วิธีสังเกตความเสี่ยงเป็น "โรคหัวใจ" แม้ไม่มีอาการแสดง
โรคหัวใจ ภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว

วิธีสังเกตความเสี่ยงเป็น “โรคหัวใจ” แม้ไม่มีอาการแสดง

Alternative Textaccount_circle
โรคหัวใจ ภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว
โรคหัวใจ ภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่า โรคหัวใจขาดเลือด ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านคนเป็น 9.1 ล้านคนในปี 2564 นอกจากการป้องกันและคอยตรวจดูความเสี่ยงแล้ว สิ่งสำคัญคือเราทุกคนควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (Basic Life Support) ซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งสามารถเกิดกับใครก็ได้

เพราะทุกวินาทีคือชีวิต โรคหัวใจ ภัยร้ายเงียบที่มาโดยไม่ทันตั้งตัว แต่จะรู้และป้องกันได้อย่างไรในเมื่อบ้างครั้งก็เกิดขึ้นฉับพลับไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงหรือแม้แต่ถึงแก่ชีวิตได้ มาหาคำตอบกันในบทความนี้ถึงคุณลักษณะที่น่ากังวลแม้ไม่มีอาการแสดง ร่างกายแข็งแรง แต่ก็ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง มีแบบไหนบ้าง เพื่อจะได้นำไปสังเกตอาการและเป็นแนวทางในการป้องกัน จะได้รักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที

กลุ่มแบบไหนดังต่อไปนี้ ที่จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง (ถ้าเข้าลักษณะในข้อใดข้อหนึ่งก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่ากังวล)

1. เพศชายอายุเกิน 40 ปี หรือเพศหญิงอายุเกิน 50 ปี
2. มีโรคทางพันธุกรรม หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ
3. พฤติกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก
4. มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง รวมถึงความเครียดสะสม

การตรวจเพื่อประเมินหรือป้องกันโรคหัวใจเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ใช้เวลานานไหม ต้องลาทั้งวันรึป่าว

1. การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยตรวจจับปัญหาที่อาจไม่มีอาการแสดง รวมทั้งการทดสอบความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจคอเลสเตอรอล และการทดสอบความอดทนของหัวใจ โดยปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่ตรวจ

2. การตรวจ CT Calcium Score หากมีพฤติกรรมความเสี่ยงชัดเจนเข้าเกณฑ์หลายรายการ ก็อาจจะเริ่มกันที่การตรวจ CT Calcium Score หรือการถ่ายภาพด้วยเอ็กซ์เรย์หัวใจ เพื่อที่ช่วยดูความเสื่อมของหลอดเลือด คราบหินปูในหัวใจ เบื้องต้นก่อน โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram – ECG) คือการบันทึกกิจกรรมไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อตรวจสอบจังหวะและค้นหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ การตรวจนี้สามารถตรวจจับหัวใจวาย การขาดเลือดชั่วคราวของหัวใจ และอื่นๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที

โรคหัวใจมีหลากหลายแม้จะไม่มีอาการชัดเจนก็สามารถระบุได้โดยการตรวจในรูปแบบต่างๆ อย่างใกล้ชิด และการตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยตระหนักถึงสัญญาณเตือนเหล่านี้ได้ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่ง เพื่อวางแผนการตรวจสุขภาพและการดูแลที่เหมาะสม

ขอบคุณข้อมูล: พญ.วริษฐา เล่าสกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจและทรวงอก (Cardiology Center) โรงพยาบาลนวเวช
ภาพ: Pexels


Praew Recommend

keyboard_arrow_up