‘น้ำตาลในเลือดสูง’ หนึ่งในสาเหตุอาการปลายนิ้วชา จะส่งผลร้ายแรงในอนาคตอย่างไร

แพทย์เตือน น้ำตาลในเลือดสูง หนึ่งในสาเหตุที่มีอาการปลายนิ้วชา พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน จะส่งผลเสียร้ายแรงได้ในอนาคต ควรปรึกษาแพทย์ทันที ในปัจจุบัน สังคมไทยการใช้ชีวิตมีความตึงเครียด เร่งรีบ ความกดดันต่างๆ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ ทำให้คนไทยเน้นอาหารการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก โดยเฉพาะอาหารที่มีรสชาติหวาน ซึ่งสถิติในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากขึ้นทุกช่วงอายุ มากเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ที่น่าเป็นห่วงพบในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน ‘น้ำตาลในเลือดสูง‘ หนึ่งในสาเหตุอาการปลายนิ้วชา จะส่งผลร้ายแรงในอนาคตอย่างไร โรคเบาหวานมี 3 ประเภท คือ 1. เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ 2. เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน 3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อย อย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคของตับอ่อนอักเสบ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่ดีพอ ก็อาจจะเป็นต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเกิดภาวะเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้วบริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้ […]

โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้

โควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวเราไม่จากไปไหน บางคนเป็นแล้ว-หายแล้ว บางคนยังคงรอดถึงซีซั่นนี้ แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามคาใจสงสัยหลายข้อว่า โควิดติดซ้ำได้หรือไม่ ทำ Home Isolation ที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย กักตัวครบแล้ว ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หายป่วยจากโควิดแล้ว ฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ฉีดวัคซีนหลายชนิดปนกัน จะเป็นอันตรายไหม ดูแลตัวเองอย่างไรให้รอดจากโควิดซีซั่นนี้ โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่ ? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้ ซึ่งแพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ ได้อัพเดทตอบข้อสงสัยที่ผู้ป่วยมักจะถามคุณหมอกันบ่อยๆ เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ โดยปกติแล้ว ข้อมูลการติดเชื้อโควิดซ้ำๆ ก่อนหน้าที่จะมีโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเกิดขึ้นมา ได้มีการเก็บข้อมูลมาเป็นระยะ พบว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้วผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาจะยังไม่มีการติดเชื้อซ้ำ ภายใน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ แต่หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำจะมีเทียบเท่ากันกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ประกอบกับการได้รับวัคซีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 3 หรือ เข็มที่ 4 […]

เช็คลิสต์อาหาร เมื่อเป็น “เบาหวาน” อะไรกินได้-กินไม่ได้

โรคเบาหวานเปรียบเสมือนภัยเงียบ ไม่ค่อยมีอาการแสดงชัดเจน ผู้ที่มีระดับน้ำตาลสูงหรือเป็น เบาหวาน แล้วก็ยังใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ จึงอาจทำให้ผู้เป็นเบาหวานบางส่วนไม่ได้เข้าถึงการตรวจหรือเข้ารับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ขาดโอกาสในการรับการรักษาตั้งแต่ต้น และกว่าจะรู้ว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน บางรายก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แล้ว เช่น ไตวายเรื้อรัง เป็นโรคหลอดเลือดสมองเป็นแผลเรื้อรัง เป็นต้น ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปี จะเป็นโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสม ผู้เป็นเบาหวานเองก็ควรรักษาและพยายามดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อชะลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว เช็คลิสต์อาหาร เมื่อเป็น “เบาหวาน” อะไรกินได้-กินไม่ได้ และเนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะการเลือกกินอาหารที่เหมาะสมเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผศ.ดร.ณัติพร นกแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลินขึ้น ส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินไม่สามารถทำหน้าที่ในการนำพาน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ค่า Glycemic Index (GI) หรือค่าดัชนีน้ำตาล เป็นค่าความเร็วของการดูดซึมน้ำตาลและแป้งเข้าสู่กระแสเลือดหลังกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือประเภทแป้งและน้ำตาล หากกินอาหารที่มีค่า GI สูง จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว การอ่านค่า GI จึงอาจเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ค่า GI แบ่งเป็น 3 […]

วิธีรักษา “โรคผิวหนังช้าง” หรือปัญหาผิวหนังคล้ำบริเวณหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ

โรคผิวหนังช้าง หรือปัญหาผิวหนังคล้ำบริเวณ หลังคอ รักแร้ และขาหนีบ โรคนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการหรือบางรายอาจมีอาการคันที่บริเวณรอยโรค แพทย์ผิวหนังจึงได้แนะนำวิธีรักษาที่ถูกวิธี วิธีรักษา “โรคผิวหนังช้าง” หรือปัญหาผิวหนังคล้ำบริเวณหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ จากข่าวกรณีที่มีผู้ใช้น้ำมัน E85 ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 85% มาขัดบริเวณซอกคอ เพื่อรักษารอยปื้นดำที่ซอกคอ ซึ่งได้มีการแชร์คลิปลงในสื่อโซเชี่ยล พบว่าจากลักษณะของรอยดำปื้นที่คอนี้ เข้าได้กับโรคผิวหนังช้าง หรือ Acanthosis nigricans “โรคผิวหนังช้าง” เป็นลักษณะของผิวหนังที่มีสีดำคล้ำ ลักษณะของโรคมักจะสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคอ้วน โรคทางระบบฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ การมีระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ยาและอาหารเสริมบางชนิด เช่น ไนอะซิน ยาคุมกำเนิด ยากินเพรดนิโซโลนและอาจจะสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด ซึ่งข่าวที่มีการเอาน้ำมัน E85 มาขัดฟอกบริเวณรอยโรคนั้น ไม่ควรทำ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยรักษารอยโรคแล้ว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากน้ำมัน E85 มีส่วนประกอบของเอทานอล 85% และน้ำมันเบนซิน 15% ซึ่งเมื่อสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวอย่างรุนแรงได้ หรือการสูดดมเข้าไปมากๆ อาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ในระยะยาวอาจมีผลต่อระบบประสาทกับทางเดินหายใจด้วย แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะของรอยโรค ร่วมกับการซักประวัติ […]

5 ข้อที่ทำให้เข้าใจ “โรคเบาหวาน” มากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องกินของหวานหรือพันธุกรรม

ถึง โรคเบาหวาน จะไม่ใช่โรคใหม่ แต่อ้างอิงสถิติสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ณ ปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานราวๆ 5 ล้านคน 95% ของผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมาจากพฤติกรรม ในขณะที่เราต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่าการกินน้ำตาลมากๆ นั้นไม่ดี เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความรับรู้ของสังคมเกี่ยวกับโรคนี้อาจจะมีมุมที่ยังคลาดเคลื่อนและจำเป็นต้องแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อการป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ 5 ข้อที่ทำให้เข้าใจ “โรคเบาหวาน” มากขึ้น 1. ไม่ใช่แค่พันธุกรรมแต่เป็นพฤติกรรม แพทย์หญิงธนพร พุทธานุภาพ ได้ให้ความรู้ในกรณีการส่งต่อโรคเบาหวานทางพันธุกรรมไว้ว่า นอกจากพันธุกรรมจะเพิ่มความเสี่ยงแล้ว พฤติกรรมก็สำคัญไม่แพ้กัน “ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ควรเฝ้าระวังตั้งแต่แรก ยิ่งถ้ามีคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวานหลายๆ คน เนื่องจากมีเบาหวานบางชนิดที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบบ่อย ก็มีส่วนจากพันธุกรรมบ้างแต่มักเกิดร่วมกับการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารมากเกินไป ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือการที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งถ้าในครอบครัวมีพฤติกรรมเหล่านี้เหมือนๆ กัน ก็สามารถเป็นเบาหวานกันทั้งบ้านได้” 2. ไม่ใช่แค่ของหวานที่กินแล้วเป็นเบาหวาน “ต่อให้ไม่ชอบของหวานแต่ชอบรับประทานข้าว แป้ง ขนมปัง เมื่อผ่านระบบการย่อยก็จะกลายเป็นน้ำตาลได้และทำให้น้ำตาลขึ้นสูงหลังกินได้มาก จึงเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและเบาหวานได้ ส่วนอาหารไขมันสูงก็ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะในช่องท้อง […]

“น้ำตาลเทียม” อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ยากกว่าน้ำตาลธรรมดาจริงหรือ?

สำหรับคนที่ชอบกินของหวาน รวมทั้งอาหารคาวที่ต้องปรุงรส แล้วหันมากิน น้ำตาลเทียม ทดแทนน้ำตาลปกติ เพราะคิดว่าจะช่วยทำให้ร่างกายไม่เสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน ต่างๆ ฯลฯ นั้น ทางคณะนักวิจัยในสหรัฐระบุว่า น้ำตาลเทียม ปราศจากแคลอรี่อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ยากกว่าน้ำตาลธรรมดา เพราะผลการศึกษากับหนูพบว่า ขัณฑสกร (ขัณฑสกร หรือ แซ็กคาริน (Saccharin) คือ สารให้ความหวานที่เป็นสารสังเคราะห์หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า น้ำตาลเทียม) ทำให้หนูกินมากขึ้น มีน้ำหนักตัว และไขมันเพิ่มขึ้น คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเปอร์ดู ในรัฐอินเดียน่า เปรียบเทียบหนูที่กินโยเกิร์ตผสมน้ำตาลกลูโคสกับหนูที่กินโยเกิร์ตผสมขัณฑสกร พบว่าหนูกลุ่มหลังกินมากขึ้น มีน้ำหนักตัว และไขมันเพิ่มขึ้น สันนิษฐานว่าอาหารหวานกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงนั่นเองค่ะ แต่เมื่อรับประทานอาหารที่มีสารให้ความหวานแต่ปราศจากแคลอรี่ ทำให้ร่างกายสับสน ส่งผลให้รับประทานมากขึ้นหรือใช้พลังงานน้อยกว่าปกติ ข้อมูลจากผลการศึกษาชี้ชัดเจนว่า การรับประทานอาหารที่มีสารให้ความหวานปราศจากแคลอรี่ประเภทขัณฑสกรทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอ้วนมากกว่าอาหารที่มีน้ำตาลธรรมดาให้แคลอรี่สูง ฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่นักวิจัยและแพทย์แนะนำมานานว่าการใช้น้ำตาลเทียมปราศจากแคลอรีและน้ำตาลเทียมแคลอรีต่ำแทนน้ำตาลธรรมดา เป็นวิธีที่ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ แต่เมื่อคณะนักวิจัยทดลองกับสารให้ความหวานปราศจากแคลอรี่อีกประเภทหนึ่งคือ แอสปาเตม ปรากฏว่าไม่เกิดผลแบบเดียวกับขัณฑสกร ด้านสภาควบคุมแคลอรี่ ซึ่งเป็นสมาคมบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มแคลอรีต่ำวิจารณ์ผลการศึกษานี้ว่า อธิบายสาเหตุของโรคอ้วนง่ายเกินไปทั้งที่โรคอ้วนเกิดจากหลายสาเหตุ งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าแม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่มีการใช้อาหารปราศจากน้ำตาลกันมากขึ้น แต่ผู้คนก็รับประทานในปริมาณที่มากขึ้น ร่างกายรับแคลอรีโดยรวมเพิ่มขึ้นและออกกำลังกายลดลง นอกจากนี้ ผลการศึกษาที่ได้จากสัตว์ทดลองก็อาจนำไปใช้กับคนไม่ได้ ดังนั้นแล้วลองหันมาทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลธรรมดาแทนน้ำตาลเทียมกันดูนะคะ และใครที่กำลังเข้าคอร์สลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักอยู่ ก็ทดลองกันได้ อย่างไรก็ดีน้ำตาลก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง สิ่งสำคัญเราต้องดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ออกกำลังกายกันจะดีกว่า […]

แชร์รูปภาพอาหารจานโปรดของแม่ ลุ้นรับรางวัลพิเศษ #หวานได้ไม่กลัวเบาหวาน

บอกรักแม่ แชร์เมนูโปรดกับพาลาทีน สวีทเทนเนอร์ใหม่เพื่อคนรักสุขภาพ และผู้ป่วยเบาหวานบริษัท อีทเวลล์ จำกัด ผู้ผลิต พาลาทีน สวีทเทนเนอร์ใหม่เพื่อคนรักสุขภาพ และผู้ป่วยเบาหวานขอเชิญชวนลูก ๆ ร่วมแชร์รูปภาพอาหารจานโปรดของคุณแม่เพื่อลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษจากพาลาทีน โดยมีกติกา ดังนี้ แชร์รูปภาพอาหารจานโปรดของแม่ ลุ้นรับรางวัลพิเศษ #หวานได้ไม่กลัวเบาหวาน 1. กดถูกใจเพจ Palatyne และกดแชร์โพสต์นี้แบบสาธารณะ 2. ใส่แคปชั่นในโพสต์ว่า “บอกรักแม่ แชร์จานโปรด” 3. แท็กคุณแม่ (หากคุณแม่ไม่มีบัญชี Facebook สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยค่ะ) 4. ติด #palatynehealthysweetener และ #หวานได้ไม่กลัวเบาหวาน 5. ถ่ายรูปอาหารจานโปรดของคุณแม่คู่กับสินค้าพาลาทีน 6. คอมเมนต์รูปลงใต้โพสต์นี้ พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการใช้สารให้ความหวานในอาหาร หรือเครื่องดื่ม โดยทางบริษัทจะสุ่มผู้โชคดีจำนวน 10 ท่าน ที่จะได้รับรางวัลเป็นเซ็ตของขวัญจากพาลาทีน พิเศษ! สำหรับคอมเมนต์ที่ได้รับการกดถูกใจมากที่สุดจำนวน 1 ท่าน จะได้รับของรางวัลเป็น Gift voucher ห้องพัก Deluxe สุดหรูจากโรงแรม […]

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ ตอนนี้เราทุกคนกำลังเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID -19 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากร และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก สำหรับทางออกในขณะนี้ก็คงหนีไม่พ้นการหาวัคซีนโควิด-19 มาช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา เพื่อจะทำให้เราสามารถกลับมาดำเนินชีวิตให้เป็นปกติให้ได้มากที่สุด ถ้าหากเอ่ยถึงรับฉีดวัคซีนโควิด-19 ในบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เราคงไม่มีความกังวลใดๆ แต่ถ้าหากผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ อยู่ด้วย หลายคนอาจวิตกกังวลว่าการรับวัคซีนโควิด-19 จะมีความปลอดภัยในผู้ป่วยหรือไม่ ทาง บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำการค้นคว้าวิจัย ผลิต และส่งมอบยาที่มีคุณภาพในผู้ป่วยเบาหวานมาโดยตลอด เล็งเห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคถ้าหากว่าผู้ป่วยนั้นได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงได้เชิญ นายแพทย์สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม มาแชร์ข้อมูลให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะของโรคเบาหวานร่วม โรคเบาหวาน กับโควิด-19 หากเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่งดอาหาร แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของ โรคเบาหวาน ถือว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ COVID-19 มีอาการที่แย่กว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีภาวะอักเสบเกิดขึ้น หากเราปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะเกิดการอักเสบที่เส้นเลือด และอวัยวะต่างๆ […]

แก่แบบสุขภาพดี! 4 เคล็ดลับ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแกร่งแม้อายุเริ่มมากขึ้น

นิยาม “การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี” (Healthy Aging) ของแต่ละคนอาจมีความหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการที่สติปัญญายังเฉียบแหลม สมองได้ฝึกคิดตลอดเวลา มีสุขภาพร่างกายที่ยังฟิตและแข็งแรง หรือสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระแม้อายุมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นคำตอบไหน เรื่องการสูงวัยก็ถือเป็นปัญหาความกังวลของใครหลายคน ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม ซึ่งผลสำรวจการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีของ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2563 พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องการสูงวัย แต่มีเพียง 3 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาจะก้าวสู่การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีได้ เมื่อถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับความกังวลใจเรื่องการสูงวัย ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย (ร้อยละ 42) กล่าวว่าความกลัวว่าจะต้องเจ็บป่วยเพราะภูมิคุ้มกันต่ำเมื่ออายุมากขึ้นเป็นปัญหาความกังวลอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยกลัวว่าจะพึ่งพาตัวเองได้น้อยลงเมื่อร่างกายอ่อนแอลง (ร้อยละ 20) และกังวลว่ารูปร่างหน้าตาจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออายุมากขึ้น (ร้อยละ 19) ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่เราต้องให้ความสำคัญกับการ เสริมเกราะภูมิต้านทาน ให้แข็งแรง เพื่อช่วยร่างกายต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้น การเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงจึงยิ่งสำคัญมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อเราอายุมากขึ้น เคยสังเกตไหมว่าเรามักจะล้มป่วยบ่อยขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น และร่างกายของเราต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย สิ่งนี้เป็นผลจากกระบวนการทางธรรมชาติที่เรียกว่าภาวะ Immunosenescence ซึ่งส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเราเสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับไวรัสและการติดเชื้อได้น้อยลง และจำนวนเม็ดเลือดขาวของเราก็ลดลง ทำให้ร่างกายรักษาโรคได้ช้าลงเมื่อเราบาดเจ็บหรือเป็นหวัด ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเมื่อเราอายุมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ […]

ไฟโตนิวเทรียนท์ อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ร่างกายรับสารต้านอนุมูลอิสระได้ง่าย

ไฟโตนิวเทรียนท์ คืออะไร? ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ วันนี้ แพรวดอทคอม พาให้ทุกคนไปรู้จักอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ร่างกายต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากความเครียด และความวิตกกังวลจากการทำงาน นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นพฤติกรรมที่กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะค่อยๆ สะสม ทำให้เซลล์ภายในร่างกายเสื่อม ตาย หรือกลายพันธุ์ ส่งผลให้ป่วย ดูแก่ชราก่อนวัยอันควร และที่สำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs อีกด้วย ซึ่งการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากหลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงแล้ว ยังสามารถป้องกันได้ง่ายๆ เริ่มจากการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน จากข้อแนะนำตามธงโภชนาการ ควรทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน ซึ่งผลไม้และน้ำผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึง ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) ต่างๆ ที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ด้วยความเร่งรีบในการดำรงชีวิตปัจจุบัน ทำให้คนส่วนใหญ่ทานได้ในปริมาณที่ไม่ถึง ดังนั้น การดื่มน้ำผลไม้ที่มีไฟโตนิวเทรียนท์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ได้ง่ายและสะดวก รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับสารอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ โดยเฉพาะวัยรุ่น หนุ่มสาว และวัยทำงานที่อาจทานอาหารไม่ครบทุกมื้อ รวมทั้งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว หรือการย่อยและการดูดซึม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ (ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล) […]

ถอดสูตรฟิตหุ่น ลดฮวบใน 90 วัน เปลี่ยนร่างจากคำดูถูกว่า..สาวหน้าสวย แต่รูปชั่ว!

เรียกว่าเข้มข้นขึ้นมาเรื่อยๆ สำหรับ คนแปลงร่าง Reality รายการที่จะทำให้คนไทยหุ่นดีพร้อมกันทั่วประเทศ เปลี่ยนหุ่นพังให้เป็นความฟิต! พร้อมตามติดภารกิจคนแปลงร่างของ 8 คนไทยบิ๊กไซส์ที่จะแปลงร่าง แปลงใจ นำทีมโดยผู้สร้างแรงบันดาลใจอย่าง วู้ดดี้ วุฒิธร, กิ๊ก สุวัจนี พร้อมด้วยครูหนุ่ม ซุมบ้า เทรนเนอร์นักเต้นซุมบ้า และเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและเซเลบริตี้ชื่อดังมากมาย ที่จะมากะเทาะปมทั้งความคิด ร่างกาย และจิตใจ ที่เป็นอุปสรรคสู่การแปลงร่าง ด้วยแนวคิด D.I.E.T คือ Discipline สร้างวินัย, Intention ตั้งใจจริง, Energy มีพลัง และ Transformation ผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการดูแลตัวเองทั้งเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่ไม่ใช่แค่ร่างใหม่ แต่คือชีวิตใหม่ที่จะรักตัวเองและภูมิใจในตัวเอง และนี่คือตัวอย่างของ 2 ผู้เข้าแข่งขันคนแปลงร่าง Reality ที่ทำมิชชั่นสำเร็จตามเป้าไปแล้ว “โบ ณัฐกฤตา สาวหน้าสวย แต่รูปชั่ว!” คือคำดูถูกที่ทำให้เธอต้องหันมาปฏิวัติตัวเอง! โบ ณัฐกฤตา อดีตนักกีฬาว่ายน้ำ วัย 34 […]

ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์…คำตอบเพื่อสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด

ท่ามกลางกระแสสังคมอันรีบเร่งที่บังคับให้ผู้คนในปัจจุบันต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพื่อแข่งกับเวลา ทำให้หลายคนไม่สามารถดูแลสุขภาพร่างกายได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอ

keyboard_arrow_up