ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ

เช็คลิสต์ก่อนสาย! ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ หากเรื้อรังอาจเป็นอัมพาตได้

Alternative Textaccount_circle
ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ
ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ

ทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมก้มหน้าค่ะ เคยลองคำนวณไหมคะว่า วันๆ หนึ่ง คุณก้มหน้าดูโทรศัพท์วันละกี่ชั่วโมง ก้มหน้าทำงานกี่ชั่วโมง การก้มหน้านานๆ ทำให้คุณมีโอกาสปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดร้าวเข้ากระบอกตา ปวดศีรษะ รวมไปถึงอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เพราะไหล่งุ้ม หลังค่อม ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อระบบโครงสร้างร่างกาย และถ้ามีอาการเรื้อรังอาจส่งผลทำให้เป็นอัมพาตได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการ ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ!!

คุณเพ็ญพิชชากร  แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลอาการปวดคอว่า อาการปวดคอมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ซึ่งเราอาจสังเกตได้ด้วยตัวเราว่าเราเป็นรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยดูจากผลกระทบจากการใช้ชีวิตประจำวัน

ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ

หากรู้สึกว่าอาการปวดนั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันปกติ อาจต้องรีบรักษา หรือตรวจให้แน่ใจว่าอาการปวดไม่รุนแรงถึงขั้นกดทับเส้นประสาท เพราะหากเป็นเช่นนั้นอาจส่งผลให้มีอาการชา อ่อนแรง ยกแขนไม่ขึ้นก็เป็นได้ ฯลฯ

นักกายภาพ ได้แนะนำวิธีประเมินตัวเอง ด้วยการเช็คอาการดังต่อไปนี้ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้กี่ข้อ?

  • นั่งทำงานแป๊ปหนึ่ง ก็ปวดเมื่อยต้นคอ
  • ปวดมากขึ้นทุกๆ วัน
  • จับต้นคอแล้วรู้สึกร้อนๆ รุมๆ
  • ปวดเหมือนเป็นไมเกรน ปวดอื่นๆ ที่ขมับ ปวดเข้ากระบอกตา
  • มีเสียงก๊อกแก๊ก เวลาหันคอ
  • ชาตั้งแต่แขนไปจนถึงฝ่ามือ หรือนิ้วมือ
  • รับประทานยาหรือนวดก็หาย แต่ 2-3 วันก็ปวดอีก
  • ตื่นเช้ามารู้สึกเหมือนนอนตกหมอนบ่อยๆ
  • ง่วงๆ เพลียๆ ตลอดทั้งวันเหมือนลืมตาไม่ขึ้น ตาพล่าๆ ทั้งๆ ที่นอนมาก
  • ไม่สดชื่น หงุดหงิดง่าย

ถ้ามีอาการตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป ต้องตรวจเดี๋ยวนี้ เพราะอาจเรื้อรังจนถึงอัมพาตได้ และขอแนะนำ วิธีบริหารร่างกาย เมื่อต้องก้มหน้าเป็นเวลานานๆ

ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ

1. นั่งหลังตรง ลงน้ำหนักที่สะโพกให้เท่ากัน มือประสานกันด้านหลังระดับสะโพก  ดึงสะบัก ผลักไหล่ไปด้านหลัง ยืดอกเงยหน้าเล็กน้อย พร้อมหายใจเข้าลึกๆ

ปวดคอไม่หาย ทำลายทุกระบบ

2. นั่งหลังตรง มือประสานกัน เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ ยืดอก หายใจเข้าลึกๆ หายใจออก กระดกข้อมือ เหยียดแขนตึงๆ วาดแขนไปด้านหลัง ช้าๆ พร้อมหายใจออก

ย้ำว่าทั้งสองท่าควรแขม่วท้องนิดๆ ตลอดเวลาที่ยืดตัวไว้ เพื่อป้องกันไม้ให้หลังแอ่นเกินไป ซึ่งอาจทำให้เจ็บหลังได้ และนี่คือท่าบริหารง่ายๆ ฝึกทำบ่อยๆ หมั่นดูแลและสังเกตตัวเอง เพื่อจะได้ดูแลตัวเองกันตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ


ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘แพลนต์เบส’ ดียังไง? ทำไมทุกคนถึงต้องกิน? เทรนด์อาหารสุขภาพปี 2021

4 เคล็ดลับกู้หุ่นพัง ให้กลับมาปัง หลังอ้างให้รางวัลตัวเองด้วยการกินบ่อยๆ

น้องไม่คันถ้าพี่แคร์! เช็ค อาการคันจุดซ่อนเร้น ที่ผู้หญิงต้องเคยเป็น 1 ครั้งในชีวิต

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up