- Page 34 of 69

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯในการประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 วันนี้ (3 พฤษภาคม 2562) เวลา 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสุทิดา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระรัตนตรัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และเสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคมพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ ณ หอพระธาตุมณเฑียร พระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยในเวลาพระฤกษ์ 16.19 – 18.00 น. ทรงประกอบพระราชพิธีจุดเทียนชัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย จากนั้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ทั้งนี้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีด้วย ซึ่งก่อนเริ่มพระราชพิธี ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯมาถึงได้เกิดภาพประทับใจแก่ปวงชนชาวไทย โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าสวมกอดทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ […]

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน

สานต่อพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่น ราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนาน… นับเป็นเรื่องราวความบังเอิญที่น่าปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับในช่วงเวลานี้ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์พระองค์ใหม่ นั่นคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 และสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ ที่เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 แต่เรื่องราวที่น่าปลาบปลื้มใจไปกว่านั้น คือความสัมพันธ์ของทั้งสองราชวงศ์ ไทยและญี่ปุ่น ที่แน่นแฟ้นและยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่รัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ก่อนหน้า หรือพระราชบิดาของกษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ที่ทรงมีพระราชไมตรีต่อกันดุจพระเชษฐาและพระอนุชา จวบจนวาระสุดท้ายของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ในขณะที่ทรงเจริญพระชนมพรรษามากแล้ว แต่ก็ยังตั้งพระทัยในการเสด็จฯเยือนประเทศไทย เพื่อถวายพระราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้วยพระองค์เอง แม้ในวันนี้ทั้งสองแผ่นดินจะผลัดเปลี่ยนยุคสมัยแล้วก็ตาม แต่พระราชไมตรีของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก็ได้รับการสานต่อจากพระราชโอรสเป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์น่าประทับใจดังต่อไปนี้ ที่แสดงให้เห็นถึงพระราชไมตรีจากรุ่นสู่รุ่นของทั้งสองราชวงศ์ เหตุการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ครั้งที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ เสด็จฯเยือนประเทศไทย เพื่อทรงเข้าร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร […]

สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร

สมพระเกียรติ ขบวนเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ที่ได้มีพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ แกะพระราชลัญจกร จารึกพระสุพรรณบัฏราชวงศ์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณีไปแล้วนั้น วันนี้ (3 พฤษภาคม 2562) เวลา 10.00 น. ได้มีพระราชพิธีเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง ทำหน้าที่อัญเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร โดยริ้วขบวนแห่พระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร จะมีชาวพนักงานตีกลองชนะ ปี่ แตรงอน แตรฝรั่ง สังข์ […]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ (2 พฤษภาคม 2562) เวลา 16.29 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสุทิดา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปในการถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ พระลานพระราชวังดุสิต จากนั้น เวลา 16.38 น. เสด็จพระราชดำเนินไปในการถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ต่อมา เวลา 16.48 น. เสด็จพระราชดำเนินไปในการถวายราชสักการะเสาหลักเมือง ณ ศาลหลักเมือง ทั้งนี้สำหรับพระราชพิธีในวันนี้เป็นพระราชพิธีเบื้องกลาง ตามหมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และนับเป็นการปฏิบัติพระราชกรณียกิจแรกของพระราชินีสุทิดา หลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา เมื่อวานนี้ (1 พฤษภาคม 2562)   ภาพ : khaosod.co.th, พระราชพิธีบรมราชาภิเษก […]

นักข่าวสายทหารเผย 10 พระปรีชาสามารถของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ”

นับเป็นความปลื้มปิติแก่ปวงชนชาวไทยยิ่ง สำหรับการที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในโอกาสอันน่ายินดีนี้ จึงมีการเปิดเผยถึงเส้นทางพระเกียรติยศของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประกาศผ่านเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา โดยสำนักนายกรัฐมนตรี และพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงทางเฟซบุ๊กของ คุณวาสนา นาน่วม Wassana Nanuam ผู้สื่อข่าวสายทหารชื่อดัง ซึ่งเล่าถึงพระปรีชาสามารถ 10 ประการ ในด้านการทหารของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ผู้ทรงเป็นนายทหารหญิง และราชองครักษ์ที่แข็งแกร่ง 1. ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) 2. ทรงเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่10 3. ทรงมีพระนามย่อที่ ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เรียกขานว่า S.V. : Suthida Vajiralongkorn na Ayudhya 4. ทรงเป็นนายทหารหญิงอย่างเต็มภาคภูมิ และทรงพระปรีชาด้านการทหาร โดยทรงผ่านหลักสูตรการฝึกต่างๆ ทั้งหลักสูตรรักษาพระองค์, ยิงปืนของหน่วยรบพิเศษ, […]

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีที่เปี่ยมด้วยความหมาย

ตามรอย “การสถาปนาสมเด็จพระราชินี” โบราณราชประเพณีเปี่ยมด้วยความหมาย… ตามที่เมื่อวานนี้ (1 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี และทรงประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินี และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว จึงเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า “สมเด็จพระราชินีสุทิดา” ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จากเหตุอันน่าปิติยินดีของปวงชนชาวไทยนี้ แพรวดอทคอม  จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการสถาปนาสมเด็จพระราชินี ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีความสำคัญอย่างไร การสถาปนาสมเด็จพระราชินี มีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี” เป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์” ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศ “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์” เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี” เพื่อให้ดำรงพระเกียรติยศสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี นอกจากนี้ หากย้อนกลับไปในช่วงต้นรัชกาลที่ 7 การสถาปนาสมเด็จพระราชินีจะมีความแตกต่างในรายละเอียดอยู่เล็กน้อย คือเป็นการสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก […]

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ในรัชกาลที่ 10… ตามที่ วันนี้ (1 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา แล้วนั้น เมื่อเวลา 16.32 น. วันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้อง ว.ป.ร. พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ในการสถาปนาสมเด็จพระราชินี ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อารักษ์อ่านประกาศสถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เป็นสมเด็จพระราชินี จากนั้น พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ ใบมะตูม […]

เส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี นับเป็นวันมหามงคล ของประเทศไทย เมื่อมีข่าวอันน่ายินดี ที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์ โดยเมื่อวันที่นี้ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ได้มีราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์”  การนี้ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี แพรวดอทคอมพาย้อนดูเส้นทางพระเกียรติยศของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ก่อนที่พระองค์จะทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินี อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการประกาศผ่าน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา โดยสำนักนายกรัฐมนตรี และ พระราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 03/10/2555 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์ช้างเผือก […]

ในหลวง ร.10 มีพระราชโองการ สถาปนาสมเด็จพระราชินี

วันนี้ (1 พฤษภาคม 2562) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ถูกต้องตามกฎหมาย และราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว จึงมีพระราชโองการให้สถาปนา พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคมพุทธศักราช 2562 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน   ติดตามบทความอื่นๆ ได้ที่ “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ […]

“พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร

“พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ที่ ในหลวง ร.10 จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร… ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 มีหลายพระราชพิธีสำคัญที่ประชาชนต่างเฝ้ารอชื่นชมในพระบารมีของในหลวง รัชกาลที่ 10 โดยหนึ่งในนั้นคือ การที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เพื่อให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสนี้ แพรวดอทคอม จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท” ซึ่งจะเป็นสถานที่สำคัญสำหรับเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ตั้งอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ระหว่างประตูเทวาพิทักษ์กับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ สร้างขึ้นในปี 2327 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ในพระราชพิธีสนานใหญ่ และการฝึกช้าง มีลักษณะเป็นพลับพลาโถง ทำด้วยเครื่องไม้ มีอัฒจันทร์ขึ้นลงทางทิศเหนือและทิศใต้ เดิมเรียกว่า “พลับพลาสูง” ต่อมาในปี 2361-2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและสร้างใหม่เป็นปราสาท พระราชทานนามว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์” จากนั้นในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อผนังอิฐฉาบปูน และต่อเติมหลังคาเป็นยอดปราสาท พระราชทานนามใหม่ว่า “พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ในปี 2492 มีการต่อเติมสร้างเฉลียงไม้ด้านตะวันออกเป็นสีหบัญชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร […]

แผนการถ่ายทอดสด “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” 4 วัน ผ่าน ทรท.

ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้สำหรับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ รวมถึงที่อาศัยอยู่ต่างแดน ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญนี้ได้ โดยการรับชมการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ซึ่งจะมีแผนการถ่ายทอดสด ดังนี้   นอกจากนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ยังมีหมายกำหนดการโดยละเอียดตามวันและเวลา ดังนี้   2 พฤษภาคม 2562 16.09 – 20.30 น.  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ปฐมบรมราชานุสรณ์สะพานพระพุทธยอดฟ้าและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์   3 พฤษภาคม 2562 10.00 น. เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร จากวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงนมัสการพระรัตนตรัย ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงนมัสการพระรัตนตรัย ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม […]

วันประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น “จักรพรรดิอากิฮิโตะ” ทรงเข้าพิธีสละราชสมบัติ

ตามที่สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิพระองค์ที่ 125 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทรงประกาศสละราชบัลลังก์ เนื่องด้วยพระชนมายุที่มากขึ้น บวกกับพระพลานามัยที่อ่อนแรงลง ทำให้ทรงเกรงว่าจะไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างเต็มที่ ทำให้การสละราชสมบัติครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี ของราชวงศ์ดอกเบญจมาศเลยทีเดียว โดยพระราชพีธีสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเกิดขึ้นในวันนี้ (30 เมษายน 2562) ซึ่งสำนักพระราชวังของญี่ปุ่นได้เผยแพร่หมายกำหนดการที่พระองค์จะทรงประกอบพระราชพิธีสละราชสมบัติ ดังนี้ สำหรับในช่วงเช้าซึ่งเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว เป็นการประกอบพิธี ณ ปูชนียสถานทั้ง 3 (3 Palace Santuaries) ในเขตพระราชวังอิมพีเรียล ซึ่งเป็นสถานที่ถวายราชสักการะเทพเจ้าและเทพีที่เป็นบรรพบุรุษของพระราชวงศ์อิมพีเรียล โดยในเวลาประมาณ 10.00 น. สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายราชสักการะสุริยเทพี ณ วิหารใหญ่คาชิโกะ-โดโกโระ (賢所 – Kashiko-dokoro) ซึ่งอยู่ตรงกลางของเขตวิหาร โดยเป็นที่ประดิษฐานกระจกยาตะจำลอง และลูกปัดยาซาคานิ อันเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งญี่ปุ่น จากนั้นจะทรงเสด็จพระดำเนินไปถวายราชสักการะดวงพระวิญญาณของบูรพมหาจักรพรรดิในอดีต ณ วิหารโคเรเด็น (皇霊殿 – Kōrei-den) และถวายราชสักการะเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตามความเชื่อในศาสนาชินโต ณ วิหารชินเด็น (神殿 – Shin-den) โดยในการนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะฉลองพระองค์ชุดโคโรเซนโกโฮ […]

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน นามของพระที่นั่งองค์นี้หมายถึงวิมานที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิราช ประกอบไปด้วยพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์กลาง และพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก ภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระวิมานที่บรรทมโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตอนเหนือของพระวิมานมีพระแท่นราชบรรจถรณ์ซึ่งกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรไว้ที่เพดาน ตอนใต้ของพระวิมานเป็นห้องทรงเครื่องพระสำอาง มีพระแท่นราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์และเครื่องพระสำอาง กางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรที่เพดานเหนือพระแท่นราชอาสน์ ซึ่งตามพระราชนิติธรรมประเพณีพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชสมบัติแล้วแต่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษก จะไม่เสด็จประทับบรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานเป็นอันขาด ต่อเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้วจึงจะเสด็จขึ้นประทับได้ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์กลางเป็นห้องโถง มีพระทวารและอัฒจันทร์เป็นทางลงสู่มุขกระสันชั้นลดซึ่งเป็นท้องพระโรงหน้าและท้องพระโรงใน ส่วนพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตกเป็นที่ประดิษฐานเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและพระแสงราชศัตราวุธสำคัญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงรับบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จประทับภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอยู่เป็นประจำ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์เป็นพระราชฐานที่ประทับแห่งใหม่ภายในพระบรมมหาราชวัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นพระราชฐานที่ประทับ จึงมิได้เสด็จประทับ ณ พระวิมานที่บรรทมในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออกเป็นประจำดังเดิม อย่างไรก็ตาม ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียรแล้ว จะประทับแรม ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานอย่างน้อย ๑ ราตรีเพื่อให้เป็นมงคลฤกษ์แห่งรัชกาลใหม่ หลังจากนั้นจะเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระราชมณเฑียรสถานหรือพระราชวังอื่นๆ ตามพระราชอัธยาศัย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียรจะเตรียมการจัดแต่งพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยตั้งแต่งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ได้แก่ พระแส้หางช้างเผือก ศิลาบดโมรา พานพืชที่มีข้าวเปลือก ถั่ว งา เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดฝ้าย พานฟัก กุญแจทอง จั่นหมากทอง วิฬาร์หรือแมว และไก่ขาว ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีความหมายอันเป็นสิริมงคลต่างๆ […]

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หมู่พระมหามณเฑียร สถานที่สำคัญ สำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ใกล้ถึงวันสำคัญของประชาชนชาวไทย เข้ามาทุกทีแล้วสำหรับ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แพรวดอทคอมจึงขอถือโอกาสรวบรวมสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยข้อมูลทั้งหมดนี้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เผยแพร่เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ในพระราชพิธีสำคัญนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระราชพิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงรับเสวยราชสมบัติและเปลี่ยนสถานะเป็นองค์สมมติเทพอย่างสมบูรณ์ โดยผ่านขั้นตอนพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผสมผสานระหว่างคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ มีขั้นตอนสำคัญประกอบด้วยการถวายน้ำสรงมุรธาภิเษก หมายถึงการรดน้ำที่ศีรษะ มาจากคำว่า มุรฺธ แปลว่า ศีรษะ กับคำว่า อภิเษก แปลว่า การรดน้ำ และขั้นตอนสำคัญประการถัดมาคือการถวายน้ำอภิเษก ถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์อันเป็นขัตติยราชูปโภค สถาปนาพระราชวงศ์ และเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งเป็นราชประเพณีที่สืบเนื่องจากกรุงศรีอยุธยามาสู่กรุงรัตนโกสินทร์  สถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ พระมหามณเฑียร หรือ หมู่พระมหามณเฑียร ประกอบด้วยพระที่นั่งที่เชื่อมต่อกันหลายองค์ ใช้เป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่หมู่แรกที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังและถือเป็นพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์สำคัญยิ่ง    หมู่พระมหามณเฑียรตั้งอยู่บริเวณย่านกลางของพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมไทยประเพณีโดยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องหลังคาซ้อนชั้นตามคติความเชื่อเรื่องปราสาทหรือเรือนฐานันดรสูง ประดับกรอบหน้าบันด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ที่เรียกเครื่องประดับกรอบหน้าบันนี้โดยรวมว่า เครื่องลำยอง หลังคาของหมู่พระมหามณเฑียรมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว […]

ย้อนชมภาพตราตรึงใจ พระราชไมตรีดุจพี่น้อง “ในหลวง ร.9 – จักรพรรดิอากิฮิโตะ”

ย้อนชมภาพตราตรึงใจ พระราชไมตรีดุจพี่น้อง “ในหลวง ร.9 – จักรพรรดิอากิฮิโตะ”… ปีนี้นับเป็นปีมหามงคลของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุอันเป็นมงคลเดียวกัน นั่นคือการเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการของพระประมุขพระองค์ใหม่ นั่นคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 และเจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 และจะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้อีกหนึ่งความน่าปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง คือการที่พระราชบิดาของทั้งสองพระองค์ นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ทรงมีพระราชไมตรีต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อีกทั้งยังทรงมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นประดุจพระเชษฐาและพระอนุชาเลยทีเดียว ซึ่งนั่นทำให้ราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ญี่ปุ่นเปรียบดั่งมิตรแท้ รวมถึงยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านอื่นๆ อีกด้วย ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ แพรวดอทคอม จึงขอพาทุกคนย้อนไปชมภาพประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและยาวนานของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองพระองค์ ความสัมพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2506 เมื่อครั้งที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จฯเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อเข้าเฝ้าฯสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ […]

เผยพระนาม ในหลวง รัชกาลที่ 10 จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ

เผยพระนาม ในหลวง รัชกาลที่ 10 จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ… ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษก นับเป็นโบราณราชประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ สำหรับอีกสิ่งหนึ่งที่นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำรงพระราชอิสริยยศแห่งพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ได้แก่ พระปรมาภิไธย หรือ พระนาม รวมถึงยังเป็นสิ่งที่พสกนิกรเฝ้าติดตาม เพื่อชื่นชมในพระเกียรติยศและพระบารมี ทั้งนี้ได้มีการเปิดเผยพระปรมาภิไธยของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ จากพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 นั่นคือ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งจะมีการออกพระปรมาภิไธยนี้ ตั้งแต่หลังเที่ยงของวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 โดยพระปรมาภิไธยนี้อ่านออกเสียงว่า พระ-บาด-สม-เด็ด-พระ-ปอ-ระ-เมน-ทะ-ระ-รา-มา-ทิ-บอ-ดี-สี-สิน-ทอน-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-พระ-วะ-ชิ-ระ-เกล้า-เจ้า-อยู่-หัว และในการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อนั้น นอกจาก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ตามที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการออกพระปรมาภิไธยโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” อีกด้วย จากพระปรมาภิไธยดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่า เป็นการเลือกใช้การเฉลิมพระปรมาภิไธยตามพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 6 รวมกัน กล่าวคือ […]

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ความคืบหน้าพระอาการประชวรของ “พระองค์โสมฯ”

ช่วงเช้าวันนี้ (25 เมษายน 2562) สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ 4 ความว่า ตามที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2562 เพื่อรักษาพระอาการพระโลหิตออกที่พระสมองและความดันพระโลหิตสูงนั้น วันนี้ คณะแพทย์ที่ถวายการรักษาได้แจ้งว่า พระอาการโดยรวมดีขึ้นโดยลำดับ ทรงรู้พระองค์ดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวพระวรกายได้มากขึ้น ความดันพระโลหิตและการเต้นของพระหทัยอยู่ในเกณฑ์ปรกติ ไม่มีพระอาการแทรกซ้อน คณะแพทย์มีความเห็นว่า ยังสมควรได้รับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดต่อไป จึงได้กราบทูลขอประทานพระอนุญาต ให้ประทับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อรับการฟื้นฟูพระวรกาย และทรงงดพระกรณียกิจ ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน 25 เมษายน พุทธศักราช 2562   ข้อมูลและภาพ : เรารักราชวงศ์จักรี “We love Chakri […]

ในหลวง ร.10 โปรดเกล้าฯ เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ ความว่า พระราชกฤษฎีกา เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ […]

keyboard_arrow_up