ฉลองพระองค์เครื่องต้น ‘ซูเปอร์ทูนิกา’ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันนี้ (6 พ.ค. 2566) พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (สมเด็จพระราชาธิบดีชาลส์ที่ 3) กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากประชาชนจะเฝ้ารอชมขบวนพระราชพิธีฯ และมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดแล้ว อีกสิ่งสำคัญในพระราชพิธีฯ คือ ฉลองพระองค์เครื่องต้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ฉลองพระองค์เครื่องต้น ‘ซูเปอร์ทูนิกา‘ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยก่อนหน้านี้หน่วยงานที่ดูแลทรัพย์สินด้านศิลปะของราชวงศ์อังกฤษได้เผย ฉลองพระองค์เครื่องต้น ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 3 ที่ทรงสวมใส่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ โดยเรียกว่า ‘ซูเปอร์ทูนิกา‘ ซึ่งต้องสวมถึง 2 องค์ ที่มีความหนาและหนัก เนื่องจากมีส่วนประกอบของโลหะและความหนาของผ้าแต่งดงามเกินบรรยาย ซึ่งมี ฉลองพระองค์คลุมสีทอง 2 องค์ ถือเป็นหนึ่งในฉลองพระองค์ที่มีความสำคัญและทรงคุณค่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ‘ฉลองพระองค์ชุดสีทอง‘ชุดแรกถักทอจากด้ายไหมที่เคลือบด้วยโลหะสีทองและสีเงินแบบบางๆ ปักลวดลายแบบอาหรับและลายดอกไม้ ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม โดยจะสวมทับด้วย ‘ฉลองพระองค์คลุมสีทอง‘ ทั้งชุดเรียกว่า “ซูเปอร์ทูนิกา” มีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ฉลองพระองค์เหล่านี้ถูกใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในหอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก […]

12 ฉลองพระองค์ 5 ยุคสมัย “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ” นิทรรศการผ้าไทย ฝีมือดีไซเนอร์ระดับโลก

เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดแสดงนิทรรศการสำคัญทางประวัติศาสตร์ “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ” เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงผ่านฉลองพระองค์ ตั้งแต่ยุค1960 จนถึงยุค2000 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงเป็นผู้นำในการเผยแพร่ความงดงามของผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยพระองค์เอง และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำผลงานจากช่างฝีมือของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ไปจัดแสดงด้วยเสมอ นับเป็นการส่งเสริมผ้าทอและงานศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ภายในนิทรรศการ “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ” จัดแสดงฉลองพระองค์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักออกแบบชาวไทยและชาวต่างชาติออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์จากผ้าไทยในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งหมด 12 ฉลองพระองค์ จากแต่ละ 5 ยุคสมัย รวมถึงสุวรรณพัสตรา 12 ฉลองพระองค์ 5 ยุคสมัย “สิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ” นิทรรศการผ้าไทย ฝีมือดีไซเนอร์ระดับโลก ยุค 60: เสด็จเยือนต่างประเทศช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงโดยเสด็จพระบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปทรงเยือนทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติและเพื่อให้ขาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ยุค 70: กำเนิดศิลปาชีพช่วงเวลาที่พระองค์โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยุค 80: ทรงนำความเป็นไทยไปสู่สากลช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งนอกจากจะทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยจากผ้าทอของสมาชิกศิลปาชีพแล้ว ยังทรงนำผลงานหัตถศิลป์ของสมาชิกศิลปาชีพออกไปเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์อีกด้วย ยุค 90: นักออกแบบไทยช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดีไซเนอร์ชาวไทยมีส่วนร่วมในการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์มากขึ้น […]

ครั้งแรกงดงาม สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ทรงฉลองพระองค์ ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายประการ ดังนี้ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย พร้อมระบบสารสนเทศ จำนวน 16 คัน และรถต่อพ่วงชีวนิรภัย จำนวน 6 คัน ซึ่งมีคณะบุคคลน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2564 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายชุดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ในโอกาสพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส 1 พฤษภาคม 2562 และชุดเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ […]

ถอดความหมาย พระสไตล์ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 2564 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลแม่ข่าย และโรงพยาบาลสนาม ที่เปิดให้บริการรักษาผู้ติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานถุงพระราชทานกำลังใจ เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโรคโควิด-19 ด้วยทรงเข้าพระทัยและทรงรับรู้ถึงความเหน็ดเหนื่อยและความอ่อนล้าจากการทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด19 รวมทั้งทรงร่วมสนับสนุนสินค้าของเกษตรกรในภาคต่างๆ และผู้ประกอบการ เพื่อกระจายรายได้ในช่วงวิกฤตในครั้งนี้ ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออกด้วยพระสไตล์ที่เปี่ยมด้วยความหมาย โดยทรงฉลองพระองค์ผ้าไทย ซึ่งตัดเย็บจากผ้าไหมแพรวาลายเกาะสุดวิจิตรโทนสีม่วง พร้อมด้วยฉลองพระบาทสีม่วงแมตช์กับฉลองพระองค์ ทั้งนี้เพราะสีม่วงเป็นสีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ อีกทั้งทรงหน้ากากอนามัยสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระราชสวามี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสายคล้องหน้ากากอนามัยสีม่วง แมตช์กับฉลองพระองค์และฉลองพระบาท ถอดความหมาย พระสไตล์ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา” ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ภาพ : www.matichon.co.th/ บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 10 ฉลองพระองค์ผ้าไทยของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา” สื่อความหมายแฝงนัยยะ 10 […]

10 ฉลองพระองค์ผ้าไทยของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา” สื่อความหมายแฝงนัยยะ

พระสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี นอกจากจะทรงเลือกใช้ผ้าไทยสำหรับตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์อยู่เสมอ เพื่ออนุรักษ์ผ้าไทยอย่างแน่วแน่ และทรงใส่พระทัยกับการเลือกฉลองพระบาทให้แมตช์กับฉลองพระองค์แล้ว อีกหนึ่งพระสไตล์ที่น่าประทับใจ คือทรงพิถีพิถันเลือกใช้ผ้าไทยที่สื่อความหมายงดงามตามโอกาสนั้นๆ อีกด้วย ซึ่ง แพรว ได้รวบรวมฉลองพระองค์ดังกล่าวที่สื่อความหมายแฝงนัยยะมาให้ทุกคนได้ชมกันตรงนี้ 10 ฉลองพระองค์ผ้าไทยของ “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา” สื่อความหมายแฝงนัยยะ การปรากฏพระองค์ครั้งล่าสุด ในการเสด็จออกทรงเจิมเทียนรุ่ง เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2564 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ลายดาวล้อมเดือน ซึ่งสื่อความหมายถึงวันพระจันทร์เต็มดวง ครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน ในงานฉายสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua in Australia” ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ร่ายลายสำเภาหลงเกาะสีเขียว เกล็ดหมี่สีทอง โดยผ้าไหมมัดหมี่ สื่อความหมายถึงประเทศไทย ส่วนสีเขียวเข้มและสีเหลืองทอง อันเป็นสีประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย ที่มาจากสีของดอกไม้ประจำชาติอย่างดอก Golden Wattle สื่อความหมายถึงประเทศออสเตรเลีย ครั้งเสด็จ​พระรา​ชดำเนิน​ไป​ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน​โครงการหลวง​ ประจำปี […]

เผยที่มา พระกระเป๋าผ้าไทย แมตช์กับพระภูษาของ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา’

จากพระราชกรณียกิจเมื่อวานนี้ (16 มีนาคม 2564) ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี ณ อาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี เผยที่มา พระกระเป๋าผ้าไทย แมตช์กับพระภูษาของ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา’ นับเป็นอีกครั้งที่พระสไตล์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงได้รับการถวายคำชื่นชมอย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ทรงพระเกศา ฉลองพระองค์ ไปจนถึงฉลองพระบาท ที่เข้ากันอย่างลงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพระกระเป๋าที่ทรงถือติดพระหัตถ์ตลอดพระราชกรณียกิจนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยลวดลายผ้าอันวิจิตร และเป็นลวดลายเดียวกันกับพระภูษา โดยผ้าไทยลวดลายวิจิตรที่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงประยุกต์เป็นพระกระเป๋าแมตช์กับพระภูษานี้ ต่อมาทางเฟซบุ๊กเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ได้เปิดเผยข้อมูลว่าเป็นผ้าไหมแพรวา ลายใบบุ่นอุ้มจันกิ่ง แมงกะเบ้อ (ผีเสื้อ) คั่นดอกลายดอกอ้อมดอกผักแว่น สำหรับผ้าไหมแพรวา นับเป็นผ้าที่มีประวัติความเป็นมาอันทรงคุณค่า เนื่องจากได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ […]

เรื่อง (ไม่) ลับในวัง! วิธีจัดการ ฉลองพระองค์ตัวเก่าของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2

จะเกิดอะไรขึ้นกับ ฉลองพระองค์ตัวเก่าของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ฉลองพระองค์เหล่านั้นถูกส่งไปที่ไหน มีวิธีจัดการอย่างไร คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของต่อได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาเผยเรื่องราวที่หลายคนอาจไม่รู้ ให้ได้ทราบกันค่ะ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระชนมายุ 92 พรรษา อยู่ในสายตาของสาธารณชนตลอดการครองราชย์อันยาวนานของพระองค์ และทรงแต่งกายอย่างมีสไตล์ในเกือบทุกงานที่พระองค์เข้าร่วม เป็นที่รู้จักกันดีในสไตล์ที่โดดเด่นและมักจะเลือกฉลองพระองค์สีสันสดใส เมื่อเสด็จฯ ออกงาน ดูเหมือนว่าพระองค์จะมีฉลองพระองค์โค้ต พระมาลา และเครื่องแต่งกายต่างๆ มากมายจนนับแทบไม่ไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการดูแลอย่างดี แต่ก็เช่นเดียวกับใครหลายคน ในที่สุดควีนเอลิซาเบธก็ทรงรู้สึกเบื่อของบางอย่างในตู้เสื้อผ้า โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องราชวงศ์ ได้เปิดเผยว่าเกิดอะไรขึ้นกับฉลองพระองค์ที่ถูกทิ้งเหล่านี้ เมื่อควีนเอลิซาเบธทรงไม่ต้องการอีกต่อไป เรื่อง (ไม่) ลับในวัง! วิธีจัดการ ฉลองพระองค์ตัวเก่าของ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ผู้เขียน Brian Hoey เปิดเผยในหนังสือ Not in Front of the Corgis ปี 2011 ว่า “ฉลองพระองค์ของควีนเอลิซาเบธที่ 2 เป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจมาอย่างต่อเนื่องในสื่อและพระองค์จะทรงสวมชุดที่ชื่นชอบไปอีกหลายปี แต่ในเมื่อพระองค์ทรงรู้สึกเบื่อหน่าย ก็ได้พระราชทานของเหล่านั้นแก่ผู้ดูแลการแต่งกายคนหนึ่ง […]

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ทรงพระภูษาสีแดง แฝงนัยยะเจ้านายตามธรรมเนียมโบราณ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ทรงพระภูษาสีแดง แฝงนัยยะเจ้านายตามธรรมเนียมโบราณ… เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.46 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ไปยังพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช 2564 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ทรงพระภูษาสีแดง แฝงนัยยะเจ้านายตามธรรมเนียมโบราณ ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสวมใส่ฉลองพระองค์ชุดไทยอมรินทร์สีแดง พระภูษาตัดเย็บจากผ้ายกไหมลายเถากระดังงาสีแดง โดยสังเกตได้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสวมใส่ฉลองพระองค์สีแดงเช่นนี้ไม่บ่อยครั้งนัก แพรว จึงสืบค้นข้อมูลแล้วพบว่า การทรงพระภูษาสีแดงในวันพระของเจ้านาย เป็นหนึ่งในธรรมเนียมของราชสำนักไทยที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเรื่องราวความเป็นมามีอยู่ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์ถึงเมื่อครั้งทรงครองเพศบรรพชิตว่า ทรงมีโอกาสพระราชทานพระธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทอยู่เนืองๆ แต่เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ไม่ทรงได้พระราชทานพระธรรมเทศนาเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นเมื่อทรงว่างจากราชการแผ่นดิน และตรงกับวันธรรมสวนะ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในเสด็จและตามเสด็จเจ้านายมาพร้อมกัน ณ พระพุทธรัตนสถาน ในสวนศิวาลัย ซึ่งเป็นพระอุโบสถสำหรับฝ่ายใน […]

เผยที่มา ฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ในพระราชพิธีเจิมเทียนรุ่ง

เผยที่มา ฉลองพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ในพระราชพิธีเจิมเทียนรุ่ง… เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.37 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงเจิมเทียนรุ่ง เนื่องในการพระราชกุศลมาฆบูชา พุทธศักราช 2564 เพื่อพระราชทานไปจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวง ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปรากฏพระองค์ในฉลองพระองค์สีน้ำเงินเข้มที่สง่างาม และโดดเด่นสะดุดตาด้วยลวดลายผ้าอันวิจิตร โดยต่อมาทางเฟซบุ๊กเพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เปิดเผยข้อมูลว่า ฉลองพระองค์ดังกล่าวตัดเย็บจากผ้าไหมมัดหมี่ลายขอก่าย (คำว่า ก่าย ในภาษาอีสาน หมายถึง พาดหรือทับข้างบน) ในดีไซน์ทันสมัย เล่นกิมมิกด้วยระบายสไตล์เรียบหรูบริเวณด้านหน้า ซึ่งนับเป็นอีกครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา […]

แฝงนัยยะ ฉลองพระองค์เขียวทอง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา เสด็จสถานทูตออสเตรเลีย

แฝงนัยยะ ฉลองพระองค์เขียวทอง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา เสด็จสถานทูตออสเตรเลีย… เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน ในงานฉายสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “His Majesty King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua in Australia” ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แฝงนัยยะ ฉลองพระองค์เขียวทอง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา เสด็จสถานทูตออสเตรเลีย ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเล็งเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บวกกับทรงมีพระราชปณิธานมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ผ้าไทย จึงทรงเลือกสวมใส่ฉลองพระองค์ที่สื่อความหมายไมตรี ซึ่งเปี่ยมไปด้วยรายละเอียดแฝงนัยยะลึกซึ้ง อย่างฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ร่ายลายสำเภาหลงเกาะสีเขียว เกล็ดหมี่สีทอง โดยผ้าไหมมัดหมี่ สื่อความหมายถึงประเทศไทย ส่วนสีเขียวเข้มและสีเหลืองทอง อันเป็นสีประจำชาติของประเทศออสเตรเลีย ที่มาจากสีของดอกไม้ประจำชาติอย่างดอก Golden Wattle สื่อความหมายถึงประเทศออสเตรเลียนั่นเอง สำหรับผ้าไหมมัดหมี่ร่ายลายสำเภาหลงเกาะ เป็นผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายโบราณ ซึ่งได้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์มาจากการที่ช่างทอจินตนาการถึงเรือสำเภากางใบพัดแล่นอยู่กลางแม่น้ำใหญ่ และใช้เทคนิคหมี่ร่าย […]

ถอดความหมายมงคล ฉลองพระองค์กี่เพ้าสีแดงเลือดนก สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา

ถอดความหมายมงคล ฉลองพระองค์กี่เพ้าสีแดงเลือดนก สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา… เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 21.08 น. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อทรงประกอบพิธีสังเวยพระป้ายเนื่องในเทศกาลตรุษจีน พุทธศักราช 2564 แน่นอนว่าทุกครั้งของการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ พระสไตล์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี มักได้รับการโฟกัสอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมักได้รับการถวายคำชื่นชมถึงพระสิริโฉมอันงดงาม ซึ่งในการนี้ก็เช่นเคย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปรากฏพระองค์พร้อมกับพระสไตล์สง่างาม โดยทรงสวมใส่ฉลองพระองค์กี่เพ้าสีแดง ซึ่งเข้ากับเทศกาลตรุษจีน และเปี่ยมไปด้วยความหมายมงคลในทุกรายละเอียด ถอดความหมายมงคล ฉลองพระองค์กี่เพ้าสีแดงเลือดนก สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ฉลองพระองค์กี่เพ้านี้ ตัดเย็บจากผ้าไหมไทยพื้นเรียบสีแดงเลือดนกพิราบ และตกแต่งลวดลายดอกไม้อ่อนหวานด้วยไหมดิ้นทอง ซึ่งตามความหมายของสีในวัฒนธรรมจีนนั้น สีแดงและสีทองสื่อถึงความหมายมงคล สีแดง เป็นสีประจำชาติจีน และเป็นสีที่แทนธาตุไฟ หมายถึง แสงสว่าง ความอบอุ่น ความรุ่งโรจน์ ความสำเร็จ ความโชคดี ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง […]

เผยดีเทล 2 พระสไตล์สิริโฉมของ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ในวันคล้ายวันประสูติ

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา วันที่ 8 มกราคม 2564 ทรงเจริญพระชันษา 34 ปี เมื่อช่วงค่ำคืนวันที่ 7 มกราคม 2564 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปยังหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ต RBSO รายการ “Brave Frontiers” ซึ่งมูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยความสนับสนุนของ บี.กริม, บมจ.กรุงเทพ ดุสิตเวชการ (BDMS), เมืองไทยประกันภัย, มูลนิธิ เอสซีจี และโรงแรมอนันตราสยาม จัดขึ้น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โดยจัดขึ้นภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามคำประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. อย่างเคร่งครัด ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ปรากฏพระองค์ในฉลองพระองค์แบบสากล […]

ทรงใส่ซ้ำอย่างมีสไตล์ ‘เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี’ ทรงฉลองพระองค์ผ้าไหมนี้เป็นครั้งที่สอง

ทรงใส่ซ้ำอย่างมีสไตล์ ‘เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี’ ทรง ฉลองพระองค์ ผ้าไหมนี้เป็นครั้งที่สอง… เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเปิดตัวหนังสือ Thai Textiles Trend Book Spring/Summer 2022 และทรงเสวนาวิชาการหัวข้อ “การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล” เพื่อยกระดับและแบ่งปันองค์ความรู้แก่วงการผ้าไทย ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ “แนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย” ซึ่งประกอบด้วยผลงานอันวิจิตรของ 12 แบรนด์ดีไซเนอร์ชั้นนำแห่งวงการแฟชั่น เช่น SIRIVANNAVARI, Wisharawish, Asava, Vatanika, Kai, Kloset, Milin, ARCHIVEO26, TandT, Theatre, Tirapan และ Tube Gallery โดยนิทรรศการดังกล่าวจัดแสดงระหว่างวันที่ 12-17 ธันวาคม 2563 ณ ไอคอนสยาม อาร์ต สเปซ ชั้น 8 ไอคอนสยาม […]

ยลโฉมฉลองพระองค์สุดเรียบง่ายที่ไม่ค่อยได้เห็นนักของ ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’

ยลโฉมฉลองพระองค์สุดเรียบง่ายที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นนักของ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’ แม่แห่งแผ่นดินสยาม สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นต้นแบบให้หญิงไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะฉลองพระองค์ที่โดดเด่น ทำให้ดีไซเนอร์ไทย รวมถึงแบรนด์ไทยหลากหลายแบรนด์ยกให้พระองค์ทรงเป็นต้นแบบในเรื่องของแฟชั่น เพราะทรงเลือกฉลองพระองค์ได้เข้ากับโอกาส เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆได้อย่างดีทุกครั้ง ไม่ว่าจะเสด็จฯไปที่ใดก็ตาม ส่วนมากเราจะเห็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์ที่เป็นทางการ เรียบหรู ในการเสด็จฯออกงานสำคัญต่างๆ ซึ่งทรงพระสิริโฉมอย่างยิ่ง จึงไม่คุ้นตากับพระองค์ในฉลองพระองค์แบบผ่อนคลายสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้เห็นกันบ่อยนัก วันนี้ แพรวดอทคอม จึงขอนำฉลองพระองค์ที่แปลกตาจากทุกครั้งที่เราชาวไทยเคยได้ชมกันมานำเสนอ ซึ่งเป็นฉลองพระองค์ที่สุดแสนจะเรียบง่าย แต่ทรงพระสิริโฉมงดงามเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์เชิ้ตลายดอกไม้สีม่วง พระสนับเพลายีนส์ และทรงสวมรัดพระองค์ ซึ่งเป็นฉลองพระองค์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แต่พระองค์ก็ทรงพระสิริโฉมอย่างมาก อีกหนึ่งฉลองพระองค์ที่ทรงดูเป็นกันเอง ด้วยฉลองพระองค์แบบสบายๆ กับพระสนับเพลาสีดำเนื้อผ้าเบา ฉลองพระบาทแบบง่ายๆ ช่างเป็นฉลองพระองค์ที่เรียบง่ายและทรงพระสิริโฉมจริงๆ ไม่ว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จะทรงฉลองพระองค์แบบไหน ก็ทรงมีพระสิริโฉมงดงามเสมอ แม้จะเป็นฉลองพระองค์แบบสบายๆ ก็ตาม เรื่อง : Hana_แพรวดอทคอม (ฮานะ) ภาพ […]

10 พระสไตล์ตรึงใจ ฉลองพระองค์-ฉลองพระบาทเข้ากัน ในสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

ยลความงดงาม 10 พระสไตล์ตราตรึงใจ ฉลองพระองค์และฉลองพระบาทเข้ากันของ ‘สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี’ ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า นอกจากพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จะเป็นเครื่องประจักษ์ถึงความงดงามสมพระเกียรติยศแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้พระองค์ทรงกุมหัวใจพสกนิกรชาวไทยเอาไว้ได้อย่างอยู่หมัด คือพระสิริโฉมอันงดงาม ไม่ว่าจะเป็น พระพักตร์สวยหวานแบบธรรมชาติ รอยแย้มพระสรวลแสนอ่อนโยน โดยเฉพาะพระสไตล์การแต่งพระองค์ ซึ่งได้รับการชื่นชมทุกครั้งในการปรากฏพระองค์ เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ สำหรับความโดดเด่นของพระสไตล์การแต่งพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างมาก ต้องยกให้กับการเลือกฉลองพระองค์และฉลองพระบาทได้อย่างเข้ากัน เช่น มีสีสันในโทนเดียวกัน มีดีไซน์ที่แมตช์กัน เป็นต้น ในโอกาสนี้ แพรวดอทคอม จึงนำ 10 พระสไตล์อันงดงามของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงแมตช์ฉลองพระองค์และฉลองพระบาทได้อย่างเข้ากัน มารวบรวมเอาไว้ให้ทุกคนได้ชมกันค่ะ ฉลองพระองค์ผ้าไหมสีชมพูหวานละมุน จับคู่กับฉลองพระบาทสีเดียวกัน ซึ่งโดดเด่นด้วยดีไซน์สายคาดรูปโบว์ด้านหน้า เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี ฉลองพระองค์สีน้ำเงินแต่งแถบสีแดง จับคู่กับฉลองพระบาทสีน้ำเงินล้วน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธานงานเฉลิมฉลอง 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ฉลองพระองค์แบบเปิดพระอังสา (หัวไหล่) สีแดงเข้ม ตัดด้วยผ้าไหมลวดลายงดงาม […]

ทรงสง่างามแม้ต่างยุค เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ทรงฉลองพระองค์ละม้ายทูลกระหม่อมย่า

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา ทรงสง่างามในการเสด็จเยือนเมียนมา ด้วยฉลองพระองค์ดีไซน์เรียบง่าย แต่คล้ายฉลองพระองค์ในสมเด็จพระพันปีหลวง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงตามเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ในโอกาสเสด็จเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อทรงร่วมการประชุมด้านการป้องกันเอชไอวี ณ โรงแรมฮิลตัน เนปยีดอ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมีนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เฝ้ารับเสด็จ ทั้งนี้สิ่งที่สร้างความประทับใจ และได้รับการกล่าวถึงจากพระกรณียกิจนี้ คือฉลองพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเคยสวมใส่และฉายพระบรมฉายาลักษณ์เอาไว้ โดยฉลองพระองค์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกัน ตั้งแต่ดีไซน์ที่เน้นความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยความคลาสสิกและความไทม์เลส โดดเด่นด้วยลักษณะของเสื้อคอปก แขนห้าส่วน และกระดุมเม็ดใหญ่ อีกทั้งโทนสีก็มีความใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก   ข้อมูลและภาพ : www.globalnewlightofmyanmar.com, พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์, Ministry of Information of […]

ไม่ทรงถือพระองค์ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงฉลองพระองค์พื้นถิ่นที่ชาวบ้านเคยถวาย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้แก่โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทรงฉลองพระองค์พื้นถิ่นที่ราษฎรเคยถวาย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 เวลา 12.58 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปยังโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพระราชทานอุปกรณ์กีฬา หนังสือ และสิ่งของเครื่องใช้พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา โดยรวมทั้งสิ้น 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ, โรงเรียนบ้านแม่ตะละเหนือ, โรงเรียนบ้านขุนแม่รวม, โรงเรียนบ้านจันทร์, โรงเรียนบ้านแม่แดดน้อย, โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง, โรงเรียนบ้านห้วยปู, โรงเรียนบ้านห้วยยา, โรงเรียนสามัคคีสันม่วง, โรงเรียนบ้านแม่ตะละ และโรงเรียนสหมิตรวิทยา ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงมีพระดำรัสถึงพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ทรงห่วงใยคุณภาพชีวิตด้านการศึกษาและสุขภาพอนามัยของนักเรียน […]

ทรงงดงามตามพระสัสสุ ฉลองพระองค์ผ้าไหมแพรวาใน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา ฯ

นับว่าเป็นที่กล่าวถึงและได้รับคำชื่นชมอย่างไม่ขาดสายจริงๆ สำหรับพระสิริโฉมอันงดงามของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการแสดงดนตรีของนายโฆเซ การ์เรรัส (Jose Carreras) นักร้องโอเปร่าชื่อดังระดับโลก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความงดงามของฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกเลยทีเดียวที่พระองค์ทรงฉลองพระองค์ชุดราตรียาวแบบสากลให้ได้เห็นกัน และสิ่งที่ได้รับคำชื่นชมมากที่สุดคือความโดดเด่นอย่างเป็นเอกลักษณ์ของผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บฉลองพระองค์ดังกล่าว ซึ่งได้รับการเปิดเผยว่าเป็นผ้าไหมแพรวา และละม้ายคล้ายคลึงกับฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้งนี้ ผ้าไหมแพรวา นับเป็นผ้าที่มีประวัติความเป็นมาอันทรงคุณค่า เนื่องจากได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี 2520 แล้วได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่า ผ้าเบี่ยง ทำให้ทรงสนพระทัยมาก จึงโปรดให้มีการสนับสนุน และทรงมีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นผ้าผืนสำหรับตัดเย็บเสื้อผ้าได้ รวมถึงให้พัฒนาลวดลายให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาด ดังนั้น การพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา จึงนับว่าเกิดขึ้นจากพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงต้องการเผยแพร่​ความงดงาม​ของผ้าไหมแพรวาให้เป็นที่ประจักษ์ โดยจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บจากผ้าไหมแพรวาบ่อยครั้ง สำหรับฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ที่ได้รับการกล่าวถึงและชื่นชมนี้  เป็นชุดราตรียาวสีแดง […]

keyboard_arrow_up