เรื่องเล่าคนในวัง…รู้ไหมว่า 14 ปีที่แล้ว พระราชินีของเรา ได้ทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

จากการทำงานอย่างใกล้ชิดของบรรดาข้าราชการที่ถวายงานในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีหลายเรื่องราวที่น่าสนใจ จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ในวันนี้ได้กลายเป็นความสำเร็จที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้กับคนไทยอีกครั้ง

ความสุขไม่ได้เกิดจากการที่มีเงินทองมากมาย แต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อมนุษย์สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบายใจไม่ลำบาก มีอาชีพ มีรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวอย่างพอเพียง และนี่ก็เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยราษฎรมาโดยตลอด โครงการตามพระราชดำริฯ ที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น จึงเกิดทั่วทุกภาคของประเทศมานานกว่า 40 ปี
และเมื่อ 14 ปีที่แล้ว พระองค์ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริอีกครั้ง จากความห่วงใยที่พระองค์มีต่อสถานการณ์ชายแดนบริเวณดอยดำ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ซึ่งทางดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ ได้เล่าถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า
“พระองค์มีความห่วงใยในราษฎรมาก ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพื้นที่ ณ จุดสูงสุดของยอดดอยดำ ต.เมืองแหง อ.เวียงแห จ.เชียงใหม่ เนื่องจากห่วงใยในสถานการณ์ชายแดนบริเวณดอยดำ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่” ครอบคลุมพื้นที่ 161,850 ไร่ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งการสร้างรายได้ทางการเกษตร เพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ พระองค์ทรงรับสั่งต่อคณะผู้ติดตามว่า ให้หาปลาที่เลี้ยงได้ดีในที่มีอากาศหนาว รับประทานอร่อยมาให้ชาวบ้าน จากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งถามผมว่า

‘เราจะทดลองเลี้ยงปลาน้ำเย็นที่นำมาจากต่างประเทศดีไหม เลี้ยงได้ไหม จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมไหม’

โครงการตามพระราชดำริ
ปลาเทราต์ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นปลาจากต่างประเทศชนิดแรกที่นำเข้ามาทดลองเพาะพันธุ์จนสำเร็จ

เวลานั้นคณะทำงานจึงได้ศึกษาและดำเนินการตามพระราชดำริ โดยครั้งแรกได้นำปลาเรนโบว์เทราต์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศแคนาดามาทดลองเลี้ยงที่นี่ก่อน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชดำริให้ศึกษาพันธุ์ปลาต่างประเทศชนิดอื่นมาเพาะเลี้ยงเพิ่มเติม ซึ่งทางรัฐบาลรัสเซียก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายไข่ปลาไซบีเรียน สเตอร์เจียน จึงพระราชทานให้กรมประมงนำไข่มาฟักที่โรงเพาะฟักบนดอยอินทนนท์ และนำไปทดลองเลี้ยงที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ ซึ่งด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี ทำให้ในวันนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาสเตอร์เจียนได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในแถบอาเซียน

โครงการตามพระราชดำริ
เนื้อปลาสเตอร์เจียน

หลังจากที่ใช้เวลาเพาะเลี้ยงกว่า 8 ปี ซึ่งผลผลิตที่สำคัญนอกจากได้เนื้อปลาสเตอร์เจียนที่มีคุณภาพรสชาติอร่อยแล้ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ววัตถุดิบสุดล้ำค่าอย่าง “คาเวียร์” จากปลาสเตอร์เจียน ซึ่งเป็นของราคาแพงและมีชื่อเสียงระดับโลก เราก็สามารถผลิตได้ในประเทศแล้วเช่นกัน

โครงการตามพระราชดำริ
เมนูจากเนื้อปลาสเตอร์เจียน ที่ใช้เวลาเพาะพันธุ์ถึง 8 ปี จนสามารถนำมาทำอาหารได้ เมนูนี้มีชื่อว่า Baked Sturgeon Fillet,Mediterranean Style Vegetable and Saffron Beurre Blance

ทางคณะทำงานเมื่อครั้งที่ทราบว่าเราสามารถผลิตคาเวียร์เองได้แล้ว ก็ได้นำไปถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเสวย ทั้งสองพระองค์ทรงรับสั่งว่ารสชาติดีแล้ว เหมือนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ”

โครงการตามพระราชดำริ
คาเวียร์ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ปลาสเตอร์เจียนในประเทศ
โครงการตามพระราชดำริ
คาเวียร์ที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้แล้ว ถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นเมนูรสชาติล้ำเลิศที่ชื่อว่า Caviar Malossol,Fresh Sea Urchin,Yuzu Cream

นอกจากปลาเทราต์ ปลาสเตอร์เจียน และคาเวียร์ ที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้เองจากการริเริ่มของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ 14 ปีก่อนแล้ว อีกหนึ่งโครงการที่สำคัญคือ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนีนาถ ซึ่งดร.สมชาย ธรณิศร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการฯ ได้เล่าให้ฟังว่า

โครงการตามพระราชดำริ
เนื้อห่านหัวสิงห์

“เมื่อปี 2551 ประเทศจีนได้ทูลเกล้าฯ ถวายไข่ห่านหัวสิงห์ จำนวน 100 ฟอง เพื่อทรงใช้ในโครงการตามพระราชดำริฯ ทรงพระราชทานให้กรมปศุสัตว์นำไปฟักไข่ และทดลองเลี้ยงในโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านยางกลาง จ.อ่างทอง จนสามารถเพาะพันธุ์เองได้ และเจริญเติบโตได้ในทุกภาคของประเทศ อีกทั้งยังเป็นห่านพันธุ์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก และนำมาประกอบอาหารได้ทั้งแบบตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย”

โครงการตามพระราชดำริ
ดอกเกลือ ผลผลิตจากโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริ ที่จ.เพชรบุรี

ต่อจากนั้นผู้ถวายงานยังได้เล่าอีกว่า เคยมีบุคคลท่านหนึ่งถวายที่ดินติดทะเลกับพระองค์ พระองค์ก็ไม่ได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่กลับสร้างพื้นที่นั้นให้เป็นโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริฯ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรทางทะเลที่ถูกต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมแก่ชาวบ้าน ลดปัญหาการตัดป่าชายเลน จึงได้จัดทำฟาร์มแบบ Zero Waste ซึ่งที่นี่ก็สามารถสร้างผลผลิตที่มีมูลค่า สร้างรายได้ให้กับราษฎรมากมาย โดยเฉพาะการทำนาเกลือ ที่สามารถผลิตดอกเกลือ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการปรุงอาหารชั้นเลิศซึ่งมีราคาสูง

โครงการตามพระราชดำริ
ผักสดปลอดสารพิษมากมาย ผลผลิตจากโครงการตามพระราชดำริสถานีพัฒนาการการเกษตรที่สูง

นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้เป็นไรน้ำเค็ม ที่สามารถขายเป็นอาหารของสัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ รวมถึงผงเกลือสำหรับใส่ในตู้เลี้ยงปลาทะเลเพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมือนน้ำทะเลจากธรรมชาติ
ปัจจุบันนี้ทุกโครงการตามพระราชดำริที่พระองค์ทรงริเริ่มให้พัฒนาขึ้น สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรเป็นอย่างดี และเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่วัตถุดิบหลายชนิดจากต่างประเทศที่เคยนำเข้ามาในราคาสูง เราสามารถผลิตขายเอง และมีทานในประเทศได้แล้ว
และนี่ก็คือพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำเพื่อคนไทยมาโดยตลอด…ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ภาพ : มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
นิตยสารแพรวและแพรวดอทคอม

สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรฯ เล่าถึง “ในหลวงรัชกาลที่ 9” สมัยทรงผนวชอยู่สำนักเดียวกัน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับเรื่องราวต้นแบบความอดทน เมื่อครั้งทรงผนวชที่วัดบวรฯ เป็นเวลา 15 วันในปี พ.ศ.2499
โดยสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้เปิดเผยเรื่องราวครั้งแรก

buddha“ในสมัยนั้นอาตมาเป็นพระใหม่ ก็สังเกตเห็นว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระราชหฤทัยปฏิบัติด้วยความศรัทธา กิจวัตรประจำวันคือเสด็จฯไปบิณฑบาตในวังหรือในส่วนราชการบ้าง แล้วก็เสด็จฯไปบิณฑบาตให้ประชาชนได้ใส่บาตรตามปกติ ดังนั้นคนใส่บาตรให้พระองค์ท่านไม่ใช่ว่าต้องพิเศษจากไหน

“ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ในพระอุโบสถวัดเวลาทำวัตรสวดมนต์จะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ทิศตะวันตกสำหรับพระเก่าที่ประจำอยู่ที่วัด ส่วนทิศตะวันออกคือส่วนของพระองค์ท่านกับพระที่บวชตามเสด็จ เวลาทำวัตรสวดมนต์ พระองค์ท่านจะประทับนังพับเพียบหันพระบาทไปทางทิศตะวันออก แล้วประทับอยู่แบบนั้นโดยที่ไม่พลิกพระบาทหันมาทางทิศตะวันตกเลยสักครั้ง เป็นเวลาเกือบชั่วโมง ทั้งช่วงเช้า บ่าย เพราะตามธรรมเนียม ผู้บวชทีหลังต้องเคารพนับถือพระใหญ่ที่บวชมาก่อน ซึ่งท่านทรงศึกษามาก่อนผนวชแล้ว ถึงนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกประการ ขนาดอาตมาในฐานะที่บวชเณรมานาน แค่มาบวชพระปีเดียวกับพระองค์ท่านก็ยังปฏิบัติสู้ท่านไม่ได้

img_60041“อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัย ก็อยากให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติบำเพ็ญตนตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา คิดดี ทำดี ละเว้นความชั่ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล”

นอกจากนี้พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯยังกล่าวอีกว่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความอาลัยต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงผนวช ร่วมพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมทุกวัน เป็นเวลา 30 วัน เวลา 20.00 น. ณ พระอุโบสถ และในวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 15.00 น. ณ ตำหนักเพ็ชร

เรื่อง : แพรวดอทคอม

ภาพ : http://thaprajan.blogspot.com/2010/12/blog-post.html

“ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทำต่อไป” ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสแก่เบิร์ด – ธงไชย ศิลปินผู้ใช้ชีวิตตามหลักพ่อหลวง

เป็นเรื่องซาบซึ้งตรึงใจสำหรับศิลปินซูเปอร์สตาร์ เบิร์ด – ธงไชย แมคอินไตย์ ที่เคยได้มีโอกาสเข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี และในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสประโยคที่ทำให้หัวใจที่แห้งเหือดของเบิร์ดที่เพิ่งเสียคุณแม่ไป กลับมาสดใสอีกครั้ง “ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทําต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง”

ศิลปินยอดนิยมอมตะ เบิร์ด – ธงไชย แมคอินไตย์ มีโอกาสได้เข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี หลังจากร้องเสร็จได้เข้าเฝ้าฯส่งเสด็จฯกลับ ซึ่งเบิร์ดได้เล่าให้แพรวฟังว่า

“…เบิร์ดลงกราบพร้อมกับถือโอกาสจับพระบาทของทั้งสองพระองค์เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าฯมีรับสั่งว่า ‘ร้องเพลงไพเราะมาก’ แต่ที่เหนือความคาดหมายคือ ในหลวงรับสั่งว่า ‘ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทําต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง’ เบิร์ดกราบทูลตอบว่า ‘รับใส่เกล้าพระพุทธเจ้าข้า’ เนื้อตัวตอนนั้นขนลุกไปหมด ในใจปลื้มจนไม่รู้จะปลื้มอย่างไร  เพราะหมายถึงพระองค์ท่านทรงอ่านเรื่องที่เบิร์ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน แพรว จึงทรงทราบว่าบ้านที่เชียงรายปลูกข้าว…พอส่งเสด็จฯเสร็จแล้วกลับขึ้นรถได้เท่านั้น เบิร์ดร้องไห้ซะ กลับถึงบ้านรีบจุดธูปเล่าให้แม่ฟัง แต่แม่คงเห็นแล้ว เพราะเบิร์ดพารูปแม่ติดใส่กระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกซ้ายเข้าวังด้วย พลังใจจากการได้เข้าเฝ้าฯครั้งนั้นทำให้ใจเบิร์ดที่เคยหดหายเพราะแม่เพิ่งจากไปไม่นาน กลับมาสดใสอีกครั้ง ซึ่งชีวิตนี้คิดว่าครั้งนั้นคือสูงสุดแล้ว…”

เบิร์ด ธงไชยย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2545 แพรวได้ไปเยือนบ้านไร่อุดมสุขที่จังหวัดเชียงราย ของศิลปิน เบิร์ด – ธงไชย ที่ได้ออกแบบร่วมกับพี่ชายที่เป็นสถาปนิก โดยหวังให้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกับคุณแม่ โดยวันนี้แพรวจะขอย้อนไปโฟกัสยังบ้านไร่อุดมสุข สถานที่พักกายใจที่เบิร์ด – ธงไชย ได้นำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นหลักแนวทางในการใช้ชีวิต

“หลังจากนั้นเบิร์ดก็เกิดความคิดตามพระราชดำรัส เพราะไปเจอภาพฝีพระหัตถ์ของในหลวง ซึ่งพระองค์ท่านทรงวาดเอาไว้ในหนังสืออะไรสักอย่าง เป็นเรื่องเกี่ยวกับพอมีพอกินนี่แหละ เลยมาคิดกับพี่ๆว่า อย่าสักแต่มีบ้านเลย เรามาทำให้คนในพื้นที่ได้มีอะไรทำดีกว่า ลูกหลานเขาจะได้ไม่ต้องออกไปข้างนอก เขาปลูกอะไรอยู่ เราก็ช่วยหาทางที่จะให้เขาเกิดรายได้จากสิ่งที่เขาทำอยู่ เช่น ข้าว ลำไย ลิ้นจี่ พริก โดยทำโรงอบเพื่อเป็นแหล่งรับผลผลิตของหมู่บ้านเราหรือหมู่บ้านใกล้เคียง

“เบิร์ดทำตลาดให้เขาด้วย รับซื้อเขาด้วยราคากลาง ราคาอย่างที่เขาแฮ็ปปี้ เขาไปที่อื่นอาจจะไม่ได้อย่างนี้ อย่างราคาพริกนะ ขึ้นลงเหมือนกับราคาหุ้น เช้าถูก เย็นแพง เบิร์ดก็เอาพริกมาจากทั่วประเทศเลย แล้วทำวิจัยและทดลองปลูกขึ้นมา เสร็จแล้วแจกพันธุ์พริกให้กับชาวบ้าน พอเขาปลูกเสร็จก็เอาผลผลิตมาส่ง ได้เงินกลับไป

“แล้วเราไม่ได้ทำกันสุ่มสี่สุ่มห้านะ เราได้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาช่วยทำการวิจัยเป็นโครงการเลยว่าดินเราควรจะปลูกอะไร วิจัยน้ำว่ามีไนโตรเจน ออกซิเจนแค่ไหน พอที่จะปลูกพืชไร่ไหม นี่คือสาเหตุที่บ้านเบิร์ดต้องมีบึงกว้างๆ และมีน้ำพุเพื่อให้เกิดออกซิเจนในน้ำ เพื่อเอามาหมุนเวียน เลี้ยงปลาก็ได้ สูบเข้าเครื่องกรองเอามาใช้ในบ้านก็ได้ นาไร่ต่างๆเราก็สูบน้ำนี้ไปใช้ เบิร์ดตั้งใจมากที่จะทำให้มันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา

“เบิร์ดบอกชาวบ้านว่าให้ดูแลครอบครัว ดูแลที่ดินกันให้ดี แล้วเบิร์ดจะดูแลเขาให้มีงานทำ ใครมีปัญหาอะไรก็ให้มาพูดคุยกัน อย่าถึงขนาดขายที่ ไม่มีตังค์ก็มาบอกกันได้ ช่วงที่สร้างบ้านเขาก็มีรายได้ประมาณหนึ่ง พอโรงอบเสร็จ และเราสามารถรับซื้อผลิตผลของเขาได้ ลูกหลานผลัดต่อไปจะได้ไม่ต้องไปหางานที่อื่น เพราะเขามีนามีไร่ที่สามารถทำผลิตผลส่งได้”

เบิร์ด ธงไชย
บ้านนี้เบิร์ดออกแบบเอง ให้ง่ายๆเข้าไว้ เลยออกมาสูงๆ โปร่งๆ โล่งๆ ใหญ่ๆ เหมือนศาลาการเปรียญ ส่วนทะเลสาบหลังบ้านสร้างเป็นรูปหัวใจ ตกเย็นเบิร์ดจะพายเรือเล่น มองลงไปสิ เห็นปลาเพียบเลย
เบิร์ด ธงไชย
แปลงเพาะพริก อีกหน่อยถ้าทำคุณภาพดีๆได้ จะบอกให้ทั่วเลยว่านี่แหละ Bird’s Chilli

เบิร์ด ธงไชย เบิร์ด ธงไชยพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพ่อหลวง หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นประโยชน์ที่คนไทยควรยึดถือนำไปปฏิบัติจริงๆ ดังเช่นเบิร์ด – ธงไชย ที่ได้นำมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต สร้างสุขแก่ตน สร้างประโยชน์ต่อคนอื่นๆ

 

ที่มา: นิตยสาร แพรว ปี 2558 ฉบับที่ 871 (10 ธ.ค. 58) หน้า 108-125, นิตยสาร แพรว ปีที่ 23 ฉบับที่ 538 25 ม.ค.45 หน้า 180-185 (ปี 2545)

ชุดไว้ทุกข์

In the mood of mourning ย้อนรอยประวัติศาสตร์ของชุดแห่ง “ความรัก ความคิดถึง และคราบน้ำตา” 

ชุดไว้ทุกข์
ชุดไว้ทุกข์

เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วครับ ที่มนุษย์ (สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง) ได้คิดหาเครื่องแต่งกายเพื่อการ “ไว้ทุกข์” ให้กับบุคคลอันเป็นที่รัก แม้ว่าจะมีให้เห็นในหลากโทนสี ทั้งม่วงเข้ม เทา ขาว หรือแม้กระทั่งเขียวเข้ม แต่ท้ายที่สุดแล้ว “สีดำ” ก็เป็นสีที่ถูกเรียกหามากที่สุด

Pound_Praewnista ขอพาย้อนกลับไปดูที่มาของชุดไว้ทุกข์ จากกว่า 100 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เพราะทุกเรื่องราวมีที่มา และเพราะว่า “เสื้อผ้า” ไม่ใช่เพียงสิ่งนอกกาย

b9ff6d74625a33f8da2b1dcd2edd4ce42e8abb00

2 22

ไม่สามารถระบุวันเริ่มต้นที่แน่ชัดได้ครับ ว่าใครคือผู้ริเริ่มคนแรกของโลกที่ลุกขึ้นมาบัญญัติให้มีการแต่งกายเพื่อวาระแห่งการไว้ทุกข์ แต่จากหลักฐานหลายแหล่งให้ความสำคัญไปที่พวกยุโรเปียน (ชาติที่มักยกตัวเองเป็นผู้นำด้านเสื้อผ้า) เป็นกลุ่มแรกที่ใส่ เพราะในช่วง Middle Age หรือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 – 15 ยุโรปได้ออกกฎ แต่ไม่ใช่กฎหมายนะครับ เป็น Sumptuary Laws คือกฎระเบียบของเหล่าผู้ร่ำรวยหรือผู้ดีเก่ายุคนั้น ต้องเข้าใจอย่างนี้ครับว่าค่าที่ยุโรปมีประวัติศาสตร์ยาวนาน กลุ่มขุนนางเก่าแก่ก็มีมาก แต่ในขณะที่การค้ายุคนั้นก็เริ่มเจริญรุ่งเรือง คนรวยใหม่ก็มีเพิ่มขึ้น ชนชั้นที่คิดว่าตัวเองต้องเลิศต้องเก๋กว่าคนอื่นๆก็เลยออกกฎนี้ขึ้นมา เป็นกฎและระเบียบของเครื่องแต่งกาย ทั้งงานมงคล งานร้าย งานน้ำชา และอีกหลายๆงานครับ! แม้หลายเสียงจะบอกว่าพวกเขาออกกฎเพื่อแบ่งชนชั้นทางสังคม แต่ลึกที่สุดในใจผมว่า “ถ้าพวกเขาไม่รู้สึกเสียใจ รำลึก และคิดถึงผู้ตาย” ชุดไว้ทุกข์คงไม่ถูกระบุไว้ในกฎแน่ๆ ซึ่งกฎนั้นก็คือ ขุนนางทั้งหลายต้องใส่ชุด “สีดำ” เพื่อเข้าพิธีศพนั่นเอง โดยชุดในยุคนั้นหนักไปที่การใช้ผ้าหรูหรา ซึ่งความยาวของผ้าคือตัวชี้ฐานะ และนิยมตกแต่งปลายด้วยผ้าเครป (Crape) สีขาวหรือสีดำ ที่สำคัญต้องมีหมวกใบใหญ่เป็นการคอมพลีตลุคอันสมบูรณ์ หลังจากนั้นไม่นาน “โทนดำ” ที่ว่านี้ก็ส่งอิทธิพลถึงชุดของพระสงฆ์ พ่อค้า จนถึงคนทั่วไปทั้งชายและหญิงในเวลาต่อมา

แม้ว่าการใส่ “ชุดไว้ทุกข์” จะเกิดขึ้นในยุคกลางของยุโรป แต่โลกกลับยอมรับความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของเครื่องแต่งกายนี้ในยุคทองของยุควิกตอเรีย (Victoria Era) หรือในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เหตุเพราะสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) ทรงสวมใส่ฉลองพระองค์สีดำตั้งแต่การจากไปของเจ้าชายอัลเบิร์ต (Prince Albert) ตั้งแต่ปี 1861 จนถึงวันสุดท้ายของพระองค์เอง (ปี 1901) นั่นด้วยเพราะพระองค์ทรงเข้าพระทัยถึงความเศร้าโศกอย่างที่สุด พระองค์ไม่เพียงแค่อยากบอกให้โลกรับรู้ว่าพระองค์ทรงทุกข์ แต่พระองค์ทรงต้องการบอกตัวเองว่านอกเหนือจากความเสียใจที่มีนั้น คุณค่าของความเป็นคนที่รักและซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกสูญเสียเป็นเช่นไร

1 5 12

ซึ่งทั้งหมดนั้นได้ทำให้เกิดบรรทัดฐานแห่งการใส่ชุด “ไว้ทุกข์”  โดยเน้นไปที่หญิงม่าย (Widow) จะยึดถือการไว้ทุกข์ยาวนานเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ซึ่งมีหลักการในการแต่งต่างกันออกไป

ปีแรก (Full Mourning) จะใส่ชุดสีดำเท่านั้น ไม่มีการปักประดับใดๆทั้งสิ้น ต้องสวมผ้าปิดหน้าตลอดเวลาเมื่ออยู่นอกบ้าน ไม่คบค้าสมาคมถ้าไม่จำเป็น แม้กระทั่งกับลูกด้วยเช่นกัน

ปีที่ 2 (Second Year) มีเครื่องประดับปักประดับเพิ่มได้ เช่น ตัวชุด ปลายกระโปรง ชายแขนเสื้อมีการตกแต่งขอบด้วยลูกไม้หรือเครปได้ตามสมควร แต่โทนสียังคงเป็นสีดำเท่านั้น

ครึ่งปีสุดท้าย (Half Mourning) ชุดสามารถเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีดำได้ นั่นคือสีเทา สีม่วง หรือสีม่วงก่ำ

5 52

“ชุดไว้ทุกข์” แบบที่ว่านี้ได้ถูกยึดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมายาวนาน เริ่มต้นจากการเป็น “ชุดเพื่อความเศร้าโศก” สู่ “ชุดเพื่อมารยาททางสังคม” ซึ่งผู้ที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” พร้อมใจกระทำเรื่อยมา แต่ด้วยความรุ่มรวยของดีเทลชุดและความฟุ่มเฟือยของการจัดเตรียม ชุดไว้ทุกข์แบบเดิมจึงถูกลบเลือนไปในที่สุด จนเข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความฟุ่มเฟือยที่ว่าจึงถูกลดทอนลงเหลือแค่ “สีดำ” แต่ความหมายทั้งหมดยังคงเดิม นั่นก็เพื่อ “รำลึกถึงผู้เป็นที่รัก” และเป็นการประกาศให้สังคมรับรู้ถึงความเสียใจที่มากเกินกว่าจะพูดออกมาได้ เสื้อผ้าจึงไม่ใช่แค่เรื่องฉาบฉวย เฉกเช่นกับความรู้สึก “รัก คิดถึง” ที่มากทวีใจ แต่ต้องทนกับความ “สูญเสีย” และการจากไปของบุคคลอันเป็นที่สุดของดวงใจก็ด้วยเช่นกัน

และถ้าการสวมชุดเพื่อ “ไว้ทุกข์” คือการแสดงความรักอีกทางหนึ่ง มันก็เป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือ เพราะอย่างน้อยชุดนั้นก็เป็นพลังอย่างหนึ่งที่จะช่วยเยียวยาหัวใจที่ทุกข์ให้ดีขึ้นได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ซึ่งช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับหัวใจของแต่ละคน

ด้วยรักและคิดถึงสุดหัวใจ

เรื่อง :  pound_Praewnista

ทรงคุณค่าต่อจิตใจ กล้องที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในหลวง

หากพระหัตถ์ของพ่อหลวงไม่เคยห่างจากแผนที่ฉันใด
กล้องถ่ายรูปก็อยู่เคียงข้างพระศอของพ่อฉันนั้น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช กับพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนคนไทยและทั่วโลก

ดังนั้นหากย้อนกลับไปใน พ.ศ.2539 ช่วงพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แบรนด์กล้องสุดหรูอย่าง Leica เองก็ได้เคยสร้างสิ่งที่มีคุณค่าทางใจให้กับประชาชนชาวไทย ด้วยการออกจำหน่ายกล้องฟิล์ม (Rangefinder) รุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่น Leica M6 Golden Jubilee เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ ๕๐ ปีแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ซึ่งตัวบอดี้และเลนส์ถูกชุบด้วยทองคำแท้ 24 เค ประทับตราพิธีกาญจนาภิเษก มาพร้อมเลนส์ Summicron 50mm f/2 โดยกล้องทองคำนี้ถูกผลิตมาเพียง 700 ตัว ในราคา 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ในสมัยนั้น) จัดทำมาเพื่อให้ซื้อสะสมเป็นที่ระลึก รายได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อใช้สำหรับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

กล้องที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในหลวง

leica-m6-golden-jubilee-edition

leica-m6-golden-jubilee-edition-3

leica-m6-golden-jubilee-edition-4

เรียบเรียง : Red Apple_แพรวดอทคอม
ที่มา/ภาพ :thaimedicalnews.com

หมอก้อง-สรวิชญ์ ขอตามรอยคำสอนพ่อ “ผู้ปิดทองหลังพระ”

Alternative Textaccount_circle

พันตรี นพ.สรวิชญ์ สุบุญ
แพทย์ตรวจรักษาสำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

“พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ผมเห็นชัดที่สุดและพยายามทำให้ได้คือ ทรงสอนให้ปิดทองหลังพระ จะมีคนเห็นหรือไม่ ไม่ต้องสนใจ ปิดไปเรื่อยๆ แล้วทองก็จะล้นมาที่หน้าองค์พระเอง ซึ่งก่อนหน้านั้นผมคิดแค่ว่า ทำความดีก็อยากให้คนอื่นชื่นชอบ ทำให้มีกำลังใจและรู้สึกว่าตัวเองเป็นฮีโร่ แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเคยเรียกร้องอะไรเลย ทรงทำความดีทุกวัน จนความดีเหล่านั้นปรากฏให้ประชาชนได้เห็นเองจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งยิ่งใหญ่มาก

“วันหนึ่งผมมีโอกาสได้ฟังเทศน์จากพระรูปหนึ่งว่า คนเราจะทำความดีเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อจะได้ดี แล้วหนีในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้ ความคิดนั้นผิด เพราะความดีกับความเลวแยกกัน พระรูปนั้นสอนอีกว่า ทำไมหมอไม่คิดแค่ว่า ทำความดีเพื่อให้รู้ว่ายังมีความดีหลงเหลืออยู่บนโลก แค่นี้เพียงพอแล้ว

“แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นมากกว่านั้น ไม่ใช่แค่ให้ความดีจารึกอยู่บนโลก แต่พระองค์ทรงทำความดีเพราะทรงรักประชาชนทุกคนที่เป็นเหมือนลูกของพระองค์ แล้วเราในฐานะประชาชนจะทำอย่างไรที่ให้พระองค์ท่านทรงเหนื่อยน้อยลง จะทำอย่างไรให้คนที่ไม่รักชาติบ้านเมืองได้มีสติพิจารณาทบทวน แต่ผมเปลี่ยนแปลงใครไม่ได้ สิ่งเดียวที่ทำได้คือ การพูดให้ทุกคนทราบว่า พระองค์ท่านทรงทำอะไรบ้าง ผมยอมรับว่าเคยรู้สึกเหนื่อย ท้อจนอยากจะหยุด แต่ความท้อเหล่านั้นหายไปเมื่อได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว

“ถ้าถามผมตอนอายุ 8 ขวบว่ารักในหลวงเพราะอะไร ผมคงตอบว่า เพราะในหลวงรักประชาชน ซึ่งเป็นคำตอบที่พูดต่อๆกันมา ไม่ได้มาจากใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พอโตขึ้นได้รับทราบและผ่านเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ทำให้รู้แล้วว่า ทำไมผมรักในหลวง…

“เพราะพระองค์ท่านรักผม และรักทุกคนบนแผ่นดินไทยมากกว่าสิ่งอื่นใด”

ที่มา : นิตยสารแพรว ฉบับที่ 823

พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวน 4 แบบ

Alternative Textaccount_circle

จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้ ในวารสาร “ในวงการพิมพ์” (http://www.thethaiprinter.com) กล่าวไว้ว่า การได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ “พระนามบัตรในหลวง” นั้น มีที่มาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสีในงานของสหประชาชาติ ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมื่อปี พ.ศ.2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในโอโกาสครบรอบ 75 พรรษา โดยสรุปสุดท้ายที่การออกแบบนามบัตรจำนวน 4 แบบ ดังนี้

พระนามบัตรพระนามบัตร

แบบที่ 1 มีคอนเซ็ปต์มาจากตัว “A” ซึ่งเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ “อดุลยเดช” และส่วนของจุดสีที่อยู่ภายในแทนสีของแก้วนพรัตน์ หรืออัญมณี 9 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์

แบบที่ 2 มีคอนเซ็ปต์มาจากการพนมมือไหว้ของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อได้ถึงความเป็นคนไทย ขณะเดียวกัน ก็มีจุดสีของแก้วนพรัตน์รายล้อมอยู่ภายใน สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย

แบบที่ 3 มีคอนเซ็ปต์มาจากเครื่องดนตรี คือ แซ็กโซโฟน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเป็นพิเศษ และมีจุดสีของแก้วนพรัตน์แสดงเอกลักษณ์ของพระมหากษัตริย์อีกเช่นกัน

แบบที่ 4 มีคอนเซ็ปต์มาจากพระนาม “ภูมิพล” ซึ่งเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นด้วยตัว “B” แล้วออกแบบรูปร่างทำเป็นปีกพญาครุฑ ภายในบรรจุจุดสีของแก้วนพรัตน์ แสดงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นในแนวทางเดียวกันทั้งหมด

เป็นที่น่าสังเกตว่า การออกแบบ “พระนามบัตร” จะเน้นภาพสัญลักษณ์มากกว่าการสื่อความหมายด้วยภาษาของตัวอักษรดังที่ปรากฎในนามบัตรทั่วไป โดยที่คุณฮิโรมิอธิบายว่า จริงๆแล้วการออกแบบนามบัตรทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง ถ้าพูดถึงระดับนานาชาติจะนิยมทำสัญลักษณ์มากกว่าใช้ภาษาของตัวอักษร

นามบัตรที่ดีจะไม่นิยมพิมพ์ชื่อตัวเองหรือชื่อบุคคลขนาดใหญ่ ตัวหนังสือจะออกแบบเพียงให้ดูเป็นมันขึ้นมาและสื่อภาษาเล็กน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็คงไม่จำเป็นต้องเน้นชื่อ และไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ สื่อเพียงแค่เป็นพระมหากษัตริย์ของไทยก็เพียงพอ

คุณฮิโรมิกล่าวว่า จริงๆแล้วการออกแบบสัญลักษณ์ไม่เหมือนกับภาพวาดทั่วไปที่มองเห็นของจริงแล้ววาดภาพเหมือนออกมา แต่งานออกแบบของตนเองไม่ได้มองภาพจริงแล้ววาดภาพเหมือน แต่เป็นการใช้จินตนาการนึกภาพออกมาเป็นสัญลักษณ์แทนตัวบุคคล

เมื่อถามว่าความคิดขณะออกแบบตั้งใจเพื่อให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ใช้พระราชทานแก่บุคคลอื่นด้วยหรือไม่ คุณฮิโรมิหัวเราะก่อนตอบว่า ก็เห็นพระองค์ท่านมีการพระราชทานเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการมีรับสั่งให้พิมพ์เพิ่มด้วย โดยใช้โรงพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่พระนามบัตรซึ่งเป็นการออกแบบสัญลักษณ์นี้เป็นการใช้ส่วนพระองค์มากและไม่เป็นทางการ เพราะส่วนที่เป็นทางการพระองค์ท่านก็มีตราประจำรัชกาล หรือตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสต่างๆอยู่แล้ว ความคิดขณะออกแบบจึงไม่ได้มุ่งให้เป็นงานเป็นการมากนัก

อย่างไรก็ตาม ความคิดขณะออกแบบนั้น สิ่งที่คำนึงถึงอย่างมากคือเรื่องระบบการพิมพ์ ซึ่งจะต้องมีลูกเล่นให้แปลกตา มีความหมายและลูกเล่นที่ไม่ซ้ำแบบใคร หรือทำการพิมพ์ลอกเลียนแบบไม่ได้ง่ายๆ “ระบบการพิมพ์จะค่อนข้างพิถีพิถัน อย่างเช่น การใช้สีพิเศษ กระดาษก็จะต้องเป็นของ Arjo Wiggins Fine ซึ่งเป็นกระดาษของฝรั่งเศส เครื่องพิมพ์ก็จะกำหนดให้ต้องใช้เครื่องพิมพ์โรแลนด์และไฮเดลเบิร์กเท่านั้น รวมทั้งอื่นๆซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยให้โรงพิมพ์ดำเนินการทั้งหมดเลย รวมทั้งจะเข้าไปดูแลและควบคุมการพิมพ์งานด้วยตัวเองด้วย” ขั้นตอนการพิมพ์ “พระนามบัตร” จะทำการพิมพ์สีพื้นก่อน แล้วทำการพิมพ์ฟอยล์ตบท้าย โดยในส่วนจุดสีของนพรัตน์หรือสีอัญมณีทั้ง 9 เม็ด จะต้องพิมพ์ทั้งหมด 18 สี กล่าวคือ พิมพ์ครั้งแรกจำนวน 9 สีหรือ 1 รอบ และพิมพ์ 9 สีอีก 1 รอบทับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าแต่ละสีจะมีการพิมพ์ 2 ครั้ง โดยกว่าจะได้งานออกมาดังที่ตั้งใจต้องทำการปรู๊ฟถึง 12 ครั้ง

 

ที่มา Pantip.com : JabKungIT

จากต่างด้าวสู่เศรษฐีพ่อค้าผ้ารายใหญ่ชาวอินเดีย มีวันนี้ได้เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ที่ทำกิน

ไม่ใช่แค่การเป็นที่พึ่งพิงให้คนไทยเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังมีพระกรุณาไปถึงคนต่างชาติต่างถิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย เหมือนอย่างกับครอบครัวของคุณสาธิต เซกัล นายกสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย ชาวอินเดียที่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ มีรายได้ จนสามารถลืมตาอ้าปากอยู่สุขสบายจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแพรวได้นำบทสัมภาษณ์ของเขามาเผยแพร่ให้คนไทยได้อ่านกันด้วยค่ะ

2

“ครอบครัวผมอพยพมาจากอินเดียเมื่อปี ค.ศ.1932 สมัยนั้นอินเดียยังเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ คุณลุงของผมตัดสินใจเดินทางมาด้วยคำชวนของเพื่อนที่ว่า ไปทำงานหากินที่ประเทศสยามดีกว่า “กษัตริย์ท่านใจบุญ ทรงดูแลประชาชนอย่างดี และต้อนรับชาวต่างชาติ” คุณลุงเริ่มทำงานรับจ้างได้เงินเดือน 200 บาท จนสามารถสร้างฐานะเป็นพ่อค้าผ้าชาวอินเดียรายใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 จึงชวนพ่อแม่ ผม และน้องชาย มาอยู่ประเทศสยามในปี ค.ศ.1947 ฉะนั้นคุณลุงกับคุณพ่อจะสอนผมเสมอว่า ต้องไม่ลืมบุญคุณแผ่นดินไทยและบุญคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่พวกเราไม่ลำบากและเหน็ดเหนื่อยเหมือนตอนอยู่ที่อินเดียก็เพราะพระองค์

1

คำเหล่านี้ฝังอยู่ในสมองผมมาตั้งแต่เด็ก คนส่วนใหญ่คิดว่าผมเป็นอัครเศรษฐี แต่ชีวิตผมที่อยู่กับคุณแม่สองคน ไม่ต้องการอะไรมากมาย อยู่แบบง่ายๆ สบายๆ ไม่เที่ยว ไม่ชอบสังคมหรูหรา ติดดิน รถของผมใช้มา 22 ปีแล้ว เพราะผมน้อมนำพระบรมราโชวาทเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ถ้าสังคมไทยนำเศรษฐกิจพอเพียงของท่านมาใช้ ปัญหาครึ่งหนึ่งจะหายไป  ซึ่งปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ความยากจนของประชาชน วันนี้ชาวบ้านส่วนหนึ่งแทนที่จะนำคำสอนนี้ไปปฏิบัติ กลับหลงในสิ่งผิด นำเงินไปซื้อสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นในชีวิต ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาผมทำกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เริ่มจากซื้อพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สั่งทำสติ๊กเกอร์ “เรารักในหลวง” เป็นหมื่นๆใบ แล้วเดินแจกตามสถานที่ที่มีการชุมนุม ผมทำคนเดียวเงียบๆ ไม่ต้องการดังหรือมีชื่อเสียง แต่สิ่งที่ผมได้รับคือความภูมิใจที่มีส่วนในการจุดประกายความรัก เคารพ และเทิดทูนสถาบันที่มีอยู่ในจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่แต่ไม่แสดงออก ถ้าเราไม่บอกหรือแสดงออกกับพ่อแม่ว่าเรารัก แล้วท่านจะรู้ไหม ผมมาจากประเทศอินเดียที่มีกษัตริย์เป็นร้อยๆพระองค์ ผมศึกษาประวัติของกษัตริย์ทั่วโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน ทำให้ผมรู้ซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพราะทรงมีแต่ให้ ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงเหน็ดเหนื่อยกับประชาชนไทยมาตลอด เสด็จพระราชดำเนินไปช่วยเหลือประชาชนทั้งเหนือ อีสาน ใต้ แล้วเสด็จแปรพระราชฐานเป็นเดือนๆเพื่อหาทางสร้างอาชีพให้ชาวบ้านมีรายได้  สิ่งเหล่านี้ทำให้ผมรู้สึกเสมอว่า “ไม่มีกษัตริย์ไหนในโลกนี้ที่ดีเท่ากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9”

แหล่งที่มา : นิตยสารแพรว ปี 2557 ฉบับที่ 833 (10 พ.ค. 57) หน้า 28

ชื่อคอลัมน์ : คำพ่อสอน

 

“ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” ช่างซ่อมนาฬิกาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไว้พระทัยในฝีมือที่สุด

หากคุณเคยไปเดินเล่นย่านท่าพระจันทร์ คุณก็อาจสังเกตเห็นร้านนาฬิการ้านหนึ่งขึ้นป้าย “ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” และเหนือป้ายนั้นคือตราครุฑขนาดใหญ่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี่คือร้านของช่างซ่อมนาฬิกาที่ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ท่านไว้พระทัยในฝีมือที่สุด และวันนี้เราก็มีเรื่องราวของช่างซ่อมนาฬิกาผู้นี้มาฝากกันด้วย

“คุณลักษณ์  ตาณพันธุ์” ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะช่างซ่อมนาฬิกาที่รับใช้พระองค์ท่านมากว่า 20 ปี จุดเริ่มต้นของการได้มีโอกาสถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เริ่มตรงที่เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ขณะที่คุณลักษณ์ยังเป็นช่างซ่อมนาฬิกาหนุ่ม มีนาฬิกาเรือนหนึ่งเป็นของเก่าตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 5 เป็นนาฬิกาเรือนใหญ่ ตั้งอยู่ในโบสถ์วัดพระแก้ว เสียมาเป็นเวลากว่า 40 ปี ไม่มีช่างคนไหนซ่อมได้ คุณลักษณ์รู้เข้าก็รีบอาสาแก้ให้ เพราะเชื่อมั่นในฝีมือและความละเอียดประณีตซึ่งเป็นความพิเศษเฉพาะตัวที่ตัวเองมี แล้วก็แก้จนใช้การได้จริงๆ

หลังจากที่คุณลักษณ์ได้แสดงความสามารถในการซ่อมนาฬิกาเรือนนั้นได้สำเร็จ ผู้ใหญ่ที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รู้สึกเชื่อมือ จึงเริ่มนำนาฬิกาของพระองค์ท่านมาให้คุณลักษณ์ซ่อม เริ่มจากนาฬิกาตั้งโต๊ะตีเป็นเพลงเรือนหนึ่ง แล้วก็มีเรือนอื่นๆตามมา รวมไปถึงนาฬิกาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้วย นอกจากนี้คุณลักษณ์ก็เริ่มมีหน้าที่ต้องเข้าไปดูแลนาฬิกาในพระที่นั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

คุณลักษณ์เล่าถึงการดูแลนาฬิกาที่ทรงให้คนนำมาซ่อมว่า จะเก็บรักษาอย่างดี มีกล่องกำมะหยี่เฉพาะอยู่ในเซฟ และจะเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว นาฬิกาทุกเรือนของพระองค์ท่านนั้น คุณลักษณ์ซ่อมได้หมด ไม่เคยมีปัญหา “เคยมีฝรั่งมาถามผม เขาให้ผมบอกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โปรดนาฬิกายี่ห้อไหน ถ้าผมบอก เขาจะสมนาคุณ แต่ผมโง่ ผมไม่บอก เรื่องอะไรผมจะให้เขาฉวยโอกาสเอาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ของเราเป็นจุดโฆษณา ผมก็บอกท่านโปรดนาฬิกาทั่วๆไป ท่านมีหลายเรือน หลายยี่ห้อ เป็นของเกรดดีทั้งนั้น”

ส่วนเรื่องที่ได้รับพระราชทานตราครุฑนั้น คุณลักษณ์เล่าว่า ได้รับภายหลังจากที่ถวายการรับใช้ด้วยความซื่อตรงมานาน นอกจากพระราชทานตราครุฑแล้ว ยังทรงพระกรุณาพระราชทานเงินอีกเป็นจำนวนหลายแสนบาทเพื่อให้มาปรับปรุงร้าน ส่วนหนึ่งก็เพราะทรงเห็นว่าช่างซ่อมนาฬิกาของพระองค์ท่านไม่สู้จะยอมรับค่าแรงเอาเลย “สมเด็จฯท่านรับสั่งว่าสงสาร ให้คิดค่าแรงเถอะ ก็คิดบ้าง ไม่คิดบ้าง แต่ส่วนมากไม่ได้คิด สมเด็จฯท่านรับสั่ง…คิดบ้าง ฉันสงสารเธอ…ท่านเมตตาผมมากเหลือเกิน เราได้มีโอกาสถวายการรับใช้นี่ก็ถือเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลแล้ว ท่านทรงพระกรุณาขนาดไหน คิดดูเถอะ ภรรยาผมเสียก็พระราชทานพวงหรีด พระราชทานเพลิงศพ ทั้งที่ผมก็ไม่อาจเอื้อมกราบบังคมทูล พวงหลีดผมยังเก็บรักษาไว้เลย”

ทีนี้ย้อนมาถึงการซ่อมนาฬิกาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คุณลักษณ์เล่าว่า หากเป็นนาฬิกาของพระองค์ท่านหรือเจ้านายองค์อื่นๆ คุณลักษณ์จะทำเองกับมือ ไม่เคยให้ช่างในร้านแตะต้อง

“ผมซาบซึ้งที่พระองค์ท่านไว้พระทัย นาฬิกาของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฝังเพชรนะฮะ ท่านรับสั่งให้ผู้ใหญ่เอามาให้ลักษณ์ซ่อม ไม่เคยต้องออกใบรับหรืออะไร ท่านให้มาซ่อมเฉยๆเลย มีรับสั่งมาว่า…ไม่ต้องมีหลักฐาน ให้ลักษณ์เขาไว้นั่นละ นาฬิกาเรือนทอง นาฬิกาฝังเพชร นาฬิกาชั้นดีทั้งนั้น ท่านไม่เคยให้ออกใบรับเลยสักครั้ง แล้วท่านไม่เคยเร่ง ทุกพระองค์ไม่เคยเร่งว่าให้เร็วๆ เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

“แต่ว่านาฬิกาของทุกพระองค์ผมต้องระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว เครื่องไม้เครื่องมือก่อนซ่อมผมต้องล้างเช็ดทำความสะอาดเรียบร้อย นาฬิกาของพระองค์ท่านที่ส่งมา ก่อนลงมือทำผมกราบก่อนนะ ทุกวันนี้ก่อนลงทำงานทุกเช้าผมก็จะกราบ รำลึกถึงท่าน ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และทุกพระองค์ ถวายพระพรให้ทรงสุขสำราญ ผมถือว่าตัวผมโชคดี ได้มีโอกาสถวายการรับใช้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณมากมาย ได้อยู่สุขสงบร่มเย็นจนถึงวันนี้”

ที่มา : นิตยสารแพรวฉบับที่ 198 ปักษ์วันที่ 25 พ.ย. 2530

 

ศิลปากรไม่ทิ้งลาย ทุกวิทยาเขตพร้อมใจวาดภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9

ความเสียใจของคนไทยทั้งชาติที่ต้องทำใจยอมรับข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กำลังเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจเพื่อไว้อาลัยให้กับพระองค์ นอกจากเราจะได้เห็นคนไทยต่างพร้อมเพรียงมาเคารพพระบรมศพกันนับหมื่นนับแสนแล้ว

รอบรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าพระลาน ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง เหล่านักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยต่างก็รวมใจกันสร้างสรรค์ภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์มีมาตลอด 70 ปี

ทั้งนี้ภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่นักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้วาดนั้น ได้รวมเอานักศึกษาจากทุกชั้นปีมาร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มด้วยว่า หลังจากที่ข่าวจากสำนักพระราชวังประกาศออกมา ทางฝั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ก็ได้มีการรวมตัวกันเพื่อวาดภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่เที่ยงคืนจนเสร็จประมาณ 9 โมงเช้า ในส่วนของวิทยาเขตวังท่าพระก็ได้เริ่มต้นวาดกันภายในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ก่อนจะนำไปติดตั้งที่ริมกำแพงด้านหน้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเพิ่งจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อรุ่งเช้าของวันนี้ ซึ่งทั้งหมดมี 9 ภาพ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ จนพระองค์ได้ชื่อว่าทรงเป็นองค์อัครศิลปิน

และตั้งแต่ในช่วงเช้าของวันนี้ ประชาชนที่เดินทางมาร่วมไว้อาลัยและแสดงความเคารพพระบรมศพต่างก็แวะเวียนมาชมภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กันไม่ขาดสาย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพ :SRIPLOI
ภาพพระบรมฉายาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9
ภาพ :SRIPLOI
image3
ภาพ :SRIPLOI
image4
ภาพ :SRIPLOI
image5
ภาพ :SRIPLOI
image6
ภาพ :SRIPLOI
image7
ภาพ :SRIPLOI
image8
ภาพ :SRIPLOI
image9
ภาพ :SRIPLOI

ผนังคณะมัณฑนศิลป์ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b8%99%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b9%8c-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2
ภาพ : President Silpakorn University Chaicharn Thavaravej

ขณะวาดภาพในคณะจิตรกรรม

ศิลปากร วาดภาพพระบรมฉายาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9
ภาพ : President Silpakorn University Chaicharn Thavaravej

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%95%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%88
ภาพ : President Silpakorn University Chaicharn Thavaravej

คณะ ICT วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

ศิลปากรไม่ทิ้งลาย
ภาพ : President Silpakorn University Chaicharn Thavaravej
รูป Unseen ในหลวง

มหัศจรรย์ Unseen รูปในหลวง คนไทยโชคดีกว่าใครในโลก

Alternative Textaccount_circle
รูป Unseen ในหลวง
รูป Unseen ในหลวง

ถ้าคุณเป็นคนไทยที่รับรู้เรื่องราวและสิ่งที่ “ในหลวง” ทรงทําเพื่อประเทศชาติและประชาชนมานานกว่า 7 ทศวรรษ คุณจะพูดถึงความรู้สึกที่มีต่อพระองค์ท่านอย่างไร

สําหรับบุคคลทั้ง 6 พวกเขาแสดงออกถึงความรู้สึกนี้ในรูปแบบแตกต่างกัน แต่เมื่อทุกคนมารวมตัวกัน จึงเป็น “มหัศจรรย์ Unseen รูปในหลวง” ที่คุณอาจไม่เคยเห็นจากที่ไหน

พระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวง และพระราชินี

ชูศักดิ์ วิษณุคํารณ
“ในหลวง” ของผมคือ “ภูมิพลโพธิสัตว์”
แค่เอ่ยชื่อ “อาจารย์ชู” ก็เชื่อว่าศิลปินวาดภาพ ลูกศิษย์ลูกหาหลายคนคงรู้จักผลงานเขาดี ในฐานะศิลปินสร้างสรรค์พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมานานกว่า 15 ปี และอาจเรียกได้ว่าเป็นศิลปินคนเดียวที่ได้รับเลือกให้วาดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยความสูงเท่ากับตึก 4 ชั้น อีกหนึ่งผลงานที่เขาภูมิใจและเผยให้แพรวเห็นเป็นที่แรก ยังไม่รวมอีกหนึ่งผลงานเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน ด้วยความยาว 80 เมตร ที่ทําให้รู้ว่าคนไทยโชคดีกว่าใครในโลก

พระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

พระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ

“ผมวาดรูปเลี้ยงชีวิตมาเกือบ 50 ปีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนรูปสวยงามที่คนซื้อไปประดับบ้าน พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยืนคู่กัน สูง 8 เมตร จะนําไปติดที่อาคารสินธร เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ปี 2558 จะเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศที่มีพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงและพระราชินีใหญ่ขนาดนี้ ให้คนรุ่นหลังเห็นว่าการเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงต้องเขียนพระราชอิสริยยศต่างๆ ให้ถูกต้องด้วย ซึ่งหลายท่านมักมองข้ามไป แต่นี่คือพระราชอิสริยยศของพระองค์ท่าน ถ้าเขียนผิด ภาพนี้ก็จะผิดไปนานเป็นร้อยๆ ปี เพราะฉะนั้นก่อนเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์องค์นี้ ผมจึงหาตํารามาศึกษาให้รู้จริงเกี่ยวกับเครื่องทรงทั้งหมด ทําทุกอย่างให้ถูกต้อง เพื่อเป็นต้นแบบให้ลูกหลานศิลปินรุ่นหลัง

“ส่วนอีกผลงานหนึ่งเป็นภาพวาดยาว 80 เมตร เป็นภาพพระราชกรณียกิจตั้งแต่วันขึ้นครองราชย์ จนถึงวันที่เหลืองเต็มแผ่นดิน เป็นการบันทึกเรื่องราวของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยปีก็ตาม งานชิ้นนี้จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกของมหาชนที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ใช้เวลาเขียน 3 ปีแล้ว ยังไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ตั้งใจจะใช้เวลาเขียนทั้งหมด 4 ปี แล้วนำไปติดที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติวัดด่าน พระราม 3”

เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เขาสนิทสนมกับเจ้าของห้างซีคอนสแควร์ เพราะเคยช่วยวางแผนทำโฆษณามาก่อน ช่วงนั้นห้างเพิ่งเปิดได้ปีเดียว เขาจึงชักชวนเจ้าของห้างทำกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว เชิญศิลปินทั่วประเทศวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ โดยไม่มีการแบ่งรั้วแบ่งค่าย และนำพระบรมสาทิสลักษณ์เหล่านั้นมาจัดแสดง กลายเป็นต้นแบบของการจัดอาร์ตแกลเลอรี่ในห้าง เพราะเหตุนี้เขาจึงเริ่มศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง

“ผมชอบอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พอได้มาศึกษาพระราชประวัติ ทำให้รู้ว่า ความจริงพระองค์ท่านทรงหลุดจากวงโคจรการเป็นกษัตริย์ตั้งแต่ทรงย้ายไปประทับที่ต่างประเทศแล้ว ไม่มีทางที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ได้เลย แล้วทำไมพระองค์ท่านจึงทรงมาอยู่ตรงนี้ ทำให้ผมเข้าใจกฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อสองพันกว่าปีว่า ‘มนุษย์เรานั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่อดีตชาติ ไม่มีอะไรที่จะเป็นเหตุบังเอิญ’

“ผมจึงเชื่อว่าพระองค์ท่านทรงถูกกำหนดให้มาทำคุณประโยชน์แก่ประเทศนี้ เป็นตระกูลที่ทำคุณให้แก่แผ่นดินทุกพระองค์ เฉพาะพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียวก็ทรงมีโครงการในพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ มีมนุษย์คนไหนทำได้แบบนี้บ้าง ถ้าไม่ใช่ผู้มีบารมี หากคุณไม่สนใจก็อาจมองเป็นเรื่องธรรมดาว่า ก็เพราะเป็นพระเจ้าอยู่หัวนี่ แต่กษัตริย์ในประเทศอื่นมีแบบนี้ไหม หรือการที่คนใส่เสื้อเหลืองทั้งแผ่นดิน มีใครนัดคนให้ออกจากบ้านมาได้มากขนาดนี้ไหม ผู้คนในทุกจังหวัดต่างจุดเทียนชัยถวายพระพรในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีใครทำได้บ้าง ถ้าไม่ใช่เพราะพระบารมีที่สั่งสมมา ผมจึงเรียกพระองค์ท่านว่า ‘ภูมิพลโพธิสัตว์’ และถ้าอีกเป็นแสนปีที่มนุษย์เราต้องตายแล้วเกิด ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารไม่รู้กี่โกฏิชาติ ผมเชื่อว่าต่อไปเราอาจได้เรียนรู้เรื่องราวของ ‘ภูมิพลโพธิสัตว์’ เหมือนที่เราเรียนรู้เรื่องพระเจ้าสิบชาติอย่างพระมหาชนกหรือพระเตมีย์ใบ้ก็เป็นได้

“หลังจากอ่านและศึกษาพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านแล้ว จึงคิดว่าบั้นปลายชีวิตอยากเขียนเรื่องราวของพระเจ้าอยู่หัวให้คนรุ่นหลังได้เห็นไปอีก 300 – 400 ปี ศิลปินประเทศนี้เกือบทุกคนที่เขียนรูปเป็นจะรู้สึกเป็นบุญกุศล และภาคภูมิใจที่ได้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ท่าน ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมเขียนด้วยความเคารพเทิดทูน ใช้ความรู้และความสามารถของเรา เขียนจากการศึกษาและสิ่งที่เรารับรู้ ดังนั้นงานของผมจึงมีเอกลักษณ์คือ พระเจ้าอยู่หัวของผมต้องมีเทวดา มีความยิ่งใหญ่ มีเรื่องราวความเป็นมา ในความรู้สึกผม ไม่ว่าเสด็จฯไปที่ไหนจะมีเทวดาดูแล ถ้าลูกศิษย์ลูกหาผมเห็นปั๊บ ไม่ต้องดูลายเซ็นก็รู้ว่านี่คือผลงานของผม”

จนถึงวันนี้อาจารย์ชูยังวาดพระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวทุกวัน จำนวนเป็นร้อยองค์แล้ว มีทั้งองค์ที่มีคนมาขอซื้อไปบูชาที่บ้าน บางองค์เขาเก็บไว้ที่สตูดิโอส่วนตัว และมีองค์หนึ่งที่เขาวาดและนำไปทูลเกล้าฯถวายที่โรงพยาบาลศิริราช

“การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ไม่เหมือนเขียนรูปคนธรรมดา ผมยกมือไหว้ขอพระบรมราชานุญาตก่อนเขียนทุกครั้ง ในความรู้สึกผม การได้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ทุกวันก็เหมือนได้เข้าเฝ้าฯทุกวัน เขียนแล้วมีความสุข อย่างพระบรมสาทิสลักษณ์ที่ผมเขียนและนำไปทูลเกล้าฯถวายที่โรงพยาบาลศิริราช ชื่อรูป ‘ไกลกังวล หมายเลข 2’ ภาพของจริงมีพยาบาลและหมอยืนอยู่ด้านหลังพระองค์ท่านที่ประทับรถเข็น แต่ผมวาดโดยให้พระองค์ท่านทรงนั่งพระเก้าอี้สบายๆ กับคุณทองแดง พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯให้ราชเลขาฯส่งหนังสือขอบใจมา ซึ่งผมเก็บหนังสือฉบับนั้นไว้เป็นมงคลชีวิต

“ผมคิดว่าคนไทยทั้งประเทศ ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อพูดถึงพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นสิ่งที่พวกเราคุ้นเคยทั้งสิ้น แต่ผมอยากให้ทุกคนมองว่าสิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำทุกวันนี้ทรงทำเพื่ออะไร อยากให้ตีโจทย์ตรงนี้ เรื่องความดีงามของพระองค์ท่านคงไม่ต้องยกยอ ไม่ต้องสรรเสริญถวายพระพรให้วุ่นวาย เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจและสายเลือดพวกเราทุกคนหมดแล้ว แต่จงดูสิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำ และทำตามด้วยความมุ่งมั่น

“ถามว่าพระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกเพื่ออะไร ทำไมจึงทรงนำเรื่องนี้มาบอกคนไทย พระองค์ท่านทรงมีนัยอย่างไร บางคนดูแค่สนุกและผ่านไป ที่มีความรู้มากหน่อยก็ไม่เชื่ออีกต่างหาก ผมคิดว่าการที่พระองค์ท่านนำเรื่องพระมหาชนกมาสอน เพราะทรงต้องการให้ลูกๆ ซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมดยึดความพอเพียง และอย่าถอดใจเวลาทำภารกิจทุกอย่าง เพราะความเพียรจะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง

“ถอดใจ…เท่ากับแพ้”

ภาพ : โยธา รัตนเจริญโชค

ศรัณย์ ภัทโรพงศ์ กับพระบรมสาทิสลักษณ์ ในหลวง ผลงานของโลเล

ศรัณย์ ภัทโรพงศ์
เมื่อความพอเพียง = ความสุข
เพราะชอบงานศิลปะมาแต่ไหนแต่ไร ทุกครั้งที่มีโอกาสชมพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เขาต้องรู้สึกอยากได้ไว้ครอบครอง แม้จะออกตัวว่าไม่ใช่นักสะสมศิลปะตัวเป้ง แต่คุณอู๋ – ศรัณย์ เจ้าของรีสอร์ท วิลล่า มารดาดี เชียงใหม่ ก็มักได้เป็นเจ้าของพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงที่มีเทคนิคแปลก และแตกต่างจากที่เห็นกันเกร่อตามท้องตลาด
พระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำ ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผลงานวธน กรีทอง
ความงามของสีน้ำ ผลงาน “วธน กรีทอง” ที่วาดออกมาเท่าไร คุณอู๋เหมาซื้อหมด

ภาพกลาง พระบรมสาทิสลักษณ์เทคนิคแปลกตา ด้วยการเกลี่ยน้ำบนพื้นและถ่ายรูป ผลงานของวรวิทย์ แก้วศรีนวม

“ผมชอบงานศิลปะ แรกๆ ไม่ได้เจาะจงว่าชอบอะไรเป็นพิเศษ แต่ทุกครั้งที่ดูงานศิลปะที่เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวง ผมจะรู้สึกใจสั่น อยากได้มาอยู่กับเรา ซึ่งงานศิลปะพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงส่วนใหญ่มักเป็นงานการกุศล และสร้างสรรค์ขึ้นในหลากหลายเทคนิค ทั้งของคนจบศิลปากรที่ทำงานศิลปะและไม่ได้ทำงานศิลปะ

“กระทั่งสะดุดตาผลงานของคุณวรวิทย์ แก้วศรีนวม ดูไม่รู้ว่าเป็นภาพถ่ายหรือภาพวาด เขาบอกว่าเป็นภาพถ่าย เขานั่งดื่มน้ำแล้วน้ำหก จึงลองเอาน้ำเกลี่ย วาดเป็นพระพักตร์ในหลวงตามจินตนาการ แล้วถ่ายภาพนั้นเก็บไว้ ตั้งชื่อภาพว่า ‘น้ำแห่งชีวิต’ ผมเห็นครั้งแรกแล้วชอบ ขอซื้อเลย เป็นความประทับใจที่เขาคิดตรงกับเรา พระองค์ท่านทรงงานเกี่ยวกับน้ำมากมาย รวมทั้งน้ำพระทัยที่ทรงมีต่อประชาชนด้วย” เขายังได้รู้จักศิลปินผ่านโลกโซเชียลอีกเป็นจำนวนมาก อย่างอดีตผู้กำกับหนังโฆษณา วธน กรีทอง ที่ถึงจุดอิ่มตัวกับงานภาพยนตร์ และอยากกลับมาทำงานศิลปะ จึงหาเลี้ยงชีพด้วยการวาดภาพสีน้ำพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวง

“วันหนึ่งคุณวธนบอกผมว่าจะอดตายแล้ว ผมจึงบอกว่าชอบงานของเขา อยากขอซื้อ ผมเห็นพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงทุกองค์ที่เขาวาดแล้วรู้สึกสะเทือนใจ เพราะเขาจับมุมมองเล็กๆ ของพระองค์ท่านมาขยาย สื่อความหมายได้อย่างกินใจ และเป็นมุมมองที่ทำให้ผมสื่อกับงานศิลปะที่เขาแสดงออกมา จึงเหมาซื้องานของเขามาตลอด จนทุกวันนี้มีงานของเขาไม่ต่ำกว่า 30 องค์ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเท่ากับในหลวงทรงให้โอกาสคนหาเลี้ยงชีพได้ด้วยพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ท่าน

“ส่วนภาพของศิลปินป็อปอาร์ตชื่อดัง โลเล – ทวีศักดิ์ ศรีทองดี ซึ่งค้นพบเทคนิคนี้จากการวาดพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 ขณะทรงนั่งทอดปลาทู โดยการใช้สีอะคริลิกรองพื้นชั้นแรก พอสีแห้งปุ๊บสวยเลย ไม่ต้องทำอะไรต่อ พอเป็นในหลวงรัชกาลที่ 9 เขาก็ใช้เทคนิคนี้ ซึ่งคนมองว่าเป็นสีน้ำ แต่ที่จริงเป็นสีอะคริลิกบนผ้าใบ เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงที่ผมรักที่สุดก็ว่าได้ มีความสมบูรณ์ลงตัวโดยไม่ต้องบรรยาย

“พระบรมสาทิสลักษณ์องค์ต่อมา แม้ไม่ใช้เทคนิคพิเศษ แต่ใครเห็นภาพนี้ ส่วนมากต้องถามว่าเป็นภาพถ่ายหรือเปล่า พอบอกว่าเป็นดรออิ้ง ทุกคนจะบอกว่าไม่น่าเชื่อ เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงและพระราชินีเสด็จฯไปทรงเยี่ยมประชาชนทางรถไฟ เป็นรูปดรออิ้งขาวดำ ผลงานของลาภ อำไพรัตน์ แม้จะเป็นภาพที่เคยผ่านตามาบ้าง แต่ที่เคยเห็นไม่ชัดเจนเท่ารูปนี้ ผมชอบพระอิริยาบถที่ทรงทักทายประชาชน เห็นแล้วอบอุ่น สามารถจินตนาการย้อนกลับไปตอนที่พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ได้ เห็นความอบอุ่นและไมตรีของพระองค์ท่าน ผมมีโอกาสได้คุยกับคุณลาภ จึงรู้ว่างานดรออิ้งมีหลายระดับ แต่งานของเขารูปหนึ่งใช้เวลามาก ใช้พลังเยอะ จึงทำให้งานของเขาละเอียด ซึ่งคนวงการศิลปะหรือคนเขียนดรออิ้งล้วนให้การยอมรับผลงานของเขา เป็นอีกรูปที่ผมประทับใจมาก

“ถ้าย้อนกลับมาดูจะเห็นว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระองค์ท่านที่ทรงแผ่ไปถึงประชาชนกลุ่มเล็กๆ ในวงการศิลปะและผมซึ่งเริ่มสนใจงานศิลปะได้มารู้จัก อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เกื้อกูลกัน” ทุกวันนี้พระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงนับร้อยองค์ที่เขามี ได้อัญเชิญไปประดิษฐานในห้องพักภายในรีสอร์ทของเขาทุกหลัง ด้วยเหตุที่ว่า

“ผมชอบคำที่บอกว่า รูปที่มีทุกบ้าน ผมทำรีสอร์ท มีชาวต่างชาติมาพัก จึงอยากให้เขารู้สึกว่าแต่ละห้องเป็นเหมือนบ้านของเขานะ จึงอัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ไปประดิษฐานไว้ตามอารมณ์ของห้องนั้นๆ สลับหมุนเวียนกันไป และยังมีอีกหลายองค์ที่ยังไม่ได้ใส่กรอบ ถ้าเจอ ผมก็จะขอเก็บไว้อีก โดยไม่ได้สนใจว่าเป็นผลงานของศิลปินคนไหน ขอให้เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ท่านก็พอ

“ยิ่งผมนำพระราชดำรัสคำว่า ‘พอเพียง’ ของพระองค์ท่านมาตีความ ทำให้ผมยิ่งเกิดความศรัทธา พระราชดำรัสนี้ลึกซึ้ง ทำให้เราพบความสุขได้ เงินน้อยหน่อย แต่มีความสุข และนำสิ่งนี้มาทำให้ชีวิตครอบครัวเรามีความสุขด้วย ผมคิดว่าถ้าทุกคนในเมืองไทยยึดหลักนี้ ทุกคนจะเกิดความสมดุล ประเทศเราจะมีความสุขกว่านี้

“ถ้าถามว่าผมรักพระองค์ท่านตรงไหน ก็ตรงที่ทรงเป็นผู้ให้ประเทศไทยมาตลอด ซึ่งผมเชื่อเหมือนกับเพลงที่คุณดี้ – นิติพงษ์ แต่งว่า พระองค์ท่านคือเทวดาที่มีลมหายใจ”

เรื่อง : ดั่มดั๊มพ์ ภาพ : โยธา รัตนเจริญโชค, วรสันต์ ทวีวรรธนะ

คุณเต้ย ณรัฐ นภาวรรณ นักสะสมพระบรมฉายาลักษณ์

ณรัฐ นภาวรรณ
นักสะสมพระบรมฉายาลักษณ์นับพันองค์! 
คุณเต้ย – ณรัฐ นภาวรรณ มีความสนใจและสะสมพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากมายนับพันองค์ในทุกขนาด และบางองค์ก็มีมูลค่าสูงเกือบแสนบาท แต่เขาก็ยินดีสะสม

พระบรมฉายาลักษณ์ ของสะสมล้ำค่าของคุณเต้ย

“ผมว่าอาจมีคนสะสมพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงมากกว่าผม เพียงแต่เขาจะเปิดตัวหรือเปล่า ผมเริ่มสะสมจากความชอบนี่ละครับ แต่ผมสะสมรวมราชวงศ์ทั้งหมด ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นพระองค์ไหน ตอนแรกที่ซื้อไม่มีความรู้เลย เพราะไม่มีครูสอน ซื้อของจริงของปลอมก็ไม่รู้ ถ้าชอบและสวยถูกใจก็ซื้อเลย ตอนหลังเริ่มรู้ว่าอันไหนของจริงของปลอม อัดด้วยกระดาษอะไร รู้เรื่องมากขึ้น ก็ไปถูกทิศถูกทาง

“สมัยเด็กผมไม่ได้สนใจเรื่องนี้มาก่อน ก็สนใจศิลปะ แฟชั่นทั่วไป เหมือนเพิ่งมาระลึกชาติได้ตอนอายุ 30 ปี (หัวเราะ) สงสัยเคยเกิดในยุคก่อน เมื่อถึงเวลาจึงต้องหันมาสะสมภาพพวกนี้ ก็สะสมเรื่อยมา จนตอนนี้มีมากนับพันองค์ คิดเป็นจำนวนเงินก็เยอะอยู่ ต้องบอกว่าผมโชคดีที่ทำกิจการส่งออกของครอบครัว และคุณพ่อคุณแม่ก็สนับสนุน ตอนเศรษฐกิจรุ่งๆ กิจการที่บ้านปีหนึ่ง 365 วัน ทำงานกัน 364 วันบวกโอที หยุดวันแรงงานวันเดียว ทำไม่ทันจริงๆ มีออร์เดอร์ล้นข้ามปี แต่ช่วงหลังซบเซาลงมาก ผมก็ทำธุรกิจขายหนังสือเก่าออนไลน์เสริม ชื่อ ‘ร้านหนังสือลุงโจง’”

คุณเต้ยเล่าว่า พระบรมฉายาลักษณ์องค์แรกที่เขาซื้อมาสะสมนั้น ไม่ใช่ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน “เริ่มจากว่าวันนั้นไปเดินแถวตลาดคลองถม แล้วเห็นภาพถ่ายโบราณพวกนี้วางอยู่ มีความรู้สึกว่าอยากได้ ภาพแรกที่ซื้อคือพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 7 ทรงชุดนายทหาร ราคาสัก 3,000 บาท เป็นภาพที่ทำขึ้นใหม่ ไม่ใช่ภาพออริจินัล ซื้อโดยไม่มีความรู้ จนตอนหลังรู้มากขึ้นจึงซื้อมาเรื่อยๆ และเน้นที่พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 8

พระบรมฉายาลักษณ์ เหรียญเดี่ยว
(ซ้ายบน) พระบรมฉายาลักษณ์ที่คุณเต้ยซื้อมาในราคาสูงที่สุดถึง 70,000 บาท (ขวาบน) พระบรมฉายาลักษณ์ “เหรียญเดี่ยว” คุณเต้ยซื้อมาในราคา 35,000 บาท (ล่างซ้ายและขวา) พระบรมฉายาลักษณ์องค์เดียวกัน แต่องค์ขวาใช้เทคนิคการกลับฟิล์ม

พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีความคมชัด สวยงาม และเป็นทางการ

“สำหรับในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นเพราะผมเรียนรู้มาว่าพระองค์ท่านทรงทำคุณประโยชน์ให้แผ่นดินมากมาย และผมก็เกิดในรัชสมัย ถ้าถามถึงความประทับใจส่วนตัว ผมชอบพระราชจริยวัตรในสิ่งที่ทรงทำให้ประชาชนอยู่แล้ว ทรงเปรียบเสมือนพ่อ เหมือนพระ ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทย ไม่เคยเห็นว่าทรงมีวันหยุด จนช่วงหลังมีพระชนมพรรษามากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะไม่เสด็จออกให้ประชาชนเห็น ก็คงเหมือนพ่อเราที่อายุ 70 – 80 ปีแล้ว จะให้ท่านออกมาเดินทำงานให้เห็นก็คงไม่ใช่ แม้จะทรงพระประชวรอยู่ แต่พระองค์ท่านก็ยังทรงงานอยู่ตลอด นี่เป็นความประทับใจส่วนตัว แล้วในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็ทรงทำประโยชน์สารพัด จึงเหมือนว่าผมโฟกัสไปที่พระราชกรณียกิจ และมีอินเนอร์ว่า พระองค์ท่านทรงทำเพื่อคนไทยมากมาย

“ตอนแรกผมเลือกซื้อจากที่เป็นพอร์เทรตก่อน เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีความคมชัด สวยงาม และเป็นทางการ ตอนหลังพออินมากขึ้น บางช่วงก็ไม่มีภาพจะให้ซื้อ จึงขยายขอบข่ายเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ในพระอิริยาบถต่างๆ ความจริงพระบรมฉายาลักษณ์ที่ติดตามบ้าน ตามสถานที่ต่างๆ มีไม่กี่แบบหรอกครับ เวลาจะเลือกซื้อก็ต้องดูองค์รวม ถ้าจะดูว่าเป็นพระบรมรูปเก่าแค่ไหน ก็ต้องเปิดกรอบออกมาเพื่อดูเนื้อกระดาษ เพราะทุกวันนี้มีการทำปลอมด้วยการสแกนระบบดิจิทัล แล้วมีวิธีปรุงให้ดูเก่า หากรอบเก่าโบราณๆ ใส่มาหลอกขายว่าเป็นของเก่าก็เยอะ ซึ่งวิธีที่จะรู้ว่าเก่าจริงไหมคือดูเนื้อกระดาษของภาพ เท่าที่ผมซื้อมาก็ไม่ถึงกับได้เปิดดูเสมอไป ต้องใช้ความเชื่อใจกันในการซื้อ เพราะบางทีก็เปิดไม่ได้หรอก เจ้าของเขาไม่ยอม

“พระบรมฉายาลักษณ์ที่ผมซื้อมาทั้งหมดมีตั้งแต่ราคาหลักร้อยถึงเฉียดแสน ทั้งขนาดโปสต์การ์ดที่ส่วนใหญ่จัดพิมพ์โดยสภากาชาดไทย เพื่อนำออกจำหน่ายหารายได้เข้าการกุศลในสมัยก่อน จนถึงขนาด 20 × 24 นิ้ว ลักษณะเป็นภาพใหญ่ที่ติดตามบ้าน สถานที่ราชการ หรือสำนักงานเอกชน พระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่แพงที่สุดคือราคา 70,000 บาท เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงฉลองพระองค์ทหารเรือ แม้จะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่คุ้นตากัน แต่เหตุที่มีราคาแพงเพราะความคมชัด ความเก่า แต่สภาพยังสมบูรณ์ ถ้าจะหาพระบรมฉายาลักษณ์เดียวกันนี้ที่มีความคมชัดกว่าที่ผมมีอยู่จริงๆ คงหาได้ยาก

“อีกภาพที่มีราคารองลงมา ผมซื้อในราคา 35,000 บาท ได้มาจากร้านขายข้าวแกงแถวบ้านผมนี่ละ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงประดับเหรียญอิสริยาภรณ์เพียงเหรียญเดียว ในวงการเรียกว่า ‘ภาพเหรียญเดี่ยว’ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายพระรูปขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช พอเสด็จขึ้นครองราชย์ ทางสำนักพระราชวังก็ใช้พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้เป็นทางการแทน เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็นทางการที่เก่าที่สุด หลังจากนั้นก็จะเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงประดับเหรียญเพิ่มเป็นสองเหรียญ สามเหรียญ ตอนไปขอซื้อภาพนี้ทีแรกภรรยาเจ้าของร้านไม่ยอมขาย จนผมได้เจอตัวเจ้าของร้าน เขาบอกผมว่าถ้าจะซื้อไปขายต่อ เขาไม่ขาย ผมบอกว่าจะซื้อมาเก็บไว้เพื่อสะสม และสักวันหนึ่งจะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เขาก็ยินดีขายให้เลย ซึ่งราคาขายนี่ เราสามารถสำรวจในตลาดของวงการนี้ได้ว่าน่าจะประมาณเท่าไร แต่เราต้องพิจารณาเองว่าคุ้มและชอบมากพอที่จะจ่ายเงินซื้อหรือเปล่า ซึ่งตอนนี้ราคาโดดขึ้นมามาก เมื่อเปรียบเทียบกับสิบปีก่อน ราคาขึ้นมาเกือบ 3 เท่า กับอีกเรื่องหนึ่งคือไม่มีของให้ซื้อด้วย เพราะถ้าไปอยู่ในมือของนักสะสมที่มีเงิน โอกาสปล่อยของออกมาก็ยาก แต่ถ้าอยู่ตามบ้านเก่า โอกาสแบบนั้นจะออกมาได้ง่ายกว่า”

“ทุกวันนี้ผมมีอยู่เป็นพันองค์นะครับ บางทีก็ซื้อมาซ้ำกัน ไม่ใช่ว่าลืม แต่คงเป็นเสน่ห์ของภาพเก่า อย่างตอนแรกที่ซื้อมา บางองค์มีรอยนิดหน่อย ไม่สวยงามสมบูรณ์ พอไปเจออีกองค์สภาพดีกว่านิดหนึ่งก็ซื้อ พอเจอองค์ที่สามสภาพดีกว่าก็ซื้ออีก องค์ที่สี่สภาพไม่ดีเลย แต่เขาขายราคาถูก ก็ซื้ออีก ซึ่งทุกองค์ที่ผมมี ผมไม่เคยสั่งให้ไปปลดมาจากฝาบ้านหรือสถานที่ไหนของใครมาขายผมนะครับ” (หัวเราะ)

สำหรับพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีอยู่มากมายนั้น คุณเต้ยมีความฝันไว้ว่า สักวันหนึ่งคงจะมีโอกาสจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลที่เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ “พระบรมฉายาลักษณ์ที่มีตอนนี้ ผมยังไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ เพราะยังไม่มีเวลา คิดว่าเท่าที่มีอยู่ก็มากพอจะจัดเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ แต่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพราะต้องบำรุงรักษา ปรับปรุงอีกหลายอย่าง ซึ่งผมยังไม่พร้อม และอยากใช้กำลังทรัพย์ของตัวเองมากกว่า ผมอยากทำให้คนเข้าชมได้เรียนรู้ อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าพระบรมฉายาลักษณ์สมัยก่อนเป็นอย่างไร กระดาษที่ใช้อัดรูปเมื่อก่อนเป็นอย่างไร แต่ถ้าทำจริงๆ ก็คงไม่ทำเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต มีการเก็บค่าเข้าชมมากมาย เอาแค่ช่วยเป็นค่าน้ำค่าไฟก็พอ ถามว่าฐานะผมลำบากไหม ก็ไม่ลำบาก แต่ไม่ใช่รวยล้นฟ้าขนาดนั้น

ผมว่าเป็นความสุขที่ได้แบ่งปัน บางคนอยากเห็น อยากมี แต่ไม่มีโอกาส ก็ถือว่าได้แบ่งปันให้ชมกัน

ต่อหน้า 2
คลิกหน้าถัดไปด้านล่าง

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร สุภาพ เหมาะสม

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เหมาะสม สุภาพ ตอบคำถามทุกข้อที่เคยสงสัย

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร สุภาพ เหมาะสม
แต่งไว้ทุกข์อย่างไร สุภาพ เหมาะสม

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร ในภาวะที่หัวใจคนไทยทุกดวงเศร้าโศก การสูญเสียครั้งนี้ยิ่งใหญ่เกินว่าที่คนไทยจะละเลยถึงความเหมาะสม จุดแห่งความเหมาะสมไม่ได้แสดงออกเพียงแค่การแต่งกายสีดำ แต่คือการเลือกชุดที่สุภาพและถูกกาลเทศะ 

ขอเล่าย้อนกลับไปตามธรรมเนียมการแต่งกายไว้ทุกข์ของไทย สีของเสื้อผ้าจะเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียชีวิตและผู้แต่งกาย

  • สีดำ สำหรับผู้ที่แก่กว่าหรือมีศักดิ์สูงกว่าผู้ตาย
  • สีขาว สำหรับผู้ที่อ่อนกว่าหรือมีศักดิ์ต่ำกว่าผู้ตาย
  • สีม่วงแก่หรือสีน้ำเงิน สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตาย

โดยในการพระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ราษฎรจะต้องนุ่งขาวทั้งหมดเพื่อไว้ทุกข์ ต่อมาวัฒนธรรมสากลแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาท การแต่งกายไว้ทุกข์จึงเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีขาวดำ

ถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนมีข้อสงสัยว่า แต่งไว้ทุกข์อย่างไร จึงขอลิสต์รายละเอียดการแต่งกายที่เหมาะสม ไขข้อข้องใจจากกระทู้คำถามมากมายที่คราคร่ำในโลกโซเชียลตอนนี้

สีสุภาพ เหมาะสม ตรงกาลเทศะ

การแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยชุดสีดำล้วน

การใส่สีดำล้วนสุภาพที่สุด ในกรณีไม่มีสีดำล้วน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำเป็นพื้นฐาน คือมีสีดำในเครื่องแต่งกาย โดยสามารถใช้สีขาวหรือเทามาแซมได้ เช่น สีดำขาว หรือสีดำเทา

“ตามประเพณีไทย การแต่งกายของพสกนิกรไทยเพื่อไว้อาลัยต่อการสิ้นพระชนม์ของพระบรมวงศานุวงศ์นั้น จะต้องสวมเสื้อผ้าสีดำเป็นพื้นฐาน ใช้สีขาวและสีเทาสลับได้ เสื้อผ้าควรออกแบบอย่างสุภาพ ไม่มีลวดลาย” ซึ่งคุณธงทอง จันทรางศุ ได้เคยแนะนำไว้ในช่วงงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

สามารถใช้สีขาวหรือสีเทามาแซมได้

สามารถใช้สีขาวหรือสีเทามาแซมได้

 

การแต่งกายเพื่อร่วมถวายสักการะพระบรมศพ

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เพื่อร่วมถวายสักการะพระบรมศพ

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เพื่อร่วมถวายสักการะพระบรมศพ

แบบสุภาพ สีดำล้วน ผู้หญิงควรสวมใส่กระโปรงหรือเดรสยาวคลุมเข่า ไม่รัดรูป เสื้อไม่แขนกุด กางเกงสีดำแบบสุภาพ ไม่รัดรูปหรือเลกกิ้ง ถ้าสวมสูทให้ใช้สีดำ รองเท้าแคชชูส์หุ้มส้นสีดำ

ผู้ชายควรสวมใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว เน็คไทดำ กางเกงดำ หากจะสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคลุมให้ใช้สีดำ รองเท้าและถุงเท้าสีดำ

DOs ชุดสีดำสุภาพควรใส่ มีติดบ้านไว้ก็ไม่เสียหลาย

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร กางเกงขายาว เนื้อผ้าแบบสุภาพทั่วไป

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร กางเกงขายาวและกระโปรงคลุมเข่าสีดำ แบบเรียบ

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เดรสและกระโปรงยาวคลุมเข่าสีดำ แบบเรียบ

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เสื้อสีดำมีแขน แบบคอเสื้อสุภาพและไม่ลึกจนเกินไป

แต่งไว้ทุกข์อย่างไร เสื้อมีแขนหรือเสื้อเบลาส์สีดำ เครื่องประดับชิ้นเล็ก แบบสุภาพ

  • เสื้อมีแขน แบบคอเสื้อสุภาพ ไม่ลึกจนเกินไป คอปิดหรือเสื้อคอปก หรือเสื้อเบลาส์สีดำ
  • เดรสและกระโปรงมีความยาวคลุมเข่า แบบเรียบ
  • กางเกงขายาว เนื้อผ้าแบบสุภาพทั่วไป
  • เครื่องประดับชิ้นเล็กแบบสุภาพ

DON’Ts ชุดควรเลี่ยง เพื่อให้เกียรติ แสดงถึงความเคารพ

ควรหลีกเลี่ยงเสื้อแขนกุด คอคว้านลึก หรือเปิดไหล่

หลีกเลี่ยงเดรสและกระโปรงสั้นเหนือเข่า แต่งพู่ ระบายชั้นฟูฟ่อง เครื่องประดับดีไซน์แฟชั่นจ๋า

เลี่ยงเดรสสั้นเหนือเข่า รัดรูป คอคว้านลึก เปิดไหล่ หรือเว้าหลัง

เลี่ยงกระโปรงสั้นเหนือเข่า รัดรูป ดีไซน์หวือหวา หรือเสื้อคอคว้านลึก

  • เสื้อรัดรูป เสื้อแขนกุด จนถึงเสื้อคอคว้านลึกหรือเปิดไหล่ เกาะอก สายเดี่ยว เอวลอย เปิดเว้าหลัง
  • เดรสแขนกุด เดรสสั้นเหนือเข่า รัดรูป คอคว้านลึก เปิดไหล่ หรือเว้าหลัง
  • กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้นเหนือเข่า
  • ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ เดรส กางเกง หรือกระโปรง ควรเลี่ยงเนื้อผ้าและแบบที่หวือหวา เช่น ผ้าซีทรู การประดับปักลายเลื่อม กลิตเตอร์ แต่งพู่ ระบายชั้นฟูฟ่อง
  • การประโคมใส่เครื่องประดับชิ้นดีไซน์แฟชั่นจ๋า หวือหวาจนเกินงาม แม้จะอยู่ในโทนสีดำก็ตาม

มีชุดดำแบบแขนกุดก็สุภาพได้  

หากมีแต่เสื้อและเดรสแขนกุด ใช้เบลเซอร์หรือเสื้อสูทสีดำมาสวมทับก็ได้

หากมีแต่เสื้อและเดรสแขนกุด ใช้เบลเซอร์หรือเสื้อสูทสีดำมาสวมทับก็ได้

เสื้อแขนกุด เดรสแขนกุดไม่เรียบร้อย แนะนำให้หาแจ็กเก็ตแบบสุภาพ คือ Blazer หรือเสื้อสูทสีดำมาสวมทับ ยอมลงทุนซื้อแบบเนื้อผ้าและคัตติ้งดีสักตัว เพราะสามารถใส่ในลุคที่ต้องการความสุภาพและลุคโปรเฟสชันนัล ตั้งแต่สมัครงาน ประชุมสำคัญ จนถึงงานศพ

บรรดาแจ็กเก็ตหรือเสื้อคลุมทั้งหลายในโทนสีดำก็ใช้ได้เช่นกัน แต่ระดับความเป็นทางการจะลดลงมา  อีกทางเลือกคือ ใช้ผ้าพันคอหรือผ้าคลุมไหล่โทนสีดำคลุม

คุณแม่ตั้งท้องทำอย่างไร

สำหรับคุณแม่ท้องใช้ผ้าพันคอหรือเสื้อคลุมสีดำสวมทับชุดคลุมท้อง

ชุดคลุมท้องสีดำไม่ค่อยเป็นที่นิยม จึงหาได้ยาก จุดนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป อาจจะใช้ผ้าพันคอสีดำหรือเสื้อคลุมสีดำมาสวมทับ กลัดโบหรือริบบิ้นสีดำ (Mourning Ribbon) ไว้ที่หน้าอกหรือแขนเสื้อซ้ายเหนือข้อศอกก็ได้เช่นกัน

เสื้อสีดำไม่ค่อยมี เสื้อสีขาวหรือสีดำมีไม่ครบวัน ใส่กางเกงยีนได้ไหม ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

เลือกโทนสีเข้มเป็นหลัก สีกรมท่า สีเทา สีน้ำตาลเข้ม เลี่ยงสีฉูดฉาด ขอให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสม ในกรณีที่จะสลับใส่กางเกงยีน ขอให้มั่นใจว่าเป็นแบบไม่ฟอกลายหรือแต่งขาด เลือกในโทนสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม โดยเสื้อท่อนบนก็ยังควรอยู่ในโทนสีสุภาพ #ติดริบบิ้นดำไว้ที่หน้าอกหรือแขนเสื้อซ้ายเหนือข้อศอก

เจตนาอยู่เหนือปัจจัย ในช่วงเวลานี้หัวใจคนไทยทุกดวงควรส่งกำลังใจให้กันไม่ใช่หรือ

พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521 ความว่า “คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไปและเดี๋ยวนี้ ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติ ประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้”

หวังว่าคำสอนของพ่อจะทำให้หัวใจดวงอื่นที่ถูกดึงด้วยปัจจัยกลับมากอดแน่นๆ กับหัวใจดวงอื่นเหมือนเดิม เพราะเราเป็นลูกของพ่อคนเดียวกัน 

PHOTO : pinterest.com, stylebop.com, barneys.com, whowhatwear.com, polyvore.com, shopstyle.com, uniqlo.com/th, pandorathailand

รวมภาพประทับใจนางฟ้าแห่งภูฏาน พระจริยวัตรอันงดงามหมดจด ไม่ถือพระองค์ แม้ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี

ข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น นอกจากจะนำความเศร้าโศกเสียใจมายังชาวไทยทั้งประเทศแล้ว อีกฟากฝั่งของประเทศเล็กๆอย่างราชอาณาจักรภูฏาน ก็ส่งสารแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังประเทศไทยทันที อีกทั้งสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ก็มีพระราชบัญชาปิดราชการภายในประเทศ 7 วัน พร้อมกับสวดมนต์เพื่อถวายความอาลัย

queen-phutan-9

และยิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยซาบซึ้งเป็นอย่างมาก เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานเสด็จเยือนประเทศไทยพร้อมกับสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559 เพื่อเข้ามาถวายความเคารพต่อหน้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งสองพระองค์ยังคงมีพระจริยวัตรอันงดงาม ไม่ถือพระองค์แต่อย่างใด แต่กลับยกมือไหว้ประชาชนคนไทยที่มาร่วมรับเสด็จในวันนั้นด้วย

queen-phutan-7

ทั้งนี้สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก พระองค์ก็เป็นหญิงสาวที่มีความสง่างามอย่างมาก อีกทั้งพระจริยวัตรก็สมดั่งเป็นสมเด็จพระราชินีเคียงคู่กับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน ทรงอยู่ง่ายและติดดินอย่างมาก ซึ่งหากใครได้เคยเห็นพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อประชาชนชาวภูฏาน ก็จะเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงเป็นนางฟ้าแห่งภูฏานโดยแท้

queen-phutan-3

queen-phutan-4

queen-phutan-5

queen-phutan-6

และกับการเสด็จเยือนประเทศครั้งนี้ก็ยิ่งสร้างความประทับใจให้กับพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่พระองค์เสด็จมาถวายความเคารพพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรียบร้อยแล้ว พระองค์เสด็จมาซื้อของให้กับพระราชโอรสเยี่ยงสามัญชนคนธรรมดา โดยมีผู้ติดตามเพียงคนเดียว ซึ่งในเฟซบุ๊กของหญิงไทยคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์ก็ได้ร่วมฉายพระรูป พร้อมกับโพสต์ลงอินสตาแกรมและพิมพ์ข้อความถึงความประทับใจครั้งนี้ด้วยว่า

queen-phutan-8

ภาพ: IG nalinympn

“นับเป็นบุญสูงสุดของข้าพระพุทธเจ้าและครอบครัว ที่ได้เฝ้าท่านใกล้ชิดเป็นครั้งที่สอง ทรงเสด็จมาซื้อของให้เจ้าชายน้อย ทรงพระดำเนินปะปนกับสามัญชนทั่วไปโดยมีคนติดตามเพียง 1 คน จนทำให้คนแถวๆนั้นไม่ได้สังเกตว่าพระองค์เป็นใคร แต่เรากับแม่จำได้เลยเดินเข้าไปก้มกราบ ทรงดึงแม่ให้ลุกขึ้นแล้วจับมือ แม่ร้องไห้ ท่านเข้ามากอด แล้วตรัสว่า I’m so sorry for your loss. Our country is very sad. หลังจากนั้นก็เอื้อมมือมาจับมือเรา เราน้ำตาไหล ท่านรับสั่งให้ดูแลแม่ให้ดีๆ และยกพระหัตถ์ไหว้แม่ด้วย…ปลื้มใจจนเกินจะหาคำใดๆมาพูดได้ ทรงเป็นถึงพระราชินี แต่ไม่ถือพระองค์เลยแม้แต่นิดเดียว ทรงสามารถซื้อของแบรนด์เนมได้เท่าที่ต้องการ แต่กลับเลือกแบรนด์ธรรมดาๆ…เราเชื่อว่าสมเด็จพระราชาจิกมีและพระองค์ท่านจะเป็น The Greatest King and The Greatest Queen และทรงสอนเราด้วยการกระทำว่าท่านกำลังดำเนินรอยตามปรัชญาพอเพียงอย่างที่พ่อหลวงของเราได้สอนไว้…สัญญากับตัวเองว่าจะต้องไปเที่ยวประเทศภูฏานให้ได้สักครั้งในชีวิต”

 

 

เรื่องเล่าตามรอยเท้าพ่อ

เรื่องเล่าตามรอยเท้าพ่อ จากอดีตนายแพทย์ที่ตามเสด็จเป็นเวลาเกือบ 20 ปี ตั้งแต่เหนือจรดใต้

เรื่องเล่าตามรอยเท้าพ่อ
เรื่องเล่าตามรอยเท้าพ่อ

แพรวได้รับเกียรติจาก “พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา” อดีตนายแพทย์ที่ได้โอกาสตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ไปยังพื้นที่ทุรกันดาร ตั้งแต่เหนือจรดใต้ของประเทศไทย เป็นเรื่องเล่าทรงคุณค่าที่แพรวอยากให้คนไทยทุกคนได้อ่าน

พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา เล่าว่า เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าปี พ.ศ. 2516 โดยเป็นทั้งแพทย์และครูสอนนักศึกษา พอทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้ 1 ปี จากนั้นได้ทราบข่าวอันเป็นมงคลสูงสุดของชีวิตว่า นายแพทย์ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (ท่านน้าของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) ต้องการแพทย์ผู้ช่วยในการตามเสด็จ เวลาเสด็จฯไปทรงงานทั่วประเทศ ท่านอยากได้ผู้ช่วยผลัดละ 2 คน ทำงานผลัดละ 14 วัน ตอนทราบข่าวว่าได้รับเลือก ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก เป็นโอกาสวิเศษสุดของชีวิตที่ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผมยังจำได้ไม่ลืมเกี่ยวกับข้อคิดสำหรับแพทย์ที่ตามเสด็จ มีทั้งหมด 4 ข้อ คือ หนึ่ง มีความรู้ความสามารถในวิชาการนั้นๆ สอง จงรักภักดีต่อราชวงศ์ สาม สามารถเข้ากับสังคมในพระราชสำนักได้ สี่ มีความเต็มใจ เพราะงานนี้ไม่มีการบังคับ ซึ่งผมก็รับคำด้วยความเต็มใจ

พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา
พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์ตามเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9

ในครั้งนั้นมีทีมแพทย์ถึง 4 ผลัดที่สลับสับเปลี่ยนกันทำงาน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์เดียวที่ทรงงานตลอดเวลา โดยจะทรงงาน 3 วัน พัก 1 วัน ทริปนั้นรวมเวลาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 พระองค์เสด็จฯไปหลายแห่ง ทั้งเชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เป็นการเสด็จฯทั้งทางรถยนต์ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบิน ในแต่ละวันกว่าจะเสด็จฯกลับถึงพระตำหนักก็เป็นเวลา 2 – 3 ทุ่ม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โปรดการขับรถยนต์มาก บ่อยครั้งพระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปทรงงานตามพื้นที่ทุรกันดารด้วยพระองค์เอง ครั้งที่ผมจำได้ไม่ลืมเลยคือตอนเสด็จฯไปภาคใต้ ตอนนั้นผมอยู่ในขบวนรถตามเสด็จประมาณคันที่ 3 ซึ่งระหว่างทางสะพานข้ามคลองเกิดชำรุด คนที่อยู่ในรถคันเดียวกันกับผมยังคุยกันว่าจะไปต่ออย่างไร แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งลุยน้ำข้ามคลองไปฝั่งตรงข้าม พอทุกคนเห็นอย่างนั้นจึงต้องลุยตาม (หัวเราะ) โอ้โฮ…น้ำไหลโครมเข้ามาข้างในรถ ถ้าเป็นเรื่องช่วยเหลือชาวบ้าน พระองค์ท่านถึงไหนถึงกันจริงๆ ถ้าตั้งพระทัยแน่แล้วว่าวันนี้จะทรงงานที่ไหน จะทรงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่

พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา เล่าถึงการตามเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9

หลายครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปทรงงานด้วยพระองค์เองจากพระตำหนักไปหลายพื้นที่ ทั้งในจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี บางแห่งมีการเปิดเต็นท์รักษาประชาชนที่เจ็บป่วย เชื่อไหมว่าบางเคสผมเห็นแล้วตกใจมาก อย่างเด็กคนหนึ่งเป็นฝีที่บั้นท้ายจนผิวหนังเหี่ยวย่น หนองบวมเป่ง ผมบอกเด็กคนนั้นว่าอดทนหน่อยนะ จากนั้นก็กรีดหนองแตกกระเด็นมาโดนหน้าผม (หัวเราะ) สิ่งที่อยากบอกคือ คนต่างจังหวัดในสมัยนั้นลำบากมาก โรงพยาบาลหรืออนามัยก็ไม่ได้มีมากเหมือนวันนี้ ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไม่เสด็จฯไปทรงช่วยเหลือ ไม่รู้ว่าหลายพื้นที่ต้องอยู่ในสภาพนั้นอีกนานแค่ไหน เหมือนเจ้าเด็กน้อยคนนั้น พอรักษาเสร็จก็ยิ้มแป้นกลับบ้าน แล้วทุกครั้งที่คณะแพทย์ต้องรักษาชาวบ้านในพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระเมตตาต่อพวกเรามาก อย่างครั้งหนึ่งขณะที่ผมกำลังรักษาคนไข้อยู่ แต่ถึงเวลาที่พระองค์ต้องเสด็จฯกลับพระตำหนักแล้ว แต่เมื่อเห็นคณะแพทย์ยังทำงาน จึงรับสั่งถามผมว่า “อีกนานไหมหมอ” พอผมตอบว่า เหลือคนไข้อีก 3 คนพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงพยักพระพักตร์ แล้วทรงพระดำเนินไปคุยกับผู้ว่าราชการต่อ พระองค์ทรงรอให้แพทย์ทุกคนทำงานจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วจึงออกเดินทางกลับพระตำหนักพร้อมกัน ทั้งที่ความจริงแล้วจะเสด็จฯกลับก่อนก็ได้

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้รับพระเมตตาอย่างสูงคือ ถ้าพื้นที่บางแห่งมีคนไข้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ เช่น ไทรอยด์ หรือเนื้องอกที่เต้านม แบบนี้ต้องส่งไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะนัดให้คนไข้ไปเวลาเช้ามากๆ เพราะช่วงบ่ายต้องตามเสด็จไปทรงงานต่อ แต่ความที่บางวันมีคนไข้ 3 – 4 เคส กว่าจะกลับถึงพระตำหนักก็บ่าย 2 โมง หิวข้าวซ่กเลย แต่นั่นเป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ต้องเสด็จฯออกไปทรงงานแล้ว พอความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงรับสั่งว่า อย่าเพิ่งให้หมอชูฉัตรตามเสด็จ ให้พักกินข้าวก่อน ประมาณ 3 โมงเราค่อยออกไป

คุณหมอชูฉัตรครั้งตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผมยังจำเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่สกลนครได้ ตอนที่พระองค์เสด็จฯถึง มีราษฎรรอรับเสด็จสองข้างทางยาวเหยียดเลย จู่ๆ มีชายคนหนึ่งกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ว่า “ขอสตางค์พระเจ้าค่ะ” พวกเราที่ตามเสด็จก็ตกใจกันใหญ่ แต่พระองค์ทรงถามชายคนนั้นว่า “นายชื่ออะไร ทำอาชีพอะไร ทำไมจึงไม่มีเงิน เป็นคนของหมู่บ้านไหน อำเภออะไร” หลังจากนั้นรับสั่งให้ตามผู้ใหญ่บ้านกับกำนันมาพบ กลายเป็นเรื่องใหญ่โต พระองค์ไม่ได้ทรงเรียกคนเหล่านั้นมาต่อว่านะครับ แต่ทรงถามด้วยความเป็นห่วงว่า ทำไมชายคนนี้ไม่มีเงิน ถ้าเขามีอาชีพ ต้องมีรายได้ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นห่วงราษฎรและทรงละเอียดมาก ทรงไม่ปล่อยผ่านแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย พระองค์ตั้งพระทัยช่วยเหลือราษฎรให้มากที่สุดเท่าที่ทรงทำได้

อีกครั้งที่ภาคใต้ ผมจำไม่ได้ว่าจังหวัดอะไร มีราษฎรมารับเสด็จกันเนืองแน่น จนผมแอบคิดไม่ได้ว่าคนทั้งเมืองมาอยู่ที่นี่กันหมดหรือเปล่า ชาวบ้านหลายคนเข้ามากราบ ขอจับพระหัตถ์ไปกอด จับพระบาทลูบไปมา ไม่ว่าราษฎรจะแสดงความรู้สึกจงรักภักดีเนิ่นนานแค่ไหนก็รับสั่งไม่ให้กีดกันเวลาราษฎรเข้าเฝ้าฯ กระทั่งครั้งหนึ่งความที่มีชาวบ้านจำนวนมาก เล็บของสักคนข่วนโดนพระหัตถ์ขวาของพระองค์จนพระโลหิตไหล ผมเห็นพระองค์ทรงสะดุ้ง แต่ไม่ได้รับสั่งว่าอะไร เพียงแต่ทรงพระดำเนินมาหาผม เพื่อขอให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลและติดปลาสเตอร์ยาที่พระหัตถ์ หลังจากนั้นจึงทรงพระดำเนินกลับไปหาชาวบ้านต่ออีกเป็นเวลานาน

พลเอก ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา ทำแผลให้ในหลวงรัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงขอให้คุณหมอชูฉัตรใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลและติดปลาสเตอร์ยาที่พระหัตถ์

พอเล่าถึงเรื่องนี้ ทำให้ผมไม่รู้สึกแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดหลายปีที่ผ่านมานี้ เวลามีข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯมาประทับที่โรงพยาบาลศิริราช หรือวันที่เสด็จฯกลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จึงมีผู้คนมากมายไปนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล เพื่อรอเข้าเฝ้าฯและถวายพระพรทรงพระเจริญ เพราะหลายสิบปีก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงทำหลายสิ่งอย่างเพื่อประเทศไทยและคนไทย พระองค์ทรงมีแต่ให้อย่างแท้จริง

ที่มา : คอลัมน์สัมภาษณ์ นิตยสารแพรว  ฉบับที่ 871

เศร้าไม่แพ้กัน ชาวไทยในนิวยอร์กพร้อมใจกันออกมาส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย 

ถึงแม้จะอยู่กันคนละมุมโลก แต่ความรักที่ประชาชนชาวไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นไม่ได้น้อยไปกว่ากันเลย

หลังจากสำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนลงนามถวายความอาลัยที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยเปิดให้ลงนามแต่เวลา 08.30 -16.00 น. และจะเปิดให้ลงนามถวายความอาลัย ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ บรรยากาศบริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ช่วงเช้าได้มีประชาชนแต่งกายด้วยชุดดำมายืนเฝ้าอยู่รอบบริเวณรั้ววังเป็นจำนวนมาก แม้แต่คนไทยในต่างแดน เช่น รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้พร้อมใจกันออกมาร่วมส่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สู่สวรรคาลัย ณ บริเวณ Union Square ด้วยเช่นกัน

โดยบรรยากาศในงานต่างเต็มไปด้วยความโศกเศร้าไม่ต่างจากที่ไทย เพราะหลายคนที่ติดภาระกิจทำให้ไม่สามารถกลับไทยเพื่อส่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สู่สวรรคาลัยได้ จึงได้จัดงาน ณ บริเวณ Union Square ให้เป็นจุดรวมตัวของคนที่อยากมาไว้อาลัย บ้างก็นำดอกไม้ ธูปเทียนมากราบไหว้ บ้างก็ถือ พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาร่วมส่งเสด็จด้วยเป็นจำนวนมาก และไม่ใช่แค่คนไทยในนิวยอร์กเท่านั้นที่มาร่วมไว้อาลัย แม้แต่ชาวต่างชาติก็ออกมาจุดเทียน และร่วมไว้อาลัยด้วยเช่นกัน

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13
เรื่อง : saipiroon_แพรวดอทคอม
ภาพ : ชมรมคนไทยในนิวยอร์ก, Poupay Jutharat‎, Chaw Khana, here

89 เรื่องในหลวง สร้างแรงบันดาลใจ

89 เรื่องของในหลวง แรงบันดาลใจของพสกนิกรไทยทั้งชาติ

89 เรื่องในหลวง สร้างแรงบันดาลใจ
89 เรื่องในหลวง สร้างแรงบันดาลใจ

อันว่าพระนาม “ภูมิพล” แปลว่า กำลังของแผ่นดิน ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำให้พสกนิกรประจักษ์ชัดเสมอมาว่าพระองค์ทรงใช้ธรรมาภิบาลในการสร้าง “ชนเจริญ ชาติจรุง กรุงจรัส” อย่างแท้จริง

 

ในหลวง

 

‘สมเด็จย่า’ ต้นแบบแห่งชีวิต

  1. ตลอดระยะเวลาของการทรงเป็นยุวกษัตริย์ ในหลวงทรงเชื่อฟังพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็นอย่างดี คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเป็นจอมปราชญ์ที่ทรงพระอัจฉริยภาพในหลากหลายศาสตร์ศิลป์นั้น ล้วนเกิดจากการน้อมนำเอาพระราโชวาทของพระราชมารดามาปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชปณิธานที่ทรงปรารถนาให้พสกนิกรไทยอยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า
  2. ถ้อยรับสั่งสอนของสมเด็จย่าที่มีต่อในหลวงนั้น มักทรงเน้นย้ำในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมในด้านความรับผิดชอบเป็นหลัก ดังพระราโชวาทหนึ่งที่มีความว่า “ในครอบครัวเรา ความรับผิดชอบเป็นของที่ไม่ต้องคิด เป็นธรรมชาติ สิ่งที่สอนอันแรกคือ เราจะทำอะไรให้เมืองไทย ถ้าไม่มีความรับผิดชอบจะไปช่วยเมืองไทยได้อย่างไร…”
  3. ทุกครั้งที่สมเด็จย่าตรัสสอนไม่ว่าเรื่องใด ในหลวงจะทรงนำกระดาษมาจดและมีพระราชดำรัสตอบว่า “อยากฟังแม่สอนอีก” อยู่เสมอ

89 เรื่องในหลวง สร้างแรงบันดาลใจ

 

‘วินัย อดออม ให้’ พร 3 ประการ คัมภีร์แห่งความพอเพียง

  1. ในหลวงทรงเป็นตัวอย่างของการรู้จักอดออม เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ได้กราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีกัน สมเด็จย่ารับสั่งตอบว่า “ลูกอยากได้ก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อ”
  2. เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา ในหลวงทรงซื้อกล้องถ่ายรูปกล้องแรกด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์
  3. ในหลวงทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย และเมื่อทรงได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
  4. ความมัธยัสถ์ถือเป็นคุณูปการสำคัญที่ทำให้ในหลวงทรงเรียนรู้หลักความพอเพียงสมถะมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จนกระทั่งสมเด็จย่ามีพระดำรัสในเวลาต่อมาว่า “ในสวนจิตรเนี่ย คนที่ประหยัดที่สุดคือ ในหลวง ประหยัดที่สุดทั้งน้ำ ทั้งไฟ เรื่องฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยไม่มี”
  5. ในหลวงทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก “การให้” โดยสมเด็จย่าทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า “กระป๋องคนจน” เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ 10 เปอร์เซ็นต์ ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุม เพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้าหรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
  6. ตราบจนเสด็จขึ้นครองราชย์ ในเรื่องของใช้ส่วนพระองค์ พระองค์ก็ยังทรงไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องใช้ของแพง หรือต้องเป็นแบรนด์เนม ไม่โปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้นนาฬิกา
  7. เรื่องหนึ่งที่มีคนพูดกันแพร่หลาย แต่ความจับจิตจับใจก็ไม่เคยเสื่อมคลาย นั่นคือเรื่องหลอดยาสีพระทนต์ที่พระองค์ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดที่ปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากพระองค์ทรงใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และกดเป็นรอยบุ๋มนั่นเอง
  8. พระองค์ไม่โปรดการใช้ปากการาคาแพง ในปีหนึ่งๆ ทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่งเท่านั้น โดยใช้เดือนละแท่งจนกุด
  9. อาจพูดได้ว่า การถวายของแด่ในหลวงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
  10. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่าง แม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
  11. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกาลงข่าวลือเกี่ยวกับพระองค์ว่าแซ็กโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ จึงมีพระราชดำรัสว่า “อันนี้ไม่จริงเลย สมมุติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก”

 พระราชาผู้ทรงธรรม

 

พระราชาผู้ทรงธรรม

  1. ช่วงเวลาที่ทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499 ถือเป็นช่วงเวลาของการบ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรมในพระราชหฤทัยได้อย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นไปตามพระราชปณิธานที่ตั้งมั่นในการทรงผนวชมาก่อนหน้านี้แล้วว่า “…พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเอง ก็เห็นเป็นศาสนาดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบธรรม คำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล ซึ่งเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี…”
  2. แม้พระองค์ทรงผนวชในระยะเวลาอันสั้น แต่ธรรมะที่ทรงน้อมนำมาใช้ในการปกครองไพร่ฟ้าประชาชนกลับสืบทอดยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะไม่ได้ทรงผนวชด้วยพระวรกายแค่เพียงอย่างเดียว ทว่ากลับทรงผนวชด้วยพระราชหฤทัยที่ถึงพร้อม ดังพระโอวาทของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ความว่า “…การทรงผนวชวันนี้เป็นประโยชน์มาก…บวชด้วยกายอย่างหนึ่ง บวชด้วยใจอย่างหนึ่งถ้าทั้งสองอย่างผสมกันเข้าแล้วจะเป็นกุศล…”
  3. ในหลวงทรงมีความสนพระราชหฤทัยในธรรมะชั้นสูงในขั้นปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อให้ทรงมีสมาธิตั้งมั่นอยู่กับการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรได้อย่างเต็มพระกำลัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักบำเพ็ญธรรมส่วนพระองค์ไว้ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นสถานที่วิเวก เหมาะอย่างยิ่งแก่การเจริญภาวนา ทั้งนี้ทรงปฏิบัติสมาธิเป็นประจำและประทับเป็นเวลานานด้วย
  4. ก่อนที่จะทรงงานทุกครั้ง พระองค์จะเสด็จเข้าห้องสวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิจิตใจให้สงบระยะหนึ่งแล้วจึงทรงงาน ทรงเคยมีพระราชปรารภว่า การที่พระองค์ทำเช่นนั้นรู้สึกว่างานได้ผลดี เพราะเมื่อมีสมาธิในการทำงาน งานที่ทำก็ทำได้อย่างมีระเบียบเรียบร้อยได้คุณภาพดี และจิตใจก็ปลอดโปร่งแจ่มใสด้วย
  5. ในหลวงมีพระราชจริยวัตรที่พิเศษอีกประการหนึ่งซึ่งคนทั่วไปปฏิบัติได้ยากคือ ในคืนวันธรรมสวนะ (วันพระ) พระองค์จะทรงรักษาอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด
  6. ทุกวันจันทร์พระองค์จะทรงถวายสังฆทานเป็นนิตย์ ด้วยตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ ซึ่งราชกิจวัตรนี้ได้ทรงกระทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดต่างๆ มารับสังฆทานภายในพระตำหนัก
  7. ยามใดที่มีพระอาจารย์ที่มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสเดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานคร พระองค์จะทรงอาราธนาภิกษุเข้าไปแสดงธรรมหรือร่วมสนทนาธรรมในพระราชฐานทุกครั้ง
  8. ทาน หรือการให้ของในหลวงมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทานประเภทแรกที่พระองค์พระราชทานให้แก่นิกรชนมาโดยตลอดคือ “ธรรมทาน” เห็นได้จากหลายหลากพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่มีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรทุกวุฒิวัยน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ คุณธรรมด้านความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความมีเมตตา และความเสียสละ เป็นต้น
  9. ทรงเปี่ยมไปด้วยพระราชจริยวัตรที่สุขุมคัมภีรภาพ มีพระราชปฏิสันถารกับพสกนิกรอย่างเป็นกันเองและไม่ทรงถือพระองค์ถึงแม้บุคคลผู้นั้นจะต่างชั้นชนหรือมีฐานะยากจนสักเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุสงฆ์หรือนักบวชในแต่ละศาสนา พระองค์จะทรงให้เกียรติเป็นอย่างมาก ดังเช่นตอนที่องค์กรพุทธศาสนาฝ่ายฆราวาสในประเทศไทยได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์จากต่างประเทศเข้ามาถวายพระพร ในพิธีนี้พระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้ามาเป็นประธานในพิธีด้วย กล่าวคือ สมเด็จพระญาณสังวรและสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่ามกลางเถรานุเถระมากมาย พระองค์ทรงพระดำเนินเข้าไปตรงที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช พร้อมทรงคุกเข่าลงนมัสการ หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการ เถรานุเถระทั้งหลายต่างสรรเสริญชื่นชมในพระราชจริยวัตรอันอ่อนโยนว่า “เกิดมาไม่เคยเห็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรุดพระองค์ลงกราบพระภิกษุ ที่บ้านเมืองเขาไม่เคยเห็น เป็นที่ประทับใจมาก”
  10. ในหลวงทรงเป็นผู้ครองธรรมโดยแท้ ทรงเปี่ยมไปด้วยสายธารพระราชหฤทัย อันเป็นดั่งน้ำใส ดับไฟแห่งความโกรธให้กลับเยือกเย็นสุขุมคัมภีรภาพ ทรงแก้ไขสรรพปัญหาบนพื้นฐานของความมีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์พิโรธอันเป็นบ่อเกิดแห่งหายนะนั้นไม่เคยทรงบังเกิดขึ้นเลยในน้ำเนื้อ เพราะทรงครองสติสัมปชัญญะเป็นที่ตั้ง
  11. บทเพลงพระราชนิพนธ์ แสงเทียน ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมานั้น ทรงอุปมาแสงเทียนเสมือนชีวิตของมนุษย์ที่ทุกคนเกิดมาล้วนต้องตาย เพราะสังขารคือสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ อันประกอบด้วย “อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา” ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา อนึ่ง คำร้องในบทเพลงพระราชนิพนธ์นี้ยังชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการกระทำ หากผู้ใดกระทำกรรมดีย่อมได้รับผลดีเป็นการตอบแทน แต่หากผู้ใดคิดต่ำ ทำชั่ว ย่อมทำให้ได้รับความทุกข์ทรมานเป็นเงาตามตัว สอดรับกับคำร้องท่อนหนึ่งของบทเพลงพระราชนิพนธ์นี้ว่า “โอ้ชีวิตหนอล้วนรอความตายทุกคน หลีกไปไม่พ้นทุกข์ทนอาทรร้อนใจต่างคนเกิดแล้วตายไป ชดใช้เวรกรรมจากจร นิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยงเสี่ยงบุญกรรม ทุกคนเคยทำกรรมไว้ก่อน”

 

ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

  1. แม้ในหลวงจะทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะ หรือธรรมทายาททางพระพุทธศาสนา แต่ก็ทรงดำรงพระองค์ในฐานะอัครศาสนูปถัมภกควบคู่กันไปด้วย เพราะทรงให้อิสระแก่ราษฎรในการเลือกครรลองเสริมสร้างความปกติสุขในชีวิตด้วยหลักคำสอนของแต่ละศาสนาอย่างเท่าเทียม ด้วยทรงตระหนักดีว่า จุดมุ่งหมายของแต่ละศาสนาล้วนแล้วแต่ปรารถนาให้ศาสนิกชนดำรงตนเป็นคนดี มีจริยธรรมด้วยกันทั้งสิ้น นี่เป็นเหตุว่า ทำไมพระองค์จึงทรงส่งเสริมทะนุบำรุงทุกศาสนาโดยทั่วถึงกันมาตลอด
  2. ครั้งหนึ่งในหลวงมีพระราชกระแสให้จุฬาราชมนตรีแปลความหมายของคัมภีร์อัลกุรอานจากฉบับภาษาอาหรับให้เป็นภาษาไทยและได้พิมพ์แจกจ่ายแก่มัสยิดหลายแห่งทั่วราชอาณาจักร โดยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานตอนหนึ่ง ความว่า “…คัมภีร์อัลกุรอานมิใช่จะเป็นคัมภีร์สำคัญในศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ยังเป็นวรรณกรรมสำคัญของโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งมหาชนยกย่องและได้แปลเป็นภาษาต่างๆ การแปลออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยครั้งนี้ เป็นการสมควรชอบด้วยเหตุผลอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นการช่วยเหลือในอิสลามิกบริษัทในประเทศไทยที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะในศาสนาได้สะดวกและแพร่หลาย”

ทรงพระอัจฉริยภาพในศาสตร์และศิลป์

ทรงพระอัจฉริยภาพในศาสตร์และศิลป์

ทรงพระอัจฉริยภาพในศาสตร์และศิลป์

  1. ในหลวงทรงสนพระทัยการวาดภาพตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาและฝึกหัดการวาดภาพ ด้วยการทรงซื้อตำราการเขียนภาพมาศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง และทรงฝึกหัดวาดภาพเรื่อยมา กระทั่งเสด็จนิวัตประเทศไทยก็โปรดให้จิตรกรที่มีความสามารถเข้าเฝ้าฯ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อให้เหล่าศิลปินร่วมโต๊ะเสนอและทรงให้แต่ละบุคคลวิจารณ์ผลงานฝีพระหัตถ์ ซึ่งทรงเปิดพระทัยรับคำติชมอย่างไม่มีอคติ
  2. เมื่อพระองค์เสด็จฯไปยังที่ใดก็มักจะทรงนำกล้องถ่ายภาพติดพระองค์เสมอ โปรดที่จะถ่ายภาพบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่เนืองๆ และบันทึกเหตุการณ์สำคัญ ทรงสนับสนุนให้ใช้การถ่ายภาพเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่เพียงเพื่อบันทึกความสวยงามหรือเพียงเพื่อความรื่นเริงใจ ดังพระราชดำรัสว่า…“ศิลปะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาประเทศได้อีกทางหนึ่ง”
  3. การถ่ายภาพยนตร์ เป็นอีกพระอัจฉริยภาพหนึ่งของในหลวงโดยเมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครนั้นทรงนำกล้องถ่ายภาพยนตร์มาทรงถ่ายประชาชนที่เฝ้าฯรับเสด็จอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ทรงริเริ่มให้สร้างภาพยนตร์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ซึ่งได้มีการจัดฉายเพื่อหารายได้จากผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลโดยทรงนำไปช่วยเหลือพสกนิกรในด้านต่างๆ เช่น สภากาชาดไทย โรงพยาบาลภูมิพล กิจกรรมป้องกันรักษาโรคโปลิโอ เป็นต้น
  4. ในหลวงทรงสนพระราชหฤทัยเรื่องดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงศึกษาวิชาดนตรีขั้นพื้นฐานอย่างจริงจังตามคำแนะนำจากพระอาจารย์อย่างเข้มงวดนานกว่า 2 ปี ทรงได้รับการฝึกฝนตามแบบการดนตรีอย่างจริงจัง เครื่องดนตรีที่โปรดคือเครื่องเป่าทุกชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต และยังทรงกีตาร์ ทรงเปียโนได้ด้วย โปรดการทรงดนตรีมาก โดยเฉพาะดนตรีแจ๊ส ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญดนตรีประเภทนี้มาก โดยหนังสือพิมพ์ โฮโนลูลู แอดเวอร์ไทซิ่ง ได้ถวายพระนามว่าพระองค์ทรงเป็น “ราชาแห่งดนตรีแจ๊ส”
  5. ในหลวงทรงตั้งวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ สำหรับการทรงดนตรีกับวงนี้ เพื่อพระองค์จะได้ทรงใช้เวลานี้เป็นการทรงพระสำราญพระอิริยบถและบรรเลงดนตรีออกอากาศเผยแพร่ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ที่พระองค์ทรงตั้งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารกับพสกนิกรของพระองค์ในอีกทางหนึ่ง

ทรงอุทิศทั้งชีวิตเพื่ออาณาประชาราษฎร์

 

ทรงอุทิศทั้งชีวิตเพื่ออาณาประชาราษฎร์

  1. หลังขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จฯกลับไปยังสวิสอีกครั้ง เพื่อทรงศึกษาวิชากฎหมายและการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงตั้งพระทัยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศเกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อนำมาเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
  2. ทรงเป็นตัวอย่างของผู้ที่เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะทรงถือว่า “การให้และการเสียสละเป็นการกระทำอันมีผลกำไร” กล่าวคือ กำไรแห่งความอยู่ดีมีสุขของปวงประชา ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็น “มูลค่า” แต่กลับมี “คุณค่า” ทางจิตใจมากกว่าเข้าทำนองที่ว่า “ขาดทุนคือกำไร”
  3. ในหลวงทรงมีความเพียรพยายามอันเป็นหนึ่งในคุณธรรมจริยธรรมที่บริบูรณ์ยิ่ง สังเกตได้จากหลากหลายโครงการพระราชดำริที่ทรงริเริ่มขึ้น ล้วนประสบสัมฤทธิผลได้ด้วยพระราชวิริยอุตสาหะเป็นสำคัญ สอดคล้องกับวิริยบารมีของพระโพธิสัตว์ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มหาชนก แปลว่า “พ่อผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งมีพระราชประสงค์ในการปลูกฝังให้คนไทยทุกภาคส่วนมีความเพียรพยายามในการทำงานและทำความดี สอดคล้องกับพระราชปรารภที่ว่า “ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลังกายที่สมบูรณ์”
  4. พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เคยเล่าถึงการจดจ่อทรงงานของในหลวงว่า “พระองค์ทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จ หรือความล้มเหลวอันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น
  5. ในหลวงทรงตระหนักอยู่เสมอว่า ความทุกข์ยากของพสกนิกรย่อมเปรียบเสมือนความทุกข์ยากของพระองค์เอง จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคนไทยจึงมักเห็นภาพพระพักตร์ของพระองค์ที่เต็มไปด้วยหยาดพระเสโท อันเป็นผลมาจากความตรากตรำพระวรกาย จนไพร่ฟ้าประชาชนต่างกล่าวขานกันว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก ทรงเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำ หยุดๆ ดังนั้นพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้นจึงสำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่
  6. ภาพที่พระองค์มักทรงถือแผนที่ด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทรงจับปากกา พระศอสะพายกล้องถ่ายรูป ได้กลายเป็นภาพที่ชินตาและอยู่ในหัวใจของราษฎรไทยทุกภาคส่วน อุทิศพระองค์เพื่อทรงงานหนัก โดยไม่ทรงเห็นแก่ความตรากตรำพระวรกาย ในบางครั้งรถพระที่นั่งต้องฝ่าเข้าไปในกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก หากรถไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ พระองค์ก็เสด็จฯลงจากรถเพื่อทรงพระดำเนินต่อไปด้วยสองพระบาท
  7. พระองค์มีพระราชประสงค์ในการใช้ “สายพระเนตร”สอดส่องสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตราษฎร ใช้ “สองพระกรรณ”สดับรับฟังความเดือดร้อนของพสกนิกรจากปากของพวกเขาเอง แล้วทรงใช้ “พระปัญญา” คิดวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จากนั้นทรงใช้ “พระหัตถ์” ลงมือปฏิบัติทดลองด้วยพระองค์เอง ทั้งหมดนี้ด้วยทรงเล็งเห็นว่าความทุกข์ยากของประชาชนนั้น หากไม่ลงมือแก้ไขให้เป็นรูปธรรมก็ย่อมไม่เกิดคุณประโยชน์อันใดขึ้นมา
  8. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปเยี่ยมเยือนราษฎรในท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จะทรงไต่ถามทุกข์สุขหรือความต้องการของประชาชน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกร ทรงมีเป้าหมายหลักคือ ต้องการเห็นประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้อื่น
  9. ในหลวงมีพระราชภาระอันใหญ่ยิ่งในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรทั่วทั้งประเทศ ซึ่งการทรงงานของพระองค์นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามที่ทรงพระประชวรก็ยังไม่เคยละเว้นจากการปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพ่อแห่งแผ่นดินที่ต้องดูแลลูกไทยมากกว่าหกสิบล้านคนให้อยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า ดังเหตุการณ์เมื่อปี 2518 พระองค์ทรงพระประชวรด้วยเชื้อไมโคพลาสมา พระอาการหนักมากจนเป็นที่วิตกของคณะกรรมการแพทย์ที่ถวายการรักษา แต่ทรงห่วงใยราษฎรมากกว่าความปลอดภัยของพระองค์เอง ถึงกับรับสั่งกับนายแพทย์ว่า “จะใช้เวลารักษานานเท่าไร ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฎรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน”
  10. ในหลวงทรงมีกระบวนการพระราชดำริอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เห็นได้จากพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองหลายกรณี อาทิ แนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวพระราชดำริ “บวร” หมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อร่วมสร้างความสมานฉันท์ภายในสังคม แม้แต่แนวพระราชดำริ “ระเบิดจากข้างใน” ก็เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาชุมชนจากภายในสู่ภายนอกสังคมตามลำดับ
  11. ครั้งหนึ่งที่พระองค์เสด็จฯไปทรงเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้นจึงรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
  12. ในหลวงทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ก็ยังรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ เพื่อพระองค์จะได้ทอดพระเนตรมอนิเตอร์เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
  13. ในหลวงทรงตระหนักว่าทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นั้นเป็นทุกข์ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ ทำให้พระองค์ทรงส่งเสริมพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้เกิดความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง
  14. ครั้งหนึ่งพระองค์มีพระราชดำรัสว่า “ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้อง เรานี่ก็คนจน” สะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ราษฎร ไม่เว้นกระทั่งเรื่องสุขอนามัย
  15. ในหลวงทรงให้ก่อตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” เพื่อสนับสนุนส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชน จนกระทั่งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดรับกับพระราชดำรัสเกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนาตอนหนึ่งความว่า “มูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งมีหน้าที่ที่เขาตั้งไว้สำหรับมูลนิธิ ให้พัฒนาประเทศจนมีชัยชนะ ชัยของการพัฒนานี้มีจุดประสงค์คือ ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดีของประชาชน…”
  16. ในหลวงทรงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในระดับรากหญ้าตามพื้นที่ชนบท ด้วยทรงเล็งเห็นว่า ความเป็น “รากหญ้า” ย่อมเต็มเปี่ยมด้วย “รากเหง้า” ทางภูมิปัญญาอันเป็น “รากฐาน” ทางสังคมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งต้นไม้ที่มี “รากแก้ว” ซึ่งสามารถเจริญเติบโตไปเป็น “รากแกร่ง” ที่ลำเลียงธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นจนแตกกิ่งก้านสาขาผลิร่มเงาได้อย่างยั่งยืน เป็นที่มาของโครงการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ โดยมีพระราชประสงค์ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งจนชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
  17. โครงการตามพระราชดำริทุกโครงการล้วนเกิดขึ้นจากพระราชหฤทัยที่ทรงพระเมตตาต่อพสกนิกรเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “…การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศ ทางภูมิศาสตร์ และทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราต้องเข้าไปช่วย โดยที่จะดัดเขาให้เข้ากับเราไม่ได้ แต่เราต้องเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ หลักการของการเข้าไปพัฒนาจึงจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”
  18. บทเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด เป็นอีกบทเพลงหนึ่งที่แฝงเร้นไว้ด้วยหลักธรรมคำสอน มุ่งปลูกฝังให้ประชาชนเรียนรู้ที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน ดังเนื้อร้องตอนหนึ่งที่ว่า “นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน”
  19. ครั้งหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ทรงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั้งประเทศ”
  20. เรียกได้ว่าตลอดพระชนมายุ ในหลวงทรงยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อมวลพสกนิกรไทย โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนอื่นใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสแห่งห้วงพระราชหฤทัยที่ใฝ่เมตตาธรรมเป็นสำคัญ

 

การศึกษาคือสิ่งที่ทำให้ประเทศยั่งยืน

  1. ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีพระมหากษัตริย์พระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เอง แน่นอนว่าปัญญาชนที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีย่อมมีปริมาณมากมายมหาศาล บ่งชี้ถึงพระราชภาระในการยื่นพระหัตถ์เพื่อส่งมอบพระราชภาระให้แก่ปัญญาชนได้มีส่วนช่วยแบ่งเบาความทุกข์ยากของประชาชน ด้วยการนำวิชาความรู้กลับไปใช้ในการพัฒนาแผ่นดินถิ่นมาตุภูมิ ซึ่งการได้รับฟังพระบรมราโชวาทและรับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระองค์ ย่อมถือเป็นเกียรติประวัติสูงสุดในชีวิต อีกทั้งยังสร้างขวัญและกำลังใจให้สำเร็จการศึกษาไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติให้เกิดความเจริญมั่นคง
  2. ในหลวงมีพระราชปณิธานเด่นชัดว่า “การสร้างศรัทธานิยมด้วยปัญญาย่อมดีกว่าการสร้างประชานิยมด้วยวัตถุ” เพราะถ้าหากเราช่วยเหลือประชาชนด้วยการให้แต่วัตถุสิ่งของ ย่อมเป็นการให้ที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งตรงกันข้ามกับการให้วิชาอาชีพที่ราษฎรสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้อื่นและสังคม ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมั่นคงถาวรมากกว่า สอดรับกับพุทธภาษิตที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
  3. “โรงเรียนพระดาบส” เป็นการศึกษานอกระบบที่ทรงริเริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความปรารถนาของราษฎรไทยที่ต้องการมีวิชาความรู้แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานสถานที่และทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย และมีข้อตกลงสำคัญคือ การดำเนินงานของโรงเรียนพระดาบสจะต้องเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์ ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงด้านธุรกิจ ซึ่งสาระวิชาที่โรงเรียนพระดาบสเปิดการเรียนการสอนมักเกี่ยวข้องกับการอาชีพในหลากหลายสาขา เพื่อให้ศิษย์ของพระดาบสที่สำเร็จการศึกษาออกไปสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบสัมมาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว

 

ทรงเห็นคุณค่าของหนังสือและภาษาไทย

  1. แม้ในหลวงจะทรงเจริญพระชันษาในต่างประเทศ ทรงศึกษาวิชาการโดยทรงใช้ภาษาอื่นๆ แต่ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงมีพระราชดำริในเรื่องภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์ภาษาไทยให้มีแบบแผนไม่ผิดเพี้ยนไปตามความสะดวกหรือตามความพอใจของผู้ใช้ภาษา ทรงให้ความสำคัญถึงกับเสด็จฯไปทรงร่วมการประชุมของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 มีพระราชดำรัสที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยที่ทรงมีต่อภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เริ่มมีการปรับตัวเข้ากับภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติ ดังความตอนหนึ่งว่า “เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองมาแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้”
  2. ในหลวงทรงเป็นนักอ่าน รวมทั้งทรงสนับสนุนให้เห็นคุณค่าของการอ่านอย่างมาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “…หนังสือเป็นเหมือนคลังที่รวบรวมเรื่องราว ความรู้ ความคิด วิทยาการทุกด้านทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้ ได้คิดอ่าน และเพียรพยายามบันทึกภาษาไว้ด้วยลายลักษณ์อักษร หนังสือแพร่ไปถึงที่ใด ความรู้ ความคิดก็แพร่ไปถึงที่นั่น หนังสือจึงเป็นสิ่งมีค่าและมีประโยชน์ที่จะประมาณมิได้ในแง่ที่เป็นบ่อเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์…”
  3. พระราชนิพนธ์แปล นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นเรื่องราวของสัตบุรุษผู้มีความเสียสละ กล้าหาญ ยอมอุทิศชีวิตของตนเองเพื่อความถูกต้องยุติธรรม โดยไม่มุ่งหวังว่าจะมีผู้ใดมารับรู้ความดีของตนเข้าทำนองที่ว่า “ปิดทองหลังพระ” ถือเป็นพระราชนิพนธ์เตือนใจให้ประชาชนไทยทุกภาคส่วนได้ตระหนักว่าการทำความดีย่อมเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าความดีที่ทำนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือยิ่งใหญ่มหาศาล เราสามารถทำความดีได้ในทุกกาล ทุกสถาน และทุกโอกาส ถึงแม้ว่าความดีที่เราทำนั้นจะไม่มีใครรู้เห็น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมได้แก่ความสุขกายสบายใจ

พระเมตตาต่อผู้พิการ

  1. ในหลวงทรงห่วงใยคุณภาพชีวิตของ “คนพิการ” ในฐานะทรัพยากรบุคคลที่มีความบกพร่องทั้งทางร่างกายและสติปัญญา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่พระราชทานโอกาสให้คนพิการ ทั้งที่พิการทางกาย ทางจิต และทางสังคมได้เข้าเฝ้าฯอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังทรงพระกรุณาเสด็จฯไปทรงเยี่ยมคนพิการ มีพระราชปฏิสันถารและพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่คนพิการมาโดยตลอด
  2. เมื่อพระองค์ท่านทรงทราบว่าโรคไขสันหลังอักเสบ ซึ่งระบาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 ทำให้เกิดความพิการถาวรที่แขน ขา และลำตัว ทำให้กล้ามเนื้อลีบเคลื่อนไหวไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ และถึงแม้พ้นขีดอันตรายก็มักเป็นอัมพาต จำเป็นต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟู จึงพระราชทานทุนประเดิมสำหรับจัดตั้ง “ทุนโปลิโอสงเคราะห์” ขึ้น และให้สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต ออกประกาศชักชวนประชาชนโดยเสด็จพระราชกุศลได้เงินจำนวนมาก ส่งไปพระราชทานแก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำไปสร้างตึกและจัดซื้อเครื่องอุปกรณ์เครื่องเวชภัณฑ์สำหรับใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย
  3. ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีโรคเรื้อนเป็นภัยคุกคาม เมื่อพระองค์ทรงทราบปัญหาและอุปสรรคในเรื่องการรักษาและป้องกันโรคจากอธิบดีกรมอนามัย จึงได้พระราชทานเงินจากกองทุนอานันทมหิดล เพื่อขยายสถานพยาบาลที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งทำการวิจัยเรื่องโรคเรื้อน โปรดเกล้าฯให้ขยายงานออกไปทำในภาคอีสาน รวมทั้งได้เสด็จฯ ด้วยเรือยนต์พระที่นั่งไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารใหม่ และทรงเยี่ยมเยือนผู้ป่วยโรคเรื้อน ต่อมาได้พระราชทานชื่อโรงพยาบาลใหม่ จากโรงพยาบาลโรคเรื้อนเป็น “สถาบันราชประชาสมาสัย” มีความหมายว่า “พระราชากับประชาชนมีความสมัครสมานพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน”
  4. ในหลวงพระราชทานโอกาสให้นักเรียนตาบอดมาร่วมขับร้องเพลงบันทึกเสียงออกอากาศทางวิทยุ โดยเสด็จฯมาทรงบันทึกเสียงด้วยพระองค์เอง ทรงสอนดนตรีพระราชทานแก่คนตาบอดหลายรายประกอบกับพระราชทานบทเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นเพลงประจำโรงเรียนคนตาบอดกรุงเทพฯ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ ยิ้มสู้ เพราะมีพระราชประสงค์ให้กำลังใจแก่พสกนิกรคนพิการที่ด้อยโอกาสและขาดการยอมรับจากคนในสังคม ให้มีกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่า เพราะคนพิการต่างมีความรู้ความสามารถไม่น้อยไปกว่าคนปกติธรรมดาทั่วไป หากสมาชิกในสังคมให้โอกาสและเคารพในสิทธิของกันและกัน สมดังใจความดังปรากฏในเนื้อร้องของบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ว่า “คนเป็นคน จะจนหรือมี ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่ ยามปวงมารมาพาลลบหลู่ ยิ้มละมัยใจสู้หมู่มวลเภทภัย”
  5. ทรงพระราชดำรัสถึงคนพิการได้อย่างลึกซึ้งกินใจมากว่า “งานช่วยเหลือผู้พิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการมิได้เป็นผู้ที่อยากจะพิการ แต่อยากช่วยตนเอง ถ้าเราไม่สามารถช่วยเขาให้สามารถที่จะปฏิบัติงานอะไร เพื่อมีชีวิตและมีเศรษฐกิจของครอบครัว จะทำให้เกิดสิ่งที่หนักในครอบครัว หนักแก่สังคม ฉะนั้น นโยบายที่จะทำก็คือ ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้ เพื่อที่จะให้เขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อสังคม…”
  6. “โรงพยาบาลราชานุกูล” เป็นชื่อที่พระราชทานใหม่แทน“โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” ในโอกาสที่พระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์เมื่อปี 2507 ให้สร้างอาคารขึ้นในเขตโรงพยาบาลและเสด็จฯไปทรงเปิดอาคาร ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแผ่ปกเกล้าฯไปถึงเด็กและผู้ปกครองของเยาวชนที่มีความบกพร่องทางปัญญา ยังความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้แก่พสกนิกรคนพิการทั้งชาติ

 

พระเมตตาต่อสัตว์และธรรมชาติ

พระเมตตาต่อสัตว์และธรรมชาติ

  1. ในหลวงทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อสัตว์โลก เห็นได้ชัดจากสุนัขทรงเลี้ยงที่ชื่อว่า “ทองแดง” ซึ่งเคยเป็นสุนัขจรจัดบริเวณซอยศูนย์แพทย์พัฒนา ถนนพระราม 9 มาก่อน โดยนายแพทย์ท่านหนึ่งได้นำคุณทองแดงมาทูลเกล้าฯถวายให้ทอดพระเนตร ซึ่งพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นสุนัขทรงเลี้ยงโดยมิได้ทรงรังเกียจว่าเป็นสุนัขที่ด้อยคุณค่าผิดจากค่านิยมของชนชั้นสูงทั่วไปในสังคมที่มักเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีสายพันธุ์มาจากต่างประเทศและมีราคาแพง คุณทองแดงจึงนับเป็นการปลุกกระแสให้คนไทยหันมารักสุนัขสายพันธุ์ไทยกันมากยิ่งขึ้น โดยลูกทั้งเก้าของคุณทองแดงได้รับพระราชทานนามเป็นชื่อขนมไทยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ทอง”ทั้งเก้าชนิด และได้พระราชทานนามสกุลว่า “สุวรรณชาด”
  2. ในหลวงทรงตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้และป่าไม้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยดำเนินรอยตามพระจริยวัตรของสมเด็จพระบรมราชชนนีที่โปรดการปลูกต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ และชื่นชมความงดงามตามธรรมชาติ ทั้งยังทรงจดจำคำสอนของพระอาจารย์ในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ ดังใจความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสที่ว่า “จำได้เมื่ออายุสิบขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่งสอนเรื่องการอนุรักษ์ ครูบอกว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้…จะทำให้เดือดร้อนตลอด…”
  3. ในหลวงทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาป่าไม้ ดังพระราชกรณียกิจในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติผ่านโครงการในพระราชดำริมากมาย โดยทรงเน้นย้ำให้ฟื้นฟูคุณภาพของทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และคน ควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรเหล่านี้ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คน” ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดไม้ทำลายป่า จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตใจให้เกิดสำนึกที่ดี เพื่อประโยชน์ในการให้ทั้งคน น้ำ และป่า พึ่งพากันได้อย่างยั่งยืน
  4. นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 – 2493 เป็นเวลานานถึง 16 ปีที่ประเทศไทยว่างเว้นจากการมีพระมหากษัตริย์ประทับในประเทศ ทำให้การพระราชพิธีต่างๆ ในพระราชสำนักที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาขาดหายไป ครั้นในหลวงเสด็จนิวัตประเทศไทยและมีพระราชดำริฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง นับเป็นพระราชวิสัยทัศน์อันกว้างไกลที่ทรงปลุกจิตวิญญาณแห่งความเป็นไทยซึ่งเคยหลับใหลให้ตื่นฟื้น อีกทั้งยังเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ความเป็นชนชาติที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันก็ทรงสร้างความประทับใจแก่คนต่างชาติไปพร้อมกัน เพราะในโลกนี้ไม่มีประเทศใดที่จะมีพระราชพิธีในพระราชสำนักที่งามพร้อมเท่าประเทศไทย ต่อมาพระราชพิธีต่างๆ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติทั่วโลกมาตราบจนทุกวันนี้
  5. พระราชพิธีหนึ่งที่มีความสำคัญและในหลวงโปรดเกล้าฯให้รื้อฟื้นขึ้น คือ พระราชพิธีสังเวยป้าย ซึ่งทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยความหมายของพระราชพิธีนี้มีอยู่ว่า “พระป้าย” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เกสิน” หมายถึงป้ายชื่อของบรรพบุรุษบุพการีที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน การบูชาเซ่นสรวงจึงแสดงว่าเป็นคนดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ปฏิบัติ โดยพระราชพิธีนี้จะจัดขึ้นในช่วงวันตรุษจีนของทุกปี และได้เสด็จฯไปในพระราชพิธีเสมอมาหรือไม่ก็โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน

 

ทรงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของชาติ

  1. กระแสความนิยมในสิ่งแปลกใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาจากประเทศทางตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครั้นถึงรัชกาลของในหลวง จึงมีแนวพระราชดำริที่จะทรงปลูกฝังความสำนึกและความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติแก่พสกนิกร ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…การสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่าควรช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษจึงควรรักษาไว้…”
  2. มีพระราชดำริที่จะให้มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ
  3. ในการดูแลรักษามรดกของชาติมีแนวพระราชดำริที่ชัดเจนในความแตกต่างกันของการฟื้นฟูการอนุรักษ์และการสร้างสรรค์ว่าไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า เพราะหากนำมาปรุงแต่งหรือประยุกต์อย่างไม่เหมาะสม ทำให้ทุกอย่างดูเป็นไทยอย่างฉาบฉวย ก็อาจทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ของชาติและจะกลืนศิลปะประจำชาติที่มีมาแต่เดิมให้จมหายไป

 

ขอตามรอยพระบาท

  1. ชัยพจน์ สิริศักดิ์ธเนศ ชาวกาญจนบุรี แม้จะจบเพียงชั้น ม.6 แต่พอมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า จึงได้ทดลองประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้านานกว่า 6 ปี จนคิดได้ว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าจากแรงดันของน้ำ เพราะไม่ต้องใช้ทุนมากมาย ในที่สุดสามารถประดิษฐ์เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จ ซึ่งเขากล่าวว่าได้แรงบันดาลใจเดินตามรอยของในหลวงที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่
  2. ผู้กำกับโฆษณาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างต่อ – ธนญชัย ศรศรีวิชัย บอกว่า เขามีบุคคลที่นับถือเป็นแบบอย่างอยู่ไม่กี่คน ซึ่งหนึ่งในผู้ที่เขานับถือมากที่สุดคือในหลวง “ท่านเป็นกษัตริย์ที่เก่ง เก่งไม่พอ ยังอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านคุกเข่าคุยกับชาวบ้านธรรมดาๆ เห็นราษฎรเป็นผู้ที่ท่านต้องช่วยเหลือ ไม่ใช่เอาเปรียบ ผมไม่เคยเห็นใครมอบความรักให้ผู้อื่นได้ตลอดเวลาเท่ากับท่าน ทั้งยังอดทนต่อการศึกษาหาความรู้จนแก้ปัญหาได้มากมายนับไม่ถ้วน ในหลวงสำหรับผม ท่านคือมนุษย์คนหนึ่ง เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ศึกษาเรียนรู้จนกลายเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ทำให้ผมคิดว่า เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราก็สามารถพัฒนาตัวเองแบบในหลวงได้ เราต้องพยายามทำให้ได้แบบในหลวง หน้าที่ของเราที่เกิดเป็นคนไทยคือต้องทำ”
  3. จากการที่คนึงนิตย์ อันโนนจารย์ ชาวจังหวัดลำปาง แต่ได้ย้ายมาทำมาหากินที่ราชบุรี ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงทรงนั่งดื่มกาแฟเมื่อครั้งเสด็จฯไปบนเขาทุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรชาวเขาและให้ชาวเขาหันมาปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่นหรือกัญชา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เธอทำรถขายกาแฟสไตล์ญี่ปุ่นตระเวนขายตามที่ต่างๆโดยนำเมล็ดกาแฟจากชาวเขาที่บ้านเกิดมาใช้เพื่อคืนรายได้สู่ชุมชนชาวเขา
  4. สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ เจ้าของบริษัททีวีบูรพา ผู้ผลิตรายการคุณภาพหลายรายการบอกว่า “…คำสอนของในหลวงก็เหมือนพ่อแม่ที่สอนเรา ทรงเป็นพ่อแม่ของลูกหลายสิบล้านคนในประเทศนี้ ค่อยๆ เรียนรู้จากสิ่งที่พ่อพร่ำสอน คิดให้ดีว่าสิ่งที่เรากำลังพาชีวิตไปหามัน มั่นคงจริงหรือไม่ ลองชั่งตาชั่งความสุขนั้นดู ทำให้มันสมดุล จะได้ไม่ต้องพาชีวิตไปเจอความผิดพลาดเสียก่อนแล้วค่อยคิดได้ทีหลัง…”
  5. ศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก บริการแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายใต้ชื่อโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และบริษัท ทาสของแผ่นดิน จำกัด เกิดขึ้นจากความคิดของธานินทร์ พันธ์ประภากิจ ที่ว่า “แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งของผมมาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือตั้งแต่โตมา ผมก็เห็นภาพพระองค์ท่านเสด็จฯ ไปทรงงานช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้ในชนบทมาตลอด และสมัยหนุ่มๆ ผมเคยเดินตาม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งท่านพูดเสมอว่า ทุกข์ของชาวนาคือทุกข์ของแผ่นดิน ทุกข์ของแผ่นดินคือทุกข์ของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเหนื่อยยากเพื่อพวกเรามามาก ผมจึงอยากเดินตามรอยพระบาทของพระองค์ท่าน ช่วยเหลือคนที่เขาด้อยโอกาสเท่าที่เราจะทำได้ ซึ่งปณิธานตรงนี้ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาว่า เราจะต้องเดินให้ได้ ต้องอดทน เพราะมีสิ่งสำคัญรอเราอยู่ และก็มาตกผลึกว่า จะเปิดศูนย์รักษาผู้ป่วยต้อกระจก เพราะบ้านเรามีคนที่เป็นโรคนี้เยอะ”
  6. เมื่อครั้งที่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่านในยุคที่การสู้รบระหว่างทหารรัฐบาลกับกองทัพปลดแอกประชาชนเป็นไปอย่างเข้มข้น ทหารตำรวจที่บาดเจ็บจากการสู้รบถูกส่งเข้ามายังโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรทุกฝ่ายของโรงพยาบาลในจังหวัดเล็กๆ ห่างไกลขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย ต้องทำงานอย่างหนัก เมื่อในหลวงทรงทราบจึงพระราชทานอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์มากมาย และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 4 แสนบาทให้โรงพยาบาลน่านสร้างตึกพิทักษ์ไทย โดยมีพระราชดำรัสกับหมอบุญยงค์ว่า “เงินที่ขอไปนั้น ฉันนำมามอบให้แล้ว ขอให้หมอดำเนินการก่อสร้างเองนะ ไม่ต้องผ่านราชการ ฉันไว้ใจเธอ” พระราชดำรัสครั้งนั้นยังคงก้องอยู่ในหัวใจหมอบุญยงค์ ทำให้เขายังคงทุ่มเททำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของเมืองน่าน ไม่เฉพาะแต่ด้านการแพทย์ แต่หลังเกษียณอายุราชการก็ยังทำงานในทุกสถานะที่จะทำประโยชน์ให้แก่เมืองน่านได้
  7. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ผู้รังสรรค์วัดร่องขุ่นกล่าวว่า “วัดร่องขุ่นมีที่มาจากตอนที่ผมยังเรียนอยู่ที่คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้ยินครูบาอาจารย์ผมพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า พระองค์เคยรับสั่งว่า ‘งานศิลปะประจำรัชกาลของเราทำไมไม่เห็นมี ทุกรัชกาลเขามีงานศิลปะที่แสดงเอกลักษณ์กันทุกรัชกาล วัดวาอารามที่สร้างกันใหม่ๆ ก็ยังยึดอิทธิพลศิลปะเก่าๆ อยู่’” ต่อมาเขามีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ถวายงานในหลวงหลายครั้ง และจากการพบเห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน ทำให้เขารักและประทับใจพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตัน ปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน ในที่สุดเขาก็ได้ถ่ายทอดผลงานนั้นออกมาที่วัดร่องขุ่นแห่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540“ ผมตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเองสร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลท่านให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด…”
  8. สงคราม โพธิ์วิไล ศิลปินนักถ่ายภาพและผู้ทรงคุณวุฒิทางการถ่ายภาพของไทย ได้มีโอกาสถวายกล้องแด่ในหลวง มีรับสั่งถามว่า “คุณทำอาชีพอะไร…ผมตอบท่านว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ในหลวงจึงรับสั่งต่อว่า ถ้าอย่างนั้นไปบอกพวกเราด้วยว่าเราเป็นคนถ่ายภาพด้วยกัน ผมตื้นตันมาก เราแค่สามัญชน แต่ในหลวงทรงใช้คำว่า ‘พวกเรา’ ผมจึงนำคำนี้ไปบอกกับช่างภาพว่าในหลวงใช้คำว่าพวกเรากับช่างภาพ เราในฐานะประชาชน เราจะต้องถ่ายภาพให้ดีๆ แล้วกัน…”
  9. ศิลปินยอดนิยมอมตะ – เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ มีโอกาสได้เข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี หลังจากร้องเสร็จได้เข้าเฝ้าฯส่งเสด็จฯกลับและวันนั้น “…เบิร์ดลงกราบพร้อมกับถือโอกาสจับพระบาทของทั้งสองพระองค์เอาไว้ สมเด็จพระนางเจ้าฯมีรับสั่งว่า ‘ร้องเพลงไพเราะมาก’ แต่ที่เหนือความคาดหมายคือ ในหลวงรับสั่งว่า ‘ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทำต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง’ เบิร์ดกราบทูลตอบว่า ‘รับใส่เกล้าพระพุทธเจ้าข้า’ เนื้อตัวตอนนั้นขนลุกไปหมด ในใจปลื้มจนไม่รู้จะปลื้มอย่างไร เพราะหมายถึงพระองค์ท่านทรงอ่านเรื่องที่เบิร์ดเคยให้สัมภาษณ์ไว้ใน แพรว จึงทรงทราบว่าบ้านที่เชียงรายปลูกข้าว…พอส่งเสด็จฯเสร็จแล้วกลับขึ้นรถได้เท่านั้น เบิร์ดร้องไห้ซะ กลับถึงบ้านรีบจุดธูปเล่าให้แม่ฟัง “แต่แม่คงเห็นแล้ว เพราะเบิร์ดพารูปแม่ติดใส่กระเป๋าเสื้อตรงหน้าอกซ้ายเข้าวังด้วย พลังใจจากการได้เข้าเฝ้าฯครั้งนั้น ทำให้ใจเบิร์ดที่เคยหดหายเพราะแม่เพิ่งจากไปไม่นาน กลับมาสดใสอีกครั้ง ซึ่งชีวิตนี้คิดว่าครั้งนั้นคือสูงสุดแล้ว…”

 

พระราชดำรัสที่ควรยึดเป็นแนวคิด

  1. ในการทรงงานเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน ในหลวงทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเสมอ ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า “…ใครต่อใครบอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียวเป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้…”
  2. พระองค์ทรงมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ดังพระราชดำรัสครั้งหนึ่งความว่า “…ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นเท่านั้น…”
  3. ในหลวงทรงเน้นย้ำถึงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันตลอดมา เพราะทรงเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันพัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก ดังพระราชดำรัสว่า “…คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ…”
  4. ตลอดพระชนม์ชีพทรงดำเนินพระราชจริยวัตรอย่างสมถะพอเพียง ซึ่งความพอดี มีความพอประมาณในพระราชหฤทัยได้ถูกนำมาใช้ในการแก้วิกฤติทางเศรษฐกิจของชาติ ท่ามกลางความมืดมนของวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 ได้ปรากฏแสงสว่างส่องทางหวังจากการที่พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ประชาชนได้ตั้งมั่นอยู่บนครรลองของความมีเหตุผล ความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารเอาไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
  5. ในหลวงทรงมีความชาญฉลาดในการบำรุงข้าราชบริพารด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถเข้ามาบริหารราชการบ้านเมือง สอดคล้องกับพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”
  6. ในหลวงมีพระราชดำรัสถึงหลักการทำความดีที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มากๆ ว่า “การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัว “การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน…” ความตอนหนึ่งของพระราชดำรัสที่จับใจและเป็นสิ่งจริงแท้มากๆ
  7. เมื่อมีความโสมนัสย่อมต้องมีความโทมนัสควบคู่กันไปเป็นสัจธรรม จากเหตุการณ์ที่สมเด็จย่าทรงพระประชวร ในหลวงได้เสด็จฯไปทรงเยี่ยมและมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จย่าว่า “อยากให้แม่สอนอีก” เหมือนเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ สมเด็จย่าตรัสกลับไปว่า “จะให้สอนอีกหรือ พระองค์ทรงภูมิรู้ เปี่ยมคุณธรรมสอนคนได้ทั้งประเทศ จะฟังคำสอนอะไรจากคนอายุมากคนหนึ่งอีกเล่า” พระองค์ทรงมีพระราชปรารภอย่างอภิชาตบุตรว่า “ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร สอนคนมากสักแค่ไหน แต่คำสอนของแม่ก็เป็นคำสอนที่ดีที่สุดของลูก คำสอนของแม่เหนือกว่าลูกเสมอ ลูกอยากฟังแม่สอนอีก”
  8. “การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูและนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา

 

ทั้ง 89 เรื่องของในหลวงที่เชิญประมวลมานี้ หากพสกนิกรไทยน้อมนำมาใช้ปฏิบัติจริงในชีวิต สังคมย่อมเกิดความสุข ความรุ่งเรืองอย่างแน่นอน

 

เครดิต : นิตยสารแพรว ฉบับ 871 (10 ธันวาคม 2558)
ขอบคุณ : พระบรมฉายาลักษณ์จากคลังสะสมส่วนตัวของคุณณรัฐ นภาวรรณ
ตกแต่งรีทัช : อนุชา โสภาคย์วิจิตร์

รู้จัก 10 เพลงพระราชนิพนธ์ รักหวานละมุน

account_circle

พระอัจฉริยะภาพด้านการดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทย ด้วย ๔๘ เพลงพระราชนิพนธ์ ซึ่งในวันนี้เราจะขออัญเชิญ ๑๐ เพลงพระราชนิพนธ์พร้อมที่มา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักอันหวานซึ้ง มาเล่าสู่กันฟัง

 

เพลงที่ 1 “อาทิตย์อับแสง” และ เพลงที่ 2 “เทวาพาคู่ฝัน”  

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

จากบันทึกส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริ ได้กล่าวถึงที่มาของบทเพลงทั้งสองว่า เกิดขึ้นในยามที่ทั้งสองพระองค์ต้องประทับห่างไกลกัน โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ประทับ ณ เมือง ดาโวส์ ขณะที่ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศในขณะนั้น) ทรงประทับอยู่ที่ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิซเซอร์แลนด์  โดยเพลง “อาทิตย์อับแสง” ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2492 อันเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 และในเวลาอันไล่เลี่ย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2492  ก็ได้พระราชนิพนธ์เพลง “เทวาพาคู่ฝัน”

 

เพลงที่ 3 “รักคืนเรือน”

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

เนื้อเพลงรักคืนเรือนกล่าวถึง รักอันห่างไกลที่ใจพะวงขอไม่ให้แปรเปลี่ยนเช่นสายลมที่หมุนวน และขอให้รักนี้คงมั่นไม่อับเฉา โดยทรงพระราชทานให้นำออกบรรเลงในงานของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ซึ่งเพลง “รักคืนเรือน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 14

 

เพลงพระราชนิพนธ์

เพลงที่ 4 “ค่ำแล้ว”

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาอังกฤษ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์ และท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
คำร้องภาษาไทย : ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา

มีเรื่องเล่าขานกันว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เคยทรงอิเลคโทนขณะทรงอุ้มสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนทรงบรรทมหลับไปจึงเป็นที่มาของ  เพลงค่ำแล้ว หรือที่มีอีกชื่อว่า Lullaby เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ในลำดับที่ 24 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2498 แม้เนื้อหาเพลงอาจไม่ได้กล่าวถึงความรักระหว่างชายหญิง แต่ก็มีเนื้อร้องที่แสนหวานจับใจ

 

เพลงที่ 5 “แสงเดือน”  

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

เพลงแสงเดือน เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 27 โดยทรงพระราชทานให้อัญเชิญไปประกอบการแสดงบัลเล่ต์ ในงานสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2501 เนื่องด้วยเป็นเพลงที่มีท่วงทำนองอ่อนหวาน แต่สง่างาม ได้นำออกบรรเลงในงานสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501

 

เพลงที่ 6 “ภิรมย์รัก”

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาอังกฤษ : พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
คำร้องภาษาไทย : พลเรือตรี ปรีชา ดิษยนันทน์

เป็นเพลงที่ทรงเรียบเรียงประสาน และควบคุมการฝึกซ้อมด้วยพระองค์เองโดยทรงโปรดเกล้าให้วงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลง เพื่อประกอบการแสดงบัลเลต์ชุดมโนห์รา หรือ Kinari Suite ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ในวันที่ 5-7 มกราคม พ.ศ.2505 ซึ่งเพลง “ภิรมย์รัก” นี้ เป็นเพลงเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 30 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2502

 

เพลงพระราชนิพนธ์

เพลงที่ 7 “ในดวงใจนิรันดร์”  

ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทย  : ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์คำร้องด้วยพระองค์เอง ในปีพ.ศ. 2508 และเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 37  เดิมทรงตั้งชื่อเพลงว่า “I Can’t Get You Out of My Mind” แต่ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็น “Still on My Mind” โดยในเนื้อเพลงกล่าวถึงความรักที่ฝั่งแน่น แม้ว่าจะผ่านเวลาไปนานเพียงใดก็ตาม แต่รักนี้ติดตรึงอยู่ในใจชั่วนิรันดร์ไม่มีวันลบเลือน  ดังประโยคที่ว่า “You’ll be ever and ever, Still on my mind.”

 

เพลงที่ 8  “เตือนใจ”

ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทย  : ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค และหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์

อีกหนึ่งบทเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งทำนองและคำร้องภาษาอังกฤษด้วยองค์เอง ในปีพ.ศ. 2508 นับเป็น บทเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 38  โดยทรงกล่าวถึงบทเพลงเก่าๆ ที่เป็นสื่อแทนใจ และความคิดคำนึง ดังเนื้อเพลงที่ว่า “Now there’s no word that can say, I can’t tell you in anyway. Let me tell you with this Old Fashioned melody.”

 

เพลงที่ 9 “แว่ว”

ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้องภาษาไทย  : ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

บทเพลงพระราชนิพนธ์ในลำดับที่ 41 ในปีพ.ศ. 2508 ที่หลังจากนิพนธ์ไปแล้วหนึ่งปี ได้ทรงพระราชทานให้วงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในงานสังคีตมงคล ครั้งที่ 1 ณ บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยเนื้อเพลงกล่าวถึง การแว่วเสียงเพลงหวานที่ทำให้หวนนึกถึงความรักของสองเรา ที่แม้โลกจะไม่จีรัง แต่รักของเราจะยั่งยืน “I know Our love will Linger on For eternity.”

 

เพลงที่ 10“รัก”  

ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
คำร้อง  : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เป็นเพลงที่เกิดจากขึ้นจากบทพระราชนิพนธ์กลอนสุภาพในพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีพ.ศ.  2510 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยนับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 47

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพลงนี้ให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์บรรเลงทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์ตลอดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2537 และในงานพระราชทานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.  2538 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงเชิญ คณะองคมนตรี นายกรัฐมนตรี และนายทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ ขึ้นไปร้องเพลง “รัก” บนเวที โดยทรงบรรเลงดนตรีนำด้วยพระองค์เอง

 

ทั้ง 10 บทเพลง ล้วนเป็นเพลงที่มีท่วงทำนองรักหวานซึ้ง และแฝงไว้ด้วยความหมายพิเศษจนมิอาจมีผู้ใดปฏิเสธได้ว่า บทเพลงเหล่านี้ไม่ตราตรึงอยู่ในใจ

 

ขอบคุณที่มา web.ku.ac.th/king72/2530/music.htm

http://www.oknation.net/blog/balladdrums/2010/10/09/entry-1

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/balladdrums

 

พระปรีชาสามารถด้านชลประทานของในหลวง

เบื้องหลังพระปรีชาสามารถด้านชลประทาน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงงานหนักเพื่อชีวิตร่มเย็นของพสกนิกรไทย

พระปรีชาสามารถด้านชลประทานของในหลวง
พระปรีชาสามารถด้านชลประทานของในหลวง

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงพระปรีชาสามารถโดดเด่นหลายด้าน และมีพระราชกรณียกิจที่พระองค์มีพระราชดำริและทรงปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนไทยและประเทศชาติจำนวนมากเช่นกัน อย่างพระราชกรณียกิจด้านเกษตรและชลประทาน

ก่อนหน้านี้ได้มีคลิปวิดีโอที่หลายคนอาจยังไม่เคยได้ชมเผยแพร่ขึ้นมา เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งและทรงวาดแผนที่อธิบายถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา โดยทรงเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ขึ้นมาบนเวทีและไต่ถามพูดคุยถึงเรื่องน้ำท่วมตามแต่ละจังหวัดด้วย และนั่นก็ทำให้คนไทยหลายคนตระหนักเห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความใส่พระทัยและความห่วงใยที่พระองค์มีต่อคนไทยทุกภูมิภาค กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงรู้พื้นที่ในประเทศไทยแทบทุกตารางเมตร

คลิป ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งถึงเหตุการณ์น้ำท่วม

เป็นเวลาหลายปีที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย เสด็จพระราชดำเนินลงพื้นที่สำรวจพร้อมคณะและชาวบ้าน และมีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ขึ้นมา อย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ จนเกิดเป็นอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ซึ่งสร้างขึ้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อกักเก็บน้ำจืดให้ราษฎรมีใช้ การสร้างฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง

ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯลงพื้นที่สำรวจพร้อมคณะและชาวบ้าน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงการหลวงด้านชลประทาน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับฟังปัญหาจากชาวบ้าน
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างหนัก เพื่อดูแลราษฎรที่แม้จะอยู่ในที่ห่างไกล

กว่าโครงการด้านเกษตรและชลประทานต่างๆ จากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 จะสำเร็จออกมาเพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขแบบนี้ ไม่ได้สะดวกสบายเลย ซึ่งนายทวี เต็มญารศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญฯ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เผยเรื่องราวและพระบรมฉายาลักษณ์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานอย่างหนักผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อว่า ทวี เต็มญารศิลป์ แพรวจึงได้รวบรวมมาให้ได้ชมกัน เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพระปรีชาสามารถด้านชลประทาน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตรโครงการชลประทานขนาดใหญ่

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเปิดโครงการชลประทานขนาดใหญ่

เสด็จฯไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานขนาดใหญ่

ทอดพระเนตรโครงการชลประทานขนาดใหญ่

ในช่วงปี พ.ศ. 2500 – 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ทำให้ทรงทราบถึงความจำเป็นของงานชลประทาน

แผนที่พระราชทานแสดงเส้นทางน้ำสายต่างๆ

แผนที่พระราชทานแสดงเส้นทางน้ำ

รอยดินสอสีต่างๆ ที่ทรงลงในแผนที่ แสดงถึงความทุ่มเทที่พระองค์ทรงรอบรู้งานชลประทาน และทรงตั้งมั่นที่จะตอบแทนพระคุณแผ่นดินนี้

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานในถิ่นทุรกันดาร

เป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจมากครับ เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ที่อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินด้วยเครื่องเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ทรงเลือกตำแหน่งในแผนที่ 1 ต่อ 50,000 เรียกว่า ห้วยวังคำ เส้นทางน่าจะเป็นทางเกวียน มืดจริงๆ ที่พวกเรานั่งเบียดกันทั้งกรมชลประทาน มีอธิบดี ชาวบ้านนำทาง รองสมุหราชองครักษ์ เกือบสิบคนได้ นั่งไปก็โยกเยกไปมา กว่าจะเจอจุดที่พระองค์ทรงกำหนดก็หลงทาง พระองค์ต้องทรงเรียกชาวบ้านนำทางว่า ไกด์ผี และเรียกถนนที่ไปว่า ทางดิสโก้

ทอดพระเนตรประตูบังคับน้ำ คลองปาเระ และคลองบาเจาะ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตร ประตูบังคับน้ำ คลองปาเระ และคลองบาเจาะ

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรประตูบังคับน้ำกลาง คลองปาเระ และประตูบังคับน้ำต้น คลองบาเจาะ ในเขตตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งกรมชลประทานได้ก่อสร้างสนองพระราชดำริเสร็จใน พ.ศ. 2531

เสด็จฯไปทรงเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

เขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากกองบิน 71 อำเภอพุมพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปทรงเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก

ในหลวงทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก และทรงเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านนากอ ตำบลจอเบาะ อีกทั้งยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรถังเก็บน้ำที่โรงเรียนร่มเกล้า บ้านบูเก๊ะปาลัส ตำบลจอหอ ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปว่า บริเวณหุบเนินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกไปประมาณ 500 เมตร มีทำเลซึ่งสามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สำหรับรวบรวมเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ สมควรสร้างอ่างเก็บน้ำที่บริเวณดังกล่าว สามารถรับน้ำที่ผันมาจากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกลงมาเพิ่มเติม ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านนากอและหมู่บ้านข้างเคียงได้จำนวนหลายร้อยไร่ ทำให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี จากการก่อสร้างฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกและระบบแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับหมู่บ้านต่างๆ แล้วนั้น สามารถช่วยให้หมู่บ้านและโรงเรียนจำนวนมากมีน้ำกินและน้ำใช้อย่างสมบูรณ์ตลอดทั้งปี สำหรับที่หมู่บ้านนากอ สมควรสร้างถังน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนบ้านนากอโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับของโรงเรียนอื่นๆ

ทรงถือแผนที่และทรงคล้องกล้องถ่ายรูปไปด้วยเสมอ
ภาพที่คนไทยเห็นจนชินตายามในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯลงพื้นที่คือ ภาพที่ทรงถือแผนที่และทรงคล้องกล้องถ่ายรูปไปด้วยเสมอ

มีพระราชดำรัสให้สร้างฝายทดน้ำ

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 ณ บ้านนากอ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปความว่า ควรสร้างฝายทดน้ำหรืออ่างเก็บน้ำตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่คลองโต๊ะแกโดยเร่งด่วน เพื่อจัดหาน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคที่บริเวณโรงเรียนร่มเกล้า บ้านบูเก๊ะปาลัส ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และสำหรับหมู่บ้านข้างเคียง โดยการส่งน้ำไปให้โดยท่อ นอกจากนี้ฝายหรืออ่างเก็บน้ำดังกล่าวจะสามารถจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่ทำนาของบ้านนากอ ในเขตตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ ได้อีกด้วย

 

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งหลาย

ภาพ : แฟนเพจ Facebook – ทวี เต็มญารศิลป์

keyboard_arrow_up