ความเศร้า-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างยังไง

ทำความเข้าใจ ความเศร้าเสียใจ-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง

Alternative Textaccount_circle
ความเศร้า-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างยังไง
ความเศร้า-ภาวะซึมเศร้า- โรคซึมเศร้า แตกต่างยังไง

“โรคซึมเศร้า” พบได้ทั่วไป จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคจิตเภทและปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ร้อยละ 3.2 และโรค dysthymia ร้อยละ 1.18 แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้เสียชีวิตโดยตรง ยกเว้นผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าก็เกิดความพิการได้ และเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นอันดับที่ 4มื่อวัดจากการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) และในปี ค.ศ. 2020 คาดว่าจะเลื่อนขึ้นเป็นอันดับ 2 ผู้ที่เข้ารับการรักษาในเวชปฏิบัติทั่วไปจำนวนไม่น้อยมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมกับโรคทางกายและโรคทางจิตเวชอื่นๆ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม บุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล จึงมีบทบาทมากขึ้นในการคัดกรองผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาซึมเศร้า และจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อวินิจฉัยแยกโรค รวมถึงรักษาได้อย่างถูกต้อง

ความหมายเกี่ยวกับอารมณ์ที่ควรทราบ

– Emotion คือ ความรู้สึกที่มีความซับซ้อนได้รับอิทธิพลจากจิตใจ ร่างกาย และพฤติกรรม

– Mood คือ ส่วนของ Emotion ซึ่งเป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในและคงอยู่นาน ถ้ามีความผิดปกติรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทุกด้าน รวมทั้งการรับรู้โรคภายนอก

– Affect หมายถึง ลักษณะอารมณ์ที่แสดงให้เห็นภายนอก บอกถึงระดับความรู้สึกภายในและบอกสภาวะอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ โดยที่ผู้อื่นสามารถสังเกตและประเมินได้ ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางสีหน้า

โรคซึมเศร้า 1

ทำความเข้าใจ ความเศร้า-ภาวะซึมเศร้า– โรคซึมเศร้า แตกต่างกันยังไง

ความเศร้าปกติ

ความเศร้าปกติ (normal sadness) เป็นอารมณ์ด้านลบ ซึ่งทางจิตวิทยาถือเป็นสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัยเมื่อเผชิญกับการสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน

ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า (depression) ต่างจากความเศร้าปกติตรงที่อาจไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์จริงแต่อาจเกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าหรือคิดไปเอง และถ้าเกิดจากเหตุการณ์สูญเสียจริงก็มักจะมีอาการเศร้ามากเกินควรและนานเกินไป ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล มักรู้สึกด้อยค่า รู้สึกผิด อยากตาย และพบบ่อยว่ามีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน กิจวัตรประจำวัน และการสังคมทั่วไป ในรายที่รุนแรงก็จะมีอาการทางกายด้วย เช่น มีความผิดปกติของการนอน (นอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับ) เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรืออยากอาหารมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น

โรคซึมเศร้า 2

โรคซึมเศร้า 

โรคซึมเศร้า (depressive disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญโรคที่มีอารมณ์เศร้าเป็นอาการเด่น ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ประเมินอาการอื่นๆ ที่พบร่วม และจะถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าก็ต่อเมื่อมีอาการครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ซึ่งในปัจจุบันเกณฑ์ในการวินิจฉัยที่ใช้อยู่ 2 ระบบ คือ The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders 5th edition (DSM-V) และระบบมาตรฐานการจำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 10 (The international Classification of Diseases 10th  revision ; ICD-10)

โดยในประเทศไทยใช้ทั้ง 2 ระบบ โดยในด้านการเรียนการสอน และการให้การวินิจฉัยโรค จะยึดถือตามระบบDSM-V เป็นหลัก เช่นเดียวกับในสากลนิยม ส่วนในด้านการระบาดวิทยาและการวางแผนการใช้ทรัพยากรสาธารณสุข จะใช้การบันทึกรหัสโรคตามระบบ ICD-10 ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคซึมเศร้า ตามระบบ DSM-V และเนื่องจากกลุ่มโรคซึมเศร้า (Depressive disorders) ประกอบด้วยหลายโรคย่อยที่แตกต่างกันตามเกณฑ์การวินิจฉัยและสาเหตุรวมถึงพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรค แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคที่พบบ่อยในกลุ่มโรคนี้ คือ โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) และ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent depressive disorder/dysthymia)

ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากมีโรคทางจิตเวชอื่นหลายโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า โรคทางร่างกายหลายโรคและยาบางตัวก็สามารถก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ การวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องอาศัยทักษะในการตรวจ

ข้อมูล : นพ.พิทยา พิสิฐเวช ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง 
ภาพ : Pexels

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Praew Recommend

keyboard_arrow_up