แผนออกกำลังกายที่สมดุล คืออะไร? เพื่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่เร็ว และเริ่ดกว่าเดิม

ปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายใหม่ด้วย แผนออกกำลังกายที่สมดุล เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและเร็วขึ้น เริ่มต้นด้วยการค้นหาสิ่งที่ยังขาดหายไปจากตารางการออกกำลังกายของตัวเอง โดยแนวทางที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงมีสุขภาพดี คือการเลือกใช้แนวทางที่สมดุล เพราะการฝึกที่สมดุลและมีระเบียบแบบแผนจะช่วยให้ออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอาการบาดเจ็บ และอาจพัฒนาผลการฝึกโดยรวมให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้เร็วกว่าเดิม  ส่วนที่อยากแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกายไว้คือ เราทุกคนต่างก็มีการออกกำลังกายแบบที่ชอบและไม่ชอบ ให้เราปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายโดยยึดตามสิ่งที่เรารัก ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้เรามีแรงบันดาลใจและยอมทุ่มเทเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทุกแผนการออกกำลังกายที่ดีควรมี ได้แก่  การยืดกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำช่วยให้เรามีความมั่นใจและทำให้เราคุ้นเคยกับรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายในท่าต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งยังช่วยพัฒนาให้ข้อต่อมีความมั่นคง กล้ามเนื้อยืดหยุ่น และลดความตึงของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย การวอร์มอัพโดยการยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าที่เน้นการเคลื่อนไหว (Dynamic Stretching) และการยืดกล้ามเนื้อแบบยืดเหยียดค้างไว้หลังการออกกำลังกาย (Static Stretching) อาจจะกินเวลาเพียง 10 นาที แต่สามารถสร้างความรู้สึกที่แตกต่างได้มาก ดังนั้นอย่าลืมวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง และปิดท้ายด้วยคูลดาวน์ คาร์ดิโอ เป็นกิจกรรมที่ดีต่อหัวใจ หลอดเลือด และเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกิน เพราะว่าหัวใจของเราคือกล้ามเนื้อ ดังนั้นการกระตุ้นให้หัวใจได้ทำงานหนัก 2-3 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น หากคุณทำกิจกรรมที่กระตุ้นสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเป็นประจำอยู่แล้ว ก็อาจช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักช้าลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว มีกิจกรรมมากมายให้เลือก การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำ ทุกกีฬาล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยม แต่ไม่ว่าจะเลือกออกกำลังกายแบบไหน หากเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นถือว่าได้ผลดีทั้งนั้น การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบหนัก 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือทั้งสองอย่างผสมผสานกัน ถือเป็นความถี่ที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ฝึกความแข็งแกร่ง เมื่อเราเพิ่มการฝึกแบบใช้แรงต้านในตารางการออกกำลังกายประจำวัน เราจะเริ่มรับรู้ถึงรูปร่างและความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ไขมันส่วนเกินในร่างกายจะหายไป ส่วนมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างกายที่มีมวลกล้ามเนื้อในปริมาณมากจะใช้แคลอรี่ในการรักษากล้ามเนื้อมากกว่าคนที่มีน้ำหนักเท่ากันแต่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายสูงกว่า […]

อาการอะไรที่ต้องเฝ้าระวังว่าจะเป็น ‘โรคหืด’ และใครคือกลุ่มเสี่ยง?

โรคหืด เป็นผลจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม โดยแสดงอาการได้หลายรูปแบบ เช่น ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด ซึ่งอาการโรคหืด มักมีความแตกต่างในแต่ละบุคคล ทั้งในด้านอาการแสดง และความรุนแรง อาการอาจกลับเป็นซ้ำ หรือกำเริบ เมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ การสัมผัสสิ่งกระตุ้นที่แพ้ หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งผู้ป่วยหอบหืด มีลักษณะหลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ดังนั้นเมื่อสัมผัสสารกระตุ้น หรือภาวะที่กระตุ้น จะทำให้เกิดภาวะหลอดลมตีบเฉียบพลันรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที อาการอะไรที่ต้องเฝ้าระวังว่าจะเป็นโรคหืด? ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรเฝ้าระวังว่าจะมีโอกาสเป็นโรคหืด เมื่อไหร่ควรสงสัยว่าเป็นโรคหืด? การวินิจฉัยต้องประกอบด้วย 2 ส่วน ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็นโรคหืด? เนื่องจากโรคหืด สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพบว่าสัมพันธ์กับภาวะภูมิแพ้บางอย่าง ดังนั้น หากมีประวัติอาการระบบทางเดินหายใจช่วงวัยเด็ก ประวัติเยื่อบุจมูกอักเสบจากภาวะภูมิแพ้ หรือภูมิแพ้ผิวหนัง ของทั้งตัวเองและคนในครอบครัว อาจต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการระบบหายใจที่เข้าได้กับอาการแสดงของโรคหืด เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหืดควรทำอย่างไร?พิจารณาเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างเหมาะสม อีกทั้งควรได้รับคำแนะนำในการปฎิบัติตัว เรียนรู้การรักษาภาวะเบื้องต้นหืดกำเริบเฉียบพลัน คนไข้โรคหืดอาการแบบไหน? ที่ควรรีบพ่นยา และมาพบแพทย์หากผู้ป่วยโรคหืด รู้สึกว่าอาการหืดกำเริบเฉียบพลันรุนแรง อันได้แก่ แนะนำให้พ่นยาขยายหลอดลมพ่นสูดชนิดออกฤทธิ์เร็ว และรับนำส่งโรงพยาบาลทันที […]

สายหวาน สายคาเฟ่ ‘กินเบเกอรี่อย่างไร’ ให้มีความสุข ไม่เสียสุขภาพ

ขนมหวานต่างๆ โดยเฉพาะเบเกอรี่ เป็นอาหารหวานของโปรดของใครหลายคน โดยเฉพาะสุภาพสตรีในยุคปัจจุบัน รวมทั้งสุภาพบุรุษด้วย เปรียบเสมือนยาชโลมจิตใจเป็นวิธีการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด มีความสุขได้ง่าย ใช้ต้นทุนทางเวลาต่ำ เพราะสามารถกินได้โดยทั่วไป เห็นแบบนี้มีทริกินเบเกอรี่อย่างไร ไม่เสียสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการดี ถ้าจะมีความสุขจากการกินเบเกอรี่ โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเกิดโรคในอนาคต เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เป็นต้น เลือกกิน เบเกอรี่อย่างไร ให้อย่างเหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี มีดังนี้ 1. กินอาหารอย่างสมดุล ให้ได้พลังงานหรือแคลอรีเพียงพอกับอายุและสภาวะของร่างกายขณะนั้น 2. กินอาหารในช่วงเวลาที่ร่างกายได้เผาผลาญ ใช้พลังงานในระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการกินอาหารในช่วงเวลาพลบค่ำหรือก่อนนอน 3. ถ้ารักที่จะกินเบเกอรี่ ควรเลือกเบเกอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ เช่น นอกจากนี้ในปัจจุบันเป็นยุคที่กระแสด้านสุขภาพมาแรง การใช้แป้งต้านทานการย่อยหรือแป้งทนย่อย (Resistant Starch) มาเป็นวัตถุดิบช่วยให้ผู้บริโภค ไม่ต้องเปลี่ยนวิถีของการกินมากนัก เพราะเป็นแป้งที่สามารถต้านทานการถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารตอนต้น ซึ่งจะไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อไม่ถูกดูดซึม จึงทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและผู้มีปัญหาด้านสุขภาพได้ดีขึ้น และเมื่อแป้งทนย่อยเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ ยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับจุลินทรีย์กลุ่มที่ดีต่อสุขภาพของคนเราได้อีกด้วย ต่อมาเมื่อถูกย่อยโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่มีประโยชน์กับร่างกายในลำไส้ ใหญ่ ก็ยังให้ผลผลิตออกมาเป็นกรดไขมันสายสั้น เช่น อะซิเตต (C2) โพรพิโอเนต (C3) […]

เช็คลิสต์ 10 สัญญาณเตือน ‘ฮอร์โมนไม่สมดุล’ อาจทำร่างพัง อารมณ์เพี้ยน

ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่นอกจากการมี Work-Life Balance สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ครอบครัวมีความสุขมากยิ่งขึ้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ Hormone Balance หรือ การสร้างสมดุลฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการทำงานของร่างกายในระบบที่จำเป็น ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานประสานกันได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น สมดุลของฮอร์โมนเพศจึงมีความสำคัญต่อระบบประสาทในการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับ สมรรถภาพทางเพศ รวมถึงระบบการสร้างพลังงานของร่างกาย วันนี้มีโอกาสได้มาคุยกับ คุณหมอบาย – นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center และ W Ploenchit Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมแบบองค์รวม เกี่ยวกับ “ฮอร์โมน” จุดเริ่มต้นและกุญแจไขความลับสู่การดูแล แก้ไข และปรับสมดุลสุขภาพและร่างกาย หงุดหงิดง่าย ผิวแห้ง หัวล้าน นอนไม่หลับ“ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมากทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค การรักษา รวมถึงการดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนการเกิดโรคแบบรายบุคคล ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง 5 ปีมานี้ เนื่องจากทุกคนตระหนักว่า หากปล่อยให้เกิดอาการเจ็บป่วย จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต คนรอบข้าง รวมถึงการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งจากสถิติโรคเรื้อรังยอดฮิตของคนไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคอ้วนซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นี้ มาจากพันธุกรรม […]

มีดีมากกว่าช่วยขับถ่าย ‘โพรไบโอติกส์’ สายพันธุ์ไหนมีประโยชน์กับร่างกาย และด้านใดบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “โพรไบโอติกส์” จนชินหู และรู้ถึงสรรพคุณเด่นในเรื่องระบบขับถ่าย แต่น้อยคนจะรู้ว่าโพรไบโอติกส์ในลำไส้ของเรามีประโยชน์ต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายอีกมากมาย พอดีมีโอกาสได้พบกับ คุณหมอบาย – นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟูความเสื่อมแบบองค์รวม ซึ่งคุณหมอบายไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า “โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ มีหลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 500 ชนิด มีชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถพบได้ในช่องปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งโพรไบโอติกส์แต่ละชนิดส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน จุลินทรีย์ดีจะช่วยรักษาสุขภาพลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เผาผลาญไขมัน และลดสารพิษในลำไส้ จุลินทรีย์ร้ายก่อให้เกิดโรคต่อร่างกาย” อยากเพิ่มจุลินทรีย์ดี ต้องเริ่มที่ลำไส้“ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ หรือโพรไบโอติกส์หลายชนิด ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ที่เป็นระบบหนึ่งที่สำคัญและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่ง 70% ของระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity System) เกิดขึ้นในลำไส้ของเรา รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สำคัญอย่าง NK Cells (Natural Killer Cells) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าที่ต่อสู้ป้องกันเชื้อโรคก็อาศัยอยู่ที่ลำไส้เช่นกัน เพราะกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีคือ การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายให้มีความสมดุลและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ในร่างกาย” คุณหมอบาย กล่าว ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ในร่างกายมีมากมายหลายร้อยสายพันธุ์ ทำหน้าที่แตกต่างกันไป มาดูกันว่าโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไหนมีประโยชน์กับร่างกายเราในด้านใดบ้าง “อ้วนลงพุง” หัวขบวนโรคร้ายของคนยุคใหม่“ปัจจุบันพบว่าคนไทยเป็นโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) เพิ่มมากชึ้น […]

ตรวจสุขภาพร่างกายแบบ Anti-Aging คืออะไร? ต่างจากตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไร

คิดว่าตัวเองดูแลสุขภาพร่างกายดีหรือยัง? เพราะสุขภาพดีเริ่มได้ที่ตัวเรา อยากได้สุขภาพดี ต้องดูแลร่างกายให้ดี ช่วงต้นปีควรมาตรวจสุขภาพประจำปีกัน เพราะในแต่ละปีเราใช้ร่างกายกันหักโหม อยากตอบแทนร่างกายให้อยู่กับเราไปนานๆ ก็ต้องบำรุงรักษากันหน่อย และในปัจจุบันนอกจากจะตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไปแล้ว บางคนนั้นมีการตรวจสุขภาพในแบบ Anti-Aging เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการตรวจทั้ง 2 แบบมีการตรวจเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง การตรวจสุขภาพทั่วไป เป็นการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย ว่ามีแนวโน้มหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอะไรบ้าง หรือมีโรคเกิดขึ้นแล้วค่อยทำการรักษา แต่การตรวจทาง Anti-Aging เป็นการตรวจหาความผิดปกติก่อนที่จะเกิดโรค เพียงแค่มีอาการหรือความเสื่อมเกิดขึ้น เช่น อ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ ความจำแย่ลง หรือสมรรถภาพทางเพศไม่ดีเหมือนเดิม ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดโรคก่อนแล้วค่อยมาตรวจ หรือไม่มีอาการอะไรก็สามารถมาตรวจได้ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพเชิงรุก จะมีการตรวจลึกถึงระดับเซลล์ เช่น ตรวจระดับสารเคมี สารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ฮอร์โมน ตรวจดูสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถค้นพบสาเหตุของอาการเสื่อมหรือความชราได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะเกิดโรคหรือมีความผิดปกติในร่างกาย และยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการตรวจยีน การตรวจยีนเป็นหนึ่งในการตรวจแบบ Anti Aging เป็นการตรวจดูรหัสพันธุกรรมหรือ DNA ที่ประกอบมาเป็นร่างกายแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถใช้บ่งเอกลักษณ์ตัวบุคคลได้ […]

‘งาดำ’ ซูเปอร์ฟู้ดเมล็ดจิ๋ว ประโยชน์สูง อีกหนึ่งตัวเลือกของสายรักสุขภาพ

เทรนด์รักสุขภาพยังคงมาแรงต่อเนื่องในปี 2024 และเชื่อว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์นี้ทำให้ ซูเปอร์ฟู้ด (Superfood) กลายเป็นที่สนใจและถูกพูดถึงบ่อยๆ มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มใส่ใจสุขภาพอาจมีคำถามว่าอาหารแบบไหนที่เรียกว่า ซูเปอร์ฟู้ด จริงๆ แล้ว ซูเปอร์ฟู้ดก็คืออาหารในชีวิตประจำวันของเรานี่แหละ แต่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหาร และกรดไขมันที่มีประโยชน์ ตัวอย่างซูเปอร์ฟู้ด เช่น ข้าวโอ๊ต ปลาแซลมอน ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว เห็ด อัลมอนด์ โยเกิร์ต นมไขมันต่ำ และดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น ซูเปอร์ฟู้ดบางชนิดอาจมีราคาแพง แต่ก็มีซูเปอร์ฟู้ดราคาย่อมเยาให้เราเลือกเช่นกัน ถ้าใครกำลังมองหาอยู่ล่ะก็ อย่ามองข้าม งาดำ ธัญพืชเมล็ดเล็กแต่ประโยชน์ไม่เล็กเลย ซึ่งปัจจุบันมีการนำงาดำมาเป็นส่วนผสมในนมถั่วเหลือง ทำให้กินง่ายดื่มง่ายขึ้น และหาซื้อง่าย แถมยังได้ประโยชน์ 2 ต่อ จากงาดำและนมถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองก็ถือว่าเป็นซูเปอร์ฟู้ดที่ดีมากเช่นกัน งาดำ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 แมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยบำรุงกระดูก บำรุงเลือด บำรุงผมและผิว บำรุงประสาทและสมอง ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ช่วยในการเผาผลาญและสลายไขมัน ทำให้นอนหลับสบาย ป้องกันเหน็บชา และยังช่วยบรรเทาริดสีดวงได้ด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าสารเซซามีนในงาดำเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในร่างกาย เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ช่วยเสริมคอลลาเจนในข้อเข่าให้กับสูงอายุ นอกจากนี้ เซซามีนยังช่วยลดความดัน และน้ำตาลในเลือด และช่วยลดโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด […]

‘ฝากไข่’ แผนมีลูกในอนาคตของสาวยุคใหม่ มีความจำเป็นแค่ไหน และเหมาะกับใครบ้าง?

ยุคนี้คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มแต่งงานกันช้าลง เพราะหันมาทุ่มเททำงาน เก็บเงินจนรู้สึกว่ามั่นคงในระดับหนึ่ง แล้วจึงค่อยวางแพลนแต่งงานสร้างครอบครัว แล้วพอคิดจะมีลูก ก็อายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็มากขึ้น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาตอบโจทย์สาวๆ ยุคใหม่ที่อยากมีลูกในเวลาที่พร้อม และลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ด้วยการฝากไข่ไว้ก่อน ในอนาคตเมื่อพร้อมและเวลาที่เหมาะสม ค่อยนำไข่ที่ฝากมาวางแผนมีลูกต่อไป แล้วการ ฝากไข่ มีความจำเป็นแค่ไหน และเหมาะกับใครบ้าง? การฝากไข่ คือ การนำไข่ ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของผู้หญิงออกมาเก็บรักษาโดยการแช่แข็งไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคต ทั้งนี้ไม่ได้มีข้อจำกัดของอายุที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความพร้อมและปริมาณไข่ของแต่ละคน โดยอายุที่เหมาะสมในการฝากไข่คือ 28-35 ปี แล้วใครที่มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการฝากไข่บ้าง ข้อดีของการฝากไข่ คือ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในอนาคต ซึ่งเป็นเวลาที่พร้อมตั้งครรภ์ แต่รังไข่ไม่พร้อม คือเหลือไข่ปริมาณน้อย และคุณภาพไม่ดี ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพไข่ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ทั้งอายุ ความเครียด การดูแลสุขภาพ การเลือกกินอาหาร การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย หรือโรคต่างๆ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สำหรับสาวๆ ที่ต้องการฝากไข่ควรเตรียมตัวดังนี้ การฝากไข่สามารถแช่แข็งไว้ได้นานมากกว่า 10 ปี ปัจจุบันมีรายงานการตั้งครรภ์จากไข่ที่แช่แข็งไว้นานถึง 14 ปี แต่แนะนำให้นำไข่มาใช้ก่อนอายุ […]

หยุดกินเกินจนร่างพัง! 3 ทริคเพิ่ม ‘โปรตีน’ ในมื้ออาหารเป็นประจำ เพื่อหุ่นเป๊ะ

วันหยุดถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราได้อยู่กับครอบคร้ว กลุ่มเพื่อน และได้กินอาหารอร่อย แต่สารพัดขนมและอาหารหลายอย่างที่เรากินในช่วงวันหยุด อาจมีแคลอรี่สูง สวนทางกับปริมาณสารอาหารที่ต่ำกว่าความต้องการ ดังนั้น เพื่อรักษารูปร่างและสุขภาพ นี่คือหนึ่งวิธีเพื่อลดการบริโภคขนมหวานและอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพคือ การกิน โปรตีน เพิ่มเข้าไปในทุกมื้อ ควบคู่ไปกับการลดคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีและไขมัน เพราะโปรตีนจะทำให้รู้สึกอิ่ม ช่วยให้กินน้อยลงและลดการกินของว่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้  ประโยชน์ของการกินโปรตีนโปรตีน มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในร่างกาย และที่สำคัญโปรตีนยังช่วยทำให้มื้ออาหารอิ่มท้องมากขึ้น ดังนั้น การเพิ่มโปรตีนในอาหารทุกมื้อและของว่าง สามารถช่วยลดความหิวในระหว่างวันได้ และยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าจะได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอตามความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละคน ทั้งสัดส่วนร่างกาย อายุ และระดับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืช ยังมีวิตามินบี วิตามินอี ธาตุเหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียมอีกด้วย ดังนั้น ถ้ากินโปรตีนเพิ่มขึ้น ร่วมกับการลดปริมาณอาหารที่มีแคลอรี่สูง จะได้ประโยชน์จากสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพิ่มขึ้น มาหยุดกินมากเกินความจำเป็นได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีกินโปรตีน ดังนี้ หากต้องการลดหรือเลิกอาหารที่เป็นแป้ง เช่น ข้าวขาว ขนมปัง มันบด และเส้นพาสต้า ให้หันมากินผักและสลัดมากขึ้น หรือมองหาถั่วและธัญพืชที่มีโปรตีนสูงแทนอย่าง ถั่วเลนทิล ควินัว […]

นอนเต็มอิ่มแต่กลับไม่มีแรง ใช่ ‘เพลียเรื้อรัง’ หรือไม่? ควรแก้ยังไง ก่อนส่งผลเสียสุขภาพกายและใจ

สัญญาณเตือนจากร่างกายอย่าง อาการเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรง อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ว่าไม่ควรจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ทำให้เกิดการไม่สบายตัว เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามตัว จนเกิดภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS) นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ให้หดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ไร้พลังงานที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนอย่างเคยได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขอาการ เพลียเรื้อรัง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ซึ่งถ้าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือไม่ถูกวิธีก็จะกลายเป็นอาการเรื้อรัง เบื้องต้นนี่คือวิธีการแก้อาการอ่อนเพลียด้วยตัวเองง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน ดังนี้ ทั้งนี้ ถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ในปัจจุบันการแพทย์ทางชะลอวัยและป้องกัน มีวิธีการตรวจหาสาเหตุของอาการเพลียจากภายในลึกถึงระดับเซลล์ ตรวจได้ละเอียดและดีกว่าการตรวจสุขภาพทั่วไป Source: พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ […]

‘โพรไบโอติกส์’ ช่วยลดภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดได้ จริงหรือไม่?

“โพรไบโอติกส์” คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกายหลายๆ ระบบ หากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอจะส่งผลดีและเกิดประโยชน์กับร่างกาย โดย “โพรไบโอติกส์” มีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดีต่อสตรีเตรียมตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังคลอด และให้นมบุตร โดยเฉพาะผู้ที่มีบุตรยาก โพรไบโอติกส์ยังช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย จากการสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่ส่งผลดีต่อลำไส้และภาวะเจริญพันธุ์ พบว่ามีงานวิจัยหลายฉบับมีการศึกษาความปลอดภัยของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์(Probiotics) ในการใช้งานกับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Lactobaillus เป็นจุลินทรีย์ที่รู้จักกันดี สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลคโตส เกิดเป็นกรด Lactic ซึ่งกรด Lactic ทำให้ PH ในร่างกายต่ำลง ก็จะช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และจุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่งคือ Bifidobacterium มีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นแบคทีเรียตัวแรกๆ เลยที่ยึดครองพื้นที่ลำไส้ของทารก โดยการศึกษาวิจัยพบว่าไม่ส่งผลต่อสภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือแม้แต่เด็กที่คลอดออกมา โดยจะไม่ได้ส่งผลต่อความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น  โพรไบโอติกส์ที่ มีประโยชน์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และแม้แต่คลอดบุตรสำหรับโพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ในการตั้งครรภ์นั้น มีประโยชน์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และแม้แต่คลอดบุตร ซึ่งตอนที่เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ สุขภาพของระบบสืบพันธุ์สำคัญมาก เพราะฉะนั้นโพรไบโอติกส์จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ส่งเสริมสุขภาพของไข่  หรือแม้แต่คุณผู้ชายก็ช่วยในเรื่องของสเปิร์มด้วย และในขณะตั้งครรภ์คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงสภาวะต่างๆ ในร่างกาย ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เป็นเบาหวาน  โพรไบโอติกส์จะมีส่วนช่วยในการระบบต่างๆ เหล่านี้ด้วย  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ มีความเกี่ยวกับการสร้างโฟแลตอีกด้วย อ้างอิงงานวิจัย เรื่อง Folate Production […]

ไขข้อสงสัยความต่างระหว่าง ภูมิแพ้ ไข้หวัด และโควิด-19

ตื่นเช้ามาวันนี้ คุณรู้สึกตัวรุมๆ ปวดหัว ปวดเมื่อย แสบจมูก หรือ เจ็บคอบ้างไหม? อาการแบบนี้อาจทำหลายคนสงสัยว่ากำลังป่วยจริงๆ หรือเป็น ภูมิแพ้ กันแน่ ฉะนั้น บทความนี้จะพามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับลักษณะของอาการป่วยแต่ละประเภท การดูแลรักษา และป้องกัน เพื่อจะได้สังเกตตนเองและคนรอบข้าง นำไปสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ลักษณะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ การใช้ชีวิตที่มีมลภาวะอย่างฝุ่นพิษ PM 2.5 ไปจนถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อาการเล็กๆ น้อยๆ ในตอนเช้าที่ตื่นขึ้นมา อาจทำให้ตื่นตระหนกได้ว่าเป็นเพียงแค่ไข้หวัด หรือเป็นโควิด-19 หรือเป็นแค่ภูมิแพ้ ซึ่งในความเป็นจริงอาการคล้ายกันจนน่าสงสัยมากๆ ลักษณะอาการของกลุ่มโรคเหล่านี้ เป็นอาการของระบบทางเดินหายใจ มีอาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรงได้ ไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสทางเดินหายใจ มักพบในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงในทุกฤดู โควิด-19 บางครั้งอาการเริ่มต้นเหมือนการเป็นไข้หวัด บางครั้งไม่มีอาการบังเอิญตรวจ ATK แล้วเจอผลบวก ภูมิแพ้อากาศอาการที่พบได้บ่อย คือ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก คันตา ซึ่ง เป็นไปตามช่วงเวลาของวัน ในเช้าตรู่ เย็นๆ ค่ำๆ หรือก่อนนอน อาการเหล่านี้ พบได้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ […]

ปรับไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับ ‘นาฬิกาชีวิต’ ระบบในร่างกายที่ทำงานช่วงเวลาต่างกัน เพื่อสุขภาพที่ดี

ปรับไลฟ์สไตล์ให้ตรงกับ ‘นาฬิกาชีวิต‘ ระบบในร่างกายที่ทำงานช่วงเวลาต่างกัน เพื่อสุขภาพที่ดี อวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรานั้น มีหน้าที่การทำงานตามเวลาที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับคนเรานี่ล่ะค่ะ ที่มีตอกบัตรเข้าทำงานในเวลาที่ต่างกัน แต่อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเรามีเวลาในการทำงานที่สม่ำเสมอและแน่นอนกว่า และยังต้องรับช่วงต่อกันอย่างเป็นระบบแบบแผนด้วย ลองมาทำความเข้าใจกับเรื่องการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายกัน ไต อวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ ไตของเราจะทำงานในช่วงเย็นๆ คือเวลา 17.00 น. – 19.00 น. เราจะช่วยไตให้ทำงานได้อย่างเต็มที่โดยการไม่กินอาหารในปริมาณมากๆ ในช่วงเวลานี้ เพราะหากเรากินอาหารในปริมาณที่มาก เลือดในร่างกายจะถูกดึงไปใช้เพื่อย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะ และม้าม แทนที่จะไปหล่อเลี้ยงไตที่กำลังขับของเสียออกจากร่างกาย ถุงน้ำดี อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร ช่วงเวลาที่หลอดเลือดแดงจะนำออกซิเจนมาเลี้ยงถุงน้ำดีเพื่อให้ถุงน้ำดีทำงานได้อย่างเต็มอยู่ในช่วงเวลาระหว่าง 23.00 – 01.00 น. และจะส่งต่อให้ตับรับช่วงต่อสำหรับการทำงานในช่วงเวลา 01.00 – 03.00 น. โดยในช่วงเวลานี้ร่างกายของเราควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อให้ร่างกายขับของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปอด ต้นทางของการรับออกซิเจนโดยการหายใจ การหายใจเป็นการนำน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำหน้าที่ลำเลียงไปยังปอด จากนั้นปอดจะทำหน้าที่กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ การทำให้ปอดแข็งแรงนั้นต้องหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ปอดขยันทำงาน และช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายเพื่อให้ปอดแข็งแรงคือช่วงเช้า ประมาณ 5.00 […]

7 เทรนด์กินดีมีสุขปี 2024 เน้นคุณภาพ-ทำอาหารเอง-กินอย่างยั่งยืน

ต้อนรับปีมังกรทองด้วยการดูแลสุขภาพด้วยไลฟ์สไตล์แบบวิถีใหม่ ทั้งพฤติกรรมการกินอาหาร ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพ พร้อมเผยศาสตร์นวัตกรรมอาหารและสุขภาพ จากผลสำรวจของ Euromonitor ในปีที่ 2023 ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยวัยทำงานยุคหลังโควิด มีการใช้ชีวิตอยู่แบบประจำที่มากขึ้น เช่น การนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอาการเจ็บป่วย เมื่อไม่ได้ขยับร่างกายจึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมากยิ่งขึ้น หลายคนพยายามปรับไลฟ์สไตล์ด้านอาหารการกิน หรือแม้แต่การออกกำลังกาย แต่ก็ทำได้ยากเพราะพบกับข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ไม่มีเวลาทำอาหารกินเอง ขาดทักษะทำอาหาร โดยพบว่าคนไทย 1 ใน 4 กำลังควบคุมอาหาร 65% ให้ความสำคัญกับส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และ 41% ใส่ใจในเรื่องฉลากโภชนาการบนสินค้า เมื่อจะซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภค 65% รู้สึกว่าสามารถสร้างความแตกต่างให้กับโลกด้วยทางเลือกและพฤติกรรมของพวกเขาได้ นอกจากนี้ คนไทยยังจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น โดย 66% นิยมออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งที่บ้าน ออนไลน์ หรือฟิตเนส 58% บริโภคอาหารเสริมหรือวิตามินเพื่อสุขภาพเป็นประจำ และยังนิยมใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพในการติดตามและวัดผลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังให้ความสำคัญด้านสุขภาพจิตมากขึ้น แม้หลายคนอาจเห็นว่า การปรับไลฟ์สไตล์ด้านอาหารที่ดีที่สุด คือการทำอาหารกินเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้การทำอาหารกินเองเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไม่มีเวลาออกไปซื้อของและเข้าครัว รวมถึงขาดทักษะการทำอาหาร […]

กูรูสุขภาพระดับโลก แนะทางห่างไกลมะเร็ง ด้วยการสร้างสมดุลให้ร่างกาย และกลับคืนสู่วิถีชีวิตธรรมชาติ

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) คาดการณ์ว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 70% ภายในปี 2030 โดยภูมิภาคเอเชียเป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง Oasis Healing Asia หรือOHA ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบองค์รวมแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้นำแนวทางการรักษาที่พิสูจน์ผลแล้วจากศูนย์รักษาโรคมะเร็งที่ดำเนินมาเกือบ 20 ปีและมีชื่อเสียงระดับโลกจากสหรัฐอเมริกามาสู่เอเชีย รวมถึงคิดค้นพัฒนาแนวทางการฟื้นฟู และการหยุดมะเร็งแบบผสมผสาน เพื่อมุ่งรับมือกับวิกฤติโรคมะเร็งที่จะส่งผลต่อประชากรกว่า 3.5 พันล้านคนในอนาคตทั้งในประเทศไทยไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย ด้วยแนวทางการรักษารูปแบบใหม่ที่อ่อนโยนและทรงประสิทธิภาพ ผสานเทคโนโลยีสุดล้ำเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านมะเร็งยาวนานกว่า 38 ปีของ นายแพทย์โทมัส โลดี้ (Dr. Thomas Lodi, MD, MD(H)) ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งแบบองค์รวมระดับโลก แพทย์ผู้ปฏิวัติวงการมะเร็งด้วยปรัชญา “หยุดสร้างมะเร็ง” ได้แชร์มุมมองใหม่ว่า ในขณะที่การรักษามะเร็งในปัจจุบันของโลกการแพทย์ต่างมุ่งเน้นไปที่ “การต่อสู้โรค” ทว่าเขากลับมองว่า “โรค” ไม่ใช่ศัตรูภายนอก แต่เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย บอกเล่าถึงความเสียสมดุลภายในที่เกิดจากการละเมิดกฎธรรมชาติ จากชีวิตที่หลีกห่างจากอาหารตามธรรมชาติ ขาดการออกกำลังกาย นอนไม่เพียงพอ ความเครียดสะสม ล้วนส่งผลต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจนั่นเอง โดยยืนยันว่า การฟื้นฟูสุขภาพมิใช่แค่การกำจัดโรค […]

ตรวจคัดกรองและรักษาไวรัสตับอักเสบบีและซี เพิ่มโอกาสรักษา ‘มะเร็งตับ’ ให้หายขาดจริงหรือไม่

ตามที่มีสื่อออนไลน์ให้ข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ ตรวจเจอเพียงสองเดือนแล้วเสียชีวิตนั้น จากข้อมูลล่าสุดพบว่าปัจจุบันประเทศไทยพบจำนวนผู้เสียชีวิตจาก มะเร็งตับ สูงประมาณ 16,000 รายต่อปี โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเนื่องมาจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในระยะแสดงอาการแล้ว มักจะเป็นระยะท้ายของโรค ซึ่งมะเร็งตับจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีภาวะตับวายเกิดขึ้น โดยเมื่อถึงภาวะดังกล่าวถือเป็นระยะที่ยากต่อการรักษาให้หายขาด มีโอกาสเสียชีวิตสูง โดยความเสี่ยงสำคัญของ มะเร็งตับ ได้แก่ ภาวะไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง และภาวะตับแข็ง จากทุกสาเหตุ อย่างไรก็ตามหากตรวจพบไวรัสตับอักเสบบีและซีได้เร็ว ก็จะสามารถได้รับการรักษา และตรวจคัดกรองหามะเร็งตับได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้ ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและตับอักเสบซีเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไม่ค่อยแสดงอาการ บางรายอาจพบค่าการอักเสบของตับสูงเกินเกณฑ์จากผลตรวจสุขภาพนำไปสู่การสืบค้นหาไวรัสตับอักเสบบีตามมา ซึ่งหากมีภาวะตับอักเสบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับตามมาได้ ในปัจจุบันผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง เมื่อเข้ารับการตรวจรักษาจะได้รับการประเมินโดยแพทย์ 2 ประการ ประการแรก คือประเมินข้อบ่งชี้การกินยาต้านไวรัส โดยประโยชน์ของการกินยาต้านไวรัสในผู้ที่มีข้อบ่งชี้ จะช่วยลดอัตราการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับตามมาในอนาคตได้ ประการที่สอง แพทย์จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ตับและเจาะเลือดดูสารบ่งชี้มะเร็ง(Tumor marker) ที่ชื่อ Alpha fetoprotein โดยประโยชน์ที่สำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ช่วยทำให้เพิ่มโอกาสการตรวจพบมะเร็งตับในระยะเริ่มแรกในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการรักษาตามแต่ระยะของโรค อาทิ การผ่าตัดรักษา การจี้ด้วยไฟฟ้า และอื่นๆ ให้มะเร็งตับระยะเริ่มแรกหาดขาดได้ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโรคมะเร็งตับอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ จึงกำหนดนโยบายกระทรวงสาธารณสุขด้านมะเร็งครบวงจรในการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง สำหรับผู้ที่เกิดก่อนปี 2535 ในสถานพยาบาลใกล้บ้านทั่วประเทศโดยตั้งเป้าหมายคัดกรอง […]

6 เทรนด์สุขภาพ และการออกกำลังกายปี 2024 ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

เปิด 6 เทรนด์สุขภาพ และการออกกำลังกายปี 2024 ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อเริ่มต้นปีใหม่แต่ละปี ผู้คนต่างพากันตั้งเป้าหมายเพื่อสุขภาพของตัวเอง หลายคนยังรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เริ่มออกกำลังกายและใช้ชีวิตแบบสุขภาพดี ซึ่งความตื่นเต้นนี้เกิดจากความคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ และการได้ลองใช้อุปกรณ์ แอปพลิเคชัน หรือลองรูปแบบการออกกำลังกายใหม่ๆ โดยปี 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ได้การกลับมาเข้ายิมอีกครั้ง ทำให้เกิดการสร้างคอมมูนิตี้ของฟิตเนส และเกิดการออกกำลังกายแบบผสมผสานขึ้น เช่น พิลาทิสกับการฝึกความแข็งแกร่ง การออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง (HIITT) โดยใช้บาร์ และการวิ่งพร้อมฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การออกกำลังกายในปีใหม่นี้จะง่ายขึ้นกว่าที่เคย เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์การกีฬาที่จะทำให้ปี 2024 นี้เป็นปีที่ยอดเยี่ยมในการมีร่างกายที่แข็งแรงและใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ที่สุดในแบบของตัวเอง ซึ่งปีนี้จะมีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจบ้าง เราได้รวบรวมมาให้แล้วที่ด้านล่างนี้ อุปกรณ์ติดตามการออกกำลังกาย (Fitness Tracking)ปัจจุบันอุปกรณ์ติดตามมีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ช่วยคุณเจาะลึกถึงการเคลื่อนไหว การพักผ่อน ประสิทธิภาพและอัตราการเต้นของหัวใจ รวมไปถึงด้านอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมาพร้อมกับการใช้งานที่เข้าใจง่าย สามารถสวมใส่ได้สะดวก มีให้เลือกหลากหลายแบบ ทั้งนาฬิกา แหวน และแอปที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง และถึงแม้ว่าอัลกอริธึมจะไม่ได้แม่นยำสมบูรณ์แบบ 100% แต่กลับพบว่าคนที่ใช้อุปกรณ์มีความรับผิดชอบและออกกำลังกายมากกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าตลาดอุปกรณ์พวกนี้จะมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ทำให้เรามีตัวเลือกในหลายระดับราคา และเหมาะกับทุกระดับการออกกำลังกาย ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงมืออาชีพ ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นซัพพอร์ตที่ดี และยังคงเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจในปีนี้ พิลาทิสแม้พิลาทิสจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังคงเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมของหลายๆ คน ซึ่งพิลาทิสมีต้นกำเนิดในช่วงปี 1920 และถือว่ามีประสิทธิภาพมากจนกลายเป็นเทรนด์ที่ยังอยู่เป็นแนวหน้าของโลกแห่งฟิตเนส ด้วยความยาวนานและความนิยมของพิลาทิส ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นใจให้ร่างกาย และความมั่นคงของกล้ามเนื้อโดยปราศจากแรงกระแทก […]

‘วัณโรค’ โรคติดต่อที่เกิดได้กับอวัยวะทุกส่วน แต่ส่วนมากจะเกิดที่ปอด ควรป้องกันและรักษาอย่างไร

จริงๆ แล้ว วัณโรค สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และกินยาตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด เตือนผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยหมั่นสังเกตตนเอง หากมีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะ หรือไอเป็นเลือด เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หาสาเหตุที่แท้จริง วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนัง กระดูก แต่ส่วนมากจะเกิดที่ปอด เรียกว่า วัณโรคปอด สามารถติดต่อกันได้จากผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อวัณโรคจะปะปนออกมากับละอองเสมหะ หรือน้ำลาย หากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสูดรับเชื้อเข้าไป จะมีโอกาสป่วยเป็นวันโรคได้ แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ที่ได้รับเชื้อทุกคนต้องป่วยเป็นวัณโรค เนื่องจากในร่างกายของทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่สามารถต่อสู้กับเชื้อวัณโรคได้ แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้นกันนานๆ (สเตรียรอยด์) จะมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป อาการบ่งชี้ของผู้ป่วยวัณโรคปอด คือ จะมีอาการไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ ติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ และบางครั้งอาจมีเลือดปน มีอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงหรือผอมลง มีไข้ต่ำๆ […]

keyboard_arrow_up