โรคไข้สมองอักเสบ

มีไข้สูง ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือสัญญาณอันตราย “โรคไข้สมองอักเสบ”

Alternative Textaccount_circle
โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบ

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุของ โรคไข้สมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบของสมอง หากไม่รักษาให้ทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายต่อชีวิต

มีไข้สูง ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือสัญญาณอันตราย “โรคไข้สมองอักเสบ”

สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อที่เข้าทำลายสมอง ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสหรือผ่านระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเข้าทำลายเนื้อสมอง ซึ่งอาจเกิดจากภูมิต้านทานตนเองหรือเกิดตามหลังการติดเชื้อ พบได้ในทุกคนทุกวัย

โรคไข้สมองอักเสบ 1

ชนิดของเชื้อไวรัส 

  • ไข้สมองอักเสบจากการติดเชื้อเจอี
  • เชื้อเริม หรือ เชื้อสุนัขบ้า

โรคไข้สมองอักเสบเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เช่น

  • โรคสมองอักเสบชนิดเอ็นเอ็มดีเอ ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุน้อย และอาจพบร่วมกับเนื้องอกรังไข่
  • โรคไข้สมองอักเสบภูมิต้านตนเองบางชนิด เช่น โรคไข้สมองอักเสบหลายตำแหน่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน(ADEM) มักพบหลังการติดเชื้อ ซึ่งโรคไข้สมองอักเสบจากภูมิต้านตนเองจะมีหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของแอนติบอดีที่จำเพาะต่อตัวรับสารสื่อประสาทในสมอง เช่น ตัวรับ NMDA หรือตัวรับของไอออนโปตัสเซียม แอนติบอดีเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นในผู้ที่มีโรคไข้สมองอักเสบภูมิต้านตนเองที่ยังไม่ทราบแน่ชัด จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ

โรคไข้สมองอักเสบ 2

ผู้ป่วยจะมีอาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการผิดปกติทางสมองและระบบประสาท เช่น สูญเสียความจำ และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อาทิ มีภาวะประสาทหลอนคล้ายกับผู้ป่วยจิตเภท หวาดกลัวโดยไม่มีสาเหตุ บางรายอาจมีอาการชักหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอาจอันตรายถึงชีวิตได้

การวินิจฉัยจะต้องทำการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุการอักเสบจากการติดเชื้อหรือภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ โดยการตรวจเอ็มอาร์ไอ การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG) และการตรวจน้ำไขสันหลังและเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสหรือหาภูมิต้านทานที่ผิดปกติ

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหากเป็นการติดเชื้ออาจจำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสหรือยาปฏิชีวนะ และหากเป็นสาเหตุจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติก็อาจต้องให้ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ หรือการรักษาโดยการแลกเปลี่ยน พลาสม่า การวินิจฉัยและรักษาได้เร็วช่วยลดอัตราเสี่ยงต่ออาการที่อาจรุนแรงมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงการเสียชีวิตด้วย


ข้อมูล : กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา 
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ทีน่าสนใจ

ปรับอาหารลดเสี่ยง “โรคหลอดเลือดสมอง” เน้นกินแบบ DASH Diet หรือ Mediterranean Diet

ไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาล ความเหมือนที่แตกต่างจากโควิด-19

ระวัง “ฝีดาษลิง” โรคติดต่อจากสัตว์ที่พบไม่บ่อย แต่อันตรายถึงชีวิต

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up