Wellness
ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19
จากหัวข้อด้านบนหลายคนอาจสงสัย ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น เพราะทั้งไข้หวัดใหญ่รุ่นพี่ และเพื่อนรุ่นน้องอย่างโควิด-19 เป็นโรคติดต่อจากระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันตรงไวรัสที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อมาจากไวรัสคนละชนิดกัน สำหรับ ไข้หวัดใหญ่ เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนโควิด-19 เกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ที่พบในปี 2019 และเป็นที่ทราบกันดีอีกว่าโรคโควิด-19 นั้น สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วภาษีความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยบางส่วนจะมากกว่าเยอะ และแน่นอนว่าการจะวินิจฉัยแยกโรคการติดเชื้อทั้ง 2 ชนิดออกจากกัน ลำพังการดูจากประวัติ และอาการ หากการแสดงอาการไม่เพียงพอที่บอกได้ นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมจะต้องทำการตรวจ การทดสอบโรคทุกครั้งหากมีอาการที่ชวนสงสัย โดยในวันนี้จะกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานของโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อนรุ่นพี่ซึ่งอินเทรนด์ในช่วงหน้าฝนที่กำลังจะเข้ามาในประเทศไทย โดย นพ.ณฐนัท ช่างเงินชญช์ แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวชได้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โดยรวบรวมไว้ในบทความให้ความรู้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการติดต่อ สาเหตุ อาการ กลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่รู้จักกันดี และเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากสำหรับคนไทย เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก สามารถติดต่อได้ง่าย จึงทำให้มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น ถึงแม้ไข้หวัดใหญ่จะไม่มีความรุนแรงสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง แต่ก็มีผลทำให้ไม่สบาย ไม่สามารถไปทำงานหรือไปโรงเรียนได้ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานต่ำ โรคอาจจะเกิดความรุนแรงได้ […]
แก้ได้ด้วยตัวเอง! 7 วิธีแก้ อาการปวดเมื่อย ที่คนชอบนั่งแช่ ไม่ขยับตัว ควรทำ
ใครไม่เคยปวดเมื่อยบ้าง?? อาการปวด ถือเป็นสิ่งดีในทางธรรมชาติบำบัด เป็นเสมือนระฆังที่ส่งสัญญาณเตือนให้รู้ว่าร่างกายเรานั้น กำลังมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ อาการปวดเมื่อย ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดหัว ปวดไหล่ ปวดขึ้นไปกะโหลกศีรษะ ปวดเข้ากระบอกตา ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้น ปวดขา ปวดเข่า หรือปวดไปจนถึงข้อเท้า ฝ่าเท้าหรือที่เรียกรองช้ำ มีสาเหตุมาจาก 2 ประการคือ 10 % ของอาการปวดมาจากโรค เช่น มะเร็ง โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น อาการปวดที่เกิดจากโรค ส่วนใหญ่มักไม่มีสาเหตุที่ทำให้ความปวดชัดเจน คิดจะปวดเมื่อไหร่ก็ปวด เช่น มักปวดในเวลากลางคืน จนทำให้ตื่น หรือแม้นั่งพักเฉยๆ ก็ปวด อีก 90 % มาจากความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย อาการปวดเกิดจากโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ […]
10 ข้อควรรู้ เตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกสำหรับผู้ที่ทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’
การเตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีและกลายเป็นทารกน้อยในครรภ์ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญสำหรับสตรีมีบุตรยากที่เข้าสู่กระบวนการทำ เด็กหลอดแก้ว ทั้งกระบวนการทำ (IVF) หรือ อิ๊กซี่ (ICSI) เพราะหลังจากผ่านกระบวนการบำรุงเตรียมตัวก่อนเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ และลุ้นผลการปฏิสนธิในห้องแล็บ และเลี้ยงไปถึงระยะบลาสโตซิสต์แล้ว สำหรับสตรีที่มีความเสี่ยงทางโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและมีอายุเกิน 35 ปี ยังต้องลุ้นผลตรวจโครโมโซม ดังนั้นว่าที่คุณแม่คงไม่อยากพลาดขั้นตอนสุดท้าย คือการเตรียมความพร้อมก่อนย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์ 10 ข้อควรรู้ เตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกสำหรับผู้ที่ทำ ‘เด็กหลอดแก้ว’ ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ให้ข้อมูลว่า “การเตรียมตัวก่อนย้ายตัวอ่อนสู่โพรงมดลูกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะเป็นจุดชี้วัดความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่อยู่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ผู้หญิงที่มีบุตรยาก ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมก่อนย้ายตัวอ่อน โดยภายหลังที่ได้ตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์และคัดโครโมโซมผ่านแล้ว สามารถแช่แข็งตัวอ่อนไว้ได้ ไม่ต้องรีบใส่ตัวอ่อน ควรพักอย่างน้อย 1-3 รอบเดือน เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมร่างกาย และบำบัดมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ โดยผนังมดลูกที่สมบูรณ์พร้อมตามเกณฑ์ที่เหมาะสมในการฝังตัวของตัวอ่อนควรมีลักษณะดังนี้ คือ ผนังมดลูกมีความหนา 8-10 มิลลิเมตร เรียง 3 ชั้นสวย (Triple lines) ผนังมดลูกมีผิวเรียบเห็นเส้นกลางชัดเจน ใสเป็นวุ้น มดลูกสะอาด ไม่หนาทึบทับถมด้วยประจำเดือนเก่าที่คั่งค้าง มดลูกอุ่น […]
‘ลีแอน’ ดาวดังบน Tiktok เผยเกิดมามี 2 ช่องคลอดจากภาวะ “มดลูกแฝด” เคสหายาก
กลายเป็นคลิปไวรัลบนโซเชี่ยล เมื่อ ‘ลีแอน’ ดาวดังบน Tiktok เผยว่าเธอเกิดมามี 2 ช่องคลอด 2 มดลูก และ 2 ปากมดลูก ซึ่งเกิดจากภาวะ “มดลูกแฝด” ถือเป็นเคสที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ‘ลีแอน’ ดาวดังบน Tiktok เผยเกิดมามี 2 ช่องคลอดจากภาวะ “มดลูกแฝด” เคสหายาก ลีแอนเผยว่า เธอเกิดมาพร้อมภาวะมดลูกแฝด หรือ UTERUS DIDELPHYS ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายสร้างอวัยวะสืบพันธ์ขึ้นมาเกินจากปกติ ทำให้เธอมีมดลูก 2 อันในร่างกาย และยังมีปากมดลูกแยกกัน และมีช่องคลอด 2 ช่องอีกด้วย ซึ่งหลังจากที่เธอออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ ก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก จนเธอวาดรูปเปรียบเทียบอวัยวะแฝดของเธอ เมื่อเทียบกับคนปกติแล้วมันเป็นอย่างไร เพื่อตอบข้อข้องใจใครหลายคนที่เข้ามาคอมเมนต์ หากมองจากภายนอกอวัยวะเพศหญิงของเธอนั้นดูปกติเหมือนคนทั่วไป แต่กลับมีผนังกั้น ทำให้ช่องคลอดของเธอแบ่งออกเป็น 2 ช่อง ที่มีทางออกเดียวกัน และแต่ละช่องเชื่อมไปยังมดลูกคนละอัน ลีแอน ยังได้เผยอีกว่า สิ่งที่แย่ที่สุดคือ เธอต้องมีประจำเดือน 2 ครั้ง เพราะแต่ละมดลูกจะตกไข่แยกกัน […]
ปรับอาหารลดเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” เน้นกินแบบ DASH Diet หรือ Mediterranean Diet
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีสาเหตุจากการตีบ อุดตัน หรือแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดเลือด และสูญเสียการทำงาน จนส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย ได้แก่ โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ปรับอาหารลดเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” เน้นกินแบบ DASH Diet หรือ Mediterranean Diet แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยให้มีดัชนีมวลกาย 18.5 – 22.9 kg/m2 ทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค โดยปฏิบัติดังนี้ หลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด ควรบริโภคน้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม เบเกอรี่ ขนมไทย หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด ควรบริโภคน้ำมัน ไม่เกิน 6 […]
8 เวลาสำคัญที่ควรดื่มน้ำที่สุด ดื่มถูกจังหวะช่วยลดพุง ลดไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกัน
ควรดื่มน้ำเมื่อถึงเวลาดื่ม ไม่ใช่ดื่มตอนที่ร่างกายหิวน้ำ เพราะจะแปลว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ (dehydration) ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการเวียนหัว ตัดสินใจไม่ฉับไว ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ การทำงานของระบบเผาผลาญแย่ลง การนอนหลับผิดปกติ การทำงานของฮอร์โมนผิดปกติ ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำในเวลาที่จำเป็นและไม่ควรปล่อยให้ร่างกายรู้สึกหิวน้ำขึ้นมาบ่อยๆ และน้ำที่ดีที่สุดก็คือ น้ำเปล่า น้ำแร่ ไม่ใช่น้ำที่ผสมสารเพิ่มวิตามินต่างๆ โดย นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า ได้แนะ 8 ช่วงเวลาสำคัญในการดื่มน้ำให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะการดื่มน้ำสำคัญต่อระบบการทำงานในร่างกายของเรา หากเลือกช่วงเวลาในการดื่มน้ำที่เหมาะสม จะยิ่งช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพโดยรวม ระบบเผาผลาญพลังงาน การทำงานของฮอร์โมนต่างๆ และภูมิคุ้มกันโรค เพราะแค่ดื่มคนละช่วงเวลา สุขภาพก็ต่างกันได้ 8 เวลาที่ควรดื่มน้ำที่สุด! ช่วยลดพุง ลดไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกัน ตลอดชีวิต หลังตื่นนอน หลังจากที่ร่างกายไม่ได้ดื่มน้ำเลยแม้แต่หยดเดียวระหว่างที่เข้านอนเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง (ตามเวลานอนปกติ) จึงควรรีบดื่มน้ำทันทีหลังจากตื่นนอน เพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ลดอาการเวียนศีรษะ เพราะขาดน้ำเป็นเวลานาน ดังนั้น หลังตื่นนอนควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว (200 […]
โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้
โควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวเราไม่จากไปไหน บางคนเป็นแล้ว-หายแล้ว บางคนยังคงรอดถึงซีซั่นนี้ แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามคาใจสงสัยหลายข้อว่า โควิดติดซ้ำได้หรือไม่ ทำ Home Isolation ที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย กักตัวครบแล้ว ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หายป่วยจากโควิดแล้ว ฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ฉีดวัคซีนหลายชนิดปนกัน จะเป็นอันตรายไหม ดูแลตัวเองอย่างไรให้รอดจากโควิดซีซั่นนี้ โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่ ? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้ ซึ่งแพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ ได้อัพเดทตอบข้อสงสัยที่ผู้ป่วยมักจะถามคุณหมอกันบ่อยๆ เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ โดยปกติแล้ว ข้อมูลการติดเชื้อโควิดซ้ำๆ ก่อนหน้าที่จะมีโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเกิดขึ้นมา ได้มีการเก็บข้อมูลมาเป็นระยะ พบว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้วผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาจะยังไม่มีการติดเชื้อซ้ำ ภายใน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ แต่หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำจะมีเทียบเท่ากันกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ประกอบกับการได้รับวัคซีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 3 หรือ เข็มที่ 4 […]
เผยสาเหตุ “ภาวะผมร่วง” ผิดปกติ จากที่ทุกวันควรร่วงไม่เกิน 30-50 เส้น
จริงๆ แล้วสาเหตุของ ภาวะผมร่วง เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้อง เผยสาเหตุ “ภาวะผมร่วง” ผิดปกติ จากที่ทุกวันควรร่วงไม่เกิน 30-50 เส้น โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเรามีประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร และมีอายุนาน 2 ถึง 6 ปี โดยปกติคนเราจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30 ถึง 50 เส้น ผมร่วงผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะผมร่วง และวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง สาเหตุของภาวะผมร่วงนั้น เกิดได้หลายสาเหตุ ผมร่วงจากกรรรมพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่มักพบในเพศชาย เห็นเป็นเส้นขนอ่อนๆ ทำให้ผมบริเวณนั้นดูบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผาก ผมผลัด เกิดผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดมากๆ หรือขาดสารอาหารเช่นเหล็กหรือวิตามินดี ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมที่กำลังเจริญมีการหยุดเจริญและหลุดร่วงมากกว่าปกติ ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงจะมีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผมหนังศีรษะในบริเวณนั้น ไม่แดง ไม่เจ็บ […]
ป้องกันไว้ดีกว่ารักษา! 7 เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”
มะเร็งปากมดลูก พบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ที่แสดงออกมาชัดเจน รวมถึงผู้หญิงไทยยังมีอัตราการตรวจคัดกรองโรคในระดับที่น้อย กว่าที่จะตรวจพบ ก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด 7 เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก“ 1. มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด และอวัยวะเพศ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ รวมถึงการมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น 2. ควรฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อ HPV ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% […]
วิธีป้องกัน “มะเร็งช่องปาก” อีกหนึ่งโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
มะเร็งช่องปาก เป็นอีกหนึ่งโรคมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่ง ในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล วิธีป้องกัน “มะเร็งช่องปาก“ อีกหนึ่งโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มะเร็งช่องปากเกิดขึ้นจากความผิดปกติของการพัฒนาเซลล์ในช่องปาก แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของความผิดปกติดังกล่าว แต่พบว่ามีปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งช่องปากได้ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) หรือการมีแผลเรื้อรังในช่องปาก เป็นต้น อาการส่วนใหญ่ของมะเร็งในช่องปาก พบได้หลายลักษณะ เช่น การมีฝ้าขาวๆ ที่บริเวณใต้ลิ้น เหงือก พื้นช่องปาก เมื่อมีอาการเรื้อรังเป็นเวลานานรอยฝ้านั้นอาจนูนขึ้นเป็นก้อน หรือกรณีเกิดแผลจะมีลักษณะคล้ายอาการร้อนในแต่จะมีอาการเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ มะเร็งของลิ้นหรือลำคอในบางตำแหน่งอาจทำให้เกิดการเจ็บในหูขณะกลืนอาหารได้เนื่องจากมีเส้นประสาทร่วมกัน หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะไม่ลุกลาม การรักษามะเร็งช่องปาก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะของโรคที่แพร่กระจายหรือบริเวณที่เกิดโรคของผู้ป่วย ขนาดของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วยซึ่งทีมแพทย์จะช่วยวางแผนการรักษาโดยอาจมีการผสมผสานวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การทำเคมีบำบัด และรังสีรักษา อย่างไรก็ตามกระบวนการรักษาโรคสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แล้วแต่กรณี ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย […]
วัย 40 อัพระวัง “โรคจอประสาทตาเสื่อม” เปิดสาเหตุ พร้อมแนะวิธีป้องกันและรักษา
ดวงตาคงจะไม่ได้เป็นเพียงหน้าต่างของหัวใจ เพราะดวงตาเป็นจุดเริ่มต้นของการรับรู้ ที่ทำหน้าที่เปิดรับข้อมูลเพื่อเข้าสู่กระบวนการทางความคิด การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อีกมากมายในชีวิตเรา โดยในกระบวนการรับรู้ผ่านระบบการมองเห็นนั้น ภาพหรือแสงจะต้องเดินทางเข้าไปในลูกตา ผ่านส่วนประกอบต่างๆ ของตา ได้แก่ กระจกตา และเลนส์แก้วตา จนไปตกกระทบที่จอประสาทตาที่เป็นผนังชั้นในของลูกตา อันประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทตาจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพที่ได้ผ่านเส้นประสาทตาไปสู่สมอง เพื่อทำการแปลสัญญาณเป็นภาพในที่สุด วัย 40 อัพระวัง “โรคจอประสาทตาเสื่อม” เปิดสาเหตุ พร้อมแนะวิธีป้องกันและรักษา โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ แม้ว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมอาจเกิดได้กับผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ หรือเกิดจากโรคติดเชื้อบางอย่าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปจึงอาจถือได้ว่าเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกาย โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการของโรค ได้แก่ อายุ เนื่องจากพบได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป พันธุกรรม พบว่าอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม บุหรี่ โดย มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจน ความดันเลือดสูง โดยคนไข้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน Cholesterol ในเลือดสูงและระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว […]
รอยปื้นสีน้ำตาลหรือดำบนเล็บ อาจส่งสัญญาณเตือน “มะเร็งผิวหนัง” ชนิดเมลาโนมา
จากกรณีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งโพสต์คลิปวิดีโอแสดงภาพเล็บของเธอมีเส้นหนาๆ สีดำหรือสีน้ำตาลคล้ายกระหรือรอยฟกช้ำปรากฏขึ้นในแนวตั้งบริเวณหน้าเล็บนั้น ทางกรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง แนะให้สังเกตความผิดปกติ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งผิวหนัง ชนิดเมลาโนมาบริเวณเล็บ (nail melanoma) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง รอยปื้นสีน้ำตาลหรือดำบนเล็บ อาจส่งสัญญาณเตือน “มะเร็งผิวหนัง” ชนิดเมลาโนมา บนเล็บ โดยกรณีของหญิงสาวที่โพสต์คลิปวิดีโอแสดงภาพเล็บของเธอมีเส้นหนาๆ สีดำหรือสีน้ำตาลคล้ายกระหรือรอยฟกช้ำปรากฏขึ้นในแนวตั้งบริเวณหน้าเล็บนั้น เข้าได้กับลักษณะที่เรียกว่า longitudinal melanonychia โดยบางครั้งอาจมาด้วยลักษณะเล็บเป็นเส้นขีด หรือปื้นสีน้ำตาลตามแนวยาวของเล็บจากโคนจนถึงส่วนปลายสุดของเล็บ สีมีความแตกต่างกันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ อาจมีสีสม่ำเสมอ หรือไม่สม่ำเสมอ ขนาดเป็นได้ตั้งแต่ขีดเล็กๆ ไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ไปจนถึงปื้นสีดำทั้งเล็บ อาจมีแค่เส้นเดียว หรือหลายเส้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว โดยกรณีมีเส้นเดียวอาจมีสาเหตุมาจากการเป็นไฝบริเวณโคนเล็บ เป็นต้น สำหรับกรณีที่มีเส้นหลายเส้นมักมีสาเหตุมาจากการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีให้ทำงานผิดปกติเช่น การทำให้เกิดการได้รับบาดเจ็บบริเวณเล็บ ยาบางชนิด เช่น zidovudine ยาเคมีบำบัด หรือโรคบางชนิด เป็นต้น รวมถึงอาจพบได้เป็นปกติในคนที่มีผิวสีคล้ำอีกด้วย ถึงแม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดเล็บเป็นเส้นสีน้ำตาลนั้นมักจะไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งอาการดังกล่าวอาจเป็นอาการแสดงของมะเร็งผิวหนังได้เช่นเดียวกันดังที่ปรากฏในข่าว มะเร็งผิวหนัง ชนิดเมลาโนมา บริเวณเล็บ (nail melanoma) พบได้ไม่บ่อย แต่มีความรุนแรง ดังนั้น […]
เช็คด่วน! 7 สัญญาณเตือน “มะเร็ง” คุกคาม
การหมั่นสังเกตสัญญาณเตือน “มะเร็ง” เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ ด้วยปัจจุบันมะเร็งยังเป็นอันดับหนึ่งของโรคร้าย ที่มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย และหมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอทุกปี สามารถช่วยลดความรุนแรงของมะเร็ง และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการตรวจพบเชื้อมะเร็งในระยะเริ่มแรก พร้อมการรักษา และปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพิ่มโอกาสที่จะรักษาหายได้มากถึง 20-80% อีกทั้งยังช่วยลดทอนระยะเวลา ขั้นตอนการรักษา รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้กว่า 60% เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ตรวจพบในระยะมะเร็งที่แสดงออกชัดเจน หรือเชื้อมะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นมะเร็ง เนื่องจากระยะเริ่มแรกของมะเร็งจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน มะเร็งยังคงเป็นภัยเงียบ ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ชัดเจนเหมือนโรคอื่นๆ เนื่องจากระยะเริ่มแรกอาจไม่ได้แสดงอาการที่รุนแรงออกมา โดยอาการที่จะแสดงออกมานั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดก้อนเนื้อและการแพร่กระจายในบริเวณอวัยวะข้างเคียง โดยลักษณะอาการที่แสดงอาจเห็นได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่นอกเหนือจากส่วนอวัยวะที่เป็นมะเร็งด้วย เนื่องจากสัญญาณเตือนมะเร็งส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับอาการเจ็บป่วยทั่วไป 7 สัญญาณเตือน “มะเร็ง” คุกคาม นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ เปิดเผยถึง 7 สัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง ที่สามารถสังเกตความผิดปกติร่างกายได้ดังต่อไปนี้ สัญญาณผิดปกติของระบบขับถ่าย พบอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียเรื้อรังในระยะเวลาต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งที่บริเวณทวารหนัก แต่หากมีอาการทางปัสสาวะติดๆ ขัดๆ หรือต้องอาศัยแรงเบ่งกว่าปกติ อาการนี้อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากได้ สัญญาณผิดปกติจากแผลเรื้อรัง ถ้ามีแผลในช่องปากเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ให้ระวังมะเร็งช่องปาก แต่หากมีแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง อาจเป็นมะเร็งผิวหนัง หรือแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหารแบบรู้สึกแสบท้อง อาจเกิดจากมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน สัญญาณผิดปกติจากก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบนร่างกาย ควรหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติบนร่างกาย […]
5 เทรนด์วิทยาศาสตร์และ เทคนิคการแพทย์ จุดเปลี่ยนวิถีดูแลสุขภาพของคนยุคใหม่
เมื่อวานนี้ 7 เมษายน ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้เป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) เป็นหมุดหมายที่สำคัญในการรณรงค์ด้านสุขภาพของคนทั่วโลก ทั้งในแง่การควบคุม ป้องกัน แก้ปัญหา และส่งเสริม ให้เกิดความทั่วถึง อย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมกัน ในปี 2565 นี้มีการกำหนดหัวข้อรณรงค์ไว้ว่า Our planet, our health สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 และสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว ผลกระทบทางด้านสุขภาพที่พลเมืองโลกต้องเผชิญนั้นไม่ได้เป็นปัญหาของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่เราต่างต้องเผชิญร่วมกัน มีผลกระทบต่อเนื่องกันอย่างเลี่ยงไม่ได้แม้อยู่คนละซีกโลก รวมทั้งทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ คือพลังสำคัญในการต่อสู้กับช่วงเวลาที่แสนยากลำบากนี้ คาดการณ์ว่าวิทยาศาสตร์และ เทคนิคการแพทย์ ที่กำลังมีอิทธิพลต่อการดูแลสุขภาพของประชาชน มี 5 เทรนด์ที่สำคัญ ดังนี้ Know Your DNA การตรวจ DNA จะกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เป็นเสมือนการถอดรหัสชีวิต ที่จะบอกว่าพื้นฐานร่างกายของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีความสามารถในการรับมือกับผลกระทบต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เช่น ความทนทานของกล้ามเนื้อในการออกกำลังกาย ความไวต่อแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เป็นต้น ตลอดจนรู้ถึงศักยภาพแฝง เช่น อัจฉริยภาพทางด้านภาษา ดนตรี หรือศิลปะ Dig Deep to The Micro เมื่อก่อนการตรวจสารอาหารในร่างกายทำได้ยาก แต่ตอนนี้สามารถตรวจสารอาหารต่าง ๆ […]
‘โรคไบโพลาร์’ หรือ ‘โรคอารมณ์สองขั้ว’ รู้ไว รักษาหาย
หากลองสังเกตดีๆ ปฎิเสธไม่ได้ว่าความเครียดในชีวิตประจำวันพบได้บ่อยมากขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่กลับมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่ยากนัก ทว่าตัวผู้ป่วยเองอาจยังไม่รู้ว่าตนป่วยหรือรู้สึกลำบากใจที่จะยอมรับ ไม่กล้าไปพบแพทย์ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด และความทุกข์ใจต่อคนในครอบครัวและคนรอบข้างได้ ‘โรคไบโพลาร์’ หรือ ‘โรคอารมณ์สองขั้ว‘ รู้ไว รักษาหาย โรคที่ว่านี้คือ ‘โรคไบโพลาร์’ (Bipolar Disorder) หรือ ‘โรคอารมณ์สองขั้ว’ เนื่องในวันไบโพลาร์โลกที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมมือกับ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอาการและคนในครอบครัวในการรักษา รับมือกับโรค ที่จะสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติในที่สุด หลายคนอาจมีคำถามว่าโรคไบโพลาร์คืออะไร โรคไบโพลาร์เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดหนึ่งที่มีการขึ้นและลงของอารมณ์อย่างรุนแรง โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเกิดในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการแมเนีย (Mania) คือ อารมณ์ดี คึกคัก สนุกสนาน และกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depress) จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (ขั้วบวก = แมเนีย และ ขั้วลบ = ซึมเศร้า) โดยปกติในแต่ละวัน คนเราจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ […]
“อะเฟเซีย” ภาวะอาการทางสมองส่งผลต่อการสื่อสาร เช่น พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ
เผยเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหาย ทำให้มีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ อะเฟเซีย (APHASIA) ภาวะอาการทางสมองส่งผลต่อการสื่อสาร อะเฟเซีย เป็นกลุ่มอาการทางระบบประสาท ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียความสามารถของสมองในการสื่อสารด้วยภาษา ผู้ป่วยที่มีอาการอะเฟเซียจะมีความบกพร่องในการใช้ภาษา โดยแบ่งกลุ่มอาการออกเป็น 3 กลุ่ม 1. เป็นความผิดปกติด้านการสั่งการด้วยภาษา เช่น พูดไม่ออก สะกดคำผิด เขียนไม่ได้ เขียนไม่เป็นคำ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก 2. ความผิดปกติด้านความเข้าใจภาษา เช่น ฟังไม่เข้าใจ อ่านไม่เข้าใจ 3. มีความผิดปกติทั้งด้านการสั่งการด้วยภาษาและความเข้าใจภาษา ทำให้มีลักษณะเงียบ เฉยเมย ไม่พูด และไม่เข้าใจภาษา อย่างไรก็ตามหากพบอาการแสดงจากภาวะอะเฟเซีย และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก จะให้ผลการรักษาดีกว่าการปล่อยอาการไว้ในระยะเวลานาน ควรมาพบแพทย์ประเมินหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป อะเฟเซียเกิดจากโรคทางระบบประสาทได้หลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บที่สมองที่ควบคุมความสามารถด้านภาษา โรคหลอดเลือดสมอง สมองอักเสบ เนื้องอกในระบบประสาท สมองเสื่อม เป็นต้น การวินิจฉัยกลุ่มอาการผู้ป่วยอะเฟเซียต้องทำการซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาเหตุจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย แนวทางการป้องกันและการรักษา จึงขึ้นกับสาเหตุของโรคที่เป็นด้วย นอกจากรักษาที่สาเหตุแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการแก้ไขภาวะนี้ด้วยการบำบัดฟื้นฟู การใช้ภาษาและการสื่อสารร่วมด้วย ผู้ป่วยอะเฟเซียที่สามารถฟื้นฟูได้ เช่น อาการอะเฟเซียจากอุบัติเหตุ […]
3 วิธี ปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติ ลดเสี่ยงท้องยาก
แม้ว่าเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้จะล้ำสมัยไปมาก แต่ก็ยังมีจำนวนผู้หญิงอีกไม่น้อยที่ยังเผชิญกับการท้องยาก แม้จะลองวิธีวิทยาศาสตร์มาหลายแบบแล้วก็ตาม วันนี้เลยจะขอแนะ 3 วิธี ปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติ ลดเสี่ยงท้องยาก มาฝากผู้หญิงที่อยากมีลูกกันค่ะ ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ (Edocrine Gland) แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการต่างๆ ในเซลล์ หรืออวัยวะเป้าหมาย ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆในร่างกาย ได้แก่ ช่วยในการเจริญเติบโต การอยากอาหาร การย่อยอาหาร การนอนหลับ รอบเดือน อุณหภูมิของร่างกาย อารมณ์ และ พฤติกรรมการเข้าสังคม ระบบภูมิคุ้มกัน กลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมไปถึงการทำงานของระบบสืบพันธุ์ สำหรับการ “การตั้งครรภ์” นั้น ฮอร์โมนเพศไม่สมดุลจะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ไข่ไม่ตก ไข่ด้อยคุณภาพ รังไข่เสื่อมก่อนวัย ผนังมดลูกไม่หนาตัวพร้อมรับการฝังตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องยากนั่นเอง 3 วิธี ปรับสมดุลฮอร์โมนด้วยวิธีธรรมชาติ ลดเสี่ยงท้องยาก โดย ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เผยว่า […]
การป้องกันและรักษาภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ” พร้อมวิธีสังเกตอาการ
อาการชาที่มือ ใช้งานไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน เวลาตื่นนอน หรือแม้กระทั่งต้องตื่นกลางดึก มานั่งสะบัดมืออยู่พักใหญ่ อาการจึงจะดีขึ้น พอที่จะกลับไปนอนต่อได้ แสดงว่ากำลังมีภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ” (Carpal Tunnel Syndrome) เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง พ.ต.ต.นพ.วรพล เจริญพร แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ-ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม และเวชศาสตร์ป้องกัน พร้อมอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นในการสังเกตอาการ วิธีการป้องกัน รวมไปถึงการรักษาพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เอาไว้ในบทความให้ความรู้อย่างรอบด้าน การป้องกันและรักษาภาวะ “พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ” พร้อมวิธีสังเกตอาการ สาเหตุ พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นอีกโรคหนึ่งที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีความขยันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำงานบ้าน ทำกับข้าว ทำสวน เล่นกีฬาที่ใช้ข้อมือ และที่พบมากในปัจจุบันคือ การทำงานออฟฟิต รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานๆ อาการ มีอาการชา ร้าว รู้สึกแปล๊บ จากข้อมือไปที่บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง รู้สึกใช้งานมือได้ไม่ปกติ โดยเฉพาะการหยิบจับสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ไม่มีแรงในการใช้มือ ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน กล้ามเนื้อฝ่อไม่สามารถใช้งานได้ การป้องกัน หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องมีการขยับข้อมือต่อเนื่องเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงท่าที่จะต้องทำให้ข้อมืออยู่ในลักษณะพับงอ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากอาการของโรคพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือนี้ อาจมีอาการคล้ายหรือร่วมกับโรคกระดูกต้นคอทับเส้นประสาทได้ […]