- Page 78 of 163

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ ขบวนพยุหยาตราสถลมารค ในหลวง ร.๑๐

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) มีอีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญ นั่นคือ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทชื่นชมในพระบารมี ซึ่งขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จะยาตราขบวนจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยเวลาประมาณ 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง และทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี เสด็จพระราชดำเนินมายังเกยพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ประทับพระราชยานพุดตานทอง เลขาธิการพระราชวังกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยาตราริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศพยุหยาตราทางสถลมารค เมื่อพร้อมแล้ว ริ้วขบวนยาตราออกทางประตูพิมานไชยศรี ประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน โดยเดินตามจังหวะดนตรีจากวงดุริยางค์วงนำและวงตาม ที่บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ 6 เพลง คือเพลงพระราชนิพนธ์มาร์ชราชวัลลภ ยามเย็น ใกล้รุ่ง สรรเสริญเสือป่า สรรเสริญพระนารายณ์ และมาร์ชธงไชยเฉลิมพล ลักษณะการเดินใช้การเดินกึ่งสวนสนาม เน้นเท้า เมื่อริ้วขบวนถึงศาลหลักเมือง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำเนินใน สำหรับการจัดริ้วขบวน ยึดตามแบบโบราณราชประเพณีและพระราชนิยม ในการนี้จัดกำลังเป็น […]

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยอันเปี่ยมไปด้วยความหมาย

เมื่อวานนี้ (4 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง โดยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยจักรพรรดิสีชมพู ทรงผ้าสะพักประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นดวงตรามหาจักรีล้อมขอบด้วยปทุมอุณาโลมสลับจักรีไขว้ และรัดพระองค์พระปั้นเหน่งทับทิมล้อมเพชร องค์เดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ต่อมาในช่วงบ่ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยจักรพรรดิ และรัดพระองค์พระปั้นเหน่งนพเก้าที่ตกทอดมาจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยพระปั้นเหน่งนพเก้า ประกอบด้วยเพชรเม็ดใหญ่และพลอยสำคัญอีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ (ไพลิน) มุกดาหาร เพทายและไพฑูรย์ ครบทุกชนิดตามโบราณราชประเพณี ความเชื่อของผู้คนที่มีมาแต่โบราณกาลว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิดที่เรียกว่า “นพรัตน์” ถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ถือเป็นของสูง เป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง เลิศด้วยความดีงามทั้งปวง สมัยโบราณมีแต่เจ้านายชั้นสูงเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ใส่ บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ […]

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10

ที่มาพระยศพิเศษ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์โสมฯ เฉลิมพระนามใหม่ ในรัชกาลที่ 10… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562)  การสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ พระยศพิเศษของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ซึ่งทรงได้รับพระราชทานในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการคาดเดากันว่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนี้   “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทรงได้รับการการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ และเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” (อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-กะ-นิด-ถา-ทิ-ราด-เจ้า-กรม-สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-เจ้า-ฟ้า-มะ-หา-จัก-กรี-สิ-ริน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-วอ-ระ-ราด-ชะ-พัก-ดี-สิ-หริ-กิด-จะ-กา-ริ-นี-พี-ระ-ยะ-พัด-รัด-ถะ-สี-มา-คุ-นา-กอน-ปิ-ยะ-ชาด-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี) ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพฯ ทรงได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อแรกประสูติว่า […]

สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลที่ ๑o

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญที่พสกนิกรเฝ้าชื่นชม คือพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ซึ่งมีขึ้นในวันนี้ (5 พฤษภาคม 2562) โดยมีการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาล 10 ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งอยู่ภายในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวังทางทิศเหนือ โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชโองการ โดยในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาพระนามาภิไธย และพระฐานันดรศักดิ์ ดังต่อไปนี้   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชอิสริยยศสูงสุด คือ ได้รับสัปตปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 7 ชั้น เสมอเท่าสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระบรมราชินี จะไม่มีการลดพระราชอิสริยยศแต่อย่างใด ได้สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจจการิณีพิรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระองค์เคยทรงเป็นพระวรชายามาก่อนนั้น แล้วถึงเป็นพระวรราชาทินัดดามาตุ […]

เฉลิมพระนาม พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ” พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “

รัชกาลที่ ๑๐ เฉลิมพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” พระนามาภิไธย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” รัชกาล ๙ วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ประทับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ซึ่งอยู่ในหมู่พระมหามณเฑียร เพื่อพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ โดยหลังจากที่ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชานพระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาล ๑-๙ ที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” เฉลิมพระนามาภิไธย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙” และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า “โดยที่พระราชอนุสรณ์คำนึงถึง สมเด็จพระบรมชนกนาถ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี […]

ความหมายการโปรย ดอกพิกุลเงิน พิกุลทอง ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.๑o

ภาพพระอิริยาบถเรียบง่ายของ พระบรมวงศานุวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวานนี้ (4 พฤษภาคม 2562) ที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงร่วมก้มเก็บดอกพิกุลเงินและพิกุลทองที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรยพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เสมือนการพระราชทานพร เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นดั่งของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีดังกล่าว ซึ่งดอกพิกุลถือว่าเป็นต้นไม้ในสวนของพระอินทร์ จึงถือว่าเป็นดอกไม้จากสวรรค์และจัดทำด้วยเงินและทองคำให้เสมือนดอกพิกุลจริง สำหรับใช้ในพระราชพิธีสำคัญคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีโสกันต์เจ้านาย โดยความหมายการโปรยดอกพิกุลเงิน พิกุลทอง ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นั้น ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่ในสวนของพระอินทร์ ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงนิยมนำดอกพิกุลมาใช้ประโยชน์ในงานพิธีมงคลต่างๆ ในการประกอบพระราชพิธีสำคัญๆ ในราชสำนักไทย เจ้านายชั้นสูง ผู้ซึ่งเป็นองค์ประธานในพิธีจะทรงโปรยดอกพิกุลที่ทำจากเงินและทองคำที่เรียกว่า “ดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทอง” แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่ามีที่มาตั้งแต่สมัยใด แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ การโปรยดอกพิกุลเงิน ดอกพิกุลทองในงานพระราชพิธีสำคัญนั้น ได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับดอกไม้มงคลที่มีต่อราชสำนักไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มาและความหมาย ต้นพิกุล ชาวต่างประเทศเรียกว่า “Bullet wood” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง ๑๐ – ๒๕ เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม ใบมีลักษณะมัน สีเขียว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด เป็นพันธุ์ไม้ที่มักพบตามป่าดิบชื้นทั่วไปในแถบประเทศที่มีอากาศร้อน ดอกพิกุลมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีสีขาว เมื่อบานจะเห็นริมดอกเป็นจักๆ มีกลิ่นหอมเย็นทั้งเมื่อยังสดและแห้ง นิยมใช้บูชาพระ […]

พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โบราณราชประเพณีอันเป็นสิริมงคล

ในการพระราชพิธีบรมราชิภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวานนี้ (4 พฤษภาคม 2562) มีอีกหนึ่งพระราชพิธีสำคัญ นั่นคือ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เฉลิมพระราชมณเฑียร ทรงพระสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ และพระสังวาลพระนพ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯออกจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงโปรยเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียน รัชกาลที่ 10 ชนิดราคา 2 บาท พระราชทานตลอดเส้นทางขบวนเสด็จ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯไปยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อประทับแรมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะบรรทมเหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์ พระแท่นที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐานภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก สำหรับเป็นพระแท่นบรรทมเฉพาะพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ในพระราชพิธีมีเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค หรือเครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์ เช่น วิฬาร์ หรือแมว มีความหมายถึง การอยู่บ้านใหม่เป็นปกติสุขไม่โยกย้าย ศิลาบด […]

ประทับใจมิรู้ลืม พระบรมวงศานุวงศ์ ธ ทรงเป็นกำลังพระทัยของ ในหลวง ร.10

ประทับใจมิรู้ลืม พระบรมวงศานุวงศ์ ธ ทรงเป็นกำลังพระทัยสำคัญของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ๓-๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก นับเป็นห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดของปวงชนชาวไทย โดยในห้วงเวลานี้นี้ได้มีเหตุการณ์ และพิธีการต่างที่ต้องจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งประชาชนชาวไทยเองต่างก็ประทับใจมิรู้ลืม การนี้แพรวดอทคอมได้รวมภาพต่างๆ ตลอดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ พระฉายาลักษณ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระอิริยาบถเรียบง่าย ซึ่งทุกภาพนั้นล้วนสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา มีพระราชปฏิสันถารด้วย สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทรงสวมกอด ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี การนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงก้มกราบ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ […]

ฉลองพระองค์งดงามวิจิตร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณฯ ทรงตามรอยสมเด็จย่า

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานปักประดับลายดอกพิกุล เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 วันนี้ (4 พฤษภาคม 2562) หลังจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ในช่วงบ่ายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมานปักประดับลายดอกพิกุล ประดับสายสะพายและดวงดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ทรงประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 แพรแถบเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แพรเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระเกศาประดับปิ่นทองประดับเพชร โดยฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ มีความคล้ายคลึงกับฉลองพระองค์ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยพระราชนิยมลำดับที่ 8 ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งตัดเย็บจากผ้ายกทองลายโคมประยุกต์ ชุดกรวยเชิงลายหน้ากระดานประยุกต์ ปักประดับด้วยเลื่อมและลูกปัดสีทองทั่วทั้งองค์ ซึ่งออกแบบโดยห้องเสื้อบัลแมง อีกทั้งยังเป็นฉลองพระองค์ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงในงานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ ดยุกแห่งเอดินเบอระ และเจ้าหญิงแอนน์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมหาราชวัง […]

จารึกประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์จักรีวงศ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

“พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เป็นโบราณราชประเพณีสำคัญ เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ โดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะการพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนในปัจจุบัน เรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่สามารถบันทึกความศักดิ์สิทธิ์ ความยิ่งใหญ่ และความงดงามของโบราณราชประเพณีนี้ได้ คือพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยในขณะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ด้วยในสมัยก่อนประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ก้าวไกล จึงเริ่มมีการบันทึกพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ได้ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ซึ่ง แพรวดอทคอม ได้รวบรวมภาพประวัติศาสตร์ดังกล่าวมาให้ชมกันดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งแรก วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งหลัง วันที่ […]

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก วันที่เสาร์ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.00 น.  รัชกาลที่ ๑๐ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล 16.42 น.ขบวนพระบรมราชอิสริยยศที่จะออกจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ก็จะเริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากเกยหน้าพระทวารเทเวศรรักษา ประทับพระราชยานพุดตาลทอง แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปเทียบเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นชานพระอุโบสถ ชาวพนักงานประโคมมโหระทึก กลองชนะ ปี่ แตรงอน แตรฝรั่ง สังข์ เจ้าพนักงานเดินริ้วเครื่องสูงหักทองขวาง พระแสงหว่างเครื่อง ฉัตรกรรณภรมร์ พระแสงอัสดาวุฒ และเครื่องราชอิสริยยศงราชูปโภคยาตราตามขบวนจังหวะกลอง โดยออกจากเกยหน้าพระทวารเทเวศน์รักษา พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอมรวิถีในพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวขวาเข้าถนนจักรีจรัลผ่านประตูพิมานไชยศรี จากนั้นริ้วขบวนเลี้ยวขวาผ่านหน้าศาลาสหทัยสมาคมเทียบพระราชยานพุดตาลทองที่เกย หลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงศีลแล้วมีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ […]

สมเด็จพระเทพฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อ รัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์แทน พระบรมวงศานุวงศ์ ได้นำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๑๐ ) วันที่เสาร์ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๑๐ ) ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง เสด็จฯ ออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เพื่อให้ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์ผู้แทน พระบรมวงศานุวงศ์ ได้นำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าและเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์มีความปิติปราโมทย์เป็นพ้นประมาณ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จเถลิงราชสมบัติสืบราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ ฉลองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถและได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้มาประชุมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลและแสดงความจงรักสวามิภักดิ์ในใต้เบื้องพระยุคลบาทในวาระแห่งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในอุดมสุภสมัยอันพิเศษนี้ ข้าพระพุทธเจ้า เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์จึงขอพระราชทานยกสัจธรรมขึ้นเป็นที่ตั้ง ร่วมจิตถวายถวายสัตย์ปฏิญาณว่า” “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจะตั้งตนตั้งใจไว้ให้มั่นคง ในความซื่อสัตย์สุจริต และในความจงรักภักดี จะมุ่งมั่นประพฤติตนปฏิบัติงานและทำหน้าที่ของตนโดยเต็มกำลัง สติปัญา และความสามารถ เพื่อธำรงไว้เพื่อเกียรติศักดิ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ […]

พระนามใหม่ในหลวง รัชกาลที่ ๑๐ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง?

อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง? พระนามใหม่ในหลวง รัชกาลที่ ๑๐ และ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันนี้ (4 พ.ค. 2562) เพื่อพระราชอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ จึงได้มีการเปลี่ยนพระปรมาภิไธย หรือ พระนาม ในหลวง รัชกาลที่ ๑๐ จากเดิม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีคำอ่านที่ถูกต้องดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (คำอ่าน) พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-ปะ-ระ-เมน-ทะ-ระ-รา-มา-ทิบ-บอ-ดี สี-สิน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-มะ-หิ-สอน-ภู-มิ-พน-ราด-ชะ-วะ-ราง-กูน กิ-ติ-สิ-ริ-สม-บูน-อะ-ดุน-ยะ-เดต สะ-หยาม-มิน-ทรา-ทิ-เบด-ราด-วะ-โร-ดม บอ-รม-มะ-นาด-ถะ-บอ-พิต พระ-วะ-ชิ-ระ-เกล้า-เจ้า-อยู่-หัว โดยในการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อนั้น นอกจาก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ตามที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” อีกด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของการอ่านออกเสียงพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี มีดังต่อไปนี้ (คำอ่าน)  สม-เด็ด-พฺระ-นาง-เจ้า-สุ-ทิ-ดา พัด-ชะ-ระ-สุ-ทา-พิ-มน-ลัก พฺระ-บอ-รม-มะ-รา-ชิ-นี […]

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณฯ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระสิริโฉมงดงาม  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมาน เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 วันนี้ (4 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จฯ เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยบรมพิมาน ทรงสะพัก ประดับสายสะพายและดวงดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 แพรแถบเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แพรเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงสร้อยพระศอเพชรประดับจี้เพชรอักษรย่อ ภปร พระเกศาประดับมาลัยดอกรักและกระแตดอกไม้สด บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ พระราชกรณียกิจแรก สมเด็จพระราชินีสุทิดา งามสง่าตามเสด็จในหลวง ร.10 ในหลวงร.10 สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีฯ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์ สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระราชินีสุทิดา” ตามรอย […]

สืบทอดตามรอยพระราชบิดา ภาพประวัติศาสตร์พิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี

ประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ถูกจารึกอีกครั้งในวันนี้ (4 พ.ค. 2562 ) กับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดขึ้นเป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่มีมายาวนาน เพื่อเป็นการสถาปนาพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริย์ไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี พ.ศ. 2493  ครั้งนั้นก็ยังคงเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยยังคงระลึกถึงจวบจนทุกวันนี้ และในครั้งนี้ (4 พ.ค. 2562) ถือเป็นมหาฤกษ์อีกครั้งที่ชาวไทยจะได้ชื่นชมพระบารมี และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภาพประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ หากลองมาเทียบกันแล้วแม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน แต่ก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์และงดงามไม่เปลี่ยนแปลง ภาพบางส่วนจาก : FB@royalworldthailand , FB@โบราณนานมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยสมบูรณ์

ในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันนี้ (4 พฤษภาคม 2562) เวลา 10.09 น. ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับเป็นพระราชพิธีที่สำคัญที่สุด เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีด้วย สำหรับพระราชพิธีในช่วงเช้าวันนี้ ประกอบด้วยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เศวตพัสตร์ และทรงสะพักขาวขลิบทอง ในการทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน และทรงรับน้ำพระพุทธมนต์ และน้ำเทพมนตร์ จากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า ในการทรงรับน้ำอภิเษกประจำทิศ ดังนี้ ทิศบูรพา (ตะวันออก) […]

ในหลวงร.10 สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีฯ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

วันนี้ (4 พ.ค. 2562) ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน บริเวณชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยน้ำสรงพระมุรธาภิเษกเป็นน้ำจากเบญจสุทธคงคา น้ำจากสระ 4 สระที่จังหวัดสุพรรณบุรีและทรงรับน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนตร์ และทรงรับการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ พร้อมกับมีพระปฐมบรมราชโองการ โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบรมราชาภิเษก เถลิงถวัลยราชสมบัติโดยสมบูรณ์แล้ว ตามที่เป็นไปตามโบราณประเพณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยสมบูรณ์ทุกประการ              

พระปฐมบรมราชโองการของ “ในหลวง รัชกาลที่ 10” ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อีกหนึ่งความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ที่จะได้รับการจารึกไว้ตลอดไป คือการที่พระมหากษัตริย์จะพระราชทาน พระปฐมบรมราชโองการ หลังจากพราหมณ์ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องราชูปโภคแล้ว เพื่อแสดงถึงพระราชปณิธานในฐานะทรงเป็นผู้รับพระราชภาระแห่งชาติบ้านเมือง สำหรับในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง รัชกาลที่ 10 ซึ่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปแล้วนั้น พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ใจความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยขน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และทรงปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรม   ภาพ : โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย   ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ” ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ […]

keyboard_arrow_up