10 อันดับ อาหารสุขภาพ ที่มีผลวิจัยยืนยันว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสู้โควิด-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 การทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอตามหลักโภชนาการ มีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อสู้กับเชื้อไวรัส มีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการทานอาหารจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ดต่างๆ รวมไปถึงธัญพืช และถั่ว (Plant-Based Diet) เป็นประจำ ช่วยลดอาการป่วยหนักในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ได้ 73% และการทานจากพืช ผัก ผลไม้ เห็ด ธัญพืช ถั่ว ปลา และซีฟู๊ด (Pescatarian) เป็นประจำ จะช่วยลดอาการป่วยหนักในผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ได้ 59% ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ COVID–19 ที่เน้นทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจากเนื้อสัตว์เป็นประจำ จะมีอาการป่วยหนักกว่าผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่ทานอาหารจากพืช มากกว่าถึง 3 เท่า พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยมากกว่า 20 ปี จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จึงมาแนะนำ […]

โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้

โควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวเราไม่จากไปไหน บางคนเป็นแล้ว-หายแล้ว บางคนยังคงรอดถึงซีซั่นนี้ แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีคำถามคาใจสงสัยหลายข้อว่า โควิดติดซ้ำได้หรือไม่ ทำ Home Isolation ที่บ้านอย่างไรให้ปลอดภัย กักตัวครบแล้ว ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หายป่วยจากโควิดแล้ว ฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ฉีดวัคซีนหลายชนิดปนกัน จะเป็นอันตรายไหม ดูแลตัวเองอย่างไรให้รอดจากโควิดซีซั่นนี้ โควิด-19 ติดซ้ำได้หรือไม่ ? หายแล้วฉีดวัคซีนได้ตอนไหน ดูแลตัวเองยังไงให้รอดซีซั่นนี้ ซึ่งแพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ ได้อัพเดทตอบข้อสงสัยที่ผู้ป่วยมักจะถามคุณหมอกันบ่อยๆ เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ โดยปกติแล้ว ข้อมูลการติดเชื้อโควิดซ้ำๆ ก่อนหน้าที่จะมีโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเกิดขึ้นมา ได้มีการเก็บข้อมูลมาเป็นระยะ พบว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้วผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาจะยังไม่มีการติดเชื้อซ้ำ ภายใน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ แต่หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำจะมีเทียบเท่ากันกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ประกอบกับการได้รับวัคซีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 3 หรือ เข็มที่ 4 […]

พี่หมื่นก็ไม่รอดนะออเจ้า โป๊ป ประกาศติดโควิด-19 หลังใกล้ชิดผู้ป่วย

แม้จะทำงานภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด แต่ก็มีผู้ออกมาประกาศว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยอยู่เรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้แต่พี่หมื่น โป๊ป พระเอกชื่อดังจากละคร บุพเพสันนิวาส พี่หมื่นก็ไม่รอดนะออเจ้า โป๊ป ประกาศติดโควิด-19 หลังใกล้ชิดผู่ป่วย   โดยพี่หมื่นอย่างหนุ่ม โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ ได้แจ้งข่าวผ่านไอจีสตอรี่ @ popezaap ว่า “ตนเองตรวจพบเชื้อโควิด-19 เนื่องจากได้มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ โป๊ป ระบุว่า  “เนื่องจากตนได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ Covid-19 จึงได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลตรวจออกมาว่าพบเชื้อ Covid-19  โดยได้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว และต้องขอโทษทุกท่านที่ได้รับผลกระทบด้วยนะครับ”   ภาพจาก@popezaap , @nong_arunosha  เมื่อไหร่จะมีแฟน? ฟังจากปาก โป๊ป ธนวรรธน์ กับมุมมองความรักที่เปลี่ยนไป  

“โพรไบโอติกส์” ตัวช่วยสุขภาพสุดเจ๋งแบบองค์รวม ทั้งระบบการย่อย ภูมิคุ้มกัน ผิวพรรณ ฯลฯ

“โพรไบโอติกส์” ตัวช่วยสุขภาพสุดเจ๋งแบบองค์รวม ทั้งระบบการย่อย ภูมิคุ้มกัน ผิวพรรณ ฯลฯ เชื่อว่าหลายคนคงเตรียมตัวเตรียมใจไว้บ้างแล้วสำหรับ Covid-19 ระลอก 5 ในประเทศไทยที่มาไวกว่าที่คิด ทั้งสายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน และสายพันธุ์เดลต้าที่ยังคงระบาดอยู่ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักและดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าหลายๆ ระลอกที่ผ่านมาเพราะ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอนติดเชื้อง่ายขึ้นและแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 2-5 เท่าเลยทีเดียว แม้จะมีความรุนแรงไม่มาก และมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาก็ตาม แต่เราก็ต้องควบคุมการแพร่ระบาดให้ดีที่สุด เพื่อลดการสูญเสียของกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวนั่นเอง ในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง นักวิชาการหลายคนได้ออกมาแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือให้บ่อยยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด การกินอาหารที่สะอาดรวมถึงการสรรหาวิตามินอาหารเสริม และอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีๆ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือกับบรรดาเชื้อโรคได้ดีขึ้น ตั้งแต่ช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 หลายสถาบันวิจัยต่างหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น และมีงานวิจัยหลายฉบับพบว่าคนที่มีระบบลำไส้ทำงานได้ไม่ดี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรค Covid-19 ที่รุนแรงเนื่องจากการขาดจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น “โพรไบโอติกส์” ตัวช่วยสุขภาพสุดเจ๋งแบบองค์รวม  ซึ่งเราสามารถดูแลระบบย่อยอาหารและลำไส้ของเราได้ ด้วยการเสริมโพรไบโอติกส์ให้กับร่างกาย โดยแหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ ได้แก่ กิมจิ โยเกิร์ต ข้าวหมาก ผักดอง ถั่วเน่า และนมเปรี้ยว เป็นต้น แต่ในปัจจุบันโพรไบโอติกส์สามารถหากินได้ง่ายขึ้นในรูปแบบของอาหารเสริม และเรียกว่ากำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ หรือจะเรียกได้ว่าเป็นไอเท็มจำเป็นอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันไปแล้วก็ได้เพราะจุลินทรีย์ที่ดี หรือ โพรไบโอติกส์ จะช่วยดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ระบบการย่อยการหาร ระบบดูดซึมสารอาหารในลำไส้ […]

ลองโควิด (Long COVID) คืออะไร? แล้วส่งผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 ยังไง

ภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) คือ อาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 4 สัปดาห์ เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการเลยก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่บางคนก็ประสบกับภาวะหลังโควิด-19 ด้วยอาการที่ต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนนับจากการติดเชื้อครั้งแรก บางกรณีอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ รวมไปถึงอาการเดิมที่กลับกำเริบขึ้นมาอีกภายหลัง ภาวะหลังโควิดเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แม้การเจ็บป่วยครั้งแรกจะไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการเลยก็ตาม Long COVID คืออะไร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เรียกอาการที่ยังพบหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 4 สัปดาห์ว่าภาวะ ‘โพสต์โควิด’ (Post-COVID Conditions) หรือ ‘ลองโควิด’ (Long COVID) โดยประกาศให้เป็นความทุพพลภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภายใต้พระราชบัญญัติผู้ทุพพลภาพชาวอเมริกัน (ADA) เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ป่วยลองโควิด พบว่ามีความผิดปกติทางสรีรวิทยาและระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบไหลเวียนโลหิต สำหรับความบกพร่องทางจิตนั้น รวมไปถึงความเครียด สะเทือนใจ และความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ อาการลองโควิด […]

โครงการ “ตัวเล็ก ใจใหญ่” ชื่อคุ้นหูแต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าเราคือใคร?

โครงการ “ตัวเล็ก ใจใหญ่” ชื่อคุ้นหูแต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าเราคือใคร? โครงการตัวเล็ก ใจใหญ่ เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิ Let’s be hero นำทีมโดยหมอเจี๊ยบ ลลนา ทีมแพทย์อาสา และอาสาสมัครกว่า 300 คน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วย COVID-19 เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการรักษาแบบ Home Isolation ติดตามอาการโดยทีมแพทย์อาสา ทีมพยาบาล ทีมเภสัชกร ผ่านโทรศัพท์(tele-med) โดยทางโครงการไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นกับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาลก็ตาม ทั้งนี้โครงการตัวเล็กใจใหญ่ยังเปิดรับลงทะเบียนผู้ป่วยในทุกระดับ (กลุ่มสีเขียว-กลุ่มสีเหลือง-กลุ่มสีแดง) โดยมีเงื่อนไข ได้แก่   1.ผลการตรวจเป็นบวกจากการแยงจมูกทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น RT-PCR การตรวจแบบรู้ผลวันรุ่นขึ้นหรือRapid Antigen Test การตรวจแบบรู้ผลเลย 2.อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา COVID-19 แบบ Home Isolation สามารถลงทะเบียนผ่าน Line @lbhcovid19

ปัญหา “แรงงานต่างด้าว” ในวิกฤติโควิด-19 พันธกิจที่ “กรมการจัดหางาน” มุ่งมั่นรับมือ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “แรงงานต่างด้าว” พวกเขาถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยให้หลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมของไทยขับเคลื่อนต่อไปได้ แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 เช่นนี้ ก็เกิดหลากหลายปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ต้องเร่งแก้ไข เช่น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ทำให้ “กรมการจัดหางาน” ซึ่งทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในภารกิจดังกล่าว ทั้งนี้ คุณไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เล่าให้ แพรว ฟังถึงแนวทางการรับมือและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบด้านและจริงใจ เพื่อช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวทุกคนอย่างเต็มที่ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศไทย   การรับมือปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กินระยะเวลามาเกือบ 2 ปี ทำให้เราจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานจึงบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 2,500,000 คนมาใช้เพื่อแก้ปัญหานี้ ในจำนวนดังกล่าวประกอบด้วยแรงงานต่างด้าวที่ออกจากนายจ้างเดิม แต่ยังไม่สามารถหานายจ้างใหม่ได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งปัญหานี้เราผ่อนผันให้พวกเขาสามารถอยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมาย เพื่อรอการขึ้นทะเบียนกับนายจ้างใหม่ “ส่วนแรงงานต่างด้าวแบบ MOU ที่ครบสัญญาการจ้างงาน 4 ปีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งปกติแล้วแรงงานกลุ่มนี้จะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางก่อน เพื่อเว้นช่วงการทำงานเป็นระยะเวลา 30 วันตามกฎหมาย แล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่ด้วยสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศไม่เอื้ออำนวย และเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค […]

เหตุผลที่ ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ยังเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้อีก?

หลายคนได้รับการ ฉีดวัคซีน เรียบร้อยแล้ว แต่ทำไมยังมีข่าวว่าคนที่ได้รับวัคซีนถึงยังติดเชื้อโควิด-19 อยู่ ข้อสงสัยนี้ทาง อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เหตุผลว่า เหตุผลที่ ฉีดวัคซีน แล้ว แต่ยังเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้อีก? เนื่องจากวัคซีนป้องกัน COVID-19 แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแตกต่างกัน ตั้งแต่ร้อยละ 50.3 เป็นต้นไป เช่น Sinovac ซึ่งเป็นชนิดเชื้อตาย หรือในวัคซีนของ Pfizer หรือ Moderna ซึ่งเป็นชนิดเอ็มอาร์เอนเอที่ป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 90 ระยะเวลาหลังจากที่ได้รับวัคซีน โดยทั่วไปต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับเข็มสุดท้ายตามกำหนด จึงจะเริ่มมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพียงพอสำหรับป้องกันการติดเชื้อ บางคนรับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ทั้งที่วัคซีนตัวนั้นกำหนดให้รับสองเข็ม แต่ไปรับเชื้อขึ้นมาก่อน ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ โดยมีรายงานจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ว่าวัคซีนของ Pfizer หรือ […]

โลตัส จับมือเครือข่ายพันธมิตร มูลนิธิ กลุ่มจิตอาสา และองค์กรสื่อกว่า 100 หน่วยงาน ร่วมแจกอาหาร 2,000,000 กล่อง

โลตัส จับมือเครือข่ายพันธมิตร มูลนิธิ กลุ่มจิตอาสา และองค์กรสื่อกว่า 100 หน่วยงาน ร่วมแจกอาหาร 2,000,000 กล่องให้กับชุมชนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตั้งจุดแจกข้าวกล่อง 40 จุด ให้เครือข่ายจิตอาสาและมูลนิธิที่เป็นพันธมิตร มารับข้าวกล่องเพื่อกระจายสู่ชุมชนต่อไป โดยอาหาร 1,000,000 กล่อง มาจากร้านอาหารรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ส่วนอีก 1,000,000 กล่องร่วมสมทบโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ โครงการ “ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยขับเคลื่อนโครงการ ประสานงานทุกภาคส่วน และทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือการมอบข้าวกล่องสู่มือผู้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งรวมถึงผู้ที่ต้องทำการแยกกักตัวที่บ้าน เพื่อให้พวกเขาได้มีอาหารที่ดีรับประทาน โลตัสเพร้อมเดิมหน้าสนับสนุนให้พี่น้องชาวไทยสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน

อีเลคโทรลักซ์ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ COVID-19 มอบความห่วงใย ด้วยเครื่องฟอกอากาศรุ่นยับยั้งเชื้อไวรัสให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำระดับพรีเมี่ยม จากประเทศสวีเดน นำโดย คุณเอกชัย  ชาครสกุล Human Resources Manager และ คุณพรหมรจ  ตันนุกิจ  Care & Wellbeing Product Line Manager ร่วมเป็นตัวแทนมอบ เครื่องฟอกอากาศอีเลคโทรลักซ์ รุ่น Flow Series FA41-403BL จำนวน 12 เครื่อง มูลค่า 119,880 บาท ให้กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์  โดยมี คุณวัลลภ ยุติธรรมดํารง รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ พ.ญ กัญจน์นรี  มนตรีมนัส เป็นตัวแทนการรับมอบ ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โดยเครื่องฟอกอากาศรุ่น Flow Series FA41-403BL ติดตั้งระบบ UV-C ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัส SAR-CoV2 สาเหตุของ COVID-19** และเชื้อโรค พร้อมการกรอง 5 ขั้นตอน กรองฝุ่นเล็กได้ถึง PM1.0 […]

กินแล้วดี! ประโยชน์ของอาหาร 5 สี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจาก COVID-19 ตัวร้าย

ตอนนี้เชื้อโรครอบตัวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น ทำให้ตลอดเวลาในแต่ละวัน เราอาจสัมผัสกับเชื้อโรคเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว แต่ทำไมเราถึงไม่เจ็บป่วย หรือนาน ๆ ครั้งถึงจะเจ็บป่วยสักที นั่นก็เพราะร่างกายเรามีระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เปรียบเสมือนทหารคอยจัดการฆ่าเชื้อโรคให้ตาย เราจึงไม่ได้รับผลกระทบอะไร แต่สำหรับคนที่ป่วยบ่อย เช่น เป็นหวัดบ่อย ภูมิแพ้กำเริบ ติดเชื้อง่าย นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังมีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอ เพราะทหารเม็ดเลือดขาวอ่อนแอลงนั่นเอง การที่จะทำให้ทหารเม็ดเลือดขาวแข็งแรงได้นั้น มีหลายปัจจัย เช่น พักผ่อนต้องเพียงพอ พยายามเครียดให้น้อย ออกกำลังกายให้มาก ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง กินแล้วดี! ประโยชน์ของผักผลไม้ 5 สี และอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน จาก COVID-19 ประโยชน์ของผักผลไม้ 5 สี อาหารสีเขียว ผักผลไม้ที่มีสีเขียวมีสารสำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ฯลฯ  ตัวอย่างผลไม้และผักสีเขียว ได้แก่ แอปเปิ้ลสีเขียว องุ่นเขียว กีวี ต้นบรอกโคลี คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด […]

ทุน “มิสทินสู้โควิด” มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,000,000 บาท  มอบให้ครอบครัวละ 1 ทุน

ใครที่กำลังประสบปัญหาในสถานการณ์ช่วงนี้ ตอนนี้เครื่องสำอางมิสทิน มีทุนและกล่องยังชีพมาแจก สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ในเวลานี้  ทุน “มิสทินสู้โควิด” มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,000,000 บาท  มอบให้ครอบครัวละ 1 ทุน (ขอสงวนสิทธิ์สำหรับที่อยู่และนามสกุลเดียวกัน) โดยแต่ละทุนประกอบด้วย เงินสด 1,000 บาท และ กล่องสินค้ามิสทินเพื่อดำรงชีพ มูลค่า 1,000 บาท เปิดโอกาสให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน  ลงทะเบียนได้ที่ www. มิสทินสู้โควิด.com  ระหว่างวันที่ 12 -14 สิงหาคม 2564  ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 24.00 น. และจะประกาศรายชื่อ บุคคลที่ได้รับการพิจารณาฯ  ผ่านทาง www.มิสทินสู้โควิด.com  ภายในวันที 19 สิงหาคม 64

สภาการค้าไต้หวัน เตรียมเผยความรู้และเทคนิคข้อกฎหมายของการแพทย์แผนจีน ในการนำเข้ายาและเวชกรรมที่ช่วยรักษาโรค Covid 19

นายกู หมิงจิน ประธานสมาคมแพทย์แผนจีนในไต้หวัน กล่าวว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ที่ยังคงทวีความรุนแรงทั่วโลก สำนักงานอาหารและยาของไต้หวัน (TFDA) เพิ่มความเข้มงวดถึงมาตรฐานและสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยก่อนส่งออกผลิตภัณฑ์แพทย์แผนจีน (Traditional chinese medicine) มายังประเทศกลุ่มอาเซียน ที่ผ่านมา ทางสำนักงานอาหารและยาของไต้หวัน (TFDA) ได้ออกประกาศหลายฉบับโดยปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาและเวชกรรมของการแพทย์แผนจีน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและเพิ่มคุณภาพของสินค้า สร้างความมั่นคงทางสาธารณสุข โดยเฉพาะการมุ่งเน้นรักษาโรคระบาดโควิด19 ไต้หวันเล็งเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ยาและเวชกรรมของแพทย์แผนจีนมีความต้องการสูงโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย มีจำนวนคนจีนที่พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คุ้นเคยกับการใช้ยาและเวชกรรมของแพทย์แผนจีนในการรักษาโรค ย่อมเป็นต้นแบบที่ดีในการขยายฐานผู้ใช้ยาและเวชกรรม ที่สำคัญ คนไทยและคนมาเลเซียต่างมีกำลังการซื้อสินค้าและบริการด้านสุขภาพสูง ดร.หวาง เป่ากั่ว ประธานสมาคมแพทย์แผนจีนแห่งมาเลเซีย กล่าวว่า ปัจจุบันพัฒนาการยาสมุนไพรของจีนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้งานง่าย สามารถใช้การแพทย์แผนจีนควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบันได้ดี มีรูปแบบที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพการรักษา นายแพทย์โห จวนเซิง รองประธานสมาคมแพทย์แผนจีนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แพทย์แผนจีนเป็นที่นิยมเพิ่มสูงขึ้นและเป็นตัวเลือกที่สำคัญในการช่วยรักษาโรค เป็นที่ยอมรับมาอย่างช้านานมากกว่า 5,000 ปี ซึ่งทางเราต้องสร้างความรู้ ความมั่นใจให้กับคนไทยและเปิดใจกับวิธีการรักษาใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ที่สำคัญความรู้ทางด้านกฎหมายและเทคนิคการนำเข้า ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่บางรายการ เช่น ข้อกำหนดระดับค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่แตกต่างกัน (ตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนด) หรือ การกำหนดปริมาณสารตกค้างที่แตกต่างกัน […]

จิตแพทย์ แนะวิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุยังไม่ติดโควิด แต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า

จิตแพทย์ แนะวิธีสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ เหตุคนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ติดโควิด แต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า แต่ไหนแต่ไรมาปัญหาสุขภาพจิตก็ถือเป็นภัยที่คุกคามชีวิตของคนทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ในญี่ปุ่นมียอดการฆ่าตัวตายสูงถึง 17,000 ราย หลังจากเผชิญกับโควิดไปได้แค่ 4 เดือน ในขณะที่ประเทศไทยก็มีอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นถึง 22% และการระบาดระลอกใหม่นี้เอง จะเห็นได้ว่าผู้คนยิ่งมีความวิตกกังวลเพราะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังต้องใช้ชีวิตประจำวัน ต้องออกจากบ้านไปทำงาน มีการพบเจอผู้คน ท่ามกลางความหวาดระแวงว่าจะติดเชื้อหรือไม่ เมื่อเราถาม พญ.เพ็ญชาญา อติวรรณาพัฒน์ จากคลินิกสุขภาพใจโรงพยาบาลวิมุต ว่าการมาถึงของโรค COVID-19 กระทบต่อปริมาณผู้ป่วยจิตเวชมากน้อยเพียงใด “จากสถานการณ์จากโรคCOVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาด เป็นเหมือนคลื่นกระทบที่คนไข้เขายังไม่ได้ตั้งตัว ในแต่ละวันโรงพยาบาลของรัฐบาลจะมีคนไข้วันละครึ่งร้อยเข้ามาขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์จากหลายๆ สาเหตุ  โดยที่ศูนย์สุขภาพใจ โรงพยาบาลวิมุต ก็จะมีเคสที่ขอเข้ารับคำปรึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเราเน้นการให้เวลากับคนไข้ต่อท่านเป็นหลัก แต่ละเคสจะกำหนดเวลาให้ประมาณ 40 – 60 นาทีต่อเคส เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้ให้เวลากับคนไข้เต็มที่ เพื่อทำความเข้าใจ พูดคุย วิเคราะห์ และให้คำแนะนำต่างๆ” ‘อาการจิตเวช’ พบได้ทุกวัย ด้วยปัจจัยที่ต่างกัน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นวัยทำงานน่าจะพบ จิตแพทย์ มากที่สุดแต่ พญ.เพ็ญชาญา เผยว่าเธอมีคนไข้แทบทุกวัย เพียงแต่เหตุผลต่างกันไปเท่านั้น […]

คุยวิกฤตวัคซีนไทยกับ นพ.บุญ วนาสิน “เราไม่อยากหากินกับเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย!”

คุยวิกฤตวัคซีนไทยกับ นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ ที่ตกเป็นประเด็นกดราม่าหนักหลัง ถูกครหาหมอนักบุญหรือนายทุนหาผลประโยชน์

นักวิชาการฟู้ดซายน์ แนะ 6 เมนูอร่อย สร้างเกราะป้องกันโควิด-19 จาก 4 พืชผักสมุนไพร

นักวิชาการฟู้ดซายน์ แนะ 6 เมนูอร่อย สร้างเกราะป้องกันโควิด-19 จาก 4 พืชผักสมุนไพร ต้องยอมรับว่าวิกฤต COVID-19 ระลอกนี้ยาวนานและรุนแรงกว่าที่เคย แต่จะทำอย่างไรให้เราทุกคนมีภูมิคุ้มกันทางสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่เราเองก็สามารถทำทานแบบง่ายๆ ได้เองที่บ้าน คู่ขนานไปกับการเข้ารับวัคซีน ล่าสุดทาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย ผศ. ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรมอาหาร และอาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมอาหาร ได้แนะนำ 6 เมนูต้นแบบที่สามารถทำทานเองง่ายๆ ได้ที่บ้าน แถมมีสารสำคัญแฝงอยู่ในวัตถุดิบ (Ingredient) ที่มีส่วนกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วย สร้างเกราะป้องกันโควิด-19    นักวิชาการฟู้ดซายน์ แนะ 6 เมนูอร่อย สร้างเกราะป้องกันโควิด-19 จาก 4 พืชผักสมุนไพร ผัดผักสี่สหาย เริ่มต้นด้วยเมนูสุดน่ารักเหมาะสำหรับน้องๆ หนูๆ หรือคนที่ไม่ทานเผ็ด เรียกได้ว่าใครๆ ก็สามารถทำเมนู ‘ผัดผักสี่สหาย’ ได้ เพียงแค่มี แครอท ข้าวโพดอ่อน บรอกโคลี […]

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ

ความรุนแรง 3 เท่าของไวรัสโควิด-19 ในผู้เป็น โรคเบาหวาน ที่ควรระวังเป็นพิเศษ ตอนนี้เราทุกคนกำลังเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดจากเชื้อไวรัส COVID -19 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากร และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปทั่วโลก สำหรับทางออกในขณะนี้ก็คงหนีไม่พ้นการหาวัคซีนโควิด-19 มาช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา เพื่อจะทำให้เราสามารถกลับมาดำเนินชีวิตให้เป็นปกติให้ได้มากที่สุด ถ้าหากเอ่ยถึงรับฉีดวัคซีนโควิด-19 ในบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เราคงไม่มีความกังวลใดๆ แต่ถ้าหากผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ อยู่ด้วย หลายคนอาจวิตกกังวลว่าการรับวัคซีนโควิด-19 จะมีความปลอดภัยในผู้ป่วยหรือไม่ ทาง บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำการค้นคว้าวิจัย ผลิต และส่งมอบยาที่มีคุณภาพในผู้ป่วยเบาหวานมาโดยตลอด เล็งเห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจจะส่งผลต่อความรุนแรงของโรคถ้าหากว่าผู้ป่วยนั้นได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงได้เชิญ นายแพทย์สิระ กอไพศาล อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม มาแชร์ข้อมูลให้กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีภาวะของโรคเบาหวานร่วม โรคเบาหวาน กับโควิด-19 หากเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่งดอาหาร แล้วพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของ โรคเบาหวาน ถือว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ COVID-19 มีอาการที่แย่กว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานจะมีภาวะอักเสบเกิดขึ้น หากเราปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะเกิดการอักเสบที่เส้นเลือด และอวัยวะต่างๆ […]

“แลมบ์ดา” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่คาดว่าจะระบาดรุนแรงกว่า เดลต้า จริงหรือไม่?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ ชื่อว่า “แลมบ์ดา” (Lambda) หรือสายพันธุ์ C.37 กำลังแพร่ระบาดหนักในภูมิภาคอเมริกาใต้ โดยการกลายพันธุ์ที่ซับซ้อนและมีลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้ ทำให้น่าหวั่นเกรงว่าอาจเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สามารถเกิดการระบาดได้รวดเร็วและรุนแรง ปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดาแล้วในอย่างน้อย 29 ประเทศทั่วโลก โดยเมื่อวานนี้กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียได้ออกแถลงการณ์เตือนว่า ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ชนิดนี้เป็นอันตรายร้ายแรงยิ่งกว่าสายพันธุ์เดลต้าเสียอีก อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า แถลงการณ์ข้างต้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ทั้งยังไม่อาจทราบได้ว่า ต่อจากนี้สายพันธุ์แลมบ์ดาจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกอย่างไรกันแน่ ในขณะที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดยืนยันว่า วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) และค็อกเทลแอนติบอดีบางชนิด สามารถต้านทานเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาได้ สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังคงกำหนดให้สายพันธุ์แลมบ์ดาเป็น Variant of Interest (VOI) หรือไวรัสกลายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจเฝ้าระวังไว้ก่อน ซึ่งต่างจากสายพันธุ์เดลตาที่มีสถานะเป็น Variant of Concern (VOC) หรือไวรัสกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและวิตกกังวลไปเสียแล้ว อันที่จริงสถานะสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าจับตามองหรือ VOI ของแลมบ์ดา หมายความว่ามีการปรากฏตัวของไวรัสกลายพันธุ์นี้ขึ้นในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งมีลักษณะการกลายพันธุ์ที่ส่อแววว่าอาจมีผลต่อการแพร่ระบาดในอนาคตเท่านั้น มีการตรวจพบสายพันธุ์แลมบ์ดาครั้งแรกที่ประเทศเปรูเมื่อเดือนสิงหาคมของปีก่อน โดยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้สูงถึง 81% ของผู้ป่วยโควิดในเปรู และพบมากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโควิดในประเทศชิลี รวมทั้งพบผู้ติดเชื้อเกือบร้อยรายในประเทศเม็กซิโกและอาร์เจนตินาอีกด้วย แต่เปรูนั้นมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ล่าสุดเมื่อปลายเดือนมิถุนายน […]

keyboard_arrow_up