ไฟโตนิวเทรียนท์ คืออะไร? ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ วันนี้ แพรวดอทคอม พาให้ทุกคนไปรู้จักอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ร่างกายต่อต้านอนุมูลอิสระ
ที่เกิดจากความเครียด และความวิตกกังวลจากการทำงาน นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ถือเป็นพฤติกรรมที่กระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระที่จะค่อยๆ สะสม ทำให้เซลล์ภายในร่างกายเสื่อม ตาย หรือกลายพันธุ์ ส่งผลให้ป่วย ดูแก่ชราก่อนวัยอันควร และที่สำคัญคือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs อีกด้วย ซึ่งการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากหลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงแล้ว ยังสามารถป้องกันได้ง่ายๆ
เริ่มจากการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน จากข้อแนะนำตามธงโภชนาการ ควรทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน ซึ่งผลไม้และน้ำผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึง ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) ต่างๆ ที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ด้วยความเร่งรีบในการดำรงชีวิตปัจจุบัน ทำให้คนส่วนใหญ่ทานได้ในปริมาณที่ไม่ถึง ดังนั้น การดื่มน้ำผลไม้ที่มีไฟโตนิวเทรียนท์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ได้ง่ายและสะดวก รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับสารอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ โดยเฉพาะวัยรุ่น หนุ่มสาว และวัยทำงานที่อาจทานอาหารไม่ครบทุกมื้อ รวมทั้งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว หรือการย่อยและการดูดซึม
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ (ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล) ได้ช่วยไขความลับคุณประโยชน์ของ ไฟโตนิวเตรียนท์ ในน้ำผลไม้ และความจริงของ น้ำตาล ในน้ำผลไม้ โดย ไฟโตนิวเทรียนท์ ในน้ำผลไม้ ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ พบได้ในพืชผักผลไม้มากกว่า 20,000 ชนิด หลักๆ ที่พบ อาทิ โพลีฟีนอล (Polyphenol), ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid), แอนโทไซยานิน (Anthocyanin), แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ฯลฯ ล้วนแต่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น โดยแยกเป็น
โดย โพลีฟีนอล (Polyphenol) มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระจากโครงสร้างที่มีหมู่
ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) หรือ – OH
มีบทบาทสำคัญในการกำจัดอนุมูลอิสระ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นพี่ใหญ่ในการช่วยกำจัดอนุมูลอิสระให้กับร่างกายนั่นเอง ช่วยส่งเสริมการทำงานระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยมักพบโพลีฟีนอล (Polyphenol) มากในน้ำสัปปะรด น้ำมะพร้าว น้ำฝรั่ง น้ำกีวี น้ำแอปเปิ้ล เป็นต้น
ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะการอักเสบเรื้อรัง จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ โดยมักพบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ปริมาณมากในน้ำส้ม
แอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
พบมากในกลุ่มผลไม้สีม่วงแดง เช่น องุ่นแดง ทับทิม ลดปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ ชะลอการเสื่อมของสมอง ยังช่วยป้องกันเส้นเลือดฝอยจากการถูกอนุมูลอิสระทำลาย โดยมักพบแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มากในน้ำองุ่น น้ำพรุน น้ำทับทิม น้ำแครนเบอร์รี่ น้ำเชอรี่เบอร์รี่ น้ำมังคุด
แคโรทีนอยด์ (Carotenoid)
พบมากในกลุ่มผลไม้สีส้ม เหลือง แดง เช่น แครอท มะละกอ มะม่วง มะเขือเทศ ช่วยส่งเสริมสุขภาพสายตา ลดความเสี่ยงเรื่องจอประสาทตาเสื่อม รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนเลือดในดวงตา สามารถเพิ่มระดับของความคมชัดของการมองเห็น (Visual acuity) และความไวของการปรับแสง (Contrast sensitivity) ได้
ไฟโตนิวเทรียนท์ ช่วยเรื่องอะไร ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ
ไฟโตนิวเทรียนท์ หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิด โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ หรือ NCDs โดยออกฤทธิ์หลักผ่านกลไกในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านภาวะการอักเสบเรื้อรัง และมีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไปตามชนิด แต่ทั้งนี้จากข้อมูลการศึกษาวิจัยของ The Human Nutrition Research Center on Aging, Tufts University สหรัฐอเมริกาพบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน คืออย่างน้อย 3,500 -5,000 หน่วย ORAC Score ที่จะมีผลออกฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระในเลือดและเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายได้ ซึ่งร่างกายคนเราต้องการผักและผลไม้ที่มีสาร ไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระทุกวัน แต่ในยุคปัจุจบันด้วยไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถทานผักผลไม้ได้ครบตามสัดส่วน ดังนั้น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามิน และแร่ธาตุอย่างเพียงพอ รวมถึงได้รับประโยชน์จากไฟโตนิวเทรียนท์เพื่อต่อต้านกับสารอนุมูลอิสระ จึงอยากแนะนำอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยการดื่มน้ำผลไม้วันละ 1 แก้ว ซึ่งสามารถทดแทนได้กับผลไม้ 1 ส่วน แต่ในวันที่พอมีเวลาให้ตัวเอง อย่าลืมกินผลไม้สดๆ จากผลจะดีที่สุดค่ะ
ข้อมูล : ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์
ภาพ : Pexels
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีลดน้ำหนัก ด้วยการกินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ได้ผลจริงหรือไม่?
10 สูตรลดน้ำหนัก ใกล้ตัวที่ทำให้ผอม สวย แบบเฮลตี้ได้ไม่ยาก!!
5 ข้อควรรู้ของคน อยากผอม เลยลอง ดีท็อกซ์ลำไส้ วิธีนี้ช่วยได้จริงหรือมั่ว?
เปิด สูตรลดน้ำหนัก ด้วยวิธีธรรมชาติ ช่วยลด 18 โลได้ในเวลาไม่นาน
อยากผอม หุ่นเป๊ะ สุขภาพดี ลองวิธีง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งพายาลดน้ำหนัก!
คุมน้ำหนัก! ควรเลือกน้ำสลัดรสชาติแบบไหน ปริมาณแคลอรี่เท่าไร มีบอกครบ
กินเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน! คุมน้ำหนักง่ายๆ ไม่ต้องอด ด้วย Low Carb Diet
พุงป่องทุกเช้า! “เมจิ อโณมา” ไขข้อข้องใจ พร้อมวิธีแก้ไขง่ายๆ มาบอก
Live Well Eat Well เทรนด์ความเชื่อคนรุ่นใหม่กับ 5 วิถีการกินแบบสุขภาพดีในปี 2019
คัดมาเน้นๆ 5 พืชผักน่ากินกับสรรพคุณสุดว้าวที่ดีต่อสุขภาพ ผิวพรรณ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
กินช็อกโกแลตอย่างไรให้รู้สึก Feel Good ไม่อ้วน ไม่เครียด แถมหัวใจแข็งแรง
สุขภาพดีด้วย 5 อาหารต้านภัยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่ไม่ว่าจะหนักหรือเบาเราก็สูดดมทุกวัน!
5 ทิปส์ปฏิวัตินักกินสายจังค์ฟู้ดเป็นสายเฮลตี้ เพราะ You Are What You Eat! ใช้ได้เสมอ!
กินอาหารตามธาตุ ช่วยปรับสมดุลร่างกายให้ไม่เจ็บป่วย ตามหลักการแพทย์แผนไทย
ก่อนเรื้อรังหนัก “กรดไหลย้อน” โรคฮิตชีวิตคนเมืองป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
ถ้าไม่อยากแก่ไวต้องเลิกกิน 5 อาหารเร่งเหี่ยว ทำร้ายสุขภาพผิวให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย
เดือดเหมือนลงกระทะ! วิธีสังเกต ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดที่ทำให้เสี่ยงตายได้
แชร์ภัยร้ายของ MPS อาการคล้าย ออฟฟิศซินโดรม แต่ร้ายและรุนแรงกว่ามาก!!