ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จพระราชดำเนินยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก วันที่เสาร์ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.00 น.  รัชกาลที่ ๑๐ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณมหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล 16.42 น.ขบวนพระบรมราชอิสริยยศที่จะออกจากพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ก็จะเริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากเกยหน้าพระทวารเทเวศรรักษา ประทับพระราชยานพุดตาลทอง แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปเทียบเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนที่จะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นชานพระอุโบสถ ชาวพนักงานประโคมมโหระทึก กลองชนะ ปี่ แตรงอน แตรฝรั่ง สังข์ เจ้าพนักงานเดินริ้วเครื่องสูงหักทองขวาง พระแสงหว่างเครื่อง ฉัตรกรรณภรมร์ พระแสงอัสดาวุฒ และเครื่องราชอิสริยยศงราชูปโภคยาตราตามขบวนจังหวะกลอง โดยออกจากเกยหน้าพระทวารเทเวศน์รักษา พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอมรวิถีในพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวขวาเข้าถนนจักรีจรัลผ่านประตูพิมานไชยศรี จากนั้นริ้วขบวนเลี้ยวขวาผ่านหน้าศาลาสหทัยสมาคมเทียบพระราชยานพุดตาลทองที่เกย หลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงศีลแล้วมีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ […]

สมเด็จพระเทพฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อ รัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์แทน พระบรมวงศานุวงศ์ ได้นำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๑๐ ) วันที่เสาร์ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๑๐ ) ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายนพรัตน์ราชวราภรณ์ สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง เสด็จฯ ออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน เพื่อให้ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนต่างๆ ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์ผู้แทน พระบรมวงศานุวงศ์ ได้นำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าและเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์มีความปิติปราโมทย์เป็นพ้นประมาณ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จเถลิงราชสมบัติสืบราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์ ฉลองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถและได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้มาประชุมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลและแสดงความจงรักสวามิภักดิ์ในใต้เบื้องพระยุคลบาทในวาระแห่งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในอุดมสุภสมัยอันพิเศษนี้ ข้าพระพุทธเจ้า เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์จึงขอพระราชทานยกสัจธรรมขึ้นเป็นที่ตั้ง ร่วมจิตถวายถวายสัตย์ปฏิญาณว่า” “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจะตั้งตนตั้งใจไว้ให้มั่นคง ในความซื่อสัตย์สุจริต และในความจงรักภักดี จะมุ่งมั่นประพฤติตนปฏิบัติงานและทำหน้าที่ของตนโดยเต็มกำลัง สติปัญา และความสามารถ เพื่อธำรงไว้เพื่อเกียรติศักดิ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ […]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุญาต ปชช. เฝ้ารับเสด็จ 29 ต.ค.นี้

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ด้านกองอำนวยการร่วมงานพระราชพิธีฯ แจ้งปิดการจราจรตั้งแต่15.00 น.เป็นต้นไป การพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เข้าสู่ขั้นตอนพิธีสุดท้ายเหลือเพียง อัญเชิญพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคาร บรรจุ ณ ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ล่าสุดกองอำนวยการร่วมงานพระราชพิธีฯ (กอร.พระราชพิธีฯ)แจ้งว่าในวันที่ 29 ต.ค.60 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จตลอดเส้นทาง อย่างไรก็ตามสำหรับกำหนดการนั้น กอร.พระราชพิธีฯ แจ้งว่าในวันที่ 29 ต.ค.60 ตั้งแต่เวลา 15.00 น.เป็นต้นไป กองบังคับการตำรวจจราจร จะปิดการจราจรระดับ 2 จำนวน 27 เส้นทาง ซึ่งเป็นเส้นทางของริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 6 คือการอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จาก พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และใต้ฐานบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามเส้นทาง ดังนี้ 1.ถนนหน้าพระลาน […]

ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงขอบใจชาวไทยที่มีจิตอาสาช่วยเหลืองานพระบรมศพ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ทรงขอบใจประชาชนที่ร่วมบำเพ็ญประโยชน์เป็นจิตอาสา ช่วยเหลืองานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และงานด้านต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ ดังมีพระราชกระแสดังนี้ ถือเป็นขวัญและกำลังใจที่สำคัญอันหาที่สุดมิได้จริงๆ สำหรับพระราชกระแสที่ทรงขอบใจปวงชนชาวไทยที่ร่วมกันทำความดีและช่วยเหลือกัน  

ครบปัญญาสมวาร รวมปรากฏการณ์ชาวไทย พร้อมใจทำความดี

เชื่อว่าคนไทยคงจดจำวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นวันที่แผ่นดินไทยพบกับการสูญเสียพ่อของแผ่นดิน บรรยากาศของทั้งประเทศเต็มไปด้วยเสียงร่ำไห้และความเศร้าโศก วันนี้ครบ 50 วันแล้วที่พ่อจากไป แพรวจึงได้รวบรวมปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากแรงศรัทธาของประชาชนชาวไทย ที่ร่วมใจกันทำเพื่อพ่อหลวงมาฝากค่ะ

เปิดบันทึกจ่าเอก กาย โพธิ์งาม เล่าเหตุอัศจรรย์ขณะในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบเมื่อ 50 ปีก่อน

แม้จะเคยได้ยินเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตรัสกับชาวบ้านที่ฉุดพระบาทพระองค์เอาขึ้นไปบนหัวว่า “เราไม่ใช่เทวดานะ” แต่ก็มีเหตุการณ์อภินิหารหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นกับพระองค์จนเราอดคิดไม่ได้ว่าหรือท่านทรงเป็นเทวดาที่มีลมหายใจของปวงประชาจริงๆ

จะหาใครห่วงใยประชาชนเกินพระองค์นั้นไม่มี “เสี่ยปลอม” เรื่องราวสุดประทับใจของกษัตริย์นักพัฒนา

หากจะหาใครเทียบความห่วงใยที่มีต่อประชาชนชาวไทยนั้นคงไม่มีใครเกินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ตระหนักถึงปัญหาในทุกๆ ด้านจนเกิดโครงการในพระราชดำริมากมาย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสิ้น

เจ้าของอาณาจักรฟาร์ม โชคชัย บูลกุล เผยเรื่องเล่าสุดซึ้งจากกระติกใส่นมถวาย “พ่อหลวง”

โชคชัย บูลกุล เป็นเจ้าของฟาร์มและสุดยอดนักสะสม แต่ไม่มีของสิ่งไหนจะมีคุณค่าเท่าสิ่งนี้อีกแล้ว… โชคชัย บูลกุล ครั้งหนึ่งเคยฝันเห็นตัวเองในชุดคาวบอยควบม้าอยู่ในฟาร์มกว้างสุดลูกหูลูกตา แต่กว่าจะก้าวถึงฝันนั้นได้ ต้องล้มลุกคลุกคลานมานับครั้งไม่ถ้วน จนได้เจอแสงสว่างที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานเป็นแนวทาง จนมีอาณาจักรฟาร์มโชคชัยดังเช่นทุกวันนี้  เป็นทั้งเจ้าของฟาร์มและสุดยอดนักสะสม ไล่ตั้งแต่รถยนต์คันงาม คริสตัลเพชร ปืนไรเฟิลกระบอกเท่ และของล้ำค่าอีกมากมาย แต่ก็ไม่มีสิ่งใดจะมีคุณค่าเทียบเท่ากระติกน้ำเก่าๆ ใบนี้ได้เลย เพราะเป็นกระติกใส่นมไปทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ตำหนักสวนจิตรลดาเมื่อหลายสิบปีก่อน “ทั้งที่ขณะนั้นพระองค์ทรงมีวัวนมอยู่แล้ว 40 กว่าตัว รวมถึงโรงรีดนมและโรงงานพาสเจอไรซ์ แต่พระองค์ท่านรับสั่งว่าอยากได้นมของฟาร์มโชคชัยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 ลิตร ผมจึงให้น้องภรรยานำไปทูลเกล้าฯถวายที่วัง ผมเดาว่าพระองค์ทรงอยากให้กำลังใจพวกเรา เพราะสมัยนั้นนมวัวยังไม่แพร่หลายในเมืองไทย ทำให้ขายไม่ดี และธุรกิจยังประสบปัญหาอีกสารพัด แต่ด้วยกำลังใจจากพระองค์ท่าน ทำให้ผมมีพลังสู้ต่อ และโคนมยังเป็นอาชีพพระราชทานด้วย ทำให้พวกเรารู้สึกภาคภูมิใจมาก “แล้วมีอีกครั้งตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯไปห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ขณะที่พระองค์เสด็จฯกลับขึ้นรถ จู่ๆพระองค์หันหลังกลับมาหาผมที่ยืนในแถวรับเสด็จ แล้วมีรับสั่งว่า ‘คุณโชคชัย ต่อจากนี้คุณจะดีแล้ว’ น้ำตาผมไหลตรงนั้นเลย รู้สึกตื้นตันจนลืมทุกอย่าง แม้กระทั่งจะกราบเบื้องพระยุคลบาทยังคิดไม่ทัน และหลังจากนั้นฟาร์มโชคชัยก็ดีขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน” เรื่อง […]

“หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล” ต้นแบบของข้าราชการผู้ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล กับบทบาทการเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ที่น้อมรำลึกเอาคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้อยู่เสมอ

สถิตอยู่ในใจไทยทั้งปวง “แสตมป์ในหลวงรัชกาลที่ ๙” เรื่องราว ๗ ทศวรรษของพ่อ

รวมภาพบางส่วนจากชุด ‘แสตมป์ในหลวงรัชกาลที่๙’ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราว ๗ ทศวรรษของพ่อ ที่ทรงทุ่มเททั้งพระวรกายและพระปรีชาสามารถทั้งหมดเพื่อลูก ๖๕ ล้านคน

ทำความดีเพื่อพ่อ “เก่ง วงเฟลม” “เอก ซีซันไฟฟ์” บวชถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่ “พ่อหลวง”

ในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งที่ขอ ทำความดีเพื่อพ่อ เหล่าศิลปินร่วมบวชถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

“สันทัด สีนะวัฒน์” ชายผู้มีหน้าที่ดูแลพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9

ถ้าถามว่าอาชีพไหนเป็นอาชีพที่ดีที่สุดคงเป็นคำถามที่ตอบยากเหลือเกิน แต่สำหรับคนไทยเราเชื่อว่าอาชีพใดก็ตามที่ได้ทำงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท ช่างเป็นอาชีพที่น่าภูมิใจอย่างหาที่สุดไม่ได้ เช่นเดียวกับคุณ “สันทัด สีนะวัฒน์” เขามีอาชีพเป็นช่างภาพส่วนพระองค์ วันนี้เรามีบทสัมภาษณ์ของเขามาฝากกันค่ะ

“ใช้กระดุมเม็ดเดียว” งานออกแบบจากฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ผ่านแบบเสื้อโปโลพระราชทานที่ยึดหลัก ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รักในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่แพ้คนไทย “คนูลท์ โคลเซ่” ฝรั่งหัวใจไทย 100 %

เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่ผู้ชายคนนี้แสดงความรักที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้วยการเป่าทรัมเป็ต ถวายพระพรทุกวันที่ 5 ธันวาคม และในทุกครั้ง ทุกที่ เมื่อมีโอกาส เพื่อให้ทุกคนรับรู้และได้ยินเสียงที่เปล่ง ออกมาจากหัวใจเขาว่า ‘ผมรักในหลวง’

“ทรงเรียบร้อย ทรงเป็นช่างฝีมือดี ฉลองพระองค์จะไม่เลอะสีหรือกาวเลย” เรื่องเล่าจากรั้ววัง

เรื่องราวแสนพิเศษจากจากผู้ที่เคยถวายงานรับใช้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ อย่างใกล้ชิด ถ่ายทอดเป็นความประทับใจด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

“30 บาทรักษาได้หรือไม่ คนยากจนจะมีโอกาสไหม” จากพระทนต์พระราชาสู่รากฟันเทียมประชาชน

30 บาทรักษาได้หรือไม่ คนยากจนจะมีโอกาสไหม’ จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยประชาชนในเรื่องของรากฟันเทียม นับเป็นจุดกำเนิดของนวัตกรรมทางทันตแพทย์ครั้งยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ‘รศ.ทพ.ดร.ปฐวี คงขุนเทียน’ และ ‘วรวุฒิ กุลแก้ว’

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้ หน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างไร?

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้น บรรดานักหนังสือพิมพ์อเมริกันได้กราบทูลถามถึง “หน้าที่พระเจ้าแผ่นดินของพระองค์เป็นอย่างไร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสตอบด้วยพระปรีชาว่า

สมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรฯ เล่าถึง “ในหลวงรัชกาลที่ 9” สมัยทรงผนวชอยู่สำนักเดียวกัน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับเรื่องราวต้นแบบความอดทน เมื่อครั้งทรงผนวชที่วัดบวรฯ เป็นเวลา 15 วันในปี พ.ศ.2499 โดยสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้เปิดเผยเรื่องราวครั้งแรก “ในสมัยนั้นอาตมาเป็นพระใหม่ ก็สังเกตเห็นว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระราชหฤทัยปฏิบัติด้วยความศรัทธา กิจวัตรประจำวันคือเสด็จฯไปบิณฑบาตในวังหรือในส่วนราชการบ้าง แล้วก็เสด็จฯไปบิณฑบาตให้ประชาชนได้ใส่บาตรตามปกติ ดังนั้นคนใส่บาตรให้พระองค์ท่านไม่ใช่ว่าต้องพิเศษจากไหน “ทรงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีของพระภิกษุ พระองค์ทรงมีขันติอย่างยิ่ง ยกตัวอย่างเช่น ในพระอุโบสถวัดเวลาทำวัตรสวดมนต์จะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ทิศตะวันตกสำหรับพระเก่าที่ประจำอยู่ที่วัด ส่วนทิศตะวันออกคือส่วนของพระองค์ท่านกับพระที่บวชตามเสด็จ เวลาทำวัตรสวดมนต์ พระองค์ท่านจะประทับนังพับเพียบหันพระบาทไปทางทิศตะวันออก แล้วประทับอยู่แบบนั้นโดยที่ไม่พลิกพระบาทหันมาทางทิศตะวันตกเลยสักครั้ง เป็นเวลาเกือบชั่วโมง ทั้งช่วงเช้า บ่าย เพราะตามธรรมเนียม ผู้บวชทีหลังต้องเคารพนับถือพระใหญ่ที่บวชมาก่อน ซึ่งท่านทรงศึกษามาก่อนผนวชแล้ว ถึงนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกประการ ขนาดอาตมาในฐานะที่บวชเณรมานาน แค่มาบวชพระปีเดียวกับพระองค์ท่านก็ยังปฏิบัติสู้ท่านไม่ได้ “อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัย ก็อยากให้ประชาชนชาวไทยปฏิบัติบำเพ็ญตนตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา คิดดี ทำดี ละเว้นความชั่ว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล” นอกจากนี้พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯยังกล่าวอีกว่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความอาลัยต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช […]

keyboard_arrow_up