- Page 130 of 163

“ใช้กระดุมเม็ดเดียว” งานออกแบบจากฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อีกหนึ่งพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ผ่านแบบเสื้อโปโลพระราชทานที่ยึดหลัก ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

แพรวเชื่อว่าพวกเราปวงชนชาวไทยทั้งประเทศคงอยากทราบถึงพระราชประวัติ ของใช้ส่วนพระองค์ พระราชจริยวัตรต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงรถยนต์พระที่นั่งในพระองค์ท่าน ที่คราใดมีขบวนเสด็จฯ เป็นต้องชะเง้อมองว่าคันไหนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประทับเป็นแน่ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่แพรวไปเจอเพจ Siam Bimmer เขียนโดย northyc ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่มีความหลงใหล และหลงรักเรื่องราวของรถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็นที่มาที่แพรวรวบรวมมาให้ได้ชมกัน รถยนต์พระที่นั่งองค์แรก ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์รถยนต์พระที่นั่งโบราณในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ณ วังสุโขทัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ Mercedes-Benz 300SL Gullwing 1955 รถยนต์องค์นี้เข้าประจำการเพื่อเป็นพระราชพาหนะในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2498 เป็นรถยนต์ที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม น้อมเกล้าฯถวายในสมัยนั้น แล้วได้มีการเปลี่ยนทะเบียนจาก 1ด – 0010 ไปเป็น 1ด – 1110 ในภายหลัง ซึ่งได้มีการเปิดให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศเก็บภาพและทำประวัติไว้อย่างงดงาม รถยนต์พระที่นั่งองค์นี้ถือว่าเป็นซูเปอร์คาร์ในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ เป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีเพียง 8 คันในประเทศไทย ถือเป็นองค์ที่สภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย และยังคงเป็นรถที่สมบูรณ์มากที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน ทราบว่ารถยนต์พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อปี ค.ศ. […]

ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือนวัง “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ต้นแบบความสุขที่ยั่งยืน

ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือน…พระตำหนักจิตรลดาฯ พระราชวังของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นไม่เหมือนวังอื่นๆ ซึ่งหรูหราอลังการด้วยสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม เพราะที่นี่มีเพียงสิ่งปลูกสร้างเรียบง่าย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยแนวทางสู่ความสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งพระองค์ท่านทรงวางไว้ให้เราหมดแล้ว “ไม่มีพระราชวังไหนในโลกเหมือนพระตำหนักจิตรลดาฯที่เต็มไปด้วยบ่อเลี้ยงปลาและไร่นาทดลอง อีกทั้งผองโคนม ผสมด้วยโรงสี และโรงงานหลากหลาย จึงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ในประเทศไทยไม่มีช่องว่างระหว่างเกษตรกรและพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำงานอย่างหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินด้วยพระองค์เอง” เบื้องต้นคือคำกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลของพลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2523 เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นไม่เหมือนวังอื่นๆ ซึ่งหรูหราอลังการด้วยสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม เพราะที่นี่มีเพียงสิ่งปลูกสร้างเรียบง่าย เน้นประโยชน์ใช้สอย มีทุ่งนา โรงงาน และโรงเรือนมากมาย แต่กลับดึงดูดผู้คนจํานวนมากจากทั่วประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้เข้ามาเยี่ยมชมทุกปี ทุกคนต่างมาเพื่อดูว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงทําสิ่งใดเพื่อประชาชนคนไทยบ้าง แล้วจะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านได้ทรงวางแนวทางสู่ความสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนไว้ให้เราหมดแล้ว สถานที่ในเขตพระราชฐาน พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตแห่งนี้ เป็นจุดกำเนิดของโครงการทั้งสิ้นกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดําริ แล้วทรงใช้ที่ประทับส่วนพระองค์เพื่อศึกษาทดลองโครงการต่างๆตามแนวพระราชดําริด้วยพระองค์เอง เพื่อหาแนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางการเกษตรให้แก่ประชาชน โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดําเนินงานทั้งสิ้น จึงเป็นที่มาของชื่อ “โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปลูกป่าและทำนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 โดยเริ่มจากในบริเวณสวนจิตรลดา เพราะไม่ไกลจากพระตำหนักสักเท่าไหร่ เวลาที่ทอดพระเนตรจะทรงเห็นได้ชัด แล้วยังมีพระราชดําริว่าการที่ชาวนาปลูกข้าวได้เพียงครั้งเดียวต่อปีนั้นไม่เพียงพอต่อการบริโภค จําต้องพัฒนาสายพันธุ์ข้าวซึ่งโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง […]

ชาตินี้ไม่มีวันลืม โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี ผู้เคยฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9

ในชีวิตที่เกิดมา คงมีไม่กี่คนที่จะมีโอกาสได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้าแผ่นดิน 10 ปีก่อนหน้านี้ สำหรับ โอ๊ต ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี จึงมีเรื่องเล่าความทรงจำมากมาย ที่ครั้งหนึ่งสมัยเขาอายุเพียง 19 ปี นั้นมีบุญเหลือเกินที่ได้เข้าไปรับใช้งานในสำนักพระราชวัง ในฐานะของช่างภาพ

“นั่นลูกศิษย์เรา” พระสุรเสียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อ ดร.ภาธร ศรีกรานนท์ สุดประทับใจในชีวิตสายดนตรี

เป็นเรื่องราวที่ดีที่ควรค่าแก่การบอกต่อ เพราะ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มิได้ทรงสอนแค่การเล่นดนตรี แต่ทรงสอนการใช้ชีวิต เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงหน้าที่ของตัวเองและมีสติอยู่เสมอ

“ทรงเรียบร้อย ทรงเป็นช่างฝีมือดี ฉลองพระองค์จะไม่เลอะสีหรือกาวเลย” เรื่องเล่าจากรั้ววัง

เรื่องราวแสนพิเศษจากจากผู้ที่เคยถวายงานรับใช้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ อย่างใกล้ชิด ถ่ายทอดเป็นความประทับใจด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

14 เรื่องเล่าพระราชอารมณ์ขันของในหลวง เก็บไว้อ่านยามคิดถึงพ่อ!

แพรวได้รวบรวมเรื่องเล่ามุมน่ารัก พระราชอารมณ์ขันของในหลวงที่เกิดขึ้นตามพระจริยวัตรของพระองค์ท่าน ยามเมื่อเสด็จฯไปทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ท่านอยู่เป็นประจำ เรื่องราวบางส่วนนี้เมื่อได้ฟังแล้วยอมรับว่าอดอมยิ้มตามไม่ได้จริงๆ  “วันนี้ฉันเป็นในหลวง…คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ…” ระยะแรกราวปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลนั้น จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท้องที่ห่างไกลทุรกันดารย่านหัวหิน หนองพลับ แก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง ทำนองเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่าทรงเสด็จฯมาถึงแล้ว วันหนึ่งทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านไปถึงยังบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งย่านหมู่บ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหิน ซึ่งราษฎรกำลังช่วยกันตกแต่งประดับซุ้มรับเสด็จกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง และไม่คาดคิดว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ ต้องให้ในหลวงเสด็จฯก่อน แล้วพรุ่งนี้ถึงจะลอดผ่านซุ้มได้…”วันนี้ห้ามลอดผ่านซุ้มนี้ เพราะขอให้ในหลวงผ่านก่อนนะ”…ทรงขับรถพระที่นั่งเบี่ยงข้างทาง ไม่ลอดซุ้มดังกล่าว วันรุ่งขึ้นเมื่อทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านนี้อย่างเป็นทางการ พร้อมคณะข้าราชบริพารผู้ติดตาม และมีพระดำรัสทักทายกับชายผู้นั้นที่เฝ้าอยู่หน้าซุ้มเมื่อวันวานว่า “วันนี้ฉันเป็นในหลวง…คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ…” “แหม ดีนะที่ชมว่าใช้ได้  แถมจะปรับตำแหน่งให้เป็นช่างอีกด้วย” มีเรื่องหนึ่งเคยฟังจากผู้ใหญ่เล่าเมื่อนานมาแล้ว มีช่างไปทำฝ้าเพดานในวัง คนหนึ่งกำลังยืนบนบันได ส่วนหัวอยู่ใต้ฝ้า อีกคนคอยจับบันไดอยู่ด้านล่าง พอดีในหลวงเสด็จฯมา คนที่อยู่ข้างล่างเห็นในหลวงก็ก้มลงกราบ คนอยู่ด้านบนไม่เห็นก็บอกว่า “เฮ้ย จับดีๆหน่อยสิ อย่าให้แกว่ง” ในหลวงทรงจับบันไดให้ เขาก็บอกว่า “เออ ดีๆ เสร็จงานนี้จะให้เป็นช่างจริง” (สงสัยคงจะเพิ่งเข้ามาทำงาน ยังไม่ผ่านโปร) พอเสร็จก็ก้าวลง พอเห็นว่าในหลวงทรงจับบันไดให้ ถึงกับเข่าอ่อนจะตกบันได รีบลงมาก้มกราบ ในหลวงตรัสกับช่างว่า […]

เผยมุมโรแมนติกในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรักพระราชินี ‘เหมือนเคย’ มิเปลี่ยนตั้งแต่แรกเจอ

เรื่องราวความรักระหว่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชินี หรือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นเรื่องราวที่คนไทยได้ฟังเมื่อใด หรือฟังซ้ำเกินหนึ่งครั้งก็ยังคงซาบซึ้ง ประทับใจมิเคยเปลี่ยน

เรื่องเล่าจาก ดร.ธรณ์ เมื่อมหาปราชญ์ชวนจักรพรรดิญี่ปุ่นไปดูปลาที่คณะประมง

ทุกคนทราบว่าราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ หลายคนทราบว่าปลานิลมาจากความสัมพันธ์ดังกล่าว แต่น้อยคนทราบว่า #ก่อนปลานิลยังมีปลาบู่ เมื่อสองกษัตริย์ชวนไปชมปลา #การทูตหยุดโลก #คือความหมายของเหลือเชื่อ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตอบคำถามที่หลายคนอยากรู้ หน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างไร?

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2503 นั้น บรรดานักหนังสือพิมพ์อเมริกันได้กราบทูลถามถึง “หน้าที่พระเจ้าแผ่นดินของพระองค์เป็นอย่างไร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสตอบด้วยพระปรีชาว่า

ซาบซึ้งตราตรึงใจ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำรัสตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙

ย้อนรำลึกถึงพระราชดำรัส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่สร้างความประทับใจและซาบซึ้งแก่เหล่าพสกนิกรไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครั้งทรงถูกผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ตั้งคำถามถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เรื่องเล่าคนในวัง…รู้ไหมว่า 14 ปีที่แล้ว พระราชินีของเรา ได้ทำสิ่งนี้ให้กับคนไทย

จากการทำงานอย่างใกล้ชิดของบรรดาข้าราชการที่ถวายงานในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงมีหลายเรื่องราวที่น่าสนใจ จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ในวันนี้ได้กลายเป็นความสำเร็จที่พระองค์ทรงสร้างไว้ให้กับคนไทยอีกครั้ง

“ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทำต่อไป” ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสแก่เบิร์ด – ธงไชย ศิลปินผู้ใช้ชีวิตตามหลักพ่อหลวง

เป็นเรื่องซาบซึ้งตรึงใจสำหรับศิลปินซูเปอร์สตาร์ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ที่เคยได้มีโอกาสเข้าไปถวายงานร้องเพลงเฉพาะพระพักตร์เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 50 ปี และ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสประโยคที่ทำให้หัวใจที่แห้งเหือดของเบิร์ดที่เพิ่งเสียคุณแม่ไปกลับมาสดใสอีกครั้ง ‘ปลูกข้าวที่เชียงรายอยากให้ทําต่อไปนะ เบิร์ดเป็นคนดีที่หนึ่ง’

ทรงคุณค่าต่อจิตใจ กล้องที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในหลวง

ส่องกล้องLecia M6 ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในหลวง ทำด้วยทองคำ 24 กะรัต Leica M6 รุ่น “King of Thailand” Limited Edition

หมอก้อง-สรวิชญ์ ขอตามรอยคำสอนพ่อ “ผู้ปิดทองหลังพระ”

พันตรี นพ.สรวิชญ์ สุบุญ แพทย์ตรวจรักษาสำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม “พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ผมเห็นชัดที่สุดและพยายามทำให้ได้คือ ทรงสอนให้ปิดทองหลังพระ จะมีคนเห็นหรือไม่ ไม่ต้องสนใจ ปิดไปเรื่อยๆ แล้วทองก็จะล้นมาที่หน้าองค์พระเอง ซึ่งก่อนหน้านั้นผมคิดแค่ว่า ทำความดีก็อยากให้คนอื่นชื่นชอบ ทำให้มีกำลังใจและรู้สึกว่าตัวเองเป็นฮีโร่ แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเคยเรียกร้องอะไรเลย ทรงทำความดีทุกวัน จนความดีเหล่านั้นปรากฏให้ประชาชนได้เห็นเองจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งยิ่งใหญ่มาก “วันหนึ่งผมมีโอกาสได้ฟังเทศน์จากพระรูปหนึ่งว่า คนเราจะทำความดีเพื่ออะไร ถ้าทำเพื่อจะได้ดี แล้วหนีในสิ่งที่เคยทำไม่ดีไว้ ความคิดนั้นผิด เพราะความดีกับความเลวแยกกัน พระรูปนั้นสอนอีกว่า ทำไมหมอไม่คิดแค่ว่า ทำความดีเพื่อให้รู้ว่ายังมีความดีหลงเหลืออยู่บนโลก แค่นี้เพียงพอแล้ว “แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นมากกว่านั้น ไม่ใช่แค่ให้ความดีจารึกอยู่บนโลก แต่พระองค์ทรงทำความดีเพราะทรงรักประชาชนทุกคนที่เป็นเหมือนลูกของพระองค์ แล้วเราในฐานะประชาชนจะทำอย่างไรที่ให้พระองค์ท่านทรงเหนื่อยน้อยลง จะทำอย่างไรให้คนที่ไม่รักชาติบ้านเมืองได้มีสติพิจารณาทบทวน แต่ผมเปลี่ยนแปลงใครไม่ได้ สิ่งเดียวที่ทำได้คือ การพูดให้ทุกคนทราบว่า พระองค์ท่านทรงทำอะไรบ้าง ผมยอมรับว่าเคยรู้สึกเหนื่อย ท้อจนอยากจะหยุด แต่ความท้อเหล่านั้นหายไปเมื่อได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว “ถ้าถามผมตอนอายุ 8 ขวบว่ารักในหลวงเพราะอะไร ผมคงตอบว่า เพราะในหลวงรักประชาชน ซึ่งเป็นคำตอบที่พูดต่อๆกันมา ไม่ได้มาจากใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พอโตขึ้นได้รับทราบและผ่านเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ทำให้รู้แล้วว่า ทำไมผมรักในหลวง… “เพราะพระองค์ท่านรักผม และรักทุกคนบนแผ่นดินไทยมากกว่าสิ่งอื่นใด” ที่มา : นิตยสารแพรว ฉบับที่ 823

พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวน 4 แบบ

จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้ ในวารสาร “ในวงการพิมพ์” (http://www.thethaiprinter.com) กล่าวไว้ว่า การได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ “พระนามบัตรในหลวง” นั้น มีที่มาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสีในงานของสหประชาชาติ ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมื่อปี พ.ศ.2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในโอโกาสครบรอบ 75 พรรษา โดยสรุปสุดท้ายที่การออกแบบนามบัตรจำนวน 4 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 มีคอนเซ็ปต์มาจากตัว “A” ซึ่งเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ “อดุลยเดช” และส่วนของจุดสีที่อยู่ภายในแทนสีของแก้วนพรัตน์ หรืออัญมณี 9 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ แบบที่ 2 มีคอนเซ็ปต์มาจากการพนมมือไหว้ของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อได้ถึงความเป็นคนไทย ขณะเดียวกัน ก็มีจุดสีของแก้วนพรัตน์รายล้อมอยู่ภายใน สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย แบบที่ 3 มีคอนเซ็ปต์มาจากเครื่องดนตรี คือ แซ็กโซโฟน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 […]

จากต่างด้าวสู่เศรษฐีพ่อค้าผ้ารายใหญ่ชาวอินเดีย มีวันนี้ได้เพราะในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ที่ทำกิน

ไม่ใช่แค่การเป็นที่พึ่งพิงให้กับคนไทยเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังมีพระกรุณาไปถึงคนต่างชาติต่างถิ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย เหมือนอย่างกับครอบครัวของคุณสาธิต เซกัล นายกสมาคมนักธุรกิจอินเดีย – ไทย ชาวอินเดียที่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ มีรายได้จนสามารถลืมตาอ้างปากอยู่สุขสบายจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งแพรวก็ได้นำบทสัมภาษณ์ของเขามาเผยแพร่ให้คนไทยได้อ่านกันด้วยค่ะ

“ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” ช่างซ่อมนาฬิกาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไว้พระทัยในฝีมือที่สุด

หากคุณเคยไปเดินเล่นย่านท่าพระจันทร์ คุณก็อาจสังเกตเห็นร้านนาฬิการ้านหนึ่งขึ้นป้าย “ลักษณ์ เท็ฆนิคการช่าง” และเหนือป้ายนั้นคือตราครุฑขนาดใหญ่สะดุดตาเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี่คือร้านของช่างซ่อมนาฬิกาที่ถวายงานให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ท่านไว้พระทัยในฝีมือที่สุด และวันนี้เราก็มีเรื่องราวของช่างซ่อมนาฬิกาผู้นี้มาฝากกันด้วย

keyboard_arrow_up