ลองเช็คดู! ปัญหาการนอนหลับแบบไหน ควรตรวจ SLEEP TEST

การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอกจากการเลือกกินอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ที่ดีแล้ว หนึ่งในการดูแลสุขภาพที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การนอนหลับ ระยะในการนอนหลับที่เพียงพอในผู้ใหญ่ ต้องนอนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในบางรายพบว่าอาจมีอาการ เช่น เพลียเมื่อตื่นมาตอนเช้า รู้สึกนอนไม่อิ่ม ไม่สดชื่น อ่อนล้า ง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งที่นอนอย่างเพียงพอแล้ว ปัญหาการนอนหลับแบบไหน ที่ควรตรวจ SLEEP TEST ปัญหาการนอนหลับ สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย โดยสามารถสังเกตอาการด้วยตนเอง หรือสอบถามผู้ที่นอนร่วมกับเรา ว่ามีอาการผิดปกติขณะนอนหลับหรือไม่ เช่น นอนกรนดังผิดปกติ หยุดหายใจขณะหลับ สะดุ้งเฮือก สำลักน้ำลาย นอนกัดฟัน นอนละเมอ ส่งเสียงร้อง แขนขากระตุก เป็นต้น หากพบว่ามีปัญหาและอาการดังกล่าวแนะนำให้มาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อรับคำแนะนำและวินิจฉัยโรคจากการนอนหลับ เพราะปัญหาการนอนหลับมีผลต่อสุขภาพทั้งโรคทางกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตใจ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนและ การทำงานได้ ปัญหาโรคจากการนอนหลับโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มโรค โรคนอนไม่หลับ (insomnia) โรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ […]

ทำความเข้าใจ ความเศร้าเสียใจ-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง

“โรคซึมเศร้า” พบได้ทั่วไป จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคจิตเภทและปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ร้อยละ 3.2 และโรค dysthymia ร้อยละ 1.18 แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้เสียชีวิตโดยตรง ยกเว้นผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าก็เกิดความพิการได้ และเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 4 เมื่อวัดจากการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) และในปี ค.ศ. 2020 คาดว่าจะเลื่อนขึ้นเป็นอันดับ 2 ผู้ที่เข้ารับการรักษาในเวชปฏิบัติทั่วไปจำนวนไม่น้อยมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมกับโรคทางกายและโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล จึงมีบทบาทมากขึ้นในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาซึมเศร้า และจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อวินิจฉัยแยกโรค รวมถึงรักษาได้อย่างถูกต้อง ความหมายเกี่ยวกับอารมณ์ที่ควรทราบ – Emotion คือ ความรู้สึกที่มีความซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรม – Mood คือ ส่วนของ Emotion ซึ่งเป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในและคงอยู่นาน ถ้ามีความผิดปกติรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทุกด้าน รวมทั้งการรับรู้โรคภายนอก – Affect หมายถึง ลักษณะอารมณ์ที่แสดงให้เห็นภายนอก บอกถึงระดับความรู้สึกภายในและบอกสภาวะอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ โดยที่ผู้อื่นสามารถสังเกตและประเมินได้ ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางสีหน้า […]

“นอนไม่หลับ” หรือหลับไม่สนิท หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า

ใครที่มีอาการ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แล้วปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โรค “นอนไม่หลับ” หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า การนอนหลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการดำรงชีวิต ถ้าเรานอนหลับพักผ่อนได้ดีและเพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ในบางคนที่พบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น และง่วงนอนในเวลากลางวัน กรณีที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ส่วนมากมักจะเกิดในผู้หญิงและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และเกิดได้จากหลายปัจจัย จึงแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ลักษณะของบุคคล นอนหลับไม่ลึก หูไว ตื่นง่าย หรือมีความวิตกกังวลง่าย ปัจจัยกระตุ้น การเปลี่ยนงาน การเสียชีวิตของคนที่รัก หรือคนในครอบครัว การหย่าร้าง พฤติกรรมของผู้ป่วย การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆ การดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน นอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง เป็นต้น โดยตัวเองสามารถสังเกตอาการของการนอนหลับได้ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท […]

คีพความอ่อนเยาว์ด้วยวิธี “ชะลอวัย” ง่ายๆ สามารถทำได้ตามหลัก 5 อ.

รู้ไหมคะว่าปัจจุบันนี้การ ชะลอวัย เป็นศาสตร์หนึ่งที่ได้มีการศึกษากันอย่างลึกซึ้งในส่วนของ “การแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย” ซึ่งเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แนวทางใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันโรค ค้นหาโรค รักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ รวมถึงเพื่อช่วยชะลอความแก่ชราของร่างกายลง อาการของความเสื่อมถอยของร่างกายและความชรา จะแสดงอาการให้เห็น ดังต่อไปนี้ อ่อนเพลียตลอดเวลา รู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนเต็มที่ตลอดคืน รู้สึกไม่แข็งแรงเหมือนเคย น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ หลงลืมมากขึ้นเรื่อยๆ เจ็บปวดตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดข้อ นอนไม่หลับ หรือ นอนหลับไม่สนิท อารมณ์ตึงเครียด กระวนกระวาย หรือ วิตกกังวล ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศลดลง อาการเหล่านี้เป็นอาการของความชราค่ะ แม้ว่าในอดีตเราอาจจะเคยถูกสอนให้ยอมรับสภาพว่าเป็นอาการตามวัย แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ เราไม่จำเป็นต้องยอมรับสภาพอีกต่อไป แอนไทเอจจิ้ง เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการชะลอวัย และทำให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น โดยการให้ฮอร์โมนทดแทน การเสริมสารอาหารเพื่อต้านอนุมูลอิสระ การเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้ร่างกาย การใช้เซลล์บำบัด และการบริการทางการแพทย์ด้านอื่นๆ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย มีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากภาวะชีวเคมีไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนที่ลดลง ขาดสารอาหาร สเต็มเซลล์ทำงานได้น้อยลง เทโลเมียร์ก็สั้นลง โปรแกรมชะลอวัยจึงครอบคลุมการรักษาทั้งในส่วนของภาวะการทำงานของร่างกาย สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่ไม่สมดุล เพื่อชะลอความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความเสื่อมตามวัย […]

นอนหลับยาก…ต้องรีบแก้! ส่งผลต่อปัญหาผิว แชร์ 5 ทริคง่ายๆ ช่วยให้นอนหลับสบายตลอดคืน

เชื่อว่าสาวๆ หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ต่อให้ทุ่มทุนใช้สกินแคร์ราคาแพงแค่ไหน แต่ถ้ายังไม่หยุดพฤติกรรมนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีปัญหากับการนอนหลับ ก็ช่วยอะไรผิวพรรณไม่ได้ ซึ่งขอบอกเลยว่าปัญหานี้ไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพผิวเท่านั้นนะคะ แต่การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสมยังส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างมหาศาลอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะสถานการณ์ช่วงนี้ที่โรคโควิด-19 ยังคงระบาดหนัก เราจึงต้องยกการ์ดป้องกันและดูแลสุขภาพกันอย่างเคร่งครัด ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสมสามารถช่วยถนอมสุขภาพได้มากอีกทางหนึ่ง แต่สำหรับสาวๆ คนไหนที่มีปัญหานอนหลับยาก กว่าจะหลับได้ต้องใช้เวลานาน หรือนอนหลับไม่สนิท มักหลับๆ ตื่นๆ กลางดึกอยู่บ่อยๆ ทำให้พอตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ขอบอกเลยว่าควรรีบหาทางแก้ไข ก่อนที่ปัญหานี้จะลุกลามบานปลายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย แพรว จึงนำ 5 ทริคง่ายๆ ที่ควรทำก่อนเข้านอน ซึ่งจะช่วยให้สาวๆ นอนหลับสบายตลอดคืนมาฝากกันค่ะ นอนหลับยาก…ต้องรีบแก้! ส่งผลต่อปัญหาผิว แชร์ 5 ทริคง่ายๆ ช่วยให้นอนหลับสบายตลอดคืน สร้างบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสม ทริคข้อแรกที่จะช่วยให้สาวๆ นอนหลับได้ดีขึ้น คือการสร้างบรรยากาศห้องนอนให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแสงสว่าง สภาพอากาศ เสียง กลิ่น หรือเครื่องนอน โดยควรปิดไฟให้มืดสนิท หรือหรี่ไฟให้สว่างน้อยที่สุด อากาศถ่ายเทสะดวก ปรับอุณหภูมิให้พอดี ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป ไม่มีเสียงและกลิ่นรบกวน ส่วนเรื่องสำคัญอย่างเครื่องนอน ก็ควรเลือกที่ช่วยรองรับสรีระได้ดี […]

PTSD โรคเครียดหลังเจอภยันตราย โรคที่ “มีล่า” เผชิญ หลังโดนน้องชายแท้ๆ ทำร้าย

รู้จัก PTSD โรคเครียดหลังเจอภยันตราย โรคที่ “มีล่า” เผชิญ หลังโดนน้องชายแท้ๆ ทำร้าย สำหรับประเด็นร้อนที่กำลังเป็นที่สนใจของโซเชี่ยลล่าสุด กรณี “มีล่า จามิล่า พันธ์พินิจ” อดีตนักร้องสาวสังกัด กามิกาเซ่ ออกมาเผยเรื่องราว 2 ปีก่อน ที่โดยน้องชายแท้ๆ ของเธอ ทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส บาดแผลฉกรรจ์ เป็นผลทำให้หลังเหตุการณ์ดังกล่าว มีล่า ป่วยอาการเป็นโรค PTSD  หวาดระแวง ไม่สามารถกลับไปอยู่ที่บ้านของตัวเองได้  ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจออกมาแฉเรื่องนี้ มีล่า บอกว่า เพราะอึดอัดใจ รวมถึงที่ผ่านมาครอบครัวปกปิดทุกอย่างที่เกี่ยวกับน้องชาย ทำให้เธอใช้ชีวิตด้วยความหวาดผวา ทำความรู้จัก โรคเครียดภายหลังภยันตราย หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) เช่น ภัยพิบัติ การก่อการจราจล การฆาตกรรม สงคราม เป็นต้น ซึ่งคนที่ต้องเผชิญอยู่กับเหตุการณ์นั้นๆ รอดชีวิตมาได้ หรือว่าเป็นผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เกิดมีความเครียดทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงมากจนทุกข์ทรมาน ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ตามมา อาการผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็นภาวะ PTSD ระยะที่หนึ่ง (1 […]

จริงหรือไม่? นอนน้อย นอนไม่หลับ เสี่ยงอ้วนลงพุง น้ำหนักขึ้นเพราะอยากอาหาร

รู้ไหมว่า นอนน้อย นอนไม่หลับ เสี่ยงน้ำหนักตัวเพิ่มได้อย่างไร แม้ผู้คนจะเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าการนอนหลับช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม แต่เราก็มักหลงลืมประโยชน์ความสำคัญของการนอนหลับที่ช่วยให้เรามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมและมีรูปร่างที่ดูดีสมส่วนไป โดยส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเป็นหลัก ดร. เดวิด ฮีเบอร์ ในฐานะแพทย์และผู้อำนวยการผู้ก่อตั้งศูนย์ UCLA Center for Human Nutrition ได้ศึกษาความสำคัญของการนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพที่ช่วยให้คนสามารถดูแลจัดการน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเสริมสร้างสุขภาพที่ดีโดยรวม และแม้มีหลายวิธีที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ ทว่าการนอนหลับที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อร่างกายปรับตัวตามธรรมชาติให้เข้ากับช่วงเวลาต่างๆ ของเราในแต่ละวัน ทั้งเวลามื้ออาหาร เวลาออกกำลังกาย และเวลาพักผ่อน นอกจากนี้ เราต้องฝึกสร้างเสริมสุขลักษณะในการนอนหลับที่ดี เช่น ไม่ทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง หยุดทำงานก่อนนอน 2 ชั่วโมง และเลิกใช้อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารก่อนนอน 1 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ ที่ปล่อยแสงเข้าสู่ดวงตา ซึ่งส่งผลเสียต่อนาฬิการ่างกายของเรา การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพส่งผลให้เกิดอาการความดันโลหิตสูง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน หวาดระแวง ซึมเศร้า และมีความเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันมีอาการนอนไม่หลับในบางครั้ง […]

หลับยาก! เช็คลิสต์ 5 โรคฮิตต้นเหตุของปัญหาการนอนไม่หลับ

หลับยาก! เช็คลิสต์ 5 โรคฮิตต้นเหตุของปัญหาการนอนไม่หลับ ถึงแม้ว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอในบางครั้งอาจจะเป็นเรื่องปกติของใครหลายๆ คน แต่สำหรับบางคน การนอนไม่หลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ นั้นเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หลายครั้งอาการ นอนไม่หลับ มักจะเป็นผลจากสุขนิสัยการนอนของเราเอง แต่ก็มีบางคนที่อาการนอนไม่หลับนั้นเป็นผลที่มาจากโรคอื่น พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ทางด้านชะลอวัยของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ร.พ.บำรุงราษฎร์ ได้ยกตัวอย่าง 5 โรคที่พบเห็นทั่วไปและเป็นต้นเหตุของอาการนอนไม่หลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ไว้ดังนี้   1. ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นอาการที่ไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ และไปกระตุ้นระบบประสาท ส่งผลให้นอนไม่หลับและเหงื่อแตกพล่านขณะนอน นอกเหนือจากนี้แล้ว ต่อมไทรอยด์ยังควบคุมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษนั้นจึงหลากหลายและยากต่อการชี้เฉพาะเจาะจง การตรวจเช็คความปกติของต่อมไทรอยด์นั้นไม่ยากเพียงแค่เจาะเลือด 2. อาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน หรือ Nocturia  การตื่นมาปัสสาวะบ่อยๆ ช่วงกลางดึกพบได้มากในหมู่คนมีอายุ ในกรณีรุนแรงจะพบว่าผู้ป่วยตื่นมาปัสสาวะบ่อยถึง 5 – 6 ครั้งในหนึ่งคืน อาการนี้มักจะแย่ลงเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ก็สามารถเป็นอาการของคนที่มีปัญหาเรื่องเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาขับปัสสาวะ 3. โรคไต  เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะในเรื่องของการขับถ่ายของเสียจากร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตจะพบปัญหาเรื่องการสะสมของของเสียในกระแสเลือด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หรือ อาการขาอยู่ไม่สุก (restless legs syndrome) 4. โรคไขข้อ  กลุ่มคนที่เป็นโรคไขข้อต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในกระดูกซึ่งทำให้นอนไม่หลับ และนอกจากนี้การใช้ยาประเภท สเตียรอยด์ ยังมีผลกระทบต่อการนอนอีกด้วย 5. ปวดหัว  ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวบ่อยๆ มักจะมีอาการนอนไม่หลับตามมา ยกตัวอย่างเช่น โรคไมเกรน หรือปวดศีรษะคลัสเตอร์ เป็นอาการปวดหัวที่ทำให้เส้นเลือดขยายออก ส่งผลให้รู้สึกปวดตื้อๆ […]

ชี้ทางแก้ “นอนไม่หลับ” จนตาคล้ำไม่สวย แถมเร่งแก่ เร่งป่วย ร่างกายทรุดเร็ว

การนอนไม่หลับ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่น่ากลัวมาก เมื่อ นอนไม่หลับ และเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ สามารถส่งผลกระทบต่อหน้าที่การทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ แต่ละคนอาจมีความรู้สึกต่อการนอนไม่หลับได้หลายแบบ เช่น นอนหลับยาก ใช้เวลานานจึงจะหลับได้ หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ หลับง่ายแต่มาตื่นตอนดึกแล้วหลับต่อยาก ปัญหานอนไม่หลับมีหลายแบบ เกิดขึ้นตามระยะเวลา ทั้งแบบชั่วคราว เป็นๆ หายๆ และแบบเรื้อรัง ผลกระทบต่อการนอนไม่เพียงพอนั้น ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุโดยรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น โอกาสที่จะขาดงานเพิ่มขึ้น มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เฉี่อยชา รู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิดและขาดสมาธิ ซึ่งสาเหตุของอาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่มาจากอารมณ์และความเครียด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่มีผลกระทบจากแสง เสียง กลิ่น อาการเจ็บป่วย เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงการทำงานเป็นกะ ระหว่างกลางวันและกลางคืน ซึ่งหากมีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ควรมาปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้นได้ เช่น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต น้ำตาล และไขมัน รวมถึงภูมิต้านทานลดลง มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก สมรรถภาพทางเพศลดลง ผิวพรรณหมองคล้ำ ดูแก่ก่อนวัย […]

5 วิธีแก้ปัญหา ขี้หงุดหงิด สมองไม่โล่ง ขาดแรงจูงใจทำงาน ไม่อยากลุกจากที่นอน

เรารู้คุณก็เป็น!! หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียง่ายอยู่ตลอดเวลา รู้สึกปวดตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกายอยู่บ่อยๆ หรือในบางครั้งก็พบว่าความต้องการทางเพศที่เคยมีนั้นลดน้อยลงไปกว่าแต่ก่อน และคุณก็ยังคงรู้สึกว่าร่างกายของคุณนั้นไม่เป็นปกติถึงแม้ว่าแพทย์จะบอกว่าร่างกายของคุณนั้นแข็งแรงดีอยู่ก็ตาม อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจเป็นอาการทางด้านสุขภาพที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังที่มีสาเหตุมาจากการขาดสมดุลต่างๆในร่างกาย ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้นสามารถเกิดจากหลากหลายสาเหตุ อาทิ การขาดสมดุลของฮอร์โมน ภูมิแพ้อาหารแฝง ตลอดจนอุปนิสัยการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่สามารถก่อให้เกิดการสะสมสารพิษในลำไส้และนำไปสู่โรคต่างๆ โดยสาเหตุของอาการเหล่านี้อาจไม่สามารถตรวจพบได้โดยวิธีการวิเคราะห์ทั่วไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า “อันที่จริงแล้วปัญหาเหล่านี้มีหนทางแก้ไขได้ไม่ยากนัก หากรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการนั้นๆ” 1. คืนชีวิตชีวาให้กับร่างกายเริ่มที่สาเหตุของปัญหา เคยรู้สึกไม่อยากลุกจากที่นอนบ้างไหม? รู้สึกหงุดหงิดระหว่างวัน สมองไม่โล่ง ขาดแรงจูงใจในการทำงานหรือออกกำลังกายในระหว่างวัน? ความเมื่อยล้าหรืออาการขาดเรี่ยวแรงอาจดูเหมือนเป็นเรื่องไม่ยากในการแก้ไข แต่ที่จริงแล้วไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสะสมของสารพิษในกระแสเลือดและระบบการย่อยอาหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือแม้แต่กระทั่งภาวะซึมเศร้าและความเครียดต่างๆ ก็สามารถเป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียได้ แนวทางรักษาต้นเหตุของปัญหาไม่ใช่แค่อาการเท่านั้น โดยการวิเคราะห์ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิต การแพ้อาหาร ระดับฮอร์โมนในร่างกาย การรับประทานอาหาร และระบบย่อยอาหารของคนไข้ โดยแพทย์จะนำผลการตรวจของแต่ละบุคคลมาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ และแนะนำเกี่ยวกับการบำบัดด้วยฮอร์โมน (สำหรับผู้ที่มีความไม่สมดุลของฮอร์โมนหรือฮอร์โมนไม่เพียงพอ) จัดอาหารเสริมให้ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล ตลอดจนให้คำแนะนำในการควบคุมการแพ้อาหาร การปรับวิถีการดำเนินชีวิตและการออกกำลังกายในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาว 2. นอนหลับดีขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัยในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่เคยหยุดนิ่ง ทำให้หลายคนคุ้นชินกับสื่อต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดเสียไม่ได้ จนทำให้เราเกิดความเครียดได้อย่างไม่รู้ตัว หลายคนเสพติดการใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งนอนหลับ […]

มาแก้นิสัยบ้างานกัน!! เพราะงานไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต ทำงานหนักได้ แต่อย่าทิ้งชีวิตส่วนตัวจนเครียดหนัก

มึนหัว อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หิวของหวาน อยากของเค็ม ฯลฯ ใครมีอาการเหล่านี้ยกมือขึ้นแล้วแนะนำว่าให้รีบไปหาคุณหมอจะดีกว่า เพราะอาจจะไม่ใช่แค่การเหนื่อยล้าจากการทำงานธรรมดา แต่เป็นกลุ่มอาการที่บ่งบอกว่า คุณหักโหมเกินไปจนร่างกายเริ่มเครียดแล้ว แต่ถ้าก้มหน้าก้มตาอดหลับอดนอนจนร่างกายรวนและทรุด อนาคตเงินที่หาได้คงต้องใช้รักษาร่างกายแทนการหาความสุขแล้วละ ในช่วงเศรษฐกิจขาลงแบบทุกวันนี้ ทุกอาชีพล้วนมีความเครียดไม่ต่างกัน นอกจากปัญหาเรื่องเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูงขึ้นทุกวันจนรายได้วิ่งตามรายจ่ายไม่ทัน ยังจะมีปัญหาสังคมและครอบครัวให้ต้องกังวลเพิ่มขึ้นไปอีก พอต้องเจอกับงานกองท่วมหัวก็ยิ่งเครียดเข้าไปแบบคูณสอง และยิ่งความเครียดรุมล้อมมากเท่าไร โอกาสที่โรคร้ายจะรุมเร้าก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น นายแพทย์ธรณัส กระต่ายทอง อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ และเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.เปาโล พหลโยธิน เตือนมาว่า ความเครียดไม่เพียงทำให้สูญเสียพลังงาน แต่ยังนำมาซึ่งโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคกระเพาะอาหาร และไมเกรน ซึ่งหากพูดกันตามหลักวิชาการแล้ว ความเครียดเป็นปฏิกิริยาของสมองที่แต่ละคนจะมีปฏิกิริยาตอบสนองไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ แต่ละคนทนต่อความเครียดได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น ร่างกายก็จะแสดงอาการออกมาแตกต่างกันไป โดยมากมักจะปวดหัวหรือปวดท้อง ส่วนเรื่องอันตรายก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเครียดว่ามากน้อยแค่ไหน และความอดทนของแต่ละบุคคล ปกติแล้วในออฟฟิศทั่วไปมักจะมีคนที่เครียดจนเป็นโรคซึ่งเกี่ยวเนื่องจากความเครียดอยู่ประมาณ ร้อยละ 20 และอีกกว่าร้อยละ 10 เป็นพนักงานที่ไม่เครียด แต่ที่ยังไม่ค่อยทราบกันคือ กว่าร้อยละ 60-70 ของพนักงานออฟฟิศมีอาการเจ้าปัญหาที่แฝงมากับความเครียดโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ ปัญหาต่อมหมวกไตล้า ปัญหาต่อมหมวกไตล้าเกิดจากอาการเครียดที่มากเกินไป […]

นอนไม่หลับ จับมาเขียนไดอารี่

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่นอนไม่ค่อยหลับ นอนไม่พอ การเขียนบันทึกเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของตนเอง อาจช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

keyboard_arrow_up