ฟังพระสุรเสียง ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ’ ตรัสถึง ‘สมเด็จย่า’ และดอกเอเดลไวส์

ฟังพระสุรเสียง ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ’ ตรัสถึง ‘สมเด็จย่า’ และดอกเอเดลไวส์… เมื่อวันที่​ 8​ ธันวาคม​ 2563​ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว​ และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี​​ เสด็จ​พระรา​ชดำ​เนิน​ไป​ใน​การ​พระราชทาน​ปริญญาบัตร​แก่​ผู้​สำ​เร็จ​การศึกษา​จาก​มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​เพชรบูรณ์​ ประจำปีการศึกษา​ 2562 ณ​ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​เชียงใหม่​ วิทยาเขต​สะ​ลวง​ขี้เหล็ก​ อำเภอ​แม่ริม​ จังหวัด​เชียงใหม่ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการพระราชทานปริญญาบัตร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบูธสินค้าโอทอปภูมิปัญญาท้องถิ่นของดี 17 จังหวัดภาคเหนือ เมื่อ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบูธโครงการหลวงที่เพาะพันธุ์ดอกเอเดลไวส์ ก็เกิดเหตุการณ์ประทับใจ ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ความว่า “สมัยก่อนสมเด็จย่าท่านต้องปีนเขาขึ้นไป เพื่อจะไปชื่นชมดอกเอเดลไวส์ ทีนี้ก็เลยเกิดความคิดว่า ถ้าพัฒนาให้มีเอเดลไวส์เมืองไทยขึ้นมา เราก็ไม่ต้องเดินทางไปเที่ยวเมืองนอก แล้วเมืองนอกก็จะมาดูเอเดลไวส์เมืองไทย “อันนี้ถือว่าเราประสบความสำเร็จสุดยอดของโครงการหลวง เดี๋ยวเราจะได้ชักชวนนักท่องเที่ยวมาชมเอลเดลไวส์เมืองไทย เพราะจริงๆ เอเดลไวส์เป็นดอกไม้ที่แม้แต่คนเมืองนอกเอง ก็ต้องเดินขึ้นภูเขาเพื่อจะไปชม แนะนำให้ส่งเสริมต่อไปนะคะ”   ดูโพสต์นี้บน Instagram […]

ต้นแบบแห่งการอดออม ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงซื้อของด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์

ตลอดระยะเวลาของการทรงเป็นยุวกษัตริย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเชื่อฟังพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนนี หรือที่มีพระนามนิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า เป็นอย่างดี และหนึ่งในพระบรมราโชวาทอันสำคัญที่พระองค์น้อมนำมาปฏิบัติเรื่อยมา ทั้งยังเป็นต้นแบบให้แก่พสกนิกรชาวไทย นั่นก็คือ การรู้จักประหยัดอดออม

ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ เดินชิลรับลมหนาว แอ่วเหนือที่ ดอยม่วนใจ๋ใน เทศกาลสีสันดอยตุง

ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ ขนาด หนาวนี้ไปแอ๋วเหนือเดินชิล รับลมเย็นๆ ที่ดอยม่วนใจ๋ สุขสนุกทั้งครอบครัวกับ เทศกาลสีสันดอยตุง ใกล้สิ้นปีแล้ว หลายคนคงกำลังวางแพลนเที่ยวหยุดยาวที่กำลังใกล้เข้ามาถึงเต็มที ยิ่งอากาศเย็นสบายแบบนี้ บอกเลยว่าไม่ควรนอนอุดอู้อยู่บ้านกันนะจ๊ะ แต่หากใครที่คิดไม่ออกว่าจะไปไหนดี แพรวดอทคอมขอชวนคุณๆ ไปแอ่วเหนือที่ ดอยม๋วนใจ๋ เดินชิลรับลมหนาวกับ เทศกาลสีสันแห่งดอยตุง งานนี้รับรอง ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ กันทั้งครอบครัว สำหรับเทศกาล สีสันแห่งดอยตุง จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยปีนี้มาในธีม Family-Friendly Festival (แฟมิลี่-เฟรนด์ลี่ เฟสติวัล) เทศกาลของทุกคนในครอบครัว กับการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านทำธุรกิจสีเขียว สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน สะท้อนผ่านตลาดถนนคนเดินสายวัฒนธรรมที่สูงที่สุดในประเทศไทย ภายในงานจะแบ่งออกเป็น 4 โซน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ เล่น ชม ช็อป ชิล สไตล์ Go Green ซึ่งแต่ละโซนประกอบไปด้วย โซนถ่ายรูปเช็คอิน สิ่งที่พลาดไม่ได้คือการแชะรูป เพราะภายในงานมีกว่า 10 […]

รักแสนอบอุ่น ลายพระหัตถ์สมเด็จย่า ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 จากไทยถึงอเมริกา

เศร้าและคิดถึงในคราวเดียวกัน เมื่อได้พบ ลายพระหัตถ์ ของ สมเด็จย่า ที่ทรงพระราชหัตถเลขาถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่งตรงจากเมืองไทยถึงประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพุทธศักราช 2503 หรือ 57 ปีที่ผ่านมา

เชอรี่ – เข็มอัปสร บรรจงวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวง ร.9 และสมเด็จย่า ประมูลหารายได้

แรกเริ่มดีเช่นไร ปัจจุบันก็ยังคงดีเช่นนั้น สำหรับนางเอกสาว เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ ที่นอกจากจะลุยสร้างฝายชะลอน้ำช่วยเหลือชาวบ้านและประเทศไทยให้ดีขึ้น ล่าสุดเธอยังได้บรรจงวาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อประมูลหารายได้ นำไปช่วยเหลือสภากาชาดไทย

เปิดพระราชดำรัส ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เรื่องหญ้าแฝกที่ทำให้สมเด็จย่าทรงหายเซ็ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงรักและกตัญญูต่อ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ ‘สมเด็จย่า’ ยิ่งนัก ความข้อนี้เป็นที่ประจักษ์แจ้งแล้วในใจไทยทุกดวง นั่นทำให้ที่ผ่านคนไทยได้รับรู้เรื่องราวที่ถ้าพูดในมุมชาวบ้านก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องราว ‘น่ารักๆ ระหว่างแม่กับลูก’ ของ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จย่าอยู่เนืองๆ แม้กระทั่งเรื่องการทรงงานอันแสนหนักหน่วงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แต่หากพระราชภารกิจนั้นมีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นการทรงงานร่วมกันระหว่างพระองค์กับสมเด็จพระบรมราชชนนีแล้วไซร้ ก็มักจะปรากฏเป็นหลักฐานที่ในวันนี้ได้กลายเป็นรอยจารึกอันงดงาม ตราตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทย ดังเช่น พระราชดำรัสเล่าถึงความมหัศจรรย์ของหญ้าแฝก ที่พระองค์พระราชทานแก่ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และคณะผู้ปฏิบัติงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ความตอนหนึ่งว่า “…น่ามหัศจรรย์ที่หญ้าเพียงบางชนิดได้ประโยชน์ในที่ต่างๆ หญ้าแฝกบางชนิดได้เกิดประโยชน์ในที่ลักษณะเป็นที่ราบ บางแห่งก็ได้ประโยชน์ในที่ต่างกัน เช่น บนภูเขา ดินลึกก็มี ดินตื้นก็มี เรื่องดินลึกนั้นได้ปรากฏว่ารากได้หยั่งลึกลงไปถึงห้าหกเมตร แล้วก็ลงไปได้ ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่ได้นึกว่าหญ้าจะลงไปลึก ข้อสำคัญ หญ้านี้ได้หยั่งลงไปห้าหกเมตร และไม่ได้แผ่ออกไปข้าง ๆ […]

6 พระราชจริยวัตรแห่งความพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการอบรมให้รู้จักความพอเพียงจากสมเด็จย่าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงมีกระปุกออมสิน โดยตั้งชื่อใหม่ไว้ว่า “กระป๋องคนจน” หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ 10 เปอร์เซ็นต์

“อยากฟังแม่สอนอีก” สมเด็จย่า ต้นแบบแห่งชีวิต

“อยากฟังแม่สอนอีก” สมเด็จย่า ต้นแบบแห่งชีวิต…

ตลอดระยะเวลาของการทรงเป็นยุวกษัตริย์ ในหลวงทรงเชื่อฟังพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมราชชนนีเป็นอย่างดี

‘วินัย อดออม ให้’ คัมภีร์แห่งความพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9

คัมภีร์แห่งความพอเพียง : “ลูกอยากได้ก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อ”…

“ก็ปลื้มใจ ปลื้มใจว่ามีแม่ที่คนรัก…” พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ผู้รักแม่สุดดวงใจ

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์ผู้ครองราชย์และดูแลทุกข์สุขประชาชนให้อยู่ใต้พระบารมีมากว่า 70 ปี พระองค์เปรียบเป็นศูนย์รวมใจของเหล่าพสกนิกรชาวไทย เป็นแสงสว่างชี้นำทางให้คนไทยเดินไปในเส้นทางสายกลาง พอเพียง มีความสุข เข้าใจความทุกข์ และเป็นกษัตริย์ผู้ที่คนไทยหลายสิบล้านคน เรียกพระองค์ว่า พ่อ

30 ปีแห่งการพลิกชีวิตชาวดอย ผลผลิตของการเดินตามรอยพระราชปณิธาน “สมเด็จย่า”

การเดินทางอันยาวไกลต้องอาศัยความอดทน เช่นเดียวกับเส้นทางการ “ปลูกคน” ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เริ่มต้นจากเมื่อ 30 ปีก่อน ณ ไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ไม่เพียงให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชาวเขาจากถิ่นทุรกันดารในภาคเหนือเท่านั้น หากยังสอนให้รักถิ่นกำเนิดท้องถิ่นของตนอีกด้วย

keyboard_arrow_up