- Page 16 of 56

“ท่าออกกำลังกายปอด” ดีอย่างไร? ในยุคโควิด-19

ร่างกายแข็งแรง ถือเป็นการสร้างภูมิต้านทานได้อีกทางหนึ่ง เมื่อต้องเผชิญกับภาวะที่ผิดปกติในร่างกาย รวมถึงการมีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ร่างกายก็สามารถที่จะต่อสู้กับโรคภัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในยุคที่โรค Covid-19 ยังไม่หยุดระบาด ถึงแม้ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง แต่เราก็ควรต้องระวังตัวเป็นอย่างมาก ใส่แมส ล้างมือก่อนการกินข้าวหรือหลังหยิบจับสิ่งของเสมอ อีกประการที่สำคัญคือฝึกการทำงานของปอดให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้ทุกครั้งของการหายใจได้ออกซิเจนมากพอที่จะไปซ่อมและสร้างให้เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายแข็งแรงขึ้น คุณเพ็ญพิชชากร  แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การทำงานของปอดอย่างมีประสิทธิภาพนั้น อาจจะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น อากาศที่หายใจเข้าไปต้องดีไม่มีมลพิษปะปน รูปแบบการหายใจต้องลึกยาวพอ เพื่อให้ปอดได้ขยายเอาออกซิเจนเข้าไปให้ได้มากที่สุด เนื้อปอดซึ่งเป็นจุดแลกเปลี่ยนแก๊สต้องมีประสิทธิภาพ เป็นต้น “ท่าออกกำลังกายปอด” ดีอย่างไร? ในยุคโควิด-19 ซึ่งบางคนอาจจะสังเกตตัวเองว่าหายใจลึกๆ ยาวๆ ไม่ได้ ตรงกันข้ามมักหายสั้น-ถี่ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะโครงสร้างของร่างกายไม่สมดุล มีการยึดรั้งของกล้ามเนื้อด้านหน้าอก กระดูกสันหลังโค้งงอ ไหล่ห่อ คอยื่น ซึ่งโครงสร้างร่างกายแบบนี้ ส่งผลกระทบต่อการหายใจทำให้หายใจลึก ยาวไม่ได้จากที่ชายโครงยึดรั้ง ขยับไม่ได้ปอดก็ขยายตัวออกไม่ได้ การหายใจจึงลึกได้ไม่มากพอ แต่ร่างกายของคนเราสามารถที่จะฝึกได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการหายใจ หรือแม้กระทั่งประสิทธิภาพของการขยายตัวของปอดเราก็ฝึกได้เช่นกัน และการฝึกร่วมกับการเคลื่อนไหวของแขนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ปอดขยายได้มากขึ้นก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการขยายตัวของปอดดีเพิ่มขึ้นมากไปอีก เป็นท่าฝึกที่ทำได้ง่ายๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ ยืนตัวตรง ยืนวางขาเท่าสะโพก แขม่วท้องนิดๆ […]

10 สัญญาณฟ้องลำไส้ไม่แข็งแรง แล้วไมเกรน สิว อ้วน ไซนัส ซึมเศร้า เกี่ยวข้องยังไง

เคยมีอาการหรือโรคที่อยู่ดีๆ ก็เป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ รักษาเท่าไรก็ไม่หายซักที เช่น สิวเรื้อรัง ทั้งทายา และทานยาก็ยังไม่หาย อ้วนง่าย อาการไมเกรนกำเริบบ่อยครั้ง แม้กระทั่งโรคซึมเศร้าก็เป็น อาจเพราะว่าได้รับการรักษาไม่ตรงจุด หรือตรวจไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่เรามักจะไปโฟกัสเฉพาะอวัยวะหรือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเหล่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีสาเหตุอื่นๆ แอบแฝงที่เราคาดไม่ถึง เพราะการทำงานของร่างกายเราเป็นแบบองค์รวม ที่ความบกพร่องของอวัยวะหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะหรือระบบอื่นๆในร่างกายได้ พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้พูดถึงการทำงานของระบบหนึ่งในร่างกายเรา ที่หากเกิดความผิดปกติขึ้น อาจส่งผลให้เกิดโรคหรือความผิดปกติในระบบอื่นๆ ได้ นั่นก็คือ ระบบลำไส้และทางเดินอาหาร หลายคนอาจสงสัยว่า ระบบลำไส้และทางเดินอาหารเกี่ยวข้องอะไรกับไมเกรน สิว ความอ้วน หรือโรคซึมเศร้า ได้อย่างไร  ปกติลำไส้ของคนเรามีหน้าที่หลักในการย่อย ดูดซึมสารอาหารและขับของเสียออกจากร่างกาย โดยอาศัยลักษณะโครงสร้างพิเศษของผนังลำไส้และการช่วยเหลือของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ของเรา ปกติแล้วแบคทีเรียที่ดีจะช่วยลดการอักเสบ ทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง แต่ถ้าร่างกายเรามีแบคทีเรียที่ไม่ดีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไป หรือแบคทีเรียที่ดีลดลงจากการทานยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน แบคทีเรียที่ไม่ดีจะทำให้ผนังลำไส้ไม่แข็งแรง และเกิดการรั่ว หรือที่เรียกว่า Leaky […]

Sleep Test คืออะไร? ช่วยแก้อาการหยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน ละเมอได้หรือไม่

สะดุ้งตื่นกลางดึก ตอนเช้าตื่นมาไม่สดใส รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอน หรือนั่งทำงานแล้วแอบหลับบ่อยๆ อาการเหล่านี้อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนหลับอยู่ การตรวจ “Sleep Test” จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยดูแลประสิทธิภาพการนอน และนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตามมา Sleep Test คืออะไร? ช่วยแก้อาการหยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน ละเมอได้หรือไม่ Sleep Test คืออะไร?Sleep test คือ การตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ เพื่อสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Test โดยจะต้องทำการตรวจขณะนอนหลับ การตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าตัวเรามีอาการความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในระหว่างการนอนหรือไม่ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกัดฟัน นอนละเมอ ภาวะชักขณะหลับ แขนขากระตุก รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยวางแผนและติดตามการรักษาได้อย่างถูกต้อง ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ Sleep Testในเบื้องต้นให้ลองสังเกตตัวเราเอง หรือให้คนที่อยู่ข้างกายสังเกตดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เช่น นอนกรนดังผิดปกติ มีการสะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน นอนเยอะแต่ยังรู้สึกว่านอนไม่พอตลอดเวลา ตอนเช้าตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกอ่อนเพลียหลังตื่นนอนบ่อยๆ นั่งทำงานแล้วหลับบ่อยๆ คนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เช่นกัน โดยภาวะหยุดหายใจขณะหลับสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรให้ลองตรวจ Sleep Test สักครั้ง เพื่อดูประสิทธิภาพการนอนของเรา […]

รู้จัก “รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” เชื้อไวรัสทำลายเส้นประสาท อัมพาตหน้าครึ่งซีก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยเส้นประสาทใบหน้าอักเสบพบได้ทุกช่วงอายุ เน้นย้ำสังเกตอาการแยกจากโรคหลอดเลือดสมอง รู้จัก “รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” เชื้อไวรัสทำลายเส้นประสาท อัมพาตหน้าครึ่งซีก รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจาก Varizella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดอาการของโรคอีสุกอีใส ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วตัวไวรัสอาจจะยังอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดโรคได้หลายปี แต่เมื่อก่อโรคก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค อาการของโรคจะเริ่มต้นจากอาการอักเสบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะที่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ในตำแหน่งบริเวณใบหูของข้างที่เกิดอาการ หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วยได้ หลังจากนั้นจะพบตุ่มน้ำใส ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสขนิดนี้ เกิดขึ้นที่บริเวณใบหู โดยตุ่มน้ำจะทำให้รู้สึกแสบๆ คันๆ หรือแสบร้อนมากกว่าตุ่มคันทั่วๆไป การอักเสบติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งทำหน้าที่ในการเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า หูชั้นใน และการรับรสบางส่วนเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซึก หลับตาไม่สนิท ทำให้มีอาการเคืองตา หรือล้างหน้าแล้วแสบตาเนื่องจากน้ำสบู่เข้าตา เป็นต้น การขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตทำให้การพูด การออกเสียง การดื่มน้ำและทานอาหารมีปัญหา อาการจะคล้ายกับอาการเส้นประสาทใบหน้าอักเสบชนิด Bell’s […]

Evusheld ช่วยลดความเสี่ยงติดโควิด-19 หรือเสียชีวิต จากผลทดลองระยะที่ 3 TACKLE

ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก แสดงให้เห็นว่า Evusheld ของแอสตร้าเซนเนก้า (เดิมชื่อ AZD7442 ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) โดยการรักษาด้วย Evusheld ในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น Evusheld ช่วยลดความเสี่ยงติดโควิด-19 หรือเสียชีวิต จากผลทดลองระยะที่ 3 TACKLE ข้อมูลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine การทดลองแท็คเคิลดำเนินการศึกษาผู้ร่วมโครงการที่เป็นผู้ป่วยนอกโรคโควิด-19 ซึ่งมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน นอกจากนั้น 90% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโรคประจำตัวและภาวะต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือเป็นผู้สูงอายุ ฮิวจ์ มอนต์โกโมรี ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเวชบำบัดผู้ป่วยหนัก มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และหัวหน้าทีมวิจัยของโครงการแท็คเคิล กล่าวว่า “ถึงแม้การใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะประสบผลสำเร็จในวงกว้าง แต่ยังมีประชากรจำนวนมากที่ยังมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรครุนแรง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นวิธีการอื่นๆ จึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการดำเนินของโรค และลดภาระของระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การทดลองแท็คเคิลแสดงให้เห็นว่าการฉีด Evusheld เข้ากล้ามเนื้อหนึ่งโดสสามารถป้องกันการดำเนินของโรคโควิด-19 ไปสู่ขั้นรุนแรงได้ ซึ่งการได้รับยาเร็วขึ้นจะส่งผลดีต่อการรักษามากขึ้น” เซอร์ เมเน […]

แพทย์ผิวหนังชี้ความแตกต่าง “โรคฝีดาษลิง” กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ความแตกต่างของ โรคฝีดาษลิง กับโรคติดเชื้อจากไวรัสอื่นๆ ที่พบรอยโรคเป็นตุ่มน้ำ และที่มีอาการใกล้เคียงกัน พร้อมอธิบายถึงการอาการแสดงการผิวหนัง การรักษา ฯลฯ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันต่อสถานการณ์โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ แพทย์ผิวหนังชี้ความแตกต่าง “โรคฝีดาษลิง” กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ฝีดาษลิง (monkey pox) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ ซึ่งมีอาการแสดงในมนุษย์คล้ายคลึงกับฝีดาษหรือไข้ทรพิษ โดยโรคมีรายงานอุบัติการณ์เกิดการระบาดในประเทศแถบทวีปแอฟริกา เนื่องในปัจจุบันมีการเดินทางข้ามทวีป ทำให้มีการเกิดการระบาดของโรคฝีดาษลิงส่วนอื่นของโลก เช่น ยุโรป และอเมริกา ฝีดาษลิง มีการรายงานครั้งแรกในมนุษย์ในปี 1970 อาการของโรคฝีดาษลิง พบว่ามีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต นำมาก่อนตามด้วยอาการแสดงทางผิวหนัง ได้แก่ แผลในปากตามด้วย ผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ ที่อาจมีรอยบุ๋มเล็กๆ ตรงกลาง และต่อมากลายเป็นตุ่มหนองแล้ว จึงจะตกสะเก็ดโดยที่รอยโรค มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมๆ กันจำนวนรอยโรค อาจมีได้ตั้งแต่ 2 – 3 ตุ่ม จนถึงมากกว่า […]

ใส่ผ้าอนามัยนานๆ เสี่ยงเป็น ‘โรคมะเร็งปากมดลูก’ จริงหรือมั่ว?

ตามที่ได้มีบทความทางสื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องใส่ผ้าอนามัยนานๆ ทำให้เป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ เป็นความเชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง ใส่ผ้าอนามัยนานๆ เสี่ยงเป็น ‘โรคมะเร็งปากมดลูก‘ จริงหรือมั่ว? ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบว่าการใส่ผ้าอนามัยนานๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV) และส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมาจากเพศสัมพันธ์ผ่านการสัมผัสผิวหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศ ผู้ที่มีคู่นอนหลายคนจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการสูบบุหรี่ที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เป็นต้น ส่วนการใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมเป็นเวลานานๆ โดยไม่เปลี่ยนแผ่นใหม่ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเกิดเชื้อรา ทำให้มีอาการระคายเคือง อาการคัน หรือเชื้อเหล่านี้อาจแพร่ไปยังทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ทั้งนี้ การใช้ผ้าอนามัยแผ่นเดียวนานๆ อาจทำให้เกิดการอับชื้น ไม่สะอาด ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4-6 ชั่วโมง หรือตามปริมาณประจำเดือนที่มีในวันมามาก อาจจะเปลี่ยนบ่อยกว่าวันที่กำลังจะหมด ดังนั้น ขอให้ทุกคนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว ข้อมูล : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภาพ : Pexels   บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ […]

เทคนิคใหม่ของ ‘การผ่าตัดแปลงเพศ’ จากชายเป็นหญิง มีอะไรน่าดึงดูดบ้าง

ปัจจุบันเพศทางเลือกมีความหลากหลายและเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น ขณะเดียวกัน การผ่าตัดแปลงเพศ ก็ได้รับความนิยมและทำกันแพร่หลายมากขึ้นเช่นกัน ในทางการแพทย์เองก็ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดมาโดยตลอด เพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจและลดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดให้น้อยที่สุด เทคนิคใหม่ของ ‘การผ่าตัดแปลงเพศ’ จากชายเป็นหญิง มีอะไรน่าดึงดูดบ้าง การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง (Gender Affirmation Surgery – Male to Female) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงอวัยวะเพศจากชายให้ดูเหมือนอวัยวะเพศหญิงทั้งในแง่รูปลักษณ์ภายนอก ความรู้สึก และการใช้งาน โดยใช้ส่วนต่างๆ ขององคชาตเดิมเพื่อสร้างช่องคลอดใหม่ที่สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกและใช้งานได้เปรียบเสมือนว่าเป็นเพศหญิง การผ่าตัดโดยทั่วไปประกอบด้วย  การตัดอัณฑะ (Orchidectomy) การสร้างช่องคลอด (Vaginoplasty) การตกแต่งอวัยวะภายนอก (Labiaplasty) การผ่าตัดนี้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น   การสร้างจุดรับความรู้สึก (Sensate Clitoroplasty) การสร้างแคมใน (Labia Minora reconstruction) โดยใช้ผิวหนังจากถุงอัณฑะมาสร้างเป็นแคม การสร้างช่องคลอดด้วยลำไส้ (Intestinal Vaginoplasty) การสร้างช่องคลอดด้วยเยื่อบุช่องท้อง (Endoscopic Peritoneal Flap Vaginoplasty) ทำให้การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงในปัจจุบัน มักจะได้ผลลัพธ์ที่ครบถ้วนทุกมิติและน่าพึงพอใจ นอกจากการผ่าตัดบริเวณอวัยวะเพศแล้ว การผ่าตัดแปลงเพศยังรวมไปถึงการผ่าตัดชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย […]

ชวนลอง ทรีทเมนต์หน้า โปรแกรม Brightening Skin Renewal อัพผิวไบร์ท และชุ่มชื้นขึ้น

แม้ช่วงเวลาโรคระบาดที่ผ่านมาจะทำให้สาวๆ จำเป็นต้องห่างการทำ ทรีทเมนต์หน้า ที่เคาน์เตอร์ความงามหรือสปามาสักพัก แต่ผิวสวยได้ไม่ต้องเว้นวรรคนะเธอ ในเมื่อตอนนี้กลับมาใช้ชีวิตได้ปกติแล้ว จะรอช้าอยู่ไย เพราะใบหน้าเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่สาวๆ เทใจดูแล และสรรหาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าสารพัดมาประโคมใส่ยิ่งกว่าไข่ในหิน รวมถึงเรื่องอาหาร และเหล่าวิตามินทั้งหลายที่สาวๆ เลือกทานเพื่อหวังให้ผิวสวยใส เปล่งปลั่งยิ่งขึ้นด้วย แต่เคล็ดลับเรื่องผิวสวยอย่าง ‘การนวดหน้า หรือทรีทเมนต์หน้า’ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กล้ามเนื้อ และระบายน้ำเหลือง รวมถึงขจัดของเสียต่างๆ ทำให้ผิวกระจ่างใส โดยครั้งนี้ได้ไปลองทำทรีทเมนต์หน้าโปรแกรม Brightening Skin Renewal ที่ AsterSpring Thailand ใช้เวลาเพียง 65 นาที สนนราคา 3,500 บาทเท่านั้น ซึ่งทางเทอราพิสต์จะเริ่มทำทรีทเมนต์ ดังนี้ 1. ทำความสะอาดรอบดวงตาและริมฝีปาก 2. ทำความสะอาดผิวหน้า 2 ขั้นตอนให้เกลี้ยงเกลา 3. ผลัดเซลส์ผิวอย่างอ่อนโยน เพื่อเตรียมผิวให้พร้อมรับการบำรุงแบบคอมโบ 4. กดบีบสิวด้วยเทคนิคพิเศษของ AsterSpring 5. เช็ดผิวด้วยผลิตภัณฑ์พิเศษเพื่อลดอาการอักเสบและแนวโน้มรอยดำสิวหลังจากกดบีบสิว 6. นวดด้วยเทคนิคการนวด 2 […]

งานวิจัยชี้ ‘ดื่มกาแฟ’ เกินวันละ 2 แก้ว เสี่ยงท้องยาก

กาแฟ เครื่องดื่มโปรดปรานของใครหลายๆ คน แม้จะมีงานวิจัยหลากหลายฉบับที่ออกมารายงานถึงประโยชน์ของ “คาเฟอีน” ในกาแฟ ที่นอกจากจะปลุกความตื่นตัวแล้ว ยังช่วยให้การทำงานของระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ขณะเดียวกันหากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการติดกาแฟ กระสับกระส่าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยหลายฉบับชี้ว่า ผู้หญิงที่ติดกาแฟ หรือ ดื่มกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว เสี่ยงท้องยาก และแท้งบุตรสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ดื่มกาแฟ งานวิจัยชี้ ‘ดื่มกาแฟ’ เกินวันละ 2 แก้ว เสี่ยงท้องยาก   ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้ผู้มีบุตรยาก babyandmom.co.th  เผยว่า ปัจจุบันแนวโน้มผู้มีบุตรยากมีสูงขึ้น ซึ่งมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผู้หญิงเป็นเวิร์คกิ้งวูแมนมากขึ้น ทุ่มเทกับการทำงานและความสำเร็จจึงทำให้แต่งงานช้า ความเครียดจากการทำงาน ไลฟ์สไตล์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจและสังคม โรคระบาด ทำให้ชะลอการมีบุตรออกไป ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีบุตรยาก นอกจากนี้การทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมถึงการดื่มกาแฟทุกวันส่งผลให้มีบุตรยากเช่นกัน จากการให้คำปรึกษาผู้หญิงที่มีบุตรยากที่อยู่ระหว่างการปรับโภชนาการเตรียมตั้งครรภ์ พบว่า […]

ออกกำลังกาย แค่วันละ 15 นาที 9 วินาที ช่วยยกระดับจิตใจได้ จริงหรือไม่?

ผลการทดลองจาก ASICS เผยว่าการที่คนเราไม่ออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ จะมีสภาวะทางจิตใจเช่นเดียวกับคนที่นอนหลับไม่สนิท แต่การออกกำลังกายเพียง 15:09 นาที สามารถกระตุ้นให้เกิดการการยกระดับทางจิตใจได้ ออกกำลังกาย แค่วันละ 15 นาที 9 วินาที ช่วยยกระดับจิตใจได้ จริงหรือไม่? จากการศึกษานี้ ทาง ASICS จึงเปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเปิดเผยถึงผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจจากการที่คนเราไม่ออกกำลังกาย โดยการทดลองดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับสภาวะทางจิตใจที่ใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์โดยผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23% Mind Race: การที่คนเราไม่ออกกำลังกายเพียง 1 สัปดาห์ สามารถส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจ ศาสตราจารย์เบรนดอน สตั๊บส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกาย และสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกต State […]

ปรับ 7 พฤติกรรมทำร้าย ‘กระดูกสันหลัง’ ป้องกันบาดเจ็บ และเสริมบุคลิกภาพเป๊ะขึ้น

กระดูกในร่างกายเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น ที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในต่างๆ ไขกระดูกบางชนิดจะช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว และเส้นเอ็นจะเป็นตัวเชื่อมโยงเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทุกส่วนล้วนทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ซึ่งเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดบกพร่อง ย่อมกระทบส่วนอื่นๆ ไปด้วยค่ะ ปรับ 7 พฤติกรรมทำร้าย ‘กระดูกสันหลัง‘ ป้องกันบาดเจ็บ และเสริมบุคลิกภาพเป๊ะขึ้น สำหรับ กระดูกสันหลัง นอกจากเป็นโครงสร้างแข็งแรงที่ปกป้องแกนของไขสันหลังแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อของหลัง และยังเชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ กระดูกสะบัก กระดูกเชิงกราน และกระดูกซี่โครงอีกด้วย สำคัญขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาดูแลกระดูกสันหลังกันซักหน่อย เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยชินที่จะทำร้ายกระดูกสันหลังของเราอย่างไม่รู้ตัว มาดูกันค่ะ ว่าอะไรบ้าง ที่เราควรจะเลิกเพื่อช่วยถนอมรักษากระดูกสันหลัง นั่งไขว่ห้าง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ คุณสาวๆ อย่านั่งไข่วห้างเลยค่ะ ถึงนั่งแล้วจะได้สรีระรูปตัวเอส ( s ) ดึงดูดสายตาชวนให้เหลียวมอง แต่สังเกตซักนิดว่าเวลาเรานั่งไขว่ห้างนานๆ เท้าอาจจะเริ่มชาจนต้องสลับข้าง เพราะเลือดเดินไม่สะดวก เวลานั่ง ตัวก็จะตะแคงบิดมาอีกด้านหนึ่ง ยิ่งถ้านั่งเป็นประจำน้ำหนักตัวก็จะทิ้งไปด้านเดียว กระดูกก็จะถูดบิดเป็นประจำทำให้หลังเสียโดยไม่รู้ตัว แนะนำให้นั่งวางเท้าชิดกันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้วหันไหล่ตรงก็เป็นท่านั่งที่ทำให้หุ่นดูสวยไม่แพ้กันเลยค่ะ การกอดอก ถึงมีเรื่องที่ต้องขบคิด เครียด หรือมีเรื่องหนักอก แนะนำว่าอย่าเอามากอดไว้กับอกเลยค่ะ […]

“เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด” ภาวะที่พบบ่อยในคนที่เล่นกีฬาหรือคนชอบออกกำลังกาย

ในหมู่นักกีฬาหรือคนชอบออกกำลังกาย คงเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่อง ‘ภาวะ เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด’ กันมาบ้าง แต่สำหรับคนทั่วไปอาจจะยังไม่ทราบมากนัก ซึ่งผลเสียของการได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีภาวะเอ็นไขว้หน้าเข่าขาดแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที “เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด” ภาวะที่พบบ่อยในคนที่เล่นกีฬาหรือคนชอบออกกำลังกาย บทความให้ความรู้ โดย นพ.ธาวิต เจริญโสภา แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์และดูกและข้อ-เวชศาสตร์การกีฬา จะมาช่วยตอบคำถามที่หลายท่านมักสงสัย และยังอาจจะไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (Anterior cruciate ligament : ACL) ที่มากพอ โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้อย่างครบถ้วนและชัดเจน เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (Anterior cruciate ligament : ACL) เป็นภาวะที่พบบ่อยในคนที่เล่นกีฬา หรือแม้แต่ในคนทั่วไปที่ไม่ได้เล่นกีฬาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกบันได เข่าพลิก หรือเข่าบิด โดยคนไข้มักจะมาด้วยอาการปวดเข่าเฉียบพลันหลังการบาดเจ็บ ได้ยินเสียงดัง หรือ Popping Sound มีอาการปวดเข่า เข่าบวม ไม่สามารถเล่นกีฬาต่อได้ ถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง อาจไม่สามารถตรวจเจอได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไข้มักจะกลับไปเดินได้หลังจากหายปวดประมาณ 1-2 สัปดาห์ เอ็นไขว้หน้าคืออะไร? เอ็นในเข่า ประกอบด้วย เอ็นหลักๆ อยู่ 4 เส้น แบ่งเป็น 2 เส้น อยู่ด้านข้าง และ […]

ผู้ป่วยไต ควรเลือกกินอาหารอย่างไร ให้อร่อยปาก ไม่ลำบากไต

โครงการ คุยเรื่องไขความจริง โดย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เชิญ รศ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมโรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาแนะวิธีการปรับเปลี่ยนการทานอาหารสำหรับ ผู้ป่วยไต เพื่อชะลอการเปลี่ยนถ่ายไตในตอน “อร่อยปาก ลำบากไต” ผู้ป่วยไต ควรเลือกกินอาหารอย่างไร ให้อร่อยปาก ไม่ลำบากไต อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้ และประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยง ผู้ป่วยโรคไตมักมีความกังวลเรื่องอาหาร ว่าหากทานมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย หรือหากทานน้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต หรือล้างไตทางหน้าท้อง ซึ่งต้องระมัดระวังเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะต้องช่วยลดภาระหน้าที่ของไตในการขับน้ำ ของเสีย และเกลือแร่ ผู้ป่วยโรคไตต้องเลือกทานอาหารเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุด ดังนี้ ผักและผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ผักและผลไม้ที่มีสีเข้ม เพราะอาจจะมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง พร้อมเปลี่ยนมาทานอาหารที่มีรสชาติจืด สีสันอ่อน เช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา เต้าหู้ ผักกาดขาว ฟัก แอปเปิ้ล และสาลี่แทน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยต้องการที่จะทานผักสีเข้ม ยกตัวอย่างเช่น ผักบุ้ง จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร โดยการนำผักไปต้มในน้ำประมาณ 5 นาที เพื่อให้โพแทสเซียมที่อยู่ในผักลงไปอยู่ในน้ำ พร้อมรินน้ำที่มีเกลือแร่เหล่านั้นทิ้งไปก่อนประกอบอาหารขั้นต่อไป หลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูง […]

มีไข้สูง ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือสัญญาณอันตราย “โรคไข้สมองอักเสบ”

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุของ โรคไข้สมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบของสมอง หากไม่รักษาให้ทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายต่อชีวิต มีไข้สูง ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือสัญญาณอันตราย “โรคไข้สมองอักเสบ” สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อที่เข้าทำลายสมอง ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสหรือผ่านระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเข้าทำลายเนื้อสมอง ซึ่งอาจเกิดจากภูมิต้านทานตนเองหรือเกิดตามหลังการติดเชื้อ พบได้ในทุกคนทุกวัย ชนิดของเชื้อไวรัส  ไข้สมองอักเสบจากการติดเชื้อเจอี เชื้อเริม หรือ เชื้อสุนัขบ้า โรคไข้สมองอักเสบเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น โรคสมองอักเสบชนิดเอ็นเอ็มดีเอ ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุน้อย และอาจพบร่วมกับเนื้องอกรังไข่ โรคไข้สมองอักเสบภูมิต้านตนเองบางชนิด เช่น โรคไข้สมองอักเสบหลายตำแหน่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน(ADEM) มักพบหลังการติดเชื้อ ซึ่งโรคไข้สมองอักเสบจากภูมิต้านตนเองจะมีหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของแอนติบอดีที่จำเพาะต่อตัวรับสารสื่อประสาทในสมอง เช่น ตัวรับ NMDA หรือตัวรับของไอออนโปตัสเซียม แอนติบอดีเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นในผู้ที่มีโรคไข้สมองอักเสบภูมิต้านตนเองที่ยังไม่ทราบแน่ชัด จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยจะมีอาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการผิดปกติทางสมองและระบบประสาท เช่น สูญเสียความจำ และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อาทิ มีภาวะประสาทหลอนคล้ายกับผู้ป่วยจิตเภท หวาดกลัวโดยไม่มีสาเหตุ บางรายอาจมีอาการชักหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอาจอันตรายถึงชีวิตได้ การวินิจฉัยจะต้องทำการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด […]

ยิ่งอดยิ่งแย่! วิธีกระตุ้นระบบเผาผลาญ และการเพิ่มพลังงานด้วยสารอาหารที่ดี

วิธีกระตุ้นระบบเผาผลาญ และการเพิ่มพลังงานด้วยสารอาหารที่ดี การทานอาหารที่มีโปรตีนเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานต่อวันได้ดีกว่าการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเพียงอย่างเดียว วิธีกระตุ้นระบบเผาผลาญ และการเพิ่มพลังงานด้วยสารอาหารที่ดี กว่าหลายปีที่ผ่านมา การเผาผลาญพลังงานนับเป็นเป้าหมายหลักของผู้บริโภค เนื่องจากมีผลต่อน้ำหนัก ความอยากอาหาร และระดับไขมันในร่างกาย ยิ่งการเผาผลาญสูงขึ้นเท่าใด พลังงานที่คุณเผาผลาญได้ก็สูงขึ้นด้วยแม้จะอยู่ในขณะพักผ่อน อย่างไรก็ตามหลายคนอาจยังคงไม่ทราบว่าการที่ร่างกายเผาผลาญได้ดีหมายความว่าคุณอาจต้องทานมากขึ้น และ/หรือปรับช่วงเวลาของมื้ออาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ โดย มิเชล ริกเกอร์ กล่าวว่าสิ่งที่สำคัญในที่นี้คือ การเข้าใจว่าร่างกายจัดการกับอาหารอย่างไร และอาหารประเภทใดที่จำเป็นต้องทานเพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสม ร่างกายสร้างพลังงานได้อย่างไร แม้ว่าอาหารทุกชนิดจะช่วยเพิ่มพลังงานได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าอาหารประเภทใดที่เหมาะแก่การทานเพื่อรักษาระดับพลังงาน โดยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ไขมันดี (อะโวคาโดและถั่ว) และโปรตีน (ปลา ไก่ เทมเป้ ไข่ และอื่นๆ) จะใช้เวลาในการย่อยนาน ช่วยตอบสนองต่อความหิว และค่อยๆ ให้พลังงานอย่างสม่ำเสมอ จึงมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำ ซึ่งค่าดัชนีน้ำตาลต่ำถือเป็นสิ่งที่ดีด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ร่างกายใช้พลังงานน้อยกว่าการย่อยอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลที่สูงหรืออาหาร “ขยะ” เนื่องจากมีส่วนผสมของวัตถุดิบที่ผ่านการขัดสี การย่อยที่เร็วทำให้หิวบ่อย และจะส่งความรู้สึกความอยากอาหารไปที่สมอง ในทำนองเดียวกันกับการอดอาหาร สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ “การอดอาหาร” ส่งผลเสียในระยะยาวคือ ทุกครั้งที่อดอาหาร หรือร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงและมีการปล่อยฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกายที่กระตุ้นให้เกิดการสลายกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ใช่การเผาผลาญไขมัน ปฏิกิริยานี้ทำให้คุณมีความอยากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นเพื่อรักษาระดับพลังงาน แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนสำคัญของมื้ออาหารที่สมดุลเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน แต่การมุ่งเน้นให้ร่างกายได้รับโปรตีนต่อวันอย่างเพียงพอต่อความต้องการจะทำให้สามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าการทานอาหารที่เน้นแต่คาร์โบไฮเดรตสูง การทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน […]

ระวัง “ฝีดาษลิง” โรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง ที่กำลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มกำลังระบาดในยุโรปแล้ว พบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษในโปรตุเกส 6 ราย ในขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกกว่า 12 ราย ที่อยู่ระหว่างการตรวจวินิจฉัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่ ทาง กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง จึงออกทมาเตือน ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคชนิดนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน แพทย์ผิวหนังเตือน “ฝีดาษลิง” เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งการระบาดของเชื้อไวรัสฝีดาษลิง มีลักษณะการติดต่อแบ่งเป็นจากสัตว์สู่มนุษย์ พบว่าสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง หรือเยื่อเมือกเช่น จมูก ปาก หรือตา กับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง หรือการนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร รวมทั้งการถูกสัตว์ป่วย ข่วน กัด หรือสัมผัส เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น ส่วนการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ทางหลักติดต่อผ่านละอองฝอยทางการหายใจขนาดใหญ่ จากการอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะประชิด การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย การสัมผัสเลือด หรือรอยโรคที่ผิวหนัง หรือของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว […]

แอสตร้าเซนเนก้า ได้รับอนุมัติจาก EMA ให้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในผู้ใหญ่

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของยุโรป (EMA) ให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในผู้ใหญ่ ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA ที่ผ่านการรับรองจากสหภาพยุโรป แอสตร้าเซนเนก้า ได้รับอนุมัติจาก EMA ให้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในผู้ใหญ่ การอนุมัติครั้งนี้ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณายาสำหรับมนุษย์ของสหภาพยุโรป (CHMP) ด้วยข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ให้เห็นถึงระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังจากที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA1-5 แม้ว่ากว่า 65% ของประชากรโลกจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม6 แต่การเพิ่มจำนวนประชากรให้ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็มและเข้ารับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญอยู่ในขณะนี้  ซึ่งหลังจากการอนุมัตินี้บุคลากรทางการแพทย์จะมีตัวเลือกมากขึ้นในการแนะนำวัคซีนให้แก่ประชาชน เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตราเซเนก้า กล่าวว่า “การอนุมัติให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามได้นั้นถือเป็นก้าวที่สำคัญในการไปสู่เป้าหมายของเราที่ต้องการป้องกันโรคโควิด-19 ให้กันประชากรทั่วโลก ซึ่งการดูแลภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคให้ยาวนานขึ้นเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมและจัดการโรคนี้ได้ในระยะยาวได้ ซึ่งวัคซีนเข็มกระตุ้นนี้จะมาช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่ลดลงตามระยะเวลาหลังจากที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกแล้ว” มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่ให้การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม หลังจากได้รับวัคซีนสองเข็มแรกชนิดต่างๆ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีน mRNA และวัคซีน CoronaVac1,7-12 วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนชนิดเดียวกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า) ในสหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกา นอกจากนั้นยังได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามหลังการได้รับวัคซีนต่างชนิดกัน (ผู้ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีนไวรัล เวคเตอร์ อื่นที่ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีนเชื้อตาย หรือวัคซีน mRNA) ในหลายประเทศนอกสหภาพยุโรป […]

keyboard_arrow_up