- Page 54 of 69

เผยบทสวดพร้อมคำแปล คาถาถวายพระราชกุศล ในหลวงรัชกาลที่ ๙

สืบเนื่องจากวันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑ ปีที่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสู่สวรรคาลัย ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้เสด็จพระราชดําเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จพระราชดําเนินเข้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงวางพวงมาลาของส่วนพระองค์ และพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ แล้วทรงจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะกราบถวายบังคมพระบรมศพ ชาวพนักงานประโคมมโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ป่ี กลองชนะ ปี่พาทย์ ทหารกองเกียรติยศพระบรมศพถวายความเคารพ วงดุริยางค์ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจําพระชนมวาร ที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร พระสงฆ์ ๓๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ และสวดคาถาพิเศษ จากนั้นพระสงฆ์สดับปกรณ์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ที่จะถวายพระธรรมเทศนาและสวดธรรมคาถาขึ้นนั่งยังอาสน์สงฆ์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม พระราชาคณะถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑ จบ พระสงฆ์ ๔ […]

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระรูปพระกรณียกิจของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ขณะทรงร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงปฏิบัติธรรม ณ วัดป่ามุตโตทัย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนชาวไทย ในการร่วมทำความดีร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และในห้วงเดือนตุลาคมนี้ ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดตั้ง “จิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” ขึ้น เพื่อรวมพลังน้ำใจ พลังความรักอันมีค่า ความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย         สำหรับประชาชนที่สนใจ ได้แบ่งประเภทจิตอาสาเฉพาะกิจฯ เป็นประเภทงาน 8 ประเภท ดังนี้ 1. งานดอกไม้จันทน์ 2. งานด้านประชาสัมพันธ์ 3. งานโยธา 4. งานขนส่งเพื่อความปลอดภัยของประชาชน 5. งานบริการประชาชน 6. งานแพทย์ 7. งานรักษาความปลอดภัย 8. งานจราจร สามารถและติดตามข่าวสาร จิตอาสา ได้โดยสแกน QR CODE สแกนบาร์โค้ดได้ที่ kingrama9.net หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1510 และ 1511 ระหว่างเวลา […]

13 ตุลาฯ ณ ศิริราช น้ำตาประชาราษฎร์ไม่เคยแห้ง เฝ้าคิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทุกวัน

ณ โรงพยาบาลศิริราชในวันนี้ ประชาชนต่างเดินทางมาร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์จำนวน 199 รูป เพื่ออุทิศถวายแด่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่ามกลางความโศกเศร้าที่แม้ผ่านไป 365 วันแล้ว แต่ใบหน้าทุกคนยังเปื้อนคราบน้ำตา

ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงขอบใจชาวไทยที่มีจิตอาสาช่วยเหลืองานพระบรมศพ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ทรงขอบใจประชาชนที่ร่วมบำเพ็ญประโยชน์เป็นจิตอาสา ช่วยเหลืองานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และงานด้านต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ ดังมีพระราชกระแสดังนี้ ถือเป็นขวัญและกำลังใจที่สำคัญอันหาที่สุดมิได้จริงๆ สำหรับพระราชกระแสที่ทรงขอบใจปวงชนชาวไทยที่ร่วมกันทำความดีและช่วยเหลือกัน  

ครบ 365 วัน ทูลกระหม่อมฯ ทรงโพสต์ไอจี “พ่อของพวกเราเสด็จสู่สวรรคาลัย”

ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงอาลัย โพสต์ไอจี วันนี้เมื่อปีก่อนพ่อของพวกเราเสด็จสู่สวรรคาลัย 13 ต.ค.2560 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 365 วันแห่ง ความอาลัย วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทั้งนี้ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่๙ พร้อมข้อความแสดงความอาลัยในอินสตาแกรมส่วนพระองค์ @Nichax ว่า วันนี้…เมื่อปีก่อน #พ่อของพวกเราเสด็จสู่สวรรคาลัย ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ ทำเอาประชาชนที่ได้อ่านถึงกับเศร้าโศกอย่างสุดหัวใจ ขณะที่เพจ Play Academy ยังได้เผยถึงเรื่องราวสุดเศร้า เมื่อครั้ง “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ” ทรงกันแสงต่อหน้าพระพักตร์ ทูลกระหม่อมพ่อ อย่างซาบซึ้ง ระบุว่า “ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สะเทือนใจกับคนไทยทุกคน เมื่อประเทศไทยได้เกิดคลื่นสึนามิ เนื่องจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย จนเป็นเหตุให้ชาวบ้าน นักท่องเที่ยว เสียชีวิต และบาดเจ็บจากเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่สร้างความเสียใจครั้งใหญ่ เมื่อคุณพุ่ม เจนเซน พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้ถึงแก่อนิจกรรมจากกรณีภัยพิบัตินี้ด้วย ซึ่งคุณพุ่มจากไปด้วยวัยเพียง […]

วันนี้…เมื่อปีที่แล้ว 13 – 14 ตุลาคม จากศิริราช – วังหลวง คลื่นน้ำตาปวงราษฎร์ท่วมแผ่นดิน

วันนี้…เมื่อปีที่แล้ว 13-14 ตุลาฯ จากศิริราช-วังหลวง คลื่นน้ำตาปวงราษฎร์ท่วมแผ่นดิน
หลังจากที่คนไทยได้รับข่าวจากประกาศของทางสำนักพระราชวังเรื่องการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ประชาชนทั่วทุกสารทิศ ต่างเดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราชกันหนาแน่นมากขึ้นเรื่อยๆจนเต็มพื้นที่

ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือการได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง

เชื่อว่า คนไทย  ไม่ว่าจะอยู่บนแผ่นดินไทยหรือแผ่นดินนอก ต้องเคยได้อ่านหรือได้ยินพระราชดำรัสทรงคุณค่าที่ว่า “…ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือการได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง” มาแล้วแน่ๆ ทว่าจะมีสักกี่คนที่เคยอ่านพระราชดำรัสนี้แบบเต็มๆ ประโยค  วันนี้แพรวขออัญเชิญความตอนนี้ซึ่งอยู่ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีไปถึงพระสหายในต่างประเทศ ภายหลังจากที่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ดังนี้ “…เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่ในยุโรป ข้าพเจ้าไม่เคยตระหนักว่าประเทศของข้าพเจ้าคืออะไร และเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าแค่ไหน ไม่ทราบตราบจนกระทั่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้ที่จะรักประชาชนของข้าพเจ้า เมื่อได้มีการติดต่อกับเขาเหล่านั้น ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าสำนึกในความรักอันมีค่ายิ่ง ข้าพเจ้าไม่เป็นโรคคิดถึงบ้านที่จริงจังอะไรนัก แต่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้โดยการทำงานที่นี่ว่า ที่ของข้าพเจ้าในโลกนี้ คือการได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือคนไทยทั้งปวง…” นั่นทำให้เราคนไทยมีภาพความทรงจำแสนคุ้นชิน ไม่ว่าจะเป็นการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ประทับยืน หรือนั่ง อยู่ท่ามกลางประชาชน และหลายครั้งก็ทรงคุกพระชานุต่อหน้าพสกนิกรของพระองค์ กระทั่งมีคำพูดว่า ไม่มีพื้นที่ตารางนิ้วไหนของประเทศไทยที่พระองค์ไม่ได้เสด็จฯไป กล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์หนึ่งเดียวในโลกที่ไม่สมัครพระทัยอยู่แต่ในปราสาทราชวัง แต่ทรงเลือกที่จะดูแลทุกข์สุขของประชาชนแบบลงพื้นที่ด้วยพระองค์เอง ภาพพระเสโทหยดริน พระวรกายเปียกชุ่มจากสายฝน ทั้งบุกป่าฝ่าดง ไม่เว้นแม้กระทั่งยามค่ำคืน คนไทย โชคดีนัก เพราะไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ไหนในโลกนี้ที่จะทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรได้เทียบเทียมพระองค์อีกแล้ว และหากนับว่าวันที่พระองค์เสด็จฯขึ้นครองราชย์ยังทรงเป็นยุวกษัตริย์ ด้วยทรงมีพระชนมายุยังไม่เต็ม 19 พรรษาดีนัก ย่อมกล่าวได้ว่าตลอดห้วงแห่งการครองราชย์ 70 […]

ความงดงามของราชวงศ์ยุโรปในฉลองพระองค์ 9 ลุคโทนสีสุภาพ ทรงพระสิริโฉมทุกพระองค์

ถ้าพูดถึงเจ้าหญิงหรือราชินีในเทพนิยาย หลายคนคงมองภาพว่าต้องใส่ชุดยิ่งใหญ่อลังการ มีมงกุฎประดับอยู่ตลอดเวลา มีผู้คนคอยตามรับใช้ไม่ห่างกาย แต่ในชีวิตจริงและ ณ ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว เพราะจากที่เราเห็นกันจนชินตา ไม่ว่าจะราชวงศ์ไทยเองหรือราชวงศ์อื่นๆ ก็ทรงงานเพื่อประชาชน พบปะราษฎร เข้าช่วยเหลือในทุกด้านเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน แน่นอนว่าการเสด็จฯไปตามที่ต่างๆ ฉลองพระองค์ต้องเข้ากับสถานการณ์และโอกาส โดยเฉพาะเจ้าหญิงและราชินี ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องนี้มาก เพราะถึงจะเป็นราชวงศ์ทางฝั่งยุโรป มีประเพณีแบบฝรั่ง แต่การแต่งกายก็ต้องสุภาพและเหมาะสมเช่นกัน วันนี้แพรวดอทคอมจะขอยกเจ้าหญิงและราชินีของราชวงศ์ยุโรปผู้ทรงพระสิริโฉม ที่ทรงออกพบเจอประชาชนอยู่ตลอด อย่างดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ควีนเลติเซียแห่งสเปน และเจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก มาให้ได้ดูกันว่าทั้ง 3 พระองค์ฉลองพระองค์ได้ทรงพระสิริโฉมมากเพียงใด พิเศษไปกว่านั้น จากอินสตาแกรม @royaladdicted2 มีภาพของทั้ง 3 พระองค์ที่ฉลองพระองค์ในแบบที่ละม้ายคล้ายกัน และลุคออกมางดงามไม่ต่างกัน มาชมไปพร้อมๆ กันว่าจะมีลุคไหนบ้างที่ฉลองพระองค์คล้ายกัน   ฉลองพระองค์เดรสแบบ Peter Pan/Chelsea Collar เรียงจากซ้ายไปขวา 1. ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ฉลองพระองค์จากแบรนด์ Catherine Walker 2. ควีนเลติเซียแห่งสเปน ฉลองพระองค์จากแบรนด์ Nina Ricci 3. เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก ฉลองพระองค์จากแบรนด์ […]

เมื่อ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเล็งพระแสงปืนใส่หนุ่มคาวบอย

เมื่อครั้ง ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์ทรงฉายร่วมกับมิสเตอร์ริชาร์ด บูน (Richard Allen Boone) ดาราคาวบอยชื่อดังจากซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง Have Gun Will Travel  แต่นอกจากพระบรมฉายาลักษณ์ประวัติศาสตร์นี้แล้ว ยังปรากฏหลักฐานเป็นบันทึกงานเขียนของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เจ้าของนามปากกา ‘ว.ณ.ประมวญมารค’  ผู้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙  มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ และได้โดยเสด็จในฐานะราชเลขานุการส่วนพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ เมื่อคราวที่ทั้งสองพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๑๔ มิถุนายน-๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ในบันทึกนั้นผู้เขียนทรงเล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๓ ที่ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯพร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ เยือนโรงถ่ายพาราเม้าท์พิกเจอร์ส์ และห้วงตอนหนึ่งได้ทรงทอดพระเนตรการถ่ายทำภาพยนตร์กลางแจ้งด้วย โดยมีใจความว่า… “…เมื่อทรงพระดำเนินไปตามถนนเมืองคาวบอยนั้นสักครู่ ก็ทอดพระเนตรเห็นคาวบอยร่างใหญ่ สูงโย่ง มีหนวด คาดปืน มีลูกกระสุนเต็ม สวมหมวกปีกใหญ่สีดำ เดินส่ายอาดเข้ามาเฝ้า […]

เปิดประวัติศาสตร์และความหมายของ “ราชรถ” และ “ราชยาน”

วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่จะถึงนี้ ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นอกจากเครื่องประกอบพระอิสริยยศที่ปรากฏในริ้วขบวน อย่างฉัตร เครื่องสูง รูปเทวดา และรูปสัตว์หิมพานต์ ฯลฯ ยังมีราชรถ ราชยาน ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกันในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งการอัญเชิญพระบรมศพสู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ประกอบด้วยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ต้องบูรณะและตกแต่งราชรถ ราชยาน ให้พร้อมสำหรับอัญเชิญพระบรมศพ พระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร รวมทั้งซักซ้อมการเคลื่อนขบวนให้งดงามประหนึ่งราชรถเคลื่อนบนหมู่เมฆเพื่อส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์ ราชรถ ราชยาน เป็นหนึ่งในเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฐานานุศักดิ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการใช้ราชรถ ราชยาน ในราชสำนักนั้นมีมาตั้งแต่โบราณกาล ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยอยุธยา และเป็นราชประเพณีสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยอยุธยามีหลักฐานกล่าวถึงการใช้ราชรถในพระราชพิธีต่างๆ เช่น การอัญเชิญผ้าพระกฐิน การอัญเชิญพระราชสาสน์จากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อพุทธศักราช 2230 เดิมทีมีโรงเก็บราชรถในพระราชวัง แต่ถูกเพลิงไหม้ไปสิ้นเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 และในสมัยกรุงธนบุรีไม่ปรากฏว่ามีการสร้างราชรถเพื่อใช้ในการพระเมรุ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯเป็นราชธานีในพุทธศักราช 2325 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างราชรถขึ้นมา 7 องค์ เพื่อถวายพระเพลิงพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกในพุทธศักราช 2339 […]

พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเป็นผู้บังคับกองทหารม้าเกียรติยศ อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ด้วยพระองค์เอง

ช่วงวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากได้ไปเฝ้าชมการซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ซึ่งซ้อมตามเวลาจริง และสถานที่จริง โดยจะมีการซ้อมอีกครั้งในวันที่ 15, 21 และ 22 ตุลาคม 2560 และทางกองอำนวยการร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้แจ้งว่าในวันที่ 22 ตุลาคม 2560 นี้ พันโทหญิงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ตำแหน่งผู้บังคับการกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ จะทรงม้านำขบวนพระบรมราชอิสริยยศ โดยทรงร่วมซ้อมริ้วขบวนที่ 6 ที่จะใช้ก่อนวันจริงในวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ในการอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส พระประธานพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเส้นทางของริ้วขบวนที่ 6 จะเริ่มจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ผ่านถนนสนามไชย ถนนอัษฎางค์ ถนนกัลยาณไมตรี (หรือถนนด้านข้างกระทรวงกลาโหม) ไปยังวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม แล้วต่อไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร โดยผ่านถนนกัลยาณไมตรี ถนนราชดำเนินใน ถนนราชดำเนินกลาง […]

หาคำตอบ ทำไมราวบันไดประดับพระเมรุมาศต้องเป็นนาค

ใกล้เข้ามาทุกที สำหรับวันที่คนไทยทั้งชาติต้องร่ำไห้ทั้งแผ่นดิน ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งที่ผ่านมาหลายคนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับงานพระราชพิธีครั้งนี้หลากหลายด้วยกัน ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ การแต่งกายของทหารในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ หรือแม้แต่คำศัพท์และเพลงที่ใช้ในช่วงพระราชพิธีก็มีข้อมูลให้ศึกษาทั้งหมด วันนี้แพรวดอทคอมก็มีอีกเรื่องที่สำคัญไม่ต่างจากเรื่องก่อนหน้านี้ที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพราะเป็นข้อมูลของราวบันไดที่ใช้ประดับพระเมรุมาศ หลายคนอาจได้เห็นภาพแล้วว่าราวบันไดมีนาคประดับอยู่ด้วยกันถึง 4 แบบ แล้วทำไมต้องเป็นนาคล่ะ สงสัยกันไหม วันนี้เรานำคำตอบจากเว็บไซต์ kingrama9.th มาไขข้อข้องใจให้แล้ว ตามความเชื่อในคติพุทธ พญานาคเปรียบเป็นสัญลักษณ์ของสายน้ำ และเสมือนดั่งสะพานสายรุ้งเชื่อมโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ โดยภพภูมิของพญานาคคือเทพกึ่งสัตว์ อันเป็นที่มาของประติมากรรมราวบันไดนาคประดับพระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งประติมากรรมบันไดนาคทั้งหมด 4 แบบอยู่บนพระเมรุมาศทั้ง 4 ชั้น โดยบันไดนาคในแต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันตามความสำคัญและระดับชั้นบารมีของนาค ซึ่งผู้ออกแบบสื่อให้เห็นถึงการลดละกิเลสสู่ความเป็นเทพในชั้นที่สูงขึ้น   ภาพและข้อมูล : kingrama9.th  

กำหนดการงาน “ศิระกรานพระภูบาลนวมินทร์” ณ รพ.ศิริราช วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560

เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อโรงพยาบาลศิริราชมาโดยตลอด ทางโรงพยาบาลศิริราชร่วมกับกองทัพเรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงาน “ศิระกรานพระภูบาลนวมินทร์” เพื่อน้อมรำลึกครบรอบ 1 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต สำหรับผู้ที่สนใจร่วมงาน “ศิระกรานพระภูบาลนวมินทร์” ณ โรงพยาบาลศิริราช ในวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560 นี้ แพรวดอทคอม มีหมายกำหนดมาแจ้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 05.30 น. – 7.30 น. พิธีทำบุญตักบาตรอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระสงฆ์จำนวน 199 รูป บิณฑบาต (ข้าวสารอาหารแห้ง) จากหอประชุมกองทัพเรือไปยังถนนบวรสถานพิมุข หน้าตึกอำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช พระสงฆ์ทั้งหมดเดินเข้าสู่ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สวดพระพุทธมนต์ พิธีถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นำโดยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พิธีกล่าวถวายความอาลัย ยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 89 วินาที ผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวางต้นดาวเรืองรอบพระราชานุสาวรีย์ฯ ถวายภัตตาหารเช้าพระสงฆ์ ณ ศูนย์อาหารริมน้ำ […]

“MUSIC FOR THE KING” เพลงของพ่อ ที่คนไทยควรฟัง ร้องด้วยใจ ลึกซึ้งเกินบรรยาย!

“MUSIC FOR THE KING” เพลงของพ่อ ที่คนไทยควรฟัง เพลงของพ่อ ฟังกี่ครั้งก็ไพเราะจับใจ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ทุกความทรงจำเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังคงอยู่กับพวกเราคนไทยไปอีกนานแสนนาน ล่าสุดบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่านที่ถูกนำมาถ่ายทอดอีกครั้งผ่านศิลปินมากความสามารถในงาน STILL ON MY MIND ในดวงใจนิรันดร์ ซึ่งภายในนิทรรศการจะได้พบกับงาน “MUSIC FOR OUR KING” การแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติจากวงซิมโฟนีออร์เคสตรากว่า 100 ชีวิต จากชมรมดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ และการแสดงบทเพลง “STILL ON MY MIND” โดย กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์, “พ่อแห่งแผ่นดิน” โดย ใจรัตน์ พิทักษ์เจริญ, “เสียงหนึ่ง” โดย กิตตินันท์ ชินสำราญ และมัชฌิมา มีบํารุง ซึ่งทุกบทเพลงล้วนถ่ายทอดออกมาได้ซาบซึ้งกินใจอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีโชว์การแสดงอื่นๆ จากศิลปินและนักดนตรีมากฝีมืออีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเก่ง – ธชย ประทุมวรรณ, ป๊อด […]

กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน แจ้งร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9

ยังคงตามรอยพระบาท ทอดพระเนตรในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นต้นแบบในการปกครองประเทศและประชาชน สำหรับ กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน หรือสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนในภูฏานทั่วทุกพื้นที่ หรือแม้แต่แขกบ้านต่างเมืองเช่น รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ดร.เอส ไจรสการ์ ที่ได้มาเยือนภูฏาน 3 วันเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2560 กษัตริย์จิกมีก็ได้ทรงวางพระองค์ต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ไม่ถือตัว

รู้จัก “เพลงพญาโศก” บทเพลงแห่งความอาลัยในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ

ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร นอกจากจะมีองค์ประกอบเป็นสิ่งที่ต้องจัดสร้างอย่างเวชยันตราชรถ พระที่นั่งราเชนทรยาน พระราเชนทรยานน้อย ฯลฯ หรือส่วนสำคัญอื่นๆ แล้ว อีกอย่างที่จะขาดไปไม่ได้คือเพลงหรือดนตรีที่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ในครั้งนี้คือ เพลงพญาโศก หรือ เพลงโศกประจำชาติ นั่นเอง หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าเพลงพญาโศกมีความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงได้นำมาใช้ในพระราชพิธีสำคัญเช่นนี้ วันนี้แพรวดอทคอมได้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ kingrama9.th ที่กล่าวถึงประวัติของเพลงโศกประจำชาติมาให้ได้อ่านกัน   เพลงพญาโศก หรือเพลงโศกประจำชาติ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงฯ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ทรงนำเพลงพญาโศกอัตรา 2 ชั้นมาเรียบเรียงเป็นโน้ตสากล ทั้งเพิ่มเติมเสียงประสานให้มีความไพเราะ เป็นแบบเพลงตะวันตก เพื่อให้กองแตรวงทหารบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชที่เป็นของต่างชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรเลงครั้งแรก “เพลงพญาโศก” หรือ “เพลงโศกประจำชาติ” “เพลงพญาโศก” หรือ “เพลงโศกประจำชาติ” เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงนำเพลงพญาโศกอัตรา 2 ชั้นมาเรียบเรียงเป็นโน้ตสากล ทั้งเพิ่มเติมเสียงประสานให้มีความไพเราะเป็นแบบเพลงตะวันตก เพื่อให้กองแตรวงทหารบรรเลงแทนเพลงสโลว์มาร์ชที่เป็นของต่างชาติเพลงพญาโศก บรรเลงโดยกรมดุริยางค์ทหารบกในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 2อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kingrama9.th/Honor/Detail/40ที่มา : กรมดุริยางค์ทหารบก#พญาโศก #เพลงโศกประจำชาติ […]

ทำด้วยหัวใจ “ชุลีวัลย์” ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างพระราเชนทรยานน้อยเพื่อพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

จากที่เราได้นำเสนอเกี่ยวกับคำศัพท์ในพระราชพิธีอันสำคัญของเดือนนี้ไปแล้ว วันนี้ทางแพรวดอทคอมจะนำข้อมูลจากเว็บไซต์ kingrama9.th ที่เกี่ยวกับการออกแบบและจัดสร้างพระราเชนทรยานน้อยมาบอกกล่าวให้ได้ทราบกัน เพราะเมื่อเราได้เห็นริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในวันที่ 26 ตุลาคม นี้ จะได้เกิดความเข้าใจว่าในริ้วขบวนมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และแต่ละองค์ประกอบเป็นอย่างไร ซึ่งวันนี้จะเป็นเรื่องราวของการจัดสร้างพระราเชนทรยานน้อย โดยนายช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ที่ได้บอกไว้ว่างานนี้ ทำด้วยใจ เป็นมากกว่าหน้าที่ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ ตลอดจนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ โดยในการจัดสร้างพระราเชนทรยานน้อย อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้มอบหมายให้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร รับผิดชอบในการออกแบบและจัดสร้างพระราเชนทรยานน้อย คุณชุลีวัลย์ วงศ์บุญ นายช่างศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ หนึ่งในทีมงานออกแบบและจัดสร้างพระราเชนทรยานน้อย เปิดเผยว่า ตนเองเรียนจบสาขาวิชาศิลปะไทยจากวิทยาลัยช่างศิลป โดยเริ่มงานที่สำนักช่างสิบหมู่เมื่อปี พ.ศ. 2551 แม้ในขณะนั้นคุณชุลีวัลย์จะมีอายุเพียง 21 ปี แต่ด้วยความรักในศิลปกรรมของชาติ จึงตั้งใจฝึกฝนฝีมือ สั่งสมประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติ ทั้งงานออกแบบและงานแกะสลักไม้ จนได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติงานในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คุณชุลีวัลย์บอกเล่าถึงความรู้สึกครั้งแรกว่า พอได้รับมอบหมายให้ออกแบบ […]

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ก่อนที่จะถึงวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แพรวดอทคอม จะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องการอัญเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังไปสู่พระเมรุมาศตามแบบสมัยโบราณ ซึ่งจะอัญเชิญไปด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศอย่างสมพระเกียรติ จึงถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนไทยทุกคน เพราะอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันสำคัญที่พวกเราชาวไทยจะไม่มีวันลืม จึงหยิบยกข้อมูลจากหนังสือราชรถ ราชยาน ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ กรมศิลปากร ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สํานักพระราชวัง มาให้เรียนรู้เรื่องริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศตามโบราณราชประเพณี ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพกัน พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงทศพิธราชธรรม มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ ทรงได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ กล่าวคือ เป็นเทวดาจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์ ครั้นเมื่อสวรรคตเท่ากับเป็นการเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ พระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับพระบรมศพจึงถือเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามโบราณราชประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพ เพื่อน้อมส่งเสด็จพระมหากษัตริย์สู่สวรรคาลัย โดยอัญเชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพออกจากพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ เคลื่อนสู่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง อัญเชิญพระบรมโกศเวียนรอบพระเมรุมาศ จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระจิตกาธาน แล้วจึงถวายพระเพลิง วันรุ่งขึ้นอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง การอัญเชิญพระบรมศพจากพระบรมมหาราชวังไปสู่พระเมรุมาศ หรืออัญเชิญพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศมาสู่พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุหรือลอยพระอังคาร ตามโบราณกาลจะอัญเชิญไปด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ซึ่งเรียกว่า “ริ้วขบวน” ซึ่งในแต่ละริ้วขบวนมีคนหาม คนฉุดชักจำนวนมาก พร้อมด้วยเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ได้แก่ เครื่องสูง พระกลด บังสูรย์ พัดโบก บังแทรก พุ่มเงิน พุ่มทอง จามร พระอภิรุมชุมสาย แวดล้อมตามพระราชฐานันดรศักดิ์แห่งพระบรมศพหรือพระศพนั้นๆ พรั่งพร้อมด้วยเครื่องประโคม เช่น สังข์แตร […]

keyboard_arrow_up