Wellness
10 อันดับ อาหารสุขภาพ ที่มีผลวิจัยยืนยันว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 การทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการ มีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อสู้กับเชื้อไวรัส มีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการทานอาหารจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ดต่างๆ รวมไปถึงธัญพืช และถั่ว (Plant-Based Diet) เป็นประจำ ช่วยลดอาการป่วยหนักในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ได้ 73% และการทานจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ด ธัญพืช ถั่ว ปลา และซีฟู๊ด (Pescatarian) เป็นประจำ จะช่วยลดอาการป่วยหนักในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ได้ 59% ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ COVID–19 ที่เน้นทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจากเนื้อสัตว์เป็นประจำ จะมีอาการป่วยหนักกว่าผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่ทานอาหารจากพืช มากกว่าถึง 3 เท่า พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยมากกว่า 20 ปี จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จึงมาแนะนำ […]
แพทย์แนะ “3 วิธีระบายเสมหะ” ด้วยตนเองในผู้ป่วยโควิด-19
แพทย์ชี้เสมหะ คือ สิ่งข้นเหนียวเหมือนเมือกที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโควิด-19 หลายคนมักจะมีอาการหายใจมีเสียงครืดคราด หรือรู้สึกว่ามีเสมหะในทางเดินหายใจ หรือไอแบบมีเสมหะอยู่ตลอดเวลา จนส่งผลให้การหายใจเพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้น จึงจำเป็นมากที่ผู้ป่วยต้องกำจัดเสมหะเหล่านี้ออกจากทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น แพทย์แนะ “3 วิธีระบายเสมหะ” ด้วยตนเองในผู้ป่วยโควิด-19 วิธีที่ 1 การไอเพื่อระบายเสมหะ ทำในผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัว ด้วยวิธีดังนี้ นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจเข้า – ออกปกติ 3-5 ครั้ง หายใจเข้าลึกเต็มที่จนสุด โดยเน้นให้ชายโครงบานออก กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที พร้อมกับเกร็งเนื้อหน้าท้อง ให้อ้าปากกดคางลง ทำปากเป็นรูปวงกลม พร้อมไอออกแรงๆ และยาวจนสุดลมหายใจออก พักด้วยการหายใจเข้า – ออก ปกติ 3-5 ครั้ง วิธีที่ 2 การระบายเสมหะด้วยวิธีถอนหายใจออกแรง ทำในกรณีที่มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด สามารถทำได้ดังนี้ นั่งบนเก้าอี้ โน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และหายใจ […]
ทำความรู้จัก “โรคลืมใบหน้า” แม้กระทั่งคนสนิทมักคุ้นกันมาก่อน
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ หรือ “โรคลืมใบหน้า” (Prosopagnosia) เป็นภาวะบกพร่องของสมองในการรับรู้และประมวลผล สูญเสียการจดจำใบหน้าอย่างสมบูรณ์ สมองเป็นอวัยวะที่มีสมรรถภาพหลากหลาย โดยเฉพาะด้านการรับสัมผัสสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส และการรับรู้ นอกจากนั้นสมองยังมีหน้าที่ในการประมวลผลเพื่อแปลสิ่งที่สัมผัสให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากเกิดรอยโรคที่ทำให้เสียการทำงานของสมอง นอกจากเราอาจจะเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆ เช่น การมองเห็นแล้ว เราอาจจะสูญเสียความสามารถในการรับรู้สิ่งที่ซับซ้อนเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น เสียการรับรู้สี เสียการรับรู้ทิศทางรอบตัว หรือแม้กระทั่งเสียการรับรู้หรือจดจำใบหน้าคนไม่ได้ ทำความรู้จัก “โรคลืมใบหน้า” แม้กระทั่งคนสนิทมักคุ้นกันมาก่อน ภาวะเสียการรับรู้หรือจดจำใบหน้าคนไม่ได้ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการรับรู้หรือจดจำใบหน้าผู้คนผู้ที่ป่วยเป็นภาวะนี้อาจเกิดจากการเสียหายของสมองได้สองส่วน คือ สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพใบหน้าผู้คนโดยตรง หรือสมองส่วนที่เป็นคลังความจำภาพใบหน้าที่เคยเห็นมาในอดีต โดยสมองทั้งสองส่วนจะทำงานโดดเด่นในสมองซีกขวาในคนส่วนใหญ่ที่ถนัดขวา (แตกต่างจากการใช้ภาษาที่อยู่ซีกซ้าย) ทำให้เมื่อเกิดการบาดเจ็บใดๆ ในสมองซีกขวา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก การติดเชื้อ การอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง เนื้องอกสมอง อุบัติเหตุทางสมอง หรือแม้กระทั่งสมองเสื่อมบางชนิด ก็มีโอกาสทำให้เกิดภาวะนี้ได้ทั้งสิ้น ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ ที่เป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการตั้งแต่เด็กทำให้จดจำใบหน้าคนได้ล่าช้าแต่พัฒนาการส่วนอื่นมักจะปกติ 2.ภาวะจดจำใบหน้าไม่ได้ที่เป็นภายหลัง […]
5 เทคนิคการนวดสำหรับนักกีฬา แตกต่างจากนวดปกติิอย่างไร
ใครที่ผ่อนคลายด้วยการนวดทุกรูปแบบมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น นวดแผนไทย นวดอโรมา อยากให้มาลองเปิดประสบการณ์คลายกล้ามเนื้อที่ “แบงคอก สปอร์ต มาสสาจ” (Bangkok Sports Massage) หรือ “BSM” ที่นี่เรียกได้ว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญในการนวดกล้ามเนื้อสำหรับนักกีฬาโดยเฉพาะ” แห่งแรกในประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2558 ให้บริการนวดกล้ามเนื้อด้วยเทคนิคการนวดเพื่อนักกีฬา (Sports Massage) ซึ่งวิธีนวดรูปแบบนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำเท่านั้น แต่ยังเหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานหนัก มีไลฟ์สไตล์แบบแอคทีฟ การนวดสปอร์ตจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อ่อนล้าให้มีชีวิตชีวา แข็งแรง และ ฟื้นพลังให้กลับคืนสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ที่ BSM ยังมีโปรโกรมสำหรับชาวออฟฟิศที่ต้องการบำบัดเรื่องออฟฟิศซินโดรม หรือแม้แต่คนที่เป็นไมเกรนบ่อยๆ ด้วยโปรแกรมนวดบำบัดอาการตามหลักกายภาพ สุริศา ลีนุตพงษ์ ผู้ก่อตั้ง แบงคอก สปอร์ต มาสสาจ (บีเอสเอ็ม) กล่าวว่า บีเอสเอ็ม ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กับนักกีฬาและบุคคลทั่วไปแห่งแรกในประเทศไทย ที่ไม่เพียงให้บริการแก่นักกีฬาทุกระดับเท่านั้น แต่ยังใช้ “เทคนิคการนวดกีฬา” (Sports Massage) เพื่อประโยชน์ของคนทั่วไป โดยการนวดกีฬาที่ถูกต้องจะช่วยเรื่องระบบการไหลเวียนโลหิต กระตุ้น และ ผ่อนคลายให้หลอดเลือดดำและน้ำเหลืองไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ลดความกระชับตึงของเนื้อเยื่อที่ยึดแน่น […]
7 เหตุผลที่ต้องเล่น โยคะ พร้อมเทียบความต่างจากการออกกำลังกายทั่วไป
สร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึก โยคะ เป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิต โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4-5 พันปีก่อน ซึ่งถูกสงวนไว้เฉพาะโยคี และชนชั้นวรรณะพราหมณ์ เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาผ่านลัทธิฮินดู พุทธศาสนา ลัทธิเซนในประเทศจีน โดยนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้นๆ และเป็นการสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว การฝึกโยคะจึงเป็นกระบวนการสำหรับฝึกกาย ฝึกการหายใจ และฝึกจิตให้มีความจดจ่อกับเรื่องลมหายใจเข้าออก ที่จะนำไปสู่การมีสมาธิที่ดีขึ้น ในแง่ปฏิบัติต้องรวมสามอย่างเข้าด้วยกัน คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ การประสานลมหายใจเข้าออกกับการเคลื่อนไหว และมีจิตสงบนิ่งในขณะที่เคลื่อนไหว โยคะ ต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร โยคะ เน้นที่ความนิ่ง และท่าของร่างกายที่นิ่ง เป็นสภาวะแบบรับ (Passive) ความตึงของกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ผ่อนคลาย เน้นการเหยียดกล้ามเนื้อและการประสานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ ใช้ความรู้สึกภายในเป็นตัวนำท่าทาง เน้นส่งเสริมการทำงานของอวัยวะภายในและบริเวณแขน ขา พิจารณาตัวผู้เล่นเป็นองค์รวม จึงช่วยรักษาสมดุลของทั้งร่างกายแบบเฉพาะบุคคล กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่รับผิดชอบด้านการผ่อนคลาย ใช้แรงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ไม่มีการฝืน ลดการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นกิจกรรมที่ใช้ “ความรู้สึก” เป็นตัวนำ ให้ความสำคัญที่จิตใจเป็นหลัก การออกกำลังกายทั่วไป มีการเคลื่อนไหว มีการใช้แรง เป็นสภาวะการทำซ้ำๆ […]
เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี”
ปัญหา ระบบภายในสตรี มีความละเอียดอ่อน และส่งผลต่อความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาตกขาว หรือมีปัญหาช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ส่วนสตรีที่เคยคลอดลูกมักจะพบปัญหาระบบภายในหลังคลอด เช่น ภาวะมดลูกหย่อน และมดลูกแห้ง นอกจากนี้ปัญหาระบบภายในยังส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอีกด้วย เช่น ไข่ไม่ตก รังไข่เสื่อม ท้องยาก และมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรที่มักพบในสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ซึ่งล้วนมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน เคลียร์เรื่องเล็ก-ใหญ่กับ 10 ปัญหากวนใจ “ระบบภายในสตรี“ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ เผยว่าตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมาได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหามีบุตรยาก การเตรียมตั้งครรภ์และปัญหาระบบภายในสตรีทั้งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก และไม่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก แต่เป็นปัญหาระบบภายในที่กวนใจผู้หญิง โดยครูก้อยได้รวบรวม 10 ปัญหากวนใจเกี่ยวข้องกับระบบภายในสตรี ดังนี้ 1.ปัญหาช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่น รู้สึกเจ็บ คัน หรือ เจ็บปวดแสบเวลามีเพศสัมพันธ์ ไม่มีมูกตกไข่ ซึ่งมูกตกไข่ มีคุณสมบัติ เป็นน้ำหล่อลื่น มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ โดยในช่วงตกไข่ของผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนดี หรือระบบภายในร่างกายดีจะผลิตมูกตกไข่ มีน้ำหล่อลื่นออกมา เพื่อช่วยให้สเปิร์มเคลื่อนตัวเข้าไปในโพรงมดลูกได้ง่าย และที่สำคัญมูกตกไข่ และน้ำล่อลื่นในช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นด่าง ซึ่งเป็นมิตรกับสเปิร์ม […]
ทำไม “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” ที่ ‘ปราง กัญญ์ณรัณ’ รักษาอยู่ ถึงควรเลี่ยงแดด ห้ามเครียด
ทำเอาแฟนคลับเป็นห่วง เมื่อนักแสดงสาวสวย “เลดี้ปราง หรือ ปราง กัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล” อัพเดทอาการป่วยที่กำลังรักษาอยู่ผ่านไอจีสตอรี่ หลังมีคนเข้ามาถามว่า “คุณปรางมารักษาอะไรคะ” ซึ่งสาวปรางตอบกลับพร้อมภาพที่กำลังให้น้ำเกลืออยู่ว่า “ปรางเป็น ‘แพ้ภูมิตัวเอง‘ ค่ะ เป็นมา 6 เดือนแล้ว แต่ตอนนี้หายดี 90% แล้วค่ะ ไม่ต้องห่วงน๊า” ทำไม “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” ที่ ‘ปราง กัญญ์ณรัณ’ รักษาอยู่ ถึงควรเลี่ยงแดด ห้ามเครียด พร้อมแจงว่าภาพที่ลงในสตอรี่นี้คือการทำ UVL เป็นการใช้แสง เพื่อการรักษาช่วยให้เม็ดเลือดต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และสำหรับใครที่อยากรู้ว่า โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) คืออะไร? จะพามาขยายความกันค่ะ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE (Systemic Lupus Erythematosus, SLE) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่น ส่งเสริมทำให้เกิดโรค ได้แก่ การติดเชื้อ ยา แสงแดด สารเคมีในสิ่งแวดล้อม พบโรคนี้ได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาการของโรคแพ้ภูมิตัวเองอาการของโรคนี้จะแสดงความผิดปกติในร่างกายหลายระบบร่วมกัน และจะเป็นๆ […]
อาการ “ไอ” บอกอะไรเรา อย่ามองข้ามอาจอันตรายกว่าที่คิด
“ไอ” เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นกลไกในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ โดย พญ.พวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ได้อธิบายลักษณะของการไอเอาไว้อย่างละเอียด และครบรอบด้าน สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการไอจนผิดปกติจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที ลักษณะการ ไอ บอกอะไรเรา ลักษณะของเสียงไอ สามารถแบ่งจำแนกตามรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น • ไอมีเสมหะ พบในภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง อันเป็นผลจากการที่ร่างกายมีการขับสารเมือก หรือสารคัดหลั่งออกมาในระบบหายใจ จนทำให้เกิดอาการไอร่วมกับมีเสมหะ • ไอแห้ง เกิดจากการระคายคอ หรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนกระตุ้นให้เกิดการไอ โดยไม่มีเสมหะปน สาเหตุที่พบได้ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ ยาลดความดันโลหิตกลุ่มของ ACEi Inhibitor และเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ COVID-19 • ไอเสียงก้อง พบในเด็ก เกิดจากการบวมของระบบทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง และหลอดลม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า ‘ครูป’ (Croup) คนไข้อาจมีอาการหายใจลำบาก เสียงแห้ง หายใจมีเสียง มีไข้ ร่วมกับอาการไอเสียงก้อง • อาการไอที่พบเวลากลางคืน เป็นผลจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจที่ถูกกระตุ้นในช่วงกลางคืน อาจสัมพันธ์กับท่าทาง เช่น เสมหะไหลลงคอขณะนอน ที่พบได้ในโรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้ […]
ไม่รุนเเรงเเต่ทั่วถึง “ได๋ ไดอาน่า” เตือนโควิด-19 รอบนี้หลบวัคซีนเก่ง กำชับรับมือ 5 ข้อ
แม้จะดูเหมือนผ่านพ้นการระบาดรุนแรงครั้งใหญ่มาได้ แต่ก็ยังสามารถพบการติดเชื้อ โควิด-19 เป็นระลอกเล็กๆ และเรื่อยๆ เนื่องจากโรคโควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวไม่ได้หายไปไหน ฉะนั้น ป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวเหมือนที่ผ่านมาไว้ก่อน ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ไม่รุนเเรงเเต่ทั่วถึง “ได๋ ไดอาน่า” เตือนโควิด-19 รอบนี้หลบวัคซีนเก่ง กำชับรับมือ 5 ข้อ โดยล่าสุด พิธีกรสาวที่ผันตัวมาเป็นอาสากำลังหลักในช่วงโควิด-19 อย่าง “ได๋ – ไดอาน่า จงจินตนาการ” ก็โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Diana Chung ระบุว่า “โควิดรอบนี้ทั่วถึงมากกกกกติดกันเยอะมากๆ 4-5 วันเเล้ว ที่ส่งยากันหัวหมุน #เตือนเเล้วนะ ระลอกนี้จากการสังเกตุผู้ติดเชื้อจะมีอาการมากกว่าช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม ซึ่งจะมีอาการเหนื่อย นอนซมไข้สูง 39 องศา หนาวเเต่เหงื่อออก เริ่มจากคอเเห้งๆ คันคอ จากนั้น จะเริ่มเจ็บคอ กลืนน้ำลายเหมือนมีดบาดมีเสลท เเละเสียงเปลี่ยน สำคัญที่สุดคือ ติดรอบวงแบบไม่ปราณีกันเลย แม้จะฉีดวัคซีน 4 เข็มก็ติด (น่าจะหลบเก่ง) ระลอกก่อนๆ จะเห็นว่าอยู่กัน […]
รู้จัก “โรคจอตาบวมน้ำ” โรคตาที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากความเครียด
จักษุแพทย์เตือน “โรคจอตาบวมน้ำ” โรคตาที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค อาการที่สังเกตได้ คือ การมองเห็นวงดำกลางตาเวลามอง หรือมองเห็นภาพเบี้ยว รู้จัก “โรคจอตาบวมน้ำ” โรคตาที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากความเครียด โรคทางตา นอกจากสาเหตุจากเชื้อโรครอบตัวเราแล้ว อาจเกิดจากภาวะผิดปกติของร่างกายได้เช่นกัน อาทิเช่น โรคจอตาบวมน้ำที่ไม่ได้มีสาเหตุการเกิดจากเชื้อโรค จะพบได้ในผู้ที่มีช่วงอายุ 25-55 ปี เพศชายมากกว่าเพศหญิง และในกลุ่มผู้ที่จริงจังกับชีวิตและเครียดง่าย การใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตอรอยด์ โรคจอตาบวมน้ำ มาจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ในจอประสาทตาทำให้มีการรั่วของสารน้ำเข้ามาในชั้นใต้ต่อจอตา จึงเกิดการบวมน้ำขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภาวะความเครียด กลุ่มผู้มีบุคลิกภาพจริงจังกับชีวิตค่อนข้างเครียด ( type A personality) ซึ่งนอกจากความเครียดแล้ว ยาบางชนิดเช่น ยารักษาผู้ป่วยทางจิตเวช ยาสเตอรอยด์ รวมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก เช่น การสูบบุหรี่ อาการของโรคจอตาบวมน้ำ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการมองเห็นวงดำบริเวณกลางตาเวลามอง หรืออ่านหนังสือ บางรายเห็นเป็นภาพเบี้ยว แนวทางการรักษาคือควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น การใช้ยาสเตอรอยด์ และพยายามลดหลีกเลี่ยงความเครียด ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่มีพฤติการณ์สูบบุหรี่ควรลดสูบบุหรี่ และผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80-90 % จะสามารถกลับมามองเห็นได้ปกติ ภายใต้การดูแลรักษาของจักษุแพทย์ ข้อมูล : โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง)ภาพ […]
“โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร?
ปกติคนเรามีไต 2 ข้างแต่กำเนิด ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดประมาณกำปั้นอยู่บริเวณบั้นเอวด้านหลัง ไตทำหน้าที่หลักในการขับของเสียต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายออกมาทางปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ควบคุมปริมาณน้ำ ปรับสมดุลระดับเกลือแร่และความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย อีกทั้ง ยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งหากไตทำงานผิดปกติจะนำมาซึ่งภาวะไตวายหรือโรคไตเรื้อรัง พร้อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมา “โรคไตเรื้อรัง” เกิดจากอะไร รักษาหายขาดได้ไหม และมีวิธีป้องกันอย่างไร? โดย น.อ. หญิง พญ. วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี อายุรแพทย์โรคไต ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง จะมาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไต ในตอน “โรคไต 101” เสริมความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค ตลอดจนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” โรคไตเรื้อรังเกิดจากอะไร? โรคไตเรื้อรังอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลัก 3 อันดับแรกมักเกิดจาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตอักเสบ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและทวีป ซึ่งสำหรับประเทศไทย สาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรังที่พบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การใช้ยาสมุนไพร การกินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบเองติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการติดกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสชาติเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดปัญหาไตเสื่อมและกลายเป็นโรคไตเรื้อรังในที่สุด จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง? หากเริ่มสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าไตทำงานผิดปกติ เช่น สามารถขับปัสสาวะได้น้อยลง ทำให้มีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการตัวบวม เช่น บริเวณหลังเท้า เมื่อใส่รองเท้าประเภทแตะคีบแล้วมีรอยชัด เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของเสียคั่งในร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ จะรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และนอนไม่หลับ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว อาจหมายถึงสภาพของไตนั้นเข้าขั้นวิกฤติ โรคไตเรื้อรังสามารถรักษาได้หรือไม่ และมีวิธีป้องกันอย่างไร? ถึงแม้โรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะอวัยวะได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วและจะเสื่อมลงจนถึงระยะที่เรียกว่าไตวายระยะสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลากหลายวิธีในการชะลอการเสื่อมของไตไม่ให้เข้าสู่โรคไตระยะสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมความดัน คุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และคุมอาหาร เช่น ไม่รับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือมีความเค็มมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดลดอักเสบเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะทำให้ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้ารับการบำบัดทดแทนไตออกไปได้ สำหรับคนทั่วไป วิธีป้องกันโรคไตเรื้อรังคือควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มมากเกินไป ห้ามซื้อยาสมุนไพรหรือยาแก้ปวดมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว รวมถึงการเลิกสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดแล้ว บุหรี่ยังทำให้เกิดโรคไตวายได้อีกเช่นกัน ที่สำคัญคือห้ามกลั้นปัสสาวะ เพราะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดการติดเชื้อบ่อยและส่งผลต่อไต ทำให้ไตเสื่อมและไตวายขึ้นมาได้ นอกจากนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไตที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ด้วยวิธีการตรวจเลือดเพื่อหาค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) และการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาว่ามีค่าโปรตีนรั่วหรือไม่ ซึ่งมีเพียง 2 วิธีนี้เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยและคัดกรองความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้ สามารถติดตาม “คุยเรื่องไต ไขความจริง” และข้อมูลข่าวสารได้ทางเพจ Facebook สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย – The Nephrology Society of Thailand ภาพ Cover : Pexels บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
7 เหตุผลที่ทำให้คน 90% ล้มเหลวในการทำ IF ซ้ำพาระบบเผาผลาญพัง
ยังมีหลายคนที่เสาะแสวงหาวิธีดูแลรูปร่างต่างกัน และวิธีที่ยังคงได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ คือ Intermittent Fasting (IF) เป็นการลดน้ำหนักโดยการควบคุมแคลอรี่และจำกัดเวลาในการกินอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และอดอาหาร 16 ชั่วโมง ยกตัวอย่างสะดวกกินอาหารช่วงเช้าเช่น 6:00-15:00 น. นั่นหมายความว่าหลังจาก 15:00 เป็นช่วงงดอาหาร ดื่มได้เพียงแต่น้ำเปล่า หรือกาแฟ ชา ที่ไม่ใส่น้ำตาล (งดเว้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในช่วงอดอาหาร เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากน้ำตาลได้) แต่กลับมีบางคนทำแล้วสำเร็จ และบางคนล้มเหลว เพราะอะไรมาหาคำตอบกันค่ะ 7 เหตุผลที่ทำให้คน 90% ล้มเหลวในการทำ IF ซ้ำพา ระบบเผาผลาญพัง เรื่องของการทำIF ต้องบอกเลยว่าสามารถช่วยดูแลร่างกายของผู้ที่ทำได้อย่างดีให้สามารถเผาผลาญไขมัน ลดโรคเรื้อรังได้แต่ก็มักจะมีหลายคนบอกว่าทำแล้วมันทำไม่ได้ ทำแล้วมันลำบาก ทำแล้วมันติดนู่นติดนี่ ซึ่งมี 7 สาเหตุที่ทำให้คน 90% ทำIF ไม่สำเร็จ ระบบเผาผลาญพัง 1. เปลี่ยนแปลงเวลากินเร็วไป หรือตั้งใจทำเกินไป ผู้เริ่มต้นทำIF เริ่มจากหยุดขนม อาหารว่าง เริ่มที่ 12/12 14/10 […]
5 เทคนิคเลือก ‘หูฟัง’ และข้อควรระวัง เพื่อถนอมหูให้รับเสียงมีประสิทธิภาพไปนานๆ
หูฟัง เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบของเสียง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานหูฟังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่หลายหน่วยงาน รวมทั้งสถาบันการศึกษาทุกระดับที่ต้องปรับรูปแบบการทำงาน การเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบออนไลน์ หูฟังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และมีความถี่ในการใช้งานมากขึ้นทุกวันและต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา หรือถ้าเราสังเกตผู้โดยสารที่ใช้บริการรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า เราก็จะเห็นคนใช้หูฟังในระหว่างการเดินทาง อาจเพราะส่วนหนึ่งหูฟังช่วยให้ฟังเสียงได้ชัดเจน พกพาสะดวก ตัดเสียงรบกวน จากจุดนี้เอง เราควรต้องเลือกใช้งานหูฟังให้เหมาะสม รู้ถึงวิธีการใช้งาน และข้อควรระวัง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อถนอมหูของเราให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่กับเราไปได้นานๆ 5 เทคนิคเลือก ‘หูฟัง’ และข้อควรระวัง เพื่อถนอมหูให้รับเสียงมีประสิทธิภาพนานๆ ผศ. ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และนายกสมาคมเสียงและการสั่นสะเทือนไทย เผยว่า “บางครั้งเสียงที่เป็นอันตรายนั้น อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด พร้อมศึกษาเรื่องหูฟัง เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ซึ่งประโยชน์ของการเลือกหูฟังที่ดีจะช่วยลดเสียงรบกวนให้คุณภาพเสียงที่เหมาะสม มีความปลอดภัยต่อโสตประสาทการรับฟัง โดยหูฟังในท้องตลาดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. Full Size Headphone เป็นหูฟังที่มีฟองน้ำครอบหู โดยสามารถปิดครอบได้ทั้งใบหู สวมใส่สบายและมีคุณภาพของเสียงที่ดี อีกทั้งยังลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีและสวมใส่ได้เป็นเวลานานอีกด้วย สำหรับหูฟังประเภทนี้สามารถให้ย่านความถี่ต่ำที่ชัดกว่าหูฟังประเภท On-Ear Headphone แต่หูฟังประเภทนี้ก็มีขนาดที่ใหญ่มากๆ ยากต่อการพกพา เหมาะกับการใช้งานอยู่ที่ใดที่หนึ่งมากกว่า อาทิ ที่บ้าน หรือที่ทำงาน […]
“มะเร็งเต้านม” ป้องกันได้ไหม มีวัคซีนหรือไม่ และเทคนิคตัดเต้าแบบใหม่ดีอย่างไร?
คำถามยอดนิยมตลอดกาลเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม คือ ป้องกันได้ไหม? มีวัคซีนไหม? ตรวจคัดกรองเรื่อยๆ เหมือนรอให้เป็นแล้วค่อยรักษา? อยากมีวิธีป้องกันมากกว่า? ประโยคเหล่านี้เป็นคำถามจากคนไข้ที่มักได้ยินเป็นประจำ ซึ่งสามารถให้คำตอบสั้นๆ คือป้องกันได้ แต่ต้องอธิบายยาววว บทความนี้จะช่วยตอบทุกประเด็นและคลายทุกข้อสงสัย “มะเร็งเต้านม” มากกว่ารักษาคือการป้องกัน ก่อนอื่นขอปูพื้นความรู้เล็กน้อยก่อนว่ามะเร็งเต้านมอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามการตอบสนองต่อฮอร์โมน ได้แก่ Hormone Receptor Positive และ Hormone Receptor Negative ซึ่งส่วนใหญ่ของมะเร็งเต้านมเป็นชนิด Receptor Positive ฉะนั้น จึงเกิดแนวความคิดว่าถ้าเราลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมควรลดลง ซึ่งจากงานวิจัยก็พบว่าข้อสันนิษฐานเป็นความจริง และสามารถนำมาใช้แนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันได้จริง (Recommendation Guideline) โดยมี 2 วิธี คือ 1. ใช้ยาทานต้านฮอร์โมน เรียกวิธีนี้ว่า Chemoprevention (แต่ไม่ใช่ยาเคมี) ยาที่ใช้ก็คือ ยาต้านที่เคยนำมาใช้ในการรักษานั่นเอง อาทิ Tamoxifen, Raloxifene และ Aromatase Inhibitor 2. การผ่าตัด เพื่อลดการตอบสนอง ด้วยการตัดรังไข่ที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนออกทั้ง 2 ข้าง โดยทั้ง 2 วิธีนี้พบว่าให้ผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้ 60-70% เฉพาะชนิด Hormone Receptor Positive ฉะนั้น จึงต้องเริ่มกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะป้องกันมะเร็งเต้านมได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งคำตอบก็ง่ายมากคือ ไม่มีเต้านมซะก็สิ้นเรื่อง ยังไม่ต้องวิจัยก็เดาผลได้ว่าน่าจะจริง และน่าจะเป็นการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเกิน 90% และผลการวิจัยก็เป็นเช่นนั้น โดยในช่วงแรกจะเป็นการผ่าตัดเต้านมแบบเรียบๆ ทั้ง 2 ข้าง หรือ Prophylactic Bilateral Simple Mastectomy ซึ่งมีจำนวนเคสที่ทำไม่มาก (ก็แน่ล่ะ ผู้หญิงคนไหนจะอยากทำ) ต่อมาได้พัฒนา “เทคนิคการตัดเต้าแบบใหม่ พร้อมกับการเสริมสร้างหน้าอกขึ้นมาใหม่” ในการผ่าตัดคราวเดียวกัน โดยการผ่าตัดนี้จะเก็บรูปลักษณ์ภายนอกของเต้านมไว้ทั้งหมด […]
รู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมที่ช่วยป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเปราะบาง
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า LAAB หรือยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมกันมาบ้างแล้ว แต่อาจยังมีข้อสงสัยต่างๆ เช่น เหมาะกับใคร ใช้งานอย่างไร รวมไปถึงมีความสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ และออกฤทธิ์ยาวนานแค่ไหน ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมคำตอบสำหรับทุกคำถามไว้ที่นี่ และพร้อมจะพาไปทำความรู้จัก LAAB ให้มากขึ้น รู้จัก LAAB ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสมที่ช่วยป้องกันโควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบาง 1. LAAB ย่อมาจาก Long-acting Antibody หรือ ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม ใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ซึ่งสามารถลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสสายพันธ์ย่อยโอมิครอน BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3, BA.4 และ BA.5 ได้ รวมไปถึงยังสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แบบมีอาการได้อีกด้วย 2. LAAB สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป (น้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม) ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่อาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอจากโรคร่วมต่างๆ เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันผู้ป่วยล้างไต รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ 3. สำหรับการใช้งาน LAAB เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 150 มิลลิกรัม โดยมีผลวิจัยสนับสนุนว่าการฉีดยาครั้งเดียวสามารถให้การป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้อย่างน้อย 6 เดือน 4. ปัจจุบัน LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รวมถึงสหภาพยุโรป และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลกสำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 5. หากมีคำถามว่าบุคคลทั่วไปสามารถรับยา LAAB ได้หรือไม่ คงต้องตอบว่าเบื้องต้นยา LAAB นั้นได้รับ การขึ้นทะเบียนให้ใช้ในกลุ่มประชากรที่เปราะบาง มีความเสี่ยงสูง และมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงประชากรที่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ก่อน 6. เมื่อไม่นานมานี้ แอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลลัพธ์จากการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง […]
“ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” เกิดเชื้อนี้ได้อย่างไรในผู้ชาย
ไวรัสมะเร็งปากมดลูก เป็นชื่อที่คุ้นหูมาหลายปี เพราะมากกว่า 90%ของมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสตัวร้ายนี้เสมอ ปี 2017 ที่ผ่านมา มีรายงานจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยยอดชายรักชาย ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ โดยมีการตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV) ร่วมด้วยถึง 85% ซึ่งเชื้อ HPV ในเพศชายนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับที่มะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิงนั่นเอง เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้ “ไวรัสมะเร็งปากมดลูก” ในผู้ชาย ผู้ชายสามารถรับเชื้อนี้ได้อย่างไรไวรัส HPV นั้นมักจะพบจากการมีเพศสัมพันธ์ (ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนัก) รวมทั้งการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในปัจจุบันไวรัส HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จุดกำเนิดเริ่มต้นของเพศที่แพร่เชื้อนั้น จึงพบได้ทั้งสองเพศ ดังนั้น การรณรงค์ให้หญิงเป็นฝ่ายวิ่งหาวัคซีนป้องกันแต่เพียงเพศเดียวอาจดูไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก เพศชายที่มีความเสี่ยง เช่น […]
“ฝังเข็ม” ช่วยปรับสมดุล บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคระบบประสาท ได้จริงหรือไม่?
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยการ ฝังเข็ม บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ช่วยปรับการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ให้กลับสู่สภาพสมดุลปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด “ฝังเข็ม” ช่วยปรับสมดุล บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคระบบประสาท การฝังเข็มคือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งมีใช้กันมานาน โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมากฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกายตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน กลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์ปัจจุบันพบว่า การฝังเข็มเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณระบบประสาทของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ ตั้งแต่ชั้นผิวหนัง เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และหลอดเลือด ทำให้เกิดสัญญาณประสาทผ่านเข้ามาในไขสันหลัง ซึ่งสัญญาณประสาทส่วนหนึ่งจะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ(reflex) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื้ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น สัญญาณประสาทอีกส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองเพื่อไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่างๆในสมองให้มีการหลั่ง “สารสื่อสัญญาณประสาท” ออกมาหลายชนิดพร้อมกับการกระตุ้นสัญญาณประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทอัตโนมัติ การฝังเข็มบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย ช่วยยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย ช่วยปรับภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อกำจัดเชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมแพ้ที่ไวเกินไป ปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น ซึ่งการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มมีอยู่กว้างขวางมากมาย ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศให้การรับรองและระบุโรคและกลุ่มโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มกว่า 100 โรค และมีรายงานวิจัยหลายรายงานพบว่า โรคบางโรครักษาโดยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่าหรือมากกว่าการใช้ยา มีความปลอดภัยและลดโอกาสเสี่ยง ต่อผลข้างเคียงของการใช้ยาด้วย โดยสถาบันประสาทวิทยาเปิดให้บริการการรักษาด้วยการฝังเข็มควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบัน ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาโดยวิธีฝังเข็มนั้น จะต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่าสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่ ซึ่งมีโรคด้านระบบประสาทและไขสันหลังหลากหลายโรค […]
ทำไม “วัคซีนเข็มกระตุ้น” จึงเป็นทางออกสำคัญในการกระตุ้นภูมิป้องกันโควิด-19
แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น ประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ จนคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบให้ยกเลิกท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกอยู่ในแนวโน้มลดลง รวมถึงรัฐมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และเตรียมความพร้อมเข้าสู่โรคประจำถิ่น (Endemic) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวนไม่น้อยและยังมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 หลายสิบคนทุกวัน ทำไม “วัคซีนเข็มกระตุ้น” จึงเป็นทางออกสำคัญในการกระตุ้นภูมิป้องกันโควิด-19 ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด ที่เราทุกคนควรทำคือการปกป้องตนเองและคนรอบตัว โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากวัคซีนจะมีผลช่วยป้องกันทั้งการติดเชื้อและที่สำคัญ ช่วยลดความรุนแรงของโรค เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระดับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตจากโควิด-19 ไวรัสกลายพันธุ์…ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ในส่วนของโปรตีนหนาม ส่งผลให้ไวรัสเหล่านี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเชื้อไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศไทย ยังไม่นับรวมสายพันธุ์ BA.3, BA.4 และ BA.5 ที่กำลังระบาดในต่างประเทศขณะนี้ ที่อาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่อการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์หลังจากการรับวัคซีน 2 เข็มแรกลดลง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกแล้ว ก็มีความจำเป็นต้องเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เพราะหากไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงมีโรคประจำตัวก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจากโควิด-19 ได้ แม้ว่าจะมีผลการวิจัยออกมาให้เห็นแล้วว่าการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จะช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ที่มีแนวโน้มต้องรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงการเสียชีวิตได้ และมีการรณรงค์จากทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น แต่รายงานสรุปผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนการได้รับวัคซีนสะสมรวม 138,697,935 โดสแบ่งเป็น จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 คิดเป็น 81.7% ของประชากร จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 คิดเป็น 76.1% ของประชากร ส่วนผู้ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 คิดเป็น 41.6% ของจำนวนประชาชนทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งหมายความว่ายังมีประชากรไทยอีกเกือบ 60% ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 เลือกวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ต้องพิจารณาอย่างไร? การเลือกวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 สามารถพิจารณาตามคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยการฉีดเข็มกระตุ้นนั้น มีข้อมูลการศึกษาที่บ่งบอกถึงประสิทธิผล (Vaccine Effectiveness) ที่ดีใกล้เคียงกันในทุกสูตร โดยประสิทธิผลของวัคซีน จะเป็นการดูผลการป้องกันของวัคซีนในชีวิตจริงที่มีการใช้มาอย่างมากมายในประชากรวงกว้าง ทั้งในการป้องกันการติดเชื้อ ลดโอกาสในการเกิดโรครุนแรง รวมถึงการเสียชีวิตจากโควิด-19 จุดสิ้นสุดของวิกฤตโรคระบาด จุดสิ้นสุดในทีนี้ไม่ได้หมายความว่า โควิด-19 จะหายไป ทว่ามันอาจจะกลายเป็น “โรคประจำถิ่น” (Endemic) ที่ยังคงระบาดในพื้นที่ต่างๆ แต่สามารถควบคุมไม่ให้แพร่เป็นวงกว้างได้ […]