"ฝีดาษลิง" โรคติดต่อ

ระวัง “ฝีดาษลิง” โรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

Alternative Textaccount_circle
"ฝีดาษลิง" โรคติดต่อ
"ฝีดาษลิง" โรคติดต่อ

สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง ที่กำลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักร มีแนวโน้มกำลังระบาดในยุโรปแล้ว พบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษในโปรตุเกส 6 ราย ในขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกกว่า 12 ราย ที่อยู่ระหว่างการตรวจวินิจฉัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่

ทาง กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง จึงออกทมาเตือน ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ธรรมชาติของเชื้อไวรัสก่อโรคชนิดนี้ มีรังโรคอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ และติดต่อไปยังสัตว์อื่น ในตระกูลลิงไม่มีหาง กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่น เช่น กระรอกดิน

แพทย์ผิวหนังเตือน “ฝีดาษลิง” เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

ฝีดาษลิง 1

ซึ่งการระบาดของเชื้อไวรัสฝีดาษลิง มีลักษณะการติดต่อแบ่งเป็นจากสัตว์สู่มนุษย์ พบว่าสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง หรือเยื่อเมือกเช่น จมูก ปาก หรือตา กับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค สารคัดหลั่ง เลือด ผิวหนัง หรือการนำซากสัตว์ป่วยมาปรุงอาหาร รวมทั้งการถูกสัตว์ป่วย ข่วน กัด หรือสัมผัส เครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นั้น

ส่วนการติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ทางหลักติดต่อผ่านละอองฝอยทางการหายใจขนาดใหญ่ จากการอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะประชิด การสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย การสัมผัสเลือด หรือรอยโรคที่ผิวหนัง หรือของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว 7 – 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า “ฝีดาษลิง” จะเริ่มต้นจากอาการมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต พร้อมทั้งบอกวิธีการป้องกันและการรักษาที่ถูกวิธี

ข้อแตกต่างระหว่าง ฝีดาษลิง และฝีดาษ

ซึ่งข้อแตกต่างระหว่าง ฝีดาษลิง และฝีดาษ คือในฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1 – 3 วัน หลังจากมีอาการดังกล่าว จะเริ่มมีผื่นขึ้นโดยเริ่มมีผื่นบริเวณใบหน้าแล้วลามไปที่ผิวหนังส่วนอื่น จากผื่นจุดแดง นูนขึ้นเป็นตุ่ม แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง และแตกออกเป็นสะเก็ดในที่สุด การดำเนินโรคจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์โดยประมาณ โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % สาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้การตรวจด้วยวิธี PCR ของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง รักษาโดยให้ยาต้านไวรัส cidofovir , Tecovirimat, brincidofovir  การป้องกันปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง ในสหรัฐอเมริกา คือ JYNNEOS

สำหรับการป้องกันเบื้องต้น แนะนำให้

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
  • งดทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
  • ในกรณีที่พบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้ หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง

ข้อมูล : กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง
ภาพ : euronews.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19

วิธีรักษา “โรคผิวหนังช้าง” หรือปัญหาผิวหนังคล้ำบริเวณหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ

แพทย์ผิวหนังชี้ “โรคตุ่มน้ำพองใส” อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แต่รักษาได้

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up