Wellness
วิธีเลี่ยงความเสี่ยง ‘ปวดหัวไมเกรน’ คู่ปรับของคนวัยทำงาน พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ปวดหัวไมเกรน คู่ปรับของคนวัยทำงาน เป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้ โดยหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดอาการปวด โรคไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้ในเด็กวัยเรียน วัยหนุ่มสาว แต่ผู้สูงอายุมักไม่เป็นโรคนี้ และเป็นมากโดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันและความกดดันอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ต้องเผชิญกับความเครียดสะสม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จะพบผู้ป่วยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-30 ปี มากที่สุด มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยลักษณะของไมเกรนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ไมเกรนชนิดไม่มีอาการนำ จะปวดศีรษะครึ่งซีกเป็นพักๆ เวลาหายปวดจะหายสนิท ซึ่งการปวดแต่ละครั้งจะนาน 4 ชั่วโมงหรือนานเป็นวันๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อแตก ส่วนไมเกรนชนิดมีอาการนำ จะพบได้น้อยกว่า มักมีอาการนำมาก่อนแล้วจึงมีอาการปวดศีรษะตามมา อาการนำที่พบได้บ่อย เช่น ตาฝ้า เห็นแสงระยิบระยับ บางคนอาจเห็นเป็นภาพมืดตรงกลางทำให้มองไม่เห็นชั่วครู่ อาจมีอาการแขนขาชาอ่อนแรงหรือพูดไม่ได้ชั่วครู่ ไมเกรนเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายคน และเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคไมเกรนได้ สาเหตุของโรคปวดศีรษะไมเกรน มีสาเหตุที่เกิดจากภายในร่างกายและจากพันธุกรรม ซึ่งไม่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ส่วนสาเหตุที่มาจากภายนอกร่างกายเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดอาการ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศเปลี่ยนแปลง ทำงานหนักหรือมีความเครียดมากเกินไป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารบางชนิด ได้แก่ กล้วยหอม […]
‘หน้าเบี้ยวครึ่งซีก’ เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท โรคใกล้ตัวที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย
เตือนอาการอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ อาการปากเบี้ยวหรือ หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง หรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้า หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้น และส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย ปากเบี้ยว ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด อาจมีความสัมพันธ์ได้จากการติดเชื้อไวรัสบริเวณใบหน้า เช่น โรคอีสุกอีไส เชื้อเริม ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ได้แก่ ผู้ที่ตั้งครรภ์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ และภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ […]
ทำไมคนทำงานหนักเกินไปถึงเสี่ยงเป็น ‘โรคเบาหวาน’
การเกิด โรคเบาหวาน ในมนุษย์เงินเดือนอยู่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก ทั้งการกินของหวานๆ ขาดการออกกำลังกาย ไม่ควบคุมน้ำหนัก และหากป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ก่อนที่จะสายเกินไป ควรเริ่มใส่ใจในการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น โรคเบาหวาน ความเสี่ยงของคนทำงานหนักเกินไป เป็นห่วงคนทำงานหนักเกินไป เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน สาเหตุที่เห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมการกินอาหารของหวาน ของมัน ของทอด โดยเฉพาะเมื่อทำงานหนัก เกิดความเครียดร่างกายต้องการของหวานเติมเต็ม เพราะว่าสามารถบรรเทาความเครียดได้ ของหวานที่มีน้ำตาลสูงจะสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน ที่จะหลั่งออกมาในเวลารู้สึกเครียด เมื่อคุณเครียดมากจึงทานมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นแถมยังทำลายสุขภาพเป็นอย่างมาก โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ในกระแสเลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อันเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะทำให้ร่างกายเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ได้ง่าย อาทิ ตา ไต รวมไปถึงระบบประสาท โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ 2. เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวการณ์ดื้ออินซูลิน 3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน อาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ รู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำ ปัสสาวะมีปริมาณมากและบ่อย เหนื่อย […]
แพทย์ผิวหนังเผยลักษณะรอยโรค ‘ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ’ พบไม่บ่อย แต่รักษาได้
ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ ที่ผิวหนัง เป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้ไม่บ่อยนักและมีรอยโรคที่ผิวหนังเห็นได้ชัดเจน อาจจะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับความผิดปรกติหรือโรคอื่นๆในร่างกายได้ เส้นเลือดฝอยอักเสบ สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยจะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่า 90% ภาวะเส้นเลือดฝอยอักเสบ ประมาณครึ่งหนึ่งเกิดจากความผิดปรกติของผิวหนังเอง ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ในส่วนที่มีสาเหตุ พบว่า ผื่นรอยโรคอาจเกิดจากการกระตุ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถเกิดร่วมกับโรคแพ้ภูมิตัวเอง รวมถึงการกระตุ้นจากยา หรืออาหารเสริมบางชนิด ก็มีรายงานทําให้เกิดภาวะนี้ได้ ลักษณะรอยโรคเป็นผื่นที่มีรอยแดงเป็นปื้นที่กดไม่จาง หรือเป็นตุ่มแดง มีลักษณะคล้ายลมพิษ ในบางรายถ้ามีอาการรุนแรง อาจพบเป็นลักษณะเป็นตุ่มหนอง แตกเป็นแผลได้ โดยผื่นมักจะพบบ่อยที่บริเวณขาทั้งสองข้าง ประมาณ 5-25% จะพบมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น การรักษาจะเน้นที่การรักษาปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดโรคหรือรักษาโรคร่วม การรักษาอาการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นการให้ยาแก้แพ้ ยากดภูมิชนิดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น colchicine หรือ indomethacin ซึ่งจะสามารถลดการอักเสบของผื่นได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง พบว่าผื่นและอาการของโรคสามารถหายได้ในระยะเวลาไม่กี่อาทิตย์ถึงเป็นเดือน แต่ในบางรายเกือบประมาณ 10% ที่มีอาการรุนแรงหรือมีโรคพบร่วมเยอะ […]
ไม่อ้วนก็เป็นได้! สาเหตุเกิด ‘ไขมันพอกตับ’ มักไม่มีอาการจนกว่าโรคจะลุกลามเป็นตับแข็ง
ไขมันพอกตับ คือภาวะการสะสมไขมันในตับที่มากเกินไป คือ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด โดยปกติร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือหน้าท้องและตับ ไขมันที่ตับนับเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับอีกด้วย ตับเป็นอวัยวะสำคัญมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตหลายอย่าง เช่น ผลิตน้ำดีซึ่งช่วยในการย่อยอาหาร สร้างโปรตีนให้กับร่างกาย เก็บสะสมธาตุเหล็กและวิตามินต่างๆ เปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน สร้างสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว (เกาะตัวกันเพื่อรักษาบาดแผล) รวมถึงช่วยต่อต้านการติดเชื้อ โดยการสร้างภูมิคุ้มกันและกำจัดแบคทีเรียและสารพิษออกจากเลือด การกำจัดสารพิษและยาต่างๆ จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นไขมันพอกตับ (Fatty liver disease)ปกติตับที่แข็งแรงจะมีไขมันเพียงเล็กน้อย หากตรวจพบไขมันในตับประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตับ ถือว่ามีภาวะไขมันพอกตับ โรคไขมันพอกตับ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง หรือส่งผลต่อการทำงานของตับ แต่พบว่า 7- 30% ของผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับจะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป เกิดการอักเสบและมีพังผืดเกิดขึ้นภายในตับ ส่งผลให้มีการดำเนินโรคที่มากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น ไขมันพอกตับ มีกี่ระยะโดยภาวะไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น […]
7 พฤติกรรมที่ควรทำหลัง ‘กินมากเกินไป’ หากไม่อยากหุ่นพัง
เราทุกคนมีวันที่ ‘กินมากเกินไป‘ แม้แต่คนที่มักกังวลเกี่ยวกับปริมาณของมื้ออาหารก็อาจลงเอยด้วยการกินมากเกินไปในงานหรือปาร์ตี้ ซึ่งสิ่งที่คุณกินเข้าไปไม่ได้เปลี่ยนเป็นไขมันในทันที และบางส่วนจะถูกใช้เป็นพลังงานหรือถูกขับออกจากร่างกาย แม้ว่าคุณจะน้ำหนักขึ้นเพียงชั่วคราวแต่ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นน้ำ ดังนั้นอย่ากังวลมากเกินไป อย่างไรก็ตาม หากคุณยังคงกินมากเกินไปในวันถัดไป น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นในที่สุด และนี่คือ 7 พฤติกรรมที่ควรทำหลัง ‘กินมากเกินไป’ ดื่มน้ำมากๆหลังมื้อพิเศษที่กินอาหารมากเกินไป ใบหน้าและแขนขามักบวม เกิดจากการกินเกลือมากเกินไปในเวลาเดียวกัน หรือเพราะมีอาหารหลายสิ่งหลายอย่างที่มีเครื่องปรุงรสเข้มข้น จึงจำเป็นต้องระบายอาการบวมออกจากร่างกายโดยการปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดและการไหลเวียนของน้ำเหลือง ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำมากๆ หรือจิบบ่อยๆ รับโพแทสเซียมสิ่งสำคัญคือต้องใช้โพแทสเซียมเพื่อป้องกันอาการบวม โพแทสเซียมมีหน้าที่ขับเกลือในร่างกายออกนอกร่างกาย โดยโพแทสเซียมมีมากในผลไม้ อาทิเช่น อะโวคาโด หัวไชเท้าแห้ง ฮิจิกิ ถั่วแระเขียว กล้วย และเนื่องจากโพแทสเซียมสามารถละลายได้ในน้ำ จึงแนะนำให้กินในสภาพที่ยังดิบอยู่ รวมสลัด และผลไม้สด กินวิตามินบีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนตามลำดับ โดยวิตามินบี 1 มีมากในอาหารจากถั่วเหลืองและเนื้อหมู ส่วนวิตามินบี 2 มีมากในอาหาร เช่น ตับหมู ไข่ และนัตโตะ ส่วนอาหารอย่างเช่น ปลาทูน่า ปลาโบนิโต และเนื้อไก่ มีวิตามินบี 6 อยู่มาก กินอะไรอุ่นๆการกินของเย็นจะทำให้ร่างกายเย็น ออกซิเจนและสารอาหารที่เพียงพอจะไปไม่ถึงเซลล์ต่างๆ […]
รู้จัก ‘โรค SLE’ หรือ ‘โรคแพ้ภูมิตนเอง’ มักพบในผู้หญิงช่วงอายุราว 20 – 40 ปี
โรค SLE เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกาย และอวัยวะที่เกิดการอักเสบจะได้รับความเสียหาย โดยผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการอักเสบในแต่ละอวัยวะแตกต่าง และมีอาการแสดงแตกต่างกัน แต่มักเกิดการอักเสบของหลายอวัยวะร่วมกัน แนะผู้ป่วยหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ โรค SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus เป็นโรคภูมิคุ้มกันทําลายตนเองหรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง นับเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย และมีอัตราการเสียชีวิตตํ่า โดยพบเพียงร้อยละ 0.1 (0.014 – 0.122) หรือคิดเป็นจํานวนผู้ป่วยในประเทศไทยราว 50,000 – 700,000 คน ส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิงช่วงอายุราว 20 – 40 ปี ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แสงแดด การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย การได้วัคซีน การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด อาการที่พบได้บ่อยของโรคนี้ คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ตํ่า ปวดข้อ ปวดเมื่อย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด ผมร่วง มีผื่นที่หน้า ที่แก้ม คล้ายปีกผีเสื้อ ผื่นตามตัว […]
‘ท้องผูกเรื้อรัง’ เสี่ยงลำไส้พัง แต่สามารถป้องกันได้ แค่ปรับพฤติกรรมการกิน
ระบบขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญมากในชีวิตประจำวัน การดูแลระบบขับถ่ายให้ดีจึงเป็นส่วนที่ช่วยให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจแข็งแรง เกิดความสมดุลของร่างกาย ซึ่งส่วนมากภาวะท้องผูกมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและเป็นได้ในทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่พบได้ในวัยทำงาน ท้องผูก คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระยาก หรือห่างผิดปกติ ร่วมกับอุจจาระที่มีลักษณะแข็งหรือแห้งผิดปกติด้วยเช่นกัน ส่วน ท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง ภาวะท้องผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึงร้อยละ 25 โดยพบได้ในกลุ่มช่วงอายุ 20 – 40 ปีบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 57 เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่มีกากใยสูง ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย และที่สำคัญคือผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์ สาเหตุของภาวะท้องผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรก “ท้องผูกปฐมภูมิ” คือ ท้องผูกที่เกิดจากการบีบและคลายตัวผิดปกติของลำไส้เอง ตัวอย่างเช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้เฉื่อย หรือ การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี กลุ่มที่สอง “ท้องผูกทุติยภูมิ” คือ ภาวะท้องผูกที่มีสาเหตุจากความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลำไส้ หรือ โรคระบบอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะท้องผูก ตัวอย่าง เช่น มะเร็งลำไส้, โรคทางสมอง, […]
รู้จัก ‘ชิคุนกุนยา’ โรคร้ายที่มาพร้อมกับยุงลาย มีความแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก
ชิคุนกุนยา เป็นโรคที่มีความรุนแรงแต่ไม่อันตรายเท่าโรคไข้เลือดออก พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน แนะป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หากมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน ปวดข้อ ผื่นขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี “โรคชิคุนกุนยา” (Chikungunya) หรือ “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งเด็กเล็ก มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรงเท่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่อง สำหรับในรายที่รุนแรงอาจพบเกล็ดเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ แต่พบได้น้อยมาก โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยจะอยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน เมื่อครบระยะฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน โดยอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4 วัน และไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย บางรายอาจมีอาการบวมที่มือและเท้า หรือมีอาการคันร่วมด้วย รวมทั้งอาจจะมีตาแดง อาการที่เด่นชัดในผู้ใหญ่คืออาการปวดข้อร่วมกับมีการอักเสบ มักพบที่ นิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า โดยมักจะพบได้หลายข้อและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ บางรายอาจมีอาการรุนแรงทำให้ไม่สามารถขยับข้อได้ โดยอาการปวดข้อช่วงแรกมักหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้ออาจอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี […]
ใยอาหารลดเสี่ยง “มะเร็งลำไส้” สร้างสมดุลระบบทางเดินอาหาร
คนจำนวนมากยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า ทางเดินอาหารเป็นเรื่องของการย่อยอาหารเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงระบบทางเดินอาหารมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพคนเราในหลายมิติ โดยนอกจากจะเกี่ยวข้องกับระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหารเพื่อไปใช้ในร่างกายแล้ว การกินอาหารที่มีคุณค่าและพฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง ยังส่งผลต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ความดันโลหิต การเผาผลาญไขมัน การต้านทานอนุมูลอิสระ เป็นต้น ดังนั้น นอกจากจะคำนึงถึงประโยชน์ในแง่ของพลังงานและสารอาหารที่จะได้รับแล้ว เราควรมีความเข้าใจธรรมชาติและกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เพื่อการเลือกกินและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบมจ.เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย ต้องการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องจึงจัดประชุมวิชาการในหัวข้อ “การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในร้านยา” ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยในครั้งนี้ได้นำเสนอความรู้และข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พรีไบโอติกส์ (prebiotics) และ โปรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร พรีไบโอติกส์ คือ ส่วนของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนต้น แต่จะช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ใหญ่และส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จุลินทรีย์บางชนิดดังกล่าวอาจเรียกว่า โปรไบโอติกส์ ซึ่งมีความหมายว่ากลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเข้าไปอยู่ในระบบของร่างกายมนุษย์และสัตว์ แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยจุลินทรีย์นั้นทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของสภาพแวดล้อมในระบบลำไส้ ตัวอย่าง เช่น โปรไบโอติกส์แบคทีเรีย ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส บิฟิโดแบคทีเรีย และโปรไบโอติกส์ยีสต์ ได้แก่ Saccharomyces boulardii เป็นต้น คุณสมบัติที่ดีของโปรไบโอติกส์ ได้แก่ […]
8 วิธีบรรเทา ‘โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้’ ให้ดีขึ้นด้วยตัวเอง
ไม่เคยชินสักที เจออากาศร้อนทีไรเหงื่อออกทุกที บางครั้งก็เดี๋ยวเข้าๆ ออกๆ ห้องแอร์ทันที จึงต้องเจอภาวะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้คนที่เป็นภูมิแพ้มีอาการจามและมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น คัดจมูก ซึ่งโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ผ่านพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายอย่าง เช่น การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การทำให้ห้องสะอาดมีอากาศถ่ายเท ฯลฯ ล้วนเป็นวิธีที่ง่ายและดีในการอยู่บ้าน นอกจากนี้ การเสริมโปรไบโอติกเป็นประจำก็สามารถช่วยได้ แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ‘โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้‘ กับ ‘อาการหวัด’ ต่างกันอย่างไร? ในแง่ของอาการโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้อาจมีอาการตาแดง บวม คัน จาม คันหู น้ำมูกไหล คันคอ ตาคล้ำ ลมพิษ เป็นต้น ในขณะที่อาการหวัดอาจมีอาการไอ ปวดศีรษะ เจ็บคอ และมีไข้ร่วมด้วย โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มักจะเกิดในช่วงเช้าและเย็นและอาการจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะที่โรคหวัดจะคล้ายกันตลอดทั้งวัน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มักจะรุนแรงเป็นพิเศษ เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง น้ำมูกจะมีสีใส ไม่เหมือนหวัดที่น้ำมูกจะข้นกว่าและมีสีเหลืองหรือเขียว อาการภูมิแพ้นี่มันน่ารำคาญใจจริงๆ อย่างไรก็ตาม การรักษาให้หายขาดนั้นง่ายมากหากปรับพฤติกรรมประจำวัน และนี่คือ 8 นิสัยที่ควรทำสม่ำเสมอ หากต้องการปราศจากอาการภูมิแพ้ 1. ออกกำลังกายการออกกำลังกายสามารถส่งเสริมการหดตัวของหลอดเลือดของเยื่อบุจมูก เสริมสร้างการทำงานของเส้นประสาทซิมพาเทติก ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้โพรงจมูกไม่ถูกปิดกั้น […]
สัญญาณเตือน ‘โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ’ ภาวะเร่งด่วนต้องรีบรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบแปลบอย่างทันทีและรุนแรงร่วมกับอาการเหนื่อย หายใจไม่ทัน อาจมีภาวะเสี่ยงหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตก ซึ่งถ้าได้รับการวินิจฉัยช้า และรับการรักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) เป็นหลอดเลือดสำคัญทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ (Aortic dissection) เป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่ ตั้งแต่ต้นทางที่มีการปริแตกเซาะไปที่ขั้วหัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและแขน หลอดเลือดที่เลี้ยงตับและลำไส้ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ตลอดจนลงไปถึงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาทั้งสองข้าง ทำให้มีอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบ พบได้บ่อยในเพศชาย อายุ 50-70 ปี แต่สามารถเกิดในกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปีได้ในกลุ่มที่มีโรคของความผิดปกติของผนังหลอดเลือด สาเหตุการปริแตกของผนังหลอดเลือดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มักสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน หรือความผิดปกติของผนังหลอดเลือด จากกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง เช่น Marfan syndrome, Ehlers-Danlos syndrome สัญญาณเตือน ‘โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ‘ ภาวะเร่งด่วนต้องรีบรักษา โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ (Aortic dissection) ผู้ป่วยมักมีอาการอาการเจ็บหน้าอกแบบแปลบอย่างทันทีและรุนแรง สามารถแสดงอาการได้หลายแบบขึ้นกับตำแหน่งตามรอยโรคที่มีการแตกเซาะไป บางครั้งแสดงอาการเจ็บหน้าอกคล้ายโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เหนื่อย มีภาวะหัวใจลัมเหลว อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต แขน […]
‘นิ่วทอนซิล’ ไม่อันตราย รักษาได้ แต่ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ
การทำความสะอาดช่องปากเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ หากไม่ได้รับการดูแลอาจมีเศษอาหารติดอยู่บริเวณซอกหลืบของต่อมทอนซิลจนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า “นิ่ว” บริเวณต่อมทอนซิล ทำให้เกิดปัญหามีกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวมได้ ‘นิ่วทอนซิล‘ ไม่อันตราย รักษาได้ แต่ส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ นิ่วทอนซิล เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทอนซิลอักเสบหลายครั้งมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการติดเชื้อของทอนซิลทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อส่วนเกินมากขึ้น และเนื้อเยื่อเหล่านี้อาจก่อตัวเป็นซอกและร่องในต่อมทอนซิล จึงทำให้เซลล์ที่ตายแล้ว น้ำลาย และเศษอาหารต่างๆ ติดอยู่จนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่านิ่ว โดยนิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของต่อมทอนซิล มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีขาวขนาดเท่ากับเมล็ดถั่ว โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแต่อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวม หรือเจ็บบริเวณหู ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบของทางเดินประสาทร่วมระหว่างหูและต่อมทอนซิลได้ สำหรับการวินิจฉัยนิ่วทอนซิลแพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องมือตรวจที่ ช่องคอหรือบางกรณีอาจใช้ภาพเอกซเรย์หรือภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใดๆ หากอาการไม่รุนแรง แต่หากนิ่วทอนซิลมีขนาดใหญ่หรือมีอาการต่างๆ เช่น เจ็บคอ มีกลิ่นปากมาก ต่อมทอนซิลบวมอักเสบ หรือปัญหาในการกลืนอาหาร ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ซึ่งการรักษานิ่วทอนซิลสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์และระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่มีนิ่วทอนซิลขนาดเล็กสามารถกลั้วคอบ้วนน้ำเกลืออุ่นๆ หรือใช้คอตตอนบัดก้านสำลีเขี่ยออกได้ แต่ถ้ามีขนาดปานกลางถึงใหญ่ อาจจะต้องทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบริเวณที่มีนิ่วออกไป สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วทอนซิลนั้น ทำได้โดยการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก […]
ข้าวโพด ช่วยลด ‘อาการบวมน้ำ’ ได้จริงหรือไม่? และมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง
สายไดเอทบางคน หรือแม้กระทั่งคนที่ชอบกินข้าวโพดเป็นชีวิตจิตใจอาจสงสัยว่า “ข้าวโพด…กินแล้วอ้วนไหม?” ช่วยลด อาการบวมน้ำ ได้จริงหรือไม่? แม้ข้าวโพดจะมีประโยชน์ แต่ก็จัดเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต กินมากมีสิทธิ์อ้วนได้ ปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ ครึ่งฝัก (เลือกกินแบบต้มดีที่สุด) ถ้าใครนิยมกินข้าวโพดแปรรูป ก็กินแต่พอดี หรือไม่เกิน 1 หน่วยบริโภคตามที่ระบุในข้อมูลโภชนาการ เช่น ถ้าระบุว่า “1 หน่วยบริโภคเท่ากับ 2” หมายความว่า “1 ถุงแบ่งกินได้ 2 ครั้ง” หรือ 1 หน่วยบริโภคปริมาณเท่ากับ 30 กรัม ให้พลังงาน 150 kcal ถ้าปริมาณต่อถุงเท่ากับ 60 กรัม ก็อย่าลืมเอา 150 x 2 ด้วยนะ และนอกจากนี้กินอร่อยแล้ว สาวๆ รู้ไหมว่าข้าวโพดเมล็ดจิ๋ว แต่ประโยชน์แจ๋วนะ ข้าวโพดหวาน มีกรดเฟอรูลิก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ชะลอวัย ลดเสี่ยงโรคมะเร็งและหัวใจ ยิ่งถ้าต้มนานจะยิ่งทำให้สารต้านอนุมูลอิสระและกรดเฟอรูลิกเพิ่มขึ้น (แต่อาจสูญเสียวิตามินบางชนิด) ข้าวโพดอ่อน […]
4 เรื่องเกี่ยวกับ ‘กล้ามเนื้อ’ ที่หลายคนยังไม่รู้ พร้อมเคล็ด(ไม่)ลับฟื้นฟูสุขภาพ
เดิน วิ่ง แดนซ์ หรือแม้กระทั่งการนอนนิ่งเฉยๆ ทุกกิจกรรมหลากหลายในแต่ละวันล้วนต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวร่างกาย ในขณะที่เรากำลังทำกิจกรรมต่างๆ อยู่นั้น มีหลายอย่างเกี่ยวกับ กล้ามเนื้อ ในร่างกายที่หลายคนอาจยังไม่รู้ 4 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ พร้อมเคล็ด(ไม่)ลับที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับในการดูแลสุขภาพของกล้ามเนื้อตั้งแต่หัวจรดเท้า 1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขของไทยในปี พ.ศ. 2565 การเสียชีวิตทั่วโลกมีสาเหตุสำคัญจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 32% หรือประมาณ 18 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 7 หมื่นราย1 โดยที่ผู้ป่วยหลายคนไม่ได้มีอาการบ่งชี้ของโรคจึงไม่ทราบว่าตนกำลังประสบกับภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ประเมินจากแรงบีบมืออาจระบุความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดร้ายแรงได้แม่นยำกว่าการตรวจความดันโลหิตซิสโตลิก (ค่าความดันช่วงบน ซึ่งเป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว)2 นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Opinion in Clinical Nutrition and Metabolic Care แนะว่าอัตราส่วนของมวลกล้ามเนื้อต่อมวลไขมันเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมที่ดีกว่าดัชนีมวลกาย (BMI)3 ดังนั้น ในการเริ่มดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อควรเน้นในเรื่องของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและโภชนาการสำหรับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่าควรทานโปรตีน 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 48-60 กรัม ต่อวัน เพื่อกล้ามเนื้อและร่างกายที่แข็งแรง4 2. เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ต้องการโปรตีนที่เพิ่มขึ้น ในร่างกายประกอบด้วยกล้ามเนื้อกว่า 600 มัด คิดเป็น 40% ของร่างกาย5 และการสลายของกล้ามเนื้ออาจเริ่มต้นไวแบบไม่ทันตั้งตัว ผลการวิจัยพบว่าเมื่อถึงวัย 40 ปี กลุ่มวัยผู้ใหญ่จะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อไปได้มากถึง 8% ในทุกๆ 10 ปี และอัตราการสูญเสียนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่ออายุ 70 ปี6 การสูญเสียกล้ามเนื้อจึงอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในผู้สูงวัย และอาจมีความเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตประจำวันและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้มหรือขาดกำลังวังชาในการเดินขึ้นบันได การมีมวลกล้ามเนื้อน้อยยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้ออินซูลินจนอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ7 สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ การสูญเสียกล้ามเนื้ออาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ต่อการหายใจได้8 […]
วิธีลดน้ำหนักด้วย ‘โปรตีน’ ที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น
หากคุณต้องการลดน้ำหนักให้สำเร็จ การผสมผสานระหว่างการปรับอาหารและการออกกำลังกายเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่ดีที่สุด และหากใครเคยลองวิธี intermittent fasting , ketogenic diet ฯลฯ ที่เป็นที่นิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรามีอีกวิธีมานำเสนอนั่นคือ วิธีการลดน้ำหนักด้วย “โปรตีน” ของแพทย์ชาวญี่ปุ่น Takashi ได้อธิบายไว้ว่าวิธีนี้ช่วยไดเอทได้ วิธีลดน้ำหนักด้วยโปรตีน สารอาหารที่สำคัญที่สุดคือ โปรตีน วิธีการคือ: เพิ่มปริมาณโปรตีน และลดปริมาณไขมันและแป้ง โปรตีนที่กินเข้าไปจะสร้างกล้ามเนื้อและเปลี่ยนเป็นแคลอรีที่จำเป็นต่อกิจกรรมต่างๆ จึงไม่ก่อให้เกิดไขมันสะสม เมื่อกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น การเผาผลาญอาหารจะเร็วขึ้น และไขมันในร่างกายจะลดลง (*ข้อควรจำที่สำคัญที่สุดคือ บริโภคโปรตีน 25-30% ของปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน) ประโยชน์ของวิธีลดน้ำหนักด้วยโปรตีน ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของวิธีลดน้ำหนักด้วยโปรตีนคือ คุณค่าทางโภชนาการที่สมดุลและไม่มากเกินไป แม้ว่าจะเพิ่มปริมาณโปรตีน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโปรตีนทั้งหมด เมื่อลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ คุณสามารถเปลี่ยนข้าวขาวเป็นธัญพืชชนิดต่างๆ ได้ และคุณไม่จำเป็นต้องกินไข่ต้มและไก่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใส่น้ำมันและปรุงรสในปริมาณสูง แต่ให้ทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นในกระบวนการลดน้ำหนัก ซึ่งสามารถลดโอกาสในการกินมากเกินไปได้ กระบวนการย่อยโปรตีนค่อนข้างช้า ซึ่งสามารถเพิ่มความรู้สึกอิ่ม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณลดปริมาณอาหารในมื้อถัดไป แต่ยังลดความถี่ในการกินอาหารว่างอีกด้วย ด้วยการรักษานิสัยการกินเช่นนี้ คุณจะค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับร่างกายที่ผอมลงได้โดยที่น้ำหนักไม่ขึ้น ผู้ที่ไม่เหมาะกับ “วิธีลดน้ำหนักด้วยโปรตีน”ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไตและน้ำตาลในเลือดไม่เหมาะสำหรับการลดน้ำหนักด้วยโปรตีน ซึ่งอาจทำให้สารอาหารในร่างกายไม่สมดุลและทำให้สภาพร่างกายแย่ลงได้ นอกจากนี้ อาหารประเภทโปรตีน สามารถใช้วิธีนี้ได้สูงสุดสองสัปดาห์เท่านั้น วิธีการควบคุมอาหารและลดน้ำหนักนี้เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่หยุดนิ่งของการลดน้ำหนักได้วิธีอื่นๆ ทั้งนี้ การควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อการลดน้ำหนักในระยะยาวยังคงต้องการนักโภชนาการและโค้ชมืออาชีพช่วยแนะนำในการปรับเปลี่ยน วิธีลดน้ำหนักด้วยโปรตีน 1: อาหารทะเลแทนเนื้อแดงอาหารทะเลมีแคลอรีต่ำกว่าเนื้อแดง หากคุณไม่ชอบเนื้อสัตว์ […]
‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? และมีลักษณะอาการอย่างไรจึงควรพบแพทย์เร็วที่สุด
เนื่องจากในเดือนนี้ (ทุกวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี) เป็นวันเท้าปุกโลก (World club foot day) และหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้หรือสงสัยว่า ‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? เท้าปุก (clubfoot) เป็นโรคที่เท้ามีลักษณะงุ้มเข้า บิดตะแคง และเขย่ง เป็นความผิดปกติของเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคเป็นแต่กำเนิด ถ้ารักษาเร็วจะได้ผลดีโดยไม่ต้องผ่าตัด การรักษาทำได้โดยการดัดเท้าและใส่เฝือกต่อเนื่อง หากการใส่เฝือกไม่ได้ผล จึงพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เมื่อรักษาหาย เด็กจะวิ่งเล่นได้ดีสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้ของโรคเท้าปุก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ ได้แก่ กรรมพันธุ์ ลูกคนแรก พัฒนาการเท้าผิดปกติในครรภ์ และโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อเจริญเติบโตของเท้า เป็นต้น ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เช่น การดัดเท้าใส่เฝือกให้เท้าตรงก่อน ใส่รองเท้าเฉพาะ จะทำให้รูปเท้าโตปกติ และการรักษาระยะต่อมาง่ายยิ่งขึ้น ในบางรายสามารถตรวจพบได้จากการอัลตร้าซาวด์ในช่วงที่มีการฝากครรภ์ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับการรักษาเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว แต่โดยทั่วไปโรคนี้อาศัยความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกเด็ก ก็สามารถให้การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายเด็กหลังจากคลอดออกมาแล้วโดยไม่ได้ทำให้การรักษาช้าเกินไป ปกติจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีของเท้าเพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้ นอกจากการตรวจส่วนเท้าที่มีความผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายระบบอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุร่วมที่อาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบประสาทกล้ามเนื้อ เป็นต้น เท้าปุกแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทแรก เป็นเท้าปุกเทียมพบตั้งแต่แรกเกิด เท้าจะมีลักษณะผิดปกติดังกล่าวข้างต้นทุกประการ […]
สาเหตุของ ‘โรคเดอกาแวง’ หรือ ‘โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ’ เกิดจากอะไร
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรือ โรคเดอกาแวง (de Quervain’s Stenosing Tenosynovitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดข้อมือบริเวณฝั่งนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะในขณะทำงานที่ต้องกำมือหรือขยับข้อมือ ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วย อายุประมาณ 30-50 ปี โดยที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 8-10เท่า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อมือ บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด โดยมักจะมีอาการในช่วงกลางคืน สาเหตุของ ‘โรคเดอกาแวง‘ หรือ ‘โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ’ เกิดจากอะไร สาเหตุที่แท้ของโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่า มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ได้แก่ การใช้งานข้อมือที่มากเกินไป อุบัติเหตุ หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือเกิดจากภาวะการอักเสบด้วย สาเหตุอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยจากอาการ ตำแหน่งที่ปวด และจากการตรวจร่างกาย โดยแพทย์อาจใช้การตรวจฟินเคิลสไตน์ โดยจะทำการบิดข้อมือของผู้ป่วยไปทางด้านนิ้วก้อย ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบจะมีอาการปวดข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือมากขึ้น การตรวจวินิจฉัยทางรังสีอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นหากแพทย์ไม่ได้สงสัยภาวะอื่นๆ การรักษาโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบมีทั้ง การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือในท่าซ้ำๆ หรือใส่อุปกรณ์ดามข้อมือและนิ้วโป้ง เพื่อลดการเคลื่อนไหว รับประทานยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ ในบางรายที่มีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อวิธีข้างต้น […]