ความเสี่ยงของผู้เป็น โรคเบาหวาน กับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ

Alternative Textaccount_circle
ความเสี่ยงของผู้เป็น โรคเบาหวาน กับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ความเสี่ยงของผู้เป็น โรคเบาหวาน กับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ

ตอนนี้เราทุกคนกำลังเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID -19 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากร และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก สำหรับทางออกในขณะนี้ก็คงหนีไม่พ้นการหาวัคซีนโควิด-19 มาช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา เพื่อจะทำให้เราสามารถกลับมาดำเนินชีวิตให้เป็นปกติให้ได้มากที่สุด

ถ้าหากเอ่ยถึงรับฉีดวัคซีนโควิด-19 ในบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เราคงไม่มีความกังวลใดๆ แต่ถ้าหากผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ อยู่ด้วย หลายคนอาจวิตกกังวลว่าการรับวัคซีนโควิด-19 จะมีความปลอดภัยในผู้ป่วยหรือไม่ ทาง บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำการค้นคว้าวิจัย ผลิต และส่งมอบยาที่มีคุณภาพในผู้ป่วยเบาหวานมาโดยตลอด เล็งเห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคถ้าหากว่าผู้ป่วยนั้นได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงได้เชิญ นายแพทย์สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม มาแชร์ข้อมูลให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะของโรคเบาหวานร่วม

นายแพทย์สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
นายแพทย์สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

โรคเบาหวาน กับโควิด-19

หากเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่งดอาหาร แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของ โรคเบาหวาน ถือว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ COVID-19 มีอาการที่แย่กว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีภาวะอักเสบเกิดขึ้น หากเราปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะเกิดการอักเสบที่เส้นเลือด และอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายโรคโควิด-19 ก็ส่งผลให้เกิดการอักเสบเช่นเดียวกัน ผู้เป็นเบาหวานที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลให้อาจมีอาการความรุนแรงของการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็น Bad Combination เลย

ความรุนแรงของโควิด-19 ในผู้เป็นโรคเบาหวาน

ผู้เป็นโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื้อไวรัสจะสามารถลงไปที่ปอดมากขึ้น ทำให้มีอัตราการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว จนต้องใช้ท่อช่วยหายใจ และพบว่าอัตราการตายของผู้เป็นโรคเบาหวานที่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าผู้ไม่เป็นเบาหวาน 2 ถึง 3 เท่า และมีโอกาสต้องนอนห้อง ICU มากกว่าเกือบ 2 เท่า

การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นโรคเบาหวานในสภาวะที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีค่าระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 8% จะมีอัตราการตายที่มากกว่าคนที่เป็นเบาหวานและสามารถควบคุมค่าน้ำตาลได้ดี โดยสรุปผู้เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อไวรัสก็เพิ่มความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว และถ้าหากยิ่งคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ยิ่งเสียงต่อการเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

ความเสี่ยงของผู้เป็นเบาหวานกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นเบาหวานไม่ได้เพิ่มอัตราการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ถ้าหากติดเชื้อแล้ว จะทำอาการรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้เป็นเบาหวานต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน

การใช้ยาในผู้เป็นเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ถ้าผู้เป็นเบาหวานได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องทำการปรึกษาแพทย์ เพราะมียาหลายชนิดที่อาจจะต้องพิจารณาลดขนาดลง หยุดรับประทาน หรือบางตัวยังสามารถใช้ได้ต่อ โดยเฉพาะอินซูลินไม่แนะนำให้หยุด หากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากหากหยุดอินซูลินกะทันหัน และเกิดภาวะน้ำตาลสูงมากจนเลือดเป็นกรดอาจอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้หากมีน้ำตาลต่ำ อาจพิจารณาลดขนาดอินซูลินลงได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังกำลังแพร่ระบาดไปทั่วทุกแห่งหน และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเหตุการณ์นี้จะจบลงเมื่อใด อยากให้ทุกคนหมั่นดูแลตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ รักษาระยะห่าง งดไปอยู่ในสถานที่แออัด ในบางกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เช่น คนที่อายุมากกว่า 35 ปี น้ำหนักตัวเยอะ พ่อแม่มีประวัติเป็นเบาหวาน มีความดันสูง มีโรคถุงน้ำในรังไข่ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อทำการคัดกรอง เพื่อเป็นการไม่เพิ่มความรุนแรงของโรคเบาหวาน ถ้าหากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อข้อมูลที่ ร้อยเรื่องโรคเบาหวานได้ที่ www.facebook.com/100StoriesofDiabetes/


ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“แลมบ์ดา” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่คาดว่าจะระบาดรุนแรงกว่า เดลต้า จริงหรือไม่?

โควิดสายพันธุ์เดลต้า แพร่เร็วกว่าเดิม แค่เดินสวนกันเพียง 5 วินาทีก็เสี่ยงติดได้

ชวนรู้ “แอนโดรกราโฟไลด์” ใน “ฟ้าทะลายโจร” ฮีโร่สมุนไพรไทย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

แนะวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นยังไงให้รอด เมื่อ ติดเชื้อโควิด-19 เเต่เตียงเต็ม!!!

ทำไม “ผู้ป่วยมะเร็ง” ต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายเท่านั้น

ฟื้นฟูปอด หลังรอดโควิด-19 เพื่อทำให้การหายใจเป็นปกติ ไม่เหนื่อยง่าย

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ เส้นเลือดจะหดตัวหรือเปล่า?

‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ? และใครที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up