ในหลวง – พระราชินี เสด็จฯร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 

ก่อนจะถึง พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ในช่วงเย็นวันนี้ (6 พฤษภาคม 2566) ตามเวลาประเทศไทย แพรว ขอพาไปชมอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญ นั่นคือการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีแห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินถึงท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเตด กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมีนายธานี  ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน นายไซมอน ไบรท์ ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ  ในหลวง – พระราชินี เสด็จฯร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3  และเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงานพระราชทานเลี้ยงรับรองพระประมุข ประมุข และผู้แทนของประเทศต่างๆ เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 3 […]

ผ่านมานานกว่าทศวรรษแล้ว ทำไมยังตราตรึงใจ ย้อนซูมลุคเจ้าสาวของ “เจ้าหญิงแห่งเวลล์”

ถึงกับต้องขยี้ตามองกันหลายรอบเลยทีเดียว สำหรับลุคเจ้าสาวของ “แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์” ที่ผ่านมานานกว่าทศวรรษแล้ว ตั้งแต่พิธีเสกสมรส เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2011 แต่ยังงดงามตราตรึงใจจนถึงทุกวันนี้ แถมยังขึ้นแท่นลุคเจ้าสาวไอคอนิก ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับเจ้าสาวทุกยุคทุกสมัย แพรว จึงขอพาย้อนเวลากลับไปซูมทุกดีเทลในลุคเจ้าสาวของเจ้าหญิงแห่งเวลล์ เพื่อเป็นไอเดียให้กับว่าที่เจ้าสาวทั้งหลายกันค่ะ ผ่านมานานกว่าทศวรรษแล้ว ทำไมยังตราตรึงใจ ย้อนซูมลุคเจ้าสาวของ “เจ้าหญิงแห่งเวลล์” เริ่มกันที่ “ชุดเจ้าสาว” ซึ่งกลายต้นฉบับให้กับเหล่าเจ้าสาวแบบฟีเวอร์ โดยชุดเจ้าสาวของเจ้าหญิงแห่งเวลล์เป็นดีไซน์ที่ไม่หวือหวา แต่สวยคลาสสิกสุดๆ โดดเด่นด้วยดีไซน์คอวี แขนยาว การคอดช่วงเอวแล้วค่อยๆ ขยายออกช่วงสะโพก ซึ่งเป็นลักษณะชุดในสมัย Victorian และชายกระโปรงลากยาวตามตำรับเจ้าหญิง บวกกับความหรูหราของผ้าลูกไม้ลวดลายสุดประณีต ซึ่งปักเย็บอย่างพิถีพิถันไว้บนผ้าไหมซาตินสีงาช้าง โดยชุดนี้ออกแบบโดย Sarah Burton จากแบรนด์ Alexander McQueen มีมูลค่ากว่า 250,000 ปอนด์ หรือมากกว่า 10 ล้านบาท ส่วน “เวล” หรือผ้าคลุมหน้าเจ้าสาวของเจ้าหญิงแห่งเวลล์ เป็นดีไซน์เรียบๆ แต่ตัดเย็บจากผ้าเนื้อดี และปักลูกไม้ที่ชายผ้าอย่างประณีต สำหรับ “เทียร่า” […]

เจ้าชายวิลเลียม พร้อมโต้กลับ หากเจ้าชายแฮร์รี่-เมแกนทำราชวงศ์แปดเปื้อนอีกครั้ง

สื่อต่างประเทศโดยเว็บไซต์ express.co.uk ได้ออกมารายงานว่า เจ้าชายวิลเลียม พร้อมโต้กลับ หากเจ้าชายแฮร์รี่-เมแกน มาร์เคิล ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ทำราชวงศ์แปดเปื้อนอีกครั้ง หลัง Netflix ปล่อยตัวอย่างสารคดี Harry and Meghan ซึ่งสร้างความกังวลให้กับราชวงศ์อังกฤษ เจ้าชายวิลเลียม พร้อมโต้กลับ หากเจ้าชายแฮร์รี่-เมแกนทำราชวงศ์แปดเปื้อนอีกครั้ง เรียกได้ว่าเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์ไปในวงกว้างหลัง Netflix ได้มีการเผยแพร่ตัวอย่างสารคดี Harry and Meghan ในวันที่ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ เสด็จไปยังบอสตัน สหรัฐฯ ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการบดบังความสำคัญของทั้งสองพระองค์ ทั้งนี้สื่อต่างๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านราชวงศ์มองว่า แฮร์รี่ และ เมแกนตั้งใจประกาศสงครามกับราชวงศ์อีกครั้ง ทั้งนี้ แหล่งข่าวใกล้ชิดเผยว่า เจ้าชายวิลเลียมทรงไม่พอพระทัยเป็นอย่างมาก และมีคำสั่งให้ผู้ช่วยอาวุโสตั้งใจดูซีรีส์ทั้ง 6 ตอน หากมีจุดไหนที่กล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง หรือ ใส่ร้ายราชวงศ์อีกครั้ง พระองค์จะทรงเดินหน้าสู้อย่างเต็มที่ ไม่เพียงการปล่อยตัวอย่างสารคดีของ แฮร์รี่และเมแกน จะกลบความสำคัญของ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าหญิงเคทแล้วก่อนหน้านี้ทั้งสองพระองค์ โดยเฉพาะเจ้าชายวิลเลียมได้เผชิญกับกรณีการเหยียดสีผิวของ เลดี้ซูซาน […]

เจ้าชายแฮร์รี่-เมแกน ถูกประณามมีพฤติกรรม “หน้าไหว้หลังหลอก”

ถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่องสำหรับ เจ้าชายแฮร์รี่-เมแกน มาร์เคิล ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ ซึ่งล่าสุดผู้เชี่ยวชาญราชวงศ์อังกฤษได้ออกมาประณามว่าทั้งสองพระองค์ชอบทำนิสัย “หน้าไหว้หลังหลอก” เจ้าชายแฮร์รี่-เมแกน ถูกประณามมีพฤติกรรม “หน้าไหว้หลังหลอก” ผู้เชี่ยวชาญราชวงศ์อังกฤษ “ฮิลารี ฟอร์วิช” กล่าวกับ Fox News ว่า แม้ แฮร์รี่ และ เมแกนจะถอยจากการเป็นราชวงศ์ชั้นสูงตั้งแต่ปี 2020 แต่ดูเหมือนว่าทั้งสองพระองค์ยังคงต้องการสิทธิพิเศษทั้งหมด ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ต้องการกินเค้ก (ผลประโยชน์) และพวกเขากินมันด้วย ฮิลารี กล่าวต่อไปว่า “พวกเขาต้องการความความคุ้มครองจากราชวงศ์อังกฤษ รวมถึงอยากมีส่วนร่วมในงานต่างๆ เพื่อนำความลับไปเปิดเผย ในขณะเดียวกัน ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ ก็ต้องการความเป็นส่วนตัว แต่กลับจ้างบริษัทพีอาร์ถึง 3 แห่ง? เจ้าชายแฮร์รี่ต้องการสวมเครื่องแบบทหารในพระราชพิธีพระบรมศพ พระอัยยิกาผู้เป็นที่รักของพระองค์ แต่ไม่อยากทำงานให้กับราชวงศ์ อย่างไรก็ตาม เจาชายแฮร์รี่ได้รับอนุญาตให้สมเครื่องแบบของกองพันทหารม้า และ เป็นหนึ่งในพระราชปนัดดาที่ได้เข้าร่วมพิธียืนเฝ้าพระบรมศพพระอัยยิกา ขณะที่ แชนนอน เฟลตัน สเปนซ์ ผู้เชี่ยวชาญราชวงศ์อีกคน ได้ออกมาพูดถึงพฤติกรรมของ เจ้าชายแฮร์รี่ และ เมแกน ว่า “ทั้งคู่คล้ายกับคนลาออกจากงาน แต่ยังคาดหวังให้บริษัทยังคงจ่ายเงินเพื่อผลประโยชน์ […]

เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ทรงใส่สร้อยมุกของควีนเอลิซาเบธที่ 2 สง่างาม ถูกกาลเทศะ สื่อความหมาย

เรียกว่าทรงสง่างามแบบเสมอต้นเสมอปลายจริงๆ สำหรับ แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ที่ทรงแต่งกายอย่างงดงามและเหมาะสมในการเข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่จัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันนี้ (19 กันยายน 2565) โดย แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ทรงปรากฏพระองค์พร้อมกับสีพระพักตร์นิ่งเรียบ แต่ยังคงไว้ซึ่งความสง่างามด้วยฉลองพระองค์เดรสสีดำดีไซน์เรียบง่าย พร้อมทรงสวมใส่พระมาลาที่มีตาข่ายคลุมพระพักตร์ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ทรงใส่สร้อยมุกของควีนเอลิซาเบธที่ 2 สง่างาม ถูกกาลเทศะ สื่อความหมาย ส่วนอีกหนึ่งจุดโฟกัสที่หลายคนพูดถึงเป็นอย่างมากคือ “สร้อยพระศอมุก” ที่เจ้าหญิงแห่งเวลล์ทรงสวมใส่ ซึ่งเป็นเครื่องประดับในคอลเล็คชั่นของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่มีประวัติความเป็นมาพิเศษ คือเป็นของขวัญที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้ และผลิตโดยแบรนด์ Garrard ซึ่งเป็นแบรนด์จิวเวลรี่เก่าแก่ของอังกฤษที่ผลิตมงกุฎให้กับราชวงศ์อังกฤษมาอย่างยาวนาน โดย แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ทรงสวมใส่สร้อยมุกเส้นนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ครั้งแรกคือเมื่อปี 2560 ในพระราชพิธีฉลองครบรอบการอภิเษกสมรส 70 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ครั้งต่อมาคือเมื่อปี 2564 ในพระราชพิธีฝังพระศพของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ […]

สมพระเกียรติ กษัตริย์และเหล่าผู้นำประเทศ น้อมส่งเสด็จควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในพระราชพิธีพระบรมศพ

การเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระประมุขแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งครองราชย์ยาวนานกว่า 70 ปี ในพระชนมายุ 96 พรรษา ได้สร้างความเศร้าโศกเสียใจไปทั่วโลก ทำให้พระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ในวันนี้ (19 กันยายน 2565) ที่จัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กลายเป็นหมุดหมายแห่งความอาลัยที่กษัตริย์ พระราชินี พระราชวงศ์ ผู้นำประเทศ และตัวแทนจากประเทศต่างๆ เดินทางมารวมตัวกันราว 500 คน จาก 200 ประเทศทั่วโลก เพื่อถวายความอาลัยอย่างสมพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่ง แพรว ได้รวบรวมภาพพระประมุขและประมุขของประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เอาไว้ตรงนี้แล้ว สมพระเกียรติ กษัตริย์และเหล่าผู้นำประเทศ น้อมส่งเสด็จ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในพระราชพิธีพระบรมศพ ภาพ : dailymail.co.uk และ express.co.uk

พวงมาลาและการ์ด สัญลักษณ์แห่งความรัก จากลูกชายถึงแม่ ‘ควีนเอลิซาเบธที่ 2’

ในความโศกเศร้ากับการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งวันที่ 19 กันยายน 2022 ได้มีการประกอบพระราชพิธีพระบรมศพอย่างยิ่งใหญ่และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกนั้น พระราชพิธีสำคัญของอดีตกษัตริย์พระองค์นี้ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่มีความหมายสุดลึกซึ้ง และนั่นก็ไม่ใช่สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจบารมีใดๆ แต่คือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก เพื่อเป็นการถวายความอาลัยต่อพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย นั่นก็คือ พวงมาลา และการ์ดที่วางไว้บนหีบพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก่อนหน้านี้หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ทรงโปรดที่จะเสด็จพักร้อนที่ปราสาทบัลมอรัล และพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในที่แห่งนี้ จึงได้มีการนำดอกไม้จากสวนในพื้นที่รอบๆ ปราสาทบัลมอรัลมาใช้ในการทำพวงมาลา เพื่อวางบนหีบพระบรมศพตั้งแต่อยู่ที่สกอตแลนด์จนกระทั่งอัญเชิญมายังเวสต์มินส์เตอร์ ฮออล์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พวงมาลาและการ์ด สัญลักษณ์แห่งความรัก จากลูกชายถึงแม่ ‘ควีนเอลิซาเบธที่ 2’ ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนพวงมาลาอีกครั้ง สำหรับวางบนหีบพระบรมศพฯ ซึ่งในวันนี้ที่มีการประกอบพระราชพิธีฯ จะเห็นได้ว่าเป็นพวงมาลาที่ประกอบด้วยดอกไม้หลากสีสัน ซึ่งตามรายงานของสำนักพระราชวังได้มีการระบุว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ที่ต้องการให้ออกแบบพวงมาลาที่สวยงามและมีความคงทน ที่สำคัญคือยังเปี่ยมไปด้วยความหมายอันลึกซึ้งอีกด้วย สำหรับพวงมาลาที่ใช้วางบนหีบพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในวันที่ 19 กันยายน 2022 นั้น เป็นพวงมาลาดอกไม้ที่นำมาจากสวนในพระราชวังบักกิงแฮม, Clarence House และ Highgrove House โดยได้เลือกไม้ใบมาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สื่อความหมายถึงความแข็งแกร่งทนทานและสะท้อนถึงความรักของอดีตกษัตริย์แห่งอังกฤษ ประกอบด้วย […]

เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ควีนเอลิซาเบธที่ 2

พระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในวันนี้ (19 กันยายน 2565) ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถือเป็นพระราชพิธีสำคัญที่ทั่วโลกจับตามอง และที่สำคัญคือมีกษัตริย์ พระราชินี พระราชวงศ์ ผู้นำประเทศ และตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมมากมาย เพื่อถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นครั้งสุดท้าย โดยประเทศไทยนั้น ผู้เข้าร่วมในพระราชพิธีนี้คือ นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน และภริยา ที่ได้เข้าร่วมถวายสักการะพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวานนี้ (18 กันยายน 2565) และได้เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในวันนี้ ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ภาพ : bbc.com

เจ้าชายจอร์จ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ เสด็จร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ Gan Gan ผู้เป็นที่รัก

นับตั้งแต่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักสวรรคต เหล่าสมาชิกราชวงศ์พระองค์น้อยอย่าง เจ้าชายจอร์จ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ เจ้าชายหลุยส์ ก็ยังไม่ปรากฎพระองค์ในที่สาธารณะ เจ้าชายจอร์จ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ เสด็จร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ Gan Gan ผู้เป็นที่รัก อย่างไรก็ตาม การที่ไม่ให้เด็กๆ ปรากฎตัวในสื่อนั้นเป็นความตั้งใจของ เจ้าชาย และ เจ้าหญิงแห่งเวลล์ ที่จะให้พระโอรส และ พระธิดา ยังดำเนินชีวิตตามวัยปกติของเด็กๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และ ยังเป็นการปกป้องความเป็นส่วนตัวในช่วงเวลาที่เจ็บปวด และแสนเศร้าของครอบครัว ทั้งนี้เจ้าชายจอร์จ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ เจ้าชายหลุยส์ ยังคงเสด็จไปเรียนหนังสือตามปกติ โดยเจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าหญิงเคท ทรงต้องการให้แน่ใจว่าลูกๆ ของพระองค์รู้สึก “เป็นปกติที่สุด” แต่สำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2022 ณ พระราชวังบั๊คกิ้งแฮม กรุงลอนดอน เจ้าชายจอร์จ และ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์จะทรงเสด็จร่วมพระราชพิธีในวันนี้ด้วย ทั้งสองพระองค์จะทรงเดินร่วมขบวนพร้อมกับ สมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่นๆ […]

ต่อต้านระบอบกษัตริย์ไม่ผิดกฎ ความท้าทายหลังครองราชย์ คิงชาร์ลส์ที่ 3 แห่งอังกฤษ

การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของราชวงศ์ แม้ว่าที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์จะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเรื่องของการเรียกร้องจากประเทศในเครือจักรภพที่ต้องการแยกออกมาปกครองตนเอง รวมไปถึงชาวอังกฤษบางกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ระบอบสาธารณรัฐแทนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แน่นอนว่าเมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชิชีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กระแสการต่อต้านสถาบันกษัตริย์ในอังกฤษก็ไม่ได้จางหายไปไหน ล่าสุดก็เริ่มมีการแสดงออกกันมากขึ้น ทั้งการเขียนป้ายชูขึ้นหน้าพระราชวังเวสต์มินส์เตอร์ หรือแม้กระทั่งในวันที่อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จากพระราชวัง Holyroodhouse ไปยังมหาวิหารเซนต์ไจลส์ ก็เกิดเหตุโกลาหลมีชายคนหนึ่งตะโกนต่อว่าเจ้าชายแอนดรูว์ ขณะร่วมขบวนพระบรมศพฯ ต่อต้านระบอบกษัตริย์ไม่ผิดกฎ ความท้าทายหลังครองราชย์ คิงชาร์ลส์ที่ 3 แห่งอังกฤษ นอกจากนี้กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Extinction Rebellion ก็ยังคงเดินหน้าประท้วงอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งหมดยังคงเป็นไปตามสิทธิเสรีภาพของการแสดงออกที่อยู่ภายใต้กฎหมาย สถาบันกษัตริย์อังกฤษจึงทำได้เพียงการวางเฉย ในทางตรงข้ามบทบาทของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อาจจะยิ่งต้องเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชนชาวอังกฤษ และยินดีจะปรับตัวเข้าหาประชาชนให้มากขึ้นด้วย อย่างเมื่อปีที่แล้วในช่วงพระราชพิธีพระศพของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ก็เคยมีข่าวออกมาว่า วันใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ พระองค์จะลดขนาดสถาบันกษัตริย์ให้เล็กลง เพื่อให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อประหยัดงบ ลดค่าใช้จ่าย โดยคาดว่าสมาชิกราชวงศ์ที่จะยังคงมีบทบาทในสถานะเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และยังต้องทำงานต่างๆ ให้กับราชวงศ์อังกฤษจะเหลือเพียง 7 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3,คามิลลา พระราชินีมเหสี,เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์,แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระวรชายา,เจ้าชายจอร์จ,เจ้าหญิงชาร์ลอตต์และเจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ ในส่วนของ […]

เรียบง่าย ความหมายลึกซึ้ง พวงหรีดบนหีบพระบรมศพประดับดอกไม้จากบัลมอรัล

หลังจากในช่วงสายที่ผ่านมาตามเวลาของประเทศอังกฤษได้มีการอัญเชิญหีบพระบรมศพควีนเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งประทับอยู่ในปราสาทบัลมอรัลไปยังกรุงเอดินบะระ เพื่อประดิษฐาน ณ พระราชวังHolyroodhouse อีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ทั้งนี้ขบวนพระบรมศพของพระองค์ไม่ได้มีสิ่งใดที่ซับซ้อนมากนัก แต่กลับเปี่ยมไปด้วยความหมายสุดลึกซึ้ง ปราสาทบัลมอรัลไม่ใช่แค่ปราสาทอันหรูหราในสายตาคนทั่วไปเท่านั้น แต่สำหรับพระองค์ที่นี่คือ บ้านอีกหลังหนึ่งที่พระองค์ทรงโปรด และจะเสด็จมาพักผ่อนทุกฤดูร้อนกับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ที่นี่จึงเต็มไปด้วยความทรงจำ ความรักและความผูกพันระหว่างพระองค์กับเจ้าชายฟิลิป และบ้านหลังนี้ยังเป็นสถานที่สุดท้ายที่พระองค์สวรรคตอย่างสงบ เรียบง่าย ความหมายสุดลึกซึ้ง พวงหรีดบนหีบพระบรมศพฯ ประดับดอกไม้จากปราสาทบัลมอรัล เมื่อมีการอัญเชิญพระบรมศพฯ ออกจากปราสาทบัลมอรัล แน่นอนว่าการเดินทางครั้งสุดท้ายของพระองค์นั้นคงไม่ได้กลับมายังปราสาทแห่งนี้อีก พวงหรีดที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อถวายพระองค์ จึงมีความสำคัญ เป็นตัวแทนของความรักที่พระองค์มีต่อสถานที่แห่งนี้ สำหรับพวงหรีดที่ถูกนำไปวางบนหีบพระบรมศพของควีนเอลิซาเบธที่ 2 นั้น ประดับด้วยดอกไม้ที่ปลูกอยู่ที่ปราสาทบัลมอรัล ประกอบด้วย สน ดอกรักเร่ หรือดอกดาห์เลีย ซึ่งเป็นดอกไม้ทรงโปรดของพระองค์ และเป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันมั่นคงตลอดชีวิตของพระองค์และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ นอกจากนี้ยังมี ดอกจากต้นถั่วลันเตา ซึ่งหมายถึงการจากลา ส่วนดอกฟลอกซ์นั้นเป็นดอกไม้ประจำเดือนประสูติของพระองค์ และดอกเฮเธอร์สีขาวเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องและความโชคดี อ่านเรื่องราวอื่นๆ ต่อที่นี่

คิงชาร์ลส์ที่ 3 สั่งห้ามแฮร์รี่ ก่อนมาที่บัลมอรัล “เมแกนไม่มีสิทธิ์พบควีนก่อนสวรรคต”

กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ตอนนี้สื่ออังกฤษตีข่าวแทบทุกสำนัก หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา สื่อจอมปั่นอย่าง The Sun เล่าว่าหลังจากที่เจ้าชายแฮร์รี่ ได้รับโทรศัพท์ปลายทางจากสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ซึ่งขณะนั้นพระองค์กำลังเข้าเฝ้าควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระองค์อย่างมาก โดยพระองค์ทรงตรัสกับเจ้าชายแฮร์รี่ว่าไม่ควรพาภรรยาของเขามาที่ปราสาทบัลมอรัลด้วย เพราะควรจะจำกัดเพียงแค่สมาชิกราชวงศ์ที่สนิทเท่านั้น ทั้งนี้แม้กระทั่ง แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ก็ไม่ได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินินาถฯ เช่นกัน แต่สื่ออังกฤษกลับตั้งข้อสังเกตว่า การที่แคทเธอรีน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ไม่ได้ไปที่ปราสาทบัลมอรัล ก็เพราะต้องดูแลพระโอรสและพระธิดา ซึ่งเพิ่งจะเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่ไม่กี่วัน ส่วนเมแกนนั้นเป็นการถูกสั่งห้าม ซึ่งเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อาจจะทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่าเมแกนจะไม่ได้รับการต้อนรับในฐานะสมาชิกราชวงศ์อีกต่อไป คิงชาร์ลส์ที่ 3 สั่งห้ามแฮร์รี่ ก่อนมาที่บัลมอรัล “เมแกนไม่มีสิทธิ์พบควีนก่อนสวรรคต” ในส่วนของเจ้าชายแฮร์รี่ที่เดินทางมายังปราสาทบัลมอรัลก็ค่อนข้างจะโดดเดี่ยว เพราะมีข่าวว่าพระองค์นั้นถูกปฏิเสธไม่ให้โดยสารเครื่องบินลำเดียวกับเจ้าชายแห่งเวลส์ พระเชษฐาของพระองค์ ที่มาพร้อมกับเจ้าชายแอนดรูว์ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด และโซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ ไปยังสกอตแลนด์ พระองค์จึงตัดสินใจเดินทางเพียงลำพังแต่ก็ไม่ทันได้เข้าเฝ้าควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในวาระสุดท้าย อย่างไรก็ตามแม้จะมีข่าวดราม่านี้ออกมา แต่ในวันที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ได้ออกมาถวายความอาลัยต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ใจความตอนหนึ่งที่พระองค์ตรัสถึงเจ้าชายแฮร์รี่ ก็ยังคงเต็มไปด้วยความรักที่พระองค์มีต่อพระราชโอรสรวมถึงภรรยาของเขา แม้ว่าทั้งสองจะเลือกไปมีชีวิตใหม่ที่ต่างประเทศก็ตาม […]

ควีนคามิลล่า ราชินีมเหสีคนใหม่ ที่ยังอยู่ภายใต้เงาเจ้าหญิงไดอาน่า

หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2565 ซึ่งพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์มายาวนาน70ปี ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ารัชทายาทลำดับที่ 1 อย่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จะได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ประมุขผู้ปกครองสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ เรื่องนี้เป็นไปตามกฎของราชวงศ์โดยอัติโนมัติ จะมีแต่เพียงสิ่งหนึ่งที่ชาวอังกฤษอาจจะยังไม่ยอมรับซะทีเดียวก็คือ คู่สมรสของพระองค์อย่าง ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ซึ่งฐานันดรใหม่ที่จะได้รับนั้นคือ Queen consort หรือราชินีมเหสี โดยตำแหน่งนี้เมื่อครั้งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้เคยตรัสถึงว่า ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์จะเป็นที่รู้จักในนามของราชินีมเหสีเมื่อเจ้าฟ้าชายชาร์ส์นั้นได้ขึ้นครองราชย์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 นั้นก็ทรงยอมรับคามิลล่าในฐานะสมาชิกราชวงศ์ ควีนคามิลล่า ราชินีมเหสีคนใหม่ ที่ยังอยู่ภายใต้เงาเจ้าหญิงไดอาน่า ถึงแม้ว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2 จะทรงยอมรับ แต่ด้วยกฎของราชวงศ์อังกฤษที่มีธรรมเนียมปฏิบัติที่เคร่งครัดมาอย่างยาวนาน อาจจะทำให้Queen consort อย่างคามิลล่า ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนมากนัก เพราะจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 กับราชินีมเหสีผู้นี้ค่อนข้างมีความซับซ้อนและคาบเกี่ยวกับช่วงที่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ยังมีเจ้าหญิงไดอาน่าแห่งเวลส์เป็นคู่สมรสอยู่ อีกทั้งตามประเพณีของราชวงศ์ได้กำหนดว่าตำแหน่งนี้จะต้องตกเป็นของภรรยาของพระมหากษัตริย์ที่มาอย่างถูกต้อง และหลังจากการหย่าร้างของทั้งสองพระองค์ กระแสความนิยมในเจ้าหญิงไดอาน่าก็มีความแข็งแกร่งมากขึ้น จวบจนวันนี้แม้ว่าพระองค์จะจากไปแล้ว ก็ยังคงมีกระแสการต่อต้านว่าดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์นั้นไม่ควรรับตำแหน่งQueen consort เพื่อเป็นการให้ความเคารพและให้เกียรติกับอดีตภรรยาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อีกทั้งยังเป็นพระมารดาของรัชทายาทลำดับที่ 1 ว่าที่กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อไปอย่างดยุกแห่งเคมบริดจ์ด้วย ทั้งนี้ตำแหน่ง […]

สมาชิกเคมบริดจ์ พร้อมหน้า เจ้าชายวิลเลียม ดัชเชสเคท ส่งลูกๆ ไปโรงเรียนวันแรก

ทำเอาแฟนๆ ราชวงศ์ต่างยิ้มกว้างที่ได้เห็นความน่ารักของ 3 สมาชิกเคมบริดจ์ เจ้าชายจอร์จ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ และ เจ้าชายหลุยส์ ขณะกำลังเสด็จไปโรงเรียนวันแรก โดยมี เจ้าชายวิลเลียม และ ดัชเชสเคท ทรงพาลูกๆ ไปส่งที่โรงเรียน สมาชิกเคมบริดจ์ พร้อมหน้า เจ้าชายวิลเลียม ดัชเชสเคท ส่งลูกๆ ไปโรงเรียนวันแรก หลังจากที่ครอบครัวเคมบริดจ์ย้ายจาก พระราชวังเคนซิงตัน เพื่อไปพำนักยัง พระราชวังวินด์เซอร์ ในช่วงฤดูร้อน เป็นเหตุให้ เจ้าหญิง ชายน้อย ทั้งสามพระองค์ต้องทรงย้ายโรงเรียนใหม่ ซึ่งเดิมที่ เจ้าชายจอร์จ และ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียน Thomas’s Battersea ในกรุงลอนดอน ทั้งนี้สื่ออังกฤษรายงานว่า ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ทรงพาลูกๆ ไปส่งที่โรงเรียนวันแรก เด็กๆ ดูร่าเริง แจ่มใส โดยเฉพาะ เจ้าชายหลุยส์ ที่ดูจะตื่นเต้นกว่าๆ พระเชษฐา และ พระเชษฐภคินี เพราะนี่เป็นวันแรกที่เจ้าชายน้อยวัย 4 ชันษาเสด็จไปโรงเรียน อธิการบดี Jonathan Perry ทักทายเหล่าเจ้าหญิง […]

อีกกฎเคร่งครัด เหตุใดราชวงศ์อังกฤษต้องเตรียมชุดสีดำ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ

หาคำตอบ! เหตุใดราชวงศ์อังกฤษต้องเตรียมชุดสีดำ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นกฎที่เหล่าสมาชิกปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัดหลายสิบปี ในบรรดากฎและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการแต่งกายที่ราชวงศ์อังกฤษต้องปฏิบัติตาม ก็มักจะแฝงไปด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีที่มาและเหตุผลรองรับเสมอ เช่นเดียวกับกฎต่างๆ ที่เราเคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้ เช่น สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษต้องถือคลัทช์ด้วยสองมือ หรือการกำหนดให้สุภาพสตรีสวมหมวกในงานที่เป็นทางการ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดมาจากธรรมเนียมเก่าแก่ สมาชิกในราชวงศ์ต้องปฏิบัติตามด้วยความเคร่งครัดและอาจมีกฎบางข้อที่สามารถอะลุ่มอล่วยได้ ซึ่งกฎข้อหนึ่งที่สมาชิกทุกคนต้องทำตามอย่างเคร่งครัดก็คือ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ สมาชิกทุกคนต้องจัดเตรียมชุดสีดำลงในกระเป๋าเดินทาง ในกรณีที่มีคนเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิด จึงต้องเตรียมการไว้ เพราะสมาชิกราชวงศ์ต้องดูเรียบร้อยเสมอและมันจะดูไม่ดีหากยังคงแต่งกายด้วยชุดสีสันปกติ ในขณะที่สมาชิกในราชวงศ์เพิ่งจะจากไป โดยเรื่องนี้กลายเป็นกฎหลังจากที่ควีนเอลิซาเบธต้องรีบกลับจากประเทศเคนยาในปี 1952 หลังจากที่พระบิดาของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สิ้นพระชนม์ เพราะไม่ได้ถูกมองว่าเหมาะสมที่จะออกมาในกรุงลอนดอนด้วยชุดปกติหลังจากที่กษัตริย์สิ้นพระชนม์ จากบทความด้านบน หลายคนคงได้คำตอบกระจ่างชัดกับข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดราชวงศ์อังกฤษต้องเตรียมชุดสีดำ เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎที่สมาชิกในราชวงศ์ปฏิบัติมาแล้วหลายสิบปี และเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่สืบต่อกันไปอีกนาน ที่มา : www.bustle.com ภาพ : Getty Images บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ เรื่อง (ไม่) ลับในวัง! วิธีจัดการ ฉลองพระองค์ตัวเก่าของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 อีกหนึ่งกฎควรรู้ ทำไมสมาชิกราชวงศ์อังกฤษต้องถือคลัทช์ด้วยสองมือ ชมพูคือพลังบวก! ‘ดัชเชสเคท’ ออกงานแรก ตอบกลับ แฮร์รี่-เมแกน […]

ย้อนดูฉลองพระองค์ทรงคุณค่าของควีนเอลิซาเบธ ในวโรกาสฉลองครองราชย์ 70 ปี

นับเป็นอีกปีแห่งประวัติศาสตร์ สำหรับการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีการครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร หรือรู้จักกันในชื่อ Platinum Jubilee (แพลตินั่ม จูบิลี) สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้เพราะแพลตินั่มเป็นแร่ที่มีคุณค่าและราคาสูง จึงนำมาใช้เปรียบกับการครองบัลลังก์กว่าเจ็ดทศวรรษอันยาวนานที่สุดในประวัติราชวงศ์อังกฤษที่เป็นที่พูดถึงทั่วโลก ถือว่ายิ่งใหญ่ ควรค่าแก่การจารึก ย้อนดูฉลองพระองค์ทรงคุณค่าของควีนเอลิซาเบธ ในวโรกาสฉลองครองราชย์ 70 ปี โดยปกติแล้ว จูบิลี่ของอังกฤษที่นับว่ายาวนานมี Golden Jubilee (โกลเดน จูบิลี) สำหรับสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ที่มีกษัตริย์และราชินีเพียงบางพระองค์ได้เฉลิมฉลองมาบ้าง จากนั้นเป็น Diamond Jubilee (ไดมอนด์ จูบิลี) สำหรับ 60 ปี ที่มีสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เท่านั้นที่ทรงผ่านพิธีฉลอง และ Sapphire Jubilee (แซฟไฟร์ จูบิลี) สำหรับ 65 ปี จากนั้นจึงเป็นแพลตินั่ม ซึ่งผู้ที่ผ่านทั้งแซฟไฟร์และแพลตินั่มมีเพียงควีนเอลิซาเบธเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในโอกาสนี้ พระราชวังวินด์เซอร์จัดนิทรรศการแสดงของล้ำค่ามากมาย ซึ่งชิ้นที่เป็นไฮไลท์ของงานคือ เดรส ณ […]

สวยสง่าตามกฎราชวงศ์ 5 ลุคเรียบหรู ดัชเชสเคท ในงาน Platinum Jubilee

ในงาน Platinum Jubilee ที่เพิ่งผ่านพ้นไป การแต่งกายของดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ก็ดูเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และไม่ทำให้ผิดหวังในฐานะสไตล์ไอคอนระดับโลก

ราชวงศ์สุดประหยัด ดัชเชสเคท เลือกเดรส จากOutlet ให้เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ใส่ร่วมงานTrooping the Color

ในงานพระราชพิธีเฉลิมฉลองครองราชย์ 70 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2  เด็กๆ ของบ้านนี้พร้อมใจกันแต่งตัวมาในธีมสีฟ้า เพื่อให้เข้ากับคอสตูมของควีนเอลิซาเบธที่ 2 แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้หรอก เพราะเบื้องหลังความสมัครสมานสามัคคีในความเข้าธีมของทั้ง 3 พระองค์นั้น ก็ล้วนเป็นผลงานการตระเตรียมของดัชเชสเคท พระมารดาของเด็กๆ นั่นเอง 

keyboard_arrow_up