แชร์ภัยร้ายของ MPS อาการคล้าย ออฟฟิศซินโดรม แต่ร้ายและรุนแรงกว่ามาก!!

Alternative Textaccount_circle

คนทำงานส่วนใหญ่จะรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดเฉพาะจุด เช่น คอ บ่า ไหล่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้เป็นเพียงกลุ่มย่อยของ MPS (Myofascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ลักษณะของอาการจะคล้ายกับ ออฟฟิศซินโดรม แต่อาการของ MPS จะมีอาการปวดแบบกว้างกว่า และมีความรุนแรงมากกว่า จึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าออฟฟิศซินโดรม

คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด จากคลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลว่า MPS (Myofascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่วงการแพทย์ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก MPS นี้เป็นกลุ่มอาการปวดซึ่งจะนำไปสู่อาการและโรคที่ร้ายแรงต่อผู้ที่เป็นได้ ปัจจุบันพบว่ากว่า 20% ของผู้มีอาการ MPS ที่ปล่อยให้เรื้อรัง(มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน) จะส่งผลให้เป็นโรค Fibromyalgia /FMS หรืออาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดกระจายตัวทั้งร่างกายได้ ซึ่งความน่ากลัวของกลุ่มอาการนี้คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของสารเคมีในสมองบางตัว (Brain Chemical Adaptation) ทำให้ผู้มีอาการของ FMS นั้นไวต่อการรับรู้ ความรู้สึกเจ็บปวด และที่สำคัญพบว่า ผู้เป็นเรื้อรัง มากว่า 50% มักส่งผลต่อภาวะทางจิตใจและอาการต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น เช่น นอนไม่หลับ เพลียไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อยล้า ชาตามร่างกาย วิตกกังวล เครียด และนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าในที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้เกิด MPS เพราะมีการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างหนัก คือ ทำต่อเนื่องอยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน ไม่พักหรือเปลี่ยนอิริยาบถ อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมของที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานไม่เหมาะสม  ไม่ทราบวิธีเบื้องต้นในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดที่ต้องทำงานหนัก ออกกำลังกายเพื่อแก้อาการผิดวิธี ฯลฯ

ส่วนใหญ่ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ MPS มักไม่ทราบว่าตนเป็นอาการนี้ และถูกวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่คล้ายกัน เช่น ออฟฟิศซินโดรม ไมเกรน ปวดศีรษะจากความตึงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ หรืออักเสบเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวเป็นเพียงส่วนย่อยของ MPS

ลองสังเกตดูนะคะ ว่าคุณมีอาการของ MPS หรือไม่

  • กล้ามเนื้อแข็งเป็นลำ
  • ปวดมากเมื่อต้องอยู่ในท่าเดิมๆ
  • จุดกดเจ็บมักปวดร้าวไปบริเวณอื่นๆ
  • วิงเวียนหนักศีรษะ
  • ชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย
  • ตาพล่า คัดจมูก เหมือนน้ำตาเอ่อ
  • นอนไม่หลับเครียด

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบแก้ไข เพราะในทางกายภาพบำบัดสามารถตรวจวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการปวดต่างๆ ได้  ซึ่งหากเราทราบแน่ชัดว่าอาการที่เป็นนั้นรุนแรง จัดอยู่ในขั้นของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อแบบใด เราก็สามารถทราบวิธีการในการจัดการดูแล ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูอาการนั้นๆ ได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้นคะ


ภาพ : Life Center

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เดือดเหมือนลงกระทะ! วิธีสังเกต ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดที่ทำให้เสี่ยงตายได้

ก่อนเรื้อรังหนัก “กรดไหลย้อน” โรคฮิตชีวิตคนเมืองป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

ชี้ทางแก้ “นอนไม่หลับ” จนตาคล้ำไม่สวย แถมเร่งแก่ เร่งป่วย ร่างกายทรุดเร็ว

ถ้าไม่อยากแก่ไวต้องเลิกกิน 5 อาหารเร่งเหี่ยว ทำร้ายสุขภาพผิวให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย

กินอาหารตามธาตุ ช่วยปรับสมดุลร่างกายให้ไม่เจ็บป่วย ตามหลักการแพทย์แผนไทย

ไม่ต้องผ่าตัด! นวัตกรรมใหม่รักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ผู้หญิงวัย 30+ เสี่ยงสูง

ยืน เดิน นั่ง นอน ผิดท่า! กระทบต่อโครงสร้างร่างกายและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่ซ่อนอยู่

สุขภาพดีไม่มีทางลัด! แชร์ 5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ ดีท็อกซ์ลำไส้

อยากลุคดีแต่ปวดเมื่อยมาก! ลอง 3 ท่าบริหารสำหรับคนที่ชอบใส่ส้นสูง

4 จุดริ้วรอยบอกโรค! ส่วนไหนไม่ปกติ ส่วนไหนบกพร่อง สะท้อนสุขภาพจากภายใน

แชร์เคล็ดลับสร้างสมดุลผิวสู้ภัยฝุ่น PM 10-2.5 สำหรับสาวๆ ที่เกิดผื่นแพ้ผิวหนังและสิวง่าย

6 วิธีถนอมดวงตาจากเหล่าไอทีแก๊ง ตัวการใหญ่ที่ทำให้สายตาเสียโดยไม่รู้ตัว

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up