รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม

รู้จัก “รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” เชื้อไวรัสทำลายเส้นประสาท อัมพาตหน้าครึ่งซีก

Alternative Textaccount_circle
รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม
รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยเส้นประสาทใบหน้าอักเสบพบได้ทุกช่วงอายุ เน้นย้ำสังเกตอาการแยกจากโรคหลอดเลือดสมอง

รู้จัก “รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม” เชื้อไวรัสทำลายเส้นประสาท อัมพาตหน้าครึ่งซีก

รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม 1

รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจาก Varizella Zoster Virus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดอาการของโรคอีสุกอีใส ซึ่งคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วตัวไวรัสอาจจะยังอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดโรคได้หลายปี แต่เมื่อก่อโรคก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค

อาการของโรคจะเริ่มต้นจากอาการอักเสบทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะที่ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ในตำแหน่งบริเวณใบหูของข้างที่เกิดอาการ หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆ รู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วยได้ หลังจากนั้นจะพบตุ่มน้ำใส ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไวรัสขนิดนี้ เกิดขึ้นที่บริเวณใบหู โดยตุ่มน้ำจะทำให้รู้สึกแสบๆ คันๆ หรือแสบร้อนมากกว่าตุ่มคันทั่วๆไป

รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม 2

การอักเสบติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งทำหน้าที่ในการเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า หูชั้นใน และการรับรสบางส่วนเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซึก หลับตาไม่สนิท ทำให้มีอาการเคืองตา หรือล้างหน้าแล้วแสบตาเนื่องจากน้ำสบู่เข้าตา เป็นต้น

การขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตทำให้การพูด การออกเสียง การดื่มน้ำและทานอาหารมีปัญหา อาการจะคล้ายกับอาการเส้นประสาทใบหน้าอักเสบชนิด Bell’s Palsy ซึ่งเป็นการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เช่นกัน แต่มักจะไม่พบสาเหตุชัดเจน และไม่มีอาการของผื่นหรือตุ่มน้ำใส เนื่องจากอาการอัมพาตของใบหน้าที่เกิดขึ้นเพียงครึ่งซึก ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็นมากขึ้นในวันนั้นหรือข้ามวัน

แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ได้สังเกตอาการตอนเริ่มต้น ทำให้เข้าใจว่าอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด ซึ่งจำเป็นต้องแยกจากอาการของกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองด้วย เนื่องจากเส้นประสาทดังกล่าวมีส่วนในการรับรส ทำให้การรับรสผิดปกติ และส่วนที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อในหูชั้นใน เช่น อาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือการได้ยินผิดปกติร่วมด้วยได้

รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม 3

แพทย์วินิจฉัยจากการซักประวัติ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร่วมกับการรักษาตามอาการ และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งในกรณีที่มีการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า อาจจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูจนกลับมาใกล้เคียงกับปกติประมาณ 3 เดือน ขึ้นกับระดับความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้น และขึ้นกับความสามารถของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อในการฟื้นตัวด้วย

โรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 และทำให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซึกของใบหน้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้ไม่ได้มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงใด จึงไม่มีแนวทางหรือวิธีในการป้องกันการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันจึงมุ่งเน้นไปที่การดูแลสุขภาพโดยรวม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติ การเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลของการรักษาและการฟื้นฟูนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า


ข้อมูล : กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพทย์ผิวหนังชี้ความแตกต่าง “โรคฝีดาษลิง” กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ

ใส่ผ้าอนามัยนานๆ เสี่ยงเป็น ‘โรคมะเร็งปากมดลูก’ จริงหรือมั่ว?

ออกกำลังกาย แค่วันละ 15 นาที 9 วินาที ช่วยยกระดับจิตใจได้ จริงหรือไม่?

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up