- Page 49 of 69

เสี้ยววินาทีสุดตื้นตัน “เจ้าชายเฟรเดอริก” ทรงแนบพระปราง “สมเด็จพระเทพฯ”

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา มีพระราชอาคันตุกะ และบุคคลสำคัญจากหลายประเทศ เดินทางมาร่วมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งทรงธรรม ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราชวงศ์จากต่างประเทศ ประมุข และผู้นำจากทั่วโลกที่ได้มาร่วมในพระราชพิธีในครั้งนี้ โดยมีภาพความประทับใจแม้เพียงเสี้ยววินาทีที่ปรากฏผ่านถ่ายทอดสด ในช่วงระหว่างที่ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมาร แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ทรงทักทายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยการแนบพระปรางทั้ง 2 ข้าง พร้อมทั้งจับพระหัตถ์ไปด้วย ซึ่งถือเป็นการปฏิสันถารแบบใกล้ชิดอย่างเป็นกันเอง ตามมารยาทการทักทายของชาวเดนมาร์ก ทั้งนี้ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก กับเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี

ควรอ่านก่อนไป!! กำหนดการเข้าชมพระเมรุมาศ 2 – 30 พ.ย.นี้ เปิดรอบละ 5,500 คน

หลังเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกำหนดการเปิดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณจะเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดนิทรรศการในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 นี้ หลังจากนั้นจะเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 2 – 30 พฤศจิกายน 2560 เท่านั้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 07.00 น. ถึง 22.00 น. เบื้องต้นจะเปิดให้เข้าชมอย่างอิสระ รอบละ 5,500 คน รองรับประชาชน ได้วันละ 104,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มภิกษุ สามเณร 500 รูปต่อวัน, ผู้พิการทุกประเภท 500 คนต่อวัน, นักท่องเที่ยว 8,000 คนต่อวัน, นักเรียน นักศึกษา 15,000 คนต่อวัน, ประชาชนทั่วไป 80,000 คน ต่อวัน กำหนดเวลาเข้าชมรอบละ 1 […]

หรือนี่คือเหตุผลที่พระบรมราชสรีรางคาร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต้องแบ่งบรรจุ ๒ วัด

จากข่าวรายละเอียดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่มีการระบุว่า เวลา ๑๐.๓๐ น. ของวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ จะมีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลและเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาล โดยริ้วกระบวนที่ ๕ ส่วนเวลา ๑๗.๓๐ น. เป็นพระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคาร(เถ้ากระดูก)ไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยริ้วกระบวนที่ ๖ ซึ่งพันโทหญิงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงม้านำในริ้วขบวนนี้ ทำให้มีบางคนสงสัยว่า เหตุใดพระบรมราชสรีรางคาร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จึงต้องแบ่งไปบรรจุถึง ๒ วัด เพราะตามราชประเพณีโบราณ การถวายพระเพลิงพระบรมศพและการบรรจุพระบรมอัฐิ พระบรมราชสรีรางคารนั้น มีธรรมเนียมว่าหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ในวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จมาทรงเก็บพระบรมอัฐิลงพระโกศด้วยพระองค์เอง โดยจะทรงเก็บพระบรมอัฐิอย่างละชิ้นจนครบพระสรีระ จากนั้นอัญเชิญใส่พระโกศเพื่อไปประดิษฐานที่ “หอเก็บพระบรมอัฐิ” ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมอัฐิที่เหลือ จะมีทั้งที่ให้พระราชโอรส พระราชธิดา และพระประยูรญาติใกล้ชิดทรงเก็บไปบูชา และให้เจ้าหน้าที่ทำการแปรสภาพเป็นพระบรมราชสรีรางคาร […]

ไม่ธรรมดา! เทคโนโลยีเสมือนจริง ความลับที่ซ่อนอยู่ในแผ่นพับที่ระลึกจากงานพระราชพิธีฯ

ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทรงคุณค่าสำหรับแผ่นพับที่ระลึกจากงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพราะสามารถรับชมภาพ โดยมีเสียงประกอบ อัลบั้มภาพ และภาพแบบ 3 มิติ ได้ ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงวัฒนธรรม     ประชาชนที่เดินทางไปถวายดอกไม้จันทน์แสดงความอาลัยที่พระเมรุมาศจำลองและซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ทั่วประเทศ จะได้รับแผ่นพับที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ภายในแผ่นพับนอกจากจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีความสำคัญแล้ว ยังมีเทคโนโลยี AR Code หรือเทคโนโลยีเสมือนจริง ตัวช่วยที่จะทำให้แผ่นพับปกติไม่ธรรมดาอีกต่อไป เพราะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจนด้วยภาพแบบสามมิติที่ไม่เคยมีมาก่อน เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นผ่านสมาร์ทโฟน แล้วเปิดกล้องส่องไปที่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ โดยมีวิธีการดังนี้ 1. แอปพลิเคชั่น Zappar  เปิดแอปพลิเคชั่นแล้วใช้กล้องสแกนภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ที่มีสัญลักษณ์ Zappa อยู่ด้านล่างขวา จะมีเมนูให้เลือกพิเศษ ทั้งวีดีโอ ประมวลภาพเหตุการณ์พระราชพิธีฯ และอื่นๆ 1 1 2. แอปพลิเคชั่น Arzio  เพียงเปิดแอปพลิเคชั่นแล้วใช้กล้องสแกนภาพพระบรมฉายาลักษณ์ จะสามารถรับชมภาพ โดยมีเสียงประกอบ อัลบั้มภาพ และภาพแบบ 3 มิติ ให้เลือกชมอีกด้วย   คลิปแสดงการใช้งานแผ่นพับที่ระลึก สำหรับแผ่นพับที่ได้จากงานเมื่อวาน มีเรื่องราวซ่อนอยู่นะคะ […]

ท้ายสุดของพระราชพิธี ยลวัดประดิษฐาน พระบรมราชสรีรางคาร ประจำรัชกาลที่ 1-9

การอัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคาร ไปบรรจุยังวัดนับเป็นกระบวนการท้ายสุดของงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ท้ายสุดแต่อยู่ในใจนิรันดร์…สำหรับกระบวนการอัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคาร (เถ้าที่เหลือนอกจากกระดูก) ไปประดิษฐานตามพระอารามหลวงยังที่ต่างๆ นับเป็นกระบวนท้ายสุดของพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ โดยพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ส่วนริ้วขบวนที่ 6 ขบวนกองทหารม้า ได้เชิญพระบรมราชสรีรางคารทั้งหมดจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จากนั้นขบวนกองทหารม้าอีกขบวนหนึ่ง เชิญพระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่ง จากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร โดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปบรรจุ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ซึ่งวัดทั้งสองแห่งนี้จะถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 9 โดยนิตินัย

ดาวน์โหลดฟรี! แบงก์ชาติออกหนังสือรวมธนบัตรรัชกาลที่ ๙ ให้ชาวไทยเก็บสะสม

ควรค่าแก่การสะสมเป็นอย่างยิ่ง แบงก์ชาติ เปิดดาวน์โหลดหนังสือรวมธนบัตรรัชกาลที่ ๙ กว่า 30 แบบตลอดรัชกาล  ​เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำ หนังสือธนบัตรรัชกาลที่ ๙ เอกลักษณ์แห่งองค์พระมหากษัตริย์และความเป็นไทย ซึ่งได้รวบรวมภาพธนบัตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ออกใช้หมุนเวียนและธนบัตรที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ พร้อมให้ทุกท่านดาวน์โหลดได้ทั้งในรูปแบบ e-book และ ไฟล์ PDF​​​ ธนบัตรที่แบงก์ชาตินำมารวมในหนังสือเล่มนี้ เป็นธนบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ รวมทั้งหมด ๙ แบบ และยังรวมไปถึงธนบัตรที่ออกในโอกาสมหามงคลต่างๆ ด้วยอีก ๒๒ แบบ 1 1 1 1   1   สำหรับประชาชนที่ต้องการเก็บสะสมธนบัตรรัชกาลที่ ๙ สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้ https://www.bot.or.th/broadcast/EBook/commemorativebook/index.html#p=1 สามารถใช้มือปัดจากขวาไปด้านซ้าย e-book ก็จะเปิดทีละหน้า เหมือนกับเราเปิดหนังสืออ่าน หรือถ้าใช้คอมก็ใช้เมาส์คลิกเปิดหน้าต่อไปได้เลย   ภาพและข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย  

พิธีโบราณของช่างหลวง อัญเชิญเครื่องสดบางส่วน ไป จำเริญ(ลอย)น้ำ หลังถวายพระเพลิงฯ

หลังจากการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อค่ำคืนวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา เช้าวันนี้ (27 ต.ค.60) เวลา 07.00 น. ทางสำนักพระราชวังได้ทำพิธี จำเริญ(ลอย)น้ำ โดยนำเครื่องสดพระจิตกาธานบนพระเมรุมาศ ไปลอยน้ำที่ปากคลองบางกอกใหญ่

รู้ไหม..ทำไม “ทหารปืนใหญ่ต้องยิงสลุต 21 นัด” แล้วลูกกระสุนไปตกที่ไหน

เมื่อวานนี้ (26 ตุลาคม 2560) ระหว่างงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หลายคนคงจะได้เห็นภาพและเสียงที่ดังกึกก้องทั่วท้องสนามหลวงผ่านการถ่ายทอดสดแล้ว ในช่วงที่ทหารปืนใหญ่ยิงสลุต 21 นัด โดยการยิงแต่ละครั้งเป็นเพียงการกระทำเชิงสัญลักษณ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ฉะนั้น ปืนใหญ่ที่ใช้จึงไม่ได้บรรจุกระสุนจริง เป็นเพียงลูกแบลงค์ (blank) ที่ทำให้เกิดเสียงและควันเท่านั้น หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยไขข้อข้องใจสำหรับหลายคนที่ไม่ทราบหรือสงสัยว่าการยิงปืนใหญ่สลุตเป็นอันตรายหรือเปล่า แล้วลูกกระสุนจะไปตกที่ไหนได้นะคะ โดยการยิงสลุตในไทย มีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนมายกเลิกในสมัยสมเด็จพระเพทราชา จากนั้น ธรรมเนียมการยิงสลุตนี้เริ่มกลับมารื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คราวที่ต้อนรับเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ราชทูตอังกฤษ เมื่อปีพ.ศ.2398 โดยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ จัด 1 กองร้อยปืนใหญ่ยิงสลุตในขั้นตอนถวายพระพร โดยทำการยิงตามจังหวะของเพลงสรรเสริญพระบารมี 21 นัด สมัยก่อนการยิงสลุตในไทยยังไม่มีข้อบังคับ เพิ่งจะมีข้อบังคับในการยิงสลุตช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพ.ศ. 2448 เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต ร.ศ.125” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกำหนดการยิงสลุตขึ้นใหม่คือ การยิงสลุต ร.ศ.131 […]

เกิดที่ทุ่งพระเมรุ อัศจรรย์เหตุการณ์จริงที่ยังหาคำตอบไม่ได้

อัศจรรย์เหตุการณ์จริงที่ทุ่งพระเมรุ ในระหว่างงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แต่โบราณเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือสมมติเทพที่ลงมาจุติเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อประกอบคุณความดีและสะสมบารมี เมื่อเสด็จสวรรคตก็กลับขึ้นสรวงสวรรค์ ประกอบกับในโบราณจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์เรื่องอัศจรรย์ ถูกบันทึกไว้มากมาย และเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2560 ที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ซึ่งมีการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ปรากฏเหตุการณ์ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ถึง 4 เรื่อง หมอกธุมเกตุ ช่วงค่ำของวันที่ 25 – 26 ต.ค. 2560 ในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เกิดมีหมอกปกคลุมไปทั่วมณฑลพิธีท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง โดยหลายคนเชื่อว่าเป็น “หมอกธุมเกตุ” ซึ่งมักเกิดเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ของบ้านเมือง เช่นพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ดั่งเช่นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 วันเสด็จสวรรคตในหลวงรัชกาลที่5 ทว่าอยู่ๆวันนี้ก็ปรากฏให้เห็นอีกครั้ง ท้องฟ้าเปิดราวปาฏิหาริย์ สภาพอากาศในวันที่ 26 ต.ค. 2560 ตั้งแต่ช่วงเช้าท้องฟ้าเปิด แต่พอคล้อยบ่ายกลับอึมครึมจนเมื่อเวลา 15.45 น.ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด แต่เมื่อถึงเวลาเริ่มพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ฟ้ากลับเปิดอีกครั้งอย่างปาฏิหาริย์ ราวกับว่าฝนที่หยุดในครั้งนี้เพราะพระบารมีในหลวงรัชกาลที่9 แสงสีดำทะยานขึ้นฟ้า วันที่ 26 ต.ค. 2560 หลังจากเจ้าพนักงานปฏิบัติการถวายพระเพลิงพระบรมศพไป […]

งดงาม ทรงคุณค่า ‘เล่าเรื่องพ่อ’ ผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงธรรม

พระที่นั่งทรงธรรม ถือเป็นอาคารประกอบหลังสำคัญในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพราะใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับทรงธรรมและทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ และภายในพระที่นั่งทรงธรรมยังเป็นที่ตั้งอาสนะพระสงฆ์และธรรมมาสน์ด้วย สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรร่วมกันจรดปลายพู่กันลงบนผ้าแคนวาสขนาดจริงของจิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงธรรมด้วยความประณีต ซึ่งงานนี้ออกแบบโดย นายมณเฑียร ชูเสือหึง รักษาการในตำแหน่งจิตรกรชำนาญการ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร โดย สำนักช่างสิบหมู่ วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ร่วมมือกันบรรจงลงสีจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งทรงธรรม ช่างสิบหมู่ได้คัดเลือกโครงการพระราชดำริเรียบเรียงเป็นเรื่องราวไว้ 46 โครงการ โทนสีภาพอ้างอิงจากจิตรกรรมฝาผนังในวัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร และวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ในประเทศอินเดีย รูปแบบจัดทำเป็นจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ใช้สีหลักคือ สีเหลือง แทนวันพระราชสมภพ สีเขียว แทนความอุดมสมบูรณ์ และสีน้ำเงิน แทนความสดใสชุ่มชื้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งทรงธรรม ช่างสิบหมู่ใส่ใจจรดพู่กันลงไป ร้อยเรียงเรื่องราวทั้ง 46 โครงการให้ภาพออกมาเสมือนจริง เป็นจิตรกรรมฝาผนังผนังที่ถ่ายทอดความงดงามจากช่างศิลป์ของไทย และสะท้อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งจะอยู่กับเราคนไทยไปตลอดเช่นกัน 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเก็บพระบรมอัฐิ ร.๙

เช้าวันนี้ 27 ตุลาคม 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เฝ้ารับเสด็จ จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๑๐ เสด็จฯ ไปยังพระเมรุมาศ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมีเจ้าพนักงานภูษามาลาถวายเปิดผ้าเยียรบับคลุมพระบรมอัฐิ และ ร.๑๐ ทรงเก็บพระบรมอัฐิสรงพระสุคนธ์ในขันทองคำแล้วประมวลลงในพระโกศทองคำลงยาประดับเพชร รวม 6 พระโกศ และพระราชทานพระโกศพระบรมอัฐิแก่พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย เรื่องและภาพ : แพรวดอทคอม

ถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง ความเศร้าปกคลุมใจคนไทยทั้งประเทศ

สัญญาณถวายพระเพลิงพระบรมศพ กลุ่มควันสีขาวลอยเหนือพระเมรุมาศ ประชาชนรอบโดยรอบก้มกราบส่งพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 60 เวลา  23.20 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนบริเวณโดยรอบสนามหลวงได้หันหน้าไปยังพระเมรุมาศพร้อมก้มกราบพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ภายหลังกลุ่มควันสีขาวลอยเหนือพระเมรุมาศซึ่งเป็นสัญญาณการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อย่างแท้จริง ทั้งนี้ประชาชนหลายคนร้องไห้เสียใจอย่างที่สุดนับเป็นบรรยากาศเศร้าโศกที่หลายคนคงจดจำไปชั่วชีวิต ภาพจาก : dhammatan

ภาพที่ไม่มีใครอยากเห็น พราหมณ์สยายผม ธรรมเนียมไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณี

ในวันนี้ (26 ต.ค.60) ตามที่ได้เห็นภาพถ่ายทอดสด พราหมณ์สยายผม ในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คงมีหลายท่านสงสัยไม่น้อยว่าทำไมพราหมณ์ถึงต้องสยายผม นั่นก็เพราะว่า… ตามปกติพราหมณ์จะมวยผมไว้เรียบร้อย และมีความเชื่อว่า การสยายผมเป็นความอัปมงคล หรือเพื่อแสดงความเศร้าโศกอย่างถึงที่สุด ซึ่งการสยายผมเป็นธรรมเนียมของอินเดียโบราณ แต่เดิมคนโบราณทั้งในสุวรรณภูมิและชมพูทวีปต่างรวบผมเป็นมวย เมื่อผู้ที่รักสิ้นชีวิตไป จะปลดมวยสยายผมลงมาดูกระเซอะกระเซิงแสดงความเศร้าโศกเสียใจ และบอกกับผู้คนว่าอยู่ในเวลาไว้ทุกข์ ดังในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวว่า “วีรบุรุษไม่ทำร้ายผู้สยายผม” หมายความว่า ห้ามทำร้ายผู้คนในช่วงไว้ทุกข์ เพราะกำลังอยู่ในช่วงกำสรดสุดแสน ด้วยเหตุนี้ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ จึงมีพราหมณ์เดินก้มหน้าสยายผม ให้ความรู้สึกประหนึ่งเทพยดาประกาศจุดจบของโลกเสียเหลือเกิน ซึ่งหลายคนคงได้เห็นกันเป็นครั้งแรกในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่าขณะที่พราหมณ์เดินตามขบวนพระบรมโกศ ก็ได้เริ่มต้นสยายผม พร้อมกับเริ่มต้นการเดินริ้วขบวนที่ 1 ซึ่งเป็นธรรมเนียมพระราชพิธีตามแบบโบราณ ขอบคุณข้อมูลจาก FB : Kornkit Disthan บทความเรื่อง “นาลิวัน” คือใคร? ของอาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ประมวลภาพ พระราชอาคันตุกะ แสดงความอาลัยกับในหลวงรัชกาลที่ ๑๐

วันนี้ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 20.00 น. หลังจาก พระราชอาคันตุกะ จากทั่วโลก เสด็จฯ ขึ้นบนพระเมรุมาศเพื่อถวายดอกไม้จันทน์ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นก็ถึงลำดับที่พระราชอาคันตุกะต้องเสด็จฯ กลับ ซึ่งก่อนเสด็จฯ กลับนั้นทรงทักทายและแสดงความอาลัยในการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แด่การจากไปของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกคน ถือเป็นห้วงเวลาประวัติศาสตร์ทรงค่าที่คนไทยจะจดจำไปอีกนานเท่านาน ต่อมิตรภาพที่นานาประเทศต่างพร้อมใจกันมาแสดงให้เห็นในครานี้  

กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงติดเข็มกลัดเลข ๙ แสดงถึงความศรัทธาต่อ ในหลวงไทย

วันที่ 26 ตุลาคม 2560 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระมหากษัตริย์แห่งภูฏาน เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ด้วยความสัพนธ์อันดีที่ต่อกันมาโดยตลอด และความศรัทธาต่ออดีตองค์ประมุขของไทย ในหลวงรัชกาลที่๙ ที่กษัตริย์จิกมีทรงยกย่อง พระองค์จึงทรงติดเข็มกลัดรูปเลข ๙ อันเป็นเลขประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ไว้ที่พระอุระด้านซ้ายของพระองค์เอง เมื่อปี 2549 ในพิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยรังสิต กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏานมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งถึงในหลวงรัชกาลที่๙ ว่า “ในโอกาสที่ข้าพเจ้าได้เดินทางมาร่วมงานเฉลิมฉลองในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าได้เห็นประชาชนของไทยแสดงความจงรักภักดี และเสียสละ แก่พระมหากษัตริย์และประเทศของตน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของประชาชนคนไทยในการป้องกันประเทศอีกด้วย” “ข้าพเจ้ารัก เคารพ และชื่นชมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก  พระองค์ท่านทรงเป็นสุดยอดพระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้ามีความศรัทธาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างลึกซึ้งในหลายๆ เรื่อง ปีนี้เป็นปีที่สำคัญมากสำหรับข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าจะไม่มีวันลืม ” ถ้าหากใครได้ตามดูพระราชกรณียกิจของกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏานจะเห็นได้ชัดว่า พระองค์ยังทรงตามรอยพระบาทในหลวงรัชกาลที่ […]

สวีเดนจัดพิธีถวายพระเกียรติยศ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ คนไทยร่วมชื่นชมกลางลมหนาว

เริ่มแล้วเมื่อเวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นสวีเดน กับพิธีถวายพระเกียรติยศแด่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นอัศวินแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาเทวาแห่งสวีเดน (Knight of the Order of the Seraphim) โดยกองทหารเกียรติยศ เริ่มพิธีอัญเชิญพระราชลัญจกรพิเศษ ตราพระครุฑพ่าห์ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสวีเดน จากพระราชวังหลวง กรุงสตอกโฮล์ม ไปยังวิหารริดดาร์โฮล์ม เพื่อไปประกอบพิธีลั่นระฆังมหาเทวา ถวายพระเกียรติยศตามพระราชธรรมเนียม และเพื่อเป็นการรำลึกถึงสมาชิกผู้วายชนม์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น.(เวลาในประเทศสวีเดน) และหลังจากนี้พระราชลัญจกรพิเศษนี้ก็จะประดิษฐานที่วิหารแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานตราของสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระมหากษัตริย์สวีเดน ทั้งนี้ก่อนที่พิธีจะเริ่มนานกว่า 1 ชั่วโมง มีคนไทยในสวีเดนหลายร้อยคนพากันไปรวมตัวที่บริเวณลานของพระราชวังกรุงสตอกโฮล์ม ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็น ทว่าก็ไม่มีใครย่อท้อ ทุกคนปักหลักยืนเฝ้ารอชม เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีถวายพระเกียรติครั้งนี้ อนึ่งพระราชลัญจกรพิเศษ (ตราพระครุฑพ่าห์) นี้ เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสำนักพระราชวังสวีเดนจัดทำขึ้นหลังจากที่ได้มีการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราเซราฟีม ที่ถือเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสวีเดนให้กับพระองค์เมื่อวันที่ 5 เมษายน […]

แสนอาลัยร่ำไห้ทั้งแผ่นดิน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ อาลัย ของประชาชนชาวไทยหลายแสนคน ที่เดินทางมาร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย หลังจากเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีการอัญเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งทุกริ้วขบวนเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่ติดตามเฝ้าดู ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ และผู้เฝ้าดูการถ่ายทอดสด ซึ่งนอกจากก่อให้เกิดความชื่นชมต่อความทรงคุณค่าของโบราณราชประเพณีไทยแล้ว ยังทำให้เราตระหนักถึงภูมิปัญญา และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือความพร้อมเพรียงและทุ่มเทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องพระราชพิธีนี้ทุกคน ขณะที่เมื่อเวลา 17.30 น.วันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเ เสด็จขึ้นพระเมรุมาศ ทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพ ชาวพนักงานประโคมมโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ และปี่พาทย์ ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ เป่าแตรนอน และยิงปืนเล็กยาว 9 นัดพร้อมกับทหารปืนใหญ่ยิงปืนใหญ่ถวายพระเกียรติ 21 นัด จากนั้นเสด็จฯไปประทับมุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม พระราชทานพระราชานุญาตให้ สมเด็จพระสังฆราช สมด็จพระราชาคณะ พระบรมวงศานุวงศ์ พระประมุข  พระราชวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ฯลฯ ขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพตามลำดับ หลังจากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฎิสันถารกับพระประมุข ประมุข พระราชวงศ์ […]

พระราชอาคันตุกะ 94 ประเทศ เข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ แล้ว

วันนี้ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 16.30 น. พระราชอาคันตุกะ จากทั้ง 94 ประเทศ เสด็จฯ มาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยพร้อมเพรียงกัน หลังจากนั้นจะทรงร่วมถวายดอกไม้จันทน์เป็นลำดับถัดไป นับได้ว่ารองจากพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อปี พ.ศ. 2549 แล้ว ก็ครั้งนี้ที่พระประมุขและผู้นำระดับประเทศมารวมตัวกันในประเทศไทยอีกครั้ง    

keyboard_arrow_up