาช่วยเสริมการเล่นโยคะ คนเหล่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนและการใช้อิฐโยคะได้หลากหลาย นอกเหนือจากการเพิ่มความยากลำบากในการเคลื่อนไหวแล้ว พวกเขายังสามารถพัฒนาเมนูการออกกำลังกายของตนเองได้อีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นโยคะบ่อยๆ การฝึกโยคะตั้งแต่เริ่มต้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย อิฐโยคะ จึงถือเป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือที่มีประโยชน์มาก นอกจากจะช่วยในการเคลื่อนไหวและการยืดกล้ามเนื้อที่ถูกต้องแล้ว ยังรักษาสมดุลร่างกาย แถมแก้ปัญหาการงอตัวได้ยาก และช่วยหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บจากการผู้ที่เริ่มต้นเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้อีกด้วย และนี่คือ 5 ท่าพื้นฐานสำหรับการเล่นโยคะด้วยการใช้อิฐ เพื่อบรรเทาอาการปวดไหล่และคอ พร้อมผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ​1: ท่าแมว บริเวณที่ยืด: ไหล่, หลัง ​2: ท่าสุนัข ยืดส่วนต่างๆ: กล้ามเนื้อไหล่ คอ หลัง และขาหลัง ​3: นอนหงายและเปิดหน้าอก บริเวณที่ยืด: อก, หลัง ​4: ท่าอูฐ บริเวณที่ยืด: บั้นท้าย, ลำตัว, อก, หลัง ​ท่าที่ 5: ท่านกพิราบ บริเวณที่ยืด: บั้นท้าย, หลัง, กล้ามเนื้อขา การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งเป็นการเคลื่อนไหวแบบยืดเส้นประมาณ 15 ถึง 30 วินาที […]

พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง ป้องกันการเกิด ‘มะเร็งศีรษะและคอ’

ขึ้นชื่อว่า มะเร็ง ก็น่ากลัวและนับเป็นปัญหาสุขภาพที่ใหญ่มากทั้งนั้น ที่สำคัญมะเร็งมักจะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่จะแสดงอาการเมื่อมีการลุกลามแล้ว ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก นับเป็นหนึ่งในสาเหตุสําคัญของการเสียชีวิต สำหรับ มะเร็งศีรษะและคอ เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจส่วนบนและบริเวณคอ หรือเรียกว่า มะเร็งของหู คอ จมูก ซึ่งมะเร็งศีรษะและคอที่พบบ่อย คือ มะเร็งช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง โพรงจมูกและไซนัสโพรงหลังจมูก ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำลาย การจะพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ทำได้ไม่ยาก แต่จะมีมะเร็งบางตำแหน่งที่อาจตรวจหายากขึ้น ต้องใช้ความชำนาญ และอาจจะต้องใช้วิธีการตรวจพิเศษบางอย่างช่วย เช่น มะเร็งในจมูก มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งกล่องเสียง เป็นต้น สำหรับประเทศไทยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งศีรษะและคอ มาจากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ ส่วนการเคี้ยวหมากร่วมกับใบยาสูบเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในอดีต และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิด “มะเร็งช่องปาก” โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ผู้ป่วยบางรายอาจมีความผิดปกติระดับยีนที่เสริมให้เกิดมะเร็งจากการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ซึ่งมะเร็งช่องปากสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งในช่องปากโดยอาจมาด้วยลักษณะตุ่มก้อนเนื้อหรือรอยแผลที่รักษาไม่หายนานเกิน 2–3 สัปดาห์ ทั้งนี้ อาจพบเลือดออกจากรอยแผล อาการชาจากการลุกลามทำลายเส้นประสาท หรือการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง ทำให้สามารถคลำเป็นก้อนได้ที่ลำคอ การป้องกันมะเร็งช่องปากที่สำคัญ คือ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า […]

รู้เร็ว รักษาได้ก่อนทรุด ‘วัณโรค’ แพร่เชื้อติดต่อง่าย หมั่นคอยสังเกตอาการ

องค์การอนามัยโลก จัดประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ กลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง จากการรวบรวมสถิติของกองวัณโรค กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2566 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย ขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน 78,955 รายซึ่งบทความให้ความรู้โดย ได้อธิบายการติดต่อหรือการแพร่กระจายของวัณโรค รวมถึงอาการของโรค สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที วัณโรค คืออะไร และติดต่อกันอย่างไรวัณโรค (TB) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis เกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย โดยร้อยละ 80 ติดเชื้อที่ปอด ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ส่วนวัณโรคนอกปอด อาจพบได้ในอวัยวะอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบประสาท เป็นต้น  เมื่อผู้ป่วยวัณโรคปอด หลอดลม หรือกล่องเสียง ไอ จาม ทำให้เกิดละอองฝอยฟุ้งกระจาย  ผู้ใกล้ชิด สูดหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปสู่ถุงลมในปอด ทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ในห้องที่ทึบอับแสง หากเสมหะที่มีเชื้อตกลงสู่พื้นที่ที่ไม่มีแสงแดดส่อง […]

วิธีสังเกตสัญญาณเสี่ยง ‘ภาวะสิ้นยินดี’ อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้มีภาวะซึมเศร้า

“คุณมีความสุขไหมวันนี้?” คำถามง่ายๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยย้อนถามตัวเอง และอาจจะต้องนึกอยู่นานกว่าจะได้คำตอบว่าตกลงวันนี้ “มีความสุข”, “ไม่มีเลย” หรือ “ไม่รู้เหมือนกัน” เชื่อหรือไม่ว่ามีคนจำนวนหนึ่งไม่สามารถรู้สึกหรือบอกตัวเองได้ว่า “ฉันกำลังมีความสุข” ซึ่งหากคุณหรือคนใกล้ตัวเป็นเช่นนี้ อาจเป็นสัญญาณว่าคนๆ นั้นอาจกำลังมี “ภาวะสิ้นยินดี” อาการร่วมที่พบบ่อยในผู้มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในหมู่คนวัยทำงานยุคนี้ เป็นธรรมชาติของคนเราที่ต้องมีอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะการรับรู้หรือได้รับความรู้สึกเชิงบวก เช่น สบายใจ แช่มชื่นใจ ทั้งที่มาจากตัวเองหรือมาจากการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แต่เมื่อไรที่เรามี “ภาวะสิ้นยินดี” จะรู้สึกเหนื่อย เนือย ไม่มีความรู้สึกเชิงบวกใดๆ ไม่ว่ากับอะไรหรือกับความสัมพันธ์ใด ภาวะสิ้นยินดีเกิดขึ้นได้อย่างไร“ภาวะสิ้นยินดี” เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ทำให้เจ้าต้วไม่รู้สึกรู้สากับอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวเกิดได้จากหลายปัจจัย กล่าวคือ    ภาวะสิ้นยินดีทางสังคมและทางกายภาพ ผู้ที่เป็นภาวะสิ้นยินดีมักจะมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ชิดหรือคนอื่นๆ ในสังคม พวกเขาจะไม่สามารถตอบรับความรู้สึกด้านบวกได้ ไม่ว่าความสุข ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้ผู้ที่มีภาวะสิ้นยินดีไม่สามารถมีประสบการณ์เชิงบวกร่วมกับผู้อื่นได้ ยกตัวอย่าง เพื่อนๆ หัวเราะกันสนุกสนาน แต่คนที่มีภาวะสิ้นยินดี จะไม่สามารถรู้สึกสนุกหรือหัวเราะกับคนอื่นๆ ได้ ซึ่งจะกระทบกับการเข้ากลุ่มและความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ นานวันเข้า ก็อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพและความสัมพันธ์กับคนอื่น ภาวะสิ้นยินดีแสดงออกได้ 2 ลักษณะหลักๆ คือ    ผู้ที่มีภาวะสิ้นยินดีทั้ง 2 แบบ จะไม่มีแรงจูงใจในการเชื่อมความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ไม่อยากใช้เวลาหรือมีส่วนร่วมกับผู้อื่น หรืออาจจะมีอาการของโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) […]

เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ปรับไลฟ์สไตล์ 6 เรื่องหลักของการมีสุขภาพดี ตามหลัก ‘เวชศาสตร์วิถีชีวิต’

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs (Non-communicable diseases) เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลกถึง 74% โดยรายงานของ WHO ปี พ.ศ. 2565 คนไทยเสียชีวิตจาก NCDs มากถึง 380,400 คนต่อปี หรือประมาณ 44 คนต่อชั่วโมง ซึ่งนี้ถือเป็นภัยร้ายที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข ซึ่งสาเหตุของโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของ เช่น การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่บริโภคผักและผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย นอนหลับไม่เพียงพอ มลภาวะฝุ่น PM2.5 สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงความเครียดสะสม ซึ่งปัจจุบันโลกได้มีศาสตร์การแพทย์แขนงหนึ่ง คือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) ที่มีหลักฐานยืนยันแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกัน รักษา และลดความรุนแรงของโรคได้ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนด้วยการแก้ไขต้นเหตุของปัญหา นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ แห่งบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ได้แนะ 6 หลักปฎิบัติของการดูแลสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต เพื่อเป็นแนวทางการปรับไลฟ์สไตล์ง่ายๆ […]

HARNN Heritage Spa

กรุงเทพฯ เมืองที่ได้รับการขนานนามให้เป็น “City of Angles” ดินแดนที่เต็มไปด้วยเสน่ห์เอกลักษณ์เฉพาะตัว ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เกิดจากการ

นุ่น-สินิทธา กับประสบการณ์ Water Fasting ปรับสมดุลรักษาโรคด้วยน้ำเปล่า

นุ่น-สินิทธา บุญยศักดิ์ เผยประสบการณ์การปรับสมดุลรักษาโรคเนื้องอกด้วยน้ำเปล่า Water Fasting เผยชีวิตเปลี่ยนไปหันมาใส่ใจสุขภาพจนกลายมาเป็น ️Health Coach

เมื่อการอู้งานซื้อชานมเม้าท์กับโต๊ะข้างๆก็เป็นหนึ่งใน worklife balanced …พบกับหลากวิธีรับมืออาการเบิร์นเอาท์เบิร์นใจของคนวัยทำงาน

ภาวะเครียดจากการทำงาน ถ้าสะสมนานๆ จะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นอกจากจะหงุดหงิด ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ความสัมพันธ์ย่ำแย่ อาจจะส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าไม่รู้ตัว วันนี้ ดร.แพม-ปรมา มุทิตาภรณ์ ผู้ก่อตั้ง A List Vision ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จะมาแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตรงใจ

ใครมีอาการแบบนี้บ้าง? แชร์วิธีบรรเทา ‘ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น’ ท่ามกลางอากาศร้อนชื้น

แม้จะอยู่ในเมืองร้อนอย่างประเทศไทย แต่มีใครปลายมือปลายเท้าเย็นกันเป็นประจำกันบ้างไหมคะ? เชื่อไหมว่าช่วงที่อากาศร้อนสลับกับฝนตกแบบนี้ ยังมีหลายคนที่ขี้หนาวแบบที่เปิดแอร์ 30 องศา แล้วบอกว่าอากาศแบบนั่นกำลังเย็นสบาย โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนกันมาสักพักแล้ว หนึ่งในกลุ่มอาการที่อาจจะรู้สึกได้มากในวันฝนตก หรือช่วงที่อากาศเริ่มชื้นมากขึ้น คืออาการ “ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น” บทความจะมาช่วยคลายข้อสงสัยต่างๆ สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการปลายมือปลายเท้าเย็น มักเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ตั้งแต่ในวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และคนชรา และในฤดูฝนเป็นฤดูที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งมาพร้อมกับความเย็นลักษณะเด่นของความเย็นและความชื้น คือทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดและพลังงานในร่างกายลดต่ำลง ช้าลง เกิดความหนืดความหน่วงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปลายรยางค์หรือปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ห่างไกลจากหัวใจ จึงเป็นจุดที่มีปัญหามากกว่าส่วนอื่นๆ หากเป็นผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ หนาวง่าย เหนื่อยง่าย หายใจได้ไม่ค่อยลึก ร่วมด้วย จะยิ่งทวีความรุนแรงของอาการปลายมือปลายเท้าเย็นให้มากยิ่งขึ้น ในบางรายอาจมีอาการ ปลายมือปลายเท้าชา เกิดตะคริวบ่อยๆ ช่วงกลางคืน เล็บซีดหรือม่วง ซึ่งในกลุ่มนี้ทางแพทย์แผนจีนจะเรียกว่า กลุ่มอาการที่เกิดจาก “หยางพร่อง” หรือกลุ่มอาการที่ร่างกายขาดพลังงานความร้อนนั่นเอง อาการขี้หนาวหรือหนาวง่ายกว่าปกติ มักเป็นอาการที่มาควบคู่กับอาการ “ปลายมือ- ปลายเท้าเย็น” อาจสังเกตได้ว่าในสถานที่หรือห้องที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส บางคนอาจรู้สึกกำลังเย็นสบาย แต่บางคนอาจรู้สึกร้อน และบางคนอาจรู้สึกหนาวสั่น […]

5 ทริคโภชนาการช่วยหุ่นฟิตกว่าเดิม พร้อมเผยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน น้ำ ต้องกินเท่าไร? เวลาไหนดี

การวิ่งที่ดีจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย ส่งเสริมการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด สร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ และเป็นวิธีที่ดีในการลดน้ำหนัก นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้สดใสอีกด้วย จากผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Neuroscience News พบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างการวิ่ง สามารถช่วยเพิ่มระดับของเซโรโทนิน โดปามีน และ นอร์เอพิเนฟริน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ควบคุมอารมณ์ ช่วยให้นอนได้ดี ผ่อนคลายความเครียด และเพิ่มการทำงานของสมอง แต่ก่อนจะออกไปวิ่ง นอกเหนือจากการเตรียมรองเท้าที่เหมาะสม เพลย์ลิสต์เพลงออกกำลังกายสุดมันส์ และเลือกเส้นทางวิ่งที่น่าสนใจแล้ว การโฟกัสเรื่องโภชนาการก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะวิ่งระยะทางไกลหรือสั้น แม้ว่านักวิ่งส่วนใหญ่จะรู้ว่าต้องกินคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และน้ำ แต่ต้องกินเท่าไร? ควรกินก่อน ระหว่าง หรือหลังวิ่ง ในบทความนี้ จะชวนมาสำรวจเคล็ดลับดีๆ เพื่อช่วยให้เริ่มต้นออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยโภชนาการที่ดี ไม่ว่าความฟิตของคุณอยู่ระดับไหน โภชนาการก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ออกกำลังกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รู้แบบนี้แล้วอย่าลืมเติมโภชนาการดีๆ แล้วออกไปวิ่งกัน! ข้อมูล: ดร. ดาน่า ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายสมรรถนะด้านกีฬา โภชนาการ และการให้ความรู้ภาพ: Pexels

ทริคกินชะลอวัย “กรดอะมิโน” จากรังนกแท้ ที่มี สารต้านอนุมูลอิสระ

หากจะพูดถึงเทรนด์ไลฟ์สไตล์มาแรงของยุคนี้ หนึ่งในนั้นต้องมีเทรนด์การกินเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นการดูแลตัวเองจากภายในสู่ภายนอก โดยนอกจากการกินอาหาร

9 พฤติกรรมเสี่ยงเข้าข่ายเป็น Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้งโดยไม่รู้ตัว

ว่าด้วยเรื่องช้อปปิ้งในออนไลน์หรือออฟไลน์ถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของใครหลายคน แต่ถ้าช้อปจนหยุดตัวเองไม่ได้ ซื้อของเกินความจำเป็น จนเกิดปัญหาหนี้สิน กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว อาการเหล่านี้อาจเข้าข่ายเป็น Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้งโดยไม่รู้ตัว Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้ง เป็นโรคทางสุขภาพจิตประเภทหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรคนี้จะเสพติดการซื้อของโดยที่ไม่คำนึงถึงสถานะทางการเงินของตัวเอง และมีความอยากจะไปช้อปปิ้งอยู่ตลอดเวลาโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความสัมพันธ์จนต้องทะเลาะกับคนในครอบครัว บางครั้งซื้อมาแล้วต้องโกหกคนในครอบครัวว่ามีคนให้มา หรือบอกราคาที่ถูกกว่าราคาจริงที่ซื้อ ซึ่งโรคนี้พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย 9 พฤติกรรมที่เข้าข่ายการเป็น Shopaholic โรคเสพติดการช้อปปิ้ง เกิดได้ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม ซึ่งสาเหตุที่มาจากปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ มีภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง มีปัญหาในการควบคุมตัวเองหรือยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยทางสังคม เช่น การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ รวมไปถึงการใช้บัตรเครดิตในการซื้อของไปก่อนโดยยังไม่ต้องใช้เงินสด สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการเสพติดช้อปปิ้งได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน โรคเสพติดการช้อปปิ้ง สามารถรักษาให้หายได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเปลี่ยนทัศนคติ เช่น การจำกัดวงเงินบัตรเครดิตหรืองดใช้บัตรเครดิต โดยส่วนใหญ่แล้วจิตแพทย์จะรักษาด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioural Therapy: CBT) ซึ่งจะเป็นการพูดคุยให้คำปรึกษา เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการมีพฤติกรรมโรคเสพติดการช้อปปิ้ง จากนั้นจึงทำการปรับเปลี่ยนความคิด ปรับพฤติกรรม เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าใจตัวเองและปรับเปลี่ยนนิสัยการเสพติดการช้อปปิ้งได้ เช่น […]

‘กะหล่ำดอก’ ประโยชน์แน่น นักโภชนาการแนะนำกินแทนข้าว ช่วยย่อยอาหาร ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ

อยากลดน้ำหนักแต่หยุดกินข้าวขาวอร่อยๆ ไม่ได้ใช่ไหม? ต้องลองกิน กะหล่ำดอก แทนข้าวขาว เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีเพียงหนึ่งในหกของน้ำตาลและแคลอรี่ของข้าวขาว อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร วิตามินซีสูง และสารอาหารอื่นๆ และเป็นที่รู้จักในชื่อ “อาวุธต่อต้านมะเร็ง” ที่จริงแล้วการเตรียม “ข้าวกะหล่ำดอก” นั้นง่ายมาก เพียงสับดอกกะหล่ำแล้วแทนที่ข้าวขาวแบบเดิม ไม่เพียงแต่สามารถรักษารสชาติของข้าวได้เท่านั้น แต่ยังช่วยลดน้ำตาลและแคลอรี่และทำให้มีสุขภาพดีอีกด้วย “กะหล่ำดอก” มีวิตามินซีมากกว่ามะนาว และยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแคลเซียมอีกด้วย สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นคือปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่ของดอกกะหล่ำมีเพียง 1/6 ของข้าวขาวสำหรับอยากกินแบบไม่มีข้าว ให้ใช้ข้าวดอกกะหล่ำแทนข้าวขาว ซึ่งสามารถสนองความอยากอาหารได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณแป้งที่มากเกินไป สำหรับผู้ที่ควบคุมอาหาร แคลอรี่ และน้ำตาล การกินกะหล่ำดอกก็สามารถเพิ่มความอิ่มได้ และส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงผลของการควบคุมลำไส้และการล้างกระเพาะอาหารทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น กะหล่ำดอกแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ สีเขียวและสีขาว ซึ่งทั้งสองอยู่ในวงศ์ Brassicaceae ในด้านรสชาติแนะนำให้ใช้ดอกกะหล่ำขาว ซึ่งจะได้รสชาติใกล้เคียงกับข้าวขาวเมื่อปรุงสุกกว่า Photo: Pexels

ชอบกินผัก รักสุขภาพ ดูแลรูปร่าง รู้หรือไม่ว่า ‘ผักสลัด’ แต่ละชนิด มีประโยชน์ต่างกันอย่างไรบ้าง

ผักสลัด เมนูหลักสำหรับคนรักสุขภาพ “สลัด” ที่ปรุงจากผักสลัดชนิดต่างๆ มีให้เลือกกันมากมาย ทั้งสลัดใบเขียวอ่อน เขียวเข้ม สีแดงๆ หน่อย ผักสลัดเหล่านี้ บางครั้งก็ไปเป็นเครื่องเคียงในอาหารจานโปรด บางครั้งก็ไปเป็นพระเอกในจานสลัด กับน้ำสลัดที่มีให้เลือกกันมากมายหลายชนิด หลายคนกินแล้วติดอกติดใจ แต่ก็อาจไม่รู้ว่าผักสลัดแต่ละชนิดนี่มีชื่อเรียกว่าอะไร แล้วมีประโยชน์อย่างไรกันบ้าง 1. กรีนโอ๊ค (Green Oak)ผักชนิดนี้จะเป็นรูปทรงพุ่มๆ ใบหยัก มีสีเขียว ใบจะนิ่มๆ อ่อนๆ ฟูๆ จับแล้วจะนุ่มมือ คล้ายกับผักกาดหอม เดิมกรีนโอ๊คเป็นผักที่ปลูกในต่างประเทศ ต่อมามีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากประเทศฮอลแลนด์เข้ามาในประเทศไทย จนทุกวันนี้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายจนเป็นหนึ่งในผักยอดนิยมของคนรักผัก ก็เพราะความนุ่มของใบที่ทำให้ซึมซับน้ำสลัดได้ง่าย เมื่อเอามาปรุงจึงได้รสชาติที่อร่อย กินง่าย ประโยชน์เด่นๆ ของกรีนโอ๊ค คือ การช่วยในเรื่องของการสร้างเม็ดเลือด บำรุงสายตา อุดมไปด้วยวิตามิน และเอนไซม์ที่มีประโยชน์ สามารถนำกรีนโอ๊คไปกินคู่กับเมนูที่หลากหลาย อย่างเช่น นำไปทำเป็นซูชิ พล่า ได้ 2. เรดโอ๊ค (Red Oak)ชื่อคล้ายๆ กับกรีนโอ๊ค นั่นเป็นเพราะรูปทรงที่คล้ายกัน จะแตกต่างกันก็ที่สีสันของผักทั้งสองชนิด เรดโอ๊คจะมีสีแดงเข้มบริเวณขอบใบ และกลางใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบหยักนุ่ม […]

ประจำเดือนขาด แต่ ‘ไม่ท้อง’ อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะ PCOS 

เคยไหม? ประจำเดือนขาด ๆ หายๆ แอบดีใจคิดว่าท้อง แต่หลังตรวจตั้งครรภ์กลับพบว่าไม่ท้อง นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีภาวะ PCOS ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ไม่ตก ส่งผลให้ท้องยาก   สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดหาย เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น อาหารที่กิน ความเครียด และการออกกำลังกายที่มากไปหรือน้อยไป หรือมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป มีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ที่ผิดปกติ การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เกี่ยวกับข้องภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลจึงส่งผลให้ไข่ไม่ตก และอาจส่งผลให้ไข่ไม่ตกเรื้อรังสะสมเป็นถุงน้ำในรังไข่เล็กๆ หลายใบ ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า PCOS หรือ Polycystic Ovary Syndrome ซึ่งอาจจะมีในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จึงทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบประจำเดือนที่ปกตินั้นจะมีระยะเวลา 28 วัน หากรอบประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือยาวเกินไป 35 วัน หรือประจำเดือนขาดหายไป 1 – 2 เดือน ในช่วงวัยเจริญพันธุ์และได้ทำการทดสอบการตั้งครรภ์แล้ว หากไม่ได้ตั้งครรภ์ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของการทำงานของระบบสืบพันธุ์ที่ผิดปกติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือปัญหาที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น 1. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด […]

keyboard_arrow_up