‘วีแกน’ และ ‘แพลนต์เบส’ ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่คือความยั่งยืนของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันผู้คนหันมาเลือก ‘ลดและงด’ การกินหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์มากขึ้น นอกเหนือจากการไม่เบียดเบียนสัตว์แล้ว ยังมีประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพของเราและโลกด้วย ซึ่งรูปแบบการบริโภคอาหารแบบเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่เป็นเทรนด์ในปัจจุบันคือการกินอาหารแบบ วีแกน (Vegan) และแพลนต์เบส (Plant-based)  วีแกน (Vegan) และแพลนต์เบส (Plant-based) ต่างกันอย่างไร? วีแกน คือการกินมังสวิรัติในรูปแบบหนึ่งที่เน้นการกินอาหารที่มาจากพืชหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ทุกชนิด เช่น นม เนย ชีส ไข่ โยเกิร์ต น้ำผึ้ง และยีสต์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการไม่เบียดเบียนสัตว์ แต่ยังได้รับคุณประโยชน์จากสารอาหารในกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุจากการกินพืชผักและผลไม้ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เส้นผมนุ่มสลวยเงางาม อีกทั้งช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักและลดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพราะร่างกายจะได้รับปริมาณแคลอรี่ที่น้อยลง ในทางกลับกัน ร่างกายจะได้รับไฟเบอร์ที่มากขึ้น ซึ่งช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานและช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดัน ไขมัน หลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้น สายวีแกนไม่เพียงแต่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกใช้เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า สบู่ โลชั่น ตลอดจนเครื่องสำอาง ที่ไม่มีวัสดุหรือส่วนผสมที่มาจากสัตว์ รวมไปถึงการไม่ทดลองกับสัตว์ในห้องแล็บ ซึ่งหลายวัฒนธรรมในต่างประเทศให้ความสำคัญและรณรงค์พิทักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความสูญเสียและการทำร้ายสัตว์อย่างจริงจัง แพลนต์เบส เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ใส่ใจการดูแลสุขภาพแต่มีความยืดหยุ่นกว่า คือจะเน้นการกินพืชและผลไม้ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ […]

‘โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด’ สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเป็นๆ หายๆ โดยมีความผิดปกติอยู่ที่หูชั้นใน มักสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ ซึ่งบทความนี้จะให้ความรู้ถึงสาเหตุ อาการ การรักษา รวมถึงคำแนะนำในการปฎิบัติตัวเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค สามารถนำไปใช้สังเกตตนเองและคนรอบข้าง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างเหมาะสม โอกาสในการเกิดโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด กลไกการเกิดโรคโดยปกติแล้วภายในหูชั้นในของมนุษย์ มีอวัยวะควบคุมการทรงตัว (Utricle, Saccule, Semicircular canal) ซึ่งใน Utricle มีตะกอนหินปูน (Otoconia) ที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ หากมีสาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนหลุด จะทำให้ตะกอนหินปูนดังกล่าวเคลื่อนที่ไปมาใน Semicircular canal และส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ สาเหตุของการเกิดโรค อาการของโรค การวินิจฉัยโรคโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติและตรวจร่างกายที่จำเพาะ การตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรคอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีบ้านหมุนขณะตรวจได้ การรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรค ข้อมูล : นพ.สุเมธ เฟื่องกำลูน แพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ศูนย์ หู คอ จมูก โรงพยาบาลนวเวชภาพ […]

เครียดเรื้อรังหรือแค่ขี้เกียจ? เช็คอย่างไรว่าเป็น ภาวะ Burnout จริงๆ

คุณเคยสับสนในตัวเองไหม ทุกเช้าที่ตื่นขึ้นมาจะไปทำงาน สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่เป็น…เป็นอาการ Burnout หรือจริงๆ เราแค่ขี้เกียจกันแน่? ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน นั่นก็คือ “ภาวะ Burnout” หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดจากการเผชิญกับความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานๆ มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานหนัก มีภาระหน้าที่ที่มากเกินไป มีความคาดหวังจากบุคคลอื่นสูง หรือขาดการสนับสนุนจากผู้อื่นจนเกิดอาการทางร่างกาย เช่น สมาธิลดลง อารมณ์ไม่ดี มุมมองต่อตนเองแย่ลง จนเกิดผลกระทบต่อการทำงานและความสัมพันธ์ อาการสามารถแบ่งได้ 3 ด้าน 1. Emotional Exhaustion ความเครียดทางอารมณ์ คืออารมณ์ความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนแรง อ่อนล้า ไม่อยากปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่อยากการจัดการปัญหา เพราะความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น 2. Depersonalization คือทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นการแยกตัวจากสังคม ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์ รู้สึกตนเองแปลกแยกจากคนอื่น และความรับผิดชอบต่องานลดลง 3. Reduced Personal Achievement การประเมินตนเองเชิงลบ สงสัยและไม่มั่นใจในความสามารถของตนเอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รวมถึงทักษะในการเผชิญปัญหาลดลง แยกความต่างกันสักนิด ในทางการแพทย์ ภาวะ Burnout มักมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ในขณะที่ “ความขี้เกียจ”  มักส่งผลต่อแค่ความตั้งใจที่จะทำอะไรสักอย่างเท่านั้น อาการของภาวะ burn out มักมีอาการบ่งชีัอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การป้องกันการเกิดภาวะ burnout 1. โดยองค์กร 2. โดยตัวพนักงานเอง ภาวะ Burnout เป็นเรื่องไม่ไกลตัว หากรู้ตัวหรือคนรอบข้างสังเกตได้เร็ว ทำให้การจัดการทำได้ง่าย […]

‘ไขมันในเลือดสูง’ คือไขมันชนิดไหน? สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรระวัง

ไขมันในเลือดสูง หรือภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) คือภาวะที่มีระดับไขมันไม่ดี (LDL) สูง ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง หรือระดับไขมันดี (HDL) ต่ำ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดผิดปกติถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการก่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นต้น โดยปกติร่างกายสามารถสร้างไขมันได้จากตับเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการที่จำเป็นของร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมนต่างๆ แต่หากมีการกินไขมันจากอาหารมากเกินไป มีโรคทางพันธุกรรม มีการใช้ยาหรือสารต่างๆ ที่ทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายผิดปกติก็จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ไขมันในเลือดสูง คือไขมันชนิดไหนไขมันในเลือดมีหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย โดยจะทราบได้จากค่าผลการตรวจไขมันในเลือด ผู้ทำการตรวจต้องงดอาหาร ก่อนทำการตรวจเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงค่าไขมันต่าง ๆ ดังนี้ ค่าไขมันในเลือด แบบไหนผิดปกติค่าไขมันในเลือดที่ปกติมีความแตกต่างไปตามอายุและเพศ โดยทั่วไปแล้วในผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปี ควรมีค่า สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไขมันในเลือดสูงภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถเกิดได้จากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันชนิดอิ่มตัวและไขมันทรานส์ การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กรรมพันธุ์ การมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ ตับอ่อน ภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำในรังไข่จำนวนมาก โรคไตวาย โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด […]

รู้ไว้จะได้ระวัง! 4 พฤติกรรมเสี่ยงและสาเหตุเกิด ‘หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท’

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขา (Sciatica) หรือปวดคอร้าวลงแขน (Brachialgia) ได้บ่อยที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ 1-3% ของจำนวนประชากร และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วน 2:1 และในกลุ่มช่วงอายุที่พบได้บ่อยสุด คือ 30-50 ปี (Gen X, Gen Y)  หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถเกิดกับหมอนรองกระดูกสันหลังได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ อก หรือ เอว ซึ่งพบหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างได้บ่อยที่สุด 3 อาการหลักของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus pulposus) ซึ่งมีน้ำและคอลลาเจน เป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนเปลือกของหมอนรองกระดูก (Annulus fibrosus) ซึ่งมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หนาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกี่ยวเนื่องกับหลายปัจจัย เช่น  การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาศัยข้อมูลหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้ ความเสี่ยงกับการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องกันตัวเองจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการปวด ปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง  การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท […]

‘วิตามินวัยทำงาน’ หนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ง่าย สะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วอย่างปัจจุบัน ส่งผลให้วัยทำงานต้องเผชิญกับชีวิตที่ยุ่งเหยิง ความเครียดที่ถาโถม จนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพที่ง่าย สะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่สุดคือ การกินวิตามินรวมที่เรียกได้ว่าเป็น ‘วิตามินวัยทำงาน’ ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นสำหรับวัยทำงานที่ควรกินและมีติดไว้ คือ วิตามินบี วิตามินบี ได้แก่ บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี9 (โฟเลต) และบี 12 เป็นวิตามินคนทำงานหนักอย่างแท้จริง เพราะมีบทบาทสำคัญในการสร้างพลังงานและจัดการความเครียด ช่วยในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน เสริมสร้างระบบประสาทที่แข็งแรง และรวมถึงส่วนของการควบคุมอารมณ์ ดังนั้น การบริโภควิตามินรวมที่มีส่วนผสมของวิตามินบีในปริมาณที่เพียงพอ ย่อมเป็นการเพิ่มระดับพลังงาน เสริมการทำงานของสมอง และต่อสู้กับความเหนื่อยล้าที่เกิดจากความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิตามินซี วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยม ช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานการโจมตีจากอนุมูลอิสระ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาวะชีวิตที่เคร่งเครียดเร่งรีบ นอกจากนี้ วิตามินคนทำงานหนักอย่างวิตามินซียังมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งช่วยในการบำรุงรักษาสุขภาพผิว เหงือก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ดังนั้น จึงควรเลือกวิตามินรวมที่มีวิตามินซีผสมอยู่ด้วยเช่นกัน  วิตามินดีวิตามินดี อีกหนึ่งวิตามินวัยทำงานที่ขาดไม่ได้ในวิตามินรวม โดยเฉพาะวัยทำงานที่ชีวิตส่วนใหญ่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องแอร์ก็คือวิตามินดี  เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่กล่าวมาทำให้ได้รับแสงแดดธรรมชาติซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์วิตามินดีไม่เพียงพอ และอาจเกิดภาวะขาดวิตามินดี โดยวิตามินชนิดนี้มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก การทำงานของภูมิคุ้มกัน และการควบคุมอารมณ์ […]

10 ‘โรคจิตเวช’ ที่พบบ่อย มีอาการต่างกันอย่างไร? ควรหมั่นสังเกต พร้อมแนวทางรักษา

ปัจจุบันคนไทยที่ป่วยด้วย โรคจิตเวช มีไม่น้อย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้ตัวว่าตนเองป่วยและบางรายก็ไม่รู้ตัว ที่สำคัญไปกว่านั้น ผู้ป่วยบางรายยังสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางโรค และเข้าใจผิดคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคทางกาย โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่างๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยการสังเกตอาการคนรอบข้างรวมถึงตัวเองเกี่ยวกับโรคจิตเวชเป็นเรื่องสำคัญ หากพบความผิดปกติหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนรักษาก่อนอาการรุนแรง และนี่คือ 10 โรคจิตเวช สำคัญที่ควรรู้ เพื่อให้ได้ลองสังเกตตนเอง รวมถึงการสังเกตคนรอบข้างว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยหรือไม่ จะได้รับมือและรับการรักษาที่ถูกต้อง 1. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder)เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่ายเป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ ความรู้สึกไร้ค่าเป็นภาระ พฤติกรรมการกินอาหารและการนอนเปลี่ยนไป เหนื่อยเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน บางรายอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ บางรายอาจไม่รู้สึกเศร้าแต่จะเบื่อหน่ายทุกอย่างรอบตัว และไม่รู้จะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ความสำคัญของโรคนี้คือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง 2. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)อาการที่เด่นชัด คือ กังวลหรือคิดเรื่องเดิมซ้ำๆ หยุดความคิดที่เกิดขึ้นไม่ได้จนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดตึงต้นคอ ใจสั่น อ่อนเพลีย นอนหลับได้ยาก มีอาการอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งโรควิตกกังวลสามารถแบ่งประเภทได้ เช่น […]

อาการแบบไหนเสี่ยงเป็น ‘โรคเส้นประสาทตาอักเสบ’ ภัยเงียบที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

โรคเส้นประสาทตาอักเสบ จะมีอาการตามัวแบบเฉียบพลันร่วมกับอาการปวดตา โดยเฉพาะเวลากลอกตาหรือเคลื่อนไหวลูกตา โดยลักษณะตามัวอาจจะเริ่มจากมัวตรงกลางและมัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์แรกได้จนอาจมองไม่เห็นได้ โดยในช่วงแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้สามารถกลับมามองเห็นได้ดีขึ้น แต่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันท่วงที โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (optic neuritis : ON) เป็นภาวะที่มีการอักเสบร่วมกับการเสื่อมของปลอกหุ้มเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยโรคนี้อาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางกายที่มีการเสื่อมของเส้นประสาทสมอง และไขสันหลังร่วมด้วยที่เรียกว่า multiple sclerosis ( MS ) แต่อย่างไรก็ตาม โรคเส้นประสาทตาอักเสบอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีโรคทางกายอื่นๆ ได้สำหรับผู้ป่วยที่เป็น MS หลายรายที่มีอาการแสดงครั้งแรกที่ตาจากเส้นประสาทตาอักเสบ ฉะนั้นหากพบผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทตาอักเสบ จำต้องพิจารณาหาว่ามีโรคทางกาย โดยเฉพาะ MS ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากโรคนี้อาจนำไปสู่ความพิการทางกายอย่างถาวรได้ เส้นประสาทตาหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่สอง (optic nerve) เป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับภาพจากจอตา เพื่อไปแปลผลที่สมองส่วนควบคุมการมองเห็นที่อยู่บริเวณท้ายทอยโรคของเส้นประสาทตาที่พบมากที่สุดได้แก่ โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ หรือจากการติดเชื้อที่ส่งผลถึงประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะตามัวแบบเฉียบพลันร่วมกับอาการปวดตา โดยเฉพาะเวลากลอกตาหรือเคลื่อนไหวลูกตา ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตความสามารถในการมองเห็นของตัวเองเป็นระยะทั้งการมองทั้งสองข้างและมองแบบปิดตามองทีละข้าง เพื่อเปรียบเทียบกัน หรือมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตาข้างใดมีปัญหา ต้องทดสอบและรักษาอย่างทันท่วงที โรคเส้นประสาทตาอักเสบ(optic neuritis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเส้นประสาทตา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทที่มีปลอกหุ้มประสาทอักเสบ (demyelination) เช่น โรคMultiple […]

ฝึก 11 นิสัยการกิน และใช้ชีวิต เคล็ดลับรักษารูปร่างให้เป๊ะไม่เปลี่ยน

การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเสมอไป เป็นเรื่องง่ายที่จะน้ำหนักขึ้นหลังจากการลดน้ำหนักอย่างมาก จริงๆ แล้วรายละเอียดการบริโภคอาหารในชีวิตมีมากมาย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปสามารถช่วยปรับรูปร่างของคุณได้ เช่น การไม่นั่งหลังอาหารนานเกินไป การdboเนื้อสัตว์โดยไม่กินหนัง การเคี้ยวช้าๆ ฯลฯ ลองฝึกพัฒนา นิสัยการกิน ที่ดี 11 ข้อต่อไปนี้ เพื่อรักษารูปร่างให้เป๊ะไม่เปลี่ยนและเพื่อสุขภาพที่ดีต่อร่างกาย 1. ไม่กินหนังสัตว์การกินหนังสัตว์ทำให้อ้วนได้ง่าย หนังสัตว์มีไขมันสูงมาก การกินมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อน้ำหนักและการควบคุมไขมันในเลือด และอาจนำไปสู่โรคอ้วนได้ง่าย แนะนำให้ลอกหนังทิ้งให้เป็นนิสัยก่อนกินอาหารและรับรองช่วยลดปริมาณไขมันได้ 2. เทน้ำมันออกเมื่อกินของมัน เช่น เกี๊ยวหรือซุปเกี๊ยวปริมาณไขมันในเกี๊ยวนั้นสูงมากและเป็นไขมันอิ่มตัวโดยทั่วไปเชื่อกันว่าจำเป็นต้องมีไขมันไม่อิ่มตัวและไขมันอิ่มตัวไม่จำเป็น เกี๊ยวต้มที่ดูดีต่อสุขภาพประกอบด้วยผัก เนื้อสัตว์ แต่จริงๆ แล้วมีความมันมาก ดังนั้น ถ้าอยากกินแล้วดีต่อสุขภาพของคุณ แนะนำให้เทไส้ที่ความมันและซุปออกก่อนจะดีกว่า 3. เลิกของหวานของหวานเป็นศัตรูตัวฉกาจของการลดน้ำหนักอย่างแน่นอน การไม่กินของหวานมีประโยชน์มากมาย สามารถลดน้ำหนักและไขมันในร่างกายได้ ปรับปรุงสภาพผิว ลดโอกาสการเกิดสิว ปรับปรุงสภาพจิตใจ เป็นต้น กล่าวได้ว่าของหวานไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น 4. ไม่นั่งหรือนอนทันทีหลังกินอาหารการนั่งหรือนอนเป็นเวลานานหลังกินอาหารไม่เอื้อต่อการย่อยอาหารและอาจเพิ่มการสะสมไขมัน การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ช่วยย่อยอาหาร แต่อย่าออกกำลังกายหนักๆ หลังอาหาร ถ้าออกกำลังกายแนะนำให้รอเกิน 30 นาที เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยก่อน 5. ไม่ดื่มเครื่องดื่มอัดลมและไม่กินอาหารขยะเครื่องดื่มอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูงมาก หากคุณดื่มเป็นประจำ อาจทำให้เกิดโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นๆ ได้ ส่วนอาหารขยะก็ยังมีน้ำตาลสูงมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน […]

วิธีรับมือ ‘พฤติกรรมรุนแรงในเด็ก’ สำหรับผู้ปกครอง ปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้

คงจะได้เห็นข่าวกันบ่อยๆ เกี่ยวกับความคิดและ พฤติกรรมรุนแรงในเด็ก จนส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หลายกรณีรุนแรงจนถึงขั้นอีกฝ่ายเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น มีความซับซ้อนและเกี่ยวโยงกันหลายๆ อย่าง ไม่อาจตอบได้ทีเดียวว่าปัจจัยใดมากกว่าปัจจัยใด โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงได้แก่ ในกรณีนี้คนรอบข้างหรือในคนครอบครัว ควรสังเกตบุตรหลานอย่างใกล้ชิดว่ามีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมรุนแรงหรือไม่ โดยประเมินได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงมากกว่าปกติ, มีการระเบิดอารมณ์ที่บ่อยขึ้น, หงุดหงิดงุ่นง่าน พลุ่งพล่าน อยู่ไม่สุข, หุนหันพลันแล่น ควบคุมความโกรธ/อารมณ์ไม่ได้, ถูกกระตุ้นอารมณ์ได้ง่าย, พฤติกรรมแปลกไปกว่าเดิม เช่น พูดน้อยลงหรือมากขึ้น นิ่งลง ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกก็อยู่ที่ความสามารถทางสติปัญญาในการวางแผนด้วย หากพบว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมรุนแรงควรรับมืออย่างไรเมื่อไหร่ที่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลคนอื่น เช่นครู รู้สึกว่าเด็กมีพฤติกรรมแปลกไป ควรจะพาไปประเมินอย่างละเอียดโดยจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ซึ่งการเข้ารับการรักษาเร็ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดความรุนแรงได้มาก โดยเป้าหมายของการรักษา คือช่วยให้เด็กเรียนรู้การควบคุมความโกรธ การแสดงออกความไม่พอใจได้อย่างเหมาะสม  ให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและยอมรับผลของการกระทำนั้น เช่น กำหนดข้อตกลงบทลงโทษของการทำผิด และคุยต่อว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อไปอย่างไรหากอยู่ในสังคมทั้งที่ใกล้ตัวและสังคมที่ใหญ่ขึ้นไป นอกจากนี้เรื่องปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาที่โรงเรียน ปัญหาของสังคมรอบข้างก็ควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง  พฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก ทุกๆ คนมีส่วนสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดได้ เพียงแค่ใส่ใจ หมั่นสังเกตและพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ แต่หากพบว่ามีความเสี่ยงควรพาไปประเมินกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อลดความสูญเสียหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ขอบคุณข้อมูล : แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล […]

‘โรคพาร์กินสัน’ มีอาการอะไรบ้าง? นอกจากมือสั่นที่ไม่ควรละเลย

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีการตายและลดจำนวนลง จึงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้า และสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งอาการที่แสดงออกมีดังนี้ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง สีหน้าไร้อารมณ์ หลังค่อม ตัวงุ้มลง ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง ท้องผูก ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ เขียนตัวหนังสือเล็กลง เป็นต้น โรคพาร์กินสัน รักษาได้โดยการกินยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการของผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง และการทรงตัว ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น และการผ่าตัด เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการกินยา การผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง เรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก หากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ควรรีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยนั่นเอง ข้อมูล : โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ภาพ : Pexels […]

‘ไข้หวัดใหญ่’ เกิดจากอะไร? ใครเสี่ยงบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันทุกสายพันธุ์

ฤดูฝนมาพร้อมๆ กับการระบาดของทั้ง ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ และบี เราจะป้องกันได้อย่างไร และเมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์ รวมไปถึงการเช็คอาการของโรค สำหรับนำไปเฝ้าระวัง สังเกตตนเองและคนรอบข้าง เพื่อเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัย และการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันอย่างเหมาะสม โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีไข้ ไอ น้ำมูก คัดจมูก จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย โดยอาการคล้ายกับไข้หวัด แต่มักจะรุนแรงกว่าและหายช้ากว่า บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จนทำให้มีอาการหอบเหนื่อยได้ การแพร่กระจายของเชื้อทางการหายใจ โดยการรับเชื้อที่ปนเปื้อนที่อยู่ในอากาศ จากการ ไอ จาม หรือพูดของผู้ที่ป่วยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่นหรือพื้นที่ปิด เช่น โรงเรียน ออฟฟิต การสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย จากมือที่สัมผัส แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อและการเกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 […]

ทำไมหลายคนดื่ม ‘สมูทตี้’ แล้วน้ำหนักขึ้น? พร้อมแนะสูตรสมูทตี้ที่ดีต่อสุขภาพ

ไม่มีอะไรจะง่ายไปกว่าการใส่ส่วนผสมลงในเครื่องปั่นแล้วกดปุ่มเมื่อคุณต้องการอาหารให้อิ่มท้องในเวลารวดเร็ว บางทีความง่ายของการทำ สมูทตี้ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ได้รับความนิยมมาก รวมปัจจัยด้านความสะดวกสบายเข้ากับความสามารถในการปรับแต่งส่วนผสมด้วยอาหารที่หลากหลาย และข้อเท็จจริงที่ว่าสมูทตี้มีรสชาติอร่อย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ตลาดสมูทตี้ทั่วโลกจะมีมูลค่ามากกว่า 27 พันล้านดอลลาร์ แต่สมูทตี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือ?  สิ่งที่สามารถทำให้สมูทตี้มีสุขภาพดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพได้สมูทตี้มักทำโดยการผสมส่วนผสมต่างๆ เช่น ผลไม้ ผัก นม และโยเกิร์ต แต่ก็ถือว่าพอใช้ได้สำหรับอะไรก็ได้ เนื่องจากมีหลายวิธีในการสร้างสมูทตี้ แต่การตัดสินว่าสมูทตี้จะดีต่อสุขภาพหรือไม่นั้น มักขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นส่วนผสมบ้าง ตัวอย่างสมูทตี้ที่อาจไม่ดีต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้ ได้แก่ กล้วย 2 ลูก โยเกิร์ตสตรอเบอร์รี่เติมน้ำตาล 1 ที่ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และนม 1 ส่วน ถือเป็นสูตรสมูทตี้ที่อร่อย แต่กลับไม่มีความสมดุลระหว่างคาร์โบไฮเดรต ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เส้นใยอาหาร และโปรตีนเพราะมีน้ำตาลมากกว่า 65 กรัม โดยที่ 33 กรัมเป็นน้ำตาลที่เติมเข้าไป (ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ) ซึ่งหมายความว่าสมูทตี้มีน้ำตาลมากกว่าโซดาปกติกระป๋อง น้ำตาลไม่ใช่สิ่งชั่วร้าย แต่นั่นมันเยอะมาก เพราะเราควรจำกัดปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มในแต่ละวันให้ไม่เกิน 25 ถึง 36 กรัมต่อวัน (ขึ้นอยู่กับเพศ) เนื่องจากการบริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ  ฉะนั้น การเพลิดเพลินกับสมูทตี้ไปพร้อมๆ กับการรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีนั้นเป็นไปได้ด้วยความสมดุลที่เหมาะสมของส่วนผสมที่มีคาร์โบไฮเดรต […]

พลังของ ‘โพรไบโอติก’ ต่อสุขภาพทางเดินอาหารและด้านอื่นๆ ที่หลายคนยังไม่รู้

ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของเอเชีย โพรไบโอติก เป็นที่รู้จักกันในฐานะจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ซึ่งคาดว่าตลาดโพรไบโอติกจะเติบโตขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเป็นผลมาจากความสนใจด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้คนที่เพิ่มขึ้น อ้างอิงจากผลการศึกษาในปี 2564 ของ Lynch และคณะ พบว่า จำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคนิยมใช้โพรไบโอติกเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพและเพื่ออายุที่ยืนยาว ส่วนอีก 45% เชื่อว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยให้ระบบทางเดินอาหารมีสุขภาพ   โพรไบโอติกคืออะไร?โพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ “ดี” ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการเข้ามาช่วยสร้างสมดุลให้ลำไส้ เนื่องจากในลำไส้คนเราประกอบไปด้วยแบคทีเรีย เชื้อราและจุลินทรีย์อื่นๆ หลายล้านชนิด ทำให้บางครั้งการกินอาหารหรือยาบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในลำไส้จนเกิดเป็นปัญหาตามมาได้ ดังนั้น โพรไบโอติกจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ของโพรไบโอติกบทบาทที่สำคัญของโพรไบโอติกสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในวันทางเดินอาหารโลก 2023 (World Digestive Health Day) เมื่อองค์การระบบทางเดินอาหารโลก (WGO) ได้เลือกพูดถึงหัวข้อ “สุขภาพทางเดินอาหารดี เริ่มต้นที่ลำไส้ดี” แม้ว่าประโยชน์ของโพรไบโอติกที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารจะถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง แต่ประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของโพรไบโอติกก็ยังคงถูกค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น วิธีสร้างการเจริญเติบโตให้แบคทีเรียชนิดดี อาหารสมัยใหม่ไม่ได้มีโพรไบโอติกสูงตามธรรมชาติ ดังนั้น เพื่อเป็นการชดเชย มนุษย์จึงคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการเพิ่มโพรไบโอติกเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารให้มากขึ้น ทำให้อาหารที่มีโพรไบโอติกและอาหารเสริมโพรไบโอติกเป็นที่นิยมมาแรง อย่างไรก็ตาม ควรกินอาหารเสริมในปริมาณที่พอดีตามที่ระบุฉลากบนผลิตภัณฑ์ และหากมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ก่อนตัดสินใจกินอาหารเสริม ข้อมูล : Alex Teo ผอ.ฝ่ายวิจัยและพัฒนากิจการวิทยาศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์  บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘พิษจากน้ำ’ คืออะไร? สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ ควรดื่มน้ำวันละเท่าไรจึงจะดีต่อสุขภาพ

การดื่มน้ำนั้นดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน แต่จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกายมนุษย์หากเราดื่มน้ำมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น? ในต่างประเทศ มีกรณี “พิษจากน้ำ” เกิดขึ้นจากการดื่มมากเกินไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ โคม่า และถึงขั้นเสียชีวิตได้ “พิษจากน้ำ” คืออะไรกันแน่? ความรู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ “พิษจากน้ำ” ในบทความนี้มีค่าควรแก่ความเข้าใจของทุกคน เหตุการณ์ “น้ำเป็นพิษ” ที่ผ่านมาในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2023 มีข่าวว่าแม่วัย 35 ปีที่อาศัยอยู่ในรัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา และมีลูก 2 คนเสียชีวิตจากอาการเมาน้ำ เนื่องจาก “ดื่มมากเกินไป” Devon Miller บอกกับ WRTV ว่า Ashley Summers น้องสาวของเขาขาดน้ำระหว่างการเดินทาง ทางเรือกับสามีและลูกสาวสองคนของเธอ โดยต้องรับมือกับอาการปวดหัวและเวียนศีรษะด้วยการดื่มน้ำปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ บางคนบอกว่า Ashley Summers ดื่มน้ำประมาณ 1.89 ลิตรใน 20 นาที ซึ่งเท่ากับปริมาณน้ำที่มนุษย์ต้องการในหนึ่งวัน ต่อมาเมื่อ Ashley Summers กลับบ้านเธอก็โคม่าในโรงรถของบ้านและไม่ตื่นขึ้นมาเลย เธอถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลสันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากพิษจากน้ำ พิษจากน้ำคืออะไร?ความเป็นพิษจากน้ำเรียกอีกอย่างว่า “ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ” ,”ปริมาณน้ำมากเกินไป” และชื่ออื่นๆ ปัญหาหลักของการเป็นพิษจากน้ำส่งผลต่อความเข้มข้นของโซเดียม ซึ่งเป็นหนึ่งในอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญในร่างกาย แพทย์ฉุกเฉิน […]

ปรับพฤติกรรมอย่างไรเลี่ยง ‘ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม’ ต้นเหตุเสี่ยง ‘โรคกระดูกพรุน’

ปัญหาเรื่อง ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม นับเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็น โรคกระดูกพรุน ถึง 90% ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากที่ร่างกายขาดแคลเซียมส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้เปราะหักง่าย เนื่องจากสาเหตุร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ต่อทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ข้อมูลยังพบว่าคนไทยอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 50% โดยพบในเพศหญิงถึง 35% มากกว่าเพศชายถึง 20% และยังพบด้วยว่าคนไทยมีแนวโน้มว่าอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะลดลงทุกปี ปัจจุบันภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหาร หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป นับเป็นปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่ถดถอยลงเรื่อยๆ   สาเหตุของภาวะร่างกายขาดแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เรามากที่สุดเมื่อเทียบกับแร่ธาตุชนิดอื่น แคลเซียมอยู่ในร่างกายเราถึง 98% ในส่วนของกระดูก มีผลต่อการสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง ไปจนถึงระบบประสาทที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของคนเรา และที่สำคัญร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้เอง ต้องมีการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเข้าไปให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ใช่แค่เด็กหรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องการแคลเซียม สำหรับคนทั่วไป ร่างกายต้องการแคลเซียมในปริมาณเฉลี่ยที่ 1,000 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาใช้ทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปในแต่ละวัน เราสามารถเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมได้จาก ข้าวโอ๊ต คะน้า บล็อกโคลี่ กุ้งแห้ง เพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมตามที่ร่างกายต้องการ หากแต่ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันส่งผลให้เราไม่สามารถกินอาหารหลักที่ได้ปริมาณแคลเซียมครบตามที่ร่างกายต้องการ สำหรับหญิงที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการปริมาณแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป ปริมาณเฉลี่ยที่ต้องการ 1,500 มิลิกรัมต่อวัน เพื่อให้ทารกสามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างตั้งแต่ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ และฟันในทารก อีกทั้งยังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของเซลล์ ที่ควบคุมระบบการทำงานของหัวใจ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดในร่างกายของทารก รวมถึงหัวใจและระบบประสาทของทารกก็ใช้แคลเซียมด้วย อีกทั้งยังเสริมสร้างสติปัญญาของทารกในครรภ์ หากคุณแม่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก ทารกจะดึงแคลเซียมสะสมของคุณแม่ไปใช้ ส่งผลให้แคลเซียมสะสมของคุณแม่น้อยลง […]

สัญญาณเตือน ‘โรคต้อหิน’ ภัยเงียบเสี่ยงตาบอดถาวร

โรคต้อหิน สาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรและไม่สามารถรักษาให้หายได้หากมีอาการผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที โรคต้อหิน เป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของโลกที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร เป็นโรคที่มีความเสื่อมของเส้นประสาทตา และมีการสูญเสียสายตาที่มีลักษณะค่อนข้างเฉพาะตัว โดยพบว่า ความดันลูกตาที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญในการทำให้เกิดโรคต้อหิน เมื่อเป็นมากๆ หากไม่ทำการรักษา หรือตรวจพบแล้ว แต่ทำการรักษาไม่ต่อเนื่องควบคุมโรคไม่ดีจะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด ต้อหินสัมพันธ์กับความดันตาสูง เมื่อผู้ป่วยมีความดันตาสูง ลูกตาจะแข็ง มีลักษณะเหมือนเป็นลูกหิน คนไทยเรียกว่า ต้อหิน โดยค่าเฉลี่ยความดันลูกตาอยู่ที่ประมาณ 13-14 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น หากมีค่าความดันตา 21 มิลลิเมตรปรอท หรือสูงกว่าก็ถือว่าผิดปกติ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยที่มีความดันตาที่ไม่สูง ก็สามารถเป็นโรคต้อหินได้เช่นกัน ต้อหินมี 2 แบบ สำหรับอาการของโรค ใหญ่ๆ คือ ต้อหินมุมเปิดและมุมปิด ขึ้นกับว่าเป็นต้อหินชนิดไหน โดยที่เป็นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดตา ตาแดง ตามัวแบบฉับพลันทันที ในบางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดหัวร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มาก กลุ่มที่พบมากมักเป็นต้อหินเรื้อรัง ในกรณีที่เป็นมุมเปิด หรือมุมปิดเรื้อรัง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตา แต่ระยะยาวจะมี ตามัว ลานสายตา ที่แคบลง […]

6 ข้อที่ทำให้คน ‘ลดความอ้วน’ ล้มเหลวเสมอ และเสี่ยงน้ำหนักมากกว่าเดิม

แน่นอนว่าการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจ แต่ในบางคนทำไมถึงลดน้ำหนักได้ 2-3 กิโลกรัมเสมอแล้วกลับมามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทันที? บทความนี้จะพามาดูวิธีการลดน้ำหนักให้ได้ผลจริงและไม่กลับมาอ้วนอีก และวิธีลดน้ำหนักแบบไหนที่เป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวแต่ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจะสอน “ความลับ 6 ประการ” ของการ ลดความอ้วน และหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น  #1 กินอาหารทดแทนทุกคนคิดเสมอว่าการกินอาหารทดแทนเท่ากับการลดน้ำหนัก แท้จริงแล้ว สามารถช่วยปรับปริมาณแคลอรี่ได้ แต่เราไม่สามารถกินอาหารทดแทนได้ตลอดชีวิต ดังนั้น ตั้งแต่วันที่คุณกลับมากินอาหารตามปกติ หากคุณไม่ควบคุมปริมาณแคลอรี่อย่างเคร่งครัด ประตูสู่การเพิ่มน้ำหนักจะเปิดรอคุณอยู่ และยังทำให้คุณอ้วนเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะคุณกินอาหารประเภทเดียวเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดภาวะโภชนาการผิดปกติได้ง่าย #2 ไม่ต้องออกกำลังกายก็ได้แม้ว่าการลดน้ำหนักจะแบ่งเป็น 7 คะแนนสำหรับการควบคุมอาหารและ 3 คะแนนสำหรับการออกกำลังกาย แต่การเชื่อมโยงของการควบคุมอาหารมีความสำคัญมากในการลดน้ำหนัก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะเกิดขึ้นหลังจากกลับไปกินอาหารแบบเดิม และการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษารูปร่าง นอกจากช่วยเผาผลาญไขมันแล้ว ยังช่วยเพิ่มความไวของกล้ามเนื้อต่ออินซูลิน และหลีกเลี่ยงการสะสมความร้อนเนื่องจากความผันผวนของน้ำตาลในเลือดมากเกินไป #3 กินน้อยลงการกินน้อยเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน โดยเฉลี่ยอัตราการเผาผลาญพื้นฐานของผู้หญิงอยู่ที่ 1,100-1,400 แคลอรี่ ส่วนผู้ชายอยู่ที่ 1,400-1,700 แคลอรี่ สูตรการคำนวณมีดังนี้ ●BMR (ชาย)=(13.7×น้ำหนัก (กก.))+(5.0×สูง (ซม.))-(6.8×อายุ)+66 ●BMR (เพศหญิง)=(9.6×น้ำหนัก (กก.))+(1.8×สูง (ซม.))-(4.7×อายุ)+655 หากปริมาณแคลอรี่ของคุณต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และร่างกายไม่ได้เติมแคลอรี่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ร่างกายจะกระตุ้นกลไกการป้องกันโดยอัตโนมัติ และลดอัตราการเผาผลาญโดยรวม ด้วยวิธีนี้แม้ว่าปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับจะน้อยลง แต่ระบบการเผาผลาญของร่างกายก็จะช้าลงเช่นกัน หลังจากนั้นอาหารในกระเพาะจะย่อยและดูดซึมได้ไม่ง่ายจนนำไปสู่การสะสมไขมันในที่สุด […]

keyboard_arrow_up