นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า

“นอนไม่หลับ” หรือหลับไม่สนิท หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า

Alternative Textaccount_circle
นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า
นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า

ใครที่มีอาการ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แล้วปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

โรค “นอนไม่หลับ” หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงโรคซึมเศร้ามากกว่าปกติ 2 เท่า

นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า 1

การนอนหลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการดำรงชีวิต ถ้าเรานอนหลับพักผ่อนได้ดีและเพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง สดชื่นแจ่มใส ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ในบางคนที่พบว่าตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น และง่วงนอนในเวลากลางวัน

กรณีที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ โรคนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ส่วนมากมักจะเกิดในผู้หญิงและผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และเกิดได้จากหลายปัจจัย จึงแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า 2

โรคนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ มีปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • ลักษณะของบุคคล
  • นอนหลับไม่ลึก
  • หูไว
  • ตื่นง่าย หรือมีความวิตกกังวลง่าย

ปัจจัยกระตุ้น

  • การเปลี่ยนงาน
  • การเสียชีวิตของคนที่รัก หรือคนในครอบครัว
  • การหย่าร้าง
  • พฤติกรรมของผู้ป่วย
  • การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆ
  • การดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน
  • นอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง เป็นต้น

โดยตัวเองสามารถสังเกตอาการของการนอนหลับได้ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น รวมทั้งมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง สมาธิลดลง ความสนใจและความจำลดลง อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย และเกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ เสี่ยงซึมเศร้า 3

หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า และยังสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิต

นอกจากนี้โรคนอนไม่หลับเรื้อรังยังเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถและอุบัติเหตุจากการทำงานได้ ดังนั้น การนอนหลับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพ หากพบว่ามีอาการนอนไม่หลับ หรือสงสัยว่าตนเอง อาจเป็นโรคนอนไม่หลับ ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างถูกต้อง การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้ายและลดการอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ ได้อีกด้วย


ข้อมูล : กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลองเช็คร่างกายว่าเริ่ม ‘ขาดฮอร์โมน’ ชนิดใด ถ้าไม่อยากดูแก่ ผมบาง ผิวเหี่ยวย่นก่อนวัย

รูปร่าง “ผอมเกินไป” อาจมีโรคร้ายซ่อนอยู่ ลองทำตามหลัก 4 อ. ผอมแบบปลอดโรค

วิธีรักษา “โรคผิวหนังช้าง” หรือปัญหาผิวหนังคล้ำบริเวณหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up