อาหารเสริม

3 กลุ่ม อาหารเสริม ที่อาจพบยาต้องห้าม เสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

Alternative Textaccount_circle
อาหารเสริม
อาหารเสริม

ปัจจุบันคนหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจสุขภาพแบบครอบคลุม และหันมากินผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม เพื่อชะลอวัยหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ หรือใช้แทนการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน

แต่การเลือกอาหารเสริมทานเอง สิ่งแรกที่ควรทำคือ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกร นอกจากนั้นยังต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการปลอมปน และปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลงและสารพิษจนสะสมในร่างกายได้ หนึ่งในหลายอาการผิดปกติ ที่มักจะพบหลังจากทานอาหารเสริมที่ไม่เหมาะสม คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป (ปกติหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที)  ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ในกรณีกลุ่มโรคหัวใจเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation) อาการที่สังเกตได้ เช่น หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ใจสั่น หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลมหรือหมดสติ

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ และจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย

  • ปัจจัยภายนอก ที่สามารถพบได้คือ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สภาพแวดล้อม อากาศที่ร้อนจัด ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การกินอาหารเสริมที่ส่งผลต่อหัวใจ
  • ปัจจัยภายใน ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคไหลตาย เป็นต้น

ปัจจุบันมีอาหารเสริมมากมายตามท้องตลาดทั้งที่มาจากในประเทศและต่างประเทศ ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มใช้เสมอ

กลุ่มอาหารเสริมที่อาจพบยาต้องห้ามหรือสารปลอมปน และส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการเต้นของหัวใจ

อาหารเสริม
อาหารเสริมไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หากจำเป็น ควรตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้ ควรหยุดใช้ทันทีและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรดังนั้นหากจะใช้อาหารเสริม ควรที่จะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ ผ่านมาตรฐานการผลิตหรือไม่ ส่วนผสมมีอะไรบ้าง เพราะหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากส่วนผสมชนิดใด จะได้เก็บไว้เป็นข้อมูลและระวังในการใช้ต่อไป

การตรวจวินิจฉัยภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

การตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้น ทำได้โดยการตรวจกราฟหัวใจ หรือ EKG หรือ ECG (Electrocardiography) ซึ่งจะบอกได้คร่าวๆ ว่า หัวใจเต้นปกติหรือไม่ ตามปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำทุกคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ให้ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่ง ECG ส่วนใหญ่จะเป็นหนึ่งในรายการที่ต้องตรวจ แต่ถ้าหากหัวใจไม่ได้เต้นผิดจังหวะในช่วงที่ตรวจด้วยเครื่อง ECG ก็อาจตรวจไม่พบ ดังนั้นคนที่เริ่มมีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม มึนงง หรือวิงเวียน ควรเข้ามารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุโดยการตรวจเลือด นอกจากนี้ยังมีการตรวจที่ละเอียดกว่า ECG นั่นก็คือการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เพื่อดูความผิดปกติของกราฟหัวใจให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้วิธีการตรวจที่เรียกว่า EP Study (Electrophysiology Study) ซึ่งเป็นการวินิจฉัยหาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการวินิจฉัยด้วยวิธีนี้จะช่วยหาตำแหน่งของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แม่นยำมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถกำหนดแนวทางการรักษาได้ง่ายขึ้น

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

  • ในรายที่เกิดจากไทรอยด์ฮอร์โมนตํ่า หรือเป็นพิษ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้ารักษาที่ต้นเหตุจนเป็นปกติแล้ว อาจป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ในรายที่พบว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นแบบชนิดเร็วเพราะดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางชนิด แพทย์จะแนะนำให้หยุดปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ
  • ในรายที่ไม่มีอาการรุนแรงมากนัก อาจจะรักษาด้วยการรับประทานยา ซึ่งต้องมีการติดตามรักษาและปรับยาตามความเหมาะสม
  • การรักษาโดยการจี้ไฟฟ้า หรือ Radiofrequency Ablation ส่วนใหญ่ใช้ในกลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วและกลุ่มโรคหัวใจเต้นพลิ้ว (AF) โดยการเจาะเส้นเลือดที่ขาหนีบ หลังจากนั้นจะนำสายที่ใช้ในการจี้กระแสไฟฟ้าไปวางไว้ในห้องหัวใจตามตำแหน่งที่เหมาะสม วิธีนี้ใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้วแต่ชนิดของโรค ผู้ป่วยต้องนอนพักฟื้น ในโรงพยาบาล 1-2 คืน หลังจากนั้นก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) คือการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเข้าไปในช่องอก โดยเครื่องจะทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจทำให้หัวใจเต้นปกติเเละช่วยลดอาการจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้น เช่น เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลม ซึ่งวิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจทำโดยใส่สายกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Leads) เข้าไปในห้องหัวใจผ่านทางเส้นเลือดดำใหญ่และติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pulse Generator) เข้ากับสายกระตุ้นเเละฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก ซึ่งเป็นการผ่าตัดเล็ก นอนพักใน รพ.1-2 คืนเท่านั้น

การลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้โดย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ


ข้อมูล : พญ. อรพิน ชวาลย์กุล แพทย์ด้านทางเดินไฟฟ้าหัวใจ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท
ภาพ : Pexels

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพทย์ชี้เหตุผลที่ คนอ้วน จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ง่ายที่สุด

LVMH เครือแบรนด์หรู พร้อมสู้โควิด เปลี่ยนโรงงานผลิตน้ำหอมมาผลิตเจลล้างมือ

“แบงค์ ณัฐดนัย” แชร์วิธีการเลี่ยงโควิด-19 สำหรับ เมคอัพอาร์ติสต์ โดยเฉพาะ

อัพลุคกันเถอะ! สีพาสเทล-แอช เทรนด์สีผมแฟชั่น ที่ยังฮ็อตไม่เลิกในปี 2020 นี้

ถึงใส่หน้ากาก แต่ปากต้องแดง! ชาวกรุงชุลมุน แย่งคิวซื้อลิปสติกยี่ห้อดัง

Make It Glow วิบวับๆ ด้วยบิวตี้ไอเท็มใหม่ล่าสุดจากหลายแบรนด์ดังระดับโลก

 

 

 

Praew Recommend

keyboard_arrow_up