สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ เส้นเลือดจะหดตัวหรือเปล่า?

Alternative Textaccount_circle
สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ เส้นเลือดจะหดตัวหรือเปล่า?

กรณีที่หลายคนสงสัยว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้เส้นเลือดเกิดการหดตัวจริงหรือไม่ เนื่องจากมีรายงานผลของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทชั่วคราว ซึ่งหลายรายมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อาการชา หรือ อาการอ่อนแรง โดยมีข้อสันนิษฐานว่า วัคซีนโควิด-19 อาจทำให้เส้นเลือดหดตัวชั่วคราวนั้น

ทางสมาคมประสาทวิทยา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคระบบประสาท ได้รวบรวมกรณีผู้ป่วยจากหลายแห่งทั่วประเทศ และทำการทบทวนกรณีผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มีการตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และ ฉีดสีเพื่อตรวจเส้นเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) พบว่า ไม่พบความผิดปกติของเนื้อสมองและหลอดเลือดตีบหรือหดตัวอย่างชัดเจน อาการความผิดปกติของสมองต่อการฉีดวัคซีนดังกล่าว เกิดจากการตอบสนองในเชิงการทำงานจากการฉีดวัคซีน ซึ่งเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิด และเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

ข้อแนะนำสำหรับการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปวดศีรษะ ไมเกรน และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน

จากหลักฐานทางการแพทย์ที่มีการตรวจหลอดเลือดสมองและไม่พบความผิดปกติหรือหดตัวของหลอดเลือดอย่างชัดเจน จึงมีคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไมเกรน ดังนี้

1. ห้ามรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนก่อนการฉีดวัคซีนหรือไม่

ยากลุ่ม NSAIDs , ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่ม ทริปแทน เป็นยาแก้ปวดศีรษะ ทานเฉพาะเวลามีอาการปวดศีรษะ ไม่มีความจำเป็นต้องหยุดยาก่อนฉีดวัคซีน

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

2. หลังจากที่ฉีดวัคซีน ห้ามรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนใช่หรือไม่

ภายหลังการฉีดวัคซีน หากมีอาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้น สามารถรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนได้ โดยในกรณีที่มีอาการปวดศีรษะน้อยหรือปานกลาง เลือกใช้ยาในกลุ่ม acetaminophen หรือ NSAIDs และ หากมีอาการปวดศีรษะปานกลางหรือรุนแรง ให้เลือกใช้ยาแก้ปวดที่จำเพาะต่อไมเกรนได้แก่ ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน หรือ ยาในกลุ่มทริปแทน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่เคยรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน โดยเฉพาะในกลุ่ม Ergotamine และทริปแทน อาจต้องระวังอาการผลข้างเคียงจากยาซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการใจสั่น และ อาการชา
3. สำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่มีการใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำทุกวันหรือเกือบทุกวัน (mecicaiton overused) ไม่แนะนำให้มีการหยุดยา เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะกำเริบ (rebound headache) เกิดขึ้นได้
4. ยาป้องกันไมเกรนชนิดต่างๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptylline , Venlafaxine ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม ได้แก่ Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า ได้แก่ Propranolol และ ยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ ไม่แนะนำให้มีการหยุดยา เนื่องจากอาจทำให้ไมเกรนกำเริบได้
5. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรนหรือยาป้องกันไมเกรนให้ปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนรับมือในการฉีดวัคซีนโควิด -19 และอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่อาจจะเกิดขึ้น
สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

การปฎิบัติตัวทั่วไปสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่ต้องเตรียมตัวในการฉีดวัคซีน

  • ผู้ป่วยไมเกรน หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรนให้กำเริบ เช่น ความเครียด การนอนไม่ตรงเวลา การทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • วันที่นัดฉีดวัคซีน ให้ดื่มน้ำเปล่าและทานอาหารให้เพียงพอ
  • เนื่องจากในสถานที่ฉีดวัคซีน อาจมีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะกำเริบ เช่น อากาศร้อน ความแออัด ความเครียด เสียงดัง ซึ่งอาจทำให้อาการปวดศีรษะกำเริบได้ ให้เตรียมยาแก้ปวดไมเกรนไปด้วย กรณีที่มีอาการปวดศีรษะ จะได้ใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวดได้

สรุปกินยา ไมเกรน ก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่


ข้อมูล : สมาคมประสาทวิทยา แห่งประเทศไทย , Smile Migraine
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไขข้อสงสัย หากผู้ป่วย “ไทรอยด์” ติดโควิด-19 จะเสี่ยงอาการหนักกว่าเดิมหรือไม่?

คลายประเด็นที่สตรีสงสัย! หากใช้ ยาคุมกำเนิด หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เสี่ยงแค่ไหน

‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ? และใครที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up