- Page 80 of 164

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10… ตามที่ วันนี้ (1 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา แล้วนั้น เมื่อเวลา 16.32 น. วันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้อง ว.ป.ร. พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ในการสถาปนาสมเด็จพระราชินี ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อารักษ์อ่านประกาศสถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็นสมเด็จพระราชินี จากนั้น พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ใบมะตูม […]

เส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี นับเป็นวันมหามงคล ของประเทศไทย เมื่อมีข่าวอันน่ายินดี ที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์ โดยเมื่อวันที่นี้ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ได้มีราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์”  การนี้ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี แพรวดอทคอมพาย้อนดูเส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ก่อนที่พระองค์จะทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินี อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการประกาศผ่าน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา โดยสำนักนายกรัฐมนตรี และ พระราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 03/10/2555 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก […]

ในหลวง ร.10 มีพระราชโองการ สถาปนาสมเด็จพระราชินี

วันนี้ (1 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว จึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน   ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ […]

“พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร

“พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 มีหลายพระราชพิธีสำคัญที่ประชาชนต่างเฝ้ารอชื่นชมในพระบารมีของในหลวง รัชกาลที่ 10 โดยหนึ่งในนั้นคือ การที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เพื่อให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสนี้ แพรวดอทคอม จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ซึ่งจะเป็นสถานที่สำคัญสำหรับเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ตั้งอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ระหว่างประตูเทวาพิทักษ์กับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ สร้างขึ้นในปี 2327 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ในพระราชพิธีสนานใหญ่ และการฝึกช้าง มีลักษณะเป็นพลับพลาโถง ทำด้วยเครื่องไม้ มีอัฒจันทร์ขึ้นลงทางทิศเหนือและทิศใต้ เดิมเรียกว่า “พลับพลาสูง” ต่อมาในปี 2361-2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างใหม่เป็นปราสาท พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์” จากนั้นในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อผนังอิฐฉาบปูน และต่อเติมหลังคาเป็นยอดปราสาท พระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ในปี 2492 มีการต่อเติมสร้างเฉลียงไม้ด้านตะวันออกเป็นสีหบัญชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร […]

แผนการถ่ายทอดสด “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” 4 วัน ผ่าน ทรท.

ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้สำหรับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ รวมถึงที่อาศัยอยู่ต่างแดน ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญนี้ได้ โดยการรับชมการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ซึ่งจะมีแผนการถ่ายทอดสด ดังนี้   นอกจากนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ยังมีหมายกำหนดการโดยละเอียดตามวันและเวลา ดังนี้   2 พฤษภาคม 2562 16.09 – 20.30 น.  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ปฐมบรมราชานุสรณ์สะพานพระพุทธยอดฟ้าและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์   3 พฤษภาคม 2562 10.00 น. เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร จากวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงนมัสการพระรัตนตรัย ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงนมัสการพระรัตนตรัย ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม […]

วันประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น “จักรพรรดิอากิฮิโตะ” ทรงเข้าพิธีสละราชสมบัติ

ตามที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิพระองค์ที่ 125 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทรงประกาศสละราชบัลลังก์ เนื่องด้วยพระชนมายุที่มากขึ้น บวกกับพระพลานามัยที่อ่อนแรงลง ทำให้ทรงเกรงว่าจะไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างเต็มที่ ทำให้การสละราชสมบัติครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี ของราชวงศ์ดอกเบญจมาศเลยทีเดียว โดยพระราชพีธีสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเกิดขึ้นในวันนี้ (30 เมษายน 2562) ซึ่งสำนักพระราชวังของญี่ปุ่นได้เผยแพร่หมายกำหนดการที่พระองค์จะทรงประกอบพระราชพิธีสละราชสมบัติ ดังนี้ สำหรับในช่วงเช้าซึ่งเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว เป็นการประกอบพิธี ณ ปูชนียสถานทั้ง 3 (3 Palace Santuaries) ในเขตพระราชวังอิมพีเรียล ซึ่งเป็นสถานที่ถวายราชสักการะเทพเจ้าและเทพีที่เป็นบรรพบุรุษของพระราชวงศ์อิมพีเรียล โดยในเวลาประมาณ 10.00 น. สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสักการะสุริยเทพี ณ วิหารใหญ่คาชิโกะ-โดโกโระ (賢所 – Kashiko-dokoro) ซึ่งอยู่ตรงกลางของเขตวิหาร โดยเป็นที่ประดิษฐานกระจกยาตะจำลอง และลูกปัดยาซาคานิ อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งญี่ปุ่น จากนั้นจะทรงเสด็จพระดำเนินไปถวายราชสักการะดวงพระวิญญาณของบูรพมหาจักรพรรดิในอดีต ณ วิหารโคเรเด็น (皇霊殿 – Kōrei-den) และถวายราชสักการะเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตามความเชื่อในศาสนาชินโต ณ วิหารชินเด็น (神殿 – Shin-den) โดยในการนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะฉลองพระองค์ชุดโคโรเซนโกโฮ […]

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน นามของพระที่นั่งองค์นี้หมายถึงวิมานที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิราช ประกอบไปด้วยพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์กลาง และพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก ภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระวิมานที่บรรทมโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตอนเหนือของพระวิมานมีพระแท่นราชบรรจถรณ์ซึ่งกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรไว้ที่เพดาน ตอนใต้ของพระวิมานเป็นห้องทรงเครื่องพระสำอาง มีพระแท่นราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์และเครื่องพระสำอาง กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรที่เพดานเหนือพระแท่นราชอาสน์ ซึ่งตามพระราชนิติธรรมประเพณีพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชสมบัติแล้วแต่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษก จะไม่เสด็จประทับบรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นอันขาด ต่อเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้วจึงจะเสด็จขึ้นประทับได้ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์กลางเป็นห้องโถง มีพระทวารและอัฒจันทร์เป็นทางลงสู่มุขกระสันชั้นลดซึ่งเป็นท้องพระโรงหน้าและท้องพระโรงใน ส่วนพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและพระแสงราชศัตราวุธสำคัญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงรับบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จประทับภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอยู่เป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์เป็นพระราชฐานที่ประทับแห่งใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นพระราชฐานที่ประทับ จึงมิได้เสด็จประทับ ณ พระวิมานที่บรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออกเป็นประจำดังเดิม อย่างไรก็ตาม ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียรแล้ว จะประทับแรม ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอย่างน้อย ๑ ราตรีเพื่อให้เป็นมงคลฤกษ์แห่งรัชกาลใหม่ หลังจากนั้นจะเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรสถานหรือพระราชวังอื่นๆ ตามพระราชอัธยาศัย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียรจะเตรียมการจัดแต่งพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยตั้งแต่งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ได้แก่ พระแส้หางช้างเผือก ศิลาบดโมรา พานพืชที่มีข้าวเปลือก ถั่ว งา เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดฝ้าย พานฟัก กุญแจทอง จั่นหมากทอง วิฬาร์หรือแมว และไก่ขาว ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีความหมายอันเป็นสิริมงคลต่างๆ […]

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญ สำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ใกล้ถึงวันสำคัญของประชาชนชาวไทย เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แพรวดอทคอมจึงขอถือโอกาสรวบรวมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เผยแพร่เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ในพระราชพิธีสำคัญนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงรับเสวยราชสมบัติและเปลี่ยนสถานะเป็นองค์สมมติเทพอย่างสมบูรณ์ โดยผ่านขั้นตอนพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผสมผสานระหว่างคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ มีขั้นตอนสำคัญประกอบด้วยการถวายน้ำสรงมุรธาภิเษก หมายถึงการรดน้ำที่ศีรษะ มาจากคำว่า มุรฺธ แปลว่า ศีรษะ กับคำว่า อภิเษก แปลว่า การรดน้ำ และขั้นตอนสำคัญประการถัดมาคือการถวายน้ำอภิเษก ถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์อันเป็นขัตติยราชูปโภค สถาปนาพระราชวงศ์ และเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งเป็นราชประเพณีที่สืบเนื่องจากกรุงศรีอยุธยามาสู่กรุงรัตนโกสินทร์  สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ พระมหามณเฑียร หรือ หมู่พระมหามณเฑียร ประกอบด้วยพระที่นั่งที่เชื่อมต่อกันหลายองค์ ใช้เป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่หมู่แรกที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังและถือเป็นพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์สำคัญยิ่ง    หมู่พระมหามณเฑียรตั้งอยู่บริเวณย่านกลางของพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณีโดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาซ้อนชั้นตามคติความเชื่อเรื่องปราสาทหรือเรือนฐานันดรสูง ประดับกรอบหน้าบันด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ที่เรียกเครื่องประดับกรอบหน้าบันนี้โดยรวมว่า เครื่องลำยอง หลังคาของหมู่พระมหามณเฑียรมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว […]

ไขความลับ ‘ดัชเชสเมแกน’ สวมส้นสูงไซส์ใหญ่กว่าขนาดเท้าจริงเพราะอะไร

เปิดความลับของ  ‘ดัชเชสเมแกน’ หาคำตอบว่าทำไมดัชเชสจึงสวมรองเท้าส้นสูงไซส์ใหญ่กว่าขนาดเท้าจริง 1-2 ไซส์ เกือบทุกครั้งที่ต้องเสด็จฯ ออกงานต่างๆ แฟชั่นของ ดัชเชสเมแกน นับเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจมาโดยตลอด ตั้งแต่ยังทรงเป็นพระคู่หมั้นของเจ้าชายแฮร์รี่จนเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ สไตล์ของดัชเชสก็ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง จนเหล่าแฟชั่นนิสต้าตาดีสังเกตเห็นอะไรบางอย่างเข้าให้ ว่าทุกครั้งที่ดัชเชสเมแกนเสด็จฯ ออกงานต่างๆ มักจะสวมรองเท้าส้นสูงที่มีขนาดใหญ่กว่าเท้าจริงของพระองค์อยู่เสมอ และหากย้อนกลับไปดูภาพต่างๆ ที่ออกมา ก็จะเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่วันประกาศพิธีหมั้นระหว่างเจ้าชายแฮร์รี่และดัชเชสเมแกน พระองค์ก็ทรงสวมรองเท้าไซส์หลวมมาตั้งแต่ตอนนั้น จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ ไขความลับ ‘ดัชเชสเมแกน’ สวมส้นสูงไซส์ใหญ่กว่าขนาดเท้าจริงเพราะอะไร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานอยู่ในแวดวงแฟชั่นได้เผยถึงกรณีนี้ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่ดัชเชสเมแกนจะสวมรองเท้าไซส์ใหญ่กว่าขนาดเท้าจริง เนื่องจากการสวมส้นสูงเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวมและรองเท้ากัดได้ หรือถ้าต้องสวมส้นสูงหลายๆ ชั่วโมง อาจทำให้เกิดภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง เพราะหัวแม่เท้าถูกรองเท้าบีบรัดเป็นเวลานาน หากบ่อยเข้าจะส่งผลเสียได้ ดังนั้นดัชเชสจึงเลือกสวมรองเท้าที่ใหญ่กว่าไซส์ปกติ และถ้าถามว่ารองเท้าหลวมแบบนี้จะเดินเหินสะดวกหรือเปล่า วิธีที่จะช่วยให้เดินได้คล่องตัวขึ้นก็คือการใส่ทิชชู่หรือสำลีไว้ที่หัวรองเท้านั่นเอง บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ รู้หรือไม่? สุภาพสตรีในราชวงศ์อังกฤษ ห้ามสวมหมวกหลัง 6 โมงเย็น สวยพร้อมชิงมง! ฟ้าใส ปวีณสุดา MUT 2019 ยิ่งใกล้วันประกวด ยิ่งออร่าจับ สวยยั่วกิเลส! อัพเดทดีไซน์พร้อมราคา กระเป๋า Chanel Boy […]

ย้อนชมภาพตราตรึงใจ พระราชไมตรีดุจพี่น้อง “ในหลวง ร.9 – จักรพรรดิอากิฮิโตะ”

ย้อนชมภาพตราตรึงใจ พระราชไมตรีดุจพี่น้อง “ในหลวง ร.9 – จักรพรรดิอากิฮิโตะ”… ปีนี้นับเป็นปีมหามงคลของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุอันเป็นมงคลเดียวกัน นั่นคือการเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการของพระประมุขพระองค์ใหม่ นั่นคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 และเจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้อีกหนึ่งความน่าปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง คือการที่พระราชบิดาของทั้งสองพระองค์ นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงมีพระราชไมตรีต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อีกทั้งยังทรงมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นประดุจพระเชษฐาและพระอนุชาเลยทีเดียว ซึ่งนั่นทำให้ราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ญี่ปุ่นเปรียบดั่งมิตรแท้ รวมถึงยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านอื่นๆ อีกด้วย ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ แพรวดอทคอม จึงขอพาทุกคนย้อนไปชมภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยาวนานของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองพระองค์ ความสัมพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2506 เมื่อครั้งที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จฯเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ […]

มกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน เข้าพิธีเสกสมรสเป็นการส่วนพระองค์กับสาวสวีเดน

เตงกู มูฮัมหมัด ฟาอิส เพตรา มกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน พระอนุชาในสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ทรงเข้าพิธีเสกสมรสเรียบหรูกับ โซฟี หลุยส์ โยฮันสัน ชาวสวีเดน เป็นการส่วนพระองค์ นับเป็นข่าวที่น่ายินดีของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียอีกครั้งเมื่อ เตงกู มูฮัมหมัด ฟาอิส เพตรา วัย 45 ชันษา มกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน ทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับ โซฟี หลุยส์ โยฮันสัน ชาวสวีเดน โดยพิธีเสกสมรสนี้จัดขึ้นที่พระราชวัง  Istana Balai Besar ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ซึ่พิธีเสกสมรสนี้จัดขึ้นเป็นการส่วนตัว โดยเชิญอาคันตุกะ เฉพาะคนสำคัญและคนสนิทเพียง 300 คนเท่านั้น ภายในงานเผยให้เห็นความเรียบง่ายของพิธี แต่ขณะเดียวกันดีเทลต่างๆ ก็ดูเรียบหรู สมกับเป็นพิธีเสกสมรสของสมาชิกราชวงศ์ สำหรับความรักของทั้งสองพระองค์นั้น เตงกู มูฮัมหมัด ฟาอิส เพตรา ทรงพบรักกับพระชายา โซฟี หลุยส์ โยฮันสัน  ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งโซฟีในตอนนั้นทำงานเป็น Aupair (พี่เลี้ยงเด็ก) อีกด้วย ทั้งนี้เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ […]

เผยพระนาม ในหลวง รัชกาลที่ 10 จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ

เผยพระนาม ในหลวง รัชกาลที่ 10 จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ… ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นับเป็นโบราณราชประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สำหรับอีกสิ่งหนึ่งที่นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำรงพระราชอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ได้แก่ พระปรมาภิไธย หรือ พระนาม รวมถึงยังเป็นสิ่งที่พสกนิกรเฝ้าติดตาม เพื่อชื่นชมในพระเกียรติยศและพระบารมี ทั้งนี้ได้มีการเปิดเผยพระปรมาภิไธยของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 นั่นคือ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งจะมีการออกพระปรมาภิไธยนี้ ตั้งแต่หลังเที่ยงของวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 โดยพระปรมาภิไธยนี้อ่านออกเสียงว่า พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-ปอ-ระ-เมน-ทะ-ระ-รา-มา-ทิ-บอ-ดี-สี-สิน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-พระ-วะ-ชิ-ระ-เกล้า-เจ้า-อยู่-หัว และในการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อนั้น นอกจาก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ตามที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” อีกด้วย จากพระปรมาภิไธยดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่า เป็นการเลือกใช้การเฉลิมพระปรมาภิไธยตามพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 6 รวมกัน กล่าวคือ […]

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ความคืบหน้าพระอาการประชวรของ “พระองค์โสมฯ”

ช่วงเช้าวันนี้ (25 เมษายน 2562) สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 4 ความว่า ตามที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2562 เพื่อรักษาพระอาการพระโลหิตออกที่พระสมองและความดันพระโลหิตสูงนั้น วันนี้ คณะแพทย์ที่ถวายการรักษาได้แจ้งว่า พระอาการโดยรวมดีขึ้นโดยลำดับ ทรงรู้พระองค์ดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวพระวรกายได้มากขึ้น ความดันพระโลหิตและการเต้นของพระหทัยอยู่ในเกณฑ์ปรกติ ไม่มีพระอาการแทรกซ้อน คณะแพทย์มีความเห็นว่า ยังสมควรได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดต่อไป จึงได้กราบทูลขอประทานพระอนุญาต ให้ประทับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อรับการฟื้นฟูพระวรกาย และทรงงดพระกรณียกิจ ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน 25 เมษายน พุทธศักราช 2562   ข้อมูลและภาพ : เรารักราชวงศ์จักรี “We love Chakri […]

ในหลวง ร.10 โปรดเกล้าฯ เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ ความว่า พระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ […]

เสื้อจัมเปอร์ขายหมดเกลี้ยง หลังจากปล่อยพระรูป เจ้าชายหลุยส์ ครบรอบ 1 ชันษา

หลังจากปล่อยพระรูปครบรอบ 1 ชันษาของ เจ้าชายหลุยส์ พระโอรสในดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ออกมา เสื้อจัมเปอร์ลายน้องหมาสุดน่ารักของเจ้าชายน้อยก็ขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง จากกระแสที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเจ้าชายหลุยส์ทรงเป็นผู้นำเทรนด์เช่นเดียวกับดัชเชสเคทผู้เป็นพระมารดา โดยภาพครบรอบ 1 ชันษาของเจ้าชายพระองค์น้อยเป็นฝีพระหัตถ์ของดัชเชสเคท ซึ่งถูกปล่อยออกมา 3 ภาพด้วยกัน แต่ภาพที่หลายคนให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ภาพที่เจ้าชายหลุยส์สวมจัมเปอร์สีน้ำเงินลายน้องหมาสุดคิวต์ เพราะหลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงเสื้อจัมเปอร์ราคา 35 ปอนด์ หรือประมาณ 1,435 บาท ก็ถูกขายทางออนไลน์จนหมด และหลังจากสินค้า sold out บนเว็บไซต์อื่นๆ ทาง eBay ก็อัพราคาเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว ในราคา 65 ปอนด์ หรือประมาณ 2,699 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้บนเว็บไซต์ Trotters จัมเปอร์มีราคา 44 ปอนด์ แต่ลดราคาลงมาที่ 35 ปอนด์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และตอนนี้ก็ถูกขายหมดเกลี้ยงทุกไซส์ เนื่องจากแฟนๆ ที่คอยติดตามแฟชั่นของราชวงศ์ต่างพยายามอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้จัมเปอร์สุดน่ารักตัวนี้ โดยจัมเปอร์ Denim Blue Little Puppy Jumper เป็นของ Thomas Brown […]

เผยที่มา เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่ประดับบนเครื่องแบบฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 10

ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ สำหรับ เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่ประดับบนเครื่องแบบฉลองพระองค์ ในหลวง รัชกาลที่ 10 ซึ่งเหรียญราชอิสริยาภรณ์นั้นคือ เหรียญที่พระมหากษัตริย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด โดย เหรียญราชอิสริยาภรณ์ แรกที่เราจะพูดถึงนั้นคือ เหรียญดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานเฉพาะฝ่ายหน้า (บุรุษ) เท่านั้น เดิมทีเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้า ต่อมามีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศและประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ โดยทรงเพิ่มดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องหมายเพิ่มเติมสำหรับชั้นนี้ ถัดมาเป็น เหรียญดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า คือ เหรียญกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 8 ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังทรงกระทำยุทธหัตถีกับราชศัตรู มีอักษรที่ริมขอบเหรียญว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกู้ชาติ เบื้องบนมีเข็มโลหะรูป คฑาจอมพล มีอักษรว่า กล้าหาญ […]

ราชินีผู้มัธยัสถ์ ควีนเลตีเซียสวมโค้ทที่เก็บมานานถึง 14 ปีอีกครั้ง

ถ้าจะบอกว่าควีนเลตีเซียคือ ราชินีผู้มัธยัสถ์ คงไม่มีใครค้าน เพราะล่าสุดทรงหยิบโค้ทตัวเก่าเมื่อ 14 ปีก่อน แต่สภาพยังใหม่เอี่ยม ออกมาใส่อีกครั้งจนกลายเป็นที่ฮือฮาไม่น้อย ดูเหมือนว่านอกจากดัชเชสเคทแห่งราชวงศ์อังกฤษ หรือเจ้าหญิงไดอาน่าแห่งเวลส์จะทรงสวมฉลองพระองค์ซ้ำอยู่บ่อยครั้งแล้ว ควีนเลตีเซียหรือสมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปนก็ทรงทำแบบนั้นเช่นกัน เรามักจะเห็นพระองค์ทรงเลือกฉลองพระองค์ที่คุ้นตาใส่ออกงานอยู่เรื่อยๆ เรียกได้ว่ายังคงเรียบง่ายและไม่ฟุ้งเฟ้อจนหลายคนรู้สึกนับถือในความมัธยัสถ์ของพระองค์ ล่าสุดควีนเลตีเซียก็ทรงมาในโค้ทตัวเดิมที่สร้างความประหลาดใจไม่น้อย เพราะเสื้อโค้ทตัวนี้ปรากฏต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกเมื่อปี 2005 ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติมาดริด-บาราคัส กรุงมาดริด ประเทศสเปน ไปยังประเทศบราซิลอย่างเป็นทางการ ราชินีผู้มัธยัสถ์ ควีนเลตีเซียสวมโค้ทที่เก็บมานานถึง 14 ปีอีกครั้ง หลังจากนั้นโค้ททูโทนดีไซน์เรียบหรูก็ถูกเก็บเข้าตู้ และไม่เห็นควีนเลตีเซียทรงหยิบออกมาใส่อีกเลย จนกระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เสื้อโค้ทที่เหมือนจะหายไปกับกาลเวลาดันปรากฏขึ้นอีกครั้ง ในสภาพที่ยังดูใหม่กริ๊บและไม่ตกเทรนด์ แม้เวลาจะผ่านไปนานนับสิบปีแล้วก็ตาม ซึ่งรู้ได้ในทันทีว่าทรงเก็บรักษาเสื้อผ้าไว้อย่างดี โดยลุคนี้ควีนเลตีเซียเสด็จฯ เพื่อเปิดนิทรรศการ ‘Angeli’ ที่โบสถ์ Iglesia De San Pedro ในหมู่บ้าน Lerma พระองค์ทรงแมทช์เสื้อโค้ทสีขาวงาช้างที่ด้านในเป็นมีสีน้ำตาลเข้ากับ silk blouse สีขาวของ Hugo Boss ราคาประมาณ 7,000 บาท และกางเกงขายาวสีน้ำตาลจาก Hugo Boss เช่นกัน ส่วนรองเท้าส้นสูงสีน้ำตาลก็เป็นของ Hugo Boss จากนั้นควีนเลตีเซียทรงคอมพลีทลุคด้วยต่างหูเพชรทรงสี่เหลี่ยม ถือเป็นอีกหนึ่งลุคที่โทนสีอบอุ่นและลงตัวมากๆ ฉลองพระองค์ของควีนเลตีเซีย ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนกับเสื้อผ้าดีๆ […]

ประมวลภาพ พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร

ประมวลภาพ พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 รวมถึงจะเริ่มมีพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เกิดขึ้น ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป ตามกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยในวันนี้ (23 เมษายน 2562) ได้มีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร จารึกพระสุพรรณบัฏราชวงศ์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเวลาพระฤกษ์ 08.19 – 11.35 น. ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีดังกล่าว ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการพระราชพิธีนี้ ได้แก่ นายภูมินทร์ ปลั่งสมบัติ ผู้จารึกพระปรมาภิไธยลงในพระสุพพรณบัฏ นายฉัตรชัย ปิ่นเงิน โหรหลวง ผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพ และนายสุนทร วิไล ช่างศิลป์ประจำพระองค์ ผู้แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล สำหรับในขั้นตอนนั้น อาลักษณ์ผู้ทำหน้าที่จะนุ่งขาว สวมเสื้อขาว มีผ้าขาวเฉวียงบ่า […]

keyboard_arrow_up