ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…จากผืนฟ้าสู่มาตุภูมิ (ตอนที่30)

หม่อมเจ้าการวิก เสด็จกลับเมืองไทยเป็นครั้งแรก หม่อมเจ้าการวิก ก็ทรงกระโดดร่มเข้าเมืองไทยอย่างปลอดภัย  โดยเป็นการเสด็จกลับเมืองไทยเป็นครั้งแรก หลังจากเสด็จไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ยังทรงเยาว์  นับเป็นเวลานานกว่าสิบปี ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมืองอย่างมากมาย เมื่อพันโท ฮัดสัน หรือ ไอ้สบู่ ที่พวกเราตั้งชื่อให้ กลับถึงอังกฤษแล้ว แทนที่จะไปเป็นที่ปรึกษาทางทหารกลับอาสามากระโดดร่มเข้าเมืองไทย เพราะว่ามีความชอบพอกับพวกเราและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เมื่อเขามาถึงเมืองไทยแล้วก็อยู่กับชาวบ้านได้ดี แม้เขาจะเป็นคนแข็งแกร่ง แต่กับท่านชิ้นแล้ว เขายอมโอนอ่อนผ่อนตามทุกอย่าง จนท่านเรียกว่า ‘ไอ้ผู้หญิงโซฟี่’ เท่าที่ผมจำได้ เขาเคยขัดท่านอยู่ครั้งหนึ่ง ตอนที่อยู่เมืองมัทราส ท่านโซฟี่ และผมเดินตามถนนไปยังที่แห่งหนึ่ง ระยะทางค่อนข้างจะไกล แต่ท่านทรงขี้เกียจเดิน และอากาศก็ร้อน ท่านจึงเรียกรถลากคันหนึ่ง โซฟี่เห็นเข้าบอกว่า “อย่าไปทรมานเขา ตัว (แขก) เล็กนิดเดียวยังต้องลากทั้งรถที่หนัก และท่านเองก็ตัวใหญ่ ท่านควรเดินไปเองดีกว่า” แต่ท่านก็ทรงขึ้นนั่งบนรถลากเฉย… ก่อนจะไปฝึกกระโดดร่ม ท่านเคี่ยวเข็ญมากทั้งผมและโซฟี่ รับสั่งว่า “ไอ้โซฟี่อยู่หน้า อั๊วอยู่กลาง ลื้ออยู่ข้างหลัง หรือใครจะอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ได้ แต่อั๊วต้องอยู่กลาง แล้วโดดพร้อมกัน” ผมก็ทูลท่านว่า “ไม่มีอะไรหรอก โดดมาปั๊บ จับกางเกงให้ดีๆ แล้วทำตัวให้ตรง อย่าถ่างขา กางแขน […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…เล่าถึงท่านชิ้น-หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ (ตอนที่29)

หม่อมเจ้าการวิก ในห้วงยามที่สงครามโลกในเอเชียใกล้จะสิ้นสุดลง หม่อมเจ้าการวิก ในห้วงยามที่สงครามโลกในเอเชียใกล้จะสิ้นสุดลง หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ  สวัสดิวัตน์ ได้เตรียมเดินเดินทางเข้ามาปฏิบัติการในเมืองไทย แต่ทางอังกฤษสงสัยว่า จะทรงได้รับการต้อนรับจากเสรีไทยในเมืองไทยหรือไม่ เพราะสถานะความเป็นเจ้าของท่าน กับผู้นำเสรีไทยในเมืองไทย ที่เคยเป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ.ศ.2475 ผมขอย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ในปีพ.ศ.2488 ซึ่งในปีนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นความหวังของคนทั่วโลกที่อยากจะเห็นความสงบสุขกลับคืนมาอีกครั้ง แต่กว่าจะบรรลุถึงจุดนั้นมิใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว ทรัพยากรอันมีค่ารวมถึงชีวิตของมนุษยชาติต้องถูกสังเวยในเปลวเพลิงแห่งสงครามเหลือนับคณา… เย็นวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2488 คณะซาวันนา (SAVANA) นำโดยทศ (หัวหน้าคณะ) จีริดนัย (ช่างวิทยุ) และบุญส่ง (ผู้ช่วย) ได้รับคำสั่งให้ขึ้นเครื่องบินลิเบอเรเตอร์ (B-24) เพื่อกระโดดร่มเข้าเมืองไทยที่ภูกระดึง จังหวัดเลย โดยมีเสนาะ ประโพธ และเทพ พร้อมสมาชิกเสรีไทยในประเทศจำนวนหนึ่งมารอรับ ก่อนหน้านั้น ทางอังกฤษพยายามบ่ายเบี่ยงที่จะติดต่อกับไทยหรือให้ไทยส่งคนมาติดต่อ จนตอนหลังถึงตัดสินใจเลือกหาบุคคลที่อาสาเข้ามาประเทศไทยเพื่อติดต่อกับ ‘รู้ธ’ (นายปรีดี) หลังจากที่ทราบว่า ทางอเมริกันติดต่อไทยได้แล้ว และกำลังจะส่งนายทหารอเมริกันเข้าไทย แต่ทาง S.O.E. ลอนดอนไม่ยินยอมให้กิลคริสต์ ซึ่งเคยทำงานในสถานทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯและพูดไทยได้เข้ามา เพราะระแวงว่าทหารฝรั่งในกองกำลัง 136 มีความชอบพอลำเอียงต่อคนไทยและเชื่อคนไทยง่ายๆ ปู่จุดกับกิลคริสต์จึงต้องเสียเวลาค้นหานายทหารอังกฤษที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คือต้องเป็นคนอังกฤษ มีสุขภาพดีพอจะกระโดดร่มได้ รู้จักเมืองไทยและสถานการณ์ในประเทศพอควร และต้องมีความรู้ทางทหารพอที่จะพิจารณาแผนการทางทหารในระดับสูงได้ ทั้งกับฝ่ายไทยและกองบัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…ก่อนจะถึงสันติภาพ (ตอนที่28)

หม่อมเจ้าการวิก ลักลอบเข้าเมืองไทย หม่อมเจ้าการวิก และคณะเพื่อนทหารเสรีไทยเตรียมตัวลักลอบเข้ามาปฏิบัติการในเมืองไทยผ่านเป็นไปด้วยดี เพราะได้รับความช่วยเหลือจากคณะเสรีไทยในเมืองไทย ขณะที่สถานการณ์สงครามโลกในยุโรปได้สิ้นสุดลงเมื่อเยอรมันประกาศยอมแพ้ ในราวเดือนสิงหาคม พ.ศ.2487 ปู่จุดได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ของกองกำลัง 136 ในแคนดี้ ให้ส่งพวกช้างเผือกกลุ่มที่สามเข้าประเทศไทย และทางนายปรีดีขอให้ส่งแดง คุณะดิลก เข้ามาพร้อมกับคณะที่สามนี้ด้วย ขณะนั้น แดงซึ่งได้เดินทางกลับมายังศรีลังกาเพื่อร่วมงานกับหน่วย O.S.S. ของสหรัฐฯ ปู่จุดจึงได้ติดต่อถึงกองบัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรที่แคนดี้ ขอตัวแดงมาร่วมคณะของกองกำลัง 136 ซึ่งทาง O.S.S. ตอบตกลง และแดงได้เดินทางมาฝึกกระโดดร่ม แต่เคราะห์ร้ายที่การซ้อมครั้งแรกแดงได้รับบาดเจ็บค่อนข้างหนัก ต้องนอนพักผ่อนอย่างน้อย 1 เดือน แต่คณะที่จะกระโดดร่มเข้ามาโดยใช้ชื่อรหัส‘บริลหลิก’ (BRILLIG) ประกอบด้วยกฤษณ์กับประเสริฐ ซึ่งถูกกำหนดให้ร่วมคณะกับแดงนั้นไม่สามารถที่จะเลิกได้ ทั้งสองจึงเข้าเมืองไทยมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน และให้ไทยทำหน้าที่เป็นสถานีวิทยุแห่งที่สองอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อรับข้อความที่หัวหน้าขบวนการต้องการให้ส่งถึงกองกำลัง 136 ในขั้นต่อไป หลังจากคณะบริลหลิกเข้าประเทศไทยแล้ว ปู่จุดได้เขียนแผนงานอย่างสวยหรูว่า SIAM PLAN ระบุจุดประสงค์ในการช่วยเหลือประเทศไทยในด้านการฝึกอบรม และสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในการต่อต้านญี่ปุ่น ทั้งร่วมปฏิบัติงานกับกองบัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร-ซีแอค (SOUTH EAST ASIA COMMAND-SEAC) ทางสำนักงานใหญ่ของกองกำลัง 136 ในแคนดี้ เสนอแผนนี้ต่อซีแอคอย่างภาคภูมิ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก…ยุทธการเพื่อสันติภาพ (ตอนที่26)

หม่อมเจ้าการวิก กับการฝึกกระโดดจากเครื่องบิน ยุทธการนี้เพื่อสันติภาพ หม่อมเจ้าการวิก กับขั้นตอนการฝึกต่อมาร่วมกับคณะเพื่อนทหารเสรีไทยคือ การฝึกการกระโดดร่มจากเครื่องบิน เนื่องจากการเดินทางเข้าเมืองไทยของดร.ป๋วยและคณะด้วยเรือดำน้ำนั้นถือว่าล้มเหลว และเสียเวลา  เมื่อผลการปฏิบัติงานพริตชาร์ด (PRITCHARD) ของกองกำลัง 136 ที่ส่งป๋วย สำราญ และประทาน เดินทางโดยเรือดำน้ำด้วยมุ่งหวังจะเข้าประเทศไทยต้องล้มเหวลง พันโท ปีเตอร์ พอยน์ตัน ผบ.กองกำลัง 136 แผนกประเทศไทย จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะส่งคณะช้างเผือกเข้าเมืองไทยทางทะเลอีก เพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลามาก คือต้องพยายามติดต่อกับขบวนการในประเทศผ่านทางจีน และรอฟังข่าวคราวแสดงการรับรู้ทางวิทยุกระจายเสียงอีก พันโท พอยน์ตันเองก็ไม่ค่อยวางใจฝ่ายจีน เพราะทราบข่าวจากท่านชิ้นว่า คุณจำกัดไม่ได้รับความสะดวกจากจีน ต่อมาทางจีนก็ส่งมรณบัตรแจ้งว่าคุณจำกัดเสียชีวิตแล้ว ส่วนคุณสงวน ตุลารักษ์ และคุณแดง คุณะดิลก ได้เดินทางจากจีนไปวอชิงตัน ดังนั้นการติดต่อของอังกฤษกับฝ่ายจีนจึงไม่อาจทำได้ง่ายนัก อีกประการหนึ่ง คณะเสรีไทยสายอเมริการุ่นแรกก็เข้าไปอยู่ที่จุงกิงแล้ว จึงคิดว่าควรปล่อยให้การปฏิบัติงานด้านประเทศจีนเป็นภาระของฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าอังกฤษ ในต้นปีพ.ศ.2487 อังกฤษส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดลิเบอเรเตอร์ หรือ B-24 ขนาด 4 เครื่องยนต์หลายลำมาอินเดีย ในสมัยนั้นถือว่าเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่มาก คนไทยเรียกว่าป้อมบินยักษ์ มีระยะบินปฏิบัติงานไกลพอที่จะบินไป-กลับระหว่างอินเดียกับไทยได้ พันโท พอยน์ตัน (พวกเราเรียกว่า ‘ปู่จุด’) […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก ฝึกปฏิบัติการหลากรูปแบบ (ตอนที่25)

หม่อมเจ้าการวิก รสชาติชีวิตที่ได้จากการฝึก  หม่อมเจ้าการวิก และคณะเพื่อนนายทหารเสรีไทย ยังคงฝึกปฏิบัติการต่อไปในหลากหลายวิชา ทั้งการปฏิบัติวิชาสงครามจิตวิทยา  การจารกรรม การโฆษณาชวนเชื่อ การใช้อาวุธปืนและระเบิดจริง ขณะที่ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์ กับเพื่อนอีกสองคน ได้เตรียมตัวลักลอบเข้าเมืองไทยเป็นคณะแรก หลักสูตรของโรงเรียนนี้ พวกเราได้เรียนวิชาจารกรรมและโจรกรรมอย่างละเอียดมาก จนเกือบจะใช้ประกอบอาชีพได้ ไม่ว่าวิธีจัดระบบหน่วยสืบราชการลับ การรักษาความลับ การสะกดรอย การวางแผนและทำลายขวัญข้าศึกในประเทศที่ถูกยึดครอง การยุให้ประชาชนต่อต้านผู้รุกราน ผู้เข้าอบรมต้องฝึกหัดล้วงความลับตามจุดยุทธศาสตร์ เช่น ท่าเรือและสนามบิน ทำแผนผังและรายงานเสนอสำนักงาน ต้องเรียนรู้หลักเกณฑ์ของระบบรหัสต่างๆ วิธีถอดรหัส วิธีเขียนหนังสือที่มองไม่เห็น ฯลฯ ในวิชาสงครามจิตวิทยา พวกเราต้องฝึกหัดทำใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อเพื่อปลุกใจประชาชนในประเทศที่ถูกญี่ปุ่นยึดครองและบั่นทอนกำลังใจของทหารญี่ปุ่น ครูผู้ฝึกสอนก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความชำนาญและผลงานดีเด่นตามเฉพาะสาขาของตนมาแล้วทั้งนั้น คราวหนึ่งในการฝึกปฏิบัติวิชาสงครามจิตวิทยา ผมทำหนังสือพิมพ์ ‘เมฆทูต’ (เป็นตัวอักษรบรรจงภาษาไทย เหมือนขึ้นแท่นพิมพ์) และเขียนการ์ตูนประกอบ ในเล่มมีเรื่องปลุกใจคนไทย ล้อเลียนญี่ปุ่นและมีบทความแสดงว่า ทหารญี่ปุ่นถูกมอมเมาโดยนายทุนญี่ปุ่นซึ่งมุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ทางการค้า พันตรี รอย ชอบมาก ถึงกับขอเอาไว้ดูเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนรุ่นต่อๆ มา (พันตรี รอย ยังสอนหลักสงครามจิตวิทยาว่า ควรใช้สมอง ปัญญา ปฏิภาณและไหวพริบในการปฏิบัติงานชักจูงให้ผู้อื่นเห็นด้วยกับฝ่ายเราในการต่อต้านศัตรู รู้จักการเก็บความลับ ไม่อวดเก่ง ไม่ทำตัวแปลกจากคนอื่น […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก เสรีไทย(ใต้ดิน)ในเมืองไทย (ตอนที่24)

หม่อมเจ้าการวิก อุทิศตัวฝึกฝน อดทน เพื่อประเทศชาติ  หม่อมเจ้าการวิก และคณะเพื่อนทหารเสรีไทย ยังคงฝึกความทรหดอดทนอย่างหนักในอินเดีย แล้วทางคณะเสรีไทยในเมืองไทยก็ได้เตรียมการที่จะต้อนรับเสรีไทยจากต่างแดนที่จะลักลอบเดินทางเข้ามาปฏิบัติการในเมืองไทย ตะวันดวงกลมโตสาดแสงอ่อนเป็นลำสุดท้าย ก่อนจะค่อยๆเคลื่อนลับไป ปล่อยให้ความมืดคืบคลานเข้ามาปกคลุมดังการณ์ปกติแห่งกาลเวลา… ในช่วงที่ผมรับการฝึกอบรมอยู่ในอินเดียนั้น ผมคอยเร่งนับวันเวลาให้ล่วงไปด้วยความหวังที่จะได้เข้ามารับใช้บ้านเมืองอย่างเต็มล้น แต่การฝึกความพร้อมของสมรรถภาพทั้งทางด้านกำลังใจและกำลังกายนั้นยังมีอีกหลายขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อเข้ามาปฏิบัติการแล้วจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากที่พวกเราผ่านการฝึกซ้อมรบอันทรหดในอินเดียฝั่งตะวันตกเรียบร้อยแล้ว ทุกคนใน ‘กลุ่มช้างเผือก’ ได้รับยศร้อยตรีกันเป็นบำเหน็จ เมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2486 และได้รับอนุญาตให้พักผ่อนได้ 10 วัน ก่อนจะมีคำสั่งให้ย้ายมาฝึกในอินเดียฝั่งตะวันออก ในเดือนเดียวกันนี้ พวกเราได้รับข่าวที่สร้างกำลังใจและความเชื่อมั่นว่า ความตั้งใจของทุกคนที่เดินทางจากอังกฤษมาฝึกซ้อมรบด้วยหวังจะรับใช้ชาติ คงจะไม่สูญเปล่าและคงจะได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงาน เพราะมีขบวนการในประเทศเป็นพลังสำคัญในการต่อต้านผู้รุกราน คือคุณจำกัด พลางกูร (พี่ชายคุณกำแหง) ซึ่งเป็นผู้แทนขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ลักลอบออกจากเมืองไทยไปยังจุงกิง ประเทศจีน (ขณะนั้นจีนยังไม่เป็นคอมมิวนิสต์) พร้อมกับคุณสงวน ตุลารักษ์ และคุณแดง คุณะดิลก เพื่อจะหาทางติดต่อขอความช่วยเหลือจากเหล่าเสรีไทยในต่างประเทศ และทางการอังกฤษก็ได้มอบอำนาจให้พันตรี หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ วงศ์สนิท ซึ่งทรงใช้พระนามแฝงว่า ‘อรุณ’ ในการปฏิบัติการเดินทางโดยเครื่องบินจากอินเดียไปยังจีน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2486 ทั้งนี้เป็นการติดต่อกับคุณจำกัดและเพื่อหาผู้ที่จะนำสารไปให้หัวหน้าขบวนการในประเทศ ซึ่งทราบภายหลังว่า คือ นายปรีดี พนมยงค์ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก เจอผีมาร่วมฝึก…!(ตอนที่23)

หม่อมเจ้าการวิก กับเรื่องขนหัวลุก! หม่อมเจ้าการวิก และกลุ่มสหายทหารเสรีไทยสายอังกฤษ ยังคงฝึกซ้อม และดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยต้องออกไปฝึกในป่า ครั้งหนึ่งได้ออกฝึกในบริเวณป้อมร้างบนเขา  ทั้งคณะก็เจอดีเข้าให้… ผมขอย้อนเล่าถึงแนวคิดและวิธีฝึก การรบแบบกลุ่มกองโจร ที่ทางการทหารอังกฤษใช้สอนทหารอังกฤษและเสรีไทย ด้วยแนวคิดนี้ไม่ใช่เป็นของใหม่ที่ฝรั่งคิดขึ้น เพราะในประวัติศาสตร์ไทยสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงใช้กองโจรมาแล้ว จนทรงกู้เอกราชของชาติมาได้ ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่มีทหารพม่ายกทัพเข้ามาถึง 9 ทัพ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาทก็ทรงจัดกองโจรออกไปตัดการลำเลียงเสบียงของพม่าจนกองทัพพม่าอ่อนแออดอยาก และถูกทัพไทยโจมตีแตกพ่ายไป สำหรับแนวคิดนี้มาจากพลจัตวาวิงเกท (WINGATE) ซึ่งใช้ได้ผลดีมาแล้วในปาเลสไตน์และอะบิสซีเนีย พลเอกเวเวล (WAVELL) แม่ทัพใหญ่ในอินเดียเมื่อปีพ.ศ.2485 จึงมอบให้วิงเกทฝึกการรบแบบนี้แก่ทหารอังกฤษในกลางปีนั้น และได้ยึดการฝึกนั้นเป็นแบบอย่างตลอดมา ได้แก่ การใช้อาวุธ การอ่านแผนที่ การส่งวิทยุ การล้วงความลับ การหาทิศทาง การดำรงชีพในป่า การฝึกเดินทางวันละถึง 50-60 กิโลเมตร โดยวิงเกทได้เน้นความสำคัญของอาหารฉุกเฉินสำหรับกินในป่าเป็นพิเศษ นักโภชนาการได้ทดลองทำอาหารชุดพิเศษ เพื่อให้มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและพวกเราก็ได้เป็นหนูทดลองกับอาหารชุดนี้เช่นเดียวกับกองโจรของวิงเกทและหน่วยคอมมานโดอื่นๆที่เคยฝึกอยู่หลายหน อาหารชุดนี้เรียกว่า 7 DAY RATIONซึ่งเมื่อได้กินจริงๆ แล้วไม่กี่วันก็แทบกลืนไม่ลง ส่วนประกอบของอาหารชุดนี้มี 1. ข้าวสาร 1 ถุง (ข้าวโอ๊ตสำหรับฝรั่ง ข้าวเจ้าสำหรับชาวเอเชีย) 2.ข้าวผัดญี่ปุ่น […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก นายทหารเสรีไทยในอินเดีย (ตอนที่22)

หม่อมเจ้าการวิก ฝึกซ้อมรบแบบกลุ่มกองโจรที่อินเดียหนักหนากว่าการฝึกในอังกฤษนับร้อยเท่า!   หม่อมเจ้าการวิก และคณะเสรีไทยสายอังกฤษ ต้องเจอกับการฝึกปฏิบัติการแบบกองโจรในอินเดีย ซึ่งเป็นไปอย่างสมจริงสมจัง เข้มข้น  แต่บางครั้งก็มีเรื่องราวสร้างอารมณ์ขัน ลดความตรึงเครียดจากการฝึกหนัก ความเป็นอยู่ของพวกเราเหล่าทหารเสรีไทยในอินเดียนั้นดีขึ้นมาก ทำท่าจะเป็นนายฝรั่งมีทหารแขกคอยรับใช้ (BEARER) ทำความสะอาดที่พัก ห้องน้ำ ห้องส้วม เสิร์ฟอาหาร ซักเสื้อผ้าให้ ฯลฯ แต่ก็ต้องระมัดระวังทรัพย์สินมีค่าสักหน่อย มิฉะนั้นเขาจะช่วยเก็บรักษาให้อย่างดีจนหาไม่พบ ทว่าการฝึกซ้อมรบแบบกลุ่มกองโจรที่ค่ายหนักหนากว่าการฝึกในอังกฤษนับร้อยเท่า ประสบการณ์การฝึกและเรื่องสนุกๆของพวกเรา ผมยังจำได้ดี การฝึกของพวกเราต้องหัดทำอย่างมากทั้งที่ฟังดูแล้วอาจจะไม่ยากคือ วิธีล้วงความลับจากข้าศึกและวิธีรักษาความลับของฝ่ายเราไม่ให้รั่วไหล ชาวเอเชียส่วนมาก ไม่ว่าแขก จีน หรือไทย มักชำนาญในการล้วงความลับ แต่บกพร่องในการเก็บความลับ อาจเป็นเพราะชาวตะวันออกไม่ถือว่านิสัยอยากรู้อยากเห็นนั้นเป็นการเสียมารยาท (ผิดกับฝรั่ง) แล้วการที่คนไทยชอบอยากรู้อยากเห็น และหละหลวมทำให้หลายเรื่องที่ควรเป็นความลับในเมืองไทย กลับมีผู้รู้เห็นและบอกเล่ากันอย่างฮือฮาไม่น้อย ทำให้พันโทพอยน์ตัน (POINTON) ผู้บังคับบัญชากองกำลัง 136 แผนกประเทศไทย ซึ่งรู้ถึงจุดอ่อนข้อนี้ของคนไทยเป็นอย่างดี จ้ำจี้จ้ำไชพวกเราหนักหนาในเรื่องนี้ แม้แต่ตัวผมก็ประสบมาด้วยตนเองเมื่อตอนที่กระโดดร่มเข้าเมืองไทย ซึ่งผมจะเล่าต่อไป คืนหนึ่ง ครูฝึกสั่งให้พวกเราฝึกปฏิบัติการเป็นโจรปล้นและซุ่มโจมตี เขาให้เลือกวันเวลาว่าจะโจมตีใคร ที่ไหน แล้วทำแผนไปเสนอ เมื่อเขาพิจารณาแล้วก็อนุญาต และย้ำว่าจะทำพลาดพลั้งไม่ได้ เพราะอาจเป็นอันตรายที่ร้ายแรง พวกเราเลือกคืนวันเสาร์เวลาประมาณสี่ทุ่มครึ่ง ณ จุดที่ห่างจากทะเลสาบหน้าค่ายไม่มากเพราะกะว่าพวกครูฝึกจะพาบรรดาทหารหญิงที่เป็นฝ่ายธุรการ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก ล่องทะเลขึ้นฝั่งที่อินเดีย (ตอนที่20)

หม่อมเจ้าการวิก ล่องทะเลขึ้นฝั่งที่อินเดีย หม่อมเจ้าการวิก พร้อมคณะนายทหารเสรีไทยสายอังกฤษ ได้เดินทางออกจากแอฟริกาใต้ต่อไปยังประเทศอินเดีย เพื่อเตรียมฝึกซ้อมในการปฏิบัติการแบบกองโจร แต่น่าเสียดายว่า มีเพื่อนบางคนต้องออกจากการฝึก เพราะเกิดการเหตุจนไม่สามารถฝึกต่อไปได้ เรือ ‘สตาร์ธแอรด์’ ที่นำกำลังทหารอังกฤษพร้อมกับพวกเราทั้ง 36 ชีวิต ฝ่าคลื่นลมในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ โดยมีจุดหมายแรกที่สุเอซและปอร์ตเซอิด เพื่อส่งทหารส่วนหนึ่งขึ้นไปรบในแถบดินแดนทวีปแอฟริกาเหนือ ก่อนจะมุ่งหน้าสู่อินเดียต่อไป เรือที่พวกเราโดยสารนั้นเดิมเป็นเรือโดยสารของบริษัท P (PENINSULA) AND O (ORIENTAL) STEAM NAVIGATION COMPANY แล่นในเส้นทางลอนดอน-บอมเบย์-โคลัมโบ-เมลเบิร์น-ซิดนีย์ เรือลำนี้สามารถรับคนได้ร่วม 6,000 คน แต่การเดินทางครั้งนั้นบรรทุกทหารไปประมาณ 4,000 คน จึงไม่แออัดมากนัก ทว่าเรือก็บรรจุเหล่าอาวุธยุทโธปกรณ์ไปจนเพียบ พวกเราหลายคนได้รู้จักสนิทสนมกับเจ้าหน้าที่ของเรือคนหนึ่ง ชื่อมิสเตอร์เจฟฟรี่ย์ โกร๊ค (GOEFFREY GROARKE) หลังจากสงครามเลิก เขายังทำงานอยู่บนเรือลำนี้ต่อมาอีกหลายปี จนกระทั่งเรือถูกปลดระวางขายเป็นเศษเหล็ก เขาได้เก็บเศษไม้สักบนเรือจารึกชื่อพวกเราทั้งหมดมาแจกให้เป็นที่ระลึกด้วย ภายหลังเขาเข้ามาทำงานในเมืองไทย และได้มาร่วมงานเลี้ยงประจำปีกับพวกเราเสมอ พวกเราถูกจัดให้อยู่บริเวณชั้นล่างของเรือที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ ในส่วนที่เป็นห้องรับประทานอาหารร่วมกับทหารฝรั่งอีกหลายสิบคน เวลารับประทานอาหารเสร็จก็เก็บโต๊ะใช้เป็นที่นอน บางคนนอนใต้โต๊ะ บางคนนอนบนเปลที่แขวนไว้เหนือโต๊ะ สิ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าอึดอัดคือ เวลาพวกขี้ยาสูบบุหรี่ในห้องแล้วอากาศไม่ถ่ายเท ทำให้หายใจไม่ออก […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก รอนแรมถึงแอฟริกาใต้ (ตอนที่19)

หม่อมเจ้าการวิก รอนแรมถึงแอฟริกาใต้ (ตอนที่19) หม่อมเจ้าการวิก การเดินทางออกจากอังกฤษ เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับของคณะทหารเสรีไทยสายอังกฤษนั้น จุดหมายปลายทางแห่งแรกคือ แอฟริกาใต้ ซึ่งประสบการณ์ในดินแดนแห่งนั้น ต้องประสบกับสภาพสังคมที่มีการเหยียดผิวอย่างชัดเจน เช้าวันที่สี่ พวกเราลืมตาตื่นขึ้นพลันได้กลิ่นเหม็นบูดเน่า ต่างหันไปทางหลวงภัทรฯที่นอนซุกอยู่ในมุมมืดๆ เพราะกลัวว่าจะเป็นอะไรไปเสียแล้ว พอผมเรียกเขาก็ขยับตัวพลิกกลับมาได้ค่อยโล่งอก ผมเลยเดินไปดูที่ห้องเก็บอาหารถึงรู้ว่าผักในนั้นเน่า จึงรีบขึ้นไปรายงานผู้บัญชาการ และขอให้ย้ายพวกเราขึ้นไปนอนที่ดาดฟ้าชั้นบนใกล้ปล่องเรือ ซึ่งขณะนั้นอากาศคลายความหนาวลงบ้าง โชคดีที่เมื่อทุกคนได้รับประทานแซนด์วิชกับดื่มน้ำชาร้อนที่คุณธนาให้แล้วก็รู้สึกดีขึ้นบ้าง ผมเดินไปซื้อลูกพีชกระป๋องมาให้หลวงภัทรฯ หลวงอาจฯ และคนอื่นๆ ที่อาการออกจะหนักรับประทาน เผื่อจะช่วยให้ดีขึ้นอีก หลวงภัทรฯกลืนเข้าไปได้สักสามสี่คำก็ยกมือไหว้ผมพร้อมกับครางเสียงอ่อยว่า “ฝ่าบาททรงช่วยชีวิตกระหม่อม กระหม่อมจะไม่ลืมพระคุณเลย” หลังจากที่เรือฝ่าพายุร้ายมาร่วม 5 วัน 5 คืน สภาพคลื่นลมในทะเลจึงดีขึ้น ทุกคนก็บรรเทาจากการเมาคลื่น และอากาศไม่หนาวท้องฟ้าแจ่มใส เพราะว่าขณะนั้นเรือกำลังแล่นเข้าเขตทวีปแอฟริกาเหนือ ทุกคนจึงเปลี่ยนเครื่องแบบเป็นแบบทหารเมืองร้อน ซึ่งผมต้องขออธิบายเส้นทางการเดินเรือของพวกเราในครั้งนั้นสักนิด คือ ในช่วงสงครามตอนนั้น เยอรมัน (แม่ทัพ ROMMEL) มีชัยชนะในบริเวณแอฟริกาเหนือและน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีแผนที่จะยึดครองดินแดนบริเวณรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และคลองสุเอชที่ตัดผ่านเข้าทะเลแดง ย่านคาบสมุทรอาระเบียเพื่อจะออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ไปรวมกำลังกับกองทัพญี่ปุ่นที่กำลังแผ่อำนาจมาทางพม่าและอินเดีย ฉะนั้นเรือลำเลียงของอังกฤษ จึงไม่สามารถที่จะอ้อมผ่านสเปนเพื่อตัดผ่านมาทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ เพราะเสี่ยงกับการถูกจมโดยตอร์ปิโด จึงต้องแล่นเรือมาทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกาแทน เกือบหนึ่งเดือนนับตั้งแต่พวกเราออกเดินทางจากอังกฤษ จนกระทั่งมาถึงเมืองเคปทาวน์ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก สิ้นพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ เริ่มต้นชีวิตทหารเสรีไทย (ตอนที่17)

หม่อมเจ้าการวิก เริ่มต้นชีวิตทหารเสรีไทย หม่อมเจ้าการวิก กับจุดเปลี่ยนอีกครั้งในช่วงที่สงครามโลกกำลังคุกรุ่นไปทั่วโลกนั้น  พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรมของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่ทรงสมัครเป็นทหารอังกฤษและร่วมปฏิบัติการทางทหารได้ทรงประสบอุบัติเหตุสิ้นพระชนม์ ทิ้งชายา-หม่อมมณีต้องเป็นม่ายอยู่กับโอรสวัยทารกเพียงลำพัง ขณะที่หม่อมเจ้าการวิกทรงเริ่มเข้าฝึกเป็นทหารอาสาเสรีไทย ถ้าจะเปรียบชีวิตคนเหมือนลำเทียนที่ถูกจุดส่องสว่าง เปลวไฟก็คงจะค่อยๆลามเลียไปจนหมดเชื้อ อุปมาดังสิ้นอายุขัย หากเปลวไฟนั้นถูกดับโดยพลัน ทั้งที่ยังเหลือเชื้ออีกมาก โอกาสที่จะส่องแสงสกาวเพื่ออำนวยประโยชน์ก็ไม่มีอีกต่อไป ทว่าลำเทียนที่ดับนั้นยังอาจถูกจุดขึ้นใหม่ได้ แต่ชีวิตคนไม่อาจฟื้นคืน จะเหลือไว้ก็เพียงคุณงามความดีให้ผู้อื่นรำลึกถึงชั่วกาล… ต้นเดือนกันยายน พ.ศ.2485 เมื่อผมมาอยู่ที่ค่ายทหารเด็นบี้ได้ไม่กี่วัน ก็ได้รับทราบข่าวร้ายที่สุดข่าวหนึ่ง คือ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยกองบิน A.T.A. ทรงประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก! เพราะชนภูเขา ขณะทรงปฏิบัติหน้าที่ในเขตสก็อตแลนด์เนื่องจากมีหมอกมากและสิ้นพระชนม์ทันที นับเป็นข่าวที่เศร้าสลดยิ่ง ผมรู้สึกเห็นใจครอบครัวของท่านนัก ด้วยเพิ่งทรงมีโอรสที่ยังเยาว์มากถึง 2 คน (คือหม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ และหม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์) และเสียดายที่ทรงด่วนสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงหนุ่มมาก ชันษาแค่ 25 ปี หากทรงมีพระชนม์ต่อไปก็อาจจะทรงทำประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไปได้อีกมาก   ก่อนหน้านั้น หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯได้ทรงเคยชักชวนให้มาร่วมกับคณะเสรีไทย แต่พระองค์จิรศักดิ์ฯตรัสว่า ทรงทำหน้าที่นี้ก็เท่ากับได้รับใช้ส่วนรวมเหมือนกัน และเจ้านายอีกองค์หนึ่งที่ทรงปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับเครื่องบิน คือ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ซึ่งเคยทรงชวนผมไปสมัครเข้ากองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (ROYAL AIR FORCE) แต่เขาไม่รับผม […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุในไทย (ตอนที่15)

หม่อมเจ้าการวิก เข้าร่วมฝึกเป็นทหารเสรีไทย หลังจากในหลวงรัชกาลที่ 7 สวรรคตแล้ว เหตุการณ์ทุกอย่างได้เปลี่ยนไป และสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ปะทุขึ้นทางฝั่งเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย หม่อมเจ้าการวิกได้เห็นการจัดตั้งคณะเสรีไทย จึงตัดสินพระทัยกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เพื่อขอเข้าร่วมฝึกเป็นทหารเสรีไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว เหตุการณ์ในพระตำหนักคอมพ์ตันเฮ้าส์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์จิรศักดิ์ฯและครอบครัวทรงย้ายออกมาประทับที่ตำหนักดอนฮิลล์ (DAWN HILL) ของพระองค์ท่านตามเดิม ส่วนผมได้ย้ายจากตำหนักหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯกลับมาอยู่ถวายการรับใช้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ตามที่ผมได้ปฏิญาณไว้ …ผมอยากจะเล่าเสริมไว้ ณ ที่นี้ว่า เมื่อผมนึกย้อนถึงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงรับพวกเราเด็กๆเข้าไปชุบเลี้ยงในวังนั้น แต่ละองค์แต่ละคนก็นับว่าอยู่ในวัยที่ซนเป็นทโมน คงจะสร้างความรำคาญพระทัยแก่สมเด็จพระบรมราชินีบ้าง แต่ผมก็ไม่เคยเห็นว่าทรงมีพระอาการรำคาญ หรือขัดเคืองแต่อย่างใด ผมเองแอบเฝ้าดูอยู่ห่างๆ และนึกเห็นพระทัยพระองค์ท่านเสมอที่ต้องทรงอดทนกับพวกเรา จึงตั้งใจว่าสักวันหนึ่งจะหาทางเข้าไปถวายการรับใช้อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งเมื่อคราวที่ผมได้ตามเสด็จไปทรงสกีที่สวิตเซอร์แลนด์ ปีพ.ศ.2480 ผมก็พยายามเข้าไปอยู่ใกล้ๆพระองค์ท่าน เมื่อผมกลับไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสก็รู้สึกคิดถึงพระองค์ท่านมาก จึงเขียนจดหมายไปกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบพระราชทานกลับมาด้วย สร้างความชุ่มชื่นใจแก่ผมยิ่ง และเท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระเมตตาที่พระราชทานแก่ผม ผมจึงตั้งมั่นว่าจะขอถวายการรับใช้จวบจนชีวิตจะหาไม่นับแต่นั้น… ราวกลางปีพ.ศ.2484 นั้นเอง พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯก็ทรงไปสมัครงานที่องค์การเอ.ที.เอ. (A.T.A. AIR TRANSPORT AUXILIARY) ซึ่งเป็นกองบินอิสระ อันเป็นหน่วยสาขาหน่วยหนึ่งของกองทัพอากาศอังกฤษ (ROYAL AIR FORCE) ได้เปิดรับสมัครนักบินทุกวัยที่สามารถขับเครื่องบินได้ หน้าที่ของนักบินนี้คือ […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ดังดวงประทีปดับแสง (ตอนที่14)

หม่อมเจ้าการวิก กับเหตุการณ์น่าเศร้าอันเป็นวาระสุดท้าย หม่อมเจ้าการวิก ได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพอย่างน่าเศร้าสะเทือนใจ เพราะในระหว่างที่สงครามโลกกำลังลุกลามมากขึ้น ในหลวงรัชกาลที่ 7 ก็ทรงมีพระอาการประชวรมากขึ้น สุดท้ายก็เสด็จสวรรคตอย่างสงบ ช่วงปลายปีพ.ศ.2483 นี้เอง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคพระหทัยเพิ่มมากขึ้น ยิ่งย่างเข้าฤดูหนาวและอากาศชื้น ทำให้พระอาการหอบยิ่งถี่ขึ้น ในที่สุด พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จฯกลับมาประทับยังพระตำหนักคอมพ์ตันเฮ้าส์ (ซึ่งหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯและองค์อื่นๆ รวมทั้งผม ได้เสด็จจากเดวอนกลับมายังตำหนักบริดจ์เฮ้าส์กันล่วงหน้าแล้ว) เพราะทรงพระราชดำริว่า เยอรมันได้เปลี่ยนนโยบายที่จะบุกขึ้นเกาะอังกฤษมาบุกเข้าประเทศสหภาพโซเวียตแทน เหลือแต่ภัยทางอากาศที่อาจจะมีลูกระเบิดมาทิ้งบ้าง แต่โอกาสที่จะตกบนหลังคาพระตำหนักนั้นคงจะน้อย นอกจากจะเป็นเรื่องเลวร้ายจริงๆ ทั้งจะได้ทรงพบแพทย์ที่รักษาพระองค์ได้สะดวกขึ้นด้วย เมื่อเสด็จฯกลับมาประทับที่พระตำหนักแล้ว พระอาการโดยทั่วไปก็ดีขึ้น ประจวบกับเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มผลิใบอ่อนแตกยอดกันเขียวชอุ่ม อากาศสดชื่น ท้องฟ้าแจ่มใสปลอดโปร่ง อีกทั้งสภาวะสงครามดูจะเบาบางลงบ้าง นอกจากความเป็นอยู่ของคนอังกฤษที่ยังต้องประหยัด มีการแบ่งสันปันส่วนอาหารกัน ช่วงประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2484 มิสเตอร์เครกได้มาเข้าเฝ้าฯ และกราบบังคมทูลว่า พระตำหนักเวนคอร์ต ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจทหารถูกยึดครองเป็นกองบัญชาการอีกแห่งหนึ่งแล้ว ดังนั้นฝ่ายทหารจึงแจ้งมาเพื่อให้ทรงส่งคนไปเก็บสิ่งของมีค่าในพระตำหนักก่อนที่จะส่งมอบอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นไปตามพระราชดำริที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ตอนที่เริ่มเกิดสงครามใหม่ๆ แม้ว่าจะทรงได้รับค่าชดเชยเป็นการตอบแทน แต่ก็คงไม่คุ้มค่ากับความรักความเอาพระราชหฤทัยใส่ของพระองค์ท่านและสมเด็จพระบรมราชินี ที่ทุ่มเทลงไปในการตกแต่งปรับปรุงพระตำหนักจนสวยงาม เหตุการณ์ในเช้าวันที่ 30 พฤษภาคม ผมมาทราบทีหลังว่า พระเจ้าอยู่หัวตื่นพระบรรทมแต่เช้าตรู่ พระอาการทั่วไปดีมาก พระองค์ท่านมีรับสั่งกับสมเด็จพระบรมราชินีว่า “วันนี้ฉันรู้สึกสบายมาก ไปเก็บดอกไม้จากบ้าน (เวนคอร์ต) มาดูกันบ้างสิ” […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ชีวิตช่วงต้นสงครามโลกในยุโรป (ตอนที่13)

หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ชีวิตช่วงต้นสงครามโลกในยุโรป  ในที่สุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็อุบัติขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรป ผลกระทบก็ได้เกิดขึ้นกับในหลวงรัชกาลที่ 7 และผู้ติดตาม ซึ่งก็ทรงเตรียมการรับมหาภัยครั้งนี้อย่างเต็มพระกำลัง ระหว่างที่พระตำหนักคอมพ์ตันเฮ้าส์ กำลังซ่อมแซม พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯไปเมืองรัวย่าต์ (ROYAT) ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประทับรักษาพระองค์โดยการสรงน้ำแร่ จากนั้นจึงเสด็จฯประเทศอียิปต์เป็นลำดับต่อมา ผู้ตามเสด็จประกอบด้วยสมเด็จพระบรมราชินี หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯและหม่อมเสมอ หม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณีและผม โดยผมทำหน้าที่จัดการเรื่องตั๋วและจองที่ประทับถวาย โดยเสด็จฯมาลงเรือที่เมืองเนเปิล ประเทศอิตาลี และขึ้นฝั่งที่เมืองอเล็กซานเดรีย แล้วไปประทับโรงแรมเมน่าเฮ้าส์ (MENA HOUSE) ซึ่งเป็นเรือนไม้โบราณอยู่ใกล้ๆกับพีระมิดในกรุงไคโร ผมได้ตามเสด็จไปชมพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษามัมมี่และสิ่งของมีค่าต่างๆที่ขุดพบ พระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรแล้วรับสั่งอธิบายได้หมดว่าสิ่งของแต่ละชิ้นมีที่มาอย่างไร ทั้งนี้เคยเสด็จฯอียิปต์มาแล้วครั้งหนึ่ง ก่อนเสด็จฯกลับเมืองไทยหลังจากทรงจบการศึกษาจากอังกฤษ และทรงพระอักษรไว้มากมาย ทั้งยังรับสั่งว่า “มาดูแค่นี้ไม่พอ ต้องล่องแม่น้ำไนล์ด้วย เพื่อให้ได้บรรยากาศที่แท้จริง” (เพื่อให้เหมือนกับบรรยากาศในการอ่านนวนิยายของอกาธา คริสตี้) ช่วงที่เสด็จฯนั้นเป็นเวลาที่ทางการอียิปต์กำลังก่อสร้างเขื่อนอัสวานอยู่ พระองค์ท่านเสด็จฯลงประทับเรือไอที่มีใบพัดสองข้าง ล่องขึ้นล่องลงรวมเวลาราว 1 เดือน โดยระหว่างทางเสด็จฯได้ทรงแวะทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆ มีที่แห่งหนึ่งทรงพบกับสิบตำรวจเอกคนหนึ่งไว้หนวดเฟิ้มคล้ายพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมนี ทีแรกผมนึกว่าเป็นนายพลเสียอีก แต่งตัวโก้มาก เขากราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯไปเสวยที่บ้านของเขาซึ่งใหญ่โตมาก เขาจัดอาหารพื้นเมืองมาถวาย มีอยู่รายการหนึ่งเป็นนกพิราบยัดไส้ ตัดหัว เท้าและถอดกระดูกออก เขาสาธิตการรับประทานด้วยการฉีกขาออกข้างหนึ่งจิ้มในน้ำจิ้มรสเผ็ดที่มีใบไม้ ดูคล้ายแกงขี้เหล็กรสชาติอร่อย […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ จากตำหนักใหญ่สู่ตำหนักเล็ก (ตอนที่12)

หม่อมเจ้าการวิก กับช่วงสงครามโลกครั้งที่2 และความฝืดเคือง หม่อมเจ้าการวิก ทรงเล่าถึงช่วงเวลาที่ในหลวงรัชกาลที่ 7 ประทับในต่างประเทศนั้น เป็นช่วงที่ใกล้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ต้องทรงผจญกับความฝืดเคือง และทรงพยายามลดทอนค่าใช้จ่ายลงในทุกๆทาง พระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่แสดงถึงความเป็นผู้รอบรู้ประการหนึ่งคือ การที่พระองค์ท่านเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆที่มีความสำคัญและประวัติความเป็นมา ทรงมีความรู้ และสามารถรับสั่งให้เข้าใจได้โดยง่าย ในบั้นปลายของพระชนม์ชีพ พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต่างประเทศอยู่หลายคราวเพื่อประทับรักษาพระองค์ ด้วยพระพลานามัยระยะหลังไม่ใคร่ดีนักเมื่อพระอาการบรรเทาก็ทรงถือเป็นวโรกาสพิเศษที่จะเสด็จฯเยือนที่ต่างๆ เพื่อทรงพระสำราญ และมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานความรู้แก่ผู้ตามเสด็จด้วยการพาไปให้เห็นของจริง ซึ่งผมได้รับพระราชทานโอกาสพิเศษนี้ด้วยในฐานะผู้ตามเสด็จอยู่บ่อยครั้ง จำได้ว่า ช่วงเวลานั้นราวพ.ศ.2480-2482 สถานการณ์ในยุโรปเริ่มไม่สงบ เพราะผู้นำเผด็จการนาซี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งเยอรมนี ได้รุกรานเข้ารวบรวมดินแดนต่างๆที่อ้างว่ามีคนเชื้อสายเยอรมันอยู่เป็นของตน และมีการสะสมกำลังและอาวุธเพื่อเตรียมการทำสงคราม แต่ผู้นำประเทศต่างๆต่างประมาท ไม่คิดว่าเยอรมันจะมีกำลังลุกขึ้นมาก่อสงครามได้ เพราะผลจากการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ.2457-2461) ที่สร้างความบอบช้ำแก่ทั้งฝ่ายผู้ชนะและผู้พ่ายแพ้อย่างมากมาย ทำให้นานาประเทศไม่พร้อมที่จะทำสงครามกับใครอีก แล้วในช่วงพ.ศ.2480 และ 2481 สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระภคินีร่วมพระชนกและพระชนนีในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ได้เสด็จประพาสอังกฤษเพื่อประทับรักษาพระองค์ถึงสองครั้ง และได้เสด็จเยี่ยมพระเจ้าอยู่หัวด้วย ในระหว่างที่ประทับ ณ โรงแรมเมย์แฟร์ กรุงลอนดอนนั้น พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ผมไปเป็นสารถีขับรถยนต์พระที่นั่งถวาย หากมีพระประสงค์จะเสด็จยังที่ต่างๆอยู่คราวละเดือนหนึ่ง บ่อยครั้งที่จะมีหม่อมราชวงศ์มรุต เทวกุล ตามเสด็จด้วย และครั้งสุดท้ายก่อนจะเสด็จกลับเมืองไทยทรงมีรับสั่งว่า […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ตามเสด็จรับใช้อย่างใกล้ชิด (ตอนที่ 11)

หม่อมเจ้าการวิก กับเรื่องราวความประทับใจ เมื่อทรงตัดสินพระทัยมาถวายการรับใช้ ทำให้ทรงเห็นพระราชจริยวัตรของในหลวงรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระราชินี ในยามที่ต้องประทับในต่างประเทศว่า แม้ต้องทรงประสบกับความยากลำบาก แต่ก็ทรงมีพระขัตติยมานะสุขุมอย่างน่าประทับใจ ตอนที่ผมเริ่มถวายงานเป็นราชเลขาฯนั้นผมยังเป็นแค่เด็กหนุ่ม เวลาไปติดต่องานเขามักไม่เชื่อหาว่าล้อเล่นจะอวดเบ่ง บังเอิญว่าพอผมอายุ 21 ปี ศีรษะเกิดล้านดูเป็นผู้ใหญ่ ก็ไม่ต้องเบ่งแล้ว ผมรู้สึกตกใจเหมือนกันที่เกิดเหตุนี้กับร่างกาย มีอยู่วันหนึ่งเขียนหนังสืออยู่ที่หน้าโต๊ะเครื่องแป้ง ชำเลืองมองกระจก ใครหวา…หนังหัวแดงๆ อ้าว! เราเอง ศีรษะล้านอย่างไม่รู้ตัว เวลาหวีผมร่วงติดแปรงมาทีละนิดทีละหน่อย ทั้งที่ไม่ได้เครียดอะไร อาจจะเป็นเพราะสภาพอากาศของอังกฤษทำให้หนังศีรษะแห้งขาดวิตามินที่มีในแดด ด้วยที่นั่นฝนตกเกือบทุกวัน คนไทยหลายคนที่ไปอยู่ที่นั่นก็ศีรษะล้าน อาจจะเป็นกรรมพันธุ์ด้วยส่วนหนึ่ง ตอนหลังมีคนรู้จักผมตอนที่ศีรษะล้านแล้วได้มาเห็นรูปถ่ายเก่าๆที่ยังมีผมดก เขาสงสารและทำหน้าเศร้า บอกว่า “เมื่อก่อนนี้เกือบหล่อเหมือนกันนะ…” ฟังแล้วเศร้ามาก… แม้ผมจะไม่ได้เรียนหนังสือมีความรู้จนถึงขั้นเป็นบัณฑิต แต่การที่ผมได้มาถวายการรับใช้อย่างใกล้ชิด ความรู้ต่างๆที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสั่งสอนแก่ผมนั้นดีกว่าเรียนจบจากที่ไหนๆในโลกเสียอีก พระองค์ท่านทรงมีความรอบรู้มาก ทรงหนังสือถึง 3 ภาษา หลังจากสละราชสมบัติแล้วยังทรงศึกษาภาษาเยอรมันด้วยพระองค์เองด้วย เวลาเสด็จฯที่ไหนก็จะทรงอธิบายได้ว่าที่นั่นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอะไรบ้าง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความรู้ที่ผมได้รับจากพระองค์ท่านอย่างมากมาย โดยไม่ต้องอ่านหนังสือหลายเล่มกว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร พระราชจริยวัตรอีกหลายประการที่ผมประจักษ์ชัดคือ ทรงมีพระราชอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน พระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณา ทรงเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างที่สุด เวลามีเรื่องร้ายที่นำความทุกข์โศกหรือความเดือดร้อนมาสู่พระองค์ท่าน ก็ทรงอดทนทุกอย่าง แม้ภายหลังที่ทรงสละราชย์แล้ว คนไทยในต่างประเทศยังวางตัวไม่ถูกเมื่อพบกับพระองค์ท่าน […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ รับใช้ใต้เบื้องบาทบงสุ์ (ตอนที่ 10)

  ใต้ร่มฉัตร…รับใช้ใต้เบื้องบาทบงสุ์ ใต้ร่มฉัตรดำเนินมาถึงตอนที่ 10 ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ชีวิตของหม่อมเจ้าการวิก ที่แต่เดิมเป็นเพียงนักศึกษาไทยในต่างประเทศ และเมื่อในหลวงรัชกาลที่ 7 ได้มีรับสั่งชวนให้มาถวายการรับใช้ ก็ทรงตอบรับด้วยความยินดีที่จะรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทด้วยความเต็มพระทัยยิ่ง เวลานั้น ผู้ที่จะอยู่สนองเบื้องพระยุคลบาทมีน้อยเต็มที แม้มีหลวงศักดิ์นายเวร (แจ่ม เงินยอ) กับคุณเชย ภรรยา เดินทางจากเมืองไทยมาถวายการรับใช้เพิ่มก็ตาม ซึ่งหลังจากที่ผมตามเสด็จเสร็จแล้ว ก็กราบบังคมทูลลากลับมาเรียนต่ออีกหนึ่งภาคเรียน และสอบได้ระดับบักกาโลเรอาท์ 1 (BACCALAUREAT 1) ตามหลักสูตรการเรียนของฝรั่งเศส เทียบง่ายๆก็เหมือนระดับมัธยมปลายของไทย เตรียมตัวจะสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย ก็เดินทางไปเฝ้าฯ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านก็พระราชทานรถสปอร์ต S.S. รุ่นเล็กเป็นรางวัล รถที่พระราชทานเป็นขนาดกินน้ำมันลิตรครึ่ง คันไม่ใหญ่และไม่หรูหราอะไรมาก ต่อมาบริษัทสแตนดาร์ดมอเตอร์สเปเชียล ผู้ผลิตรถประเภทนี้ก็พัฒนาจนกลายเป็นรถจากัวร์ (JAGUAR) นั่นเอง เมื่อพระองค์ท่านรับสั่งว่า ไม่ต้องไปเข้าโรงเรียนนายร้อยหรอก เรียนสิ่งที่จะประกอบอาชีพอื่นดีกว่า ผมจึงเปลี่ยนความตั้งใจมาสอบเข้าเรียนในระดับบักกาโลเรอาท์ 2 ซึ่งเป็นหลักสูตรแบบโรงเรียนโปลีเทคนิค ใช้เวลาเรียน 1 ปี ก็สามารถจบออกมาทำงานได้หลายอาชีพ ชื่อโรงเรียนโปลีเทคนิคนี้ ในประเทศอื่นอยู่ในขั้นโรงเรียนอาชีวะศึกษาทั่วไป แต่ในฝรั่งเศสเป็นเหมือนโรงเรียนอัจฉริยะ สอบเข้ายากและเรียนยาก อย่างวิชาการคำนวณเบื้องต้น (MATHEMATIQUES ELEMENTARIES) ซึ่งในอังกฤษเรียกว่าวิชาการคำนวณชั้นสูง (HIGHER […]

ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ชีวิตที่แปรเปลี่ยน (ตอนที่ 9)

  ใต้ร่มฉัตร…ชีวิตที่แปรเปลี่ยน (ตอนที่ 9) ใต้ร่มฉัตร ตอนนี้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี พ.ศ.2475 ที่สร้างความผันผวนอย่างมากมาย อันส่งผลกระทบกับอย่างรุนแรงกับเหล่าเชื้อพระวงศ์ รวมถึงพระชะตาชีวิตของหม่อมการวิก จักรพันธุ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ผมนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 (นับศกอย่างเก่า) ณ ท่าราชวรดิฐ และพยายามสร้างจินตภาพของเรือยนต์พระที่นั่ง ‘ศรวรุณ’ ที่ทอดลำอยู่เหนือแผ่นน้ำเจ้าพระยา เพื่อรอรับการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ลงประทับก่อนจะเคลื่อนออกจากแผ่นดิน ครั้นถึงเวลาตามหมายกำหนดการทั้งสองพระองค์จึงเสด็จฯลง ระวางเรือราชพาหนะถูกขับเคลื่อนห่างจากท่าอย่างช้าๆ ท่ามกลางสายตาของคณะรัฐบาล ข้าราชการ พลเรือน ตลอดจนทูตานุทูตต่างประเทศ และเหล่าพสกนิกรที่เฝ้าฯส่งเสด็จอย่างคับคั่ง หากในใจของพวกเขาเหล่านั้นคงไม่นึกคิดว่า การเสด็จพระราชดำเนินในวันนั้นจะเป็นการเสด็จฯอำลาจากเมืองไทยขององค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯอย่างชั่วนิรันดร์ แม้จะมีข่าวเล่าลือกันในตอนนั้นว่า พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่ขัดแย้งกับคณะรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และสภาผู้แทนราษฎรทางด้านการเมืองการปกครองในหลายๆประการ ทั้งที่ทรงสนับสนุนและให้คำแนะนำบรรดา ‘คณะราษฎร’ ที่ลุกขึ้นมาก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม…ที่สุดทรงตัดสินพระราชหฤทัยที่จะเสด็จฯไปรับการถวายการรักษาพระเนตรข้างขวาที่ประชวรต้อกระจกที่อังกฤษหลังจากที่เคยเสด็จฯไปรับการถวายการผ่าตัดพระเนตรข้างซ้ายที่สหรัฐอเมริกามาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2474 พร้อมกันนี้มีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯเยือนเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับบรรดามิตรประเทศในยุโรปด้วย หากเบื้องลึกของการตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จฯออกนอกประเทศครั้งนั้น เหล่าผู้มีอำนาจคงจะทราบถึงนัยแห่งความหมายนี้…   […]

keyboard_arrow_up