- Page 8 of 56

‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? และมีลักษณะอาการอย่างไรจึงควรพบแพทย์เร็วที่สุด

เนื่องจากในเดือนนี้ (ทุกวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปี) เป็นวันเท้าปุกโลก (World club foot day) และหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้หรือสงสัยว่า ‘โรคเท้าปุก’ คืออะไร? เท้าปุก (clubfoot) เป็นโรคที่เท้ามีลักษณะงุ้มเข้า บิดตะแคง และเขย่ง เป็นความผิดปกติของเท้าที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคเป็นแต่กำเนิด ถ้ารักษาเร็วจะได้ผลดีโดยไม่ต้องผ่าตัด การรักษาทำได้โดยการดัดเท้าและใส่เฝือกต่อเนื่อง หากการใส่เฝือกไม่ได้ผล จึงพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เมื่อรักษาหาย เด็กจะวิ่งเล่นได้ดีสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้ของโรคเท้าปุก แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ ได้แก่ กรรมพันธุ์ ลูกคนแรก พัฒนาการเท้าผิดปกติในครรภ์ และโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อเจริญเติบโตของเท้า เป็นต้น ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เช่น การดัดเท้าใส่เฝือกให้เท้าตรงก่อน ใส่รองเท้าเฉพาะ จะทำให้รูปเท้าโตปกติ และการรักษาระยะต่อมาง่ายยิ่งขึ้น ในบางรายสามารถตรวจพบได้จากการอัลตร้าซาวด์ในช่วงที่มีการฝากครรภ์ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับการรักษาเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว แต่โดยทั่วไปโรคนี้อาศัยความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกเด็ก ก็สามารถให้การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายเด็กหลังจากคลอดออกมาแล้วโดยไม่ได้ทำให้การรักษาช้าเกินไป ปกติจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีของเท้าเพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้ นอกจากการตรวจส่วนเท้าที่มีความผิดรูปแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายระบบอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุร่วมที่อาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบประสาทกล้ามเนื้อ เป็นต้น เท้าปุกแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ ประเภทแรก เป็นเท้าปุกเทียมพบตั้งแต่แรกเกิด เท้าจะมีลักษณะผิดปกติดังกล่าวข้างต้นทุกประการ […]

สาเหตุของ ‘โรคเดอกาแวง’ หรือ ‘โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ’ เกิดจากอะไร

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรือ โรคเดอกาแวง (de Quervain’s Stenosing Tenosynovitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดข้อมือบริเวณฝั่งนิ้วหัวแม่มือ โดยเฉพาะในขณะทำงานที่ต้องกำมือหรือขยับข้อมือ ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วย อายุประมาณ 30-50 ปี โดยที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 8-10เท่า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อมือ บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด โดยมักจะมีอาการในช่วงกลางคืน สาเหตุของ ‘โรคเดอกาแวง‘ หรือ ‘โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ’ เกิดจากอะไร สาเหตุที่แท้ของโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่พบว่า มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ได้แก่ การใช้งานข้อมือที่มากเกินไป อุบัติเหตุ หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือเกิดจากภาวะการอักเสบด้วย สาเหตุอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยจากอาการ ตำแหน่งที่ปวด และจากการตรวจร่างกาย โดยแพทย์อาจใช้การตรวจฟินเคิลสไตน์ โดยจะทำการบิดข้อมือของผู้ป่วยไปทางด้านนิ้วก้อย ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบจะมีอาการปวดข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือมากขึ้น การตรวจวินิจฉัยทางรังสีอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นหากแพทย์ไม่ได้สงสัยภาวะอื่นๆ การรักษาโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบมีทั้ง การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือในท่าซ้ำๆ หรือใส่อุปกรณ์ดามข้อมือและนิ้วโป้ง เพื่อลดการเคลื่อนไหว รับประทานยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ ในบางรายที่มีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อวิธีข้างต้น […]

3 ทริคคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างไร ให้หุ่นเฟิร์มสวยและสุขภาพดี

เทรนด์ยอดฮิตประจำปี 2023 ยังคงยกให้เป็นเทรนด์รักษาสุขภาพที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าผู้คนต่างเริ่มหันมาสนใจในเรื่องของการกินและการออกกำลังกายมากขึ้น โดยเฉพาะในโลกโซเชียลมีการแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องของอาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างไร ให้ได้ทั้งหุ่นสวยเฟิร์มและสุขภาพดี จึงขอหยิบยกทริคเล็กๆ น้อยๆ ในการ คุมอาหาร อย่างไรให้สุขภาพดีมีหุ่นกระชับมาแนะนำ 3 ทริคคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างไร ให้หุ่นเฟิร์มสวยและสุขภาพดี ทุกคนรู้กันดีว่าการทำให้หุ่นสวยไม่ใช่แค่ควบคุมอาหารอย่างเดียว แต่ต้องออกกำลังกายควบคู่ไปพร้อมกันให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทางด้านผู้เชี่ยวชาญหลายคนเน้นย้ำอยู่เสมอว่า คุมอาหารไม่ใช่การอด แต่คือการกินให้ถูกต้อง ส่วนการออกกำลังกายต้องมีประสิทธิภาพ ลองเลือกแนวทางการออกกำลังและการควบคุมอาหาร 3 ข้อทริค ดังนี้  1.การคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อ’ลดน้ำหนัก‘คือการเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น ซีเรียลโฮลเกรน ข้าว เมล็ดถั่ว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อาหารเหล่านี้จะให้คุณค่าพลังงานที่เหมาะสม และเลือกกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน อาทิ การวิ่ง ปั่นจักรยาน เดินเร็ว หรือการเต้นซุมบ้า เป็นต้น 2.การคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อ’เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ’ สิ่งที่ควรตระหนักในข้อนี้คือ ห้ามงดมื้ออาหาร เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และพยายามกินอาหารในเวลาเดิมเสมอ ควบคู่ไปกับการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วยการทำครอสฟิต(CrossFit) ยกน้ำหนัก และวิดพื้นปิดท้ายด้วย  3.การคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อ’กระชับสัดส่วน’ สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ งดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น ขนมอบ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูป กระชับสัดส่วนด้วยการ พิลาทิส (Pilates) สเก็ตบอร์ด ว่ายน้ำ และ ไทเก๊ก […]

Bebe Rexha โดนวิจารณ์รูปร่างที่อ้วนขึ้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

เมื่อไม่นานมานี้ เบเบ้ เร็กซ์ฮา (Bebe Rexha) โดนวิจารณ์รูปร่างที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากสังคมออนไลน์ โดยไม่รู้เหตุที่ทำให้เธอดูอวบขึ้น เนื่องจากเธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือ PCOS ในปี 2565 ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากอาการของเธอ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS เป็นความผิดปกติของฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีมดลูกที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์มากถึง ร้อยละ 12 ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค อาการทั่วไปของ PCOS ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำหนักขึ้น สิวขึ้น ขนขึ้น ผิวคล้ำ และอื่นๆ “มันเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักว่าทำไมผู้หญิงถึงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วน และน้ำหนักของฉันก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 30 ปอนด์อาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย” หลังจากอ่านความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการที่เธอมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เธอยิ่งรู้สึกเจ็บปวด “พวกคุณไม่รู้ว่าใครบางคนกำลังเจออะไรในชีวิต ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ยาก แต่ฉันรู้สึกว่าในปี 2023 ยุคสมัยนี้ เราไม่ควรวิจารณ์ถึงน้ำหนักของผู้อื่นแล้ว” ในรายการ“Radio Andy” เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม เธอได้เสริมว่า “ฉันต้องต่อสู้กับน้ำหนักของตัวเอง และฉันต้องต่อสู้กับรูปลักษณ์ของฉัน และมันก็ยากสำหรับฉัน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเธอเข้าสู่วงการบันเทิงเป็นครั้งแรก “ตอนที่ฉันเซ็นสัญญาครั้งแรก พวกเขาบอกฉันว่า ‘คุณพร้อมหรือยังที่จะเข้าแคมป์ฝึกบู๊? เพราะคุณต้องลดน้ำหนัก 20 ปอนด์เพื่อประกอบอาชีพนี้” ในอดีตคนดังอย่าง ลิซโซ และ เซเลนา […]

แพทย์ด้านจิตเวช แนะวิธีปรับสมดุลอารมณ์ช่วงหน้าร้อนด้วยกลิ่นหอมของ น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ

“อากาศเปลี่ยน อารมณ์ปรวน” ช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าวไม่เพียงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ อย่างเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดด หรือฮีตสโตรก (Heat stroke) แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย เพราะอากาศร้อนอบอ้าวจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสภาวะความเครียด ความฉุนเฉียว รวมถึงการแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว ‘ธัญ’ (THANN) ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ แนะ “วิธีปรับสมดุลอารมณ์ช่วงหน้าร้อนด้วยกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ”  เมื่อคลื่นความร้อนมาปะทะกับตัวเราส่งผลทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เส้นเลือดเกิดการขยายตัว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว เมื่อรู้สึกไม่สบายตัวก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวและตีความสิ่งต่างๆ ในทางลบมากขึ้น เกิดสภาวะอารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดและอารมณ์เสียได้ง่าย กระบวนการดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ซึ่งสามารถแบ่งออเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฮอร์โมนความสุข ฮอร์โมนกลุ่มนี้จะหลั่งจากต่อมใต้สมอง ได้แก่ เอ็นโดรฟิน (Endorphin) ฮอร์โมนแห่งความสุข ความพึงพอใจ ความผ่อนคลาย จะหลั่งเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก แต่เมื่ออยู่ในภาวะเครียดฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะลดลง โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และความยินดี หากมีปริมาณต่ำเกินไปจะทำให้รู้สึกหดหู่และซึมเศร้า เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนต้านความเครียด ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ ไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ กลุ่มฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนกลุ่มนี้จะหลั่งจากต่อมหมวกไต ได้แก่ คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนความเครียด ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์คับขัน เรื่องวิตกกังวล หรือความป่วยไข้ของร่างกาย อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรืออิพิเนฟริน (Epinephrine) ฮอร์โมนแห่งความโกรธ […]

อัพเดต โควิด-19 สายพันธุ์ลูกผสม ในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงรับเข็มกระตุ้นปีละครั้ง

เป็นไปตามที่หลายภาคส่วนคาดการณ์เกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกระลอก หลังช่วงวันหยุดยาวและการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่น จากรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์[1] กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 พบว่าสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดหลักในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ลูกผสม คิดเป็น 86.8% โดยพบผู้ติดเชื้อกระจายทุกเขตสุขภาพ สัดส่วนสายพันธุ์ที่ตรวจในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบสายพันธุ์ลูกผสมมากกว่า 74% ในเกือบทุกเขตสุขภาพ โดยสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือ XBB.1.16 คิดเป็น 27.7% รองลงมาคือสายพันธุ์ XBB.1.5 คิดเป็น 22.0% โดยทั้งสองสายพันธุ์มีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีทั้งคู่ แต่สายพันธุ์ XBB.1.16 สามารถแพร่กระจายได้ดีกว่า ขณะที่ BN.1 ซึ่งเคยเป็นสายพันธุ์หลักในไทยตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2565 มีสัดส่วนลดลง ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้คำแนะนำสำหรับประชาชนในการปฏิบัติตัวอย่างระมัดระวัง เช่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมากหรือไปในที่สาธารณะ และการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ยังมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตได้ สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะได้รับการเสริมภูมิคุ้มกัน เนื่องจากหากได้รับเชื้อ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง และเสี่ยงต่อการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบัน นอกจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วยังมี LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้โดยออกฤทธิ์ใน 6 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเอง ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะใช้เวลาในสร้างภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ สำหรับการฉีดวัคซีนทั่วไป ดังนั้น LAAB จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มาก่อน แนะนำให้เว้น 2 สัปดาห์ แล้วจึงฉีด LAAB[2] ผู้ที่เคยได้รับ LAAB  มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน แนะนำให้ฉีด LAAB เข็มที่ 2[3] ผู้ที่เคยได้รับ LAAB เข็มที่ 2 มาแล้ว แนะนำให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือน แล้วจึงกลับมารับ LAAB ซ้ำ[4] […]

“เป็ป – ณพสิทธิ์” แชร์ประสบการณ์สุดวิกฤติ หัวใจวายเฉียบพลัน

ที่ผ่านมา คุณเป็ป – ณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม นักแสดง เจ้าของธุรกิจสร้างภาพยนตร์และละคร บริษัท ณวลาร์ท นิมิต ก็เหมือนหลายคนที่คิดว่าใส่ใจดูแลสุขภาพพอสมควร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงไม่คาดคิดว่าจะประสบกับเหตุการณ์เฉียดตายแบบนี้ “เป็ป – ณพสิทธิ์” แชร์ประสบการณ์สุดวิกฤติ หัวใจวายเฉียบพลัน ภัยเงียบในหัวใจ “ผมเป็นนักกีฬาตั้งแต่สมัยเรียน ทั้งเล่นฟุตบอล รักบี้ เทนนิส แบดมินตัน พอโตมาก็ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกันก็มีความสุขกับการรับประทานของอร่อย โดยเฉพาะของหวาน เค้ก 3-4 ชิ้น ถือเป็นเรื่องธรรมดาโดยไม่กลัวอ้วน ผมใช้วิธีออกกำลังกายตามเมนูอาหารในวันนั้น (หัวเราะ) เช่น ถ้ามื้อเย็นไปร้านอาหารจีน ซึ่งผมชอบเป็ดปักกิ่งกับหมูกรอบมาก ก็บอกตัวเองว่าแม้จะกลับบ้านดึกแค่ไหนก็ต้องวิ่งอย่างน้อย 1 ชั่วโมง “ผมใช้ชีวิตปกติแบบนั้นมาโดยไม่ได้มีสัญญาณเตือน ไม่ได้ปวดหัวหรือมีอาการบ่งชี้ที่น่ากังวลใดๆ ก่อนหน้านั้นหนึ่งวันผมอยู่ที่หัวหิน ตอนเช้าเดินออกกำลังกายจากหาดทรายหน้าบ้านไปเขาตะเกียบ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ช่วงเย็นเต้นแอโรบิกกับปิ๋ม (ปาณิสรา เที่ยงธรรม – น้องสาว) มีแค่รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว […]

เช็คอาการของ ‘มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ’ ภัยเงียบที่พบไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ถือเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แม้พบได้ไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชาย การตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบปัสสาวะเป็นเลือด มีประวัติสูบบุหรี่ กลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติสัมผัสสารกลุ่มอะโรมาติกเอมีนเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ก็จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยพบเจอโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ เช็คอาการของ ‘มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ‘ ภัยเงียบที่พบไม่บ่อยแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเรา ภายในจะถูกบุไว้ด้วยเยื่อบุที่มีความจำเพาะต่อระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ของเสียในปัสสาวะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือด โดยเยื่อบุดังกล่าวจะบุตลอดทางเดินปัสสาวะซึ่งได้แก่ กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะตามลำดับ หากมีการเกิดมะเร็งของเยื่อบุระบบทางเดินปัสสาวะก็สามารถเกิดขึ้นในอวัยวะที่กล่าวมาข้างต้น แต่มากกว่าร้อยละ 90 มักพบในเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะ หรือเรียกว่า มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ข้อมูลล่าสุดจากการรวบรวมของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (Cancer in Thailand Vol.10 2016-2018) พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 2,497 คน เฉลี่ยวันละ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2 ของมะเร็งทั้งหมด โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 3 ถึง 4 เท่า แต่ที่น่ากังวลคือเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงเกือบร้อยละ 20 ซึ่งการตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ โดยอาการเริ่มแรกที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะคือ อาการปัสสาวะเป็นเลือด โดยเฉพาะในรายที่ไม่พบอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วยจะพบว่ามีความเสี่ยงในการพบมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้น หากมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลามอาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง […]

วิธีกินแบบ ‘Rainbow Diet’ เทรนด์สุขภาพยอดนิยมในสายฝอ ช่วยดูแลรูปร่างโดยไม่ต้องอดอาหาร

Rainbow Diet เป็นเทรนด์สุขภาพที่ต้องการให้กินผักและผลไม้หลากสีสัน ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว และสีม่วง โดยหลักการกินแบบ Rainbow Diet กินผักและผลไม้ 5 สีอย่างละ 1 ต่อหน่วยบริโภคทุกวันด้วย (แบ่งเป็นผักและผลไม้หลากสี 80% ธัญพืช 20%) ปกติหลายคนมักลดน้ำหนักด้วยวิธีผิดๆ อย่างการอดอาหารหรือกินให้น้อนที่สุด และแทนที่จะห้ามกินคาร์โบไฮเดรต กลูเตน ไขมัน หรือเนื้อสัตว์ แต่การกินแบบ Rainbow Diet เพียงแค่ต้องเพิ่มผักและผลไม้ที่มีสีสันในมื้ออาหารเป็นประจำ วิธีกินอาหารแบบ Rainbow Diet เพียงแค่เติมอาหารจากพืชหลากสีเพิ่มมากขึ้นในทุกมื้อ ผักและผลไม้สดและแช่แข็งเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งด้านล่างนี้จะมีแผนภูมิอาหารสีรุ้งสำหรับแต่ละสี แบ่งตามประเภท: ผัก/ผลไม้ เริ่มจาก อาหารสีแดง อาหารสีแดงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและโมเลกุลต้านการอักเสบที่ป้องกันการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยอาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น ผักสีแดงเหล่านี้ง่ายต่อหาซื้อ คุณสามารถลองกินนอาหารเช้าแบบเรนโบว์ไดเอทที่ประกอบด้วยไข่เจียวพริกแดงและหอมแดง หรืออาหารกลางวันแบบเรนโบว์ด้วยแซนด์วิชข้าวไรย์แบบโปะหน้ากับแซลมอนรมควันและบีทรูท กะหล่ำปลีแดง มันฝรั่งแดง พริกหยวกแดง มะเขือเทศ บีทรูท หอมแดง ชิกโครีแดง (radicchio) ชาร์ดสีแดง พริกฮาลาปิโนแดง ผลไม้สีแดงมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพียงเพิ่มผลเบอร์รี่ในแผนมื้ออาหารสายรุ้งหรือเติมโจ๊กตอนเช้าด้วยเมล็ดทับทิมเพื่อเพิ่มพลัง แอปเปิ้ล ส้มสีเลือด เชอร์รี่ […]

พบน้อยแต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น! ปัจจัยเสี่ยง ‘มะเร็งผิวหนัง’ มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันและรักษา

‘มะเร็งผิวหนัง’ เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรัง เมื่อเกิดการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ รวมทั้งแสงแดดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยง ‘มะเร็งผิวหนัง’ มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันและรักษา มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็กๆ แล้วจึงค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด, มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง, โรคทางพันธุกรรมบางโรค, คนผิวขาว หรือ […]

6 ความเสี่ยง ‘มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่’ ที่พบมากอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด

เนื่องในวันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันมะเร็งรังไข่สากล” World Ovarian Cancer Day เพื่อร่วมรณรงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นเสมือนเกราะป้องกันภัย และวิธีป้องกันดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ โดยแพทย์หญิงศันสนีย์ อังสถาพร สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยานรีเวช ได้อธิบายเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ที่เกิดจากเยื่อบุผิว ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคุณผู้หญิงทุกคน จากข้อมูลของ WHO ในปี 2020 พบว่าในประเทศไทย มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด และโดยทั่วไปโอกาสการเกิด มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ ตลอดชีพ อยู่ที่ประมาณ 1% ซึ่งพบบ่อยในช่วงอายุ 55-65 ปี 6 ความเสี่ยง ‘มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่‘ ที่พบมากอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด มะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ เกิดจากเซลล์ของรังไข่ที่เป็นมะเร็งเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งชนิดเยื่อบุผิวรังไข่ ได้แก่ 1. ไม่มีบุตร 2. เริ่มมีประจำเดือนมาเร็ว หรือประจำเดือนหมดช้า 3. มีน้ำหนักตัวมาก 4. ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอกโดยไม่ได้รับโปรเจสเตอโรน 5. […]

ทำไม ‘ไซยาไนด์’ อันตรายถึงชีวิต พร้อมวิธีการรับมือหากเผลอสัมผัส

หลายคนคงเห็นข่าวหญิงสาวรายหนึ่งที่มีพฤติกรรมเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ในคดีวางยาไซยาไนด์จนทำให้เหยื่อหลายรายเสียชีวิต เลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารอันตรายชนิดนี้ที่มีชื่อว่า ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำไม ‘ไซยาไนด์’ อันตรายถึงชีวิต พร้อมวิธีการรับมือหากเผลอสัมผัส ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอนไนโตรเจน (CN) มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร Cyanide สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบในพืชบางชนิด อย่างอัลมอนด์ แอปเปิ้ล และยังเกิดได้จากกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์  อย่างไรก็ตาม Cyanide ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่พบในพืชและกระบวนการเผาผลาญนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต Cyanide ในรูปแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตสารเคมีอันตรายชนิดนี้มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปแบบของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยแต่ละชนิดมีแหล่งที่มาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนี้ Sodium cyanide (NaCN) เป็นของแข็งสีขาว อาจอยู่ในรูปแบบผลึก แท่ง หรือผง พบได้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใช้ในการเคลือบเงาหรือเคลือบสีเหล็ก และเป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลง สามารถเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัสบริเวณปากแผล การสูดดม หากรับประทานอาจเป็นพิษถึงตายได้ Potassium cyanide (KCN) มีลักษณะเป็นก้อนผลึก หรือผงสีขาว เมื่อเป็นของเหลวจะใสไม่มีสี กลิ่นคล้ายแอลมอนด์ มักนำมาใช้ในการสกัดแร่ […]

‘ไอยู’ อัพเดตอาการเสียงดังในหู ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ’ กับสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ไอยู เปิดเผยว่าเธอมีปัญหากับการได้ยิน และกำลังรักษา ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ’ อาการเสียงดังในหู  ซึ่งตอนนั้นเธอกำลังต่อสู้กับโรคนี้ในระหว่างเตรียมการแสดงคอนเสิร์ต The Golden Hour เมื่อปีที่แล้ว โดยเธอเผยว่า “หูของฉันมีปัญหาเล็กน้อย ดังนั้น ฉันจึงประหม่ามากในขณะที่เตรียมตัวสำหรับคอนเสิร์ตนี้” ‘ไอยู’ อัพเดตอาการเสียงดังในหู ‘โรคท่อยูสเตเชียนผิดปกติ‘ กับสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของ Hopkins Medicine ความผิดปกตินี้ทำให้คนได้ยินเสียงตัวเองดังเกินไป และอาการของไอยูที่เป็นคือ “ช่วงนี้หูของฉันไม่ดีนิดหน่อย หูของฉันเหมือนเปิดวาล์วเอง ดังนั้นการได้ยินของฉันจึงคล้ายกับที่คุณได้ยินเมื่อกำลังหาว เมื่อฉันได้ยินตัวเองร้องเพลง เสียงมันจะดังเกินไป และดังขึ้นเรื่อยๆ” ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (Eustachian tube dysfunction ; ETD) คือ การที่ภายในหูชั้นกลางเกิดการอุดกั้นเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้ความดันอากาศที่ผ่านเข้าภายในหูเวลาบดเคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร หรือหาว เพิ่มระดับขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียง และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น เช่น หูอื้อ ปวดหู เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการได้ยินของเธอในตอนนี้ ไอยูตอบกลับพร้อมข่าวดี “มันดีขึ้นมากแล้ว พูดตามตรง ตอนนั้นอาการดีขึ้น (ปีที่แล้ว) แต่เนื่องจากเป็นเดือนกันยายน ฉันจึงสวมเสื้อคาร์ดิแกน และเนื่องจากคลื่นความร้อนที่ไม่คาดคิด […]

12 วิธีคุย ‘เรื่องการเมืองในครอบครัว’ อย่างไรไม่ให้เกิดความขุ่นมัวหรือทะเลาะกัน

บางครั้งเรื่องการเมืองก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับบางบ้านที่มีทัศนคติทางการเมืองไม่ตรงกัน แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและจะคุย เรื่องการเมืองในครอบครัว อย่างไรให้ไม่บาดหมางใจกัน ลองอ่าน #คุยกันได้โดยไม่ต้องทะเลาะกันเพราะการเมือง จาก หมอมิน-พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เจ้าของเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา  โดยคุณหมอเล่าว่ามีคุณแม่ของลูกวัยรุ่นท่านหนึ่งส่งข้อความมาหา ช่วงนี้หมอพบว่ามีหลายๆ ครอบครัวที่มีความเห็นต่างเรื่องการเมือง เพื่อนจิตแพทย์ของหมอก็เล่าว่า มีเคสที่ลูกเป็นคนมาปรึกษาเพราะว่าทะเลาะกับแม่เช่นกัน ความขัดแย้งที่พบเห็นนี้ จึงอยากเขียนบทความที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีขึ้นในการอยู่ร่วมกันสักหน่อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายบ้าน ในยุคการเมืองร้อนแรง จริงๆ ไม่ใช่แค่ในบ้าน อาจจะในโรงเรียน ที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน ในสังคมย่อยๆ ที่เราอยู่ หมอขอตอบในกรณีของคุณแม่ท่านนี้ เผื่อหลายคนจะได้นำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ได้ด้วย 1. ตั้งสติ ไม่โกรธตอบลูก เมื่อเขาแสดงอารมณ์แรงๆ เช่นนั้นกับคุณแม่ ยิ่งโกรธและตอบโต้กันจะคุยกันไม่รู้เรื่อง 2. พึงเข้าใจว่า คุณแม่และเขาต่างได้รับข้อมูลหลากหลาย มีประสบการณ์แตกต่างกัน โดยเฉพาะยุคนี้ที่มีโซเชียลมีเดีย การเข้าถึงข้อมูลทำให้ลูกได้รับข้อมูลมากมาย ลองฟังเขาดูสักหน่อย 3. เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ฟังเขาก่อน อย่าเพิ่งรีบไปอธิบาย การที่เรายอมรับฟังเขาก่อน เขาจะรู้สึกว่าเราก็ดูใส่ใจสิ่งที่เขาคิดและรู้สึก ช่วยให้อารมณ์แรงของเขาบรรเทาเบาบางลง 4. ถ้าฟังที่เขาพูดแล้วเกิดอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ กังวล […]

เช็กอาการ โควิด XBB.1.16 ต่างจากสายพันธุ์เดิมอย่างไร

อย่าลืมว่า โควิด ยังคงอยู่รอบตัวเรา ไม่หายจากไปไหน ล่าสุดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ที่คาดกันว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโลกในช่วงต่อจากนี้ เนื่องจากแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งในประเทศไทยก็พบผู้ป่วยโควิด XBB.1.16 แล้วจำนวน 6 ราย โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือมีชื่อเรียกว่า อาร์คทูรัส (Arcturus) เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.2 ที่เป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75 โดยสายพันธุ์ XBB.1.16 พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมกราคม 2566 ก่อนจะเริ่มระบาด ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้โควิด  XBB.1.16 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม (Variant Under Monitoring) และในปัจจุบันโควิด XBB.1.16 แพร่กระจายไปมากกว่า 20 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยที่เริ่มพบผู้ป่วยบ้างแล้ว โดยอาการที่พบได้ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกับโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ มีไข้ขึ้นสูงปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ คัดจมูก […]

หุ่นล่ำ กล้ามแน่น แซ่บตัวพ่อ ‘เรน’ แชร์สตอรี่ผลตรวจสุขภาพที่ระบุว่าเขาอยู่ในภาวะ ‘อ้วนก่อนวัย’

หากมีสิ่งหนึ่งที่ เรน (Rain) เป็นที่รู้จักนอกเหนือจากการเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีพรสวรรค์ นั่นก็คือเขามีร่อง 11 กล้ามหน้าเนื้อท้องคมชัดและกระชับ เรียกได้ว่า หุ่นเทพเลยทีเดียว ซึ่งในวัย 40 ปี และเป็นคุณพ่อลูกสอง ถือว่าเขาเป็นผู้ชายที่มีหุ่นที่หลายคนปรารถนา และนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาและแฟนๆ ของเขาตกใจ เมื่อเขาโพสต์สตอรี่บนอินสตาแกรม โดยเปิดเผยผลการตรวจทางการแพทย์ที่ระบุว่าเขาถูกจัดอยู่ในภาวะ “อ้วนก่อนวัย ” หุ่นล่ำ กล้ามแน่น แซ่บตัวพ่อ ‘เรน’ แชร์สตอรี่ผลตรวจสุขภาพที่ระบุว่าเขาอยู่ในภาวะ ‘อ้วนก่อนวัย’ “แต่…ฉันออกกำลังกาย…เยอะอยู่นะ… ฉันเป็นคนอ้วนก่อนวัยอันได้อย่างไร… WTF… WDYM ฉันต้องออกกำลังกายให้มากขึ้นอย่างสม่ำเสมอ… ตอนนี้ฉันควรจะฝึกอย่างมืออาชีพแล้วหรือยัง? ฉันออกกำลังกายวันละสองครั้ง แน่ใจนะว่าเครื่องไม่พัง… LOLOLOL“ But… I work out… so much… How am I pre-obese… WTF… WDYM I have to work out more regularly… Am I supposed to […]

ป้องกันดีกว่ารักษา ‘มะเร็งช่องปาก’ ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

เนื่องในเดือนเมษายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ ‘มะเร็งช่องปาก’ มะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต สามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล ‘มะเร็งช่องปาก’ ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในคนไทย โดยเฉพาะในเพศชาย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ของโรคมะเร็งในผู้ชายไทย ในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งช่องปากรายใหม่เฉลี่ย 3,840 คนต่อปี หรือวันละ 11 คน โดยตำแหน่งในช่องปากที่พบเป็นมะเร็งบ่อยที่สุดคือ ลิ้น รองลงมาคือบริเวณใต้ลิ้นและบริเวณเหงือก อาการของโรคมะเร็งช่องปากมีได้หลายอาการขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น ได้แก่ เป็นแผลเรื้อรังในช่องปากซึ่งไม่หายภายใน 2-3 สัปดาห์, เป็นก้อนนูนหรือฝ้าขาวหรือแดงในช่องปาก, ฟันหลุด ฟันโยก, ปวดใน ช่องปากหรือปวดหู, เคี้ยวหรือกลืนลำบาก และก้อนที่คอ สาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งช่องปากที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น, […]

อาการที่พบได้บ่อยของ ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน’ ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษา

อาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง เหนื่อย หายใจไม่ทัน ปวดร้าวกราม จุกบริเวณคอหอย สะบักหลัง แขนซ้าย บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ให้รีบมาพบแพทย์ เสี่ยงเสียชีวิตด้วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาการที่พบได้บ่อยของ ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน‘ ภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบรักษา โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยและทั่วโลก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการอุดตันเฉียบพลันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอันตรายรุนแรง ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ทำให้ผู้ป่วยหมดสติกระทันและเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ถ้ามีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งขณะทำงาน เล่นกีฬา หรือขณะพักผ่อน สาเหตุเนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือบริเวณที่มีคราบไขมันเกิดการปริของผนังหลอดเลือดทำให้มีลิ่มเลือดมาเกาะที่ผนังหลอดเลือดและก่อตัวเป็นลิ่มเลือดจนเกิดการอุดตันส่งผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและสัญญานเตือนของโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดร้าวไปกราม คอ สะบักหลัง แขนซ้าย เหนื่อยหายใจไม่ทัน บางรายอาจมีอาการจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอดูอาการที่บ้าน เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจากข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาเข้ารับการรักษาล่าช้า ทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่นหัวใจล้มเหลวตามมา โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบได้บ่อยในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปโดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ การวินิจฉัยของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์จะซักประวัติ อาการ และทำตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด หากพบว่ามีอาการเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิด ST elevation […]

keyboard_arrow_up