ปรับ 7 พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง' ป้องกันบาดเจ็บ และเสริมบุคลิกภาพเป๊ะขึ้น
พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง'

ปรับ 7 พฤติกรรมทำร้าย ‘กระดูกสันหลัง’ ป้องกันบาดเจ็บ และเสริมบุคลิกภาพเป๊ะขึ้น

Alternative Textaccount_circle
พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง'
พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง'

กระดูกในร่างกายเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น ที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในต่างๆ ไขกระดูกบางชนิดจะช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว และเส้นเอ็นจะเป็นตัวเชื่อมโยงเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ทุกส่วนล้วนทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ซึ่งเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดบกพร่อง ย่อมกระทบส่วนอื่นๆ ไปด้วยค่ะ

ปรับ 7 พฤติกรรมทำร้าย ‘กระดูกสันหลัง‘ ป้องกันบาดเจ็บ และเสริมบุคลิกภาพเป๊ะขึ้น

พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง 1

สำหรับ กระดูกสันหลัง นอกจากเป็นโครงสร้างแข็งแรงที่ปกป้องแกนของไขสันหลังแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อของหลัง และยังเชื่อมต่อกับกะโหลกศีรษะ กระดูกสะบัก กระดูกเชิงกราน และกระดูกซี่โครงอีกด้วย

สำคัญขนาดนี้ เลยอยากจะชวนทุกคนมาดูแลกระดูกสันหลังกันซักหน่อย เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยชินที่จะทำร้ายกระดูกสันหลังของเราอย่างไม่รู้ตัว มาดูกันค่ะ ว่าอะไรบ้าง ที่เราควรจะเลิกเพื่อช่วยถนอมรักษากระดูกสันหลัง

  1. นั่งไขว่ห้าง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ คุณสาวๆ อย่านั่งไข่วห้างเลยค่ะ ถึงนั่งแล้วจะได้สรีระรูปตัวเอส ( s ) ดึงดูดสายตาชวนให้เหลียวมอง แต่สังเกตซักนิดว่าเวลาเรานั่งไขว่ห้างนานๆ เท้าอาจจะเริ่มชาจนต้องสลับข้าง เพราะเลือดเดินไม่สะดวก เวลานั่ง ตัวก็จะตะแคงบิดมาอีกด้านหนึ่ง ยิ่งถ้านั่งเป็นประจำน้ำหนักตัวก็จะทิ้งไปด้านเดียว กระดูกก็จะถูดบิดเป็นประจำทำให้หลังเสียโดยไม่รู้ตัว แนะนำให้นั่งวางเท้าชิดกันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้วหันไหล่ตรงก็เป็นท่านั่งที่ทำให้หุ่นดูสวยไม่แพ้กันเลยค่ะ
  2. การกอดอก ถึงมีเรื่องที่ต้องขบคิด เครียด หรือมีเรื่องหนักอก แนะนำว่าอย่าเอามากอดไว้กับอกเลยค่ะ เพราะเวลาที่เรากอดอกนั้น สรีระช่วงบน อย่างสะบัก และหัวไหล่ต้องยืดยาว และค้อมไปด้านหน้า แถมคอก็ยังยืดออกเหมือนเต่า ทำให้ปวดหลังได้แบบไม่รู้ตัว อีกทั้งจะทำให้เลือดยังไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี เกิดอาการปวดหัวได้อีก กอดอก อีกท่วงที่เคยชินแต่อาจทำร้ายหลังแบบไม่รู้ตัวเลย
  3. ท่ายืนพักขาการยืนพักขาแม้จะจะเป็นท่าที่สบาย แต่ทราบไหมคะว่าการพักขาจะเป็นการทิ้งน้ำหนักให้เป็นภาระด้านกับร่างกายด้านหนึ่ง สะโพกก็จะเอียง กระดูกสันหลังก็โค้งตามไปด้วย ไม่ดีต่อสมดุลของร่างกายอย่างแน่นนอน การยืนที่ดีที่สุดก็เพียงแค่ทิ้งน้ำหนักลงที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน ง่ายๆ แค่นี้เองคะ
  4. นั่งหลังงอจำไว้ค่ะว่าหลังต้องตรง เหมือนตุ๊กตาหุ่นที่มีใครมาดึงเชือกด้านบนไว้ตลอด บางครั้งการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เราอาจเผลอก้มหน้าไปจนติดจอ หลังค่อม งอ โค้ง ไม่น่าดู ยิ่งนานวันเข้ากระดูกก็จะงอคดตามจนผิดรูป ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ยาก ทางที่ดีควรปรับระดับความสูงและความเอียงของจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม และเตือนตัวเองไว้เสมอๆ ให้นั่งหลังตรงตลอดเวลาค่ะ
  5. นั่งเก้าอี้หมิ่นๆ จะเพราะกระโปรงสั้น หรือเก้าอี้สูงนั่งไม่สบาย ทำให้สาวๆ บางคนต้องนั่งหมิ่นๆ แต่รู้ไหมคะว่ากล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนักขนาดไหนในการรับน้ำหนัก ลองนึกภาพก็จะเหมือนกับการวางของหนักๆ ไว้บนฐานที่แคบๆ เวลานั่งเก้าอี้จึงควรนั่งแบบเต็มก้นจะดีกว่านะคะ
  6. นอนขดเป็นดักแด้ เวลานอนถือเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะพักผ่อนอย่างจริงจัง กล้ามเนื้อทุกส่วนต้องสบาย และการนอนแต่ละครั้ง ร่างกายจะอยู่ในท่าเดิมๆนั้นๆ นานหลายชั่วโมง การนอนขดตัวจะทำให้กระดูกงอโค้ง กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็งไม่ได้พักผ่อน คนที่นอนอาจตื่นมาไม่สดชื่นนัก เพราะร่างกายไม่ได้ผ่อนคลายจริงๆ นั่นเองค่ะ ท่านอนที่ดีท่าหนึ่ง คือการนอนตะแคงขวา โดยมีหมอนข้างใบน้อยช่วยรับน้ำหนักของร่างกายบางส่วนค่ะ ท่านอนท่านี้นอกจากจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังแล้ว ยังจะทำให้หัวใจทำงานได้สะดวกอีกด้วยค่ะ
  7. ส้นสูง ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่ารองเท้าส้นสูง ถึงใส่แล้วจะดูขายาว หุ่นเพรียวสวย แต่ก็เป็นภัยร้ายแรง ทำให้กระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ อาการปวดหลังก็ตามมา แนะนำว่า ถ้าเลี่ยงได้ ลองมองหารองเท้าส้นเตี้ยที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับรูปเท้า และรองรับน้ำหนักจากการเดินได้ดีจะดีกว่า

พฤติกรรมทำร้าย 'กระดูกสันหลัง 2

เอาล่ะ รู้จักพฤติกรรมที่เป็นภัยร้ายกับกระดูกสันหลังกันแล้ว มาปรับพฤติกรรมของเราตั้งแต่วันนี้กันดีกว่า เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บแล้ว ยังช่วยให้มีบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก : ไลฟ์เซ็นเตอร์บล็อก https://lifecenterthailand.wordpress.com
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด” ภาวะที่พบบ่อยในคนที่เล่นกีฬาหรือคนชอบออกกำลังกาย

มีไข้สูง ปวดศีรษะ พฤติกรรมเปลี่ยนไป คือสัญญาณอันตราย “โรคไข้สมองอักเสบ”

ป้องกันไว้ดีกว่ารักษา! 7 เรื่องที่ผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up