Wellness
เปิดที่มา ครีมสมุนไพร Baby Bua Baby Skin Cream สกินแคร์ลดผดผื่นสำหรับเด็ก
การใช้ชีวิตเป็น ‘มนุษย์แม่’ ว่ายากแล้ว แต่ถ้ายิ่งเป็นมนุษย์แม่ที่มีลูกเจ็บไข้ได้ป่วย อาการตั้งแต่น้อยไปมาก ย่อมสร้างความกังวลใจให้ไม่น้อย เช่นเดียวกับคุณแม่แฝดสอง ‘คุณแนน-แพรธารา อมรศักดิ์’ ที่พยายามค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด เพราะพาลูกไปหาหมอก็ไม่หายสักที จึงสั่งทำผลิตภัณฑ์สูตรพิเศษที่ดีและปลอดภัยที่สุดใช้เอง เพื่อสุขภาพผิวและไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่ดีและความสุขของลูกและทุกคนในครอบครัว จนเกิดเป็นครีมสมุนไพร 9 ชนิด ที่มาในชื่อ Baby Bua Baby Skin Cream เลี้ยงลูกแฝดชาย-หญิงให้อยู่หมัด “ครอบครัวเรามีลูกยาก จึงปรึกษาแพทย์เพื่อทำอิ๊กซี่ (เด็กหลอดแก้ว) ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายคือได้ตัวอ่อนมาสี่ตัว ตรวจเพศจึงรู้ว่าเป็นชาย 3 หญิง 1 โดยคุณหมอให้เลือกว่าจะเอาตัวไหนฝังในมดลูกเรา แนนจึงเลือกเป็นลูกแฝดหญิงและชาย โดยลูกชาย (น้องบุญ) คลอดก่อนลูกสาว (น้องบัว) 1 นาที แต่เราพยายามสอนให้เขามีความเป็นพี่น้องกัน พี่ต้องดูแลน้อง ความที่เราชอบเลี้ยงเด็ก และเรียนปริญญาโทด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กมาด้วย ทำให้รู้ว่าการที่เขาต่างเพศกัน ย่อมมีวิธีเลี้ยงดูต่างกัน เราต้องเข้าใจบุคลิกและความรู้สึกลูกแต่ละคน ลูกสาวค่อนข้างซนกว่าลูกชาย เราต้องใช้เหตุผลอธิบายเป็นหลัก หรือการฝึกให้เขากินข้าวเองได้ตั้งแต่ 6เดือน ก็เป็นการจัดระเบียบวินัย สอนให้เขารู้จักเวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการกิน” ลูกคันเพราะภูมิแพ้ผิวหนัง […]
แพทย์เตือน “สารปรอท” ที่พบบ่อยในสกินแคร์ อันตรายมีผลกระทบต่อร่างกายหลายระบบ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนอันตรายจาก สารปรอท พบได้มากมักถูกผสมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า สารปรอทไม่ใช่สารอันตรายตัวใหม่ที่เพิ่งใช้ในสังคมไทย โดยช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา สารปรอทเคยเป็นสารอันตรายอันดับหนึ่งของเครื่องสำอางที่ใช้ในไทยมาก่อน ซึ่งจะนิยมผสมในครีมบำรุง เมื่อมีกระแสความนิยมของการมีผิวขาวเพิ่มขึ้น ทำให้มีการลักลอบใช้ปรอทในเครื่องสำอางและสกินแคร์ เพื่อรักษาฝ้า จุดด่างดำ หรือทำให้ผิวขาว สารปรอทเป็นสารอันตรายที่พบบ่อยสุด รองลงมาคือ สารไฮโดรควิโนน และกรดวิตามินเอ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งเพราะพิษของของสารปรอทนั้นมีผลกระทบต่อหลายระบบของร่างกาย พิษที่สำคัญของ สารปรอท ต่อร่างกาย แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม พิษที่สำคัญของสารปรอทต่อร่างกาย คือ พิษต่อผิวหนัง แม้ว่าสารปรอทจะมีผลทำให้เม็ดสีลดลง แต่พบว่าอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากใช้ในระยะยาว จะทำให้ผิวบางลง เกิดจุดดำที่ผิวเพิ่มขึ้น เกิดฝ้าถาวร หรือในบางจุดจะทำให้เกิดผิวด่างถาวร พิษต่อระบบประสาท ทำให้มีอาการสั่น ปลายประสาทอักเสบ การทรงตัวผิดปกติ ชักกระตุก ซึมเศร้าหรือเกิดประสาทหลอนได้ พิษต่อตับและไต ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และไตอักเสบได้ในระยะยาว พิษต่อระบบเลือด […]
เช็คลิสต์ก่อนสาย! ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ หากเรื้อรังอาจเป็นอัมพาตได้
ทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมก้มหน้าค่ะ เคยลองคำนวณไหมคะว่า วันๆ หนึ่ง คุณก้มหน้าดูโทรศัพท์วันละกี่ชั่วโมง ก้มหน้าทำงานกี่ชั่วโมง การก้มหน้านานๆ ทำให้คุณมีโอกาสปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดร้าวเข้ากระบอกตา ปวดศีรษะ รวมไปถึงอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เพราะไหล่งุ้ม หลังค่อม ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อระบบโครงสร้างร่างกาย และถ้ามีอาการเรื้อรังอาจส่งผลทำให้เป็นอัมพาตได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการ ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ!! คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลอาการปวดคอว่า อาการปวดคอมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ซึ่งเราอาจสังเกตได้ด้วยตัวเราว่าเราเป็นรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยดูจากผลกระทบจากการใช้ชีวิตประจำวัน หากรู้สึกว่าอาการปวดนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันปกติ อาจต้องรีบรักษา หรือตรวจให้แน่ใจว่าอาการปวดไม่รุนแรงถึงขั้นกดทับเส้นประสาท เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจส่งผลให้มีอาการชา อ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้นก็เป็นได้ ฯลฯ นักกายภาพ ได้แนะนำวิธีประเมินตัวเอง ด้วยการเช็คอาการดังต่อไปนี้ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้กี่ข้อ? นั่งทำงานแป๊ปหนึ่ง ก็ปวดเมื่อยต้นคอ ปวดมากขึ้นทุกๆ วัน จับต้นคอแล้วรู้สึกร้อนๆ รุมๆ ปวดเหมือนเป็นไมเกรน ปวดอื่นๆ ที่ขมับ […]
5 ข้อควรรู้ เสริมภูมิคุ้มกันต้านโควิด-19 ด้วย “ไฟโตนิวเทรียนท์” แบบเข้าใจง่าย
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านสารพฤกษเคมี International Phytonutrients Symposium (IPS) ในหัวข้อ “Phytonutrient for health at present and in future: immunity and personalized wellness” ปี 2564 ซึ่งได้รับเกียรติจากนักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รวมถึงข้อมูลของ “ไฟโตนิวเทรียนท์” กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย การดูแลสุขภาพ และการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี โดยสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์จากแอมเวย์ได้ให้การสนับสนุนการจัดงานนี้ ไขข้อข้องใจบทบาทของไฟโตนิวเทรียนท์ต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเอ่ยถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เราอาจจะนึกถึงหน้าที่ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสหรือไข้หวัด แต่เราจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้อย่างไร หากไม่เลือกบริโภคอาหารที่มีสารอาหารในการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ ในยุคปัจจุบันได้ ในโอกาสพิเศษนี้ ศาสตราจารย์ ดร. สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ ปี 2564 ได้ให้เกียรติร่วมแบ่งปันข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ที่นอกเหนือจากข้อมูลในงานประชุมวิชาการฯ โดยแนะนำ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับสารพฤกษเคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ที่มีส่วนสำคัญต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้ 1. สารพัดประโยชน์ของไฟโตนิวเทรียนท์ กลุ่มสารอาหารที่ได้จากผักและผลไม้ 5 สีมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด-19 ซึ่งไฟโตนิวเทรียนท์มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง 2. พลังของผักและผลไม้กลุ่มสีเขียว การทานผักใบเขียว โดยเฉพาะในตระกูลกะหล่ำ ซึ่งมีสารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบที่ดี และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี 3. […]
ตอบทุกข้อสงสัย ฉีดให้เด็กอายุ 12-18 ปี ทำไมต้อง วัคซีน mRNA
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้แต่ในหมู่ผู้ใหญ่ การเลือกรับวัคซีนโควิด-19 ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาออกมาอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การแพทย์นั้น นับเป็นการตัดสินใจที่ค่อนข้างน่าหนักใจสำหรับหลายคน เนื่องจากต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่าง ทั้งเรื่องประเภทวัคซีน โรคประจำตัว ประโยชน์ ความเสี่ยง และอื่น ๆ มาประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจนัก หากประชาชนจะเกิดข้อสงสัยในเรื่องความปลอดภัยของการรับวัคซีนโควิด19 ในกลุ่มเยาวชนวัย 12 – 18 ปี ที่กำลังทยอยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA อยู่ในขณะนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ปกครองและเยาวชนที่กำลังลังเลในการเข้ารับวัคซีน mRNA เราได้นำเสนอข้อมูลหลากหลายแง่มุมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12 – 18 ปี จากกิจกรรมเสวนาออนไลน์ “One Health in the Virtual Park” ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งประเทศไทย (THOHUN) ที่จัดขึ้นมาเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้เป็นการเสวนาวาระพิเศษร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพื่อแบ่งปันข้อมูลในหัวข้อ “วัคซีน mRNA ในเด็ก ดีจริงไหม อันตรายหรือไม่ ตัดสินใจยังไงดี?” ฉีดให้เด็ก ทำไมต้องวัคซีน mRNA ? หลายๆ […]
รู้หรือไม่? “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” ไม่เหมือนกัน
ระยะหลังนี้หลายคนอาจได้ยินคำว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” บ่อยขึ้น จากการที่มีบุคคลมีชื่อเสียงได้ทำการตรวจและรีวิวอย่างมากมาย หลายคนเข้าใจผิดว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” นั้นคืออาการเดียวกัน ซึ่งที่จริงแล้วทั้งสองอาการมีความแตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความแตกต่างของสาเหตุและอาการ เพื่อเริ่มต้นดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม กับสาระความรู้ดีๆ จาก ห้องปฏิบัติการ N Health “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” ไม่เหมือนกัน หากพูดถึงการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่จะนึกถึงอาการมีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจไม่ออก บวมที่ใบหน้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการดังกล่าวนี้เรียกว่าการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน แต่ภูมิแพ้อาหารแฝง คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารหลังจากกินอาหารที่แพ้เข้าไป โดยอาการจะไม่รุนแรงเหมือนเวลาแพ้อาหารที่เกิดขึ้นฉับพลัน แต่จะสร้างความรำคาญให้กับคนที่มีอาการ ซึ่งทั้งสองอาการมีความแตกต่างกัน “อาการแพ้อาหาร” เกิดจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปได้ไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานชนิด IgE ให้ทำงานเกินกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเข้าใจว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงแสดงอาการแพ้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แม้ว่าจะรับประทานเพียงเล็กน้อยก็มีผลได้ ในขณะที่ “ภูมิแพ้อาหารแฝง” ร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ทำปฏิกริยากับอาหารที่แพ้ หากรับประทานในปริมาณเล็กน้อยก็อาจไม่ส่งผลกระทบอะไร โดยส่วนใหญ่ผู้มีอาการจึงมักไม่รู้ว่าตัวเองแพ้อาหารแฝงชนิดไหน นอกจากนี้ภูมิแพ้อาหารแฝงจะแสดงอาการช้ากว่าการแพ้อาหารทั่วไป อาจใช้เวลาถึง 48 ชั่วโมงกว่าจะแสดงอาการ โดยสารภูมิต้านทานชนิดชนิด IgG […]
“หมอขนม” แชร์ทริคหุ่นเป๊ะด้วยนวัตกรรมยอดฮิต “การสลายไขมันด้วยความเย็น”
การมีรูปร่างและสัดส่วนที่ดี ถือเป็นความปรารถนาของสาวๆ ทั้งหลาย ซึ่งเป้าหมายนี้ต้องแลกมาด้วยการมีวินัยเคร่งครัด ทั้งเรื่องการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ทำให้หลายคนหันไปพึ่งพาตัวช่วยรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้หัตถการสลายไขมันแบบชั่วคราว ไปจนถึงการผ่าตัดดูดไขมัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นที่ยาวนาน นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีความงามที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้ “การสลายไขมันด้วยความเย็น” ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมยอดฮิตในการช่วยแก้ไขรูปร่าง โดยสามารถช่วยลดสัดส่วนและไขมันส่วนเกินในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่เกิดบาดแผล และไม่ทำให้ไขมันกลับมาสะสมอีก เรียกว่าตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนยุคนี้ที่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายหรือดูแลตัวเอง วันนี้ แพรว จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “การสลายไขมันด้วยความเย็น” แบบครบทุกมิติ ซึ่ง “หมอขนม” หรือ “พ.ญ.ภัทรชนน อัศววรฤทธิ์” แพทย์ความงามชื่อดังแห่ง Roselin Wellness Center ได้เล่าให้สาวๆ ฟังแบบเข้าใจง่ายดังนี้ “การสลายไขมันด้วยความเย็น” คืออะไร “การสลายไขมันด้วยความเย็น เป็นการใช้เครื่องมือที่มีหัวดูดผิวในการดูดทั้งผิวหนังและไขมันสะสมใต้ผิวหนัง โดยเจาะจงเฉพาะเซลล์ไขมันเท่านั้น แล้วปล่อยความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ระดับ -11°C ถึง -13°C ส่งผลให้ไขมันใต้ผิวหนังแข็งตัวเกาะเป็นผลึก โดยความเย็นจะแช่แข็งให้เซลล์นั้นตาย เรียกง่ายๆ ว่าเซลล์ไขมันที่ถูกแช่แข็งจะหยุดทำงาน จากนั้นฝ่อและตายไปอย่างถาวร เมื่อไขมันตาย ร่างกายก็จะขับออกได้เองด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ โดยไม่ส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” “การสลายไขมันด้วยความเย็น” ได้ผลจริงหรือไม่ […]
เรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องป้องกัน! ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก มีผลต่อเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สำหรับประเด็นความไม่เหมาะสมเรื่องการแสดงความรักภายในครอบครัวของคนดังคนหนึ่งที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ เราพบข้อมูลจาก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ในหัวข้อเรื่อง “ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องป้องกัน!!” โดยเนื้อหาระบุไว้ว่า การล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดจากบุคคลภายในครอบครัว มักถูกนำมาพบบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากการถูกล่วงละเมิดมักเกิดขึ้นเป็นเวลานานและมีผลกระทบต่อเด็กอย่างรุนแรง ซึ่งต้องการการบำบัดฟื้นฟูระยะยาว ผู้ล่วงละเมิดต่อเด็กมักเป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก สามารถเข้าถึงตัวเด็กได้ และมักเป็นบุคคลที่เด็กไว้วางใจและมีอำนาจเหนือเด็ก เช่น ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ครู เป็นต้น ถ้าเด็กบอกว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศ ให้เชื่อไว้ก่อนว่าเป็นความจริง เด็กบางคนอาจไม่กล้าบอกเมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์บางอย่างอาจเป็นข้อบ่งชี้ ซึ่งผู้ปกครองควรสังเกตบุตรหลานของตน ลักษณะของการล่วงละเมิดทางเพศ มีรูปแบบต่างๆดังนี้ การล่วงละเมิดโดยไม่มีการสัมผัส ได้แก่ การเปิดอวัยวะเพศให้เด็กดู การให้เด็กดูภาพหรือวิดีโอโป๊ การสำเร็จความใคร่ต่อหน้าเด็ก การทำกิจกรรมทางเพศให้เด็กดู การล่วงละเมิดโดยการสัมผัส การสัมผัสกอดจบลูบคลำร่างกายหรืออวัยวะเพศของเด็ก การให้เด็กลูบคลำจับต้องอวัยวะเพศของผู้ใหญ่ หรือให้เด็กสำเร็จความใคร่ให้ การสอดใส่อวัยวะเพศ หรือสิ่งของอย่างอื่นทางช่องคลอด หรือ ทวารหนัก หรือ ทางปาก ของเด็ก การใช้เด็กเพื่อหาผลประโยชน์ การใช้เด็กในการถ่ายภาพหรือวิดีโอโป๊ การใช้เด็กค้าประเวณี ผลกระทบของการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก การทารุณกรรมทางเพศมีผลต่อเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้าเกิดจากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเพศ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกกระตุ้นทางเพศก่อนวัยอันควร จะส่งผลกระทบทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ยั่วยวนทางเพศ เด็กเล็กอาจแสดงออกมาโดยการสำเร็จความใคร่บ่อยๆ ในเด็กวัยรุ่น […]
จำเป็นต้อง “ตรวจภูมิคุ้มกัน” หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือเปล่า?
แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็พบว่าหลายคนยังสงสัยเกี่ยวกับอาการแพ้วัคซีนและกังวลว่าหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นจริงหรือไม่ ในประเด็นนี้ รศ.นพ.ฮิโรชิ จันทาภากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ได้ช่วยให้ความกระจ่าง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับอาการแพ้และผลข้างเคียงของวัคซีน สิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจประการแรกคือ ยาทุกชนิดที่มีการใช้งานกับมนุษย์ล้วนมีผลข้างเคียง วัคซีนซึ่งถือเป็นตัวยาก็เช่นกัน ผลข้างเคียงคือคุณสมบัติหนึ่งที่เราทุกคนควรเตรียมใจที่จะประสบ เช่น อาการเจ็บบริเวณที่ฉีด บวมแดง มีไข้ต่ำๆ หรือปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ทั้งนี้อาการเหล่านี้เกิดได้โดยทั่วไป และหายเองได้ ขณะที่อาการแพ้วัคซีนมีอัตราการเกิดต่ำกว่ามาก คือประมาณ 5 ในล้านคน โดยอาการแพ้คือการตอบสนองต่อยาที่รุนแรงเกินกว่าที่คาดว่าจะเกิด มีลักษณะอาการที่รุนแรงกว่าปกติ เช่น เริ่มจากมีผื่นขึ้นที่ร่างกายจุดใดจุดหนึ่งแล้วลามไปบริเวณอื่นๆ มีอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ความดันตก หัวใจเต้นเร็ว หรือมีอาการบวม โดยสำหรับวัคซีนที่มีใช้กันในทุกวันนี้ ก็พบว่าทุกชนิดมีอัตราการเกิดอาการข้างเคียงในระดับที่ยอมรับได้ ไม่รุนแรงหรือแตกต่างกันมากนัก ขณะที่อาการแพ้รุนแรง ก็ไม่พบอัตราการเกิดที่สูงเป็นพิเศษ โดยในประเทศไทยพบอาการแพ้รุนแรง 5-10 ครั้งในการใช้วัคซีนกับประชากร 1 ล้านคน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับต่างประเทศ สำหรับทุกๆ หัตถการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยาหรือให้วัคซีน คนไข้จะได้รับคำแนะนำให้นั่งอยู่ต่อที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลา […]
สาววัย 30 อัพ ถึงเวลา เช็คลิสต์สุขภาพ กับ 5 เรื่องที่ควรระวัง!
สาวๆ ยุคใหม่ที่มักจะออกมาทำงานนอกบ้าน รับผิดชอบชีวิตตัวเอง ไม่ได้ดูแลแค่งานบ้านเหมือนในสมัยก่อนๆ หลายครั้ง อาจจะวุ่นวายอยู่กับภารกิจรายวันจนละเลยเรื่องของสุขภาพกันไป ทำให้บ่อยครั้งกว่าจะรู้ว่ามีอาการป่วยก็ลุกลามรุนแรงจนรักษากันยาก วันนี้มาดูกันสักหน่อยค่ะว่าสาวๆ โดยเฉพาะสาวๆ ที่เริ่มเข้าสู่วัยเลข 3 ควรจะมีแนวทางการตรวจเช็คสุขภาพกันอย่างไรบ้าง มีโรคอะไรบ้างที่ควรระวังและตรวจดูกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะสำหรับหลายๆ โรค หากตรวจพบได้เร็ว ก็อาจจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า และมีโอกาสหายขาดได้ค่ะ สาววัย 30 อัพ ถึงเวลา เช็คลิสต์สุขภาพ กับ 5 เรื่องที่ควรระวัง! อย่างแรก ตรวจเลือด-ตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐาน ทั้งการตรวจ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อดูความผิดปกติของค่าต่างๆ ทั้งเป็นข้อบ่งชี้ของอาการของโรคหลายๆ โรค ทั้ง ธาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย ภาวะดีซ่าน โรคที่เกี่ยวกับตับ โรคที่เกี่ยวกับไต ไขมันในเลือด เบาหวาน ไทรอยด์ รวมถึงโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส อย่างที่สอง การตรวจความผิดปกติของเต้านม หรือการตรวจมะเร็งเต้านม เพื่อหาความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม เพราะการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มีการเกี่ยวข้องกับสารเคมีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในอาหารซึ่งมักจะมีฮอร์โมนในปริมาณที่สูง […]
ลองโควิด (Long COVID) คืออะไร? แล้วส่งผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 ยังไง
ภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) คือ อาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 4 สัปดาห์ เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการเลยก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนก็ประสบกับภาวะหลังโควิด-19 ด้วยอาการที่ต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนนับจากการติดเชื้อครั้งแรก บางกรณีอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ รวมไปถึงอาการเดิมที่กลับกำเริบขึ้นมาอีกภายหลัง ภาวะหลังโควิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการเลยก็ตาม Long COVID คืออะไร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เรียกอาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 4 สัปดาห์ว่าภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) โดยประกาศให้เป็นความทุพพลภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภายใต้พระราชบัญญัติผู้ทุพพลภาพชาวอเมริกัน (ADA) เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ป่วยลองโควิด พบว่ามีความผิดปกติทางสรีรวิทยาและระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบไหลเวียนโลหิต สำหรับความบกพร่องทางจิตนั้น รวมไปถึงความเครียด สะเทือนใจ และความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ อาการลองโควิด […]
8 เรื่องของ มะเร็งเต้านม ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
หลายปีก่อน เมื่อนักแสดงฮอลลีวู้ดสาวชื่อดังคนหนึ่ง ขณะนั้นเธอมีอายุ 37 ปี ได้ตัดสินใจเลือกการผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้าง เนื่องจากตรวจพบความผิดปกติในยีน BRCA1 ซึ่งแพทย์คาดว่ามีความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมมากถึง 87% และมีความเสี่ยง 50% ที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ ซึ่งแม่ของนักแสดงสาวผู้นี้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ 56 ปี การผ่าตัดครั้งนี้ได้ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมของเอลงเหลือเพียง 5% เท่านั้น ข่าวโด่งดังครั้งนั้นทำให้ผู้หญิงหลายคนหันมาสนใจตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยง รวมถึงค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่เป็นเรื่องใกล้ตัว โดยเฉพาะผู้มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม 5-10 % และพบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศหญิง 8 เรื่องของ มะเร็งเต้านม ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน 1. นมเล็ก นมใหญ่ ใครเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากกว่ากัน การมีหน้าอกใหญ่หรือหน้าอกเล็กไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญหน้าอกขนาดใหญ่เกิดจากเนื้อเยื่อไขมัน (fatty) ส่วนมะเร็งเต้านมนั้นเกิดขึ้นในเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในท่อน้ำนม (ductal cancer) บางส่วนเกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในต่อมผลิตน้ำนม (lobular cancer) และส่วนน้อยเกิดจากเนื้อเยื่ออื่นๆ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านม (breast density) มากกว่า 75% มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 4-6 เท่า การศึกษาจำนวนมากระบุว่าผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่มักมีน้ำหนักเกินหรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่าคนปกติ ซึ่งความอ้วน การรับประทานไขมันสูง และขาดการออกกำลังกายล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีขนาดหน้าอกเท่าใด หากรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลงได้ 2. ผู้หญิงข้ามเพศกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม การวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงข้ามเพศ ที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ชายปกติทั่วไป […]
หมอเด็กแนะ สังเกตอาการเด็กหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาการโดยร่วมคือ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น เป็นลม หากมีอาการดังกล่าวภายใน 1 สัปดาห์ หลังได้รับ วัคซีนโควิด-19 ควรรีบพบแพทย์ทันที นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนพบได้น้อยมาก แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ หมอเด็กแนะ สังเกตอาการเด็กหลังการฉีด วัคซีนโควิด-19 อาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือเจ็บเวลาหายใจ ใจสั่น เป็นลม ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA ควรสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการเหล่านี้ (ภายใน 1 สัปดาห์ ภายหลังฉีด 1 สัปดาห์) ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงนี้ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือการพักผ่อน โรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบที่เกิดจากวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มักพบในเข็มที่ 2 มากกว่า เข็มที่ […]
ปวดหัว “ไมเกรน” สามารถกินยาแก้ปวดธรรมดาได้หรือเปล่า ควรเช็คตามลิสต์นี้
ก่อนหน้านี้เคยเฉลยเรื่องที่หลายคนสงสัยว่าสรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ เส้นเลือดจะหดตัวหรือเปล่า? รอบนี้จะมาพูดถึงเรื่องหากเวลาปวดหัวไมเกรน สามารถกินยาแก้ปวดธรรมดาที่มีติดบ้านได้หรือเปล่า จะช่วยบรรเทาได้หรือไม่ เพราะอาการปวดศีรษะไมเกรน คืออาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง ที่บริเวณด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมักปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำๆ และมักมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมถึงความรู้สึกไวต่อแสงและเสียง อาการไมเกรนสามารถอยู่ได้นานหลายชั่วโมงต่อวัน อาการปวดอาจรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หากละเลยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น ความถี่เพิ่มขึ้น ตอบสนองต่อยาที่รักษาได้ไม่ดีนัก แม้ว่าจะได้รับยาลดอาการปวดหลายชนิดก็ตาม ซึ่งคำถามที่ว่าปวดหัว “ไมเกรน” สามารถกินยาแก้ปวดธรรมดาได้ไหม ควรเช็คตามนี้ หากปวดไม่ถี่มาก (เช่น น้อยกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) สามารถรับประทานยาแก้ปวดเองได้ ควรกินยาแก้ปวดตั้งแต่เริ่มมีอาการเนิ่นๆ ในแต่ละครั้งหากทิ้งไว้นาน มักได้ผลไม่ดี ยาแก้ปวดที่สามารถรับประทานเองได้ เช่น พาราเซตามอล, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยระมัดระวังการแพ้ยา ส่วนยาแก้ปวดกลุ่มที่ออกฤทธิ์แรง (เช่นยากลุ่มเออร์โกตามีน ยากลุ่มทริปแทน ยาทรามาดอล เป็นต้น) ไม่ควรซื้อมาใช้เอง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สังเกตอาการ เมื่อปวดถี่เกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อเนื่อง ไม่ควรกินยาแก้ปวดเอง เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงจากยา […]
อิ่มบุญด้วยการ “กินเจ” อย่างไรให้สุขภาพดี ได้สารอาหารครบถ้วน แถมไม่อ้วนด้วย
การ “กินเจ” เป็นการงดทานเนื้อสัตว์และผักมีกลิ่นบางชนิด นอกจากจะได้บุญ ลดการเบียดเบียนชีวิตสัตว์แล้ว หลายคนอาจคิดว่าเป็นการรักษาสุขภาพร่างกายไปด้วยในตัว เพราะเป็นการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ แต่หลายคนก็มักบ่นว่า ต้องน้ำหนักขึ้นแน่นอน เพราะมีแต่เมนูแป้ง โปรตีนเกษตรผสมแป้ง อาหารประเภทผัดและทอด ทำให้หาของกินลำบาก แต่อันที่จริงแล้ว การเลือกกินอย่างถูกหลักการ ผสมผสานการออกกำลังกาย ก็ไม่ต้องกังวลว่าเราจะอ้วนนะคะ ทริคกินเจอย่างไรให้หุ่นลีนและเฟิร์ม อย่างที่บอก หากไม่ระมัดระวังในการเลือกอาหารเจรับประทาน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าได้ประโยชน์ เพราะอาจเจออาหารเจที่ให้พลังงานสูง หรือมีไขมันสูงมาแทน อ.พญ.สมกัญญา ตั้งสง่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงมีคำแนะนำในการกินเจอย่างไรให้ได้สุขภาพที่ดีอย่างใจหวังมาฝากกัน “กินเจ” อย่างไรให้สุขภาพดี ได้สารอาหารครบถ้วน แถมไม่อ้วนด้วย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานโปรตีนดี เช่น เต้าหู้ เห็ด ถั่ว ควินัว หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด เน้นทานแบบ นึ่ง ต้ม ตุ๋น ลดอาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเจ เพราะมีโซเดียมสูง เลือกรับประทานผักและผลไม้สดให้ได้มากที่สุด ลดการรับประทานผักผลไม้ดอง ควรพยายามทำอาหารรับประทานเองให้ได้มากที่สุด หรือเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด ไม่ปรุงรสหวาน […]
เช็คเลย “ตกขาว แบบไหนไม่ธรรมดา” อย่าปล่อยไว้ไม่ไปหาหมอเพราะความอาย!!
วันนี้มีบทความดีๆ มีประโยชน์ แต่สาวๆ หลายคนมักมองข้ามหรือไม่ให้ความสำคัญมาฝากค่ะ เรื่องของ ตกขาว หรือระดูขาว เป็นของเหลวที่ถูกขับออกจากช่องคลอดของผู้หญิงทุกคน ซึ่งปกติจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจอกับตกขาวผิดปกติและปล่อยไว้ไม่ไปหาหมอเพราะความอาย!! ตกขาว แบบไหนต้องไปหาหมอ ปริมาณตกขาวของแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องเปรียบเทียบกับตัวเอง ว่าแต่เดิมเคยมีปริมาณตกขาวช่วงก่อนมีรอบเดือน กลางรอบเดือน และหลังรอบเดือนเป็นอย่างไร หากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณมากขึ้นจนผิดสังเกต ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นการตกขาวผิดปกติ ลักษณะเปลี่ยนไป ปกติตกขาวจะเป็นน้ำขุ่นๆ แปรตามช่วงรอบเดือน โดยช่วงก่อนและหลังประจำเดือนจะขุ่นมากกว่าช่วงกลางรอบเดือน แต่ถ้าตกขาวมีลักษณะขุ่นมากขึ้น จนบางครั้งอาจข้นเหมือนแป้งเปียกหรือคราบนม ตกขาวนี้อาจเกิดจากเชื้อรา สี โดยทั่วไปควรเป็นสีขาวขุ่น อาจมีเหลืองนวลๆ หรือขาวเหลืองนิดๆ แต่ถ้าเริ่มเหลืองเขียว ออกเป็นหนอง ถือว่าไม่ปกติ ตกขาวสีเหลือง เกิดจากติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มักมีสีเหลืองแต่ไม่ข้นมาก บางครั้งมีฟอง มีอาการคัน และมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์หรือจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด หรืออุปกรณ์ทางเพศ เป็นต้น ตกขาวสีเหลืองหรือสีขาวขุ่น มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ลักษณะตกขาวมีความข้น กลิ่นคล้ายนมบูดเมื่อปัสสาวะจะมีอาการแสบคัน เพราะช่องคลอดเกิดการระคายเคือง อาจลุกลามจนเกิดอาการแสบแดงบริเวณขาหนีบ ตกขาวลักษณะนี้มักเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยใช้ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น ตกขาวสีเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด จากการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอด หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น โรคหนองใน เป็นต้น ตกขาวมีสีเขียวหรือสีเหลืองปนเขียว มีกลิ่นเหม็นคาวปลา บางรายมีอาการคันและปวดแสบขณะปัสสาวะ ตกขาวสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เกิดจากผนังมดลูกลอกตัวช้า มักพบหลังจากมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงที่มีประจำเดือนผนังมดลูกยังไม่ทันลอกตัวหมด หรือบางทีไม่ลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือน ทำให้ตกขาวกลายเป็นสีน้ำตาล […]
อีกหนึ่งทางเลือก วิธีตรวจคัดกรองยีน BRCA ดูปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น “มะเร็งเต้านม”
ทุกวันที่ 7 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันมะเร็งเต้านมสากล” โดยโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยความถี่ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงนั้น ในเอเชียจะพบได้ประมาณ 18-26 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และในรายงานจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าโรคมะเร็งเต้านมเกิดขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในหญิงไทย โดยคิดเป็น 28.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน และส่งผลให้มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตในกลุ่มโรคมะเร็ง ดร. พงศธรณ์ ไชยทรัพย์ ผู้จัดการด้านอณูพันธุศาสตร์ ห้องปฏิบัติการไบโอโมเลกุลาร์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) ให้ข้อมูลว่า ยีน BRCA1 และ BRCA2 เป็นยีนที่อยู่ในกลุ่มสร้างโปรตีนช่วยซ่อมแซม DNA จึงมีบทบาทช่วยให้ DNA ในเซลล์มีความเสถียร เมื่อมีการกลายพันธุ์ (Mutation) ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 อาจส่งผลให้เซลล์มีโอกาสเกิดความผิดปกติของพันธุกรรมได้สูงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การกลายเป็นมะเร็ง โดยพบว่าการกลายพันธุ์ของยีน BRCA มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่แบบถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเต้านมในคนปกติมีประมาณ 12% (120 คนในประชากร 1,000 คน) แต่ในกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง 60% (600 คนในประชากร 1,000 คน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่าเลยทีเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีประวัติทางครอบครัวหรือมีญาติเป็นโรคนี้ เป็นผู้ป่วยที่เป็นทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ มีญาติเป็นมะเร็งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เป็นต้น การตรวจการกลายพันธุ์ในยีน BRCA1 และ BRCA2 จึงเป็นทางเลือกในการดูปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมที่สามารถทำได้ก่อนที่จะเกิดโรค ยีน BRCA1 […]
5 สารธรรมชาติ ช่วยป้องกันการติดเชื้อผ่านทางลำคอ
“หมอท๊อป” หรือ “นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน” อาจารย์ศัลยแพทย์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้าได้เผยแพร่คลิปให้ความรู้เกี่ยวกับ “5 สารธรรมชาติที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อผ่านทางลำคอ” ผ่านทางช่องยูทูป Doctor Top โดยระบุข้อความในวีดีโอคลิปว่า เรื่องการติดเชื้อในลำคอไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะช่วงนี้ฝนตกบ่อยๆ หลายคนก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ทราบหรือไม่ว่ามีสารธรรมชาติบางชนิดที่จะช่วยลดการติดเชื้อที่ลำคอได้ด้วย และสารชนิดนี้จะมีอะไรบ้าง หาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับ 5 สารธรรมชาติลดการติดเชื้อที่คอ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับภูมิคุ้มกันของคนเราก่อน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ภูมิคุ้มกันส่วนแรกคือ เกราะป้องกันต่างๆ ที่เราเห็นจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นเยื่อบุจมูก เนื้อเยื่อบุคอ เนื้อเยื่อบุช่องปาก เรียกว่าเป็นปราการด่านแรก ถ้าปราการด่านแรกเราดี เราก็สามารถที่จะลดโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือแม้แต่โควิดก็ตาม ก็มีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าคนอื่น ถ้าภูมิคุ้มกันเบื้องต้นเราดี ภูมิคุ้มกันส่วนที่ 2 คือภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น จากการทานอาหารถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ภูมิคุ้มกันเหล่านี้ที่อยู่ในร่างกาย ก็จะช่วยป้องกันอีกส่วนหนึ่ง ภูมิคุ้มกันส่วนที่3 คือการได้รับวัคซีนต่างๆ ที่ตรงกับโรคนั้นๆ เช่น เวลามีไข้หวัดใหญ่ก็ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามแต่ละสายพันธุ์ เป็นโควิดก็ต้องฉีดวัคซีนโควิด ให้ตรงกับโควิดแต่ละสายพันธุ์ และ […]