สังเกตอาการ ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ตามหลักการ BEFAST รู้ไว ปลอดภัยกว่า

โรคหลอดเลือดสมอง (Acute Stroke) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 และพิการเป็นอันดับ 3 ของคนทั่วโลก แม้จากการสำรวจจะพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ร้อยละ 80 ของผู้ที่มีความเสี่ยงและสามารถป้องกันได้ โดยพบว่าในปี 2563 มีประชากรโลกป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองกว่า 80 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน และพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึง 14.5 ล้านคนต่อปี 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก  สำหรับข้อมูลในประเทศไทยในปี  2563 พบผู้ป่วยที่เป็น โรคหลอดเลือดสมอง มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และอัตราการเกิดโรคประมาณ 328 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และตามมาด้วยภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก โรคหลอดเลือดสมอง มักเกิดขึ้นเฉียบพลันถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจถึงชีวิต หรืออาจจะต้องอยู่ในภาวะทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งทำให้เกิดความยากลำบากทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล นพ.วัชรพงศ์ ชูศรี อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและเนื้อสมองถูกทำลาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารไม่เหมาะสม สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ผลที่ตามมาหลังจากการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ทำให้เกิดการพูดลำบาก กลืนลำบาก สำลักอาหารได้ง่าย ภาวะการรับรู้สติที่แย่ลงในโรคหลอดเลือดสมองทั้งตีบและแตกที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดภาวะสมองบวมและเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดนอกเหนือจากการใช้ยา ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือผู้ป่วยเหล่านี้ท้ายที่สุดอาจมีโอกาสเสียชีวิตหรือทุพทลภาพอย่างถาวรได้  โรคหลอดเลือดสมอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.Ischemic Stroke เป็นภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือ ภาวะสมองขาดเลือด พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น […]

ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกสัญญาณเตือน “โรคติกส์” อันตรายแค่ไหน

การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเอง หรืออาการ ‘กล้ามเนื้อกระตุก’ เกิดขึ้นทันทีทันใด สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ แนะควรได้รับการตรวจเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป โรคติกส์ เป็นโรคในกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ(movement disorders) มักพบในเด็กวัยเรียน (5-7ปี) โดยมาในรูปแบบของการเคลื่อนไหวซ้ำรูปแบบเดิมที่ไม่มีจุดประสงค์ เช่น กระพริบตา ยักคิ้ว แสยะยิ้ม พยักหน้า ยักไหล่ กระโดดหรือมีอาการกระตุกตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ควบคุมไม่ได้ โดยส่วนมากผู้ป่วยมักมีความรู้สึกภายในบางอย่างนำมาก่อนที่จะเกิดอาการเคลื่อนไหว และเมื่อเคลื่อนไหวแล้วจะทำให้ความรู้สึกนั้นหายไปเหมือนได้รับการปลดปล่อย หากผู้ป่วยพยายามบังคับไม่เคลื่อนไหวจะทำให้รู้สึกอัดอั้นไม่สบายใจ ภาวะกล้ามเนื้อกระตุกสัญญาณเตือน “โรคติกส์” ควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถที่จะอดกลั้นต่อความต้องการที่จะเคลื่อนไหวผิดปกติได้ในระยะเวลาสั้นๆ (temporary suppression) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคติกส์ โรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิก ขาดความมั่นใจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเกิดความผิดปกติอื่นตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ในผู้ป่วยบางรายอาจมา ในรูปแบบการส่งเสียงที่ผิดปกติ เช่น กระแอม เสียงกลืนน้ำลาย หรือกรณีที่มีอาการมากอาจเป็นลักษณะการพูดซ้ำ พูดเลียนแบบ หรือพูดคำหยาบคาย เป็นต้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการแสดงทั้งการเคลื่อนไหว และการส่งสียงผิดปกติ จะเรียกว่าโรคทูเร็ตต์ ในโรคกลุ่มนี้อาจมีอาการของกลุ่มโรคจิตเวชนำมาก่อน เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น เป็นต้น ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคติกส์ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม […]

5 ข้อควรรู้ เมื่อเริ่มไดเอทด้วยวิธี Low Carbohydrate ลดแป้งลงอีกนิดชีวิตก็เปลี่ยน

พรหนึ่งประการที่สาวๆ ปรารถนามากที่สุดนอกจากแก้วแหวนเงินทอง และเจ้าชายรูปงามแล้ว สาวๆ ส่วนใหญ่ลงมติกันมาว่าอยากได้พรข้อนี้มากที่สุดคือ ขอให้ “กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน” ก็ในเมื่อเมนูอาหารแสนอร่อย หน้าตาเย้ายวนใจช่างถูกครีเอทออกมามากมายเหลือเกิน ใครจะไปห้ามใจไหว สุดท้าย ขอแบบกินแล้วย่อยทันใจ กินเยอะเท่าไรก็ไม่อ้วนนี่ล่ะดีที่สุด เอาละ ไหนๆ ก็เปิดประเด็นมาแล้วด้วยเรื่องของอาหารและความอ้วน เราจะพากันไปทำความรู้จักกับ Low Carb หรือชื่อเต็มๆ ว่า Low Carbohydrate Diet กับการควบคุมโภชนาการแบบถูกวิธี และช่วยให้น้ำหนักลดอย่างได้ผลกันดีกว่า 5 ข้อควรรู้ เมื่อเริ่มไดเอทด้วยวิธี Low Carbohydrate ลดแป้งลงอีกนิดชีวิตก็เปลี่ยน การลดน้ำหนักแบบ Low Carb ที่มีชื่อเต็มว่า Low Carbohydrate Diet นั้นเป็นการลดปริมาณการกินอาหารประเภทแป้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า เค้ก และขนมหวานต่างๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะย่อยเป็นน้ำตาล เมื่อร่างกายใช้น้ำตาลเหล่านี้ไม่หมด ก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันเพื่อเก็บสะสม เป็นที่มาของความอ้วน การลดคาร์โบไฮเดรต จะเป็นการบังคับให้ร่างกายดึงไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้เกิดการลดน้ำหนักจากการเผาผลาญไขมันในร่างกายโดยตรง […]

กฎ 3D ช่วยชะลอความเสื่อม ‘ไตวายเรื้อรัง’

หากมีอาการปัสสาวะขัดหรือลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ หลายคนอาจจะคิดถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ทราบหรือไม่ว่านี่อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญของไตวายเรื้อรัง ซึ่งไตวายเรื้อรังเปรียบได้เสมือนฆาตกรเงียบ เนื่องจากในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือนและอาการจะปรากฏชัดเจนในช่วงระยะท้าย เมื่อไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว   พญ.เนสินี เก้าเอี้ยน แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต ได้ให้ความรู้เรื่องไตเบื้องต้นว่าคนเรามีไตสองข้างมีรูปร่างคล้ายถั่ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งแถวใต้ชายโครงด้านหลัง บริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง และอยู่นอกช่องท้อง ไตสองข้างต่อกับท่อปัสสาวะและมาเปิดที่กระเพาะปัสสาวะ โดยที่ไตแต่ละข้างมีหน่วยไตข้างละ 1 ล้านหน่วย เสมือนรูกรองในเครื่องกรองน้ำ ไตมี 4 หน้าที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตปัสสาวะเพื่อกำจัดของเสีย การกำจัดสารพิษหรือยาบางชนิดออกจากร่างกาย  การสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก และมีหน้าที่ในการควบคุมความเป็นกรดด่างในเลือด ควบคุมความดันโลหิต สมดุลน้ำและเกลือแร่ ทราบหรือไม่โรคทางไตมี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความผิดปกติของปัสสาวะแต่ไม่มีอาการแสดง กลุ่มโรคเนื้อไตอักเสบ กลุ่มโรคไตบวมน้ำ กลุ่มไตวายเฉียบพลัน กลุ่มไตวายเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง คือภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่หลักอย่างต่อเนื่อง หรือมีการทำงานของไตน้อยลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาศัยค่าอัตราการกรองของเสียของไต  ปัจจัยที่เกิดไตวายเรื้อรังมีหลายสาเหตุ แต่มักเกิดจากผลจากโรคแทรกซ้อนจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น โรคนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง ไตอักเสบ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAID) ยาปฏิชีวนะบางตัว และสมุนไพร ปัญหาของไตวายเรื้อรังมักไม่มีสัญญาณเตือนความผิดปกติจะไม่แสดงจนกว่าการทำงานของไตจะลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของการทำงานปกติ […]

วิธีชะลอความจำเสื่อม ‘โรคอัลไซเมอร์’ หนึ่งในสาเหตุภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก

โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ อาการสมองเสื่อมนับเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี วิธีชะลอความจำเสื่อม ‘โรคอัลไซเมอร์‘ หนึ่งในสาเหตุภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ในปี 2565 ซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด โดยหน่วยงานราชการ เอกชน รวมถึงภาคประชาชนจำเป็นต้องมีความเข้าใจในปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน หนึ่งในปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ที่สำคัญมาก คือ ภาวะสมองเสื่อม รายงานในปี 2563 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 651,950 คน จากผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.43 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยมีโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเน้นการให้บริการสอดรับสังคมผู้สูงอายุ โดยการจัดระบบบริการผู้สูงอายุแบบองค์รวมในสถานพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศในรูปแบบคลินิกผู้สูงอายุ โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในระบบประสาท ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทและเกิดสมองฝ่อตามมา ปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุป ที่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด อาการที่พบบ่อยที่สุดมักเป็นผู้สูงวัยที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีปัญหาความจำบกพร่อง ผู้ป่วย จะเริ่มถามซ้ำๆ จำวัน เวลา และสถานที่ของเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้ เมื่ออาการของโรคมากขึ้นผู้ป่วยอาจเสียความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงมีปัญหาพฤติกรรม […]

ลองเช็คดู! ปัญหาการนอนหลับแบบไหน ควรตรวจ SLEEP TEST

การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอกจากการเลือกกินอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ที่ดีแล้ว หนึ่งในการดูแลสุขภาพที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การนอนหลับ ระยะในการนอนหลับที่เพียงพอในผู้ใหญ่ ต้องนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในบางรายพบว่าอาจมีอาการ เช่น เพลียเมื่อตื่นมาตอนเช้า รู้สึกนอนไม่อิ่ม ไม่สดชื่น อ่อนล้า ง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งที่นอนอย่างเพียงพอแล้ว ปัญหาการนอนหลับแบบไหน ที่ควรตรวจ SLEEP TEST ปัญหาการนอนหลับ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย โดยสามารถสังเกตอาการด้วยตนเอง หรือสอบถามผู้ที่นอนร่วมกับเรา ว่ามีอาการผิดปกติขณะนอนหลับหรือไม่ เช่น นอนกรนดังผิดปกติ หยุดหายใจขณะหลับ สะดุ้งเฮือก สำลักน้ำลาย นอนกัดฟัน นอนละเมอ ส่งเสียงร้อง แขนขากระตุก เป็นต้น หากพบว่ามีปัญหาและอาการดังกล่าวแนะนำให้มาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับคำแนะนำและวินิจฉัยโรคจากการนอนหลับ เพราะปัญหาการนอนหลับมีผลต่อสุขภาพทั้งโรคทางกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตใจ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนและ การทำงานได้ ปัญหาโรคจากการนอนหลับโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มโรค โรคนอนไม่หลับ (insomnia) โรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ […]

การทำ ‘คีเลชั่นบำบัด’ หรือการล้างสารพิษในร่างกาย ดีอย่างไร

ฝุ่นควันพิษ หรือ PM 2.5 หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำให้ร่างกายได้รับสารพิษเข้าร่างกายไม่มากก็น้อย ซึ่งในฝุ่นควันพิษ ก็จะมีโลหะหนักผสมอยู่ เช่น สารตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู เป็นต้น การทำ ‘คีเลชั่นบำบัด‘ หรือการล้างสารพิษในร่างกาย ดีอย่างไร พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จึงได้มาให้ข้อมูลเรื่องสารพิษเมื่อสะสมในร่างกายมากๆ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลเสียตามมา ดังนี้ ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุจำเป็นลดลง เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี ระบบทางเดินหายใจติดขัด มีการผลิตสารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น และยับยั้งการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย เป็นพิษกับเซลล์โดยตรง เช่น ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกง่าย การทำงานของฮอร์โมนไม่สมบูรณ์ อวัยวะต่างๆเสื่อมเร็ว เช่น ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ความจำถดถอย ภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้เป็นโรคร้ายแรงได้ค่ะ ดังนั้น การป้องกันก็คือ หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ ไม่กินอาหารที่อาจมีการปนเปื้อน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีการปนเปื้อนได้ […]

‘ไฝเสน่ห์’ หรือ ‘มะเร็งผิวหนัง’ ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยง รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา

รู้หรือไม่ หากมีไฝ 100 ตำแหน่งขึ้นไป มีโอกาสที่จะเป็น มะเร็งผิวหนัง มากกว่าประชากรปกติถึง 7 เท่า โดยไฝเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณบนร่างกาย แม้กระทั่งใต้เล็บ สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปได้ตลอดเวลาหรือจางหายไปเมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไปไฝไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเมลาโนมาได้  ไฝ (Mole, Nevus) เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของร่างกายมีการรวมตัวในบริเวณเดียวกันจนเห็นเป็นสีเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และอาจมีลักษณะเรียบหรือนูน การเกิดของไฝมีทั้งที่เป็นมาตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในภายหลัง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งมีสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เม็ดใหญ่ขึ้นหรือจางหายไปก็ได้  ‘ไฝเสน่ห์’ หรือ ‘มะเร็งผิวหนัง’ ลักษณะไฝแบบไหนเสี่ยง รวมถึงวิธีป้องกันและรักษา ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง ผู้ที่มีผิวสีอ่อนหรือมีความไวต่อแสงแดดมาก  มีไฝจำนวนมาก  มีไฝขนาดใหญ่แต่กำเนิด  มีไฝลักษณะผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง  ได้รับแสงแดดมากในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น  มีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว  ต้องสัมผัสแสงแดดอย่างมากเป็นประจำ  มีประวัติเคยเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน  ได้รับยากดภูมิบางชนิด  มะเร็งผิวหนังชนิด Melanomaมะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือ Melanoma ซึ่งพบผู้ป่วยกว่าสองแสนคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตถึง ห้าหมื่นคนต่อปี เพศชายมีโอกาสเกิดมากกว่าเพศหญิง  Melanoma เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนังหรือ Melanocyte ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากเกินไป การตรวจพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้และเริ่มรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ได้ถึง 99% […]

‘กัญชาทางการแพทย์’ รักษาโรคผิวหนังและเวชสำอาง แบบไหนที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ให้ความรู้เรื่องคุณสมบัติของ ‘กัญชาทางการแพทย์‘ ที่รักษาโรคผิวหนังเกี่ยวข้องกับการอักเสบของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงินโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง สิว โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด และโรคผมร่วงบางชนิด เป็นต้น และนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเวชสำอางได้ กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis มีสารประกอบแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้ ระบบการทำงานของ Cannabinoid ในผิวหนัง มีความเกี่ยวข้องกับรักษาสภาวะสมดุลของผิวหนัง ความแข็งแรงของผิวหนัง รวมถึงการซ่อมแซมตนเองของผิวหนัง โดยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญในกัญชา คือ 1. Delta-9-Tetrahydrocannabinol (THC) สาร THC ในกัญชามีผลต่อจิตประสาท แต่ก็มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร 2. Cannabidiol (CBD) สาร CBD ในกัญชามีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง 3. Terpenes (สารเทอร์ปีน) สารเทอร์ปีนในกัญชาจะให้กลิ่นและรสชาติเฉพาะของกัญชา มีคุณสมบัติช่วยในการบำบัดรักษาโรค […]

เสพข่าวหดหู่มากเกินไป อาจเสี่ยง ‘ภาวะ Headline Stress Disorder’ ไม่รู้ตัว พร้อมแนะวิธีแก้

เดี๋ยวนี้มีข่าวสารมากมายเกิดขึ้นหลายเรื่องทั้งดีและไม่ดี ซึ่งการติดตามข่าวสารที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง ทำให้หลายคนเสพข่าวต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันจนอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพจิต เพราะข่าวและเนื้อหาต่างๆ ที่เผยแพร่ในสื่อและโซเชียลมีเดีย สร้างความเศร้า จิตตก รวมถึงความเครียดสะสมจากการเสพข่าวหดหู่มากเกินไป จนอาจทำให้เสี่ยงเกิด ภาวะ Headline Stress Disorder เสพข่าวหดหู่มากเกินไป อาจเสี่ยง ‘ภาวะ Headline Stress Disorder‘ ไม่รู้ตัว พร้อมแนะวิธีแก้ ภาวะHeadline Stress Disorder คืออะไรHeadline Stress Disorder ไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะเครียดหรือวิตกกังวลมากที่เกิดขึ้นจากการเสพข่าวทางสื่อต่างๆ ที่มากเกินไป เสพข่าวหดหู่มากไป ส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกายและจิตใจการเสพข่าวหดหู่มากไปสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้มากและหลายระบบ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า โกรธ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ใครคือกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะHeadline Stress Disorder คนที่เหนื่อยล้าทั้งทางจิตใจหรือร่างกายอยู่แล้ว เช่น อาจกำลังเครียดเรื่องงาน ครอบครัว การเรียน พักผ่อนไม่เพียงพอ […]

6 โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน พร้อมวิธีป้องกันด้วยตัวเองเบื้องต้น

ช่วงนี้ฝนตกแทบทุกวัน หน้าฝนเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง ทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย อีกทั้ง หลายคนยังต้องเดินทางไปทำงานนอกบ้าน อาจต้องโดนฝน ลุยน้ำ เสื้อผ้าเปียก ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังตามมาได้ง่าย ซึ่ง โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝนคือ โรคน้ำกัดเท้า โรคกลาก และเกลื้อน โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงกัดต่อย โรคเท้าเหม็น และสิวเห่อ หมั่นสังเกตตนเองอยู่เสมอหากมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง 6 โรคผิวหนัง ยอดฮิต ที่มากับหน้าฝน คือ 1. โรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot หรือ Hong Kong foot)  โรคผิวหนังที่เกิดกับเท้า และซอกนิ้วเท้า มีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophytes  ซึ่งก็คือเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคกลากนั่นเอง ความอับชื้นของถุงเท้ารองเท้า จากการลุยฝนลุยน้ำ มีส่วนทำให้เชื้อเจริญเติบโตได้ดี และหรืออาจติดจากสิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อนี้อยู่ก็ได้ และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ การดูแลรักษา สามารถให้ยาทาฆ่าเชื้อราภายนอก หรือพิจารณาให้ยากิน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งความกว้างของพื้นที่ติดเชื้อ และภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วยเองด้วย 2. โรคกลาก (Dermatophytosis) และเกลื้อน ( Tinea Versicolor) คือ โรคผิวหนังติดเชื้อรา […]

5 สัญญาณที่ชี้ว่า ‘ออกกำลังกายมากเกินไป’ และจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าออกกำลังกายมากจนเกินไป ก็อาจส่งผลเสียมากกว่าจะได้สุขภาพที่ดี ครั้งนี้จึงนำ “5 สัญญาณบอกว่าคุณกำลัง ออกกำลังกายมากเกินไป” มาแนะนำให้สายเฮลท์ตี้ได้ลองนำไปสังเกตตัวเองและปรับใช้อย่างถูกต้อง 5 สัญญาณที่ชี้ว่า ‘ออกกำลังกายมากเกินไป‘ และจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย สัญญาณที่ 1 “ปวดเมื่อยทั้งตัวตลอดเวลา” ที่เกิดจากการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ นานเกินไป ซึ่งอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 – 3 ชั่วโมงหรือ 12 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย และอาจนานถึง 2 วัน ควรลองเปลี่ยนไปเน้นที่กล้ามเนื้อส่วนอื่นด้วย เช่น ถ้าปวดขาจากการวิ่ง ก็ลองเปลี่ยนไปออกกำลังที่แขนหรือไหล่บ้าง อีกทั้งใช้วิธีช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ดื่มชาเขียว ใช้แผ่นประคบร้อน เจลบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และการพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น สัญญาณที่ 2 “รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา” เหมือนไม่สบายแต่ก็ไม่ได้ป่วย อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณออกกำลังกายหนักเกินไป เกิดจากการพักผ่อนไม่เหมาะสมบ่อยๆ หลังออกกำลังกาย ที่ทำให้รู้สึกหมดแรง ไม่มีสมาธิ และอาจเกิดอันตรายได้ จึงควรเน้นเรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอหลังออกกำลังกายและการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมก่อนออกกำลังกาย ทั้งประเภทอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง สัญญาณที่ 3 “เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น” ทั้งการเปรียบเทียบกับคนในโซเชียลที่มีการแชร์ผลการออกกำลังกายกัน จากแอปพลิเคชันติดตามการออกกำลังกาย ที่อาจทำให้คุณวิตกกังวลและผิดหวัง หากพัฒนาได้ไม่เร็วเท่าเพื่อน วิธีที่ดีที่สุดคือการทำความเข้าใจว่า คุณออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง ไม่ใช่เพื่ออวดคนในโซเชียล ในขณะที่บางครั้งการออกกำลังกายหนักเกินไป อาจทำให้คุณเกิดความเครียด หงุดหงิด จนนำไปสู่สัญญาณที่ 4 สัญญาณที่ 4 คือ “เริ่มมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการออกกำลังกาย” อย่างอาการกระสับกระส่ายขาดสมาธิ และรู้สึกไม่พอใจในการออกกำลังกาย วิธีปรับให้เรื่องนี้ดีขึ้นคือเรียนรู้วิธีชื่นชมตัวเองแม้ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายควรจะมีความสุข สุดท้ายสัญญาณที่ 5 “รู้สึกไม่อยากออกกำลังกายอีกต่อไป” การออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทั้งร่างกายและจิตใจ นำไปสู่การสูญเสียทั้งแรงจูงใจและความกระตือรือร้นไปโดยสิ้นเชิง ควรลองเปลี่ยนวิธีการออกกำลังกายที่แปลกใหม่และเพลิดเพลินมากขึ้น เช่น ปั่นจักรยานหรือวิ่งช้าๆ ในสวนสาธารณะ ว่ายน้ำ […]

ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

แม้ภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากผิดปกติ บ่อยครั้งจะเกิดจากโภชนาการและการปฏิบัติตัว แต่หลายครั้งปัญหาดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินได้ด้วย นอกจากนี้ ภาวะ ไทรอยด์ ทำงานผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณแรกของมะเร็งต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญอย่างมาก  ไทรอยด์ อ้วน-ผอม ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและรักษา ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก  ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ภาวะพร่องไทรอยด์ และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน  สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป […]

5 เมนูคลีนๆ อาหารมังสวิรัติ กินให้อร่อยได้สุขภาพ

การลดเนื้อสัตว์เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่เริ่มต้นหันมาดูแลสุขภาพนั้นนิยมกัน สำหรับมือใหม่อาจใช้วิธีการกินอาหารแบบมังสวิรัติก่อนก็ได้ ทั้งนี้หนึ่งในวิธีง่ายๆ ในการสร้างสรรค์เมนูอาหารมังสวิรัติที่ทั้งรสชาติดีและดีต่อสุขภาพคือการเลือกใช้น้ำมันมะกอกคุณภาพสูง แทนที่ไขมันอิ่มตัวที่ผ่านกระบวนการอย่างเนย และน้ำมันพืชชนิดต่างๆ ในอาหารทุกจาน โดยน้ำมันมะกอกเป็นวัตถุดิบคู่ครัวที่มีสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินอี วิตามินเค สารต้านอนุมูลอิสระ และไขมันโมเลกุลเดียวที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ช่วยการันตีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ และแสดงให้เห็นว่าการบริโภคน้ำมันมะกอกช่วยป้องกันและลดอาการการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ภาวะข้ออักเสบ และเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำมันมะกอกเหมาะกับการประกอบอาหารทุกประเภท โดยนอกจากเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับอาหารมื้อนั้นแล้ว ยังช่วยเสริมรสชาติอาหารให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย น้ำมันมะกอกสูตรต่างๆ ของเบอร์ทอลลี่ ทั้ง Extra Virgin, Mild และ Extra Light Tasting มีจุดเกิดควัน (smoke point) ที่แตกต่างกัน ทำให้น้ำมันมะกอกนั้นสามารถใช้เป็นส่วนผสมของการประกอบอาหารประเภทต่างๆ ได้มากประเภทขึ้นไปอีก  ไม่ว่าจะเป็นการอบ ย่าง ทอด และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับอาหารจานโปรดของตัวเองได้อย่างง่ายๆ ที่บ้าน อย่างทั้ง 5 เมนูที่เอามาฝากวันนี้ ทั้งอร่อย ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญคือทำไม่ยากด้วย ฟริตเตอร์ซูกินีและข้าวโพด ซูกินีขนาดกลาง […]

8 วิธี “ลดน้ำหนัก” ขณะนอนหลับ ที่ผู้เชี่ยวชาญการันตีว่าได้ผลจริง ไม่เสียสุขภาพ

รู้ไหมว่าแค่เพียงการนอนหลับธรรมดาก็ช่วยลดน้ำหนักได้ นายแพทย์ ไมเคิล สเปอร์ตัส ยืนยันว่า 8 วิธี “ลดน้ำหนัก” ขณะนอนหลับชั่วข้ามคืน สามารถทำได้จริง หลายคนอาจสงสัยว่าวิธีแบบไหนกัน แค่นอนหลับอย่างเดียวจะง่ายไปหรือเปล่า หรือให้อดอาหาร? ตอบเลยว่าไม่ใช่ค่ะ ซึ่งวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ บอกเลยว่าใครๆ ก็ทำได้ ไม่เสียสุขภาพ มีแต่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แจ่มใส ความคิดปลอดโปร่ง และน้ำหนักลดลง หรือคงที่ไม่พุ่งจนพุงปลิ้น ลองดูตามนี้ค่ะ 8 วิธี “ลดน้ำหนัก” ขณะนอนหลับ ที่ผู้เชี่ยวชาญการันตีว่าได้ผลจริง 1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พบว่ามีวิจัยที่นำเสนอในงาน European Congress of Endocrinology ในปี พ.ศ. 2560 ชี้ให้เห็นว่าการอดหลับอดนอน ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความอิ่มน้อยลง เช่น GLP-1 และผลิตฮอร์โมนเกรลินที่ทำให้ความหิวมากขึ้น เช่นเดียวกับคนที่ทำงานกะกลางคืน หมายความว่าเมื่อคุณเหนื่อย คุณมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหิวมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การบริโภคอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจริงๆ หรือเกินความจำเป็น ฉะนั้น เมื่อถึงเวลานอน คุณควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 2. ปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นขึ้น การนอนหลับในห้องที่มีอุณหภูมิเย็น […]

เอาชนะความกลัวในยุคโควิด-19 ด้วย “ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป” ทางเลือกของผู้ป่วยโรคไต

อุปสรรคของการใช้ชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านจากโรคระบาดโควิด-19 ไปสู่โรคประจำถิ่น (Endemic) คือการที่มาตรการป้องกันต่างๆ เริ่มผ่อนคลาย เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด ในขณะที่เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แล้วก็กลับมาติดเชื้อซ้ำได้ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงยังคงมีความจำเป็นในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เพื่อช่วยลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงรวมไปถึงการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้น เอาชนะความกลัวในยุคโควิด-19 ด้วย “ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป” ทางเลือกของผู้ป่วยโรคไต ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยร้ายแรงจากโควิด-19 เนื่องจากพวกเขามีข้อจำกัดในการรับวัคซีน ประชากรเหล่านี้รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด และผู้ป่วยมะเร็งอื่นๆ ที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคไตกว่า 200,000 ราย ในประเทศไทย ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่าประชากรทั่วไป ลดความกังวลของผู้ป่วยโรคไต นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย เผยให้เห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยโรคไตว่า “สำหรับผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่ นอกจากจะมีภูมิคุ้มกันน้อยแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ดังนั้นเมื่อไรที่ร่างกายรับเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือกด้วยเครื่องไตเทียม เนื่องจากหน่วยบริการล้างไตที่สามารถรองรับผู้ป่วยโรคไตที่เป็นโควิด-19 ได้มีไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นของเสียคั่งหรือน้ำท่วมปอด ซึ่งของเสียพวกนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแย่ลง ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย และนำไปสู่การเสียชีวิตในท้ายที่สุด” สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับ LAAB (Long-acting Antibody) หรือ แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว ที่จะเข้ามาเป็นทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงในกลุ่มประชากรที่เปราะบางและมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งอาจมีการตอบสนองต่อวัคซีนไม่เพียงพอ ถึงแม้จะได้วัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วก็ตาม  ทั้งนี้ LAAB ไม่ได้เข้ามาแทนที่วัคซีน เพราะการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังคงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรหมู่มาก ดังนั้น LAAB จึงเป็นทางเลือกในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป LAAB เป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป […]

สิวขึ้นก่อนมีประจำเดือนเสมอ เกิดจากอะไร? พร้อมแชร์วิธีดูแลผิวเมื่อสิวมาเยือน

หลายคนอาจกังวลเรื่อง “เป็น สิว ก่อนมีประจำเดือน” โดยสิวเกิดจากการหลั่งของไขมันมากเกินไป เนื่องจากฮอร์โมนไม่สมดุล การเปลี่ยนแปลงของผิว และความเครียด  ในบทความนี้ เราจะอธิบายพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่หลายคนควรทราบเพื่อป้องกันสิวและการรักษาสิว โดยแพทย์ผิวหนังจากญี่ปุ่น สิวขึ้นก่อนมีประจำเดือนเสมอ เกิดจากอะไร? พร้อมแชร์วิธีดูแลผิว เมื่อ ‘สิว’ มาเยือน สาเหตุของการเกิดสิวก่อนมีประจำเดือนสิวที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนเรียกอีกอย่างว่า “สิวผู้ใหญ่” และมักพบในผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ความสมดุลของฮอร์โมนอาจได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ความเครียดยังเป็นสาเหตุของอาการกำเริบอีกด้วย ความสมดุลของฮอร์โมนว่ากันว่าฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพศหญิงซึ่งส่วนใหญ่หลั่งออกมาหลังจากการตกไข่ และฮอร์โมนเพศชายจำนวนเล็กน้อยที่ผู้หญิงหลั่งออกมาก็มีผลเช่นกัน โปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้นในกรณีที่ตั้งครรภ์ ก่อนมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้นไปกระตุ้นต่อมไขมันทำให้เกิดความมันส่วนเกิน ซึ่งทำให้เคราตินหนาขึ้น ทำให้รูขุมขนอุดตันได้ง่ายขึ้น และแบคทีเรียที่เป็นสิวเพิ่มขึ้นได้ง่าย ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นสิวผู้ใหญ่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โปรเจสเตอโรนยังมีผลทำให้การทำงานของอินซูลินบกพร่อง อินซูลินมีหน้าที่ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหลังอาหาร แต่ถ้าฮอร์โมนทำงานไม่ถูกต้องจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ยาก จากนั้นอินซูลินจะหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำเกินไป มีการตั้งสมมติฐานว่าสิ่งนี้อาจนำไปสู่ความอยากของหวานในความพยายามที่จะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เป็นผลให้คุณอาจกินอาหารที่มีไขมันและหวานมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นสิวมากขึ้น ความเครียดเมื่อร่างกายของเรามีความเครียด เส้นประสาทอัตโนมัติจะถูกรบกวนและฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายจะหลั่งออกมา ส่งผลให้การหลั่งไขมันเพิ่มขึ้นและระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้สิวแย่ลง เมื่อเรานึกถึงความเครียด เรามักจะนึกถึงมันในจิตใจ แต่การอดนอน ความไม่สมดุลทางโภชนาการ การสูบบุหรี่ และรังสีอัลตราไวโอเลตก็ส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน ผลกระทบต่างๆ ของความเครียดทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ของสิว นอกจากนี้ หากคุณยังไม่มีประจำเดือนหรือขนตามร่างกายหนาขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนผิดปกติที่เรียกว่า “กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ” กำลังจะเกิดขึ้น หากคุณมีความคิดเกี่ยวกับอาการเหล่านี้ อย่าตัดสินด้วยตัวเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือสูตินรีแพทย์ ป้องกันสิว สิ่งที่ควรคำนึงถึง ล้างหน้าสะอาดหมดจด […]

อย่าประมาท ‘ข้อเท้าแพลง’ อาการบาดเจ็บที่อาจเรื้อรังหากรักษาไม่ถูกวิธี

ปวดบวมบริเวณตาตุ่ม มีรอยฟกช้ำ หรือเดินลงน้ำหนักไม่ได้ เป็นลักษณะเฉพาะของอาการ ‘ข้อเท้าแพลง’ ที่สามารถสังเกตได้ทางกายภาพหลังจากเกิดอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬา ทว่าอาการเหล่านี้ยังสามารถบ่งบอกกลุ่มโรคบางอย่างได้ หากแต่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ อย่าประมาท ‘ข้อเท้าแพลง‘ อาการบาดเจ็บที่อาจเรื้อรังหากรักษาไม่ถูกวิธี นพ.กวิน วงศ์ทองศรี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ อนุสาขาศัลยศาสตร์เท้าและข้อเท้า ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอาการ ‘ข้อเท้าแพลง’ ที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนในการสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ข้อเท้าแพลง คือการบาดเจ็บของเส้นเอ็นบริเวณตาตุ่มนอก พบได้บ่อยจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประมาณ 80% สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องผ่าตัดหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาการ ปวด บวม บริเวณตาตุ่มนอก มีจุดเลือดออกใต้ผิวหน้า ฟกช้ำ จ้ำเลือด เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจจะมีกลุ่มโรคที่มีอาการแสดงที่ใกล้เคียงกัน เช่น กระดูกข้อเท้าหัก กระดูกโคนนิ้วเท้าที่ 5 หัก เส้นเอ็นตาตุ่มนอกหลุด กระดูกส้นเท้าหัก เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรวินิจฉัยแยกโรคโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาต่อไป การรักษา ควรพักการเดิน และการใช้งานเท้าข้างที่บาดเจ็บ ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บ ยกขาสูง เพื่อลดอาการบวมของเท้า แพทย์อาจจะพิจารณาการรักษาโดยวิธีการใส่เฝือก กรณีที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ กินยาเพื่อลดการอักเสบของข้อเท้า ควรนัดตรวจติดตามอาการหลังทำการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้าหากอาการบาดเจ็บยังไม่ดีขึ้น อาจจะพิจารณาการรักษาเพิ่มเติม โดยวิธีการทำกายภาพ และหากภายใน 6 สัปดาห์ อาการบาดเจ็บยังไม่ดีขึ้น […]

keyboard_arrow_up